โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จังหวัดซีลางังมีซามิส

ดัชนี จังหวัดซีลางังมีซามิส

ังหวัดซีลางังมีซามิส (เซบัวโน: Sidlakang Misamis) เป็นจังหวัดในเขตฮีลากังมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ มีเมืองศูนย์กลางคือคากายันเดอโอโร ซึ่งปกครองอย่างเป็นอิสระจากตัวจังหวัด จังหวัดซีลางังมีซามิสเป็นจังหวัดริมชายฝั่งทะเล ติดกับอ่าว 2 แห่งทางทิศเหนือ ได้แก่ อ่าวมาคาฮาลาร์ และอ่าวกิงกูกพื้นที่ทางตอนกลางของจังหวัดมีแม่น้ำหลายสาย ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากพื้นที่สูงในจังหวัดบูคิดโนน แม่น้ำสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำคากายัน.

15 ความสัมพันธ์: บารังไกย์ภาษาอังกฤษภาษาตากาล็อกภาษาเซบัวโนอ่าวจังหวัดบูคิดโนนจังหวัดฮีลากังลาเนาจังหวัดฮีลากังอากูซันจังหวัดคันลูรังมีซามิสจังหวัดคามีกินจังหวัดตีโมกอากูซันคากายันเดโอโรซังกูเนียงปันลาลาวีกันประเทศฟิลิปปินส์เขตฮีลากังมินดาเนา

บารังไกย์

รังไกย์ เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นของรัฐบาลที่เล็กที่สุดในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นคำที่ชาวฟิลิปปินส์พื้นเมืองสำหรับหมู่บ้านตำบลหรือวอร์ด ในการใช้งานเป็นภาษาพูดคำที่มักจะหมายถึงเขตเมืองชั้นในย่านชานเมืองหรือย่านชานเมือง คำว่าบารังไกย์คำมาจาก Balangay ชนิดของเรือที่ใช้โดยกลุ่มของประชาชนออสโตรนีเชียน เมื่อพวกเขาอพยพไปอยู่ในฟิลิปปินส์ ในเขตเทศบาลเมืองและเมืองที่มีองค์ประกอบของเกส์และพวกเขาอาจจะถูกแบ่งออกเป็นพื้นที่ขนาดเล็กที่เรียกว่า Purok (ไทย:เขต) และ Sitio ซึ่งเป็นดินแดนที่อยู่ภายในวงล้อมรังเกย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบท ณ วันที่ 30 กันยายน 2012 จำนวนบารังไกย์มีจำนวน 42,028 บารังไกย์ทั่วฟิลิปปิน.

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังมีซามิสและบารังไกย์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังมีซามิสและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตากาล็อก

ษาตากาล็อก เป็นหนึ่งในภาษาหลักของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีความสัมพันธ์กับภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮีตี ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุม และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนในไต้หวันเป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการคู่กับภาษาอังกฤษในประเทศฟิลิปปินส์ ใช้เป็นภาษากลางภายในประเทศ มีผู้พูดราว 85 ล้านคน ในทางธุรกิจนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากกว.

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังมีซามิสและภาษาตากาล็อก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเซบัวโน

ษาเซบู (Cebuano; Sebwano; เซบู: Sinugboanon) เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน มีผู้พูดในฟิลิปปินส์ 18 ล้านคน ชื่อในภาษาอังกฤษมาจากชื่อเกาะเซบู รวมกับปัจจัยจากภาษาสเปน -ano หมายถึง ที่เกี่ยวกับเชื้อชาต.

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังมีซามิสและภาษาเซบัวโน · ดูเพิ่มเติม »

อ่าว

อ่าวไทย อ่าว (Bay) หมายถึงส่วนพื้นที่ของทะเลที่ล้อมรอบโดยแผ่นดินใกล้เคียง คลื่นทะเลในอ่าวมักจะสงบกว่าทะเลหรือมหาสมุทรที่อยู่ภายนอกเนื่องจากแผ่นดินต้านแรงคลื่นและแรงลมบางส่วนเอาไว้ อ่าวมีลักษณะที่เว้าโค้งเป็นรูปต่างๆ กัน ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะนิยมเรียกอ่าวตามลักษณะที่เกิดขึ้นเช่น "อ่าวเขาควาย" จะมีลักษณะชายหาดที่งุ้มเหมือนเขาควาย "อ่าวมะนาว" มีลักษณะของทะเลที่เว้าเข้าไปในแผ่นดินเป็นรูปมะนาว เวิ้งน้ำขนาดใหญ่สามารถเรียกว่าอ่าว (bay, gulf) ทะเล (sea) บึงหรือทะเลสาบ (lake) ในขณะที่อ่าวขนาดเล็กที่เว้าเข้าตามชายฝั่ง (coast) รูปร่างโค้งรีและทางออกแคบเรียกว่าหาด (cove) ซึ่งมักจะมีชายหาดหรือหาดทราย (beach) อยู่ภายในเป็นบริเวณกว้าง ถ้าฝั่งสูงชันโดยตลอดอาจเรียกว่าฟยอร์ด (fjord) พบได้ตามเขตขั้วโลก อ่าวถูกสร้างขึ้นได้ทั้งโดยธรรมชาติและโดยมนุษย์ โดยธรรมชาติเกิดจากน้ำทะเลที่เข้ามาท่วมระหว่างแนวเทือกเขาใต้ทะเลและบนแผ่นดิน หรือการกัดเซาะแนวชายฝั่ง ซึ่งส่วนที่กัดเซาะได้ง่ายจะเว้าลึกเข้าไปมากกว่าส่วนที่กัดเซาะยาก เมื่อนานเข้าก็ทำให้เกิดอ่าวขึ้น สำหรับฟยอร์ดเกิดจากการเคลื่อนตัวและการกัดเซาะของธารน้ำแข็ง และโดยมนุษย์คือการก่อสร้างสิ่งกีดขวางเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณโดยรอบที่ไม่ได้ป้องกันจะถูกกัดเซาะเป็นเวิ้งน้ำ.

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังมีซามิสและอ่าว · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดบูคิดโนน

ังหวัดบูคิดโนน (เซบัวโน: Lalawigan sa Bukidnon) เป็นจังหวัดที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเขตฮีลากังมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ เมืองศูนย์กลางคือมาไลบาไล ในปี..

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังมีซามิสและจังหวัดบูคิดโนน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดฮีลากังลาเนา

ังหวัดฮีลากังลาเนา (เซบัวโน: Amihanang Lanao, มาราเนา: Ranao Pangotaraan) เป็นจังหวัดในเขตฮีลากังมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ เมืองศูนย์กลางคือตูโบด ในปี..

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังมีซามิสและจังหวัดฮีลากังลาเนา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดฮีลากังอากูซัน

ังหวัดฮีลากังอากูซัน (บูตูอาโนน: Probinsya hong Agusan del Norte; เซบัวโน: Amihanang Agusan) เป็นจังหวัดในเขตคารากา ประเทศฟิลิปปินส์ มีเมืองหลักชื่อว่าคาบัดบารัน อาณาเขตติดต่อกับจังหวัดฮีลากังซูรีเกาทางทิศเหนือ ติดกับจังหวัดตีโมกซูรีเกาทางทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดตีโมกอากูซันทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับจังหวัดคันลูรังมีซามิสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และติดกับอ่าวบูตูอันทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตอนกลางของจังหวัดเป็นจุดกำเนิดของแม่น้ำอากูซัน ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ยาวอันดับที่สามของประเทศ ปากแม่น้ำตั้งอยู่ที่อ่าวบูตูอัน ภูมิประเทศรอบ ๆ แม่น้ำเป็นที่ราบ ส่วนภูเขาปรากฏในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตก จังหวัดมีทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศ ชื่อว่า ทะเลสาบมาอีนิต ตั้งอยู่ทางตอนเหนือใกล้กับเขตจังหวัดฮีลากังซูรีเก.

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังมีซามิสและจังหวัดฮีลากังอากูซัน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดคันลูรังมีซามิส

ังหวัดคันลูรังมีซามิส (เซบัวโน: Kasadpang Misamis; Subanen: Sindepan Mis'samis) เป็นจังหวัดในเขตฮีลากังมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ มีเมืองศูนย์กลางคือโอโรคีเวตา ผู้ที่ตั้งถิ่นฐานตั้งแต่แรกเริ่มในจังหวัดนี้คือชาวซูบาโนน ซึ่งเป็นเป้าหมายของกลุ่มโจรสลัดจากจังหวัดลาเนา ชื่อจังหวัด บ้างก็มีที่มาจากสถานที่ตั้งฐานของชาวสเปนที่อ่าวปังกีล บ้างก็เพี้ยนมาจากคำว่า คูยามิส ซึ่งเป็นชื่อชนิดของมะพร้าว.

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังมีซามิสและจังหวัดคันลูรังมีซามิส · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดคามีกิน

ังหวัดคามีกิน (เซบัวโน: Lalawigan sa Camiguin) เป็นจังหวัดที่เป็นเกาะในประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งอยู่ในทะเลโบโฮล อยู่ห่างจากชายฝั่งมินดาเนา 10 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในภูมิภาคฮีลากังมินดาเนา และเคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดซีลางังมีซามิส จังหวัดคามีกิน เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่และประชากรน้อยเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัดบาตาเน.

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังมีซามิสและจังหวัดคามีกิน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดตีโมกอากูซัน

ังหวัดตีโมกอากูซัน (บูตัวนอน: Probinsya hong Agusan del Sur; เซบัวโน: Habagatang Agusan) เป็นจังหวัดในเขตคารากา ประเทศฟิลิปปินส์ มีเมืองหลักชื่อว่าโปรสเปอรีดัด มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดฮีลากังอากูซัน, ตีโมกซูรีเกา, ซีลางังดาเบา, ลัมบักนางโคมโปสเตลา, ฮีลากังดาเบา, บูคิดโนน และซีลางังมีซามิส ชื่อ "อากูซัน" เพี้ยนมาจากสำเนียงภาษาถิ่นที่ออกเสียงว่า อากาซัน แปลว่า "ดินแดนที่น้ำไหล" ซึ่งสื่อถึงแม่น้ำอากูซัน มีความยาว 250 กิโลเมตร และไหลลงสู่อ่าวบูตูอัน เป็นแม่น้ำที่ใหญ่เป็นอันดับที่สามของประเทศ และเป็นเส้นทางเดินเรือของชาวสเปนไปยังพื้นที่ตอนในของมินดาเนาตะวันออกเฉียงเหนือ.

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังมีซามิสและจังหวัดตีโมกอากูซัน · ดูเพิ่มเติม »

คากายันเดโอโร

กายันเดโอโร เป็นนครหนาแน่นในเขตฮีลากังมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นเมืองศูนย์กลางในเชิงภูมิศาสตร์ของจังหวัดซีลางังมีซามิส แต่ปกครองอย่างอิสระจากตัวจังหวัด เมืองนี้ยังถือเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคฮีลากังมินดาเนาอีกด้วย จึงเกิดการขยายตัวเป็นมหานครคากายันเดโอโร ซึ่งรวมพื้นที่ของเมืองเอลซัลวาดอร์, โอโปล, อาลูบีฮิด, ลากีนดิงกัน, กีตากุม, ตาโกโลอัน, บิลลานูเวบา, ฮาซาอัน, และคลาเบเรีย คากายันเดโอโรตั้งอยู่ริมชายฝั่งตอนเหนือของมินดาเนา ติดกับอ่าวมาคาฮาลาร์ มีประชากรในปี..

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังมีซามิสและคากายันเดโอโร · ดูเพิ่มเติม »

ซังกูเนียงปันลาลาวีกัน

ซังกูเนียงปันลาลาวีกัน (Sangguniang Panlalawigan; Provincial Council) หรือ โปรวินเชียลบอร์ด เป็นคำภาษาฟิลิปีโนที่ใช้เรียกแทนสภานิติบัญญัติประจำจังหวัดของประเทศฟิลิปปินส์ อำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัตินี้ ถูกกำหนดโดย ประมวลรัฐบาลท้องถิ่น ตั้งแต..

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังมีซามิสและซังกูเนียงปันลาลาวีกัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังมีซามิสและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตฮีลากังมินดาเนา

ตฮีลากังมินดาเนา‎ (Hilagang Kamindanawan) หรือ เขตที่ 10 เป็นเขตหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วย 5 จังหวัดและ 2 นครที่มีประชากรสูง เขตครอบคลุมพื้นที่ทางตอนเหนือถึงตอนกลางของเกาะมินดาเนาและเกาะของจังหวัดกามิกิน‎ ศูนย์กลางของเขตอยู่ที่เมืองคากายันเดอโอโร สำหรับจังหวัดฮีลากังลาเนา‎นั้น เคยอยู่ในเขตโซกซาร์เจนก่อนที่จะถูกย้ายเข้ามาในเขตนี้ ในเดือนกันยายน..

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังมีซามิสและเขตฮีลากังมินดาเนา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Misamis Oriental

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »