โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ค่าคงที่จักรวาล

ดัชนี ค่าคงที่จักรวาล

ในการศึกษาจักรวาลวิทยา ค่าคงที่จักรวาล (Cosmological constant; มักเขียนย่อด้วยอักษรกรีกตัวใหญ่ แลมบ์ดา: Λ) คือค่าคงที่ที่นำเสนอโดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เพื่อปรับปรุงทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของเขาเองให้สามารถได้ผลสอดคล้องกับแบบจำลองเอกภพสถิตที่ไอน์สไตน์เชื่อ ในภายหลังไอน์สไตน์ก็ละทิ้งแนวคิดนี้ไปหลังจากมีผลสังเกตการณ์การเคลื่อนไปทางแดง ของ เอ็ดวิน ฮับเบิล ซึ่งบ่งชี้ว่าเอกภพไม่ได้มีสภาวะสถิตหรือหยุดนิ่งกับที่ แต่เอกภพกำลังขยายตัว อย่างไรก็ดี การค้นพบ ความเร่งของจักรวาล (cosmic acceleration) ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ได้รื้อฟื้นความสนใจเกี่ยวกับค่าคงที่จักรวาลขึ้นมาใหม.

10 ความสัมพันธ์: บิกแบงพลังงานมืดการเลื่อนไปทางแดงสมการฟรีดแมนอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์จักรวาลวิทยาทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปแบบจำลองเอกภพสถิตแลมดาเอ็ดวิน ฮับเบิล

บิกแบง

ตาม'''ทฤษฎีบิกแบง''' จักรวาลมีจุดกำเนิดมาจากสภาพที่มีความหนาแน่นสูงและร้อน และจักรวาลมีการขยายตัวอยู่ตลอดเวลา บิกแบง (Big Bang, "การระเบิดครั้งใหญ่") เป็นแบบจำลองของการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพในจักรวาลวิทยาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และจากการสังเกตการณ์ที่แตกต่างกันจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปใช้คำนี้กล่าวถึงแนวคิดการขยายตัวของเอกภพหลังจากสภาวะแรกเริ่มที่ทั้งร้อนและหนาแน่นอย่างมากในช่วงเวลาจำกัดระยะหนึ่งในอดีต และยังคงดำเนินการขยายตัวอยู่จนถึงในปัจจุบัน ฌอร์ฌ เลอแม็ทร์ นักวิทยาศาสตร์และพระโรมันคาทอลิก เป็นผู้เสนอแนวคิดการกำเนิดของเอกภพ ซึ่งต่อมารู้จักกันในชื่อ ทฤษฎีบิกแบง ในเบื้องแรกเขาเรียกทฤษฎีนี้ว่า สมมติฐานเกี่ยวกับอะตอมแรกเริ่ม (hypothesis of the primeval atom) อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน ทำการคำนวณแบบจำลองโดยมีกรอบการพิจารณาอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ต่อมาในปี..

ใหม่!!: ค่าคงที่จักรวาลและบิกแบง · ดูเพิ่มเติม »

พลังงานมืด

ในการศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ ดาราศาสตร์ และกลศาสตร์ท้องฟ้า พลังงานมืด (Dark energy) คือพลังงานในสมมุติฐานที่แผ่อยู่ทั่วไปในอวกาศและมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการขยายตัวของเอกภพ พลังงานมืดเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดในการใช้อธิบายถึงผลสังเกตการณ์และการทดลองมากมายอันแสดงถึงลักษณะที่เอกภพปรากฏตัวอยู่ในลักษณะการขยายตัวออกอย่างมีอัตราเร่ง ในแบบจำลองมาตรฐานของจักรวาลวิทยา มีพลังงานมืดอยู่ในเอกภพปัจจุบันเป็นจำนวน 74%ของมวล-พลังงานรวมทั้งหมดในเอกภพ รูปแบบของพลังงานมืดที่นำเสนอกันมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ ค่าคงที่จักรวาลวิทยา (cosmological constant) อันเป็นค่าความหนาแน่นพลังงาน "คงที่" ที่แผ่อยู่ในอวกาศอย่างสม่ำเสมอ.

ใหม่!!: ค่าคงที่จักรวาลและพลังงานมืด · ดูเพิ่มเติม »

การเลื่อนไปทางแดง

แถบการดูดกลืนแสงในสเปกตรัมของแสงที่ได้จากกระจุกดาราจักรอันห่างไกล (ด้านขวา) เปรียบเทียบกับแถบการดูดกลืนแสงในสเปกตรัมของแสงดวงอาทิตย์ (ด้านซ้าย) ลูกศรชี้แสดงถึงการเลื่อนไปทางแดง ความยาวคลื่นจะเพิ่มขึ้นและความถี่ลดลง ในวิชาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ การเลื่อนไปทางแดง (Redshift) เกิดขึ้นเมื่อการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (โดยมากเป็นแสงที่ตามองเห็น) มีการเปล่งแสงหรือสะท้อนกับวัตถุ แล้วเกิดปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ทำให้สเปกตรัมของคลื่นเลื่อนตัวไปในทางฝั่งสีแดงของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า (ซึ่งมีพลังงานน้อยกว่า) การเลื่อนไปทางแดงจึงหมายถึงการที่ผู้สังเกตหรืออุปกรณ์ตรวจจับได้รับรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับแหล่งกำเนิด การที่ความยาวคลื่นเพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับการที่ความถี่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าลดลง ดังนั้นในทางตรงกันข้าม หากตรวจพบว่าความยาวคลื่นลดลงก็จะเรียกปรากฏการณ์นั้นว่า การเลื่อนไปทางน้ำเงิน การเลื่อนไปทางแดงที่เกิดจากปรากฏการณ์ดอปเพลอร์เกิดขึ้นเมื่อแหล่งกำเนิดแสงเคลื่อนที่ห่างออกไปจากผู้สังเกต เช่นเดียวกับการเคลื่อนดอปเปลอร์ซึ่งความถี่จะเปลี่ยนแปลงลดลงเมื่อต้นกำเนิดเสียงเคลื่อนห่างออกไป ฟิสิกส์ดาราศาสตร์สเปกโตรสโกปีอาศัยปรากฏการณ์ดอปเพลอร์เช่นนี้ในการคำนวณการเคลื่อนที่ของวัตถุทางดาราศาสตร์ที่อยู่ในที่ห่างไกล.

ใหม่!!: ค่าคงที่จักรวาลและการเลื่อนไปทางแดง · ดูเพิ่มเติม »

สมการฟรีดแมน

มการฟรีดแมน คือชุดสมการในการศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพที่ใช้อธิบายถึงการขยายตัวของอวกาศตามแบบจำลองของเอกภพซึ่งมีความกลมกลืนและเหมือนกันในทุกทิศทาง โดยอยู่ภายใต้บริบทของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ชุดสมการนี้พัฒนาขึ้นครั้งแรกโดยอเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน ในปี..

ใหม่!!: ค่าคงที่จักรวาลและสมการฟรีดแมน · ดูเพิ่มเติม »

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein, อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์; 14 มีนาคม พ.ศ. 2422 – 18 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2428 ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ใน..

ใหม่!!: ค่าคงที่จักรวาลและอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวาลวิทยา

ักรวาลวิทยา (cosmology) เป็นการศึกษาเอกภพโดยรวม ซึ่งนับว่าเป็นการศึกษาถึงสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นพื้นฐานที่สุดในเวลาเดียวกัน จักรวาลวิทยามุ่งเน้นที่จะศึกษาถึงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งทั้งหลายในเอกภพ พร้อมกับพยายามที่จะอธิบายความเป็นมาของเอกภพในอดีต และทำนายความเป็นไปของเอกภพในอนาคต เอกภพเป็นอย่างไร เอกภพมีขอบเขตจำกัดหรือไม่ เอกภพเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะเหตุใดเอกภพจึงมีรูปร่างลักษณะอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และอนาคตข้างหน้าเอกภพจะเป็นอย่างไร ปัญหาเหล่านี้คือสิ่งที่นักจักรวาลวิทยาทั้งหลายสนใจ จักรวาลวิทยาในความหมายที่กว้างที่สุด จะหมายถึงการทำความเข้าใจเอกภพโดยอาศัยความรู้จากหลายสาขาวิชา ไม่ว่าจะเป็น วิทยาศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา หรือศิลปะ แต่โดยทั่วไปในปัจจุบัน จักรวาลวิทยาจะหมายถึงการศึกษาเอกภพโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์ ซึ่งถือว่าเป็นสองเครื่องมือสำคัญในการใช้ศึกษาเอกภพ เป็นที่ยอมรับกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า ยิ่งเรามีความรู้ทางด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์มากขึ้นเท่าใด เราก็จะยิ่งมีความเข้าใจในเอกภพมากขึ้นเท่านั้น มโนทัศน์เกี่ยวกับเอกภพของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าเอกภพประกอบด้วยโลก คือ เทพเจ้าชื่อเก็บ ซึ่งถูกโอบล้อมด้วยท้องฟ้าคือ นัท ต่อมาเมื่อชาวกรีกโบราณศึกษาท้องฟ้าและการโคจรของดวงดาวมากขึ้น เขาก็สามารถสร้างแบบจำลองเอกภพที่สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษานั้น โดยให้โลกเป็นจุดศูนย์กลางของเอกภพ และมีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ รวมทั้งดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ทั้งหลาย โคจรอยู่รายล้อม แบบจำลองโลกเป็นศูนย์กลางนี้เป็นที่ยอมรับกันมานับพันปี ก่อนที่โคเปอร์นิคัสจะเสนอแบบจำลองใหม่ที่ให้ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ด้วยเหตุผลว่าแบบจำลองนี้ใช้การคำนวณที่ซับซ้อนน้อยกว่า (หลักการของออคแคม) จะเห็นว่าความรู้ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นนั้นทำให้มนุษย์มองโลกและเอกภพต่างออกไป การศึกษาเอกภพก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพราะในศตวรรษนี้มีทฤษฎีใหม่ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของเอกภพมากขึ้น เช่น ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป และควอนตัมฟิสิกส์ รวมทั้งมีการค้นพบหลายสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อวงการจักรวาลวิทยา เช่น การค้นพบว่าเอกภพกำลังขยายตัว หรือการค้นพบการแผ่รังสีคอสมิกไมโครเวฟเบื้องหลัง เป็นต้น ทั้งทฤษฎีและการค้นพบใหม่ ๆ เหล่านี้ทำให้ภาพของเอกภพในใจมนุษย์นั้นกระจ่างแจ่มชัดและใกล้เคียงความจริงยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามก็ต้องยอมรับว่าสิ่งที่มนุษย์รู้เกี่ยวกับเอกภพนั้นยังน้อยมาก และยังคงมีอีกหลายปัญหาในทางจักรวาลวิทยาที่ยังคงเป็นปริศนาอยู่ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ค่าคงที่จักรวาลและจักรวาลวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป

การทดสอบสัมพัทธภาพทั่วไปความเที่ยงสูงโดยยานอวกาศแคสซินี สัญญาณวิทยุที่ส่งระหว่างโลกและยาน (คลื่นสีเขียว) ถูกหน่วงโดยการบิดของปริภูมิ-เวลา (เส้นสีน้ำเงิน) เนื่องจากมวลของดวงอาทิตย์ สัมพัทธภาพทั่วไปหรือทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (general relativity หรือ general theory of relativity) เป็นทฤษฎีความโน้มถ่วงแบบเรขาคณิตซึ่งอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์จัดพิมพ์ใน..

ใหม่!!: ค่าคงที่จักรวาลและทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป · ดูเพิ่มเติม »

แบบจำลองเอกภพสถิต

แนวคิดเกี่ยวกับ เอกภพสถิต หรือ เอกภพของไอน์สไตน์ เป็นหนึ่งในแนวคิดที่สนับสนุนว่า อวกาศไม่มีการขยายตัวหรือหดตัว แต่มีลักษณะที่คงที่อยู่เสมอ ครั้งหนึ่ง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยเสนอให้เพิ่มค่าคงที่จักรวาลเข้าไปในสมการในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของเขาเพื่อให้ได้แบบจำลองในลักษณะนี้ เป็นการชดเชยกับผลกระทบเชิงพลศาสตร์ที่เกิดจากแรงโน้มถ่วง อันจะทำให้เอกภพของสสารสามารถแตกสลายได้ แนวคิดนี้ถูกล้มล้างไปหลังจากที่ เอ็ดวิน ฮับเบิล ค้นพบว่าเอกภพมิได้มีลักษณะคงที่ แต่กำลังขยายตัว เนื่องจากฮับเบิลได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนไปทางแดงกับระยะห่างระหว่างดาว ซึ่งเป็นรากฐานในการพิจารณาการขยายตัวของอวกาศในวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ หมวดหมู่:อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ หมวดหมู่:จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ.

ใหม่!!: ค่าคงที่จักรวาลและแบบจำลองเอกภพสถิต · ดูเพิ่มเติม »

แลมดา

แลมบ์ดา (lambda) หรือ ลัมดา (λάμδα, ตัวใหญ่ Λ, ตัวเล็ก λ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 11 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 30 λ ในสมการต่างๆ -ฟิสิกส์ แทนความยาวคลื่น.

ใหม่!!: ค่าคงที่จักรวาลและแลมดา · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดวิน ฮับเบิล

เอ็ดวิน พาเวลล์ ฮับเบิล (Edwin Powell Hubble; 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1889 - 28 กันยายน ค.ศ. 1953) นักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษที่ 20 ศึกษารายละเอียดของดาวฤกษ์แต่ละดวงในกาแล็กซี เอ็ม 33 ซึ่งเป็นกาแล็กซีเพื่อนบ้าน พบว่าดาวฤกษ์เหล่านี้อยู่นอกกาแล็กซี่ของเราออกไป หลังจากที่ฮับเบิลได้พิสูจน์ว่ามีกาแล็กซีอื่นอีกจำนวนมาก เขายังได้พิสูจน์อีกว่า กาแล็กซีเหล่านี้ กำลังเคลื่อนที่ห่างออกไป เมื่อกาแล็กซีอื่นเคลื่อนที่ห่างออกไปหรือเคลื่อนที่เข้าหากาแล็กซีของเรา แสงที่สังเกตเห็นจากกาแล็กซีเหล่านี้ จะเป็นสีอื่นที่แตกต่างไปจากตอนที่ยังไม่ได้เคลื่อนที่ กล้องโทรทรรศน์ฮุกเกอร์ ขนาด 100 นิ้ว ที่เมาท์วิลสัน ซึ่งฮับเบิลใช้ตรวจจับเรดชิฟต์ และค้นพบการขยายตัวของเอกภพ ถ้ากาแล็กซีเคลื่อนที่ห่างออกไปจะปรากฏมีสีแดงขึ้น เรียกว่า กาแล็กซีมีการเขยื้อนไปทางสีแดงหรือ "เรดชิฟต์" (redshift) ถ้าเคลื่อนที่เข้าหาเรา กาแล็กซีจะปรากฏมีสีน้ำเงินขึ้น เรียกว่า เขยื้อนไปทางสีน้ำเงินหรือ "บลูชิฟต์" (blueshift) ปรากฏการณ์เปลี่ยนสีนี้ เรียกว่า ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ ฮับเบิลใช้ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์วัดความเร็วของกาแล็กซีต่างๆ และค้นพบความสัมพันธ์เหลือเชื่อที่ว่า กาแล็กซียิ่งอยู่ไกลยิ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงขึ้น นั่นคือเขาค้นพบว่า อัตราเร็วของกาแล็กซีเป็นปฏิภาคโดยตรงกับระยะห่าง ปัจจุบันเรียกว่า กฎของฮับเบิล กฎนี้แสดงว่าเอกภพทั้งหมดกำลังมีขนาดโตขึ้น อนึ่ง ภาพถ่ายแรกที่ได้จากกล้องฮับเบิล ถูกเปรียบเทียบเป็นภาพโมนาลิซ่าแห่งวงการดาราศาสตร์ อเอ็ดวิน ฮับเบิล อเอ็ดวิน ฮับเบิล หมวดหมู่:บุคคลจากรัฐมิสซูรี หมวดหมู่:บุคคลจากรัฐอิลลินอยส์.

ใหม่!!: ค่าคงที่จักรวาลและเอ็ดวิน ฮับเบิล · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »