โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความสัมพันธ์คิวบา–สหรัฐอเมริกา

ดัชนี ความสัมพันธ์คิวบา–สหรัฐอเมริกา

วบาและสหรัฐอเมริกามีความสนใจอีกฝ่ายตั้งแต่ก่อนขบวนการเอกราชของทั้งสองเสียอีก สหรัฐอเมริกามีการเสนอแผนซื้อคิวบาจากจักรวรรดิสเปนหลายครั้ง เมื่ออิทธิพลของสเปนเสื่อมในแคริบเบียน สหรัฐอเมริกาค่อย ๆ ได้ฐานะภาวะครอบงำทางเศรษฐกิจและการเมืองเหนือคิวบา โดยมีการถือหุ้นลงทุนต่างประเทศส่วนใหญ่และการนำเข้าและส่งออกส่วนใหญ่ในกำมือ ตลอดจนมีอิทธิพลแข็งแรงต่อกิจการการเมืองของคิวบา หลังการปฏิวัติคิวบาปี 2502 ความสัมพันธ์เสื่อมลงมากและมีลักษณะความตึงเครียดและการเผชิญหน้านับแต่นั้น สหรัฐอเมริกาไม่มีความสัมพันธ์ทางทูตอย่างเป็นทางการกับคิวบา และคงการห้ามสินค้าซึ่งทำให้บริษัทสหรัฐอเมริกาไม่สามารถทำธุรกิจกับคิวบาโดยชอบด้วยกฎหมาย การเป็นผู้แทนทางทูตของสหรัฐอเมริกาในคิวบาจัดการโดยส่วนผลประโยชน์สหรัฐอเมริกาในกรุงฮาวานา เช่นเดียวกับมีส่วนผลประโยชน์คิวบาในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งต่างเป็นส่วนหนึ่งอย่างเป็นทางการของสถานทูตสวิสเซอร์แลนด์ของสองประเทศ สหรัฐอเมริกากำหนดการห้ามสินค้าเพราะการโอนทรัพย์สินของบริษัทสหรัฐเป็นของรัฐระหว่างการปฏิวัติ และแถลงว่า จะยังคงไว้นานตราบที่รัฐบาลคิวบายังปฏิเสธมุ่งหน้าทำให้เป็นประชาธิปไตยและเคารพสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ด้วยหวังเห็นการทำให้เป็นประชาธิปไตยและการนำทุนนิยมกลับมาใช้ประเภทซึ่งเกิดในยุโรปตะวันออกหลังการปฏิวัติ ค.ศ. 1989 ขณะเดียวกัน หลายองค์การ รวมทั้งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเกือบเป็นเอกฉันท์ เรียกร้องให้ "ยุติการห้ามสินค้าเศรษฐกิจ พาณิชย์และการเงินนานหลายทศวรรษต่อคิวบาของสหรัฐ" วันที่ 17 ธันวาคม 2557 ประธานาธิบดีสหรัฐ บารัค โอบามา และประธานาธิบดีคิวบา ราอุล กัสโตร ประกาศการเริ่มกระบวนการปรับให้ความสัมพันธ์ระหว่างคิวบาและสหรัฐอเมริกาเป็นปกติ โดยมีการเจรจาลับในประเทศแคนาดาและนครรัฐวาติกัน เป็นเวลาหลายเดือนก่อนหน้า และด้วยความช่วยเหลือของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ความตกลงจะมีการยกเลิกการจำกัดการท่องเที่ยวของสหรัฐบางอย่าง การจำกัดเงินที่ส่งไปให้ลดลง และการตั้งสถานทูตสหรัฐในกรุงฮาวานา (ซึ่งถูกปิดตั้งแต่คิวบาไปฝักใฝ่สหภาพโซเวียตในปี 2504).

17 ความสัมพันธ์: บารัก โอบามาการผ่อนคลายความตึงเครียดสหรัฐ–คิวบาการปฏิวัติ ค.ศ. 1989การปฏิวัติคิวบายุโรปตะวันออกราอุล กัสโตรวอชิงตัน ดี.ซี.สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสสหรัฐสิทธิมนุษยชนฮาวานาจักรวรรดิสเปนทุนนิยมประเทศคิวบานครรัฐวาติกันแคริบเบียน

บารัก โอบามา

รัก ฮูเซน โอบามา ที่ 2 (Barack Hussein Obama II; เกิด 4 สิงหาคม ค.ศ. 1961) เป็นนักการเมืองชาวอเมริกัน ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 44 ตั้งแต..

ใหม่!!: ความสัมพันธ์คิวบา–สหรัฐอเมริกาและบารัก โอบามา · ดูเพิ่มเติม »

การผ่อนคลายความตึงเครียดสหรัฐ–คิวบา

การผ่อนคลายความตึงเครียดคิวบา (date; access-date) เป็นการฟื้นความสัมพันธ์คิวบา–สหรัฐอเมริกาซึ่งเริ่มในเดือนธันวาคม 2557 ยุติความเป็นปรปักษ์ระหว่างสองประเทศที่กินเวลา 54 ปี ในเดือนมีนาคม 2559 บารัก โอบามาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนแรกที่เยือนคิวบานับแต่ปี 2471 วันที่ 17 ธันวาคม 2557 ประธานาธิบดีสหรัฐ บารัก โอบามา และประธานาธิบดีคิวบา ราอูล กัสโตร ประกาศการเริ่มกระบวนการปรับความสัมพันธ์ระหว่างคิวบาและสหรัฐให้เป็นปกติ ความตกลงการปรับให้เป็นปกติมีการเจรจาทางลับหลายเดือนก่อนหน้านั้น ซึ่งอำนวยความสะดวกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส และส่วนใหญ่มีรัฐบาลแคนาดาเป็นเจ้าภาพ มีการจัดการประชุมทั้งในประเทศแคนาดาและนครวาติกัน ความตกลงนี้จะยกเลิกการจำกัดการท่องเที่ยวของสหรัฐบางส่วน มีการจำกัดเงินที่ส่งไปให้น้อยลง การเข้าถึงระบบการเงินคิวบาของธนาคารสหรัฐ และการเปิดสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐในกรุงฮาวานาและสถานเอกอัครราชทูตคิวบาในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ใหม่ ซึ่งทั้งสองถูกปิดในปี 2504 หลังการยุติความสัมพันธ์ทางทูตอันเป็นผลจากคิวบาเป็นพันธมิตรใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียต วันที่ 14 เมษายน 2558 รัฐบาลโอบามาประกาศว่า ประเทศคิวบาจะถูกถอดจากรายการรัฐผู้สนับสนุนการก่อการร้ายของสหรัฐ และมีผลอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 พฤษภาคม 2558 เป็นสัญลักษณ์ว่าสหรัฐออกจากความขัดแย้งสงครามเย็นและความตึงเครียดต่อความสัมพันธ์คิวบา–สหรัฐ วันที่ 20 กรกฎาคม 2558 "ส่วนผลประโยชน์" ของคิวบาและสหรัฐในกรุงวอชิงตันและฮาวานาตามลำดับมีการยกระดับเป็นสถานเอกอัครราชทูต.

ใหม่!!: ความสัมพันธ์คิวบา–สหรัฐอเมริกาและการผ่อนคลายความตึงเครียดสหรัฐ–คิวบา · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติ ค.ศ. 1989

การปฏิวัต..

ใหม่!!: ความสัมพันธ์คิวบา–สหรัฐอเมริกาและการปฏิวัติ ค.ศ. 1989 · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติคิวบา

การปฏิวัติคิวบา (Revolución cubana) เป็นการปฏิวัติด้วยอาวุธโดยขบวนการ 26 กรกฎาคมของฟีเดล กัสโตรต่อรัฐบาลผู้เผด็จการคิวบา ฟุลเคนเซียว บาติสตา ระหว่าง..

ใหม่!!: ความสัมพันธ์คิวบา–สหรัฐอเมริกาและการปฏิวัติคิวบา · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปตะวันออก

แผนที่ยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันออก (Eastern Europe) มีพื้นที่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 40 - 53 องศาเหนือ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวสลาฟ สภาพความเป็นอยู่เป็นแบบชนบท ประกอบไปด้วยประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต, อดีตเช็กโกสโลวาเกีย (ปัจจุบันคือเช็กเกียและสโลวาเกีย), โปแลนด์, ฮังการี, โรมาเนีย, บัลแกเรีย และอดีตยูโกสลาเวีย ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันออกในอดีต ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาเป็นประชาธิปไตยบ้างแล้ว ศาสนาที่นับถือส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้คือศาสนาคริสต์ ภาษาที่ใช้เป็นภาษากลุ่มโรแมนซ์และกลุ่มสลาวอนิก.

ใหม่!!: ความสัมพันธ์คิวบา–สหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ราอุล กัสโตร

ราอุล โมเดสโต กัสโตร รุซ (Raúl Modesto Castro Ruz; เกิด 3 มิถุนายน พ.ศ. 2474) อดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐคิวบา หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม ราอุล กัสโตร เป็นนักการเมืองลัทธิมากซ์-เลนินและนักปฏิวัติชาวคิวบา ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานสภาแห่งรัฐคิวบา และประธานสภารัฐมนตรีคิวบาตั้งแต..

ใหม่!!: ความสัมพันธ์คิวบา–สหรัฐอเมริกาและราอุล กัสโตร · ดูเพิ่มเติม »

วอชิงตัน ดี.ซี.

กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (Washington, D.C) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตปกครองพิเศษโคลอมเบีย (District of Columbia) มักเรียกทั่วไปว่า กรุงวอชิงตัน (Washington) หรือ ดี.ซี (D.C.) เป็นเมืองหลวงของสหรัฐ ก่อตั้งขึ้นเมื่อภายหลังจากการปฏิวัติอเมริกา โดยชื่อ วอชิงตัน มาจากชื่อของจอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีสหรัฐคนแรก และบิดาผู้ก่อตั้งประเทศคนหนึ่ง วอชิงตันเป็นนครหลักนครหนึ่งของเขตมหานครวอชิงตัน (Washington Metropolitan Area) โดยมีประชากรที่อาศัยอยู่ในวอชิงตันจำนวนประมาณ 6,131,977 คน โดยวอชิงตันได้รับฉายาว่าเป็นเมืองหลวงทางการเมืองของโลก เนื่องจากเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลางสหรัฐและสถาบันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศจำนวนมากเช่น ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น กรุงวอชิงตันเป็นนครที่นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมมากที่สุดนครหนึ่งในโลก โดยในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมวอชิงตัน ปีละประมาณ 20 ล้านคน การลงนามรัฐบัญญัติที่ตั้งในสหรัฐ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ความสัมพันธ์คิวบา–สหรัฐอเมริกาและวอชิงตัน ดี.ซี. · ดูเพิ่มเติม »

สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ

มัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) เป็นองค์กรที่มีอำนาจมากที่สุดและเป็นหนึ่งในเสาหลักของสหประชาชาติ เป็นเพียงองค์กรเดียวของสหประชาชาติที่ตัวแทนของแต่ละประเทศสมาชิกมีสิทธิและฐานะเท่าเทียมกัน สมัชชาใหญ่มีหน้าที่ตรวจสอบงบประมาณและการใช้จ่ายในโครงการของสหประชาชาติ แต่งตั้งสมาชิกไม่ถาวรในคณะมนตรีความมั่นคง รับรายงานจากทั่วทุกมุมโลกเพื่ออภิปรายและให้ความเห็น ตลอดจนจัดตั้งองค์กรลูกต่างๆมากมายของสหประชาชาติ การประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งแรกมีขึ้นในวันที่ 10 มกราคม..

ใหม่!!: ความสัมพันธ์คิวบา–สหรัฐอเมริกาและสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส

มเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส (Francis; Franciscus) เป็นพระสันตะปาปาองค์ที่ 266 มีพระนามเดิมว่า คอร์เค มาเรียว เบร์โกเกลียว (Jorge Mario Bergoglio) พระราชสมภพเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2479.

ใหม่!!: ความสัมพันธ์คิวบา–สหรัฐอเมริกาและสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ความสัมพันธ์คิวบา–สหรัฐอเมริกาและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิมนุษยชน

ทธิมนุษยชน (human rights) เป็นหลักทางศีลธรรมหรือจารีตJames Nickel, with assistance from Thomas Pogge, M.B.E. Smith, and Leif Wenar, December 13, 2013, Stanford Encyclopedia of Philosophy,, Retrieved August 14, 2014ซึ่งอธิบายมาตรฐานตายตัวของพฤติกรรมมนุษย์ และได้รับการคุ้มครองสม่ำเสมอเป็นสิทธิทางกฎหมายในกฎหมายท้องถิ่นและกฎหมายระหว่างประเทศ ปกติเข้าใจว่าเป็นสิทธิพื้นฐานที่ไม่โอนให้กันได้ "ซึ่งบุคคลมีสิทธิในตัวเพียงเพราะผู้นั้นเป็นมนุษย์" และซึ่ง "มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน"Burns H. Weston, March 20, 2014, Encyclopedia Britannica,, Retrieved August 14, 2014 โดยไม่คำนึงถึงชาติ สถานที่ ภาษา ศาสนา ชาติพันธุ์กำเนิดหรือสถานภาพอื่นใด สิทธิมนุษยชนใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาในแง่ที่เป็นสากล และสมภาคในแง่ที่เหมือนกับสำหรับทุกคนThe United Nations, Office of the High Commissioner of Human Rights,, Retrieved August 14, 2014 สิทธิดังกล่าวต้องการความร่วมรู้สึกและหลักนิติธรรมGary J. Bass (book reviewer), Samuel Moyn (author of book being reviewed), October 20, 2010, The New Republic,, Retrieved August 14, 2014 และกำหนดพันธะต่อบุคคลให้เคารพสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น สิทธิดังกล่าวไม่ควรถูกพรากไปยกเว้นอันเป็นผลของกระบวนการทางกฎหมายที่ยึดพฤติการณ์แวดล้อมจำเพาะ ตัวอย่างเช่น สิทธิมนุษยชนอาจรวมเสรีภาพจากการจำคุกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย การทรมานและการประหารชีวิตMerriam-Webster dictionary,, Retrieved August 14, 2014, "rights (as freedom from unlawful imprisonment, torture, and execution) regarded as belonging fundamentally to all persons" ลัทธิสิทธิมนุษยชนมีอิทธิพลสูงในกฎหมายระหว่างประเทศ สถาบันโลกและภูมิภาค การกระทำของรัฐและองค์การนอกภาครัฐก่อพื้นฐานของนโยบายสาธารณะทั่วโลก แนวคิดสิทธิมนุษยชนเสนอว่า "หากวจนิพนธ์สาธารณะสังคมโลกยามสงบสามารถกล่าวเป็นภาษาศีลธรรมร่วมได้ สิ่งนั้นคือสิทธิมนุษยชน" การอ้างอย่างหนักแน่นโดยลัทธิสิทธิมนุษยชนยังกระตุ้นกังขาคติและการอภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหา สภาพและการให้เหตุผลว่าชอบด้วยกฎหมายซึ่งสิทธิมนุษยชนตราบจนทุกวันนี้ ความหมายแน่ชัดของคำว่า "สิทธิ" นั้นมีการโต้เถียงและเป็นหัวข้อการอภิปรายทางปรัชญาต่อไป ขณะที่มีการเห็นพ้องต้องกันว่าสิทธิมนุษยชนครอบคลุมสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีด้วยความเป็นธรรม การคุ้มครองจากการเป็นทาส การห้ามพันธุฆาต เสรีภาพในการพูดMacmillan Dictionary,, Retrieved August 14, 2014, "the rights that everyone should have in a society, including the right to express opinions about the government or to have protection from harm"หรือเสรีภาพที่จะได้รับการศึกษา แต่ยังเห็นไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับว่าสิทธิใดบ้างต่อไปนี้ควรรวมอยู่ในกรอบทั่วไปของสิทธิมนุษยชน นักคิดบางคนเสนอว่าสิทธิมนุษยชนควรเป็นข้อกำหนดพื้นฐานเพื่อเลี่ยงการละเมิดที่ร้ายแรงที่สุด ขณะที่บางคนมองว่าเป็นมาตรฐานขั้นสูง ความคิดพื้นฐานดังกล่าวจำนวนมากซึ่งขับเคลื่อนขบวนการสิทธิมนุษยชนพัฒนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองและความเหี้ยมโหดของฮอโลคอสต์ จนลงเอยด้วยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีมติเห็นชอบปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในกรุงปารีสในปี 2491 คนโบราณไม่มีแนวคิดสิทธิมนุษยชนสากลสมัยใหม่แบบเดียวกัน การบุกเบิกวจนิพนธ์สิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริงนั้นคือมโนทัศน์สิทธิธรรมชาติซึ่งปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีกฎหมายธรรมชาติยุคกลางซึ่งโดดเด่นขึ้นระหว่างยุคภูมิธรรมยุโรปโดยมีนักปรัชญาอย่างจอห์น ล็อก, ฟรานซิส ฮัตชิสัน (Francis Hutcheson) และฌ็อง-ฌัก บือลามาคี (Jean-Jacques Burlamaqui) และซึ่งมีการเสนออย่างโดดเด่นในวจนิพันธ์การเมืองของการปฏิวัติอเมริกาและการปฏิวัติฝรั่งเศส จากรากฐานนี้ การให้เหตุผลสิทธิมนุษยชนสมัยใหม่กำเนิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 อาจเป็นปฏิกิริยาต่อความเป็นทาส การทรมาน พันธุฆาตและอาชญากรรมสงคราม โดยความตระหนักถึงความเปราะบางของมนุษย์ในตัวและเป็นเงื่อนไขก่อนความเป็นไปได้ของสังคมยุติธรรม.

ใหม่!!: ความสัมพันธ์คิวบา–สหรัฐอเมริกาและสิทธิมนุษยชน · ดูเพิ่มเติม »

ฮาวานา

วานา (Havana) หรือ ลาอาบานา (La Habana) เป็นเมืองหลวง จังหวัด เมืองท่าที่สำคัญ และเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศคิวบา นครนี้มีประชากร 2.1 ล้านคน และมีพื้นที่รวม 728.26 ตารางกิโลเมตร ทำให้เป็นนครใหญ่สุดและมีประชากรมากที่สุดในภูมิภาคแคริบเบียน นครนี้ตั้งอยู่ทางตะวันตกและทางใต้จากอ่าวส่วนใหญ่ ซึ่งเข้าถึงได้ผ่านปากน้ำแคบ ๆ และซึ่งแบ่งแยกเป็นสามท่าเรือหลัก ได้แก่ มารีเมเลนา กวานาบาโกอา และอาตาเรส แม่น้ำอัลเมนดาเรสตัดผ่านนครจากใต้ขึ้นเหนือ เข้าสู่ช่องแคบฟลอริดาที่อยู่ห่างจากอ่าวไปทางตะวันตกไม่กี่ไมล์ ฮาวานาก่อตั้งขึ้นโดยชาวสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และเนื่องด้วยที่ตั้งทางยุทธศาสตร์จึงใช้เป็นจุดเริ่มต้นของการพิชิตดินแดนภาคพื้นทวีปของสเปน โดยกลยเป็นจุดหยุดพักของเรือขนสมบัติระหว่างโลกเก่ากับโลกใหม่ พระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปนพระราชทานสถานะนครแก่ฮาวานาใน..

ใหม่!!: ความสัมพันธ์คิวบา–สหรัฐอเมริกาและฮาวานา · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิสเปน

ักรวรรดิสเปน (Imperio Español, Spanish Empire) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก และเป็นหนึ่งในจักรวรรดิโลก (global empire) จักรวรรดิแรก ที่มีดินแดนและอาณานิคมในยุโรป, อเมริกา, เอเชีย และ โอเชียเนีย มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ส่วนอาณานิคมในแอฟริกาเป็นดินแดนที่ได้มาในตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 20 สเปนก่อตัวขึ้นเป็นสหอาณาจักรในปี..

ใหม่!!: ความสัมพันธ์คิวบา–สหรัฐอเมริกาและจักรวรรดิสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ทุนนิยม

"พีระมิดระบบทุนนิยม" ถูกตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ในปี..

ใหม่!!: ความสัมพันธ์คิวบา–สหรัฐอเมริกาและทุนนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศคิวบา

วบา (อังกฤษและCuba) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐคิวบา (Republic of Cuba; República de Cuba) ประกอบด้วยเกาะคิวบา (เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะแอนทิลลิสใหญ่) เกาะคูเบนตุด (Isla de la Juventud) และเกาะเล็ก ๆ ใกล้เคียง ตั้งอยู่ในภูมิภาคแคริบเบียนเหนือ ที่จุดบรรจบของทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และมหาสมุทรแอตแลนติก คิวบาตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสหรัฐอเมริกาภาคตะวันออก และหมู่เกาะบาฮามาส ทางทิศตะวันตกของหมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอสและประเทศเฮติ ทางทิศตะวันออกของเม็กซิโก และทางทิศเหนือของหมู่เกาะเคย์แมนและเกาะจาเมกา สาธารณรัฐคิวบาเป็นเพียงประเทศเดียวในบริเวณภูมิภาคนี้ที่ยังคงมีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์อยู.

ใหม่!!: ความสัมพันธ์คิวบา–สหรัฐอเมริกาและประเทศคิวบา · ดูเพิ่มเติม »

นครรัฐวาติกัน

นครรัฐวาติกัน (State of the Vatican City; Stato della Città del Vaticano) เป็นนครรัฐที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลซึ่งน้อยที่สุดในโลกทั้งในแง่พื้นที่และประชากร ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นที่ประทับของพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นประมุขสูงสุดแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก ศูนย์กลางคือมหาวิหารนักบุญเปโตร ซึ่งออกแบบโดยมีเกลันเจโล การปกครองเป็นแบบอำนาจเบ็ดเสร็จ อำนาจตกอยู่ที่พระสันตะปาปาเพียงผู้เดียว จะหมดวาระก็ต่อเมื่อสิ้นพระชนม์ ปัจจุบัน สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556.

ใหม่!!: ความสัมพันธ์คิวบา–สหรัฐอเมริกาและนครรัฐวาติกัน · ดูเพิ่มเติม »

แคริบเบียน

แคริเบียน (The Caribbean) เป็นกลุ่มประเทศและหมู่เกาะต่างในเขตทะเลแคริเบียนซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเม็กซิโก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเวเนซูเอลา มีรัฐอยู่ราวๆ 25 รัฐซึ่งรวมรัฐอิสระและรัฐภายใต้ความคุ้มครอง (dependencies).

ใหม่!!: ความสัมพันธ์คิวบา–สหรัฐอเมริกาและแคริบเบียน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »