โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คิงคาจู

ดัชนี คิงคาจู

งคาจู หรือ หมีน้ำผึ้ง (kinkajou, honey bear) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อชนิดหนึ่งในวงศ์แร็กคูน (Procyonidae) นับเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Potos แบ่งออกได้เป็น 7 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) คิงคาจูเป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 60 เซนติเมตร มีขนสั้นและหนานุ่มสีน้ำผึ้งทองหรือสีน้ำตาล มีหัวและใบหูกลม ใบหน้าและดวงตากลมโตเหมือนแมว น้ำหนักตัวประมาณ 4-10 ปอนด์ ออกหากินในเวลากลางคืน ใช้เสียงในการสื่อสาร ปกติหากินและอาศัยอยู่ตามยอดไม้สูง ชอบกินผลไม้ เกสรดอกไม้ น้ำผึ้ง และน้ำต้อยจากดอกไม้ มีลิ้นที่ยาวมากถึง 7 นิ้ว ใช้สำหรับดูดกินน้ำผึ้งหรือน้ำต้อยของดอกไม้ และก็สามารถกินสัตว์เล็ก ๆ เป็นอาหารได้อีกด้วย สามารถใช้หางและเท้าเกาะเกี่ยวและทรงตัวบนต้นไม้และกิ่งไม้ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะส่วนเท้าสามารถหมุนกลับด้านได้ถึง 180 องศา อีกทั้งยังมีต่อมกลิ่นพิเศษใกล้ปาก, คอ และพื้นท้อง ซึ่งจะใช้สำหรับแสดงอาณาเขตครอบครอง มีความยาวหางเท่ากับลำตัว โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์ของคิงคาจูนั้น มีความหมายว่า "นักดื่มสีทอง" อันหมายถึงสีขนและพฤติกรรมการกินอาหาร นอกจากเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน จึงมีดวงตาที่กลมโตสำหรับใช้ในการรวมแสงเพื่อการมองเห็นในที่มืด ปกติในเวลากลางวันจะซึมเซาหรือหลับนอน แต่ในเวลากลางคืนจะตื่นตัว พบกระจายพันธุ์ในป่าทึบ และป่าหลากหลายประเภท เช่น ป่าเสื่อมโทรม พบได้ทั้งพื้นที่ราบและพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล ของทวีปอเมริกากลางและภาคเหนือของทวีปอเมริกาใต้ เป็นสัตว์ที่ออกลูกเป็นตัว ครั้งละตัว นาน ๆ ครั้งจึงจะมีเป็นฝาแฝด มีระยะเวลาตั้งท้องนาน 4 เดือน ลูกอ่อนใช้เวลานาน 2 สัปดาห์จึงจะลืมตา คิงคาจูเป็นสัตว์ที่รักสันโดษมักอาศัยอยู่ตัวเดียว เมื่อจะออกลูก จะออกในโพรงไม้ แต่ก็เป็นสัตว์ที่ดุร้ายเมื่อมีภัยใกล้ตัว คิงคาจูถูกล่าจากชาวพื้นเมืองเพื่อนำขนและหนังไปผลิตเป็นกระเป๋าและอานม้า รวมทั้งบริโภคเป็นอาหาร อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์แปลก ๆ โดยมีบันทึกว่ามีอายุสูงสุดในที่เลี้ยงได้ 23 ปี ขณะที่มีวงจรชีวิตนานที่สุดถึง 41 ปี ใบหน้าของคิงคาจู ในประเทศไทย คิงคาจูมีจัดแสดงเพียง 3 ที่เท่านั้นในสวนสัตว์ คือ สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์นครราชสีมา และเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี สำหรับเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีมีคิงคาจูมากถึง 11 ตัว และมีการแพร่ขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงด้ว.

7 ความสัมพันธ์: ชนิดย่อยวงศ์แร็กคูนสัตว์สัตว์กินเนื้อสัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ชนิดย่อย

นิดย่อย หรือ พันธุ์ย่อย หรือ สปีชีส์ย่อย (subspecies) หมายถึง สิ่งมีชีวิตในสกุล (genus) เดียวกัน และจัดอยู่ในชนิด (species) เดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยซึ่งไม่สามารถแยกแยะออกเป็นชนิดใหม่ได้ จึงจัดเป็นชนิดย่อย โดยใช้ชื่อไตรนาม เช่น เต่าปูลู (Platysternon megacephalum pequense) เต่าปูลูเหนือ (Platysternon megacephalum megacephalum) เต่าปูลูใต้ (Platysternon megacephalum vogeli) เป็นต้น ความแตกต่างของชนิดย่อยมักอยู่ที่ลวดลาย สีสัน หรือขนาดลำตัว อันเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่อยู่ที่แตกต่างกัน ปกติชนิดย่อยของสัตว์นิยมเรียกว่า subspecies ส่วนพืชเรียกว่า variety.

ใหม่!!: คิงคาจูและชนิดย่อย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์แร็กคูน

วงศ์แร็กคูน (Procyonid) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Procyonidae (/โพร-ไซ-โอ-นิ-เด/) ลักษณะโดยร่วมของสัตว์ในวงศ์นี้คือ มีลำตัวสั้น มีหางยาว มีลวดลายตามลำตัวหรือใบหน้าหรือไม่มีในบางชนิด หากินได้ทั้งบนพื้นดินและต้นไม้ มักออกหากินในเวลากลางคืน กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก แต่ก็มีบางชนิดที่กินพืชหรือละอองเกสรดอกไม้หรือน้ำผึ้งเป็นอาหารหลัก มีฟันที่สามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า ทั้งหมดเป็นสัตว์ที่พบได้ในโลกใหม่ คือ ทวีปอเมริกา ทั้งอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ โดยสัตว์ในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ แร็กคูน, คิงคาจู, โคอาที, โอลิงโก เป็นต้น เดิมสัตว์ในวงศ์นี้เคยครอบคลุมถึงแพนด้ายักษ์และแพนด้าแดงที่พบในทวีปเอเชียด้วย ด้วยความที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายคลึงกันและมีพฤติกรรมการหากินใกล้เคียงกัน แต่ทว่าเมื่อมีการศึกษาลงไปถึงระดับโมเลกุลของสารพันธุกรรม ได้แก่ การหาลำดับเบสของดีเอ็นเอ และการทดสอบเปรียบเทียบตำแหน่งของเบสในสิ่งมีชีวิตเพื่อจำแนกเป็นสายวิวัฒนาการ ทำให้ทราบว่าแพนด้าแดงมีสารพันธุกรรมที่มีความแตกต่างจากแร็กคูน และมีสายวิวัฒนาการแยกออกมาจากสายวิวัฒนาการของแร็กคูนมาเป็นเวลานานกว่า 30-40 ล้านปีแล้ว จึงได้จำแนกแพนด้าแดงออกมาจากวงศ์ Procyonidae และจัดอยู่ในวงศ์เฉพาะของตนเองคือ วงศ์ Ailuridae และในส่วนของแพนด้ายักษ์ก็ถือว่าก้ำกึ่งอยู่ระหว่างแร็กคูน, หมี และแพนด้าแดง แต่เมื่อศึกษาถึงคาริโอไทป์พบว่าแพนด้ายักษ์มีลักษณะคล้ายคลึงกับหมีมากกว่า จึงจัดให้แพนด้านั้นเป็นหมี หรืออยู่ในวงศ์ต่างหาก คือ Ailuropodidae.

ใหม่!!: คิงคาจูและวงศ์แร็กคูน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: คิงคาจูและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์กินเนื้อ

ัตว์กินเนื้อ หรือ คาร์นิวอรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Order Carnivora) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมายถึงสัตว์ที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก ไม่ว่าเนื้อสัตว์นั้นจะมาจากสัตว์ที่มีชีวิตอยู่หรือว่าตายแล้ว สัตว์บางชนิดจำเป็นที่จะต้องกินเนื้อเพื่อความอยู่รอด อันเนื่องมาจากพันธุกรรม เราเรียกสัตว์ในกลุ่มนี้ว่า "true carnivore" (สัตว์กินเนื้อแท้) หรือ "obligate carnivores" (สัตว์กินเนื้อโดยบังคับ) สัตว์ในกลุ่มนี้อาจกินพืชผักหรืออาหารชนิดอื่นได้ แต่มันจะต้องกินเนื้อเพื่อเป็นแหล่งสารอาหารหลักของมัน กายวิภาคของสัตว์ในกลุ่มนี้ ทำให้มันไม่สามารถย่อยอาหารจำพวกพืชได้อย่างมีประสิท.

ใหม่!!: คิงคาจูและสัตว์กินเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: คิงคาจูและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยง

ัตว์เลี้ยง (สุนัข) ในภาพจิตรกรรม ''A Highland Breakfast'' โดย Edwin Landseer สัตว์เลี้ยง เป็นสัตว์ที่เลี้ยงไว้เพื่อเป็นเพื่อนหรือเพื่อคุ้มครองบุคคลเป็นหลัก ต่งจากสัตว์ใช้งาน สัตว์กีฬา ปศุสัตว์และสัตว์ทดลอง เพื่อเลี้ยงไว้เพื่อการแสดง ใช้ในเกษตรกรรมหรือการวิจัยเป็นหลัก.

ใหม่!!: คิงคาจูและสัตว์เลี้ยง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: คิงคาจูและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

KinkajouPotosPotos flavusหมีน้ำผึ้งคินคาจู

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »