โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2

ดัชนี จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2

หมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2 (The Second Epistle of Peter) เป็นหนังสือเล่มที่ 22 ของคัมภีร์ไบเบิล ภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นหนึ่งในเจ็ดจดหมายสากล อันได้แก่ จดหมายของนักบุญยากอบ จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 1 จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 3 และจดหมายของนักบุญยูดา เนื่องจากจดหมายเหล่านี้ถูกส่งถึงคริสต์ศาสนิกชนทั่วไป ไม่ได้ระบุว่าเป็นคริสตจักรใด เดิมทีหนังสือเล่มนี้เป็นจดหมาย ซึ่งในตอนต้นระบุว่าผู้เขียนคือซีโมนเปโตรอัครทูตของพระเยซู จากข้อความในจดหมายที่ว่าจดหมายฉบับนี้เป็นฉบับที่สอง และเรียกนักบุญเปาโลว่าน้องที่รักของเรา รวมถึงเนื้อหาอื่นๆในจดหมายแล้ว ก็น่าจะเชื่อได้ว่าเป็นอัครทูตเปโตรได้เขียนจดหมายนี้เอง จดหมายฉบับนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นราวปี..

13 ความสัมพันธ์: พระเยซูพันธสัญญาใหม่อัครทูตจดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 3จดหมายของนักบุญยากอบจดหมายของนักบุญยูดาจดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 1จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2คริสตจักรคัมภีร์ไบเบิลซีโมนเปโตร

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2และพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พันธสัญญาใหม่

ันธสัญญาใหม่ หรือ พระคริสตธรรมใหม่ (Καινή Διαθήκη; New Testament) เป็นภาคที่สองของคัมภีร์ไบเบิล จากทั้งหมด 2 ภาค ประกอบด้วยหนังสือภาษากรีกทั้งสิ้น 27 เล่ม ทุกเล่มเขียนโดยนักบุญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอัครทูตและนักบุญในช่วงเวลาเดียวกัน และทุกเล่มเขียนขึ้นหลังการตรึงพระเยซูที่กางเขน แม้ว่าพระเยซูจะไม่ได้ทรงเขียนด้วยพระองค์เอง แต่คริสต์ศาสนิกชนก็เชื่อว่าผู้เขียนได้เขียนขึ้นจากการดลใจและการทรงนำของพระเป็นเจ้าและพระเยซูผ่านทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ ส่วนชาวมุสลิมแม้จะนับถือพระเยซูเป็นนบีอีซา แต่ก็ไม่ยอมรับคัมภีร์ไบเบิลในปัจจุบันว่าเป็นพระวจนะของพระเจ้า เพราะนักวิชาการอิสลามเห็นว่าคัมภีร์นี้ถูกตัดเสริมแต่งและสังคายนากันหลายครั้ง.

ใหม่!!: จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2และพันธสัญญาใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

อัครทูต

ระเยซูและอัครทูต อัครทูตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 59 (Apostles; Ἀπόστολος, apostolos แปลว่า "ผู้ถูกส่งออกไป" เช่น ข่าวสารหรือตัวแทน) ตามพระวรสารสหทรรศน์และธรรมเนียมทางศาสนาคริสต์ใช้หมายถึงอัครสาวกสิบสองคน ที่พระเยซูทรงเลือก ตั้งชื่อ และฝึกเพื่อจะได้ส่งออกไปทำการประกาศข่าวดี หลังจากยูดาส อิสคาริโอท ทรยศต่อพระเยซู อัครสาวกที่เหลือภายใต้การนำของซีโมนเปโตรจึงจับฉลากเลือกมัทธีอัสซึ่งติดตามพระเยซูมาตั้งต้นขึ้นมาเป็นอัครทูตแทน ฉะนั้นเมื่อถึงเทศกาลเพนเทคอสต์ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จลงมาประทับกับสาวกของพระเยซู จำนวนอัครทูตจึงมีสิบสองคนเท่าเดิม.

ใหม่!!: จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2และอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1

หมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1 (1 John) เป็นหนังสือฉบับที่ 23 ของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นหนึ่งในเจ็ดจดหมายสากล อันได้แก่ จดหมายของนักบุญยากอบ จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 1 จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 3 และจดหมายของนักบุญยูดา เนื่องจากจดหมายเหล่านี้ถูกส่งถึงคริสต์ศาสนิกชนทั่วไป ไม่ได้ระบุว่าเป็นคริสตจักรใด หนังสือเล่มนี้แต่แรกเป็นจดหมาย ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้ระบุชื่อผู้เขียนว่าเป็นใคร แต่คริสตจักรในยุคแรกเชื่อต่อกันมาว่า ผู้เขียนคือยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสารที่ได้เขียนพระวรสารนักบุญยอห์น อันเป็นหนึ่งในสี่พระวรสาร และจากการวิเคราะห์เนื้อหาในจดหมายโดยผู้เชี่ยวชาญแล้วพบว่า ทั้งตอนเริ่มต้นของจดหมายและเนื้อหาภายในจดหมายถึง 11 ประโยคคล้ายกันกับในพระวรสารนักบุญยอห์น ผู้เชี่ยวชาญจึงสรุปตรงกัน ช่วงเวลาในการเขียนจดหมายฉบับนี้ยากที่จะระบุให้ชัดเจนได้ แต่จากหลักฐานอื่น ๆ ประกอบ พอจะคาดได้ว่าเป็นช่วงปลายศตวรรษแรก หรือราวปี..

ใหม่!!: จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2และจดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2

หมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2 (Second Epistle of John) เป็นหนังสือฉบับที่ 24 ของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นหนึ่งในเจ็ดจดหมายสากล อันได้แก่ จดหมายของนักบุญยากอบ จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 1 จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 3 และจดหมายของนักบุญยูดา เนื่องจากจดหมายเหล่านี้ถูกส่งถึงคริสต์ศาสนิกชนทั่วไป ไม่ได้ระบุว่าเป็นคริสตจักรใด หนังสือเล่มนี้แต่แรกเป็นจดหมาย ส่งถึงผู้รับที่ไม่ได้เอ่ยนาม เพียงแต่ถูกเรียกว่า ท่านสุภาพสตรีที่ทรงเลือกไว้และบรรดาบุตร ส่วนชื่อผู้เขียนก็ไม่ได้ระบุเช่นกัน แต่ผู้เขียนเรียกตนเองว่า ข้าพเจ้าผู้ปกครอง คริสตจักรในยุคแรกเชื่อต่อกันมาว่า ผู้เขียนคือยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร ผู้เดียวกันกับที่ได้เขียนพระวรสารนักบุญยอห์นและจดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1 อันเป็นจดหมายฉบับแรกก่อนหน้านี้ด้วย จากการวิเคราะห์เนื้อหาในจดหมายโดยผู้เชี่ยวชาญแล้วพบว่า ในจดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1 และจดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2 มีเนื้อหาภายในจดหมายหลายข้อความที่คล้ายกัน เช่น 2 ยอห์น 5 กับ 1 ยอห์น 2:7, 2 ยอห์น 6 กับ 1 ยอห์น 5:3, 2 ยอห์น 7 และ 1 กับ 1 ยอห์น 4:2 - 3 และ 2 ยอห์น 12 กับ 1 ยอห์น 1:4 เป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญจึงสรุปตรงกันว่าเป็นผู้เขียนคนเดียวกัน ช่วงเวลาในการเขียนจดหมายฉบับนี้น่าจะใกล้เคียงกับฉบับแรก นั่นคือช่วงปลายศตวรรษแรก หรือราวปี..

ใหม่!!: จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2และจดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 3

หมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 3 (Third Epistle of John) เป็นหนังสือเล่มที่ 25 ของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นหนึ่งในเจ็ดจดหมายทั่วไป อันได้แก่ ยากอบ 1 เปโตร 2 เปโตร 1 ยอห์น 2 ยอห์น 3 ยอห์น และ ยูดา เนื่องจากจดหมายเหล่านี้ถูกส่งถึงคริสเตียนทั่วไป ไม่ได้ระบุว่าเป็นคริสตจักรใด พระธรรมเล่มนี้แต่แรกเป็นจดหมาย ส่งถึงผู้รับที่มีชื่อว่า กายอัส (ผู้ซึ่งถูกอ้างถึงครั้งหนึ่งใน กิจการของอัครทูต 19:29) ส่วนชื่อผู้เขียนไม่ได้ระบุ แต่ผู้เขียนเรียกตนเองว่า ข้าพเจ้าผู้ปกครอง เช่นเดียวกันกับใน 2 ยอห์น คริสตจักรในยุคแรกเชื่อสืบกันมาว่าผู้เขียนคือนักบุญยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสารซึ่งประพันธ์พระวรสารนักบุญยอห์น 1 ยอห์น และ2 ยอห์น อันเป็นจดหมายฉบับก่อนหน้านี้ด้วย จากการวิเคราะห์เนื้อหาในจดหมายโดยผู้เชี่ยวชาญแล้วพบว่า ใน2 ยอห์น และ3 ยอห์น มีเนื้อหาภายในจดหมายบางตอนที่ใช้ข้อความเดียวกัน เช่น "รักเนื่องในสัจจะ" ใน 2 ยอห์น 1 กับ 3 ยอห์น 1 หรือข้อความคล้ายกัน เช่น "ดำเนินตามสัจจะ" ใน 2 ยอห์น 4 กับ "ประพฤติตามสัจธรรม" ใน 3 ยอห์น 4 เป็นต้น นอกจากนี้รูปแบบของจดหมายยังเหมือนกันอีกด้วย ผู้เชี่ยวชาญจึงสรุปตรงกันว่าเป็นผู้เขียนคนเดียวกัน ช่วงเวลาในการเขียนจดหมายฉบับนี้น่าจะใกล้เคียงกับสองฉบับแรก นั่นคือช่วงปลายศตวรรษแรก หรือราวปี..

ใหม่!!: จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2และจดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

จดหมายของนักบุญยากอบ

หมายของนักบุญยากอบ (Epistle of James) เป็นหนังสือเล่มที่ 20 ในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นหนึ่งในเจ็ดจดหมายทั่วไป อันได้แก่ จดหมายของนักบุญยากอบ จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 1 จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 1 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 3 และจดหมายของนักบุญยูดา เนื่องจากจดหมายเหล่านี้ถูกส่งถึงคริสตชนทั่วไป ไม่ได้ระบุว่าเป็นคริสตจักรใด หนังสือเล่มนี้เดิมเป็นจดหมายของท่านยากอบ ซึ่งน่าจะเป็นยากอบผู้ชอบธรรม น้องชายของพระเยซู ในช่วงก่อนการตรึงพระเยซูที่กางเขน ยากอบไม่เพียงแต่ไม่ได้เชื่อในพระเยซูเท่านั้น แต่ยังไม่เข้าใจและท้าทายในสิ่งที่พระเยซูทรงทำอีกด้วย ต่อมาภายหลังการคืนพระชนม์ของพระเยซู ท่านยากอบจึงกลับใจเชื่อและกลายเป็นผู้นำคริสตจักรคนสำคัญในกรุงเยรูซาเลม เนื้อหาในจดหมายเป็นเรื่องเกี่ยวกับชาวยิวอย่างเด่นชัด ไม่ได้กล่าวถึงการกลับใจของชาวต่างชาติ ดังนั้นจึงพอจะคาดได้ว่า จดหมายฉบับนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นในช่วงที่ยิวมีอำนาจเหนือคริสตจักร ซึ่งก็จะอยู่ในราวปี..

ใหม่!!: จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2และจดหมายของนักบุญยากอบ · ดูเพิ่มเติม »

จดหมายของนักบุญยูดา

หมายของนักบุญยูดา (Epistle of Jude) เป็นหนังสือเล่มที่ 26 ในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นหนึ่งในเจ็ดจดหมายทั่วไป อันได้แก่ ยากอบ 1 เปโตร 2 เปโตร 1 ยอห์น 2 ยอห์น 3 ยอห์น และ ยูดา เนื่องจากจดหมายเหล่านี้ถูกส่งถึงคริสตชนทั่วไป ไม่ได้ระบุว่าเป็นคริสตจักรใด แต่เดิมพระธรรมเล่มนี้เป็นจดหมายส่วนตัว ผู้เขียนระบุชื่อของตนเองชัดเจนตั้งแต่ตอนต้นว่าเป็น ยูดา ทั้งยังบอกด้วยว่าเป็น น้องของ ยากอบ เมื่อวิเคราะห์เนื้อหาในจดหมายรวมกับหลักฐานอื่นๆแล้ว เชื่อได้ว่าผู้เขียนคือยูดาน้องชายของพระเยซู จดหมายถูกส่งถึงผู้รับที่ไม่ได้ระบุชื่อ แต่ถูกเรียกว่า "คนทั้งหลายที่พระองค์ได้ทรงเรียกไว้" ซึ่งน่าจะเป็นคริสเตียนทั่วไปที่กระจัดกระจายอยู่ในจักรโรมัน ช่วงเวลาในการเขียนจดหมายฉบับนี้น่าจะอยู่ในราวปี..

ใหม่!!: จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2และจดหมายของนักบุญยูดา · ดูเพิ่มเติม »

จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 1

หมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 1 (The First Epistle of Peter) เป็นหนังสือเล่มที่ 21 ของคัมภีร์ไบเบิลพันธสัญญาใหม่ เป็นหนึ่งในเจ็ดจดหมายสากล อันได้แก่ จดหมายของนักบุญยากอบ จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 1 จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 3 และจดหมายของนักบุญยูดา เนื่องจากจดหมายเหล่านี้ถูกส่งถึงคริสต์ศาสนิกชนทั่วไป ไม่ได้ระบุว่าเป็นคริสตจักรใด แต่แรกหนังสือเล่มนี้เป็นจดหมายซึ่งระบุว่าผู้เขียนคือซีโมนเปโตรอัครทูตของพระเยซู เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาในจดหมายที่มีการอ้างถึงข้อความในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมหลายข้อ มีการใช้คำศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับพระวรสาร และมีคำกล่าวของอัครทูตเปโตรอยู่หลายตอนแล้ว ก็เป็นข้อสนับสนุนว่าอัครทูตเปโตรได้เขียนจดหมายนี้เอง จดหมายฉบับนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นราวปี..

ใหม่!!: จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2และจดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2

หมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2 (The Second Epistle of Peter) เป็นหนังสือเล่มที่ 22 ของคัมภีร์ไบเบิล ภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นหนึ่งในเจ็ดจดหมายสากล อันได้แก่ จดหมายของนักบุญยากอบ จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 1 จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 3 และจดหมายของนักบุญยูดา เนื่องจากจดหมายเหล่านี้ถูกส่งถึงคริสต์ศาสนิกชนทั่วไป ไม่ได้ระบุว่าเป็นคริสตจักรใด เดิมทีหนังสือเล่มนี้เป็นจดหมาย ซึ่งในตอนต้นระบุว่าผู้เขียนคือซีโมนเปโตรอัครทูตของพระเยซู จากข้อความในจดหมายที่ว่าจดหมายฉบับนี้เป็นฉบับที่สอง และเรียกนักบุญเปาโลว่าน้องที่รักของเรา รวมถึงเนื้อหาอื่นๆในจดหมายแล้ว ก็น่าจะเชื่อได้ว่าเป็นอัครทูตเปโตรได้เขียนจดหมายนี้เอง จดหมายฉบับนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นราวปี..

ใหม่!!: จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2และจดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักร

ริสตจักร (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ พระศาสนจักร (ศัพท์คาทอลิก) (Christian Church; The Church) คือประชาคมของผู้เชื่อและยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์ มาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่มนุษย์จากบาปราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 152 ประชาคมนี้ถือเป็นหนึ่งเดียวกัน หากเปรียบเป็นร่างกาย พระเยซูคือศีรษะ และคริสตจักรคือร่างกายส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด หรืออีกนัยหนึ่งคือคริสตชนทุกคนเปรียบเหมือนอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเดียวกัน โดยมีพระเยซูทรงเป็นหลัก และคริสตชนทุกคนจะร่วมกันปฏิบัติพันธกิจคือการประกาศข่าวดีว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาป มนุษย์ทุกคนที่เชื่อจะพ้นจากบาป และเชื่อว่าจะได้รับความรอดและบำเหน็จจากพระเป็นเจ้าในการพิพากษาครั้งสุดท้.

ใหม่!!: จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2และคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ใหม่!!: จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2และคัมภีร์ไบเบิล · ดูเพิ่มเติม »

ซีโมนเปโตร

ซีโมนเปโตร (Σιμων Πέτρος ซีมอน เปโตฺรส) หรืออัครทูตเปโตร (Απόστολος Πέτρος อะโปสโตโลส เปโตฺรส) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญเปโตร (Saint Peter) เดิมชื่อซีโมน เป็นชาวประมงคนหนึ่งของตำบลเบทไซดา (ลก. 5:3;ยน.1:44) แต่ว่าต่อมาได้ย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองคาร์เปอร์นาอุม (มก. 1: 21.29) นักบุญอันดรูว์ น้องชายของท่านได้เป็นคนแนะนำให้ท่านติดตามพระเยซู (ยน. 1:42) และอาจเป็นนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาที่ได้เป็นผู้ตระเตรียมจิตใจของท่านสำหรับการพบปะครั้งสำคัญของท่านกับพระเยซู พระเยซูทรงได้เปลี่ยนชื่อท่านใหม่ว่าเปโตร ซึ่งแปลว่า "ศิลา" (มธ. 16: 17-19) ครั้งหนึ่งพระเยซูตรัสถามท่านว่า "ท่านคิดว่าเราเป็นใคร" และเปโตรได้ทูลว่า "พระองค์คือพระคริสต์ พระบุตรพระเป็นเจ้า" พระเยซูจึงตรัสว่า "เราจะตั้งเราเป็นหัวหน้าแทนท่าน ทั้งจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์" (มธ. 16: 15-19) สัญลักษณ์ที่เห็นเด่นชัดในภาพคือ มือของท่านมีลูกกุญแจ เปโตรเป็นพยานบุคคลผู้หนึ่งที่ได้แลเห็นพระคูหาว่างเปล่าของพระอาจารย์ (ยน. 20:6) และได้เห็นการคืนพระชนม์ของพระเยซู (ลก. 23:34) หลังจากที่พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว ท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบรรดาคริสตชน (กจ. 1: 15; 15:7) ได้กล่าวสรุปข่าวดี (พระวรสาร) (กจ. 2:14-41) และท่านเองเป็นคนแรกที่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดคริสตจักรไปสู่พวกคนต่างชาติ (กจ.10-11) เปโตรเขียนจดหมาย 2 ฉบับที่ทรงคุณค่าอย่างมากคือ 1 และ 2 เปโตร ท้ายที่สุดเปโตรได้เสียสละชีวิตเพื่อพระเยซูตามคำทำนายของพระองค์ (ยน 21.18-19) ภารกิจด้านวิญญาณที่ได้รับมอบหมายมิใช่ว่าจะช่วยให้ท่านหมดจากสภาพของความเป็นคนหรือจากข้อบกพร่องต่าง ๆ ทางอารมณ์ก็หาไม่ (มธ.10: 41; 14:26,66-72; ยน. 13: 6;18:10; มธ. 14: 29-31) เปาโลอัครทูตเองก็มิได้ลังเลใจแต่อย่างใดที่จะพูดจาต่อว่าท่านเวลาที่พบกันที่เมืองแอนติออก (กจ.15; กท. 2:11-14) เพื่อเชิญชวนท่านว่าไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของพวกยิว ในเรื่องนี้รู้สึกว่าเปโตร ยังตัดสินใจช้าและยังถือว่ากลุ่มคริสตชนซึ่งเดิมทีเป็นคนต่างศาสนาก็ยังด้อยกว่าหรือเป็นรองกลุ่มคริสตชนที่เดิมทีเป็นชาวยิว (กจ. 6: 1-2) ต่อเมื่อเปโตรได้มาที่กรุงโรม เมื่อนั้นแหละท่านจึงจะได้กลายเป็นอัครทูตของทุก ๆ คน และได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างครบถ้วนคือเป็น "ศิลาหัวมุม" ของคริสตจักรของพระเยซูโดยรวมชาวยิวและคนต่างศาสนาให้เข้ามาอยู่ภายในอาคารเดียวกัน และท่านได้ประทับตราภารกิจหน้าที่นี้ด้วยการหลั่งโลหิตของท่านตามแบบพระอาจารย์ คริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่าท่านเป็นพระสันตะปาปาองค์แรก ท่านถูกจับตรึงกางเขน และได้ขอร้องให้หันศีรษะท่านลง เพราะคิดว่าไม่สมควรที่จะตายในลักษณะเดียวกับพระเยซูผู้เป็นพระอาจาร.

ใหม่!!: จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2และซีโมนเปโตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระธรรม 2 เปโตร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »