โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จอร์จ ออร์เวลล์

ดัชนี จอร์จ ออร์เวลล์

อร์จ ออร์เวลล์ จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) เป็นนามปากกาของ เอริก อาร์เทอร์ แบลร์ (Eric Arthur Blair) นักเขียนชาวอังกฤษ (25 มิถุนายน พ.ศ. 2446 - 21 มกราคม พ.ศ. 2493) นอกจากจะเป็นนักวิจารณ์ด้านการเมืองและวัฒนธรรมแล้ว ออร์เวลล์ยังเป็นนักเขียนความเรียงที่มีผู้ชื่นชมมากที่สุดคนหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 อย่างไรก็ตามเขาเป็นที่รู้จักจากนวนิยายสองเรื่องที่เขาเขียนช่วงท้ายทศวรรษ 1940 ชื่อ แอนิมัลฟาร์ม (Animal Farm) ซึ่งเป็นนิยายล้อเลียนการเมือง (มีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนในภายหลังด้วย) และ หนึ่งเก้าแปดสี่ (1984) ซึ่งกล่าวถึงดิสโทเปียที่มีการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จได้อย่างเห็นภาพ จนกระทั่งมีการใช้คำว่า แบบออร์เวลล์ เพื่อใช้เรียกระบบระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จในการครอบงำความ.

13 ความสัมพันธ์: ชาวอังกฤษพ.ศ. 2446พ.ศ. 2493พม่ารำลึกระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จหนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ดิสโทเปียคริสต์ศตวรรษที่ 20นวนิยายนามปากกาแอนิมัลฟาร์ม21 มกราคม25 มิถุนายน

ชาวอังกฤษ

วอังกฤษ เป็นกลุ่มของชาวยุโรปที่เคยอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของบริเตนใหญ่ เป็นชาวแองโกล-แซกซอนส์ ที่ปัจจุบันอาศัยกระจายอยู่หลายประเทศทั่วโลก ในสหราชอาณาจักร มีอยู่ 45,265,093 คน สหรัฐอเมริกา 24,515,138 คน แคนาดา 5,978,875 คน ออสเตรเลีย 6.4 ล้านคน และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ชาวอังกฤษส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต.

ใหม่!!: จอร์จ ออร์เวลล์และชาวอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2446

ทธศักราช 2446 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1903 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: จอร์จ ออร์เวลล์และพ.ศ. 2446 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2493

ทธศักราช 2493 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1950 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: จอร์จ ออร์เวลล์และพ.ศ. 2493 · ดูเพิ่มเติม »

พม่ารำลึก

ม่ารำลึก (Burmese Days) เป็นนวนิยายที่เขียนโดยจอร์จ ออร์เวลล์ ตีพิมพ์ครั้งแรกในเดือนตุลาคม 1934 ฉากในเรื่องคือประเทศพม่าช่วงทศวรรษ 1920 ซึ่งในขณะนั้นพม่าเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ระหว่างปี 1922–1927 ออร์เวลล์รับราชการเป็นตำรวจอาณานิคมอินเดียในพม่า และย้ายไปประจำอยู่หลายเมือง ทำให้เขามีโอกาสได้พบเห็นเรื่องราวต่าง ๆ เมื่อออกจากราชการแล้วไปพำนักที่ปารีส ออร์เวลล์ก็เริ่มร่างโครงเรื่อง และเขียนเสร็จในปี 1933Orwell, Sonia and Angus, Ian (eds.). The Collected Essays, Journalism and Letters of George Orwell Volume 1: An Age Like This (1920–1940) (Penguin) ในครั้งแรกนิยายเรื่องนี้ถูกปฏิเสธจากหลายสำนักพิมพ์เนื่องจากมีเนื้อหาที่พาดพิงถึงสังคมในยุคนั้น แต่หลังจากการปรับปรุงเนื้อหาบางส่วน สำนักพิมพ์ฮาร์เปอร์ของสหรัฐอเมริกาก็ตีพิมพ์ในปี 1934 ปีต่อมาสำนักพิมพ์ของวิกเตอร์ กอลลังซ์ (Victor Gollancz) ได้ตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักร หลังจากตรวจสอบแล้วว่าไม่ได้พาดพิงถึงบุคคลหรือเหตุการณ์จริง.

ใหม่!!: จอร์จ ออร์เวลล์และพม่ารำลึก · ดูเพิ่มเติม »

ระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ

ระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ (totalitarianism) เป็นระบบการเมืองที่รัฐถืออำนาจเบ็ดเสร็จเหนือสังคมและมุ่งควบคุมทุกแง่มุมของชีวิตสาธารณะและชีวิตส่วนตัวตามที่เห็นจำเป็นRobert ConquestReflections on a Ravaged Century (2000) ISBN 0-393-04818-7, page 74 มโนทัศน์ระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จพัฒนาขึ้นครั้งแรกในความหมายเชิงบวกในคริสต์ทศวรรษ 1920 โดยฟาสซิสต์อิตาลี มโนทัศน์ดังกล่าวกลายมาโดดเด่นในวจนิพนธ์การเมืองต่อต้านคอมมิวนิสต์ของตะวันตกระหว่างสงครามเย็น เพื่อเน้นความคล้ายที่รับรู้ระหว่างนาซีเยอรมนีและระบอบฟาสซิสต์อื่นด้านหนึ่ง กับคอมมิวนิสต์โซเวียตอีกด้านหนึ่ง.

ใหม่!!: จอร์จ ออร์เวลล์และระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ · ดูเพิ่มเติม »

หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่

หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (Nineteen Eighty-Four) บ้างใช้ว่า 1984 เป็นนวนิยายดิสโทเปียโดย จอร์จ ออร์เวลล์ นักเขียนชาวอังกฤษ ตีพิมพ์ใน..

ใหม่!!: จอร์จ ออร์เวลล์และหนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ · ดูเพิ่มเติม »

ดิสโทเปีย

ทเปีย (dystopia; มีชื่อเรียกอื่นๆ ได้แก่ cacotopiaCacotopia (from κακός kakos "bad") was the term used by Jeremy Bentham in his 19th century works, kakotopia และ anti-utopia) เป็นสังคมที่ไม่พึงประสงค์หรือน่าหวาดกลัว ปกครองด้วยระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ หรือมีภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความหมายโดยพยัญชนะของ ดิสโทเปีย จึงหมายถึง "สถานที่เลวร้าย" ว่าตรงกันข้ามกับแนวคิดสังคมแบบยูโทเปีย คำว่า "ดิสโทเปีย" นี้ ปกติถือว่าเป็นสภาพการควบคุมทางสังคมที่โหดร้าย รุนแรง ว่ากันว่า ผู้ที่ใช้คำนี้เป็นครั้งแรกก็คือ จอห์น สจวร์ต มิลล์ เมื่อ ค.ศ. 1868 โดยใช้ศัพท์δυσ- หมายถึง สถานที่ซึ่งสิ่งต่างๆ ล้วนเลวทราม แทนที่จะเป็นสิ่งดีงามสุขสบายอย่างευ-ในยูโทเปีย อุปสรรค ดิส ในภาษากรีกนั้น หมายถึง ไม่ดี เลว หรือ อปกติ ขณะที่ โอว หมายถึง ไม่ (ยูโทเปีย (Utopia) หมายถึง ไม่มีที่ใด, และเป็นแผลงเป็น อิวโทเปีย (Eutopia) หมายถึง สถานที่แห่งความรื่นรมย์ เพราะอุปสรรค "อิว" นั้น หมายถึง ดี) ด้วยเหตุนี้ ดิสโทเปีย และ ยูโทเปีย ถึงไม่ได้มีความหมายตรงข้ามกันอย่างแท้จริง อย่างในกรณีของ "ดิสฟอเรีย" (dysphoria) และอิวฟอเรีย (euphoria) คำว่า "ดิสโทเปีย" เองนั้นเป็นคำประสมในภาษากรีก ดิส (dys) และ โทเปีย (topia) (จากคำว่า "โทปอส" หมายถึง สถานที่).

ใหม่!!: จอร์จ ออร์เวลล์และดิสโทเปีย · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 20

ริสต์ศตวรรษที่ 20 อยู่ระหว่างปี 1 มกราคม ค.ศ. 1901 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 2000.

ใหม่!!: จอร์จ ออร์เวลล์และคริสต์ศตวรรษที่ 20 · ดูเพิ่มเติม »

นวนิยาย

นวนิยาย เป็นรูปแบบหนึ่งของวรรณกรรมลายลักษณ์ แต่งในรูปของร้อยแก้ว มีลักษณะแตกต่างจากเรื่องแต่งงงแบบเดิม ที่เรียกว่า นิยาย หรือนิทาน ที่เรียกว่า "นวนิยาย" ก็เพราะถือเป็นนิยายแบบใหม่ (novel) ตามแบบตะวันตก นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในภาษาพูดโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า "นิยาย" ซึ่งกะทัดรัดกว่า โดยคำว่า "นิยาย" เป็นคำมาจากภาษาเขมรที่ออกเสียงว่า "นิเยย" (និយាយ) หมายถึง "พูด" นวนิยายนั้น เป็นเรื่องราวที่มีลักษณะสมจริงมากกว่านิทานหรือนิยายแบบเดิม บางครั้งอาศัยฉากหรือเหตุการณ์จริง หรืออิงความเป็นจริง มีบทสนทนา และบรรยายเหตุการณ์อย่างปุถุชนทั่วไป.

ใหม่!!: จอร์จ ออร์เวลล์และนวนิยาย · ดูเพิ่มเติม »

นามปากกา

นามปากกา หมายถึงนามแฝงของนักเขียน.

ใหม่!!: จอร์จ ออร์เวลล์และนามปากกา · ดูเพิ่มเติม »

แอนิมัลฟาร์ม

ฉบับพิมพ์ครั้งแรก แอนิมัลฟาร์ม (Animal Farm) เป็นนวนิยายสั้นเชิงอุปมานิทัศน์ที่เขียนโดยจอร์จ ออร์เวลล์ ตีพิมพ์ครั้งแรกในเดือนสิงหาคม..

ใหม่!!: จอร์จ ออร์เวลล์และแอนิมัลฟาร์ม · ดูเพิ่มเติม »

21 มกราคม

วันที่ 21 มกราคม เป็นวันที่ 21 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 344 วันในปีนั้น (345 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: จอร์จ ออร์เวลล์และ21 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

25 มิถุนายน

วันที่ 25 มิถุนายน เป็นวันที่ 176 ของปี (วันที่ 177 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 189 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จอร์จ ออร์เวลล์และ25 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

George Orwell

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »