โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความคลั่งทิวลิป

ดัชนี ความคลั่งทิวลิป

ฟลริน ขึ้นอยู่กับขนาด ขณะที่ค่าแรงงานของช่างฝีมือในขณะนั้นตกประมาณ 300 โฟลรินต่อปีNusteling, H. (1985) Welvaart en Werkgelegenheid in Amsterdam 1540-1860, p. 114, 252, 254, 258. คลั่งทิวลิป (Tulip mania, Tulipomania; Tulpenmanie, Tulpomanie, Tulpenwoede, Tulpengekte, Bollengekte) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างยุคทองของเนเธอร์แลนด์ เมื่อเกิดการตั้งราคาสัญญาการค้าขายหัวทิวลิปสายพันธุ์ใหม่กันอย่างสูงผิดปกติจนถึงจุดสูงสุดก่อนที่ราคาจะตกฮวบลงมาอย่างฉับพลัน"Tulipomania: The Story of the World's Most Coveted Flower & the Extraordinary Passions It Aroused." Mike Dash (2001).

41 ความสัมพันธ์: บริษัทมิสซิสซิปปีบริษัทเซาธ์ซีชาลส์ มักไคฟลอรา (เทพปกรณัม)กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำการขายของมือเปล่าการโฆษณาชวนเชื่อกาโรลึส กลือซียึสกิลเดอร์ดัตช์ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ดอตคอมมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสมูลค่าแท้จริงยุคทองของเนเธอร์แลนด์ยูโรระบบการซื้อขายล่วงหน้าราคาซื้อขายทันทีลิลีวันจันทร์ทมิฬวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์สมมติฐานประสิทธิภาพของตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสัญลักษณ์แสดงฐานะสาธารณรัฐดัตช์สุลัยมานผู้เกรียงไกรสงครามสามสิบปีออฌีเย กีซแล็ง เดอ บุสแบ็กอเล็กซานเดอร์มหาราชจักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิออตโตมันทวีปยุโรปทิวลิปดอลลาร์สหรัฐตราสารสิทธิตลาดหลักทรัพย์ประเทศตุรกีประเทศเนเธอร์แลนด์โยฮันน์ เบ็คมันน์โจรกรรมทางวรรณกรรมไวรัสทิวลิปแตกสีไฮอะซินท์

บริษัทมิสซิสซิปปี

ริษัทมิสซิสซิปปี (Mississippi Company) บริษัทมิสซิสซิปปีเป็นบริษัทที่ตั้งโดยใบอนุญาตที่ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและบริษัทมิสซิสซิปปี · ดูเพิ่มเติม »

บริษัทเซาธ์ซี

“เหตุการณ์ฟองสบู่แตกเซาธ์ซี” โดยเอ็ดเวิร์ด แม็ทธิว วอร์ด, หอศิลป์เทท บริษัทเซาธ์ซี (South Sea Company) เป็นบริษัทร่วมหุ้น (joint stock company) ของราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ที่ทำการค้าขายในทวีปอเมริกาใต้ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 บริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและบริษัทเซาธ์ซี · ดูเพิ่มเติม »

ชาลส์ มักไค

ลส์ มักไค (Charles Mackay; 27 มีนาคม ค.ศ. 1814 - 24 ธันวาคม ค.ศ. 1889) เป็นนักเขียน กวี ผู้สื่อข่าว และนักแต่งเพลงชาวสกอต ที่เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1814 ที่เมืองเพิร์ท ผลงานสำคัญของชาลส์ มักไคคือหนังสือสารคดี Extraordinary Popular Delusions and the Madness of Crowds (มีความหมายว่า ความเพ้อฝันอันวิปริตและความบ้าคลั่งของมหาชน) ที่เขียนในปี..

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและชาลส์ มักไค · ดูเพิ่มเติม »

ฟลอรา (เทพปกรณัม)

ตามตำนานเทพปกรณัมโรมัน เทพีฟลอรา (Flora) เป็นเทพีแห่งดอกไม้และฤดูใบไม้ผลิ แม้จะเป็นเพียงเทพชั้นรองในตำนานเทพปกรณัมโรมัน แต่การที่นางเป็นหนึ่งในเหล่าเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ก็ส่งผลให้นางมีความสำคัญอย่างมากกับการมาเยือนของฤดูใบไม้ผลิ พระนามของนางในตำนานเทพปกรณัมกรีกคือเทพีชลอริส (Chloris) เทพีฟลอร่าสมรสกับเทพเฟวอนิอุซ (Favonius) เทพแห่งสายลม และสหายของนางคือวีรบุรุษเฮอร์คิวลิส (Hercules) หมวดหมู่:เทพเจ้าโรมัน xvvb.

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและฟลอรา (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ

一 ประเทศแผ่นดินต่ำต่างๆ กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ (Low Countries) หมายถึง ภูมิภาคหนึ่งที่อยู่ทางด้านบนของทวีปยุโรป ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของยุโรป สาเหตุที่เรียกว่าประเทศแผ่นดินต่ำนี้ เนื่องจากประเทศเหล่านี้อยู่ในพื่นที่ที่ลาดต่ำมาก คือ ต่ำกว่าน้ำทะเล ทำให้เกิดอุทกภัยได้ง่าย จึงทำให้ประเทศเหล่านี้มีการจัดการกับอุทกภัยที่ดีที่สุด ของโลกก็ว่าได้ พื้นที่ของประเทศที่อยู่ในภูมิภาคประเทศแผ่นดินต่ำ มีดังนี้ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก และ ฝรั่งเศส(ทางตอนเหนือ).

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ · ดูเพิ่มเติม »

การขายของมือเปล่า

การขายของมือเปล่า (short selling หรือ short sale) คือ การขายสินทรัพย์ เช่นหลักทรัพย์ โดยที่ยังไม่มีสินทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง แต่ใช้วิธีการยืมจากบุคคลที่สาม ด้วยจุดประสงค์เพื่อซื้อสินทรัพย์นั้นในภายหลังและคืนให้กับผู้ให้ยืม ผู้ที่ทำธุรกรรมการขายของมือเปล่าจะได้กำไรหากราคาสินทรัพย์ลดลงหลังจากที่เขาขาย เพราะจะสามารถซื้อสินทรัพย์คืนในราคาที่ถูกกว่าเดิม ในทางกลับกัน ผู้ขายของมือเปล่าจะขาดทุนหากราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้น หมวดหมู่:การเงิน.

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและการขายของมือเปล่า · ดูเพิ่มเติม »

การโฆษณาชวนเชื่อ

การโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) เป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่มุ่งชักจูงทัศนคติของประชาคมต่ออุดมการณ์หรือมุมมองบางอย่างโดยการนำเสนอการให้เหตุผลเพียงข้างเดียว การโฆษณาชวนเชื่อมักทำซ้ำและกระจายในสื่อหลายชนิดเพื่อสร้างผลที่เลือกสรรแล้วในทัศนคติของผู้ชม ตรงข้ามกับการให้สารสนเทศอย่างยุติธรรม การโฆษณาชวนเชื่อ ในความหมายพื้นฐานที่สุด นำเสนอสารสนเทศเพื่อชักจูงผู้ชมเป็นหลัก การโฆษณาชวนเชื่อมักนำเสนอข้อเท็จจริงที่เลือกเฟ้นแล้วเพื่อกระตุ้นการสังเคราะห์อย่างเฉพาะเจาะจง หรือใช้ข้อความจำนวนมากเพื่อสร้างการตอบสนองทางอารมณ์ มิใช่เหตุผล ต่อสารสนเทศที่นำเสนอ ผลที่คาดหวัง คือ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อหัวข้อในผู้ชมเป้าหมายเพื่อส่งเสริมวาระทางการเมืองหรือศาสนาต่อไป การโฆษณาชวนเชื่อยังสามารถใช้เป็นการสงครามการเมืองรูปแบบหนึ่งได้ แม้คำว่า การโฆษณาชวนเชื่อ จะดูมีความหมายเป็นลบ (เช่น การโฆษณาชวนเชื่อของนาซีที่ใช้สร้างความชอบธรรมแก่ฮอโลคอสต์) แต่ยังใช้กับ การแนะนำด้านสาธารณสุข ป้ายกระตุ้นให้พลเมืองเข้าร่วมในการลงประชามติหรือการเลือกตั้ง หรือข้อความกระตุ้นให้บุคคลรายงานอาชญากรรมต่อตำรวจ ก็ได้ หมวดหมู่:โฆษณาชวนเชื่อ หมวดหมู่:มติมหาชน หมวดหมู่:การควบคุมจิตใจ.

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและการโฆษณาชวนเชื่อ · ดูเพิ่มเติม »

กาโรลึส กลือซียึส

กาโรลึส กลือซียึส (Carolus Clusius) หรือ ชาร์ล เดอ เลกลูซ (Charles de L'Écluse, Charles de L'Escluse; 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1526 - 4 เมษายน ค.ศ. 1609) เป็นนายแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเฟลมิชคนสำคัญ เกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1526 ที่เมืองอารัสในประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1609 ที่เมืองไลเดินในประเทศเนเธอร์แลนด์ปัจจุบัน อาจถือว่ากลือซียึสเป็นนักพฤกษศาสตร์ผู้เป็นผู้นำคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ของสาขาพืชกรรมสวน กลือซียึสได้รับการศึกษาด้านการแพทย์ที่มงเปอลีเยกับกีโยม รงเดอแล (Guillaume Rondelet) ศาสตราจารย์แพทย์ศาสตร์คนสำคัญ แต่ก็ไม่มีโอกาสได้ทำหน้าที่เป็นแพทย์ตามที่ได้ร่ำเรียนมา ในปี..

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและกาโรลึส กลือซียึส · ดูเพิ่มเติม »

กิลเดอร์ดัตช์

กิลเดอร์ดัตช์ (Dutch guilder) หรือ คึลเดิน (gulden) ใช้สัญลักษณ์ ƒ หรือ fl.

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและกิลเดอร์ดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่

วะเศรษฐกิจฟองสบู่ (economic bubble) คือภาวะที่ราคาของสินทรัพย์ เช่นอสังหาริมทรัพย์หรือหน่วยลงทุนต่าง ๆ เพิ่มขึ้นสูงเกินกว่าราคาตามความเป็นจริง จนเกิดอุปสงค์เทียมจากการเก็งกำไรที่ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นวงจร และขยายตัวเหมือนฟองสบู่ โดยส่วนใหญ่ภาวะฟองสบู่นี้จะจบลงเมื่อเกิดเหตุที่ทำให้นักลงทุนเลิกคาดหวังว่าราคาจะเพิ่มขึ้นอีก หรือรัฐบาลออกนโยบายเพื่อดึงราคาลงสู่ภาวะปกติ (เช่นการขึ้นอัตราดอกเบี้ย) จึงทำให้การเก็งกำไรและราคาที่สูงกว่าความเป็นจริงลดลง ราคาสินทรัพย์ในภาวะฟองสบู่ตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าราคาจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น เมื่อราคาเริ่มลดลงภาวะฟองสบู่ก็จะหดตัวลงอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดภาวะฟองสบู่แตก ซึ่งมักจะทำให้เกิดปัญหาหนี้เสียเกิดขึ้นตามม.

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ดอตคอม

วะเศรษฐกิจฟองสบู่ดอตคอม หรือ ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ไอที (Dot-com bubble หรือ I.T. bubble) คือภาวะการเก็งกำไรอันเกินควรของตลาดหลักทรัพย์ภาคเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นระหว่างปี..

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ดอตคอม · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส

ตึกคณะนิติศาสตร์ของยูซีแอลเอ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (ยูซีแอลเอ หรือ UCLA) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐที่ทำการวิจัยตั้งอยู่ในเขตเวสต์วูต ของมหานครลอสแอนเจลิส แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยนี้เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับสองในระบบมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ยูซีแอลเอเป็นส่วนหนึ่งของการให้การศึกษาเป็นระบบของรัฐบาลและถือเป็นมหาวิทยาลัยระบบไอวีลีคของรัฐบาล มหาวิทยาลัยเปิดสอนให้แก่นักเรียนในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาจำนวนกว่า 337 หลักสูตรในสาขาวิชาที่หลากหลายVazquez, Ricardo.

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส · ดูเพิ่มเติม »

มูลค่าแท้จริง

มูลค่าแท้จริง หรือ มูลค่าในตัว (Intrinsic value) ในด้านการเงิน “มูลค่าในตัว” หมายถึงค่าที่แท้จริง (ตรงกันข้ามกับค่าในจินตนาการ หรือค่าที่ตั้งขึ้นมา) ของสินค้าหรือหุ้น (Security) ซึ่งเป็นเป็นคุณค่าที่เกี่ยวกับหรืออยู่ในตัวสินค้าหรือหุ้นเอง หรือบางครั้งก็มักจะเรียกว่า “มูลค่าพื้นฐาน” (fundamental value) ที่คำนวณได้จากการรวมรายได้ที่เกิดจากสินค้าหรือหุ้นในอนาคตโดยหักมูลค่าปัจจุบัน (present value).

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและมูลค่าแท้จริง · ดูเพิ่มเติม »

ยุคทองของเนเธอร์แลนด์

รือดัตช์เดินทางกลับจากบราซิล (ค.ศ. 1640) โดย Hendrik Corneliszoon Vroom ยุคทองของเนเธอร์แลนด์ (Gouden Eeuw, Dutch Golden Age) คือสมัยประวัติศาสตร์ของดัตช์ที่เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่เป็นสมัยที่ดัตช์มีความเจริญทางการค้าขาย ทางวิทยาศาสตร์ และทางศิลปะถึงจุดสูงสุด และมีชื่อเสียงที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง.

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและยุคทองของเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ยูโร

ูโร (euro, €; รหัสธนาคาร EUR) เป็นสกุลเงินที่ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป 19 ประเทศ (ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558) ตกลงใช้ร่วมกัน เริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 (บางประเทศใช้ตามในภายหลัง) 1 ยูโรแบ่งออกเป็น 100 เซนต์ แต่ชื่อเรียกของเซนต์อาจแตกต่างกันในแต่ละประเท.

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและยูโร · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการซื้อขายล่วงหน้า

ระบบการซื้อขายล่วงหน้า หรือ ระบบการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ (Futures exchange หรือ derivatives exchange) คือระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ที่ผู้ที่เข้าร่วมทำการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (futures contracts) สัญญาการซื้อล่วงหน้าเป็นสัญญาในการซื้อสินค้าโภคภัณฑ์ (commodity) หรือ ตราสารทางการเงิน (financial instrument) ตามจำนวนและราคาที่ระบุ และที่ตั้งไว้ในเวลาที่ระบุในอนาคต.

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและระบบการซื้อขายล่วงหน้า · ดูเพิ่มเติม »

ราคาซื้อขายทันที

ราคาซื้อขายทันที (Spot price หรือ spot rate) ราคาซื้อขายทันทีของสินค้าการเกษตร (commodity), ตราสารทางการเงิน (Security) และ เงินตรา (currency) คือการตกลงตามราคาที่ระบุในทันทีที่มีการจ่ายและรับมอบ (Settlement) “การจ่ายและรับมอบทันที” (Spot settlement) มักจะเกิดขึ้นภายในวันทำงานวันสองวันจากวันที่ตกลงกัน ซึ่งตรงกันข้ามกับราคาล่วงหน้า (Forward price) ที่ระบุในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ข้อตกลงในสัญญาว่าด้วยราคาจะตั้งเมื่อมีการตกลง แต่การจ่ายและรับมอบจะเกิดขึ้นในอนาคต ในด้าน ตราสารทางการเงิน มักจะใช้คำพ้อง “ราคาเงินสด” กันมากกว่า หมวดหมู่:การเงิน.

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและราคาซื้อขายทันที · ดูเพิ่มเติม »

ลิลี

ลิลี (lily; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lilium) เป็นไม้ดอกประเภทหัว (bulbhttps://en.wikipedia.org/wiki/Bulb) ที่มีการชื้อขายกันมากเป็นอันดับห้า รองจากกุหลาบ เบญจมาศ ทิวลิป และคาร์เนชัน ส่วนใหญ่จะปลูกบนที่สูง ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และจังหวัดเลย เนื่องจากมันเป็นพืชที่เจริญเติบโตในสภาพอากาศที่หนาวเย็น มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน และบริเวณตอนเหนือของญี่ปุ่น มีฉายาว่า "ดอกไม้ของเจ้าหญิงhttp://natres.psu.ac.th/Department/PlantScience/510-111web/510-482web/510-482web-1-10-46/Lily.htm" ดอกลิลี่เป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ สดใส ไร้เดียงสา จึงมักนำมาใช้ประดับในงานสังสรรค์รื่นเริง เป็นตัวกลางในการสื่อความหมาย โดยจะมีความหมายจำเพาะตามสีของดอก.

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและลิลี · ดูเพิ่มเติม »

วันจันทร์ทมิฬ

ัชนีหุ้นดาวน์โจนส์ตั้งแต่ 19 ก.ค. 2530 - 19 ม.ค. 2531 ในทางการเงิน วันจันทร์ทมิฬ (Black Monday) หมายถึง วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม..

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและวันจันทร์ทมิฬ · ดูเพิ่มเติม »

วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์

วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ (subprime mortgage crisis) หรือ วิกฤติซับไพรม์ และยังรู้จักกันในชื่อ วิกฤติสินเชื่อด้อยคุณภาพ (ในประเทศไทยอาจเรียกว่า วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์) เป็นปัญหาเศรษฐกิจที่ปรากฏให้เห็นชัดในช่วงปี..

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ · ดูเพิ่มเติม »

สมมติฐานประสิทธิภาพของตลาด

ในทางการเงิน สมมติฐานประสิทธิภาพของตลาด (Efficient market hypothesis) อ้างว่าตลาดการเงินเป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายความว่า ราคาหลักทรัพย์ที่ขายในตลาดนั้นได้สะท้อนถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว นอกจากนี้ยังอาจกล่าวได้ว่าราคาของสินทรัพย์นั้นๆได้สะท้อนถึงความเชื่อของนักลงทุนเกี่ยวกับความคาดหวังในอนาคตด้วย สมมติฐานประสิทธิภาพของตลาดยังมีความหมายครอบคลุมไปถึงความเชื่อที่ว่า ไม่มีทางที่นักลุงทุนจะสามารถเอาชนะตลาดได้อย่างต่อเนื่องโดยใช้ข้อมูลที่เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วในตลาด หากแต่จะเป็นความโชคดีของนักลงทุนเอง หรือ การที่นักลงทุนได้ข้อมูลจากภายในบริษัทนั้นๆเท่านั้น กล่าวคือ.

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและสมมติฐานประสิทธิภาพของตลาด · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า

ัญญาซื้อขายล่วงหน้า (futures contract บางตำราอาจเรียกว่า ตราสารซื้อขายล่วงหน้า หรือ ตราสารล่วงหน้า) ในทางการเงินหมายถึงสัญญามาตรฐานที่ใช้ในการซื้อหรือขายสินค้าโภคภัณฑ์ (commodity) หรือ ตราสารทางการเงิน (financial instrument) ตามปริมาณมาตรฐานที่ระบุ ในเวลาที่ระบุไว้ในอนาคต และตามราคาตลาดที่ระบุในอนาคต (“ราคาล่วงหน้า”) การซื้อขาย “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” ทำกันในตลาดซื้อขายล่วงหน้า (futures exchange) “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” มิใช่ ตราสารโดยตรงเช่นหุ้น พันธบัตร ใบสำคัญแสดงสิทธิ หรือ ใบค้ำประกัน ตามที่ระบุในรัฐบัญญัติหลักทรัพย์มาตรฐาน (Uniform Securities Act) ของสหรัฐอเมริกา แต่ก็เป็นตราสารประเภทหนึ่งของประเภทที่เรียกว่าสัญญาอนุพันธ์ (derivative contract).

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและสัญญาซื้อขายล่วงหน้า · ดูเพิ่มเติม »

สัญลักษณ์แสดงฐานะ

ัญลักษณ์แสดงฐานะ (Status symbol) คือองค์ประกอบที่เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงสถานะทางสังคม (social status) ของบุคคลในทางเศรษฐกิจ สินค้าฟุ่มเฟือยหลายอย่างมักจะถือว่าเป็นสัญลักษณ์แสดงฐานะ นอกจากนั้นคำว่า “สัญลักษณ์แสดงฐานะ” ก็ยังเป็นคำที่ใช้ใน สังคมวิทยา – ในการเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างสังคมและปฏิกิริยาของสัญลักษณ์ทางสังคมวิทยา – ที่เกี่ยวกับการมีปฏิกิริยาของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มคนที่มีต่อการแปลความหมายของสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมต่าง.

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและสัญลักษณ์แสดงฐานะ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐดัตช์

รณรัฐดัตช์ (อังกฤษ: ชื่อเต็ม Republiek der Zeven Verenigde Nederlanden หรือ De Nederlandse Republiek และ De Verenigde Provincien) เป็นการรวมหนึ่งในส่วนรัฐทั้ง 7 ของเนเธอร์แลนด์ของสเปน โดยเป็นกบฏโปรแตสแตนท์ในกลุ่มขุนนาง ผู้ปกครองคนแรกคือ วิลเลียมที่ 1 แห่งออเรนจ์ และทำให้เกิดสงคราม 80 ปีจนสงบศึกในปี ค.ศ. 1648.

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและสาธารณรัฐดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

สุลัยมานผู้เกรียงไกร

ลต่านสุลัยมานที่ 1 (ตุรกีออตโตมัน: سلطان سليمان اول‎) พระองค์เป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกว่า สุลัยมานผู้เกรียงไกร และเป็นที่รู้จักในโลกตะวันออกว่า สุลัยมานผู้ตรากฎหมาย ทรงเป็นประมุขของจักรวรรดิออตโตมันสมัยราชวงศ์ออสมันระหว่างปี ค.ศ. 1520 จนเสด็จสวรรคตเมื่อต้นเดือนกันยายนปี ค.ศ. 1566 เป็นสุลต่านพระองค์ที่ 10 และเป็นสุลต่านที่ทรงราชย์นานที่สุดของจักรวรรดิออตโตมัน เป็นเวลานานถึง 46 ปี สุลต่านสุลัยมานเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1494 ที่ทราบซอนในประเทศตุรกี เป็นพระราชโอรสในสุลต่านเซลิมที่ 1 และฮาฟซา ฮาทุน (Hafsa Hatun) ทรงเสกสมรสตามกฎหมายกับร็อกเซลานา หรือเฮอร์เรมสุลต่าน พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อราววันที่ 5/6 กันยายน ค.ศ. 1566 ที่ Szigetvár ในประเทศฮังการีปัจจุบัน หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต พระราชโอรสของพระองค์กับเฮอร์เรมสุลต่านก็ขึ้นครองราชย์เป็นสุลต่านเซลิมที่ 2 สุลต่านสุลัยมานเป็นพระมหากษัตริย์องค์สำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผู้มีบทบาทสำคัญไม่เพียงแต่ในจักรวรรดิออตโตมันเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงททวีปยุโรปด้วย พระองค์มีพระบรมราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ทางการทหารและทางเศรษฐกิจ ทรงเป็นผู้นำทัพด้วยพระองค์เองในการสงครามหลายครั้งและทรงได้รับชัยชนะในสงครามหลายครั้งที่รวมทั้งต่อเบลเกรด โรดส์ และ ฮังการีเกือบทั้งหมด แต่มาทางพ่ายแพ้ในการล้อมกรุงเวียนนาในปี..

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและสุลัยมานผู้เกรียงไกร · ดูเพิ่มเติม »

สงครามสามสิบปี

งครามสามสิบปี (Thirty Years' War) (ค.ศ. 1618 - ค.ศ. 1648) สงครามสามสิบปีเป็นสงครามที่ก่อความเสียหายไว้มากที่สุดสงครามหนึ่งของประวัติศาสตร์ยุโรป สงครามส่วนใหญ่สู้รบกันในดินแดนเยอรมนีและมีผู้เข้าร่วมสงครามจากเกือบทุกประเทศในยุโรป อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในสงครามที่ยาวนานที่สุดครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ต้นเหตุของความขัดแย้งและจุดประสงค์ของผู้เข้าร่วมมีความซับซ้อนและมีเหตุผลในการทำสงครามของฝ่ายต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เมื่อเริ่มแรกการต่อสู้เกิดจากความขัดแย้งระหว่างโปรเตสแตนต์และโรมันคาทอลิกในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่ความขัดแย้งการทางอำนาจทางการเมืองภายในจักรวรรดิก็เป็นส่วนสำคัญด้วย ในที่สุดสงครามก็ขยายออกไปเป็นความขัดแย้งของอาณาบริเวณต่างๆ ทั่วยุโรป สงครามสามสิบปีเป็นสงครามที่ต่อเนื่องมาจากสงครามความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสกับราชวงศ์ฮับส์บูร์กในการเป็นมหาอำนาจในยุโรปและในที่สุดก็บานปลายไปเป็นสงครามที่ไม่มีเหตุผลใดเกี่ยวข้องกับศาสนา การต่อสู้ส่วนใหญ่ในสงครามสามสิบปีเป็นการต่อสู้โดยกองทัพทหารรับจ้างที่ทำความเสียหายอย่างใหญ่หลวงมาสู่บริเวณที่มีการต่อสู้ และก่อให้เกิดความอดอยากและโรคระบาดจนส่งผลให้จำนวนประชากรของรัฐต่าง ๆ ในเยอรมนี กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ และอิตาลีลดลงไปเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังก่อให้เกิดการสูญเสียอำนาจในหลายบริเวณ ความขัดแย้งที่เป็นสาเหตุของการต่อสู้ก็ไม่ได้รับการแก้ไข นอกจากนี้การที่สงครามมีค่าจ่ายทางการทหารเป็นจำนวนมาก ส่งผลทำให้รัฐที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ต้องล้มละลายในช่วงท้ายของสงคราม สงครามสามสิบปียุติลงด้วยสนธิสัญญามึนสเตอร์ (Treaty of Münster) ที่เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลี.

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและสงครามสามสิบปี · ดูเพิ่มเติม »

ออฌีเย กีซแล็ง เดอ บุสแบ็ก

ออฌีเย กีซแล็ง เดอ บุสแบ็ก (Ogier Ghiselin de Busbecq); โอฌีเย กีแล็ง เดอ บุสแบ็ก (Augier Ghislain de Busbecq) หรือ เอาเกรีอุส กิสเลนีอุส บุสเบกวีอุส (Augerius Gislenius Busbequius; ค.ศ. 1520 หรือ ค.ศ. 1521 - 28 ตุลาคม ค.ศ. 1592) เป็นนักสมุนไพรวิทยา นักเขียน และนักการทูตชาวเฟลมิชที่เกิดในปี..

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและออฌีเย กีซแล็ง เดอ บุสแบ็ก · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Ferdinand I, Kaiser des Heiligen Römischen Reiches) (10 มีนาคม ค.ศ. 1503 - 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1564) เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ระหว่างวันที่ ค.ศ. 1558 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1564 นอกจากจะทรงเป็นประมุขของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แล้ว จักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1 ก็ยังเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโบฮีเมียและพระมหากษัตริย์แห่งโปแลนด์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1526 และทรงเป็นอาร์ชดยุกแห่งออสเตรียตั้งแต่ปี ค.ศ. 1521 จนเสด็จสวรรคต หลังจากที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 2 แห่งฮังการีผู้ทรงพระอนุชาเขยของพระองค์เสด็จสวรรคต แฟร์ดีนันด์ก็ทรงปกครองเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโบฮีเมียและฮังการี และเมื่อจักรพรรดิคาร์ลสละราชสมบัติในปี..

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและจักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออตโตมัน

ักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire, Osmanlı İmparatorluğu, โอสมานลือ อิมพาราโทรลู) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 เป็นผู้นำในการทำสงคราม ตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม จักรวรรดิออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้ จักรวรรดิออตโตมันล่มสลายในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) มีจักรพรรดิเมห์เหม็ดที่ 6 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก.

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและจักรวรรดิออตโตมัน · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ทิวลิป

ในดอก ทิวลิป เป็นดอกไม้เมืองหนาวที่เป็นสัญลักษณ์ของฮอลแลนด์ มีอยู่หลายสี ดอกทิวลิปจะปลูกได้ต้องใช้อุณหภูมิที่เหมาะสม คือไม่เกิน 25 องศาเซลเซี.

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและทิวลิป · ดูเพิ่มเติม »

ดอลลาร์สหรัฐ

100 ดอลลาร์สหรัฐ ธนบัตรที่มีค่ามากสุดในสหรัฐในปัจจุบัน ดอลลาร์สหรัฐ (United States dollar; ในเอกสารเก่าอาจพบการใช้ เหรียญสหรัฐ) เป็นสกุลเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา และยังใช้เป็นสกุลเงินสำรองในหลายประเทศทั่วโลก รหัสสากลคือ ISO 4217 ใช้ตัวย่อว่า USD และสัญลักษณ์ $ โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับเกือบ 34 บาท (baht) สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้หน่วยเงิน ดอลลาร์ เป็นสกุลเงินประจำชาติ และยังมีประเทศอื่นที่มีเงินดอลลาร์เช่นกัน แต่ใช้ชื่อเรียกอื่น เช่น ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐ ยังเป็นสกุลเงินหลักในหลายประเทศ และในบางประเทศถึงแม้ว่าดอลลาร์สหรัฐไม่ใช่สกุลเงินหลัก แต่ยังมีการยอมรับในการใช้จ่ายสินค้าทั่วไป ชื่อเล่นที่ชาวอเมริกันเรียก 1 เซนต์ ว่า "เพนนี" (penny), 5 เซนต์ ว่า "นิกเกิล" (nickel), 10 เซนต์ ว่า "ไดม์" (dime), 25 เซนต์ ว่า "ควอเตอร์" (quarter), 1 ดอลลาร์สหรัฐ ว่า "บั๊ก (ภาษาสแลง, ภาษาพูด)" (buck) และเรียก หนึ่งพันดอลลาร์สหรัฐ ว่า แกรนด์ (grand).

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและดอลลาร์สหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ตราสารสิทธิ

ตราสารสิทธิ หรือ ออปชัน (option บางตำราอาจเรียกว่า สัญญาสิทธิ หรือ ตราสารทางเลือก) เป็นหนังสือสัญญาหรือตราสารระหว่างบุคคลสองคนตามที่ระบุในหนังสือสำคัญ มีรายละเอียดคือ ชื่อผู้ซื้อสิทธิและชื่อผู้ขายสิทธิในสินค้าอย่างหนึ่ง มีการกำหนดหมดอายุสัญญา การกำหนดราคา ในอดีตการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าบุคคลเริ่มต้นทำกันเอง เมื่อมีความเจริญติดต่อกันซื้อขายมากขึ้น จึงมีสถานที่เป็นตลาดกลาง ตราสารสิทธิก็ได้พัฒนามาจนได้รับความนิยมมากขึ้น สำหรับตราสารสิทธิของประเทศไทย เป็นหนังสือสัญญาหรือตราสารทางการเงินประเภทตราสารอนุพันธ์ โดยมีสินค้าอ้างอิงเป็นดัชนี SET50 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีลักษณะให้สิทธิแก่ผู้ถือตราสารเมื่อเปิดสถานะเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขายที่จะใช้สิทธิซื้อหรือขายในวันที่กำหนด วันสิ้นสิทธิแต่ละงวดแบ่งเป็นสี่งวดในหนึ่งปี หรือจะปิดสถานะแบบมีสิทธิก่อนวันหมดอายุก็ได้ตามตราสารสิทธิแบบอเมริก.

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและตราสารสิทธิ · ดูเพิ่มเติม »

ตลาดหลักทรัพย์

ตลาดหลักทรัพย์ หรือ ตลาดหุ้น เป็นสถานที่สำหรับซื้อขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ระยะยาว ของ บริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งถือว่าเป็นตลาดรอง (Secondary Market) ทั้งนี้เนื่องจากจะทำการซื้อขายเฉพาะหลักทรัพย์ที่ได้ออกจำหน่ายให้แก่ประชาชนโดยทั่วไปแล้วเท่านั้น หลักทรัพย์ระยะยาว จะประกอบไปด้วยตราสารหนี้ และตราสารทุนซึ่งประกอบไปด้วย หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิแบบต่าง ๆ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หุ้นกู้ และ หน่วยลงทุน เป็นต้น โดยเรียกว่าเป็นประเภทของตราสารเพื่อการลงทุนตลาดหลักทรัพย์มีอยู่แทบทุกประเทศทั่วโลก.

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและตลาดหลักทรัพย์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตุรกี

ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและประเทศตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ เบ็คมันน์

ันน์ เบ็คมันน์ (Johann Beckmann) (4 มิถุนายน ค.ศ. 1739 - (ค.ศ. 1811) โยฮันน์ เบ็คมันน์เป็นนักเขียนสาขาวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ผลงานชิ้นสำคัญของโยฮันน์ เบ็คมันน์คือ Beiträge zur Geschichte der Erfindungen (ประวัติการประดิษฐ์ การค้นพบ และที่มา) ที่เขียนระหว่างปี ค.ศ. 1780 ถึง ปี ค.ศ. 1805 เบ็คมันน์เป็นบุคคลแรกที่คิดคำว่า “เทคโนโลยี” ขึ้นมาใช้เพื่อที่จะหมายถึงศาสตร์ของการค้าขาย และเป็นคนแรกที่สอนวิชานี้และเขียนเกี่ยวกับหัวข้อนี้เป็นตำราการศึกษา เบ็คมันน์เกิดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1739 ที่โฮยาในฮาโนเวอร์ บิดาเป็นนายไปรษณีย์และผู้เก็บภาษี เบ็คมันน์ได้รับการศึกษาที่ชตัดและที่มหาวิทยาลัยที่เกิตติงเก็นในสาขาเทววิทยา, คณิตศาสตร์, ฟิสิกส์, ธรรมชาติวิทยา และการเงินและการบริหาร หลังจากที่จบการศึกษาในปี ค.ศ. 1762 แล้วเบ็คมันน์ก็ทำการเดินทางเพื่อการศึกษาไปยังบรันสวิคและเนเธอร์แลนด์เพื่อไปสำรวจเหมือง โรงงาน และ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิท.

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและโยฮันน์ เบ็คมันน์ · ดูเพิ่มเติม »

โจรกรรมทางวรรณกรรม

รกรรมทางวรรณกรรม หรือ การลอกเลียนวรรณกรรม (plagiarism) หมายถึง การลอกงานเขียน ความคิดหรืองานสร้างสรรค์ดั้งเดิมทั้งหมดหรือบางส่วนที่เหมือนหรือเกือบเหมือนงานดั้งเดิมของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นงานดั้งเดิมของตนเอง ในวงวิชาการ โจรกรรมทางวรรณกรรมโดยนิสิตนักศึกษา อาจารย์หรือนักวิจัยถือเป็น “ความไม่สุจริตทางวิชาการ” (en:academic dishonesty) หรือ “การฉ้อฉลทางวิชาการ” (en:academic fraud) และผู้กระทำผิดจะต้องถูกตำหนิทางวิชาการ (academic censure) โจรกรรมทางวรรณกรรมในงานสื่อสารมวลชนถือเป็นละเมิดจรรยาบรรณทางวารสารศาสตร์ (en:journalistic ethics) นักข่าวที่ถูกจับได้โดยทั่วไปจะถูกลงโทษทางวินัยตั้งแต่พักงานถึงการถูกให้ออกจากงาน สำหรับบุคคลทั่วไปที่ถูกจับได้ว่าทำโจรกรรมทางวรรณกรรมทางวิชาการหรือทางงานหนังสือพิมพ์มักอ้างว่าได้กระทำลงไปโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยลืมใส่อ้างอิง หรือใส่คำประกาศกิตติคุณ (en:citation) ที่เหมาะสมไว้ ปัญหาโจรกรรมทางวรรณกรรมเป็นปัญหาที่เกิดมานานนับศตวรรษมาแล้วซึ่งเป็นแบบรูปเล่ม การพัฒนาทางอินเทอร์เน็ตที่บทความปรากฏในรูปของอีเล็กทรอนิกส์ ทำให้งานคัดลอกทำได้เพียง “ลอก” ข้อความในเว็บมา “ใส่” ไว้ในอีกเว็บหนึ่งอย่างง่ายดายที่เรียกว่า “การคัดลอก-แปะ” (en:copying and pasting) โจรกรรมทางวรรณกรรมต่างกับการละเมิดลิขสิทธิ์แม้ทั้งสองคำนี้ใช้กับพฤติกรรมที่คล้าย ๆ กัน เพียงแต่เน้นการละเมิดที่ต่างมุมกัน การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นการละเมิดสิทธิ์ด้วยการไม่บอกกล่าวกับผู้ถือลิขสิทธิ์ แต่ขณะเดียวกัน ในอีกด้านหนึ่งโจรกรรมทางวรรณกรรมเกี่ยวข้องกับการสร้างชื่อเสียงให้ตนเองของผู้กระทำด้วยการแอบอ้างว่าตนเป็นผู้เขียน.

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและโจรกรรมทางวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัสทิวลิปแตกสี

ียนสีน้ำของทิวลิป “Semper Augustus” โดยจิตรกรนิรนามของคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่เป็นทิวลิปที่ได้ชื่อว่ามีราคาสูงที่สุดที่ขายระหว่างความคลั่งทิวลิป การแตกสีเกิดจากไวรัสที่ทำให้ออกมาเป็นสีต่างๆ ในดอกเดียว ไวรัสทิวลิปแตกสี หรือ ไวรัสทิวลิปโมเสก หรือ ไวรัสลิลลีแตกสี(Tulip breaking virus หรือ Tulip breaking potyvirus หรือ Lily streak virus หรือ Tulip mosaic virus หรือ TBV) เป็นไวรัสพืชที่มีชื่อเสียงจากการทำให้ดอกทิวลิปแตกเป็นสีต่างๆ ในดอกเดียวเมื่อติดเชื้อ ซึ่งเป็นลักษณะของดอกที่เป็นชนวนในการทำให้ราคาหัวทิวลิปที่ค้าขายกันในตลาดหลักทรัพย์ถีบตัวสูงขึ้นจนเกินเลยความจริง ในเหตุการณ์ที่มารู้จักกันว่า “ความคลั่งทิวลิป” ที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในเนเธอร์แลนด์ ในปัจจุบันทิวลิปที่แตกสีเป็นผลมาจากการผสมพันธุ์มิใช่มาจากการติดเชื้อไวรั.

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและไวรัสทิวลิปแตกสี · ดูเพิ่มเติม »

ไฮอะซินท์

อะซินท์ (hyacinth) เป็นดอกไม้ตระกูลที่ปลูกจากหัว (bulbous plants) เดิมจัดอยู่ในวงศ์ลิลี (Liliaceae) แต่ในปัจจุบันถือว่าเป็นตระกูลอิสระของตนเอง “Hyacinthaceae” เป็นดอกไม้ที่มาจากทางตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเรื่อยไปทางตะวันออกจนถึงอิหร่านและเติร์กเมนิสถาน.

ใหม่!!: ความคลั่งทิวลิปและไฮอะซินท์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Tulip maniaTulipomaniaคลั่งทิวลิป

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »