โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)

ดัชนี ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)

วามขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง เริ่มขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 ระหว่างรัฐบาลสาธารณรัฐแอฟริกากลางกับกบฏซึ่งหลายคนเคยมีส่วนเกี่ยวข้องในสงครามกลางเมืองสาธารณรัฐแอฟริกากลาง กลุ่มกบฏกล่าวหารัฐบาลประธานาธิบดีฟร็องซัว บอซีเซว่าไม่สามารถปฏิบัติตามความตกลงสันติภาพที่ลงนามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 กองกำลังกบฏซึ่งมีชื่อว่า "เซเลกา" (Séléka CPSK-CPJP-UFDR) ยึดเมืองหลักหลายเมืองในภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศ พันธมิตรดังกล่าวประกอบด้วยสองกลุ่มหลัก คือ UFDR และ CPJP ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นเดียวกับ CPSK ซึ่งรู้จักกันน้อยกว่า อีกสองกลุ่มประกาศการสนับสนุนแนวร่วมนี้เช่นเดียวกัน ได้แก่ FDPC และ FPR (ในประเทศชาด) ทั้งสองตั้งอยู่ในภาคเหนือของประเทศ ทุกกลุ่มแยกยกเว้น FPR และ CPSK เป็นฝ่ายในสัญญาความตกลงสันติภาพและกระบวนการปลดอาวุธ ประเทศชาด กาบอง แคเมอรูน แองโกลา แอฟริกาใต้ และสาธารณรัฐคองโก ส่งทหารช่วยเหลือรัฐบาลบอซีเซยับยั้งการรุกคืบของฝ่ายกบฏสู่กรุงบังกี เมืองหลวงของประเทศ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556 มีการลงนามความตกลงหยุดยิงในกรุงลีเบรอวิล ประเทศกาบอง ฝ่ายกบฏสละข้อเรียกร้องของพวกตนที่จะให้ประธานาธิบดีฟร็องซัว บอซีเซลาออก แต่เขาต้องแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่จากพรรคฝ่ายค้านภายในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556 วันที่ 13 มกราคม บอซีเซลงนามกฤษฎีกาซึ่งถอดถอนนายกรัฐมนตรีโฟสแต็ง-อาร์ช็องฌ์ ตัวเดราจากตำแหน่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงกับแนวร่วมกบฏ วันที่ 17 มกราคม นีกอลา ตีย็องกาย (Nicolas Tiangaye) ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีPatrick Fort,, Agence France-Presse, 17 January 2013. วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556 การหยุดยิงถูกละเมิด โดยรัฐบาลประณามเซเลกาว่าละเมิดการหยุดยิง และเซเลกาประณามรัฐบาลโดยกล่าวหาว่ารัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขของความตกลงแบ่งสรรอำนาจ จนถึงวันที่ 21 มีนาคม กบฏรุกคืบถึงเมืองบูกาซึ่งอยู่ห่างจากเมืองหลวง 300 กิโลเมตร วันที่ 22 มีนาคม การสู้รบมาถึงเมืองดามารา ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองหลวง 75 กิโลเมตร กบฏยึดด่านตรวจที่ดามาราและรุกคืบสู่กรุงบังกี แต่ถูกหยุดด้วยการโจมตีทางอากาศจากเฮลิคอปเตอร์จู่โจม อย่างไรก็ดี วันรุ่งขึ้น ฝ่ายกบฏเข้าสู่กรุงบังกี มุ่งหน้าสู่ทำเนียบประธานาธิบดี วันที่ 24 มีนาคม ฟร็องซัว บอซีเซหลบหนีออกนอกประเทศหลังกบฏยึดทำเนียบได้ ผู้นำกบฏ มีแชล จอตอดียา ประกาศตนเป็นประธานาธิบดีในวันเดียวกัน.

13 ความสัมพันธ์: บังกีฟร็องซัว ออล็องด์ลีเบรอวีลสาธารณรัฐคองโกสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกสาธารณรัฐแอฟริกากลางอัลญะซีเราะฮ์อิงกลิชประเทศชาดประเทศกาบองประเทศแอฟริกาใต้ประเทศแองโกลาประเทศแคเมอรูนเดอะนิวยอร์กไทมส์

บังกี

ังกี (Bangui) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำอูบังกี.

ใหม่!!: ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)และบังกี · ดูเพิ่มเติม »

ฟร็องซัว ออล็องด์

ฟร็องซัว เฌราร์ ฌอร์ฌ นีกอลา ออล็องด์ (François Gérard Georges Nicolas Hollande,; เกิด 12 สิงหาคม ค.ศ. 1954) เป็นอดีตประธานาธิบดีของฝรั่งเศส ได้รับเลือกตั้งในวันที่ 6 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)และฟร็องซัว ออล็องด์ · ดูเพิ่มเติม »

ลีเบรอวีล

ลีเบรอวีล (Libreville) เป็นเมืองหลวงของประเทศกาบอง ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)และลีเบรอวีล · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐคองโก

รณรัฐคองโก (République du Congo) หรือบางครั้งมีผู้เรียกว่า คองโก-บราซาวีล (Congo-Brazzaville) หรือ คองโก (Congo) (เป็นคนละประเทศกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ซึ่งครั้งหนึ่งเคยใช้ชื่อประเทศว่า "สาธารณรัฐคองโก" เช่นกัน) เป็นอดีตอาณานิคมของฝรั่งเศสในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกกลาง มีอาณาเขตจรดกาบอง แคเมอรูน สาธารณรัฐแอฟริกากลาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก แองโกลา และอ่าวกินี.

ใหม่!!: ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)และสาธารณรัฐคองโก · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

รณรัฐประชาธิปไตยคองโก (République Démocratique du Congo) หรือบางครั้งมีผู้เรียกว่า คองโก (Congo) และ คองโก-กินชาซา (Congo-Kinshasa) เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกากลางและเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่อันดับที่ 2 ของทวีป สาธารณรัฐประชาธิปไตยมีอาณาเขตจรดสาธารณรัฐแอฟริกากลางและซูดานทางทิศเหนือ จรดยูกันดา รวันดา บุรุนดี และแทนซาเนียทางทิศตะวันออก จรดแซมเบียและแองโกลาทางทิศใต้ และจรดสาธารณรัฐคองโกทางทิศตะวันตก โดยมีทางออกสู่ทะเลตามแม่น้ำคองโกไปสู่อ่าวกินี ชื่อ คองโก (หมายถึง "นักล่า") มาจากกลุ่มชาติพันธุ์บาคองโก (Bakongo) ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณลุ่มน้ำคองโก ในอดีตสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเคยเป็นอาณานิคมของเบลเยียม โดยมีชื่อว่า เบลเจียน คองโก (Belgian Congo) ในปี พ.ศ. 2514 หลังจากได้รับเอกราช 11 ปี ก็ได้เปลี่ยนชื่อประเทศจากคองโก-กินชาซา (ใส่ชื่อเมืองหลวงไว้ข้างหลัง เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างประเทศนี้กับ สาธารณรัฐคองโก หรือ (คองโก-บราซาวีล) เป็นสาธารณรัฐซาอีร์ จนถึงปี พ.ศ. 2540 จึงได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น "คองโก" ตามเดิม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกต้องเผชิญกับความทุกข์ยากอย่างใหญ่หลวงจากสงครามคองโกครั้งที่ 2 (Second Congo War) อันเป็นความขัดแย้งที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 บางครั้งจึงมีผู้เรียกว่า "สงครามโลกแอฟริกา" (African World War).

ใหม่!!: ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐแอฟริกากลาง

รณรัฐแอฟริกากลาง (République centrafricaine; ซังโก: Ködörösêse tî Bêafrîka) หรือ ซ็องทราฟริก (Centrafrique) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในแอฟริกากลาง มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศชาด ทางตะวันออกจรดประเทศซูดาน ทางใต้จรดสาธารณรัฐคองโกและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์เดิม) และทางตะวันตกจรดประเทศแคเมอรูน ตั้งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร และแบ่งลุ่มแม่น้ำคองโกจากทะเลสาบชาดและลุ่มแม่น้ำไนล์ขาว.

ใหม่!!: ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)และสาธารณรัฐแอฟริกากลาง · ดูเพิ่มเติม »

อัลญะซีเราะฮ์อิงกลิช

อัลญะซีเราะฮ์อิงกลิช (الجزيرة الإنجليزية) คือ สถานีโทรทัศน์ที่ให้บริการข่าวภาคภาษาอังกฤษตลอด 24 ชั่วโมง เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคภาษาอังกฤษแห่งแรกที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในตะวันออกกลาง คือที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีขนาดใหญ่เป็น 1 ใน 3 ของสถานีโทรทัศน์ทั่วโลก และเป็นสถานีข่ายของสถานีโทรทัศน์อัลญะซีเราะฮ์ ภาคภาษาอาหรับ ซึ่งอัลญะซีเราะฮ์อิงกลิช ออกอากาศรายการประเภทข่าวสารและบทวิเคราะห์ สารคดี การอภิปรายสด สถานการณ์ปัจจุบัน และข่าวกีฬา และได้รับการยกย่องว่าเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของโลกที่ใช้ระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูง (High-definition Television หรือ HDTV) โดยมีจุดมุ่งหมายคือการเผยแพร่เสียงสะท้อนจากโลกอาหรับและเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศด้วยมุมมองที่เป็นสากลไปยังผู้ชมกว่า 1 ล้านคนทั่วโลกที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ โดยปราศจากมุมมองจากโลกตะวันตก และสับเปลี่ยนที่ตั้งหน่วยการจัดการด้านข่าวไปตามศูนย์ออกอากาศต่าง ๆ ทั้งในโดฮา กัวลาลัมเปอร์ ลอนดอน และวอชิงตัน ดี.ซี. ตามแนวคิด "following the sun." เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่ไม่ถูกพูดถึง นำเสนอเรื่องราวความขัดแย้ง การสร้างการรับรู้ที่น่าท้าทาย และกำหนดวาระทิศทางข่าว เป็นสะพานเชื่อมความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม เปิดมุมมองการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่แตกต่างไปจากตะวันตก.

ใหม่!!: ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)และอัลญะซีเราะฮ์อิงกลิช · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศชาด

(Tchad; تشاد, Tshād) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในแอฟริกากลาง มีอาณาเขตทางเหนือจดประเทศลิเบีย ทางตะวันออกจดประเทศซูดาน ทางใต้จดสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ทางตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศแคเมอรูนและประเทศไนจีเรีย และทางตะวันตกจดประเทศไนเจอร์ เนื่องจากมีระยะไกลจากทะเลและมีภูมิอากาศเป็นแบบทะเลทรายเป็นส่วนใหญ่ ประเทศจึงได้ชื่อว่าเป็น "หัวใจตายของแอฟริกา" (dead heart of Africa) ทางเหนือมีทิวเขาทิเบสตี (Tibesti Mountains) ซึ่งเป็นเทือกเขาที่ใหญ่ที่สุดในทะเลทรายสะฮารา เดิมเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐเฟรนช์อิเควทอเรียลแอฟริกา (Federation of French Equatorial Africa) มีชื่อตามทะเลสาบชาด (Lake Chad).

ใหม่!!: ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)และประเทศชาด · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกาบอง

กาบอง (Gabon) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐกาบอง (République Gabonaise) เป็นประเทศในตอนกลางของภาคตะวันตกของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนติดกับอิเควทอเรียลกินี แคเมอรูน สาธารณรัฐคองโก และอ่าวกินี กาบองปกครองโดยประธานาธิบดีที่สถาปนาตนเองขึ้นสู่อำนาจนับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2503 กาบองได้นำระบบหลายพรรคการเมืองและรัฐธรรมนูญใหม่มาใช้ในช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ที่ทำให้เกิดกระบวนการการเลือกตั้งที่โปร่งใสยิ่งขึ้น รวมทั้งเกิดการปฏิรูปสถาบันต่าง ๆ ของรัฐ กาบองมีจำนวนประชากรไม่มาก แต่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย จึงเป็นที่สนใจของนักลงทุนเอกชนต่างชาติ ทำให้กาบองกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มั่งคั่งที่สุดในภูมิภาคนี้.

ใหม่!!: ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)และประเทศกาบอง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแอฟริกาใต้

รณรัฐแอฟริกาใต้ (Republic of South Africa) หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า แอฟริกาใต้ (ต่างจาก "แอฟริกาตอนใต้" ซึ่งเป็นภูมิภาคประกอบไปด้วยหลายประเทศ รวมถึงประเทศแอฟริกาใต้ด้วย) เป็นประเทศอิสระที่อยู่ตอนปลายทางใต้สุดของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนติดกับประเทศนามิเบีย บอตสวานา ซิมบับเว โมซัมบิก และสวาซิแลนด์ นอกจากนี้ยังมีเลโซโทซึ่งเป็นประเทศที่ถูกล้อมรอบทุกด้านด้วยอาณาเขตของประเทศแอฟริกาใต้ รวมทั้งยังเป็นประเทศส่งออกเพชร, ทองคำ และไวน์ที่ชาวฝรั่งเศสนำเข้ามาอีกด้ว.

ใหม่!!: ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)และประเทศแอฟริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแองโกลา

แองโกลา (Angola,, อังกอลา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐแองโกลา (República de Angola) คือประเทศในแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนจดกับประเทศนามิเบีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกและประเทศแซมเบีย และมีชายฝั่งทางตะวันตกบนมหาสมุทรแอตแลนติก ส่วนจังหวัดกาบิงดาแยกจากส่วนที่เหลือของประเทศและมีพรมแดนจดสาธารณรัฐคองโก (คองโก-บราซาวีล) แองโกลาเป็นอดีตอาณานิคมของประเทศโปรตุเกส มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่พอสมควร ที่สำคัญคือน้ำมันและเพชร แองโกลาเป็นประเทศที่ปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไต.

ใหม่!!: ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)และประเทศแองโกลา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแคเมอรูน

แคเมอรูน (Cameroon; Cameroun) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐแคเมอรูน (Republic of Cameroon; République du Cameroun) เป็นสาธารณรัฐในแอฟริกากลาง มีอาณาเขตจรดไนจีเรีย ชาด สาธารณรัฐแอฟริกากลาง สาธารณรัฐคองโก กาบอง อิเควทอเรียลกินี.

ใหม่!!: ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)และประเทศแคเมอรูน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะนิวยอร์กไทมส์

อะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กและจัดจำหน่ายไปทั่วโลก จัดการโดยบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อื่นๆอีก 15 ฉบับ รวมถึง International Herald Tribune และ The Boston Globe ด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์เป็นหนังสือพิมพ์มหานครที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฉายาว่า "Gray Lady" (สุภาพสตรีสีเทา) ก็เพราะหน้าตาและสำนวนที่ขรึมขลัง ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่บันทึกแห่งการณ์ต่างๆของชาติ เพราะมันมักถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นทางการและได้รับความเชื่อถือ ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)และเดอะนิวยอร์กไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ความขัดแย้งภายในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (2555–ปัจจุบัน)ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (2555–2556)ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (2555–ปัจจุบัน)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »