โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

งูพิษเฟีย

ดัชนี งูพิษเฟีย

งูพิษเฟีย (Fea's viper; 白頭蝰亞科) เป็นงูเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ย่อย Azemiopinae และสกุล Azemiops ในวงศ์ใหญ่ Viperidae งูชนิดนี้ถูกตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแด่ ลีโอนาร์โด เฟีย นักธรรมชาติวิทยาชาวอิตาเลียน โดยจอร์จ อัลเบิร์ต บุลเลเยอร์ นักมีนวิทยาและนักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวฝรั่งเศส-เบลเยียม มีลักษณะโดยรวมคือ ระหว่างตาและช่องจมูกไม่มีแอ่งรับคลื่นอินฟราเรด กระดูกพาลาทีนมีก้านกระดูกโคเอนัลชิ้นใหญ่ ทางด้านท้ายของกระดูกฟรีฟอนทัลและค่อนไปทางด้านในมีก้านกระดูกออร์ไบทัล มีสีลำตัวที่โดดเด่นชัดเจนมาก โดยตามลำตัวเป็นสีฟ้าเทาอมดำและมีแต้มระหว่างเกล็ดเว้นระยะห่างกันประมาณ 1-2 ชิ้น มีลายแถบสีส้มขาว หัวมีขนาดเล็กเป็นสีส้มเหลืองตัดกับลำตัว ม่านตาเป็นสีส้มเหลืองในแนวตั้ง มีขนาดความยาวประมาณ 60-70 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อยู่ตามกองใบไม้กิ่งไม้ตามพื้นดินของป่าที่มีความชื้นสูงและอุณหภูมิต่ำไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะในป่าไผ่และป่าเฟิร์นบนภูเขาสูงในระดับ 800-1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกหากินในเวลากลางคืนและกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในแถบเทือกเขาตั้งแต่ตอนเหนือของเวียดนาม, ภาคใต้ของจีน (มณฑลฟูเจี้ยน, มณฑลกวางสี, มณฑลเจียงซี, มณฑลกุ้ยโจว, มณฑลยูนนาน, มณฑลเสฉวน และมณฑลเจ้อเจียง), ตอนใต้ของธิเบต และในรัฐคะฉิ่น ทางภาคเหนือของพม่า งูชนิดนี้มีพิษที่คล้ายคลึงกับพิษของงูชนิด Tropidolaemus wagleri และไม่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือ.

32 ความสัมพันธ์: ชาวฝรั่งเศสชาวอิตาลีพ.ศ. 2431พ.ศ. 2514พ.ศ. 2552ฝูเจี้ยนมีนวิทยามณฑลกุ้ยโจวมณฑลยูนนานมณฑลเสฉวนมณฑลเจียงซีมณฑลเจ้อเจียงรัฐกะฉิ่นวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกวงศ์งูแมวเซาสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีกระดูกสันหลังสัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสีเหลืองอันดับกิ้งก่าและงูอินฟราเรดธรรมชาติวิทยางูประเทศพม่าประเทศจีนประเทศเบลเยียมประเทศเวียดนามเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงเขตปกครองตนเองทิเบต

ชาวฝรั่งเศส

วฝรั่งเศส (อังกฤษ: French, ฝรั่งเศส: Français) คือกลุ่มผสมของชาวเคลต์ ชาวเยอรมัน ชาวอิตาลี โดยมีประชากรประมาณ 85 ล้านคนทั่วโลก โดยมีประมาณ 66 ล้านคนในประเทศฝรั่งเศส ในสหรัฐอเมริกา 8.3-11 ล้านคน ในประเทศแคนาดา ประมาณ 4.7 ล้านคน และในประเทศแอฟริกาใต้ ประมาณ 2 ล้านคน และที่อื่นๆ ทั่วโลก โดยมีการขยายสังคมเพิ่มในช่วงการล่าอาณานิคม.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและชาวฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ชาวอิตาลี

วอิตาลี (italiani, Italians) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic group) ที่มีวัฒนธรรม และ การสืบเชื้อสายร่วมกัน และพูดภาษาอิตาลีเป็นภาษาแม่ ภายในอิตาลีการเป็นชาวอิตาลีคือการถือสัญชาติอิตาลีไม่ว่าจะสืบเชื้อสายมาจากผู้ใดหรือมาจากประเทศใด ซึ่งแตกต่างจากผู้สืบเชื้อสายมาจากชาวอิตาลี และทางประวัติศาสตร์จากผู้มีเชื้อสายอิตาลีที่ไม่ได้อยู่ในดินแดนที่เป็นของอิตาลีบนคาบสมุทรอิตาลี เพราะการอพยพหลายครั้งออกจากอิตาลีที่เป็นชนพลัดถิ่น มีชาวอิตาลีสัญชาติอิตาลีที่อาศัยอยู่นอกอิตาลี 4 ล้านคน และมีมากกว่า 70 ล้านคนที่มีเชื้อสายเต็มหรือบางส่วน โดยมากแล้วอาศัยอยู่ในอเมริกาใต้ อเมริกาเหนือ และส่วนอื่นของยุโรป.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและชาวอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2431

ทธศักราช 2431 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1888 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและพ.ศ. 2431 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2514

ทธศักราช 2514 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1971 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและพ.ศ. 2514 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2552

ทธศักราช 2552 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2009 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีสุดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 2000.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและพ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

ฝูเจี้ยน

ฝูเจี้ยน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและฝูเจี้ยน · ดูเพิ่มเติม »

มีนวิทยา

มีนวิทยา (Ichthyology) เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปลา ลักษณะรูปร่างภายนอกของปลา ระบบภายในตัวปลา รวมถึงอนุกรมวิธานของปลา ออกเป็นกลุ่มหรือประเภท ปลาในที่นี้ประกอบด้วยปลากระดูกแข็ง ปลากระดูกอ่อน ได้แก่ ฉลามและกระเบน และปลาไม่มีขากรรไกร โดยไม่ครอบคลุมไปถึงสัตว์น้ำจำพวกอื่น เช่น หมึก, กบ, กุ้ง, ปู, วาฬ หรือโลมา ซึ่งไม่จัดว่าเป็นปลา การศึกษาทางด้านมีนวิทยามีความสัมพันธ์อย่างมากกับสาขาวิชาชีววิทยาทางทะเล ชลธีวิทยา และสมุทรศาสตร์ และเรียกนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญและศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้ว่า "นักมีนวิทยา" มีนวิทยา ถือได้ว่าเป็นแขนงย่อยของสัตววิทยา โดยคำว่า "Ichthyology" ที่ใช้เป็นชื่อภาษาอังกฤษนั้น มาจากภาษากรีกคำว่า "Ichthys" (ἰχθύς) แปลว่า ปลา, "logy" หรือ "logos" (λόγος) แปลว่า วิชา หรือ เรื่องราว, "มีน" มาจากภาษาบาลีสันสกฤต แปลว่า ปลา และ "วิทยา" มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ความรู้ โดยบุคคลแรกที่ถือได้ว่าศึกษาศาสตร์มีนวิทยาเป็นคนแรกของโลก คือ อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณที่มีชื่อเสียง เพราะเป็นผู้ริเริ่มจำแนกสิ่งมีชีวิต บันทึกของอริสโตเติลได้กล่าวถึงโครงสร้าง อุปนิสัย การอพยพย้ายถิ่น ฤดูกาลสืบพันธุ์ และความรู้อื่น ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับปลามากชนิด แต่ความจริงมนุษย์รู้จักปลามานานกว่า 50,000 ปีแล้ว จากหลักฐานที่มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้วาดภาพปลาไว้ที่ผนังถ้ำ เช่น รูปปลาบึกที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นต้น การศึกษาเกี่ยวกับปลาในระยะต่อมาโดยมากยังอ้างอิงผลงานของอริสโตเติล จะมีเพิ่มเติมก็เป็นเรื่องปลีกย่อย จนกระทั่งในศตวรรษที่ 18 การศึกษาเกี่ยวกับปลาตื่นตัวมากขึ้น มีการเขียนตำราวิชาทางวิชาการ ซึ่งใช้อ้างอิงมาจนถึงทุกวันนี้ มีการจำแนกหมวดหมู่ปลากระดูกอ่อน ปลากระดูกแข็ง ศึกษากายวิภาค สรีรวิทยา วิวัฒนาการของปลาจากซากดึกดำบรรพ์ มีนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาศาสตร์ด้านมีนวิทยาที่มีชื่อเสียงหลายคน อาทิ อัลเบิร์ต กึนเธอร์, จอร์จส์ คูเวียร์, อเล็กซานเดอร์ เอ็มมานูเอล อกาซซี, หลุยส์ อกาซซี (บุตรของอกาซซี) รวมถึง คาโรลัส ลินเนียส ผู้ให้กำเนิดหลักการอนุกรมวิธานที่ใช้มาถึงปัจจุบันด้วย สำหรับในประเทศไทย ศาสตร์แขนงนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ ดร.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและมีนวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลกุ้ยโจว

