โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คชศาสตร์

ดัชนี คชศาสตร์

ตร์ เป็นวิชาหนึ่งในวิชาไตรเทพของศาสนาพราหมณ์ เป็นศาสตร์เกี่ยวกับช้าง แบ่งออกเป็น 2 ตำรา คือ.

25 ความสัมพันธ์: บัวช้างช้างตระกูลพรหมพงศ์ช้างตระกูลอิศวรพงศ์พระพรหมพระวิษณุพระศิวะพระอัคนีพระนารายณ์มงคลหัตถีศาสนาฮินดูอุโบสถหัตถีทิศตะวันออกทิศตะวันออกเฉียงใต้ทิศตะวันตกทิศตะวันตกเฉียงใต้ทิศตะวันตกเฉียงเหนือทิศใต้ทิศเหนือคังไคยหัตถีคันธหัตถีตามพหัตถีฉัททันต์หัตถีโลกเหมหัตถี

บัว

ืชในภาษาไทยที่มีชื่อสามัญว่า "บัว" พบในสองวงศ์คือ.

ใหม่!!: คชศาสตร์และบัว · ดูเพิ่มเติม »

ช้าง

รงกระดูกช้างแอฟริกา ช้าง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่วงศ์ Elephantidae โดยแบ่งเป็นสองสกุล ได้แก่ Elephas และ Loxodonta ช้างในปัจจุบันเหลือ 3 สปีชีส์ คือ ช้างแอฟริกา, ช้างป่าแอฟริกา และช้างเอเชีย (หรือที่รู้จักกันในชื่อ ช้างอินเดีย) ส่วนสปีชีส์และสกุลอื่นของวงศ์ Elephantidae ล้วนสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว บางสปีชีส์หรือสกุลสูญพันธุ์ไปตั้งแต่ยุคน้ำแข็งครั้งหลังสุด ถึงแม้ว่าช้างแมมมอธในรูปแคระอาจสืบสายพันธุ์ต่อมาจนถึง 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ช้างและสัตว์ในวงศ์ Elephantidae อื่น ๆ เคยถูกจัดเป็นประเภทเดียวกับสัตว์หนังหนาอื่น ๆ ชื่อว่าอันดับ Pachydermata ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว ช้างนับเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน ใช้เวลาการตั้งครรภ์ถึง 22 เดือน ซึ่งนับว่านานที่สุดในบรรดาสัตว์บกทุกชนิด ช้างแรกเกิดมีน้ำหนักเฉลี่ย 120 กิโลกรัม มีอายุขัยอยู่ระหว่าง 50 ถึง 70 ปี แต่ช้างอายุมากที่สุดที่เคยบันทึกไว้มีอายุถึง 109 ปี ช้างขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้อาศัยอยู่ในแองโกลาในปี..

ใหม่!!: คชศาสตร์และช้าง · ดูเพิ่มเติม »

ช้างตระกูลพรหมพงศ์

้างตระกูลพรหมพงศ์ เป็นหนึ่งช้างเผือกสี่ตระกูลซึ่งสร้างโดยมหาเทพ พระพรหมในวิชาไตรเทพของศาสนาพราหมณ์ โดยตำราพระคชศาสตร์ และตำรานารายณ์ประทมสินธุ์ ได้กล่าวถึงการกำเนิดช้างมงคลว่า พระนารายณ์บรรทมบนเกษียรสมุทร บังเกิดดอกบัวจากพระอุทรมี ๘ กลีบ ๑๗๓ เกสร จึงนำไปถวายพระอิศวร ที่เขาไกรลาศ พระอิศวรแบ่งเกสรดอกบัวนั้นประทานแก่พระองค์เอง พระอิศวร รับเกสรไว้ ๘ เกสร ประทานแก่ พระพรหม จำนวน ๒๔ เกสร ประทานแก่ พระวิษณุ หรือพระนารายณ์ จำนวน ๘ เกสร และประทานแก่พระอัคคีหรือพระเพลิง จำนวน ๑๓๕ เกสร พระอิศวร พระพรหม พระวิษณุ และพระเพลิง มหาเทพทั้ง ๔ ต่างสร้างช้างเผือกตระกูลต่างๆ ๔ ตระกูล จากดอกบัวนั้นดอกบัวให้เป็นโลก พระพรหม พระอิศวร พระวิษณุและพระอัคนี มหาเทพทั้ง 4 ทรงเนรมิตช้างจากกลีบและเกสรบัว ที่พระนารายณ์ประทาน และสามารถแบ่งช้างมงคลเป็น 4 ตระกูล ตามนามแห่งเทพผู้ให้กำเนิด คือ ๑. ช้างตระกูลพรหมพงศ์ สร้างขึ้นโดย พระพรหม อันพระพรหมให้บังเกิดด้วยเกสรประทุมชาติ์ ช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมีย่อมให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางวัตถุและวิทยาการต่างๆ พระพรหมได้สร้าง ๑. ช้างไอยราพตอยู่ทิศบูรพา เกสรหนึ่งทิ้งออกไปข้างทิศบูรพา เกิดเป็นช้างชื่อไอยราพต สมบูรณด้วยลักษณะ ๑๕ ประการ สีกายดุจสีเมฆเมื่อคลุ้มฝน เท้าทั้ง ๔ เท้ากลมดังกงฉัตร เล็บเสมอ หน้าสูงท้ายต่ำอย่างสิงห์ ตัวใหญ่กว่าช้างทั้งปวง ตาใหญ่ดังดาวประกายพฤกษ งายาวขึ้นขวางวงดังภุชงค์นาค หลังราบดังคันธนูปลายหูปรบหน้า หลัง ถึงกัน โขมดทั้ง ๒ สูง เสียงดุจเสียงสังข์ หาง บังคลองต้องด้วยลักษณะ ๑๕ ประการ.

ใหม่!!: คชศาสตร์และช้างตระกูลพรหมพงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

ช้างตระกูลอิศวรพงศ์

้างตระกูลอิศวรพงศ์ เป็นหนึ่งช้างเผือกสี่ตระกูลซึ่งสร้างโดยมหาเทพ พระอิศวรในวิชาไตรเทพของศาสนาพราหมณ์ โดยตำราพระคชศาสตร์ และตำรานารายณ์ประทมสินธุ์ ได้กล่าวถึงการกำเนิดช้างมงคลว่า พระนารายณ์บรรทมบนเกษียรสมุทร บังเกิดดอกบัวจากพระอุทรมี ๘ กลีบ ๑๗๓ เกสร จึงนำไปถวายพระอิศวร ที่เขาไกรลาศ พระอิศวรแบ่งเกสรดอกบัวนั้นประทานแก่พระองค์เอง พระอิศวร รับเกสรไว้ ๘ เกสร ประทานแก่ พระพรหม จำนวน ๒๔ เกสร ประทานแก่ พระวิษณุ หรือพระนารายณ์ จำนวน ๘ เกสร และประทานแก่พระอัคคีหรือพระเพลิง จำนวน ๑๓๕ เกสร พระอิศวร พระพรหม พระวิษณุ และพระเพลิง มหาเทพทั้ง ๔ ต่างสร้างช้างเผือกตระกูลต่างๆ ๔ ตระกูล จากเกสรดอกบัวนั้นดอกบัวให้เป็นโลก พระพรหม พระอิศวร พระวิษณุและพระอัคนี มหาเทพทั้ง 4 ทรงเนรมิตช้างจากกลีบและเกสรบัว ที่พระนารายณ์ประทาน และสามารถแบ่งช้างมงคลเป็น 4 ตระกูล ตามนามแห่งเทพผู้ให้กำเนิด คือ ช้างตระกูลอิศวรพงศ์ สร้างขึ้นโดย พระอิศวร อันพระอิศวรให้บังเกิดด้วยเกสรประทุมชาติ์ ช้างตระกูลนี้ พระอิศวรเป็นเจ้าให้บังเกิดชาติ์กระษัตริย์ ชื่อว่าอิศวรพงศ์สมบูรณ์ด้วยลักษณะ เนื้อดำสนิทผิวเนื้อละเอียดเกลี้ยง งาทั้ง ๒ งาใหญ่ขึ้นเสมอกัน เท้าใหญ่ น้ำเต้ากลม โขมดสูง งวงเรียวเป็นต้นปลาย ปากดุจพวยสังข์ คอกลม เมื่อเดินนั้นยกคอ หลังเป็นคันธนู ท้ายเป็นสุกร ผนฎท้องตามวงหลัง อกใหญ่ หน้าสูงกว่าท้าย เท้าหน้าทั้ง ๒ อ่อน เท้าหน้าหลังเรียวรัดฝักบัวกลม หางเป็นข้อห่วง สนับงาเป็น ๒ ชั้น ขนับเสมอมิได้พร่อง หูใหญ่ช่อม่วงยาวข้างขวามีใบหูอ่อนนุ่มมีขนมากกว่าข้างซ้าย หน้าใหญ่ สรรพงามพร้อมต้องด้วยลักษณะช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมีย่อมให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางวัตถุและวิทยาการต่างๆ พระอิศวรได้สร้าง อัฐคชาธาร อันพระอิศวรเป็นเจ้าให้บังเกิดด้วยเกสรประทุมชาติ์หรือด้วยเกสรดอกบัวทั้ง ๘ เกสร บังเกิดช้างทั้ง ๘ คือ เกสรที่ ๑. อ้อมจักรวาฬ เกสรหนึ่งทิ้งออกไปให้บังเกิดเป็นช้างหนึ่งชื่อว่าอ้อมจักรวาฬ งาซ้ายเสมอหน้างวง งาขวากอดงวงทับบนงาซ้ายหนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: คชศาสตร์และช้างตระกูลอิศวรพงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระพรหม

ระพรหม (ब्रह्मा; Brahma; బ్రహ్మ) เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ตรีมูรติ) ในคติของศาสนาฮินดู เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ความเมตตา เป็นพระผู้สร้างโลกและให้กำเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล และให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท พระพรหมมีสี่พักตร์ พระศอสวมลูกประคำ พระหัตถ์แต่ละข้างถือดอกบัว, คัมภีร์ และหม้อน้ำ มีพาหนะเป็นหงส์ หรือ ห่าน พระชายา คือ พระสุรัสวดี เทพีแห่งศิลปะวิทยาการและความรอบรู้ ในคัมภีร์มัตสยาปุราณะเล่าว่า พระพรหมเดิมทีมีถึงห้าพักตร์ การที่มีห้าพักตร์เกิดจาก การที่พระพรหมให้ได้กำเนิดผู้หญิงนางหนึ่งชื่อ ศตรูป ขึ้นมา ความงามของศตรูปทำให้พระองค์หลงใหล เมื่อศตรูปนี้เคลื่อนไปทางใด พระพรหมก็จะหันพระพักตร์เพื่อมองตามไปด้วย แต่ว่ามีครั้งหนึ่งที่พระพรหมไปดูแคลนพระศิวะเข้า ทำให้พระศิวะพิโรธ และใช้ไฟบรรลัยกัลป์จากพระเนตรที่สามที่กลางพระนลาฏเผาพระพักตร์ที่อยู่ด้านบนเศียรของพระพรหม จนเหลือเพียงสี่พักตร์ แต่อีกความเชื่อหนึ่งเล่าว่า เพราะพักตร์ด้านบนของพระพรหมนั้นเจิดจรัสมาก ทำให้พวกสุระและอสุระทนไม่ได้ จึงขอร้องให้พระศิวะเป็นผู้ตัดให้ และยังเชื่อด้วยว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลในวรรณะต่าง ๆ จากอวัยวะแต่ละส่วน ได้แก่ พราหมณ์เกิดจากพระโอษฐ์, กษัตริย์ เกิดจากอก, แพศย์เกิดจากส่วนท้อง และศูทรเกิดจากเท้า ตามมติของพราหมณาจารย์แต่โบราณกล่าวถึงตำราพรหมชาติ ว่าเป็นตำราที่มาจากพรหม ตำราพุทธลักษณะที่ฤษีแต่งไว้ก็มาจากพรหม เหตุที่รู้เห็นถึงพุทธลักษณะได้เพราะพรหมเป็นผู้มีอายุยืนและได้รู้เห็นเรื่องราวต่างๆอยู่ตลอดกาลนาน เมื่อเวลาพราหมณ์หนุ่มเที่ยวสืบหาที่เรียนและทำความเคารพนบนอบในผู้เฒ่าผู้แก่อยู่นั้น พระพรหมเห็นแก่ความกรุณา พอทราบเรื่อง จึงได้แปลงเพศมาเป็นพราหมณ์ฤษีแล้วบอกวิชา ทั้งเรื่องมนต์ ไสยเวท ตำราพยากรณ์ ตำราดูลักษณะของหมอดู ต่างๆนั้นเองพราหมณ์จึงถือว่ามาจากพรหม และจึงได้นับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์มีความงดงาม แม้คัมภีร์ปิงคละดาบส ตำราโตลกจือโหราศาสตร์จีน ถึงตลอดคัมภีร์โหราศาสตร์ในรุ่นหลังๆ ก็ได้กล่าวว่าได้มาแต่ฤษีและเทวะบันดาล อาจารย์ผู้ที่เรียนรู้ไว้ต่างกล่าวถึงสิ่งมงคลนี้ในทำนองเดียวกัน ในคติของชาวไทยที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร" และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย ด้วยเหตุดังนี้ พระพรหมจึงมีพระนามต่าง ๆ อาทิ "พรหมธาดา" หรือ "ประชาบดี" (ผู้สร้าง), "หงสรถ" หรือ "หงสวาหน" (ผู้มีหงส์เป็นพาหนะ), "จตุรพักตร์" (ผู้มีสี่หน้า), "ปรเมษฐ์" (ผู้ประเสริฐ) เป็นต้น ส่วนในลิลิตโองการแช่งน้ำเรียกว่า "ขุนหงส์ทองเกล้าสี่" โดยความหมายของคำว่า "พรหม" หมายถึง "ความเจริญ, ความกว้างขวาง, ความขยายตัว หรือความเบิกบาน" ดังนั้นตามคติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ทั้งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนาจึงมีคำว่า พรหม ประกอบคำศัพท์ เช่น "พรหมจรรย์", "พรหมบุตร" หรือ "พรหมวิหาร 4" เป็นต้น.

ใหม่!!: คชศาสตร์และพระพรหม · ดูเพิ่มเติม »

พระวิษณุ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. ศิลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. พระวิษณุ (विष्णु วิษฺณุ) หรือที่รู้จักกันในพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า พระนารายณ์ (नारायण นารายณ) เป็นหนึ่งในสามตรีมูรติ มีหน้าที่คุ้มครองแลดูแลรักษาทั้ง 3 โลกตามความเชื่อของชาวฮินดู จากคัมภีร์พราหมณ์ รูปร่างลักษณะมีพระวรกายจะมีสีที่เปลี่ยนไปตามยุค ฉลองพระองค์ดั่งกษัตริย์ มีมงกุฎทอง อาภรณ์สีเหลือง มี 4 กร ถือ สังข์ จักรสุทรรศน์ คทาเกาโมทกี แต่ที่จะพบเห็นได้บ่อยที่สุดคือถือ จักร์ สังข์ คทา ส่วนอีกกรจะถือ ดอกบัวบ้าง หรือ ไม่ถืออะไรเลยบ้าง (โดยจะอยู่ในลักษณะ"ประทานพร") โดยปรกติ พระวิษณุ จะทรงประทับอยู่ที่เกษียรสมุทร โดยส่วนมากจะบรรทมอยู่บนหลังพญาอนันตนาคราช โดยมีพระชายาคือพระแม่ลักษมีมหาเทวี คอยฝ้าดูแลปรนิบัติอยู่ข้าง ๆ เสมอ พาหนะของพระวิษณุคือ พญาครุฑ พระวิษณุ มีอีกพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า "หริ" แปลว่าผู้ดูแลแห่งจักรวาลถือเป็นเทพสูงสุด เพราะทุกอย่างเกิดจาก "หริ" โดย"หริ"ได้แบ่งตนเองออกเป็น 3 คือ.

ใหม่!!: คชศาสตร์และพระวิษณุ · ดูเพิ่มเติม »

พระศิวะ

ระศิวะ หรือ พระอิศวร (शिव; Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามพระองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ ได้แก่ พระพรหม และพระวิษณุ) พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระศิวะ มีรูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำ วรรณะขาว (สีผิวขาว) นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาล์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่น มีคงคาอยู่บนยอดจุฑา ซึ่งพ่นน้ำมาตลอด และมีดวงพระเนตร (ตาที่ 3) กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งโดยปกติจะปิดอยู่เสมอ เชื่อว่าหากเปิดขึ้นเมื่อไหร่ ไฟบรรลัยกัลป์จะเผาผลาญล้างโลก (บ้างว่าเป็นพระพรหม) ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัปหนึ่ง ก่อนที่พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่ มีพาหนะ คือ โคอุศุภราช (วัวเพศผู้สีขาวล้วน) มีชายา คือ พระอุมา เทพีแห่งความกล้าหาญ มีโอรสสององค์ คือ พระขันทกุมารและพระพิฆเนศ ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชายาอีกองค์คือพระแม่คงคา มีธิดาคือพระแม่มนสาเทวีหรือพระยามี พระศิวะเป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ พระศิวะมีท่าร่ายรำอันเป็นการร่ายรำของเทพเจ้า เรียกว่า "ปางนาฏราช" เมื่อแปลงกายลงไปปราบฤๅษีที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในเพศดาบส ซึ่งต่อมาชาวฮินดูได้ถือเอาท่าร่ายรำนี้เป็นต้นแบบของการร่ายรำต่าง ๆ มาตราบจนปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผีหรือปีศาจอีกด้วย โดยมีพระนามเรียกว่า "ปีศาจบดี" หรือ "ภูเตศวร" นอกจากนี้แล้วพระอิศวร ยังมีพระนามอื่นอีก เช่น "รุทร", "ศังกร", "ศุลี", "นิลกัณฐ์", "หระ" หรือ "อีสาน" และยังเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังเชื่อว่าพระศอของพระศิวะมีสีดำ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้ยาพิษของพญานาคไว้เมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤตเพื่อช่วยโลก ซึ่งบทหนึ่งในกามนิต-วาสิฏฐี วรรณกรรมอิงพุทธศาสนาได้อ้างถึง สีของความรักว่าเป็นสีดำ เสมือนสีคอพระศิวะ พระศิวะ ที่ประเทศศรีลังกา อันเป็นประเทศที่ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาเผยแพร่ก่อน ก่อนที่จะกลายมาเป็นศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักอย่างเช่นในปัจจุบัน พระศิวะในความเชื่อของที่นี่จะมีพาหนะเป็นนกยูง และกลายมาเป็นเทพเจ้าที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาพุทธศาสน.

ใหม่!!: คชศาสตร์และพระศิวะ · ดูเพิ่มเติม »

พระอัคนี

ระอัคนี หรือ พระอัคคี หรือ พระเพลิง (สันสกฤต: อคฺนิ, อัคนิ अग्नि) เป็นเทพในศาสนาฮินดู โดยเป็นเทพแห่งไฟ และเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้ (อาคเนย์) พระอัคนีมี ๓ พระรูปทรงได้แก่ อัคนี วิทยุต (สายฟ้า) และดวงอาทิต.

ใหม่!!: คชศาสตร์และพระอัคนี · ดูเพิ่มเติม »

พระนารายณ์

ระนารายณ์บรรมบนหลังพญาอนันตนาคราช ณ เกษียรสมุทร และให้กำเนิดพระพรหม ดูบทความหลักที่ พระวิษณุ พระนารายณ์ (สันสกฤต: नारायण; Narayana; ความหมาย: ผู้ที่ได้เคลื่อนไหวอยู่ในน้ำ) เป็นเทพเจ้าสูงสุดหนึ่งในสามพระองค์ (ตรีมูรติ) ในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยมากถือว่าเป็นองค์เดียวกันกับพระวิษณุ แต่ทว่าชาวไทยส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับพระนาม พระนารายณ์ มากกว่า เหตุที่มีพระนามแตกต่างกัน เนื่องจากมีบางคัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเล่าว่า เดิมทีมีเทพเจ้าเพียงองค์เดียว คือ พระนารายณ์ ซึ่งเรียกว่าปรพรหม ซึ่งเป็นพระผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง เมื่อพระนารายณ์รำพึงถึงการสร้างโลก ก็ทรงคำนึงถึงการปกปักรักษา แต่พระปรพรหมนั้นเป็นอรูปกเทพ คือ ไม่มีตัวตน จึงไม่สามารถที่จะสร้างโลกได้ จึงแบ่งภาคแยกร่างออกมาเป็น พระวิษณุ ซึ่งทรงประทานพระนามให้ และเมื่อพระวิษณุบรรทมหลับในเกษียรสมุทร ก็ทรงสุบินถึงการสร้างทุกสรรพสิ่ง ซึ่งพระวิษณุเป็นเทพผู้สร้างโลก สิ่งมีชีวิต รวมถึงมนุษย์ และที่พระนาภีของพระองค์ก็บังเกิดมีดอกบัวหลวงผุดขึ้นมา และภายในดอกบัวนั้นก็มี พระพรหม ซึ่งเป็นหนึ่งในตรีมูรติอยู่ภายใน ซึ่งพระวิษณุก็เป็นผู้ให้กำเนิดพระพรหมด้วย บางตำราก็กล่าวว่าเดิมมีพระนามว่า วิษณุ หรือ พิษณุ และได้เปลี่ยนเป็น นารายณ์ ในระยะหลัง โดยพระองค์มีสีพระวรกายเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของโลก ในกฤตยุค ยุคแรกของโลก ยุคที่คุณธรรมความดีของมนุษย์มีเต็มเปี่ยม สีกายพระนารายณ์สีขาว ยุคที่สอง ไตรดายุค ธรรมะและคุณธรรมมนุษย์เหลือสามในสี่ สีกายพระนารายณ์เป็นสีแดง ยุคที่สาม ทวาปรยุค คุณธรรมมนุษย์เหลือครึ่งเดียว สีกายเป็นสีเหลือง ยุคปัจจุบัน เป็นยุคที่สี่ กลียุค คุณธรรมของมนุษย์ลดลงเหลือหนึ่งในสี่ สีกายพระนารายณ์ เปลี่ยนเป็นสีนิลแก่หรือสีดำ.

ใหม่!!: คชศาสตร์และพระนารายณ์ · ดูเพิ่มเติม »

มงคลหัตถี

มงคลหัตถี เป็นสัตว์หิมพานต์ตระกูลช้าง ลักษณะภายนอกช้างตระกูลนี้ สีผิว สีตา และสีเล็บ เป็นสีม่วงเหมือนสีดอกอัญชัน มีงางอนขึ้นไปด้านขวา มงคลหัตถี เรียกได้ว่าเป็นประติมากรรม “ คชสาร หรือ ช้าง ” อีกองค์ประกอบหนึ่งที่ประดับอยู่บริเวณสระอโนดาตทางทิศเหนือของพระเมรุมาศ ซึ่งประติมากรรมของสัตว์หิมพานต์ถูกสร้างขึ้นมาพื่อประดับตกแต่งพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุล.

ใหม่!!: คชศาสตร์และมงคลหัตถี · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: คชศาสตร์และศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

อุโบสถหัตถี

Himmapan อุโบสถหัตถี อุโบสถหัตถี เป็นสัตว์หิมพานต์ตระกูลช้าง ลักษณะภายนอกเป็นช้างที่มีกายดั่งสีทองนพคุณ เดินได้รวดเร็ว เหาะไปในอากาศได้ อยู่บริเวณป่ากรรณิการ์ ส่วนหนึ่งของป่า อุโบสถหัตถีเรียกได้ว่าเป็นประติมากรรม “ คชสาร หรือ ช้าง ” อีกองค์ประกอบหนึ่งที่ประดับอยู่บริเวณสระอโนดาตทางทิศเหนือของพระเมรุมาศ ซึ่งประติมากรรมของสัตว์หิมพานต์ถูกสร้างขึ้นมาพื่อประดับตกแต่งพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุล.

ใหม่!!: คชศาสตร์และอุโบสถหัตถี · ดูเพิ่มเติม »

ทิศตะวันออก

วงกลมแสดงทิศ (compass rose) ระบุทิศหลักและทิศรองไว้มากมาย โดยทิศตะวันออก (E) อยู่ทางขวา ทิศตะวันออก หรือ ทิศบูรพา เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันตก ขวามือของทิศเหนือ และซ้ายมือของทิศใต้ โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันออกอยู่ด้านขวามือของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ทางซ้ายมือของแผนที่ดาว ทิศตะวันออกเป็นทิศที่โลกหมุนไป ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกพอดีในวันวิษุวัต.

ใหม่!!: คชศาสตร์และทิศตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ทิศตะวันออกเฉียงใต้

ทิศตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ทิศอาคเนย์, อาคเณย์ เป็นหนึ่งในทิศรองทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันตกเฉียงใต้ ขวามือของทิศใต้ และซ้ายมือของทิศตะวันออก โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันออกเฉียงใต้อยู่ด้านมุมขวาของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ทางมุมซ้ายของแผนที่ดาว.

ใหม่!!: คชศาสตร์และทิศตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทิศตะวันตก

วงกลมแสดงทิศ (compass rose) ระบุทิศหลักและทิศรองไว้มากมาย โดยทิศตะวันตก (W) อยู่ทางซ้าย ทิศตะวันตก หรือ ทิศประจิม หรือ ทิศปัจฉิม เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันออก ขวามือของทิศใต้ และซ้ายมือของทิศเหนือ โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันตกอยู่ด้านซ้ายของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ด้านขวาของแผนที่ดาว ดวงอาทิตย์ตกทางทิศตะวันตกพอดีในวันวิษุวัต.

ใหม่!!: คชศาสตร์และทิศตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ทิศตะวันตกเฉียงใต้

ทิศตะวันตกเฉียงใต้ หรือ ทิศหรดี, เนรดี เป็นหนึ่งในทิศรองทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ขวามือของทิศตะวันตก และซ้ายมือของทิศใต้ โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันตกเฉียงใต้อยู่ด้านมุมซ้ายของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ทางมุมขวาของแผนที่ดาว.

ใหม่!!: คชศาสตร์และทิศตะวันตกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หรือ ทิศพายัพ เป็นหนึ่งในทิศรองทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันออกเฉียงใต้ ขวามือของทิศเหนือ และซ้ายมือของทิศตะวันตก โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันตกเฉียงเหนืออยู่ด้านมุมบนซ้ายของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ทางมุมบนขวาของแผนที่ดาว.

ใหม่!!: คชศาสตร์และทิศตะวันตกเฉียงเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ทิศใต้

วงกลมแสดงทิศ (compass rose) ระบุทิศหลักและทิศรองไว้มากมาย โดยทิศใต้ (S) อยู่ด้านล่าง ทิศใต้ หรือ ทิศทักษิณ เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศเหนือ ขวามือของทิศตะวันออก และซ้ายมือของทิศตะวันตก โดยมากทิศใต้จะกำหนดให้อยู่ด้านล่างของแผนที่ อาจเขียนย่อด้วยอักษร ต หรืออักษร S ทิศใต้จริงเป็นทิศทางที่แกนหมุนของโลกชี้ไป ตรงกับขั้วโลกใต้ซึ่งอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกา หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ หมวดหมู่:การกำหนดทิศทาง.

ใหม่!!: คชศาสตร์และทิศใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทิศเหนือ

วงกลมแสดงทิศ (Compass rose) ระบุทิศหลักและทิศรองไว้มากมาย โดยทิศเหนือ (N) อยู่ด้านบน ทิศเหนือ หรือ ทิศอุดร เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ โดยมากทิศเหนือจะกำหนดอยู่ด้านบนของแผนที่ อาจเขียนย่อด้วยอักษร น หรืออักษร N.

ใหม่!!: คชศาสตร์และทิศเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

คังไคยหัตถี

ังไคยหัตถี เป็นสัตว์หิมพานต์ตระกูลช้าง ลักษณะภายนอกเป็นช้างที่มีกายดั่งสีน้ำไหล (สีเขียวน้ำทะเล) มีลักษณะสูงใหญ่ สมบูรณ์งดงาม เกิดบริเวณลุ่มน้ำคงคา คังไคยหัตถี เรียกได้ว่าเป็นประติมากรรม “ คชสาร หรือ ช้าง ” อีกองค์ประกอบหนึ่งที่ประดับอยู่บริเวณสระอโนดาตทางทิศเหนือของพระเมรุมาศ ซึ่งประติมากรรมของสัตว์หิมพานต์ถูกสร้างขึ้นมาพื่อประดับตกแต่งพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุล.

ใหม่!!: คชศาสตร์และคังไคยหัตถี · ดูเพิ่มเติม »

คันธหัตถี

ันธหัตถี เป็นสัตว์หิมพานต์ตระกูลช้าง ลักษณะภายนอกช้างตระกูลคันธหัตถี เป็นช้างที่มีร่างสูงใหญ่ ผิวตัวดังไม้กฤษณา กลิ่นตัวและมูตรคูตหอมหวนชื่นใจ คันธหัตถี เรียกได้ว่าเป็นประติมากรรม “ คชสาร หรือ ช้าง ” อีกองค์ประกอบหนึ่งที่ประดับอยู่บริเวณสระอโนดาตทางทิศเหนือของพระเมรุมาศ ซึ่งประติมากรรมของสัตว์หิมพานต์ถูกสร้างขึ้นมาพื่อประดับตกแต่งพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุล.

ใหม่!!: คชศาสตร์และคันธหัตถี · ดูเพิ่มเติม »

ตามพหัตถี

ตามพหัตถี เป็นสัตว์หิมพานต์ตระกูลช้าง ลักษณะภายนอกเป็นช้างที่มีกายสีดั่งทองแดง ขนหางคล้ายดอกบัวแดง ลักษณะสูงใหญ่ มีอานุภาพห้าวหาญในการศึก ตามพหัตถี เรียกได้ว่าเป็นประติมากรรม “ คชสาร หรือ ช้าง ” อีกองค์ประกอบหนึ่งที่ประดับอยู่บริเวณสระอโนดาตทางทิศเหนือของพระเมรุมาศ ซึ่งประติมากรรมของสัตว์หิมพานต์ถูกสร้างขึ้นมาพื่อประดับตกแต่งพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุล.

ใหม่!!: คชศาสตร์และตามพหัตถี · ดูเพิ่มเติม »

ฉัททันต์หัตถี

ฉัททันต์หัตถี เป็นสัตว์หิมพานต์ตระกูลช้าง ลักษณะภายนอกเป็นช้างที่มีกายสีขาวเหมือนสีเงิน มีงาขาวเหมือนสีเงินยวงเป็นแขนง มีหาง เท้า และสันหลังสีแดง ฉัททันตหัตถี คือหนึ่งในประติมากรรมของสัตว์หิมพานต์ที่ถูกสร้างขึ้นมาพื่อประดับตกแต่งอยู่ทางด้านทิศเหนือของพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุล.

ใหม่!!: คชศาสตร์และฉัททันต์หัตถี · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: คชศาสตร์และโลก · ดูเพิ่มเติม »

เหมหัตถี

หมหัตถี เป็นสัตว์หิมพานต์ตระกูลช้าง ลักษณะภายนอกช้างตระกูลนี้มีกายดั่งสีรัศมีทอง มีกำลังมาก เหมหัตถี เรียกได้ว่าเป็นประติมากรรม “ คชสาร หรือ ช้าง ” อีกองค์ประกอบหนึ่งที่ประดับอยู่บริเวณสระอโนดาตทางทิศเหนือของพระเมรุมาศ ซึ่งประติมากรรมของสัตว์หิมพานต์ถูกสร้างขึ้นมาพื่อประดับตกแต่งพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุล.

ใหม่!!: คชศาสตร์และเหมหัตถี · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »