โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กิลกาเมช

ดัชนี กิลกาเมช

รูปปั้นกิลกาเมช ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ กิลกาเมช เป็นกษัตริย์ในตำนาน แห่งนครอุรุค ในอาณาจักรบาบิโลน หรือบาบีโลเนีย ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยูเฟรติส ในประเทศอิรักปัจจุบัน เชื่อว่าเคยมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 2,700 ปีก่อนคริสตกาล มีเรื่องเล่าและปกรณัมมากมายที่เขียนเกี่ยวกับกิลกาเมช บางเรื่องเขียนไว้ตั้งแต่เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยจารึกบนแผ่นดินเหนียวเป็นภาษาของพวกซูเมอร์ เรียกว่าภาษาซูเมเรียน ซึ่งยังหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน ภาษาดังกล่าวนี้นักโบราณคดีเชื่อว่าไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับภาษาอื่นๆ ที่เราเคยรู้จักเลย เรื่องกิลกาเมชของพวกซูเมอร์นั้น ถูกรวบรวมขึ้นเป็นบทกวีเรื่องยาว เรียกว่า มหากาพย์กิลกาเมช (Epic of Gilgamesh) หลงเหลืออยู่เป็นวรรณกรรมในหลายภาษา เช่น ของชาวอัคคาเดีย (ภาษาตระกูลเซมิติค ซึ่งมีความสัมพันธ์กับภาษาฮีบรู, เป็นภาษาที่พูดกันในอาณาจักรบาบิโลน) นอกจากนี้ยังมีปรากฏบนแผ่นจารึกดินเหนียว เป็นภาษาฮูร์เรียน และภาษาฮิตไตต์ (ภาษาหนึ่งในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน ซึ่งพูดกันในเขตรอยต่อยุโรปและเอเชีย นับเป็นหนึ่งในบรรดาภาษาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก) ภาษาทั้งหมดที่พูดมานี้ จารด้วยอักษรลิ่ม หรือที่เราคุ้นเคยกันด้วยชื่อ คูเนฟอร์ม ตำนานฉบับเต็มเกี่ยวกับกิลกาเมชนั้น ได้มาจากศิลาจารึก 12 แท่ง จารเป็นภาษาอัคคาเดียน พบในซากปรักหักพังของหอพระสมุด พระเจ้าอะชูรบานิปัล แห่งอัสสิเรีย เมื่อราว 669-633 ปีก่อนคริสตกาล ที่เมืองนีนะเวห์(Nineveh) หอสมุดแห่งนี้ถูกพวกเปอร์เซียทำลายเมื่อ 612 ปีก่อนคริสตกาล และจารึกทั้งหมดก็พินาศไปด้วย จารึกนี้ระบุชื่อผู้แต่งไว้ด้วย ซึ่งนับเป็นเรื่องที่แปลกมาก เนื่องจากในสมัยโบราณ แทบจะไม่มีการจารึกชื่อผู้แต่งเรื่องใด ๆ (จารึกไทยในสมัยสุโขทัยหรืออยุธยาก็ไม่มีการจารึกชื่อผู้แต่งเช่นกัน) ผู้แต่งจารึกนี้คือ ชิเนฆิอุนนินนิ (Shin-eqi-unninni) อาจกล่าวได้ว่า บุคคลผู้นี้เป็นนักเขียนที่เก่าแก่ที่สุดในโลกวรรณกรรม ที่เราสามารถระบุชื่อได้ ตำนานของกิลกาเมชนั้นกล่าวโดยย่อ คงเทียบได้กับเรื่องของโนอาห์ ในคัมภีร์ไบเบิ้ลหรือนูห์ ในคัมภีร์อัลกุรอาน นั่นเอง นับเป็นตำนานน้ำท่วมโลกที่เก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก.

18 ความสัมพันธ์: กษัตริย์ภาษาฮิตไทต์ภาษาฮีบรูมหากาพย์กิลกาเมชศิลาจารึกอัลกุรอานอัคคาเดียคริสต์ศักราชคัมภีร์ไบเบิลตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนตำนานตำนานน้ำท่วมโลกซูเมอร์ประเทศอิรักประเทศอิหร่านปรัมปราวิทยาโบราณคดีโนอาห์

กษัตริย์

กษัตริย์ (क्षत्रिय กฺษตฺริย; khattiya ขตฺติย; ปรากฤต:khatri) เป็นวรรณะหนึ่งในสังคมชาวฮินดู (อีก 4 วรรณะที่เหลือคือพราหมณ์ แพศย์ และศูทร).

ใหม่!!: กิลกาเมชและกษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮิตไทต์

ษาฮิตไทต์ (Hittite language) จัดเป็นภาษาที่สำคัญที่สุดภาษาหนึ่งในบรรดาภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนหรืออินเดีย-ยุโรป ในอานาโตเลีย อยู่ในกลุ่มย่อยภาษาอินโด-ฮิตไทต์ จัดเป็นภาษาที่ตายแล้ว มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาลูเวีย ภาษาลิเดีย ภาษาไลเซีย และภาษาปาลา เคยใช้พูดโดยชาวฮิตไทต์ กลุ่มชนที่สร้างจักรวรรดิฮิตไทต์มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองฮัตตูซาสในอานาโตเลียภาคกลางตอนเหนือ (ตุรกีปัจจุบัน) ภาษานี้ใช้พูดในช่วง 1,057 – 557 ปีก่อนพุทธศักราช มีหลักฐานแสดงว่าภาษาฮิตไทต์และภาษาที่เกี่ยวข้องได้ใช้พูดต่อมาอีก 200 -300 ปีหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิฮิตไทต์ ภาษาฮิตไทต์จัดเป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียนรุ่นแรกๆ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่จัดให้เป็นภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาอินโด-ยุโรเปียนดั้งเดิมและเป็นพี่น้องกับภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียนในสมัยโบราณ.

ใหม่!!: กิลกาเมชและภาษาฮิตไทต์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: กิลกาเมชและภาษาฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

มหากาพย์กิลกาเมช

รึกมหากาพย์กิลกาเมช ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์น้ำท่วมโลก ในอัคคาเดียน มหากาพย์กิลกาเมช (Gilgamesh) เป็นตำนานน้ำท่วมโลกที่เก่าแก่ของเมโสโปเตเมียโบราณ เป็นหนึ่งในงานวรรณกรรมประเภทนิยายที่เก่าแก่ที่สุดในโลก นักวิชาการเชื่อว่ามหากาพย์เรื่องนี้มีกำเนิดมาจากตำนานกษัตริย์สุเมเรียนและบทกวีเกี่ยวกับวีรบุรุษในตำนานที่ชื่อว่า กิลกาเมช ซึ่งถูกรวบรวมเอาไว้กับบรรดาบทกวีอัคคาเดียนในยุคต่อมา มหากาพย์ชุดที่สมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบันปรากฏในแผ่นดินเหนียว 12 แท่งซึ่งเก็บรักษาไว้ที่หอเก็บจารึกของกษัตริย์แห่งอัสซีเรีย เมื่อราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล มีชื่อดั้งเดิมว่า ผู้มองเห็นเบื้องลึก (He who Saw the Deep; Sha naqba īmuru) หรือ ผู้ยิ่งใหญ่กว่าราชันทั้งปวง (Surpassing All Other Kings; Shūtur eli sharrī) กิลกาเมชอาจจะเป็นผู้ปกครองที่มีตัวตนจริงในอดีตระหว่างราชวงศ์ที่ 2 ของยุคต้นของสุเมเรีย (ประมาณ 2,700 ปีก่อนคริสตกาล) สาระสำคัญของเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกิลกาเมช ผู้กำลังท้อใจกับการปกครองของตน กับเพื่อนของเขาชื่อ เอนกิดู ซึ่งเข้ารับภารกิจเสี่ยงภัยร่วมกับกิลกาเมช เนื้อหาส่วนใหญ่ในมหากาพย์เน้นย้ำถึงความรู้สึกสูญเสียของกิลกาเมชหลังจากเอนกิดูเสียชีวิต และกล่าวถึงการกลับเป็นมนุษย์อีกครั้งพร้อมกับเน้นย้ำเรื่องความเป็นอมตะ เรื่องราวในหนังสือเล่าถึงการที่กิลกาเมชออกเสาะหาความเป็นอมตะหลังจากการเสียชีวิตของเอนกิดู มหากาพย์เรื่องนี้ได้แปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย ส่วนวีรบุรุษกิลกาเมชก็ได้เป็นตัวเอกอยู่ในวัฒนธรรมมวลชนยุคใหม.

ใหม่!!: กิลกาเมชและมหากาพย์กิลกาเมช · ดูเพิ่มเติม »

ศิลาจารึก

ลาจารึกของอียิปต์โบราณ ศิลาจารึก เป็นวรรณกรรมชนิดลายลักษณ์อักษรอย่างหนึ่ง อาศัยการบันทึกบนเนื้อศิลา ทั้งชนิดเป็นแผ่น และเป็นแท่ง โดยใช้โลหะแหลมขูดเนื้อศิลาให้เป็นตัวอักษร เรียกว่า จาร หรือ การจารึก ศิลาจารึกมีคุณค่าในเชิงบันทึกทางประวัติศาสตร์ ผู้จารึกหรือผู้สั่งให้มีศิลาจารึกมักจะเป็นผู้มีอำนาจ มิใช่บุคคลทั่วไป เนื้อหาที่จารึกมีความหลากหลายตามความประสงค์ของผู้จารึก เช่น บันทึกเหตุการณ์ บันทึกเรื่องราวในศาสนา บันทึกตำรับตำราการแพทย์และวรรณคดี เป็นต้น จารึกบนแท่งศิลานั้นมีความคงทน คงสภาพอยู่ได้นับพันๆ ปี ด้วยเหตุนี้ นักประวัติศาสตร์และนักภาษาศาสตร์จึงสามารถสืบสานความรู้ย้อนไปได้นับพันๆ ปี โดยเฉพาะความรู้ด้านอักษร และภาษา ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา จารึกที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ ได้แก.

ใหม่!!: กิลกาเมชและศิลาจารึก · ดูเพิ่มเติม »

อัลกุรอาน

อัลกุรอาน บ้างเรียก โกหร่าน (الْقُرآن) เป็นคัมภีร์ในศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมเชื่อว่าเป็นพระวจนะของอัลลอฮ์ที่ประทานผ่านทางเทวทูตญิบรีล มาสู่นบีมุฮัมมัด คำว่า กุรอาน มาจากรากศัพท์ในภาษาอาหรับแปลว่า การอ่าน หรือ อาขยาน อัลลอฮ์ได้ประทานคัมภีร์อัลกรุอานแก่นบีมุฮัมมัดซึ่งชาวมุสลิมถือว่าเป็นศาสนทูตคนสุดท้าย และคัมภีร์นี้ก็เป็นคัมภีร์สุดท้ายที่อัลลอฮ์ได้ส่งมาให้แก่มวลมนุษยชาติ หลังจากนี้แล้วจะไม่มีคัมภีร์ใด ๆ จากพระเป็นเจ้าอีก คัมภีร์กรุอานนี้ได้ประทานมาเพื่อยกเลิกคัมภีร์เก่า ๆ ที่เคยได้ทรงประทานมาในอดีตนั่นคือคัมภีร์เตารอต ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีมูซา คัมภีร์ซะบูร ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีดาวูด (ดาวิด) และคัมภีร์อินญีลที่เคยทรงประทานมาแก่นบีอีซา (พระเยซู) เป็นคัมภีร์ที่บริบูรณ์ไม่มีการเพี้ยนเปลี่ยนแปลง ภาษาของคัมภีร์อัลกุรอานนั้นคือภาษาอาหรับ ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน การศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอานทั้งเล่มเป็นหลักการหนึ่งที่มุสลิมทุกคนต้องศรัทธา นั่นก็หมายความว่าหากไม่ศรัทธาในอัลกุรอาน หรือศรัทธาเพียงบางส่วนก็จะเป็นมุสลิมไม่ได้ เช่นเดียวกับที่ต้องศรัทธาว่าคัมภีร์อัลกุรอานนี้มีความบริบูรณ์ภายใต้การพิทักษ์ของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้จึง ตั้งแต่วันที่ท่านศาสดาเสียชีวิตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยมีความเหมือนกันในทุกฉบับบนโลก และภาษาอาหรับในคัมภีร์จึงเป็นภาษาโบราณภาษาเดียว ที่มีใช้อย่างคงเดิมอยู่จนกระทั่งวันนี้ได้ และได้กลายเป็นภาษามาตรฐานของประเทศอาหรับทั้งหลาย เป็นภาษาวิชาการของอิสลาม และเป็นภาษาที่ใช้ในการปฏิบัติศาสนพิธีของมุสลิมทุกคนทั่วโลก.

ใหม่!!: กิลกาเมชและอัลกุรอาน · ดูเพิ่มเติม »

อัคคาเดีย

อัคคาเดียน (The Akkadians) คือพวกสุเมเรียนตั้งอาณาจักรอยู่ได้ไม่นาน คือราว 4000-2400 B.C. พอถึงประมาณปี 2400 B.C. อาณาจักรของสุเมเรียนก็ถูกชนเผ่าเซไมท์รุกราน คือพวกอัคคาเดียนซึ่งมีผู้นำคือ กษัตริย์ซากอน พวกอัคคาเดียนสามารถรวบรวมนครรัฐต่างๆเข้าด้วยกัน และยกนครเออร์ เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิ ส่วนใหญ่แล้วพวกอัคคาเดียนได้เป็นผู้รักษาวัฒนธรรมของสุเมเรียน รวมทั้งได้จัดการพิมพ์ประมวลกฎหมายขึ้นใช้ด้วย หลังจากนั้นซากอนที่ 1 ก็สามารถเอาชนะพวกอีแลมไนท์ และภาคเหนือของซีเรียทั้งหมดไปจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่พวกเซมิติคนี้ก็เหมือนอนารยชนเผ่าอื่นๆ ที่เอาชนะชาติอื่นได้ด้วยการรบ อาณาจักรจึงไม่มั่นคงและตั้งอยู่ได้ไม่นานก็ถูกอนารยชนอื่นๆรุกราน เมื่อซากอันสิ้นพระชนม์พวกซูเมอร์ได้ทำการปฏิวัติแต่ถูกปราบได้ และในบางโอกาส ก็ต้องตกอยู่ภายใต้การยึดครองของพวกชาติกุลหนึ่งซึ่งเรียกว่า พวกกูติ (Guti) หมวดหมู่:ชนเผ่า หมวดหมู่:อาณาจักรสุเมเรียน.

ใหม่!!: กิลกาเมชและอัคคาเดีย · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศักราช

ริสต์ศักราช (Anno Domini Nostri Iesu Christi Anno Domini: AD หรือ A.D. ส: คฺฤสฺตศกฺราช ป: คิตฺถสกฺกาช) เขียนย่อว.. หมายถึง ปีของพระเยซูคริสต์ โดยเริ่มนับจากปีที่เชื่อว่าพระเยซูทรงประสูติ เป็น..

ใหม่!!: กิลกาเมชและคริสต์ศักราช · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ใหม่!!: กิลกาเมชและคัมภีร์ไบเบิล · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน หรือ ตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป ประกอบด้วยภาษาและภาษาย่อยรวม 443 ภาษา (ตามการประมาณของ SIL) ที่พูดโดยคนประมาณ 3 พันล้านคน ซึ่งรวมถึงตระกูลภาษาหลัก ๆ ของยุโรป และเอเชียตะวันตก ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลใหญ่ ภาษาปัจจุบันที่อยู่ในตระกูลใหญ่นี้ มีเช่น ภาษาเบงกาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาฮินดี ภาษาโปรตุเกส ภาษารัสเซีย และ ภาษาสเปน (แต่ละภาษามีคนพูดมากกว่า 100 ล้านคน).

ใหม่!!: กิลกาเมชและตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน · ดูเพิ่มเติม »

ตำนาน

ตำนาน (legend; legenda, แปลว่า "สิ่งที่จะต้องอ่าน") คือ เรื่องเล่าขานที่มีมาแต่อดีต เปรียบได้เหมือนเครื่องมือที่ช่วยถ่ายทอดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ รวมถึงประเพณีต่าง ๆ ของคนในยุคอดีต อาจเป็นเรื่องจริงหรือไม่ก็ได้ อาจมีหลักฐานหรือไม่มีก็ได้ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้นิยามของคำ "ตำนาน" ไว้ว่า ในหนังสือแบบเรียนประวัติศาสตร์ของกรมสามัญศึกษา ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 หน้า 74 ได้ให้นิยามของคำ "ตำนาน" และการใช้ประโยชน์จากตำนานในการศึกษาทางวิชาการไว้ว.

ใหม่!!: กิลกาเมชและตำนาน · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานน้ำท่วมโลก

''The Deluge'' (น้ำท่วมใหญ่) โดย กุสตาฟว์ ดอเร ตำนาน น้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ ที่ทำให้เกิดโดยพระเจ้าหรือเทพเจ้า เพื่อทำลายล้างอารยธรรม โดยเป็นการลงโทษความบาปของมนุษย์ เพื่อเริ่มต้นอารยธรรมใหม่ ๆ ที่ส่งผลมายังปัจจุบัน ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณอารยธรรมเมโสโปเตเมีย เป็นประเด็นที่ปรากฏอยู่แพร่หลายในตำนานของวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น.

ใหม่!!: กิลกาเมชและตำนานน้ำท่วมโลก · ดูเพิ่มเติม »

ซูเมอร์

ซูเมอร์ (Sumer) เป็นอารยธรรมโบราณและเขตบริเวณเมโสโปเตเมียตอนใต้ ชาวซูเมอร์เป็นชนชาติแรกที่สร้างความเจริญขึ้นในบริเวณดังกล่าว เข้ามาอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำไทกริสเมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาล บริเวณที่เข้ามาตอนแรกคือ แคว้นซูเมอร์ซึ่งอยู่ทางตอนใต้สุดของเมโสโปเตเมียติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีลักษณะเป็นนครรัฐ แต่ละนครรัฐมีอิสระไม่ขึ้นต่อกัน เช่น ลากาซ บาบิโลน อูร์ อูรุก นิปเปอร์ right.

ใหม่!!: กิลกาเมชและซูเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิรัก

ประเทศอิรัก (العراق; عێراق อังกฤษ: Iraq) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (جمهورية العراق; كؤماری عێراق) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทางทิศตะวันออกจดประเทศอิหร่าน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดประเทศคูเวต ทางทิศใต้จดประเทศซาอุดีอาระเบีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศจอร์แดน และทางทิศตะวันตกจดประเทศซีเรีย กรุงแบกแดด ซึ่งเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในกลางประเทศ ราว 97% ของประชากรอิรัก 36 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม ส่วนใหญ่มีเชื้อสายซุนนีย์ ชีอะฮ์และเคิร์ด ประเทศอิรักมีแนวชายฝั่งส่วนแคบวัดความยาวได้ 58 กิโลเมตรทางเหนือของอ่าวเปอร์เซีย และอาณาเขตของประเทศครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาซากรอส และทะเลทรายซีเรียส่วนตะวันออก สองแม่น้ำหลัก แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ไหลลงใต้ผ่านใจกลางประเทศและไหลลงสู่ชัฏฏุลอะร็อบใกล้อ่าวเปอร์เซีย แม่น้ำเหล่านี้ทำให้ประเทศอิรักมีดินแดนอุดมสมบูรณ์มากมาย ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสมักเรยกว่า เมโสโปเตเมีย และคาดว่าเป็นบ่อเกิดของการเขียนและอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก พื้นที่นี้ยังเป็นที่ตั้งของอารยธรรมที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ อิรักเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอัคคาเดีย ซูเมเรีย อัสซีเรีย และบาบิโลเนีย นอกจากนี้ยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมีเดีย อะคีเมนิด เฮลเลนนิสติก พาร์เธีย แซสซานิด โรมัน รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะห์ มองโกล ซาฟาวิด อาฟชาริยะห์และออตโตมัน และเคยเป็นอาณาเขตในอาณัติสันนิบาตชาติภายใต้การควบคุมของอังกฤษ พรมแดนสมัยใหม่ของประเทศอิรักส่วนใหญ่ปักใน..

ใหม่!!: กิลกาเมชและประเทศอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: กิลกาเมชและประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ปรัมปราวิทยา

ประมวลเรื่องปรัมปราราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 68 (mythology) หมายถึง การรวบรวมเรื่องปรัมปรา (myth) เกี่ยวกับธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และจารีตประเพณี ของกลุ่มชนหนึ่ง และเรียกวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องปรัมปราเหล่านี้ว่า ปรัมปราวิทยา หรือ ปุราณวิทยา (mythology).

ใหม่!!: กิลกาเมชและปรัมปราวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

โบราณคดี

การขุดค้นซากโบราณ โบราณคดี (Archaeology) คือ วิชาที่ว่าด้วย การศึกษาเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ โดยผ่านทางการศึกษาหลักฐานทางโบราณคดี ที่ได้มาจากการสำรวจ การขุดค้น (โบราณวัตถุ) การขุดแต่ง (โบราณสถาน) และการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ประเภทต่างๆ (ศิลาจารึก จดหมายเหตุ พงศาวดาร) โดยทั่วไป จะต้องใช้ศาสตร์ด้านอื่นๆ ประกอบในการวิเคราะห์และตีความหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากกระบวนการข้างต้น เพื่อให้เรื่องราวในอดีตของมนุษย์มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ศาสตร์เหล่านั้น เช่น ประวัติศาสตร์ศิลปะ ธรณีวิทยา สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ เรณูวิทยา การกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ที่ประเทศไทย มีการเปิดสอนคณะโบราณคดี ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เป็นเพียงที่เดียวในประเทศไท.

ใหม่!!: กิลกาเมชและโบราณคดี · ดูเพิ่มเติม »

โนอาห์

"การถวายเครื่องบูชาของโนอาห์" โดยดาเนียล แมคลิส โนอาห์ (Noah; נח) เป็นบุตรชายของลาเมค เกิดในปีที่ 1,056 หลังจากพระเจ้าสร้างอาดัม บิดาของเขากล่าวว่า “คน​นี้​จะ​ชู‍ใจ​เรา​ใน​การ‍งาน​ของ​เรา การ​ตราก‌ตรำ​ของ​มือ​เรา และ​จาก​แผ่น‍ดิน​ซึ่งพระยาห์เวห์ทรง​แช่ง‍สาปไว้” เรื่องราวของโนอาห์บันทึกไว้ในหนังสือปฐมกาล บทที่ 5 ถึงบทที่ 10 โน‌อาห์​เป็น​คน​ชอบ‍ธรรม ​ดี​พร้อม​ใน​สมัย​ของ​เขา โน‌อาห์​เชื่อฟังปฏิบัติตามพระ‍เจ้า และเป็น​ที่​โปรด‍ปราน​ใน​สาย‍พระ‍เนตร​ของ​พระ‍ยาห์‌เวห์ ท่ามกลางยุคสมัยที่พระ‍ยาห์‌เวห์​ทรง​เห็น​ว่า​ความ​ชั่ว‍ร้าย​ของ​มนุษย์​มี​มาก​บน​แผ่น‍ดิน.

ใหม่!!: กิลกาเมชและโนอาห์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »