โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กาแล็กโทส

ดัชนี กาแล็กโทส

กาแล็กโทส (Galactose) เรียกอีกอย่างว่า น้ำตาลสมอง (brain sugar) เป็นน้ำตาลชนิดหนึ่งที่พบในผลิตภัณฑ์นม (dairy product) ในน้ำตาลบีต (sugar beet) กัม (gum) และ น้ำเมือกจากต้นไม้ (mucilage) ถูกสังเคราะห์ในร่างกายและเกิดเป็นไกลโคไลปิดและไกลโคโปรตีน ในเนื้อเยื้อหลายชนิด ถูกจัดเป็นสารให้ความหวาน (sweetener) เพราะมีพลังงานอาหาร (food energy) กาแล็กโทสหวานน้อยกว่ากลูโคส ไม่ละลายน้ำมากนัก เมื่อนำ Galactose + Glucose ก็จะได้น้ำตาล Lactose ซึ่งพบในน้ำนมเหมือนกัน กาแล็กแทน (Galactan) เป็นพอลิเมอร์ของกาแล็กโทสพบใน เฮมิเซลลูโลส (hemicellulose) และสามารถเปลี่ยนเป็นกาแล็กโทสได้โดยการไฮโดรไลซิส (hydrolysis) กาแล็กโทสเป็นโมโนแซ็กคาไรด์ (monosaccharide) ซึ่งเชื่อมต่อกับโมเลกุลของกลูโคส จะได้น้ำตาลไดแซ็กคาไรด์ (disaccharide) ที่ชื่อว่า แล็กโทส การไฮโดรไลซิสแล็กโทสจะได้กลูโคสและกาแล็กโทส ซึ่งจะถูก เร่งปฏิกิริยา โดยเอนไซม์บีตา-กาแล็กโทซิเดส แล็กเทสในร่างกายมนุษย์ กลูโคสจะถูกเปลี่ยนเป็นกาแล็กโทส เพื่อที่จะทำให้ต่อมน้ำนม (mammary gland) หลั่งแล็กโทสออกมาได้.

15 ความสัมพันธ์: พอลิเมอร์กลูโคสการเร่งปฏิกิริยามอโนแซ็กคาไรด์มะเร็งรังไข่วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาลหูหนวกผลิตภัณฑ์นมน้ำตาลแล็กโทสไกลโคลิพิดไกลโคโปรตีนไดแซ็กคาไรด์เอนไซม์Escherichia coli

พอลิเมอร์

อลิเมอร์ (polymer) ความหมายของพอลิเมอร์นั้นก็มาจากรากศัพท์กรีกสำคัญ 2 คำ คือ Poly (จำนวนมาก) และ Meros (ส่วน หรือ หน่วย) พอลิเมอร์เป็นสารโมเลกุลขนาดใหญ่ (Macromolecule) พอลิเมอร์จะประกอบไปด้วยหน่วยซ้ำกัน (repeating unit) ของมอนอเมอร์ (Monomer) หลายๆหน่วยมาทำปฏิกิริยากัน มอนอเมอร์นี้จัดเป็นสารไมโครโมเลกุล (Micromolecule) ชนิดหนึ่ง พอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยหรือมอนอเมอร์ชนิดเดียวกันทั้งหมด จัดเป็นโฮโมพอลิเมอร์ (Homopolymer) แต่ถ้ามีมอนอเมอร์ต่างกันตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป จัดเป็นโคพอลิเมอร์ (Copolymer) สารบางอย่างที่มีสมบัติอย่างพอลิเมอร์ เช่น สารพวกไขมันที่มีแต่ละหน่วยที่ไม่ซ้ำกันนั้นจะเป็นเพียงแค่สารแมคโครโมเลกุลเท่านั้น ไม่จเดยลิเมอร์ พอลิเมอร์มีทั้งที่เกิดเองในธรรมชาติ (Natural polymer) และพอลิเมอร์สังเคราะห์ (Synthetic polymer) ตัวอย่างของ โพลิเมอร์ธรรมชาติ ได้แก่ แป้ง เซลลูโลส โปรตีน กรดนิวคลีอิก และยางธรรมชาติ ส่วนพอลิเมอร์สังเคราะห์ เช่น พลาสติก เส้นใย โฟม และกาว พอลิเมอร์ทั้งสองชนิดนี้เข้ามามีบทบาทมากในชีวิตประจำวัน เราต้องใช้ประโยชน์จากพอลิเมอร์ และพอลิเมอร์แต่ละชนิดมีสมบัติต่างกัน จึงนำหน้าที่หรือนำไปใช้งานที่ต่างกันได้ พอลิเมอร์ที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดคือพลาสติก ซึ่งเป็นคำที่ใช้อ้างถึงกลุ่มของวัสดุธรรมชาติและสังเคราะห์กลุ่มใหญ่ที่มีคุณสมบัติและการใช้งานต่างกัน พอลิเมอร์ธรรมชาติเช่นชแล็กและอำพันที่ใช้มาเป็นเวลากว่าศตวรรษ พอลิเมอร์ชีวภาพ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิกที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการทางชีวภาพ พอลิเมอร์ธรรมชาติอื่นๆ เช่นเซลลูโลสที่เป็นองค์ประกอบหลักของกระดาษและไม้ พอลิเมอร์สังเคราะห์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ บาเกไลต์, นีโอพรีน, ไนลอน, พีวีซี, พอลิสไตรีน, พอลิอคริโลไนไตรล์ และพีวีบี การศึกษาเกี่ยวกับพอลิเมอร์ได้แก่ เคมีพอลิเมอร์, ฟิสิกส์พอลิเมอร์และวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ พอลิเมอร์สังเคราะห์ในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมเกือบทุกชนิด พอลิเมอร์มีการใช้ในการยึดเกาะและการหล่อลื่นอย่างกว้างขวาง เช่นเดียวกับการใช้เป็นโครงสร้างตั้งแต่ของเด็กเล่นจนถึงยานอวกาศ มีการใช้เป็นยาทางชีวภาพในฐานะเป็นตัวขนส่งยาในสิ่งมีชีวิต พอลิเมอร์เช่น พอลิ เมทิล เมทาคริเลต ที่ใช้ในกระบวนการโฟโตเรซิสในอุตสาหกรรมกึ่งตัวนำ และสารไดอิเล็กทริกโปแทสเซียมต่ำสำหรับใช้ในคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ปัจจุบันยังมีการพัฒนาพอลิเมอร์ที่ยืดหยุ่นได้สำหรับอิเล็กทรอนิก.

ใหม่!!: กาแล็กโทสและพอลิเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กลูโคส

กลูโคส (อังกฤษ: Glucose; ย่อ: Glc) เป็นน้ำตาลประเภทโมโนแซคคาไรด์ (monosaccharide) มีความสำคัญที่สุดในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตด้วยกัน เซลล์ของสิ่งมีชีวิติทุกชนิดใช้กลูโคสเป็นแหล่งพลังงาน และสารเผาผลาญขั้นกลาง (metabolic intermediate) กลูโคสเป็นหนึ่งในผลผลิตหลักของการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) และเป็นแหล่งพลังงานสำหรับการหายใจของเซลล์ (cellular respiration) โครงสร้างโมเลกุลตามธรรมชาติของมัน (D-glucose) จะอยู่ในรูปที่เรียกว่า เดกซ์โตรส (dextrose) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหาร.

ใหม่!!: กาแล็กโทสและกลูโคส · ดูเพิ่มเติม »

การเร่งปฏิกิริยา

การเร่งปฏิกิริยา (Catalysis) คือ การทำให้ปฏิกิริยาเกิดเร็วขึ้น โดยการใส่วัตถุที่ทำให้ปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงความเร็วเรียกว่า ตัวเร่งhttp://goldbook.iupac.org/C00876.html ซึ่งการเร่งปฏิกิรยาจะไม่มีผลต่อผลิตภัณฑ์เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยา มีทั้งตัวเร่งปฏิกิริยาทางเคมี เช่น โลหะ และตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ เช่น เอนไซม.

ใหม่!!: กาแล็กโทสและการเร่งปฏิกิริยา · ดูเพิ่มเติม »

มอโนแซ็กคาไรด์

มอโนแซ็กคาไรด์ (ภาษาอังกฤษ: Monosaccharide) หรือ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เป็นรูปแบบ คาร์โบไฮเดรต ที่ง่ายที่สุด ประกอบด้วย หนึ่งโมเลกุลของ น้ำตาล ซึ่งอยู่ในรูปของ ผลึก ของแข็งไม่มีสี ละลายน้ำ ได้ดี มอโนแซ็กคาไรด์ บางตัวมี รส หวาน ตัวอย่างของมอโนแซ็กคาไรด์ มีดังนี้.

ใหม่!!: กาแล็กโทสและมอโนแซ็กคาไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ (ovarian cancer) คือมะเร็งที่เกิดกับรังไข่ ในระยะแรกส่วนใหญ่จะมีอาการน้อยมากหรือไม่มี ถ้ามีมักเป็นอาการที่ไม่ชัดเจน เช่น ท้องอืด ปวดท้องน้อย กินอาหารลำบาก ปัสสาวะบ่อย อาการเหล่านี้มักสับสนกับโรคหรือภาวะอื่นได้ง่าย ตำแหน่งที่มะเร็งมักแพร่กระจายไปได้แก่เยื่อบุช่องท้อง ลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ ต่อมน้ำเหลือง ปอด และตับ สตรีที่มีการตกไข่มากครั้งตลอดวัยเจริญพันธุ์มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่สูงกว่า สาเหตุของความเสี่ยงในกรณีนี้เช่น ไม่มีบุตร มีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อย หรือประจำเดือนหมดช้า ความเสี่ยงอื่นเช่นการจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนหลังหมดประจำเดือน การใช้ยากระตุ้นการเจริญพันธุ์ และความอ้วน ปัจจัยที่ช่วยลดความเสี่ยงเช่น การใช้ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมน การทำหมัน และการให้นมบุตร ผู้ป่วยประมาณ 10% มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงจากพันธุกรรม โดยสตรีที่มีการกลายพันธุ์ที่ยีน BRCA1 หรือ BRCA2 มีความเสี่ยงประมาณ 50% ที่จะเกิดโรค มะเร็งรังไข่ชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือมะเร็งเยื่อบุ คิดเป็น 95% ของมะเร็งรังไข่ทั้งหมด มะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุแบ่งออกได้อีกเป็นห้าชนิดย่อยหลักๆ โดยชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือชนิดน้ำใสความรุนแรงสูง เชื่อว่าเนื้องอกเหล่านี้เจริญมาจากเซลล์ที่ปกคลุมผิวของรังไข่ แต่บางประเภทก็อาจเจริญมาจากท่อนำไข่ มะเร็งรังไข่ชนิดอื่นๆ ที่พบ่อยรองลงมาเช่นเนื้องอกของเซลล์สืบพันธุ์ต้นกำเนิดและเนื้องอกของเซลล์โครงสร้างต่อมเพศ เป็นต้น การวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ยืนยันได้โดยการตรวจชิ้นเนื้อ ซึ่งส่วนใหญ่ได้จากการผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อออก.

ใหม่!!: กาแล็กโทสและมะเร็งรังไข่ · ดูเพิ่มเติม »

วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล

วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล หรือเรียกโดยย่อว่า น้ำตาลเทียม เป็นกลุ่มของวัตถุหรือสารที่มีรสหวานสามารถใช้ปรุงอาหารแทนน้ำตาลได้ ในทางวิชาการ วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล จัดเป็นวัตถุเจือปนอาหารกลุ่มหนึ่ง ที่มีสมาชิกอยู่หลายตัว เช่น แอสปาร์แตม แซกคารีน หญ้าหวาน.

ใหม่!!: กาแล็กโทสและวัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

หูหนวก

ัญลักษณ์สากลของผู้หูหนวก หูหนวก เป็นความพิการอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการได้ยิน หมายถึงผู้ที่สูญเสียความสามารถในการได้ยินบางส่วนหรือทั้งหมดไป ผู้ที่หูหนวกส่วนมากจะสื่อสารโดยการอ่านริมฝีปากหรือโดยการใช้ภาษามือ สาเหตุเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม อายุที่มากขึ้น การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง สารเคมี หรือเป็นผลจากการได้รับบาดเจ็.

ใหม่!!: กาแล็กโทสและหูหนวก · ดูเพิ่มเติม »

ผลิตภัณฑ์นม

ผลิตภัณฑ์นม คืออาหารที่ผลิตจากน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผลิตภัณฑ์นมโดยปกติจะเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง นอกจากทารกที่ดื่มนมแม่แล้ว แหล่งบริโภคผลิตภัณฑ์นมของมนุษย์โดยหลักมาจากนมของวัว ควาย แพะ แกะ จามรี ม้า อูฐ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์นมพบได้ทั่วไปในอาหารยุโรป ตะวันออกกลาง และอินเดีย ขณะที่ในอาหารเอเชียตะวันออกจะเป็นที่รู้จักน้อย ยกเว้นอาหารมองโกเลีย หมวดหมู่:ผลิตภัณฑ์นม.

ใหม่!!: กาแล็กโทสและผลิตภัณฑ์นม · ดูเพิ่มเติม »

น้ำตาล

องน้ำตาลดิบ (ไม่ขัดและไม่ฟอกขาว) น้ำตาล เป็นชื่อเรียกทั่วไปของคาร์โบไฮเดรตชนิดละลายน้ำ โซ่สั้น และมีรสหวาน ส่วนใหญ่ใช้ประกอบอาหาร น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน มีน้ำตาลหลายชนิดเกิดมาจากที่มาหลายแหล่ง น้ำตาลอย่างง่ายเรียกว่าโมโนแซ็กคาไรด์และหมายรวมถึงกลูโคส (หรือ เด็กซ์โตรส) ฟรุกโตส และกาแลกโตส น้ำตาลโต๊ะหรือน้ำตาลเม็ดที่ใช้เป็นอาหารคือซูโครส เป็นไดแซ็กคาไรด์ชนิดหนึ่ง (ในร่างกาย ซูโครสจะรวมตัวกับน้ำแล้วกลายเป็นฟรุกโตสและกลูโคส) ไดแซ็กคาไรด์ชนิดอื่นยังรวมถึงมอลโตส และแลกโตสด้วย โซ่ของน้ำตาลที่ยาวกว่าเรียกว่า โอลิโกแซ็กคาไรด์ สสารอื่น ๆ ที่แตกต่างกันเชิงเคมีอาจมีรสหวาน แต่ไม่ได้จัดว่าเป็นน้ำตาล บางชนิดถูกใช้เป็นสารทดแทนน้ำตาลที่มีแคลอรีต่ำ เรียกว่าเป็น วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล (artificial sweeteners) น้ำตาลพบได้ทั่วไปในเนื้อเยื่อของพืช แต่มีเพียงอ้อย และชูการ์บีตเท่านั้นที่พบน้ำตาลในปริมาณความเข้มข้นเพียงพอที่จะสกัดออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อ้อยหมายรวมถึงหญ้ายักษ์หลายสายพันธุ์ในสกุล Saccharum ที่ปลูกกันในเขตร้อนอย่างเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่สมัยโบราณ การขยายการผลิตเกิดขึ้นในคริสศตวรรษที่ 18 พร้อมกับการสร้างไร่น้ำตาลในเวสต์อินดีส และอเมริกา เป็นครั้งแรกที่คนทั่วไปได้ใช้น้ำตาลเป็นสิ่งที่ให้ความหวานแทนน้ำผึ้ง ชูการ์บีต โตเป็นพืชมีรากในที่ที่มีอากาศเย็นกว่าและเป็นแหล่งที่มาส่วนใหญ่ของน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 หลังจากมีวิธีสกัดน้ำตาลเกิดขึ้นหลายวิธี การผลิตและการค้าน้ำตาลเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีชีวิตของมนุษย์ มีอิทธิพลต่อการก่อตั้งอาณานิคม การมีอยู่ของทาส การเปลี่ยนผ่านไปสู่สัญญาแรงงาน การย้ายถิ่นฐาน สงครามระหว่างชาติที่ครอบครองน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 การรวมชนชาติและโครงสร้างทางการเมืองของโลกใหม่ โลกผลิตน้ำตาลประมาณ 168 ล้านตันในปี..

ใหม่!!: กาแล็กโทสและน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

แล็กโทส

แล็กโทส (lactose) เป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ที่ส่วนใหญ่พบในนม ประกอบจากกาแล็กโทสและกลูโคส แล็กโทสเป็นส่วนประกอบราว 2-8% ของนมโดยน้ำหนัก ถึงแม้ว่าปริมาณจะแตกต่างกันไปตามชนิดและลักษณะเฉพาะ แล็กโทสแตกตัวมาจากหางนมรสหวานหรือเปรี้ยว สำหรับชื่อ "แล็ก" เป็นคำในภาษาละตินแปลว่า "นม" และ "-โอส" ที่เป็นพยางค์ท้ายสำหรับชื่อน้ำตาล เขียนสูตรได้เป็น C12H22O11.

ใหม่!!: กาแล็กโทสและแล็กโทส · ดูเพิ่มเติม »

ไกลโคลิพิด

โครงสร้างทางเคมีของสารประกอบไกลโคลิพิดชนิดต่างๆ ไกลโคลิพิด (Glycolipids) เป็นลิพิดที่เชื่อมต่อกับคาร์โบไฮเดรต มีหน้าที่ให้พลังงาน และเป็นตัวกำหนดเครื่องหมายเพื่อการจดจำของเซลล์ ปรากฏอยู่ที่จุดเชื่อมต่อระหว่างฟอสโฟลิพิดกับโซ่คาร์โบไฮเดรตในพื้นผิวเมมเบรนของเซลล์คาร์โบไฮเดรต พบได้ในผิวชั้นนอกของเซลล์เมมเบรนของสัตว์จำพวกยูแคริโอต ไกลโคลิพิดยื่นขยายจากฟอสโฟลิพิดไบเลเยอร์เข้าไปในสิ่งแวดล้อมที่เป็นน้ำนอกเซลล์ ซึ่งจะทำหน้าที่ตรวจสอบ และจดจำสารเคมีเฉพาะเพื่ออนุญาตหรือปฏิเสธการเข้าออกเซลล์ของสารเคมีนั้นๆ และรักษาสเถียรภาพการสัมผัสระหว่างเซลล์เพื่อการเกิดเนื้อเยื้อ หมวดหมู่:บทความเกี่ยวกับ ชีวเคมี ที่ยังไม่สมบูรณ์ หมวดหมู่:ลิพิด.

ใหม่!!: กาแล็กโทสและไกลโคลิพิด · ดูเพิ่มเติม »

ไกลโคโปรตีน

การเชื่อมต่อของน้ำตาลกับโปรตีนแบบ N (N-glycosylation of N-glycans) ที่ตำแหน่งของ Asn (Asn-x-Ser/Thr motifs) ในไกลโคโปรตีน Ruddock & Molinari (2006) Journal of Cell Science 119, 4373–4380 ไกลโคโปรตีน (Glycoprotein) เป็นองค์ประกอบหลักของโปรตีนที่หลั่งออกนอกเซลล์ และโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ โดยเป็นโปรตีนที่เชื่อมต่อกับโอลิโกแซคคาไรด์ มีหน้าที่ที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต พบในโมเลกุลที่เป็นโครงสร้าง เช่น คอลลาเจน ไฟบริน โมเลกุลสำหรับขนส่งวิตามิน ไขมัน แร่ธาตุต่างๆ ตัวรับสัญญาณจากฮอร์โมน ส่วนที่จดจำระหว่างเซลล์ข้างเคียงหรือระหว่างไวรัสกับเซลล์เจ้าบ้าน โมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น อิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) เอนไซม์บางชนิดเช่น โปรตีเอส (Protease) ไฮโดรเลส (Hydrolase) สารคัดหลั่งต่างๆ เช่น มูซิน (Mucin) เลกทิน (Lectin) หรือซีเลกทิน (Selectin) ซึ่งมีบทบาทในการจดจำเซลล์เป้าหมายของเชื้อก่อโร.

ใหม่!!: กาแล็กโทสและไกลโคโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

ไดแซ็กคาไรด์

แซ็กคาไรด์ หรือ น้ำตาลโมเลกุลคู่ (disaccharide) เป็นน้ำตาลที่เป็นสารประกอบประเภทคาร์โบไฮเดรต ประกอบด้วยสองโมเลกุลของโมโนแซ็กคาไร.

ใหม่!!: กาแล็กโทสและไดแซ็กคาไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

เอนไซม์

TIM. Factor D enzyme crystal prevents the immune system from inappropriately running out of control. เอนไซม์ (อังกฤษ: enzyme) เป็นโปรตีน 99 เปอร์เซนต์ เป็น ส่วนใหญ่ ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี เป็นคำในภาษากรีก ένζυμο หรือ énsymo ซึ่งมาจาก én ("ที่" หรือ "ใน") และ simo (":en:leaven" หรือ ":en:yeast") เอนไซม์มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก หรือถ้าไม่มีเอนไซม์อาจทำให้ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยากลายเป็นสารเคมีชนิดอื่น ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์ระบบการทำงานของเซลล์จะผิดปกติ (malfunction) เช่น.

ใหม่!!: กาแล็กโทสและเอนไซม์ · ดูเพิ่มเติม »

Escherichia coli

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนของ ''E. coli'' กำลังขยาย 10,000 เท่า Escherichia coli ("เอสเชอริเชีย โคไล" หรือ ") หรือเรียกโดยย่อว่า E. coli (อี. โคไล) เป็นแบคทีเรียในกลุ่มโคลิฟอร์ม เป็นตัวชี้การปนเปื้อนของอุจจาระในน้ำ มีอยู่ตามธรรมชาติในลำไส้ใหญ่ของสัตว์และมนุษย์ แบคทีเรียชนิดนี้ทำให้เกิดอาการท้องเสียบ่อยที่สุด ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว หรือเป็นน้ำ แต่อาการมักไม่รุนแรง เพราะทั้งเด็ก และผู้ใหญ่มักมีภูมิต้านทานอยู่บ้างแล้ว เนื่องจาก ได้รับเชื้อนี้เข้าไปทีละน้อยอยู่เรื่อยๆ เชื้อนี้มักปนเปื้อนมากับอาหาร น้ำ หรือ มือของผู้ประกอบอาหาร ปกติเชื้อเหล่านี้อาจพบในอุจจาระได้อยู่แล้วแม้จะไม่มีอาการอะไร มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ไทย ลาว กัมพูชา อินโดนีเซีย เป็นต้น ถูกค้นพบโดย Theodur Escherich มีลักษณะเป็นรูปท่อน ติดสีแดง เป็นแกรมลบ เป็น Facultative aerobe.

ใหม่!!: กาแล็กโทสและEscherichia coli · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กาแลกโทสกาแลคโตสกาแล็กโตส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »