โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความจริง

ดัชนี ความจริง

วามจริง ถูกใช้อย่างสอดคล้องบ่อยครั้งกับข้อเท็จจริงและความเป็นจริงMerriam-Webster's Online Dictionary,, 2005 หรือความเที่ยงตรง ของต้นแบบ, มาตรฐาน หรือความคิด หลักปรัชญาตรงข้ามของความจริงคือความผิด ซึ่งสามารถใช้ในทางความหมายเชิงตรรกะ, รูปธรรม หรือจริยธรรมได้อย่างพ้องกัน แนวคิดของความจริงคืออภิปรายและถกเถียงในอรรถาธิบายหลากหลายประเด็น รวมถึงในเรื่องปรัชญาและศาสนา โดยกิจกรรมหลายอย่างของมนุษย์ใช้ความจริง เช่น วิทยาศาสตร์, นิติศาสตร์ และชีวิตประจำวัน หลากหลายทฤษฎีและมุมมองของความจริงยังคงถูกถกเถียงในหมู่นักปรัชญาและนักวิชาการ ภาษาและคำพูดคือสิ่งที่มนุษย์ใช้สื่อสารระหว่างกันและกัน และแนวคิดดังกล่าวเคยมองความจริงว่าเป็นเกณฑ์ของความจริง (criterion of truth) นอกจากนี้ยังมีคำถามมากมาย เช่น สิ่งใดถือเป็นความจริง, ใช้อะไรเป็นเกณฑ์ว่าสิ่งใดจริงสิ่งใดไม่จริง และความจริงเป็นอัตวิสัยหรือรูปธรรม เป็นความสัมพันธ์หรือความสัมบูรณ์ หลายศาสนาพิจารณาการรอบรู้ความจริงทั้งหมดของสิ่งทั้งมวล (สัพพัญญู) ว่าเป็นลักษณะของเทวดาหรือความเหนือธรรมชาต.

6 ความสัมพันธ์: วิทยาศาสตร์ศาสนาอัตวิสัยความเป็นจริงปรัชญานิติศาสตร์

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

ใหม่!!: ความจริงและวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนา

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.

ใหม่!!: ความจริงและศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

อัตวิสัย

อัตวิสัย หรือ จิตวิสัย (subjectivity) หมายถึงมุมมองหรือความคิดเห็นของบุคคล โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก ความเชื่อ หรือความต้องการ อาจหมายถึงแนวความคิดส่วนบุคคลที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ซึ่งตรงข้ามกับความรู้และความเชื่อที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง ในทางปรัชญา คำนี้มักมีความหมายตรงข้ามกับ ปรวิสัย อัตวิสัยเป็นทัศนะที่มีความเชื่อว่า การมีอยู่ หรือ ความจริงของสิ่งสิ่งหนึ่งอยู่กับตัวเราเองเป็นคนตัดสิน เช่น คุณได้กลิ่นน้ำหอมยี่ห้อนี้แล้วหอม แต่ในคนอื่นเมื่อได้กลิ่นแล้วเหม็นก็ได้.

ใหม่!!: ความจริงและอัตวิสัย · ดูเพิ่มเติม »

ความเป็นจริง

วามเป็นจริง เป็นสภาพของสิ่งตามที่มีอยู่จริง หาใช่สภาพของสิ่งที่อาจปรากฏหรืออาจจินตนาการขึ้น ในคำนิยามอย่างกว้าง ความเป็นจริงรวมไปถึงทุกสิ่งที่มีอยู่ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะสังเกตได้หรือเข้าใจได้หรือไม่ก็ตาม นิยามกว้างกว่านั้นรวมถึงทุกสิ่งที่เคยมีอยู่ในอดีต มีอยู่ในปัจจุบัน หรือจะมีอยู่ในอนาคต นักปรัชญา นักคณิตศาสตร์ และนักคิดอื่นทั้งสมัยโบราณและสมัยใหม่ เช่น อริสโตเติล เพลโต เฟรเกอ วิทท์เกนชไตน์ และรัสเซลล์ ต่างแยกความแตกต่างระหว่างความคิดที่สัมพันธ์กับความเป็นจริง ภาวะนามธรรมสัมพันธ์ และความคิดที่ไม่สามารถเป็นความคิดที่สมเหตุผล ในทางตรงข้าม การดำรงอยู่นั้นมักจำกัดอยู่เฉพาะการดำรงอยู่ทางกายภาพหรือมีพื้นฐานโดยตรงในสิ่งนั้นอย่างเดียวกับความคิดในสมอง.

ใหม่!!: ความจริงและความเป็นจริง · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: ความจริงและปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

นิติศาสตร์

นิติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม.

ใหม่!!: ความจริงและนิติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »