โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จัตวาลักษณ์

ดัชนี จัตวาลักษณ์

ัตวาลักษณ์ (The Sign of the Four) หรือฉบับแปลใหม่ใช้ชื่อว่า รหัสลักษณ์แห่งสี่ เป็นนวนิยายเรื่องยาวเรื่องที่ 2 ของเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์‎ เกี่ยวกับการสืบสวนคดีของนักสืบชื่อดัง เชอร์ล็อก โฮมส์ กับหมอวอตสัน สหายของเขา ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี..

9 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2433พ.ศ. 2552ภาษาอังกฤษอาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์จอห์น เอช. วอตสันประเทศอังกฤษแรงพยาบาทเชอร์ล็อก โฮมส์เชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด ผจญภัย

พ.ศ. 2433

ทธศักราช 2433 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1890 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: จัตวาลักษณ์และพ.ศ. 2433 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2552

ทธศักราช 2552 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2009 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีสุดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 2000.

ใหม่!!: จัตวาลักษณ์และพ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: จัตวาลักษณ์และภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์

อาร์เธอร์ อิกเนเชียส โคนัน ดอยล์ (Arthur Ignatius Conan Doyle) เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 ในเมืองเอดินบะระ แคว้นสกอตแลนด์ แห่งสหราชอาณาจักร และถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1930 เป็นนักเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย ประวัติศาสตร์ และแพทย์คนสำคัญของสกอตแลนด์ แต่ผลงานที่สร้างชื่อเสียงมากที่สุด คือนิยายรหัสคดีชุด "เชอร์ล็อก โฮมส์" โคนัน ดอยล์ได้รับการศึกษาจากคณะเยซูอิต ที่วิทยาลัยสโตนีเฮิสต์ และจบการแพทย์จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ เมื่อปี ค.ศ. 1881 แล้วประกอบอาชีพแพทย์ตามที่ได้ร่ำเรียนมา ขณะเดียวกันก็ได้เริ่มงานเขียนเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างสม่ำเสมอ เรื่องสั้นเรื่องแรกของเขาได้รับตีพิมพ์ในวารสารแชมเบอร์ (Chambers) เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1879 และเขียนสารคดีเรื่องแรก ในวารสารการแพทย์ "British Medical Journal" ในเดือนเดียวกัน เรื่องที่ไม่ได้ตีพิมพ์เรื่องหนึ่งในช่วงนั้น แสดงถึงการทดลองด้วยคุณลักษณะ 2 อย่าง คือ การใช้ตัวเอกที่มีความรู้ในศาสตร์ลับ และคนเล่าเรื่องที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านใด แต่พัฒนาการของแนวคิดดังกล่าวก้าวถึงจุดสูงสุดเมื่อปี ค.ศ. 1886 และสร้างสีสันมีชีวิตชีวามาก จากเรื่อง "A Study in scarlet" เป็นเรื่องของนักสืบชื่อเชอร์ล็อก โฮลมส์ และเพื่อนชื่อหมอวัตสัน ด้วยการสร้างบทสนทนาที่สนุกสนาน น่าติดตาม ทำให้เรื่องของเขาเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง และตีพิมพ์เป็นเรื่องสั้นกว่า 56 เรื่อง และนวนิยาย 4 เรื่อง โดยได้รับแนวคิดจาก "Socrates and his disciples" ของเพลโต และ "Don Quixote" ของเซอร์บันเตส เป็นต้น โคนัน ดอยล์ยังถือว่าเป็นหนี้ความรู้ของเอ็ดก้าร์ แอลลแลน โป (Edgar Allan Poe) บิดาแห่งรหัสคดี แต่การสร้างสรรค์เรื่องของโคนัน ดอยล์ทำให้นวนิยายชุดเชอร์ล็อก โฮมส์มีความแตกต่างจากนิยายสืบสวนทั่วไป และกลายเป็นนิยายรหัสคดียิ่งใหญ่ในชั่วเวลาไม่นาน เขาให้เขียนให้โฮมส์เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1893 เพื่อจบนิยายชุดนี้ แต่ต้องแต่งเรื่องให้โฮมส์กลับมาอีกครั้ง ตามคำเรียกร้องของบรรดานักอ่านของเขา เรื่องยาวของโคนัน ดอยล์ได้แก่เรื่องเล่าสมัยกลาง เกี่ยวกับทหารในคริสต์ศตวรรษที่ 14 การปฏิวัติรัฐประหารในประเทศต่าง ๆ แต่ดูเหมือนเรื่องสั้นของเขาจะเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากกว่า งานของเขายังมีเรื่องราวการผจญภัยกึ่งนิยายวิทยาศาสตร์ อย่างเรื่องสั้นชุด "Professor Challenger" เป็นต้น โคนัน ดอยล์นั้นได้ทำหน้าที่เป็นแพทย์เรื่อยมาตั้งแต่จบการศึกษา และเลิกอาชีพนี้ไปทำงานด้านวรรณกรรมเมื่อปี ค.ศ. 1891 จากนั้นย้ายไปอยู่ที่ลอนดอน และต่อมาได้ย้ายไปที่เมืองซัสเซ็กซ์ และเอสเซ็กซ์ เมื่อ ปี ค.ศ. 1902 โคนัน ดอยล์ได้รับพระราชทานยศอัศวิน อันเนื่องมาจากการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยเฉพาะในสงครามแอฟริกา หลังจากบุตรชายของเขาเสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 (ซึ่งเขาได้เขียนประวัติเหตุการณ์ต่าง ๆ เอาไว้) เขาเริ่มสนใจเรื่องธรรมะ ซึ่งมีผลต่อเรื่องสยองขวัญของเขาด้วย โคนัน ดอยล์เสียชีวิตเมื่อปี 1930 อายุได้ 71 ปี ผ่านการสมรส 2 ครั้ง และมีบุตร 5 คน.

ใหม่!!: จัตวาลักษณ์และอาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น เอช. วอตสัน

นายแพทย์จอห์น เอ.

ใหม่!!: จัตวาลักษณ์และจอห์น เอช. วอตสัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: จัตวาลักษณ์และประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

แรงพยาบาท

แรงพยาบาท (A Study in Scarlet) หรือฉบับแปลใหม่ใช้ชื่อว่า แค้นพยาบาท เป็นผลงานเขียนแนวสืบสวนสวบสวนของเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ เล่มแรกที่มีตัวเอกคือ เชอร์ล็อก โฮมส์ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1887 เซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์เขียนเรื่องนี้เมื่ออายุได้ 27 ปี โดยเป็นหมอฝึกหัดอยู่ที่เซาท์ซี (Southsea) ประเทศอังกฤษ ในช่วงเวลานั้นเขาได้เขียนเรื่องสั้นก่อนแล้วหลายเรื่องในนิตยสารต่าง ๆ เช่น ลอนดอนโซไซตี นวนิยายเล่มต่อไปที่ตามมาก็คือ จัตวาลักษณ์ หมวดหมู่:เชอร์ล็อก โฮมส์ หมวดหมู่:วรรณกรรมในปี พ.ศ. 2430.

ใหม่!!: จัตวาลักษณ์และแรงพยาบาท · ดูเพิ่มเติม »

เชอร์ล็อก โฮมส์

อร์ล็อก โฮมส์ เป็นนวนิยายสืบสวนหรือรหัสคดี ประพันธ์โดยเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ นักเขียนและนายแพทย์ชาวสกอต ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตัวละคร เชอร์ล็อก โฮมส์ เป็นนักสืบชาวลอนดอนผู้ปราดเปรื่องที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านทักษะการประมวลเหตุและผล ทักษะด้านนิติวิทยาศาสตร์ โดยอาศัยหลักฐานและการสังเกตอันคาดไม่ถึงเพื่อคลี่คลายคดี โคนัน ดอยล์ แต่งเรื่อง เชอร์ล็อก โฮมส์ ไว้ทั้งสิ้นเป็นเรื่องยาว 4 เรื่อง และเรื่องสั้น 56 เรื่อง เกือบทุกเรื่องเป็นการบรรยายโดยเพื่อนคู่หูของโฮมส์ คือ นายแพทย์จอห์น เอช. วอตสัน หรือ หมอวอตสัน ในจำนวนนี้ มี 2 เรื่องที่โฮมส์เป็นผู้เล่าเรื่องเอง และอีก 2 เรื่องเล่าโดยบุคคลอื่น เรื่องสั้นสองเรื่องแรกตีพิมพ์ใน Beeton's Christmas Annual ในปี..

ใหม่!!: จัตวาลักษณ์และเชอร์ล็อก โฮมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด ผจญภัย

อร์ล็อก โฮมส์ ชุด ผจญภัย (The Adventures of Sherlock Holmes) เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นชุดแรกของเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ ว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนคดีต่าง ๆ โดยโลดโผนของเชอร์ล็อก โฮมส์ ประกอบด้วยเรื่องสั้น 12 เรื่อง ฉบับแรกมีภาพวาดประกอบโดย Sidney Paget นำเรื่องสั้นทั้ง 12 เรื่องที่เคยตีพิมพ์ในนิตยสารสแตรนด์ (Strand Magazine) ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: จัตวาลักษณ์และเชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด ผจญภัย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

รหัสลักษณ์แห่งสี่

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »