โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลง

ดัชนี จังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลง

ังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลง เป็นชื่อภาษาไทยของภาพยนตร์เรื่อง "Dancer in the Dark" ภาพยนตร์เพลง/ดรามา ที่กำกับและเขียนบทโดยลาร์ส ฟอน เทรียร์ นำแสดง ร้องและแต่งเพลงประกอบโดยปีเยิร์ก เป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายในไตรภาค "หัวใจทองคำ" (Golden Heart Trilogy) ของลาร์ส ฟอน เทรียร์ ต่อจากเรื่อง Breaking the Waves (1996) และ The Idiots (1998) ภาพยนตร์ถ่ายทำด้วยกล้องวิดีโอดิจิตอลโดยใช้แสงธรรมชาติ ไม่มีการจัดแสงใดๆ ใช้เทคนิคที่เรียกว่า Cinéma vérité ทำให้ได้ภาพสั่นไหว ภาพยนตร์ออกฉายครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ประจำปี 2000 และได้รับรางวัลปาล์มทองคำ นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ปีเยิร์ก) ผู้กำกับยอดเยี่ยม (ฟอน เทรียร์) ประจำปีนั้น ท่ามกลางความอื้อฉาว เนื่องจากผู้ชมจำนวนมากเดินออกจากโรงภาพยนตร์ระหว่างการฉาย เนื่องจากทนไม่ได้กับภาพที่สั่นไหวจากการถ่ายทำด้วยกล้องมือถือ นอกเหนือจากเพลงประกอบของปีเยิร์กแล้ว ในภาพยนตร์ยังประกอบด้วยเพลงสามเพลงของร็อดเจอร์สและแฮมเมอร์สไตน์ จากเรื่องมนต์รักเพลงสวรรค์ คือเพลง "My Favorite Things" ที่เธอร้องขณะกำลังจะถูกประหารชีวิต นอกจากนี้ เพลง "I've Seen It All" ในภาพยนตร์ ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาเพลงประกอบยอดเยี่ยม อัลบัมดนตรีประกอบภาพยนตร์ ใช้ชื่ออัลบัมตามตัวละครเอกว่า Selmasongs.

13 ความสัมพันธ์: กาทรีน เดอเนิฟว์มนต์รักเพลงสวรรค์รางวัลออสการ์รางวัลปาล์มทองคำริชาร์ด ร็อดเจอร์สละครเวทีออสการ์ แฮมเมอร์สไตน์ที่ 2จูลี แอนดรูส์ปีเยิร์กโทษประหารชีวิตเช็กเทศกาลภาพยนตร์กานBreaking the Waves

กาทรีน เดอเนิฟว์

กาทรีน เดอเนิฟว์ (Catherine Deneuve) นักแสดงหญิงชาวฝรั่งเศสผู้เคยได้รับรางวัลซีซาร์ 2 สมัย และเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ และรางวัลบาฟตา มีชื่อเสียงจากบทบาทในภาพยนตร์ของรอเฌ วาดีม, ลุยส์ บูญวยล์, โรมัน โปลันสกี, ฌัก เดอมี และฟร็องซัว ทรูว์โฟ กาทรีน เดอเนิฟว์ มีชื่อจริงว่า กาทรีน ฟาเบียน ดอร์เลอัก (Catherine Fabienne Dorléac) เป็นบุตรคนที่สามของสามีภรรยานักแสดง มอริส ดอร์เลอัก และเรอเน เดอเนิฟว์ มีพี่สาวที่เป็นนักแสดงเช่นกัน ชื่อ ฟร็องซวซ ดอร์เลอัก ส่วนเธอใช้นามสกุลของมารดาในการแสดง กาทรีน เดอเนิฟว์ เริ่มเป็นนักแสดงตั้งแต่อายุ 13 ปี โดยรับบทนักแสดงประกอบเล็ก ๆ เริ่มมีชื่อเสียงจากภาพยนตร์หลาย ๆ เรื่องของรอเฌ วาดีม และโด่งดังจากภาพยนตร์เพลงของฌัก เดอมีในปี 1964 เรื่อง Les Parapluies de Cherbourg (Umbrellas of Cherbourg) ต่อมาในปี 1967 เธอได้แสดงภาพยนตร์เพลงอีกเรื่องหนึ่งของเดอมี ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาดนตรีประกอบยอดเยี่ยม คือ Les Demoiselles de Rochefort (The Young Girls of Rochefort) โดยแสดงนำคู่กับฟร็องซวซ ดอร์เลอัก พี่สาว ก่อนพี่สาวของเธอจะเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ผลงานอื่นของกาทรีน เดอเนิฟว์ ที่ได้รับคำชื่นชมได้แก่ Repulsion (1965) ของโรมัน โปลันสกี, Belle de Jour (1967) และ Tristana (1970) ของลุยส์ บูญวยล์, Le Dernier métro (1980) ของฟร็องซัว ทรูว์โฟ ซึ่งได้รับรางวัลซีซาร์ และ The Hunger (1983) ของโทนีย์ สก็อตต์ ที่มีบทเลสเบียนที่อื้อฉาวกับซูซาน ซาแรนดอน ผลงานในระยะหลัง ที่สำคัญได้แก่ บทนำใน อินโดจีน (1992) ได้รับรางวัลซีซาร์ และเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ในฐานะนักแสดงนำ ส่วนตัวภาพยนตร์ได้รับรางวัลในสาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม ทั้งรางวัลออสการ์ และรางวัลลูกโลกทองคำ ในปี 2000 เธอรับบทสมทบใน Dancer in the Dark กำกับโดยลาร์ส ฟอน เทรียร์ นำแสดงโดยปีเยิร์ก ซึ่งได้รับรางวัลปาล์มทองคำจากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ กาทรีน เดอเนิฟว์ ยังมีผลงานในฐานะนางแบบ เธอเคยเป็นนางแบบให้กับสินค้าน้ำหอมชาแนล เสื้อผ้าอีฟว์ แซ็ง โลร็อง, กระเป๋าหลุยส์ วิตตอง, ลอรีอัล ใบหน้าของเธอถูกใช้เป็นต้นแบบของมารียาน (Marianne) สัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส ระหว่างปี 1985 ถึง 1989 ต่อจากบรีฌิต บาร.

ใหม่!!: จังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลงและกาทรีน เดอเนิฟว์ · ดูเพิ่มเติม »

มนต์รักเพลงสวรรค์

มนต์รักเพลงสวรรค์ (The Sound of Music) เป็นภาพยนตร์เพลง (Musical) ที่กำกับโดย โรเบิร์ต ไวส์ แสดงนำโดย จูลี่ แอนดรูว์ ออกฉายในปี พ.ศ. 2508 โดยมีเนื้อหาตามละครเพลงบรอดเวย์ The Sound of Music ที่ออกแสดงครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: จังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลงและมนต์รักเพลงสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลออสการ์

รางวัลออสการ์ อะแคเดมีอะวอร์ด ("รางวัลสถาบัน") หรืิอ ออสการ์ เป็นรางวัลทางภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก จัดโดยสถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ (หรือ) เริ่มจัดครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: จังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลงและรางวัลออสการ์ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลปาล์มทองคำ

รางวัลปาล์มทองคำ (Palme d'Or) เป็นรางวัลสูงสุดในการประกวดภาพยนตร์ของเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ มีครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: จังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลงและรางวัลปาล์มทองคำ · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด ร็อดเจอร์ส

ริชาร์ด ชาร์ลส ร็อดเจอร์ส (28 มิถุนายน ค.ศ. 1902 - 30 ธันวาคม ค.ศ. 1979) นักแต่งเพลง และละครเพลงชาวอเมริกัน มีผลงานแต่งทำนองเพลงมากกว่า 900 เพลง และละครบรอดเวย์ 40 เรื่อง รวมไปถึงเพลงประกอบภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ โดยมีชื่อเสียงจากผลงานร่วมกับนักแต่งคำร้อง ลอเรนซ์ ฮาร์ท ในชื่อ "ร็อดเจอร์ส และฮาร์ท" (Rodgers and Hart) ระหว่างปี ค.ศ. 1919 - ค.ศ. 1942 และกับออสการ์ แฮมเมอร์สไตน์ที่ 2 ในชื่อ "ร็อดเจอร์ส และแฮมเมอร์สไตน์" (Rodgers and Hammerstein) ระหว่างปี ค.ศ. 1943 - ค.ศ. 1957 ริชาร์ด ร็อดเจอร์ส เป็นนักแต่งเพลงเพียงหนึ่งในสองคน ที่ได้รับรางวัลด้านดนตรีจากทุกสถาบันหลัก ทั้ง รางวัลออสการ์ รางวัลแกรมมี รางวัลเอมมี รางวัลโทนี และรางวัลพูลิตเซอร์ (อีกคนหนึ่งคือ มาร์วิน แฮมลิสช์) ผลงานร่วมของ ร็อดเจอร์ส และแฮมเมอร์สไตน์ ที่มีชื่อเสียงจำนวน 5 เรื่อง คือ Oklahoma!, Carousel, South Pacific (มนต์รักเพลงใต้), The King and I (เดอะคิงแอนไอ) และ The Sound of Music (มนต์รักเพลงสวรรค์).

ใหม่!!: จังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลงและริชาร์ด ร็อดเจอร์ส · ดูเพิ่มเติม »

ละครเวที

ภาพวาด การแสดงละครเวทีเรื่อง Romeo and Juliet ละครเวทีละครเพลงซึ่งเน้นการร้องมากกว่า คาดกันว่าละครเวทีมีมาตั้งแต่สมัยกรีก อริสโตเติลบันทึกไว้ว่าละครของกรีก เริ่มต้น จุดเด่นของละครเวทีคือ การสื่อสารระหว่างผู้ชมกับนักแสดง การสื่อสารระหว่างผู้ชมและนักแสดงเกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กัน วอลเตอร์ เคอร์ นักวิจารณ์ชาวอเมริกันพูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่า "ความสัมพันธ์ระหว่างคนดูกับนักแสดงเช่นนี้ไม่มีในภาพยนตร์ เพราะภาพยนตร์เป็นสิ่งที่สร้างมาสำเร็จรูปแล้ว มันไม่สามารถตอบสนองเราได้ เพราะนักแสดงในภาพยนตร์ไม่สามารถได้ยินเรา รู้สึกถึงตัวตนของเราและไม่ว่าเราจะมีปฏิกิริยาอย่างไรก็ไม่มีผลใดๆ" องค์ประกอบของละครเวที คือ การแสดงสดบนเวที ที่มีฉาก แสง เสียง ประกอบ และบทละคร คือ ส่วนที่สำคัญที่สุดในการทำละครทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งละครเวที เพราะมันคือ ตัวกำหนดองค์ประกอบอื่นๆ ทุกอย่างในละคร ไม่ว่าจะเป็น โครงของเรื่อง) ของนักแสดงด้วย หมวดหมู่:ศิลปะการแสดง.

ใหม่!!: จังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลงและละครเวที · ดูเพิ่มเติม »

ออสการ์ แฮมเมอร์สไตน์ที่ 2

ออสการ์ แฮมเมอร์สไตน์ที่ 2 (12 กรกฎาคม ค.ศ. 1895 - 23 สิงหาคม ค.ศ. 1960) มีชื่อเต็มว่า ออสการ์ กรีลีย์ เคลนเดนนิง แฮมเมอร์สไตน์ นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เชื้อสายสก็อตแลนด์ เป็นหลานชายของ ออสการ์ แฮมเมอร์สไตน์ที่ 1 ชาวยิวอพยพมาจากสก็อตแลนด์ ซึ่งมีชื่อเสียงในฐานะผู้บุกเบิกการสร้างโรงละคร และโอเปร่า ในนครนิวยอร์ก แฮมเมอร์สไตน์ที่ 2 มีชื่อเสียงในฐานะนักประพันธ์คำร้องเพลง และบทละคร โดยเฉพาะผลงานคู่กับ ริชาร์ด ร็อดเจอร์ส ในชื่อ "ร็อดเจอร์ส และแฮมเมอร์สไตน์" ออสการ์ แฮมเมอร์สไตน์ที่ 2 เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เมื่ออายุ 65 ปี ผลงานแต่งเพลง เพลงสุดท้ายของเขาคือเพลง "Edelweiss" จากละครเพลงเรื่อง The Sound of Music ชื่อสกุลของเขา อ่านว่า "แฮมเมอร์สไตน์" คนทั่วไปมักออกเสียงผิดเป็น "แฮมเมอร์สทีน".

ใหม่!!: จังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลงและออสการ์ แฮมเมอร์สไตน์ที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

จูลี แอนดรูส์

ณหญิงจูเลีย เอลิซาเบท แอนดรูส์ (อังกฤษ: Dame Julia Elizabeth Andrews, DBE; เกิดวันที่ 1 ตุลาคม ปี ค.ศ. 1935) นักร้อง นักแสดงชาวอังกฤษ ที่มีชื่อเสียงจากละครบรอดเวย์เรื่อง My Fair Lady (ชื่อไทย บุษบาริมทาง ปี 1956) และ Camelot (ปี 1960) และภาพยนตร์เพลง เรื่อง Mary Poppins (ปี 1964) และ The Sound of Music (ชื่อไทย มนต์รักเพลงสวรรค์ ปี 1965) จูลี แอนดรูส์ ได้รับรางวัลการแสดงมากมาย ทั้งรางวัลออสการ์ รางวัลเอมมี รางวัลลูกโลกทองคำ รางวัลบาฟตา จูลี่ เอลิซาเบท แอนดรูว์ส มีชื่อเดิมว่า จูลี่ เอลิซาเบท เวลส์ เกิดในครอบครัวนักแสดง ที่เซอร์เรย์ ประเทศอังกฤษ เข้าสู่วงการแสดงครั้งแรกเมื่ออายุ 10 ปี ในการแสดงของครอบครัว และเริ่มร้องเพลงโอเปร่าเมื่ออายุ 12 ปี ที่ลอนดอน เธอเริ่มแสดงบรอดเวย์ ที่นิวยอร์กเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1954 ก่อนจะถึงวันเกิดอายุครบ 19 ปี และได้ร่วมการแสดงของบิง ครอสบี ในปีถัดมา ในปี ค.ศ. 1956 เธอได้รับบทนำในละครบรอดเวย์เรื่อง My Fair Lady (บุษบาริมทาง) ดัดแปลงจากบทประพันธ์ของ จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ คู่กับ เร็กซ์ แฮริสัน รับบทซินเดอเรลลา ในละครโทรทัศน์ความยาว 60 นาที ของร็อดเจอร์ส และแฮมเมอร์สไตน์ แสดงสดทางสถานี ซีบีเอส ในปี ค.ศ. 1957 และละครบรอดเวย์เรื่อง Camelot ดัดแปลงจากตำนานเรื่องกษัตริย์อาเธอร์ รับบทราชินีกีเนเวียร์ คู่กับ ริชาร์ด เบอร์ตัน ในปี ค.ศ. 1960 เมื่อมีการนำ My Fair Lady มาสร้างภาพยนตร์ในปี..

ใหม่!!: จังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลงและจูลี แอนดรูส์ · ดูเพิ่มเติม »

ปีเยิร์ก

ปีเยิร์ก กืดมึนด์สตอตตีร์ เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1965 รู้จักกันในนาม ปีเยิร์ก เป็นนักร้องชาวไอซ์แลนด์, นักแต่งเพลง, นักดนตรี, โปรดิวเซอร์ และบางครั้งก็เป็นนักแสดง เธอเป็นที่รู้จักจากการเป็นนักร้องนำวงแนว ออลเทอร์นาทิฟ เดอะชูการ์คิวส์, หลังปล่อยซิงเกิ้ล Birthday ในปี 1987 ซึ่งติดชาร์จเพลงอินดี้ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร และเป็นที่ชื่นชอบในหมู่นักวิจารณ์เพลง ปีเยิร์กเริ่มผลงานเดี่ยวในปี 1993, อัลบั้มเดี่ยว Debut เป็นผลงานแนวเพลง ดนตรีอิเล็คทรอนิกส์, เฮาส์ (แนวดนตรี), แจ๊ส, ทริปฮอป และเป็นหนึ่งในอัลบั้มแรกที่ที่ทำให้แนวเพลงอิเล็คทรอนิกส์อยู่ในกระแสหลัก ในการครบรอบสามสิบปีที่ในวงการดนตรีของเธอ, ปีเยิร์กได้พัฒนารูปแบบดนตรีโดยเอาลักษณะของการเต้น, ร็อค, ทริปฮอป, แจ๊ส, ดนตรีคลาสสิก, ดนตรีทดลอง และ อาว็อง-การ์ด ปีเยิร์กมี 30 ซิงเกิ้ลที่ได้ท็อป 40 ในป็อปชาร์จทั่วโลก ซิงเกิ้ลเพลงของปีเยริ์คติดลำดับ 22 ท็อปใน 40 ฮิตในสหราชอาณาจักร อย่างชาร์จซิงเกิ้ลในสหราชอาณาจักรโดยติดเป็นเวลา 10 สัปดาห์ "It's Oh So Quiet", "Army of Me", และ "Hyperballad" ยิ่งไปกว่านั้น, "Big Time Sensuality", "Hyperballad" และ "I Miss You" ยังติดอันดับในชาร์จเพลงแดนซ์ในอเมริกา ค่ายเพลงปีเยิร์ก One Little Indian รายงานว่าเธอขายไปได้มากกว่า 15 ล้านแผ่นในปี 2003 ปัจจุบันยอดขายของปีเยิร์กอยู่ในระหว่าง 20 ถึง 40 ล้านแผ่น ปีเยิร์กได้รางวัล บริตอะวอดส์ สี่ครั้ง, เอ็มทีวี วิดิโอ มิวสิคอะวอดส์สี่ครั้ง, โมโจ อวอร์ดส์หนึ่งครั้ง, ยูเคมิวสิควิดิโออวอร์ดส สามครั้ง, ไอซแลนด์ มิวสิค อวอร์ดส 21 ครั้ง และในปี 2010, เดอะ โพลาร์ มิวสิค ไพรซ์ จาก รอยัลสวีเดนอาคเดมีออฟซอง บอกลักษณะแนวเพลงของปีเยิร์กว่า เป็นแนวเพลงที่แหวกแนว และการจัดการที่ละเอียด พร้อมโดยเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของเธอ เธอยังได้รับเสนอชื่อแกรมมี่อะวอร์ดสถึง 13 ครั้ง นอกจากนี้ยังเสนอชื่อรางวัลออสการ์ 1 ครั้ง และเสนอชื่อสองครั้งใน รางวัลลูกโลกทองคำ เธอเข้าชิงรางวัลนักแสดงหญิงยอดเยี่ยมในเทศกาลภาพยนตร์ 2000 Cannes Flim Festival จากการแสดงของเธอใน จังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลง (Dancer in the Dark) อัลบั้มของเธอในปี 2011 Biophilia เป็นอัลบั้มชุดแรกที่มีการปล่อยลงในแอปพลิเคชันแบบสัมผัสได้และในปี 2014 แอพดังกล่าวยังเป็นแอพแรกๆที่ถูกนำเข้าใน พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม.

ใหม่!!: จังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลงและปีเยิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

โทษประหารชีวิต

ประเทศที่เลิกใช้โทษประหารชีวิต: 103 ประเทศ โทษประหารชีวิต หรือ อุกฤษฏ์โทษ (capital punishment, death penalty) เป็นกระบวนการทางกฎหมายซึ่งรัฐลงโทษอาชญากรรมของบุคคลด้วยการทำให้ตาย คำสั่งของศาลที่ให้ลงโทษบุคคลในลักษณะนี้ เรียก การลงโทษประหารชีวิต ขณะที่การบังคับใช้โทษนี้ เรียก การประหารชีวิต อาชญากรรมที่มีโทษประหารชีวิต เรียก "ความผิดอาญาขั้นอุกฤษฏ์โทษ" คำว่า capital มาจากคำภาษาละตินว่า capitalis ความหมายตามตัวอักษร คือ "เกี่ยวกับหัว" (หมายถึงการประหารชีวิตโดยการตัดหัว) สังคมอดีตส่วนมากนั้นมีโทษประหารชีวิตโดยเป็นการลงโทษอาชญากร และผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมืองหรือศาสนา ในประวัติศาสตร์ การลงโทษประหารชีวิตมักสัมพันธ์กับการทรมาน และมักประหารชีวิตในที่สาธารณะ ปัจจุบันมีประเทศที่ยังคงโทษประหารชีวิต 58 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับอาชญากรรมทุกรูปแบบโดยนิตินัย 98 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตเฉพาะอาชญากรรมปรกติ 7 ประเทศ (โดยคงไว้สำหรับพฤติการณ์พิเศษ เช่น อาชญากรรมสงคราม) และประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยพฤตินัย (คือ ไม่ได้ใช้โทษประหารชีวิตอย่างน้อยสิบปี และอยู่ระหว่างงดใช้โทษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง) องค์การนิรโทษกรรมสากลมองว่าประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้ยกเลิก (abolitionist) โดยองค์การฯ พิจารณาว่า 140 ประเทศเป็นผู้ยกเลิกในทางกฎหมายหรือทางปฏิบัติ การประหารชีวิตเกือบ 90% ทั่วโลกเกิดในทวีปเอเชีย แทบทุกประเทศในโลกห้ามการประหารชีวิตบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปีขณะก่อเหตุ นับแต่ปี 2552 มีเพียงประเทศอิหร่าน ซาอุดิอาระเบียและซูดานที่ยังประหารชีวิตลักษณะนี้ กฎหมายระหว่างประเทศห้ามการประหารชีวิตประเภทนี้ โทษประหารชีวิตกำลังเป็นประเด็นการถกเถียงอยู่ในหลายประเทศ และจุดยืนอาจมีได้หลากหลายในอุดมการณ์ทางการเมืองหรือภูมิภาคทางวัฒนธรรมหนึ่ง ๆ ในรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป ข้อ 2 แห่งกฎบัตรสิทธิมูลฐานแห่งสหภาพยุโรปห้ามการใช้โทษประหารชีวิต สภายุโรปซึ่งมีรัฐสมาชิก 47 ประเทศ ยังห้ามสมาชิกใช้โทษประหารชีวิต สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลงมติรับข้อมติไม่ผูกพันในปี 2550, 2551 และ 2553 เรียกร้องให้มีการผ่อนเวลาการประหารชีวิตทั่วโลก ซึ่งมุ่งให้ยกเลิกในที่สุด แม้หลายชาติยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว แต่ประชากรโลกกว่า 60% อาศัยอยู่ในประเทศซึ่งเกิดการประหารชีวิต เช่น สี่ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก คือ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซีย ซึ่งยังใช้บังคับโทษประหารชีวิต ทั้งสี่ประเทศออกเสียงคัดค้านข้อมติสมัชชาใหญ่ดังกล่าว.

ใหม่!!: จังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลงและโทษประหารชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

เช็ก

็ก หรือ เช็ค อาจหมายถึง.

ใหม่!!: จังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลงและเช็ก · ดูเพิ่มเติม »

เทศกาลภาพยนตร์กาน

ทศกาลภาพยนตร์กาน (Cannes Film Festival; Festival de Cannes) เป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1946 ถือเป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกเทศกาลหนึ่ง และมีอิทธิพลรวมทั้งชื่อเสียงมากที่สุดเทียบเคียงกับเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิสและเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน งานจัดขึ้นทุกปี ราวเดือนพฤษภาคม ที่ Palais des Festivals et des Congrès ในเมืองกาน ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่ง.

ใหม่!!: จังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลงและเทศกาลภาพยนตร์กาน · ดูเพิ่มเติม »

Breaking the Waves

Breaking the Waves เป็นภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ เขียนบทและกำกับโดยลาร์ส ฟอน เทรียร์ นำแสดงโดยเอมิลี วัตสัน และสเตลลัน สคาร์การ์ด เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในไตรภาค "หัวใจทองคำ" (Golden Heart Trilogy) ของลาร์ส ฟอน เทรียร์ ที่ประกอบด้วย Breaking the Waves (1996), The Idiots (1998) และ Dancer in the Dark (2000) ลาร์ส ฟอน เทรียร์ได้โครงเรื่องของภาพยนตร์เรื่องนี้มาจากนิทานที่เขาชื่นชอบมาตั้งแต่เด็ก เรื่อง "Golden Heart" กล่าวถึงเด็กหญิงคนหนึ่ง ที่เข้าไปเที่ยวเล่นในป่าพร้อมกับขนมปังแถวหนึ่ง เมื่อกลับออกมา เธอมีเพียงร่างกายเปลือยเปล่าไม่เหลืออะไรเลย มีแต่ร่างเปลือยเปล่าเท่านั้น เปรียบเทียบกับในภาพยนตร์ ที่ตัวเอกยอมเสียสละทุกสิ่งเพื่อให้คนรักพบแต่ความสุข ภาพยนตร์ถ่ายทำด้วยกล้องมือถือ ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า Cinéma vérité ทำให้ได้ภาพสั่นไหว ทำให้ผู้ชมจำนวนมากไม่สามารถทนชมได้จนจบเรื่อง เพราะเกิดอาการมึน และปวดศีรษะ เดิมลาร์ส ฟอน เทรียร์ คัดเลือกเฮเลนา บอนด์แฮม คาร์เตอร์ หรือเมลานี กริฟฟิท ให้รับบทเบส แต่ถูกปฏิเสธเนื่องจากต้องแสดงบทเปลือยกาย และฉากเซ็กซ์ ภาพยนตร์ได้รับรางวัลกรังปรีซ์ จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ประจำปี 1996 และรางวัลอื่นๆ จากเทศกาลภาพยนตร์ยุโรป และทำให้เอมิลี วัตสัน ไดรับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมในปีนั้น.

ใหม่!!: จังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลงและBreaking the Waves · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Dancer in the Dark

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »