โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จังหวัดซีลางังดาเบา

ดัชนี จังหวัดซีลางังดาเบา

ังหวัดซีลางังดาเบา (เซบัวโน: Sidlakang Dabaw) เป็นจังหวัดในเขตดาเบา ประเทศฟิลิปปินส์ มีเมืองศูนย์กลางคือมาตี เป็นจังหวัดที่อยู่ทางทิศตะวันออกสุดของประเทศ โดยจุดตะวันออกสุดคือแหลมปูซัน ตั้งอยู่ที่เทศบาลคารากา แหลมนี้ติดกับทะเลฟิลิปปินในมหาสมุทรแปซิฟิก จังหวัดซีลางังดาเบามีชื่อเสียงสำหรับแหล่งเพาะปลูกมะพร้าวรายใหญ่ของประเทศ จนได้รับสมญาว่า เมืองแห่งมะพร้าวของฟิลิปปิน.

15 ความสัมพันธ์: บารังไกย์ภาษาฟิลิปีโนภาษาอังกฤษภาษาเซบัวโนมหาสมุทรแปซิฟิกมะพร้าวมาตี (จังหวัดซีลางังดาเบา)จังหวัดลัมบักนางโคมโปสเตลาจังหวัดตีโมกอากูซันจังหวัดตีโมกดาเบาจังหวัดตีโมกซูรีเกาทะเลฟิลิปปินซังกูเนียงปันลาลาวีกันประเทศฟิลิปปินส์เขตดาเบา

บารังไกย์

รังไกย์ เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นของรัฐบาลที่เล็กที่สุดในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นคำที่ชาวฟิลิปปินส์พื้นเมืองสำหรับหมู่บ้านตำบลหรือวอร์ด ในการใช้งานเป็นภาษาพูดคำที่มักจะหมายถึงเขตเมืองชั้นในย่านชานเมืองหรือย่านชานเมือง คำว่าบารังไกย์คำมาจาก Balangay ชนิดของเรือที่ใช้โดยกลุ่มของประชาชนออสโตรนีเชียน เมื่อพวกเขาอพยพไปอยู่ในฟิลิปปินส์ ในเขตเทศบาลเมืองและเมืองที่มีองค์ประกอบของเกส์และพวกเขาอาจจะถูกแบ่งออกเป็นพื้นที่ขนาดเล็กที่เรียกว่า Purok (ไทย:เขต) และ Sitio ซึ่งเป็นดินแดนที่อยู่ภายในวงล้อมรังเกย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบท ณ วันที่ 30 กันยายน 2012 จำนวนบารังไกย์มีจำนวน 42,028 บารังไกย์ทั่วฟิลิปปิน.

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังดาเบาและบารังไกย์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฟิลิปีโน

ษาฟิลิปปินส์ หรือ ภาษาฟิลิปีโน (Filipino) เป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการภาษาหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์คู่กับภาษาอังกฤษ กำหนดเมื่อ พ.ศ. 2530 ภาษานี้เป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษาตากาล็อก เมื่อ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 สถาบันภาษาแห่งชาติเลือกภาษาตากาล็อกซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นที่มีการใช้เป็นภาษาเขียนมากที่สุดมาเป็นพื้นฐานของภาษาประจำชาติภาษาใหม่ใน พ.ศ. 2504 ภาษานี้เป็นที่รู้จักในชื่อ ปิลิปีโน และเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2515.

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังดาเบาและภาษาฟิลิปีโน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังดาเบาและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเซบัวโน

ษาเซบู (Cebuano; Sebwano; เซบู: Sinugboanon) เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน มีผู้พูดในฟิลิปปินส์ 18 ล้านคน ชื่อในภาษาอังกฤษมาจากชื่อเกาะเซบู รวมกับปัจจัยจากภาษาสเปน -ano หมายถึง ที่เกี่ยวกับเชื้อชาต.

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังดาเบาและภาษาเซบัวโน · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังดาเบาและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

มะพร้าว

มะพร้าว เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลปาล์ม มะพร้าว เป็นพืชซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายทาง เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อนใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่นำไปขูดและคั้นทำกะทิ กะลานำไปประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ ฯลฯ นอกจากนี้มะพร้าวจัดเป็นพรรณไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล.

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังดาเบาและมะพร้าว · ดูเพิ่มเติม »

มาตี (จังหวัดซีลางังดาเบา)

มาตี เป็นนครระดับที่ 5 และเป็นเมืองศูนย์กลางของจังหวัดซีลางังดาเบา ประเทศฟิลิปปินส์ มีประชากร 141,141 คนในปี..

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังดาเบาและมาตี (จังหวัดซีลางังดาเบา) · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดลัมบักนางโคมโปสเตลา

ังหวัดลัมบักนางโคมโปสเตลา (เซบัวโน: Kawalogang Kompostela) หรือ ดาเบาเดโอโร เป็นจังหวัดในเขตดาเบา ประเทศฟิลิปปินส์ มักถูกเรียกสั้น ๆ ว่า โคมบัล เคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดฮีลากังดาเบา จนกระทั่งได้รับการจัดตั้งในปี..

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังดาเบาและจังหวัดลัมบักนางโคมโปสเตลา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดตีโมกอากูซัน

ังหวัดตีโมกอากูซัน (บูตัวนอน: Probinsya hong Agusan del Sur; เซบัวโน: Habagatang Agusan) เป็นจังหวัดในเขตคารากา ประเทศฟิลิปปินส์ มีเมืองหลักชื่อว่าโปรสเปอรีดัด มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดฮีลากังอากูซัน, ตีโมกซูรีเกา, ซีลางังดาเบา, ลัมบักนางโคมโปสเตลา, ฮีลากังดาเบา, บูคิดโนน และซีลางังมีซามิส ชื่อ "อากูซัน" เพี้ยนมาจากสำเนียงภาษาถิ่นที่ออกเสียงว่า อากาซัน แปลว่า "ดินแดนที่น้ำไหล" ซึ่งสื่อถึงแม่น้ำอากูซัน มีความยาว 250 กิโลเมตร และไหลลงสู่อ่าวบูตูอัน เป็นแม่น้ำที่ใหญ่เป็นอันดับที่สามของประเทศ และเป็นเส้นทางเดินเรือของชาวสเปนไปยังพื้นที่ตอนในของมินดาเนาตะวันออกเฉียงเหนือ.

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังดาเบาและจังหวัดตีโมกอากูซัน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดตีโมกดาเบา

ังหวัดตีโมกดาเบา (เซบัวโน: Habagatang Dabaw) เป็นจังหวัดในเขตดาเบา ประเทศฟิลิปปินส์ มีเมืองศูนย์กลางและเมืองใหญ่สุดคือดีโกส มีอาณาเขตติดกับนครอิสระดาเบาทางทิศเหนือ ติดกับจังหวัดคันลูรังดาเบาทางทิศใต้ ติดกับจังหวัดโคตาบาโต‎ ซุลตันคูดารัต ตีโมกโคตาบาโต และซารังกานีทางทิศตะวันตก ส่วนทางทิศตะวันออกติดกับอ่าวดาเบา ภูมิประเทศของจังหวัดประกอบด้วยหาดทราย เกาะ ทุ่งเกษตรกรรม ภูเขา หุบเขา ป่า และแม่น้ำลำธาร โดยภูเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดคือภูเขาอาโป ซึ่งสูง 2,954 เมตรจากระดับน้ำทะเล.

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังดาเบาและจังหวัดตีโมกดาเบา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดตีโมกซูรีเกา

ังหวัดตีโมกซูรีเกา (ซูรีเกา: Probinsya nan Surigao del Sur; เซบัวโน: Habagatang Surigao) เป็นจังหวัดในเขตคารากา ประเทศฟิลิปปินส์ มีเมืองหลักชื่อว่า ตันดัก จังหวัดนี้ตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันออกของเกาะมินดาเนา ติดกับทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก มีร่องลึกฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นหนึ่งในร่องลึกที่ลึกที่สุดในโลก ส่วนทางทิศตะวันตกมีแนวเทือกเขาดีวาตา ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติที่กั้นออกจากจังหวัดอื่น ๆ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ น้ำตกตีนุยอัน หรือ "น้ำตกไนแอการาน้อยแห่งฟิลิปปินส์" เป็นน้ำตกขนาดใหญ่สามชั้น สูง 55 เมตร กว้าง 95 เมตร.

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังดาเบาและจังหวัดตีโมกซูรีเกา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลฟิลิปปิน

ทะเลฟิลิปปิน ทะเลฟิลิปปิน (Dagat Pilipinas; Philippine Sea) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ มีร่องลึกได้แก่ ร่องลึกฟิลิปปินเทรนซ์และมาเรียนาเทรนซ์ ที่เป็นจุดลึกที่สุดในโลก.

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังดาเบาและทะเลฟิลิปปิน · ดูเพิ่มเติม »

ซังกูเนียงปันลาลาวีกัน

ซังกูเนียงปันลาลาวีกัน (Sangguniang Panlalawigan; Provincial Council) หรือ โปรวินเชียลบอร์ด เป็นคำภาษาฟิลิปีโนที่ใช้เรียกแทนสภานิติบัญญัติประจำจังหวัดของประเทศฟิลิปปินส์ อำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัตินี้ ถูกกำหนดโดย ประมวลรัฐบาลท้องถิ่น ตั้งแต..

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังดาเบาและซังกูเนียงปันลาลาวีกัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังดาเบาและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตดาเบา

ตดาเบา หรือชื่อเดิม เซาเทิร์นมินดาเนา (Timog Mindanao) หรือ เขตที่ 11 เป็นเขตหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะมินดาเนา ประกอบไปด้วย 5 จังหวัด ล้อมรอบด้วยอ่าวดาเบา เมืองศูนย์กลางของเขตนี้คือดาเบา สภาพภูมิอากาศ มีฝนตกตลอดทั้งปี และตั้งอยู่ในแนวพายุไต้ฝุ่น.

ใหม่!!: จังหวัดซีลางังดาเบาและเขตดาเบา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Davao Oriental

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »