เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

คฒิมาอีมนเทียร

ดัชนี คฒิมาอีมนเทียร

เทวรูปพระแม่คฒิมาอี. คฒิมาอีมนเทียร (गढीमाई मन्दिर) เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศพระแม่คฒิมาอี เทวีท้องถิ่นในเมืองปาริยะปุระซึ่งอยู่ภาคใต้ของประเทศเนปาล แม้ว่าตำนานของเจ้าแม่คฒิมาอีจะไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง แต่ชื่อของเจ้าแม่คฒิมาอีกลับเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกจากพิธีบูชายัญนองเลือดที่เรียกว่าเทศกาลคฒิมาอี (Gadhimai festival) ซึ่งจัดขึ้นทุกห้าปีในเทวสถานนี้.

เปิดใน Google Maps

สารบัญ

  1. 4 ความสัมพันธ์: ประเทศเนปาลโบสถ์พราหมณ์เทวีเทศกาลคฒิมาอี

ประเทศเนปาล

ประเทศเนปาล หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (Federal Democratic Republic of Nepal; सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल "สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล") เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอร์เรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และชื้น ชาวเนปาลประมาณ 81.3% นับถือศาสนาฮินดู เป็นสัดส่วนสูงสุดในโลก ศาสนาพุทธมีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับประเทศเนปาล และมีประชากรนับถือ 9% ตามด้วยศาสนาอิสลาม 4.4% Kiratism 3.1% ศาสนาคริสต์ 1.4% และวิญญาณนิยม 0.4% ประชากรสัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคภูเขา อาจระบุตัวว่าเป็นทั้งฮินดูและพุทธ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของธรรมชาติกลมเกลียวของทั้งสองความเชื่อในประเทศเนปาลก็เป็นได้ ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ราชวงศ์ศาหะปกครองตั้งแต่ปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะทรงรวมราชอาณาจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก จนปี 2551 สงครามกลางเมืองนานหนึ่งทศวรรษซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ตามด้วยการประท้วงใหญ่โดยพรรคการเมืองหลักทุกพรรค นำสู่ความตกลง 12 ข้อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ซึ่งตามมาสนับสนุนการเลิกราชาธิปไตยและการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหลายพรรคการเมืองอย่างท่วมท้น แม้ความท้าทายทางการเมืองยังดำเนินไป แต่กรอบนี้ยังอยู่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2556 ในความพยายามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเศรษฐกิจรายได้ต่ำ อยู่ในอันดับที่ 145 จาก 187 ประเทศในดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2557 ประเทศเนปาลยังเผชิญกับความหิวและความยากจนระดับสูง แม้ความท้าทายเหล่านี้ ประเทศเนปาลยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลผูกมัดยกระดับประเทศจากสถานภาพประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2565.

ดู คฒิมาอีมนเทียรและประเทศเนปาล

โบสถ์พราหมณ์

ราหมณ์ หมายถึง เทวสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมของศาสนาฮินดู มีพราหมณ์เป็นผู้ดูแลและประกอบพิธี.

ดู คฒิมาอีมนเทียรและโบสถ์พราหมณ์

เทวี

ทวี (देवी; goddess) หมายถึง เทวดาผู้หญิง เทวีบางองค์เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ต่าง ๆ เช่น โลก ความอุดมสมบูรณ์ ความเป็นแม่ เป็นต้น ลัทธิศาสนาที่บูชาเทวีเป็นหลัก เช่น ลัทธิศักติในศาสนาฮินดู พระนางตาราในศาสนาพุทธแบบทิเบต เป็นต้น.

ดู คฒิมาอีมนเทียรและเทวี

เทศกาลคฒิมาอี

ทศกาลคฒิมาอี (गढ़िमाई पर्व; Gadhimai festival) เป็นพิธีบูชายัญที่จัดขึ้นทุก 5 ปีที่วัดคฒิมาอี แห่งเมืองพริยารปุระ อำเภอพารา ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางใต้ประมาณ ของเมืองหลวงกาฐมาณฑุ ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล ใกล้ชายแดนอินโด-เนปาล และแดนติดกับรัฐพิหาร (ประเทศอินเดีย) มีการเฉลิมฉลองเป็นหลักโดยชาวมะเทสี และชาวรัฐพิหาร โดยเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าสัตว์บูชายัญครั้งใหญ่ ซึ่งประกอบด้วย ควาย, หมู, แพะ, ไก่, หนู และนกพิราบ – โดยมีเป้าหมายเพื่อการเซ่นสังเวยให้แก่เจ้าแม่คฒิมาอี ซึ่งเป็นเทพีแห่งอำน.

ดู คฒิมาอีมนเทียรและเทศกาลคฒิมาอี

หรือที่รู้จักกันในชื่อ วัดคฒิมาอีวัดเจ้าแม่กาธิมัย