มณฑลกุ้ยโจว หรือเดิมไทยเรียกว่า กุยจิว (จีนตัวย่อ: 贵州省 จีนตัวเต็ม: 貴州省 Guizhou) ชื่อย่อ เฉียน (黔) หรือ กุ้ย (贵) ตั้งอยู่บนที่ราบสูงหยุนกุ้ยส่วนตะวันออก ระหว่างเส้นลองจิจูด 103.36 - 109.31 องศาตะวันออก และ ละติจูด 24.37 - 29.13 องศาเหนือ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน มีเมืองหลวงชื่อ กุ้ยหยาง มีเนื้อที่ 176,100 ก.ม. มีประชากร 39,040,000 คน ความหนาแน่น 222 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 159.2 พันล้านเหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและมณฑลกุ้ยโจว · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลยูนนาน

มณฑลยูนนาน หรือ หยุนหนาน มีชื่อย่อว่า หยุน(云)หรือ เตียน(滇)มีชื่อในภาษาไทยถิ่นเหนือว่า วิเทหราช ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีเมืองหลวงชื่อ คุนหมิง มีเนื้อที่ 394,100 ก.ม. มีประชากร ประมาณ 45,966,000 คน (2010) จีดีพี 10309.47 พันล้านหยวน (2012) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆอีก 25 กลุ่มชาติพัน.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและมณฑลยูนนาน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเสฉวน

มณฑลเสฉวน หรือ ซื่อชวน หรือชื่อย่อว่า ชวน(川)หรือ สู่(蜀)เป็นมณฑลหนึ่งของประเทศจีน มีเมืองเอกชื่อเฉิงตู มณฑลเสฉวนอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียง มีพื้นที่ 485,000 ตาราง ก.ม. มีประชากรประมาณ 87,250,000 คน นับเป็นมณฑลที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของจีน ทั้งขนาดพื้นที่และจำนวนประชากร ความหนาแน่น 180/ก.ม. จีดีพี 655.6 พันล้านเหรินหมินปี้ ต่อประชากร 7,510 ชื่อ "เสฉวน" มีความหมายว่า "แม่น้ำสี่สาย" เพราะมณฑลเสฉวนตั้งอยู่บนพื้นที่ของแม่น้ำ 3 สายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำแยงซีเกียง, แม่น้ำหลินเจียง, แม่น้ำจินซางเจียง สภาพอากาศเป็นแบบกึ่งร้อนชื้น สภาพโดยทั่วไปจะมีความชื้นในอากาศสูง สภาพอากาศจึงค่อนข้างครึ้มไม่ค่อยมีแสงแดด โดยในรอบสัปดาห์จะมีแสงแดดหรือเห็นพระอาทิตย์เพียงไม่กี่วัน แต่จะมีหมอกปกคลุมเป็นปกติ จนได้รับฉายาว่า "เมืองในหมอก" หรือ "หมาเห่าพระอาทิตย์" และได้รับการกล่าวขานว่า เพราะสภาพอากาศเป็นเช่นนี้ ผู้หญิงในมณฑลเสฉวนมีผิวสวยที่สุดในประเทศจีน ในทางประวัติศาสตร์เคยเป็นราชธานีก๊กสู่ฮั่นของเล่าปี่และขงเบ้งในสมัยสามก๊ก ปลายราชวงศ์ฮั่น ขงเบ้งได้เลือกเอาเสฉวนเป็นราชธานีของก๊กสู่ เพื่อหมายฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและมณฑลเสฉวน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเจียงซี

มณฑลเจียงซี หรือเดิมไทยเรียกว่า เกียงซี ชื่อย่อ กั้น(赣)ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก เฉียงใต้ของประเทศจีน บนชายฝั่งตอนใต้ของลุ่มน้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) ตอนล่าง โดยด้านตะวันออกติดกับมณฑลเจ้อเจียง และฝูเจี้ยน ด้านใต้ติดกับกว่างตง ด้านตะวันตกติดกับหูหนัน ด้านเหนือติดกับหูเป่ย และอันฮุย มีเมืองหลวงชื่อ หนันชาง มีเนื้อที่ 166,900 ก.ม.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและมณฑลเจียงซี · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเจ้อเจียง

มณฑลเจ้อเจียง (จีน: 浙江省 เจ้อเจียงเฉิง Zhejiang) ชื่อย่อ ‘เจ้อ’ (浙)ในหลักฐานไทยแต่เดิมเรียก มณฑลเจ๊เกี๋ยง มีเมืองหลวงชื่อเมืองหางโจว.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและมณฑลเจ้อเจียง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐกะฉิ่น

รัฐกะฉิ่น (ကချင်ပြည်နယ်; กะฉิ่น: Jingphaw Mungdaw) เป็นเขตปกครองหนึ่ง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศพม.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและรัฐกะฉิ่น · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (Herpetology) เป็นสัตววิทยาแขนงหนึ่ง ที่ศึกษาโดยเฉพาะกับสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก อาทิ เต่า, ตะพาบ, จระเข้, กิ้งก่า, จิ้งจก, ตุ๊กแก, งู, กบ, คางคก, ซาลาแมนเดอร์, ทัวทารา โดยคำว่า "Herpetology" มาจากภาษากรีก คำว่า ἑρπήτόν (herpeton) หมายถึง "สัตว์ที่น่าขยะแขยง" และ λογία (logia) หมายถึง "ความรู้ หรือ การศึกษา" ซึ่งผู้ที่มีความสนใจหรือศึกษาศาสตร์ด้านนี้โดยเฉพาะเรียกว่า นักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สำหรับ ผู้ที่จะเป็นนักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกได้นั้นต้องมีภูมิหลังการศึกษาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อย่างดีเยี่ยม มีสถาบันการศึกษาเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่เปิดสอนศาสตร์แขนงนี้ สำหรับในประเทศไทยแล้ว การเปิดสอนศาสตร์แขนงนี้ในสถาบันการศึกษาโดยตรงยังไม่มี แต่จะอยู่ในภาควิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้นและมีผู้นิยมชมชอบและเชี่ยวชาญอยู่จำนวนไม่น้อย เช่น ผู้ที่นิยมการเลี้ยงสัตว์แปลก ๆ หรือ ผู้ที่ทำงานด้านนี้ในทางวิชาการ อาทิ น.อ.(พิเศษ) วิโรจน์ นุตพันธุ์, จารุจินต์ นภีตะภัฏ, ธัญญา จั่นอาจ, วีรยุทธ์ เลาหะจินดา เป็นต้น.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์งูแมวเซา

วงศ์งูแมวเซา หรือ วงศ์งูหางกระดิ่ง หรือ วงศ์งูพิษเขี้ยวพับ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Viperidae, Viper, Rattlesnake) เป็นวงศ์ของงูวงศ์หนึ่ง ที่มีพิษร้ายแรงมากวงศ์หนึ่ง ที่ทำอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ ให้ตายได้ด้วยน้ำพิษ มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวป้อมและมีหัวค่อนข้างเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีขนาดใหญ่กว่าส่วนคอมาก เกล็ดบนหัวมีขนาดเล็กยกเว้นสกุล Causus ที่เป็นแผ่นใหญ่ มีแอ่งรับรู้สึกคลื่นความร้อนอินฟราเรดอยู่ระหว่างช่องเปิดจมูกกับตาหรืออยู่ทางด้านล่างของเกล็ดที่ปกคลุมหัว กระดูกพรีแมคซิลลาไม่มีฟัน กระดูกแมคซิลลาหมุนได้ และมีเขี้ยวพิษขนาดใหญ่เพียงซี่เดียวที่เป็นท่อกลวง เขี้ยวเคลื่อนไหวได้จากการปรับปรุงให้รอยต่อระหว่างกระดูกแมคซิลลากับกระดูกพรีฟรอนทัลขยับได้ ฟันเขี้ยวจะยกตั้งขึ้นเมื่ออ้าปากและเอนราบไปกับพื้นล่างของปากเมื่อหุบปาก ช่องเปิดของตาอยู่ตรงรอยต่อระหว่างกระดูกฟรอนทัลกับกระดูกพาไรทัลหรือกระดูกฟรอนทัล-กระดูกพาไรทัล-กระดูกพาราสฟีนอยด์ ขากรรไกรล่างไม่มีกระดูกโคโรนอยด์ ไม่มีกระดูกเชิงกราน ไม่มีปอดข้างซ้ายหรือมีแต่เล็กมาก มีท่อนำไข่ทั้งสองข้างและเจริญเท่ากัน เป็นวงศ์ที่มีขนาดใหญ่ มีจำนวนสมาชิกประมาณ 221 ชนิด ประมาณ 32 สกุล และแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้อีก 4 วงศ์ แพร่กระจายไปทุกมุมโลก ยกเว้นบางพื้นที่ เช่น ทวีปอเมริกาใต้, ทวีปออสเตรเลีย, บางส่วนในทวีปเอเชีย และทวีปแอนตาร์กติกา โดยสมาชิกในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักดี คือ งูหางกระดิ่ง คือ งูที่อยู่ในวงศ์ย่อย Crotalinae ที่พบได้ในทะเลทรายในทวีปอเมริกาเหนือจนถึงอเมริกากลาง สำหรับในทวีปเอเชีย ชนิด Azemiops feae พบได้ในพม่า, จีนตอนกลาง และเวียดนาม จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ย่อย Azemiopinae สำหรับในประเทศไทยจัดว่าเป็นงูที่มีพิษร้ายแรง ได้แก่ งูกะปะ หรือ งูปะบุก (Calloselasma rhodostoma) ที่จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Crotalinae และงูแมวเซา (Daboia russellii) ที่อยู่ในวงศ์ย่อย Viperinae เป็นต้น.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและวงศ์งูแมวเซา · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและสัตว์มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สีเหลือง

ีเหลือง เป็น 1 ใน 3 แม่สี ร่วมกับสีแดง และสีน้ำเงิน โดยปกติสีจะมีอยู่สองโทน คือ สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น แต่สีเหลืองเป็นสีที่อยู่ตรงกลางระหว่าง สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น จึงสามารถเลือกใช้สีเหลืองเข้าไปผสมผสานได้กับสีทั้งสองโทน ซึ่งนอกจากสีเหลืองแล้วยังมีสีม่วงอีกสีหนึ่งที่มีลักษณะดังกล่าว.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและสีเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกิ้งก่าและงู

อันดับกิ้งก่าและงู (Lizard and Snake) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ ใช้ชื่อว่า Squamata (/สะ-ควอ-มา-ตา/) นับเป็นอันดับที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดและพบได้หลากหลายกว้างขวางมากที่สุด โดยอันดับนี้แบ่งได้เป็น 2 อันดับย่อย คือ Lacertilia หรือ อันดับย่อยกิ้งก่า กับ Serpentes หรือ อันดับย่อยงู การที่รวมสัตว์เลื้อยคลานทั้ง 2 ประเภทนี้ไว้ด้วยกัน เหตุเพราะมีโครงสร้างบางอย่างที่ร่วมกันถึง 70 ประการ โดยงูนั้นมีวิวัฒนาการมาจากกิ้งก่าในวงศ์ Amphisbaenidae ที่มีการลดรูปของขา นอกจากนั้นแล้วยังมีกล้ามเนื้อ, กระดูก, กะโหลก, อวัยวะถ่ายอสุจิที่เป็นถุงพีนิสคู่ แต่มีความแตกต่างกันทางด้านสรีระ พฤติกรรม และการทำงานของโครงสร้างอวัยวะ ทั้งกิ้งก่าและงูมีเกล็ดปกคลุมลำตัว โดยมีปริมาณ ลักษณะ และจำนวนที่ปกคลุมอวัยวะแต่ละส่วนแตกต่างกันตามลักษณะทางอนุกรมวิธาน กิ้งก่าบางชนิดมีกระดูกในชั้นหนังซ้อนอยู่ใต้เกล็ดซึ่งไม่มีในงู พื้นผิวลำตัวของกิ้งก่ามีต่อมผิวหนังไม่มากแต่บริเวณด้านหน้าช่องเปิดทวารร่วมและทางด้านในของต้นขาหลังของกิ้งก่าหลายชนิดมีต่อมผิวหนังค่อนข้างมาก ซึ่งสังเคราะห์สารเคมีเพื่อใช้ในการกำหนดอาณาเขตและหน้าที่ประการต่าง ๆ ซึ่งจำนวนต่อมดังกล่าวนี้อีกทั้งตำแหน่งที่ตั้งแตกต่างกันระหว่างเพศ โดยตัวผู้จะมีมากกว่าและใหญ่กว่า ซึ่งต่อมดังกล่าวนี้ยังใช้เป็นลักษณะในการจำแนกประเภทอีกด้วย กิ้งก่าและงูหลายชนิดสามารถปล่อยท่อนหางให้หลุดจากลำตัวเพื่อหนีเอาตัวรอดจากศัตรูได้ เช่น ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) บางตัวอาจหลุดได้หลายครั้งในช่วงชีวิต เหตุที่หลุดและงอกใหม่ได้เนื่องจากลักษณะการเรียงตัวของกล้ามเนื้อกับเนื้อเยื่อที่เกี่ยวพันซึ่งอาจมีตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง เมื่อหางหลุดไปแล้วอาจงอกขึ้นมาใหม่สั้นกว่าเดิมหรือใช้เวลานานกว่าจะเท่าเดิม เพราะมีแกนเป็นแท่งกระดูกอ่อนทดแทนปล้องของกระดูกสันหลังแทน แต่ส่วนของงูแล้วเมื่อหลุดไปแล้วไม่อาจงอกใหม่ได้ กิ้งก่าในหลายวงศ์ ได้ลดรูปของขาลงจนหดเล็กสั้นจนดูเหมือนไม่มีขา รวมทั้งนิ้วด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ในการอาศัยอยู่ในโพรงดิน เช่น จิ้งเหลนด้วง เป็นต้น อวัยวะถ่ายอสุจิของตัวผู้ของกิ้งก่าและงูจะมีลักษณะเป็นถุงพีนิสอยู่ทางด้านท้ายของช่องเปิดทวารร่วม พื้นผิวด้นนอกจะเป็นร่องเพื่อใช้เป็นเส้นทางในการลำเลียงตัวอสุจิเข้าสู่ช่องทวารร่วมของตัวเมียขณะผสมพันธุ์ ซึ่งถุงนี้มีลักษณะเป็นหนามและเป็นสันซึ่งอยู่ทางด้านหน้าของถุง ซึ่งลักษณะรูปร่างและหนามของถุงนี้จะแตกต่างกันไปตามวงศ์ เช่น กิ้งก่าในวงศ์เหี้ย (Varanidae) มีแท่งกระดูกอยู่ภายในถุงเพื่อเสริมให้มั่นคงขณะผสมพันธุ์ ขณะเดียวกันในตัวเมียก็มีกระดูกดังกล่าว แต่มีขนาดเล็กมาก ขยายพันธุ์ได้ด้วยการวางไข่และตกลูกเป็นตัว ซึ่งปริมาณและจำนวนที่ออกมาแตกต่างกันไปตามวงศ์, สกุล และชนิด แต่ในส่วนของกิ้งก่าแล้วมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่ตกลูกเป็นตัว อีกทั้งยังมีบางส่วนที่เกิดได้โดยไม่ผ่านการผสมพันธุ์ด้วย เช่น ในวงศ์เหี้ย, Leiolepidinae หรือ แย้ หรืองูในวงศ์ Typhlopidae.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและอันดับกิ้งก่าและงู · ดูเพิ่มเติม »

อินฟราเรด

มนุษย์ในย่าน mid-infrared เป็นภาพที่เกิดจากรังสีความร้อนที่แผ่ออกมาจากคน รังสีอินฟราเรด (Infrared (IR)) มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า รังสีใต้แดง หรือรังสีความร้อน เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่างคลื่นวิทยุและแสงมีความถี่ในช่วง 1011 – 1014 เฮิร์ตซ์หรือความยาวคลื่นตั้งแต่ 1-1000 ไมโครเมตร มีความถี่ในช่วงเดียวกับไมโครเวฟ มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่างแสงสีแดงกับคลื่นวิทยุสสารทุกชนิดที่มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง -200 องศาเซลเซียสถึง 4,000 องศาเซลเซียส จะปล่อยรังสีอินฟราเรดออกมา คุณสมบัติเฉพาะตัวของรังสีอินฟราเรด เช่น ไม่เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แตกต่างกันก็คือ คุณสมบัติที่ขึ้นอยู่กับความถี่ คือยิ่งความถี่สูงมากขึ้น พลังงานก็สูงขึ้นด้วย  ถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ คือ Sir William Herschel ซึ่งได้ค้นพบ รังสีอินฟราเรดสเปกตรัมในปี.. 1800จากการทดลองโดยทดสอบว่าในเลนส์แต่ละสี จะเปลี่ยนค่าแสดงความร้อนของดวงอาทิตย์หรือไม่ จึงประดิษฐ์อุปกรณ์การทดลองเพื่อหาคำตอบใช้ปริซึมแยกแสง แล้วให้แสงต่างๆมาตกที่เทอร์โมมิเตอร์ก็ตั้งเทอร์โมมิเตอร์ตัวหนึ่งนอกเหนือจากแสงสีต่าง ๆ นั้น เพื่อเป็นตัวควบคุมการทดลอง ปรากฏว่า แสงสีต่าง มีอุณหภูมิสูงกว่าแสงสีขาว และอุณหภูมิสูงขึ้นจาก สีม่วง ไปหาสีแดง ปรากฏว่า เทอร์โมมิเตอร์ ตัวที่อยู่นอกเหนือจากแสงสีแดงนั้น กลับวัดได้อุณหภูมิสูงกว่าทุกตัว พบว่า ส่วนของแสงที่มองไม่เห็นแต่ร้อนกว่าสีแดงนี้ มีคุณสมบัติทางกายภาพเช่นเดียวกับคลื่นแสงที่มองเห็นได้ทุกประการ เช่น การหักเห ดูดซับ ส่องผ่านหรือไม่ผ่านตัวกลาง รังสีที่ถูกค้นพบใหม่นี้ตั้งชื่อว่า " รังสีอินฟราเรด " (ขอบเขตที่ต่ำกว่าแถบสีแดงหรือรังสีใต้แดง)  ในการใช้ประโยชน์ ใช้ในการควบคุมเครื่องใช้ระบบไกล (remote control) สร้างกล้องอินฟราเรดที่สามารถมองเห็นวัตถุในความมืดได้ เช่น อเมริกาสามารถใช้กล้องอินฟราเรดมองเห็นเวียตกงได้ตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนาม และสัตว์หลายชนิดมีนัยน์ตารับรู้รังสีชนิดนี้ได้ ทำให้มองเห็นหรือล่าเหยื่อได้ในเวลากลางคืน เรามองไม่เห็นรังสีอินฟราเรด แต่เราก็รู้สึกถึงความร้อนได้ สัตว์บางชนิด เช่น งู มีประสาทสัมผัสรังสีอินฟราเรด มันสามารถทราบตำแหน่งของเหยื่อได้ โดยการสัมผัสรังสีอินฟราเรดซึ่งแผ่ออกมาจากร่างกายของเหยื่อ รังสีที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่าแสงสีม่วงเรียกว่า “รังสีอุลตราไวโอเล็ต” โลกและสิ่งชีวิตแผ่รังสีอินฟราเรดออกมา เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำ ในบรรยากาศดูดซับรังสีนี้ไว้ ทำให้โลกมีความอบอุ่น เหมาะกับการดำรงชีวิต .

ใหม่!!: งูพิษเฟียและอินฟราเรด · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมชาติวิทยา

ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ธรรมชาติวิทยา หรือ ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ หมายถึงคำรวมที่ใช้เรียกสรรพสิ่งทั้งหลายที่ปัจจุบันมองว่าเป็นศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความเฉพาะชัดเจน นิยามเกือบทั้งหมดรวมถึงการศึกษาสิ่งมีชีวิต (เช่น ชีววิทยา รวมทั้งพฤกษศาสตร์และสัตววิทยา) นิยามอื่นได้ขยายเนื้อหารวมไปถึง บรรพชีวินวิทยา นิเวศวิทยา ดาราศาสตร์ หรือชีวเคมี รวมทั้งธรณีวิทยาและฟิสิกส์ หรือแม้แต่อุตุนิยมวิทยา บุคคลผู้สนใจในธรรมชาติวิทยาเรียกว่า "นักธรรมชาติวิทยา".

ใหม่!!: งูพิษเฟียและธรรมชาติวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

งู

งู เป็นสัตว์เลื้อยคลานอันดับหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่น งูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน โดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (วงศ์งูหางกระดิ่ง((Viperidae)) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่น งูแมวเซา ธรรมชาติโดยทั่วไป งูจะลอกคราบเมื่อมันเริ่มโตขึ้น ทำให้ผิวหนังของงูเริ่มแข็งและคับขึ้น ซึ่งงูจะลอกคราบบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งภายหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้ผิวหนังเก่าหลุดออก แต่เซลล์สีที่ทำให้งูมีสีสันยังคงอยู่ในตัวงู ทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน มีงูถูกค้นพบแล้วประมาณ 2,700 ชนิด แต่เป็นงูไม่มีพิษประมาณ 2,300 ชนิด สำหรับในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและงู · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: งูพิษเฟียและประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: งูพิษเฟียและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

ตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง หรือ กวางสี หรือ กวางไซ (จ้วง: Gvangjsih Bouxcuengh Swcigih) หรือชื่อย่อว่า กุ้ย (桂; จ้วง: Gvei) เป็นเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศจีน มีเมืองเอกคือหนานหนิง.

ใหม่!!: งูพิษเฟียและเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองทิเบต

ตปกครองตนเองทิเบต (ทิเบต:བོད་- โบด์; ซีจ้าง) เป็นเขตปกครองตนเองของประเทศจีน มีเชื้อสายมาจากชาวอินเดีย ชาวทิเบต มีพระเป็นผู้นำของเขตปกครองพิเศษนี้ ชนพวกนี้นับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน คล้ายกับประเทศภูฏาน ทิเบตตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่ราบสูงที่สูงที่สุดในโลก จนได้รับฉายาว่า หลังคาโลก ทิเบตมีอากาศที่หนาวเย็นมาก และมีความกดอากาศและอ๊อกซิเจนที่ต่ำ ฉะนั้นผู้ที่จะมาในทิเบตจะต้องปรับสภาพร่างกายก่อน และด้วยเหตุนี้ประชากรที่อาศัยอยู่ในทิเบตจึงน้อย พลเมืองชายของทิเบตกว่าครึ่งบวชเป็นพระ ก่อนจีนจะยึดครองทิเบต ทิเบตมีสามเณริกามากที่สุดในโลก ในทิเบตเคยมีคัมภีร์มากมาย พลเมืองนับถือศาสนาอย่างเคร่งครัด จนได้รับฉายาว่า "แดนแห่งพระธรรม" (land of dharma) ทิเบตมีเมืองหลวงชื่อ ลาซา (Lhasa).

ใหม่!!: งูพิษเฟียและเขตปกครองตนเองทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

AzemiopinaeAzemiopsAzemiops feae

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »