โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คัมเบรีย

ดัชนี คัมเบรีย

ัมเบรีย (Cumbria) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์ และมณฑลนอกเมโทรโพลิตัน คัมเบรีย ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษที่มีเขตแดนทางด้านตะวันตกติดกับทะเลไอริช ทางด้านไต้ติดกับมณฑลแลงคาสเชอร์, ทรงตะวันออกเฉียงไต้ติดกับมณฑลนอร์ธยอร์คเชอร์, ทางตะวันออกติดกับมณฑลเดอแรม และมณฑลนอร์ทธัมเบอร์แลนด์ และมณฑลดัมฟรีส์และกาลลเวย์ของสกอตแลนด์ทางด้านเหนือ คัมเบรียแบ่งการปกครองเป็นหกแขวง: บาร์โรว์อินเฟอร์เนสส์, เซาท์เลคแลนด์, โคพแลนด์, อัลเลอร์เดล, อีเด็น และนครคาร์ไลล์โดยมีคาร์ไลล์เป็นเมืองหลวงของมณฑล คัมเบรียมีเนื้อที่ 6768 ตารางกิโลเมตร และในปี..

13 ความสัมพันธ์: ภาษาอังกฤษสหราชอาณาจักรทะเลไอริชคาร์ไลล์ประเทศอังกฤษนอร์ทัมเบอร์แลนด์นอร์ทเวสต์อิงแลนด์แลงคาเชอร์เมืองเทศมณฑลเทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษเทศมณฑลที่ไม่ใช่มหานครเทศมณฑลของอังกฤษเดอรัม (เทศมณฑล)

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: คัมเบรียและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: คัมเบรียและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลไอริช

ที่ตั้งของทะเลไอริชแสดงตำแหน่งของเมืองท่าสินค้าและผู้โดยสารสีแดง และเมืองท่าสินค้าสีน้ำเงิน ทะเลไอริช หรือ ทะเลแมน หรือ ทะเลแมงซ์ (ไอริช: Muir Éireann หรือ Muir Meann; สกอตแกลิก: Muir Eireann หรือ Muir Mheann; แมงซ์: Mooir Vannin; เวลช์: Môr Iwerddon; Irish Sea หรือ Mann Sea หรือ Manx Sea) เป็นทะเลที่แยกเกาะไอร์แลนด์จากบริเตน ทางตอนใต้ของทะเลไอริชติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติกโดยช่องแคบเซนต์จอร์จ และทางตอนเหนือโดยช่องแคบเหนือ แองเกิลซีย์เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดภายในทะเลไอริช ตามด้วยเกาะแมน ทะเลไอริชมีความสำคัญในบริเวณที่ครอบคลุมทางด้านเศรษฐกิจทางการค้าขาย การขนส่งทางเรือ การคมนาคม การประมง และการสร้างพลังงานในรูปของกังหันลมและโรงงานนิวเคลียร์ การขนส่งผู้โดยสารระหว่างสองเกาะตกราว 12 ล้านคนต่อปี และสินค้าอีก 17 ล้านตันต่อปี.

ใหม่!!: คัมเบรียและทะเลไอริช · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ไลล์

ร์ไลล์ (ภาษาอังกฤษ: Carlisle (ไม่ออกเสียง “s”)) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในนครคาร์ไลล์ (City of Carlisle) ที่ตั้งอยู่ในมณฑลคัมเบรียในภาคการปกครองตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษ เมืองคาร์ไลล์ตั้งอยู่ตรงจุดที่แม่น้ำอีเดน, แม่น้ำคาลดรูว์ (River Caldew) และแม่น้ำเพ็ตเตอริ (River Petteril) มาบรรจบกัน 16 กิโลเมตรใต้เขตแดนอังกฤษ-สกอตแลนด์ เมืองคาร์ไลล์เป็นเมืองที่มีผู้ตั้งถิ่นฐานใหญ่ที่สุดในเคานตี้คัมเบรียและเป็นศูนย์กลางการบริหารทั้งของนครคาร์ไลล์และมณฑลคัมเบรีย ในปี..

ใหม่!!: คัมเบรียและคาร์ไลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: คัมเบรียและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

นอร์ทัมเบอร์แลนด์

นอร์ทธัมเบอร์แลนด์ (ภาษาอังกฤษ: Northumberland) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหราชอาณาจักรอังกฤษ ทางด้านตะวันตกติดกับมณฑลคัมเบรีย, ด้านใต้กับเคานติเดอแรม, ด้านตะวันออกเฉียงใต้มณฑลไทน์และเวียร์ และทางเหนือติดกับสกอตแลนด์ ด้านตะวันออกเป็นฝั่งทะเลเหนือที่ยาวเกือบ 80 ไมล์ นอร์ทธัมเบอร์แลนด์มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 310,600 คนในเนื้อที่ 5013 ตารางกิโลเมตร ตั้งแต่ไทน์และเวียร์แยกไปเป็นมณฑลอิสระในปี..

ใหม่!!: คัมเบรียและนอร์ทัมเบอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

นอร์ทเวสต์อิงแลนด์

ตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: North West England) เป็นหนึ่งในเก้าของภาคการปกครองของอังกฤษที่ประกอบด้วยมลฑลคัมเบรีย, แลงคาสเชอร์, นครแมนเชสเตอร์และปริมณฑล, เมอร์ซีย์ไซด์ และเชสเชอร์ เขตแดนทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษเป็นทะเลไอริช ทางตะวันออกเป็นเทือกเขาเพ็นไนน์ส (The Pennines) ภาคมีดินแดนตั้งแต่เขตแดนสกอตแลนด์ทางด้านเหนือไปจรดเวลส์ทางด้านใต้ จุดที่สูงที่สุดในภาคตะวันตกเฉียงเหนือและในอังกฤษคือสคาเฟลล์ไพค์ในคัมเบรียที่สูง 978 เมตร ศูนย์กลางของภาคตะวันตกเฉียงเหนืออยู่ที่ลิเวอร์พูล และแมนเชสเตอร์ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภาคที่มีประชากรหนาแน่นที่สุด ทางตอนเหนือที่รวมทั้งตอนเหนือของแลงคาสเชอร์และคัมเบรียเป็นบริเวณที่เป็นชนบท ภาคตะวันตกเฉียงเหนือมีเนื้อที่ 14,165 ตารางกิโลเมตร ในปี..

ใหม่!!: คัมเบรียและนอร์ทเวสต์อิงแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

แลงคาเชอร์

แลงคาสเชอร์ (ภาษาอังกฤษ: Lancashire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของสหราชอาณาจักร ด้านตะวันตกติดกับทะเลไอริช ชื่อของมณฑลมาจากชื่อเมืองแลงคาสเตอร์ หรือบางที่เรียกว่า “เคานตี้แห่งแลงคาสเตอร์” - Lancashire และถือว่าเป็นเมืองศูนย์กลางการปกครอง แลงคาสเชอร์เรียกสั้นๆ ว่า “Lancs” แลงคาสเชอร์มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,451,500 คน ในเนื้อที่ 3079 ตารางกิโลเมตร ผู้ที่อาศัยอยู่ในแลงคาสเชอร์เรียกว่า “แลงคาสเตรียน” แลงคาสเชอร์แบ่งการปกครองเป็นสิบสี่แขวง: เวสต์แลงคาสเชอร์, คอร์ลีย์, เซาท์ริบเบิล, ฟิลด์, เพรสตัน, ไวร์, นครแลงคาสเตอร์, ริบเบิลแวลลีย์, เพนเดิล, เบิร์นลีย์, รอสเซ็นเดล, ฮินด์เบิร์น, แบล็คพูล, และ แบล็คเบิร์นและดาร์เวน โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่ เพรสตัน ประวัติศาสตร์แลงคาสเชอร์อาจจะเริ่มราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในบันทึกทะเบียนราษฎรดูมสเดย์ (Domesday Book) ที่ทำในปี..

ใหม่!!: คัมเบรียและแลงคาเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เมืองเทศมณฑล

วัดเซนต์แมรีในเมืองวอริคเมืองหลวงของมณฑลวอริคเชอร์ เมืองเทศมณฑล หรือ เมืองหลวงของเทศมณฑล (county town) คือ “เมืองหลวง” ของ มณฑลในสหราชอาณาจักรหรือในสาธารณรัฐไอร์แลน.

ใหม่!!: คัมเบรียและเมืองเทศมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษ

ทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษ (Ceremonial counties of England) คือพื้นที่ในอังกฤษที่ได้รับก่อตั้งให้อยู่ในปกครองของ “ลอร์ดเลฟเทนันต์” (Lord Lieutenant) และได้รับคำบรรยายโดยรัฐบาลว่าเป็น “มลฑลที่ก่อตั้งสำหรับพระราชบัญญัติเลฟเทนันต์ ค.ศ. 1997” ที่มีพื้นฐานมาจากเทศมณฑลที่เป็นมหานครและไม่ใช่มหานครของอังกฤษ และพระราชบัญญัติเลฟเทนันต์ ค.ศ. 1997 มลฑลเหล่านี้มักจะใช้ในการอ้างอิงถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่บางครั้งเรียกว่า “มลฑลประวัติศาสตร์” เทศมณฑลพิธีมีด้วยกันทั้งสิ้น 48 แห่ง.

ใหม่!!: คัมเบรียและเทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลที่ไม่ใช่มหานคร

มณฑลนอกเมโทรโพลิตันของอังกฤษ หรือ มณฑลไชร์ (Non-metropolitan county หรือ Shire county) เป็นหนึ่งในระดับการปกครองมณฑลของอังกฤษที่ไม่ใช่อังกฤษมณฑลเมโทรโพลิตัน มณฑลเหล่านี้มักจะมีประชากรราว 300,000 ถึง 1.4 ล้านคน บางครั้ง “มณฑลนอกเมโทรโพลิตัน” ก็เรียกว่า “มณฑลไชร์” (Shire county) แต่เป็นการเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการ มณฑลนอกเมโทรโพลิตันที่เป็นมณฑลเดิมในประวัติศาสตร์มักจะมีสร้อยต่อท้ายด้วย “-เชอร์” (shire) เช่นวิลท์เชอร์ หรือแลงคาสเชอร์ และบางมณฑลก็เคยมีสร้อยแต่มาหายไปภายหลังเช่นเดวอน อันที่จริงแล้ว “มณฑลไชร์” หรือ “ไชร์เคานตี้” เป็นประพจน์ซ้ำความ (Tautology) ซึ่งหมายความว่าทั้งสองคำมีความหมายเดียวกันแต่มักจะใช้ด้วยกัน: คำว่า “เคานตี้” (มณฑล) มาจากภาษาฝรั่งเศสและ “ไชร์” มาจากภาษาภาษาอังกฤษเก่า ทั้งสองคำหมายถึงเขตการปกครองระดับหนึ่ง.

ใหม่!!: คัมเบรียและเทศมณฑลที่ไม่ใช่มหานคร · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลของอังกฤษ

มณฑลการปกครองของอังกฤษ เป็นการแบ่งการเขตการปกครองหนึ่งในระดับการปกครองท้องถิ่นของอังกฤษเพื่อใช้ในทางการบริหาร, ทางการเมือง และในการแบ่งเขตการปกครองทางภูมิศาสตร์ มณฑลในปัจจุบันมีรากฐานมาจากการแบ่งเขตการปกครองของระบบการปกครองในประวัติศาสตร์เช่นในสมัยแองโกล-แซ็กซอน คำว่ามณฑลที่ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “County” ซึ่งมาจากบริเวณเขตการปกครองของขุนนางระดับเคานท์ แต่ในอังกฤษตำแหน่ง “เคานท์” เท่ากับตำแหน่ง เอิร์ล ของแซ็กซอนโบราณ แต่ภรรยาของเอิร์ลยังคงมีตำแหน่งเป็น “เคานเทส” ชื่อ, เขตแดน และลักษณะการบริหารของเขตการปกครองของมณฑลเปลี่ยนแปลงไปมากจากที่เป็นมาในอดีตกาล และการปฏิรูปเขตการปกครองต่างๆ ที่เกิดเริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาทำให้ความหมายคำว่า “มณฑล” ที่ใช้กันในอังกฤษค่อนข้างจะสับสนและกำกวม ฉะนั้นคำว่า “มณฑลของอังกฤษ” โดยทั่วไปจึงมิได้หมายถึงหน่วยเขตการปกครองที่แจ่มแจ้งเช่นในความหมายอย่างเป็นทางการของคำว่า “มณฑล” ตามที่เข้าใจกัน เช่นในการใช้คำว่า “มณฑล” สำหรับกรณีอื่นๆ นอกไปจากการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นเช่น มณฑลภูมิศาสตร์ (Ceremonial counties), มณฑลลงทะเบียน (Registration county), มณฑลในประวัติศาสตร์ (Historic counties) หรือมณฑลไปรษณีย์ (Postal counties) เป็นต้น.

ใหม่!!: คัมเบรียและเทศมณฑลของอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เดอรัม (เทศมณฑล)

มณฑลเดอรัม หรือ มณฑลเดอเร็ม (County Durham) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์ ที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษที่มีเขตแดนติดกับมณฑลไทน์และเวียร์, มณฑลนอร์ธยอร์คเชอร์, มณฑลคัมเบรีย และมณฑลนอร์ทธัมเบอร์แลนด์ มณฑลเดอรัมแบ่งการปกครองเป็นสี่แขวง: เดอรัม, ฮาร์เติลพูล, ดาร์ลิงตัน และสต็อคตันออนทีส์ โดยมีเดอรัมเป็นเมืองหลวงของมณฑล เมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือดาร์ลิงตันJohn Marius Wilson,, Imperial Gazetteer of England and Wales, (1870-72).

ใหม่!!: คัมเบรียและเดอรัม (เทศมณฑล) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Cumbria

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »