โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเลือกตั้งในกัมพูชา

ดัชนี การเลือกตั้งในกัมพูชา

การเลือกตั้งในกัมพูชามีสองระดับคือสมัชชาแห่งชาติ (ภาษาเขมร: រដ្ឋសភាជាតិ, Radhsphea) มีสมาชิก 123 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และพฤฒสภา(ภาษาเขมร: ព្រឹទ្ធសភា, Sénat) มีสมาชิก 61 คน แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของพรรคการเมืองในสมัชชาแห่งชาติ กัมพูชาเป็นประเทศที่มีพรรคการเมืองเด่นพรรคเดียว คือพรรคประชาชนกัมพูชา หลังจากมีการลงนามในสนธิสัญญาปารี..

10 ความสัมพันธ์: พรรคฟุนซินเปกพรรคสมรังสีพรรคประชาชนกัมพูชาพฤฒสภากัมพูชารัฐสภากัมพูชาสงครามกลางเมืองกัมพูชาองค์การบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชาองค์การนอกภาครัฐธนาคารโลกเขมรแดง

พรรคฟุนซินเปก

รรคฟุนซินเปก (FUNCINPEC; គណបក្ស ហ្វ៊ុនស៊ិនប៉ិច คณปกฺส หฺวุ̃นซินปิจ) เป็นพรรคการเมืองนิยมเจ้าในกัมพูชา โดยเป็นพรรคร่วมรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง..

ใหม่!!: การเลือกตั้งในกัมพูชาและพรรคฟุนซินเปก · ดูเพิ่มเติม »

พรรคสมรังสี

รถหาเสียงของสม รังสีระหว่างการเลือกตั้ง พ.ศ. 2551 พรรคสมรังสี (Sam Rainsy Party; ตัวย่อ: SRP; គណបក្ស សម រង្ស៊ី., Kanakpak Sam Rainsy) เป็นพรรคที่เน้นตัวบุคคลและเสรีนิยมในกัมพูชา พรรคนี้เป็นสมาชิกของสภาเสรีภาพและประชาธิปไตยแห่งเอเชีย ชื่อของพรรคตั้งตามสม รังสี หัวหน้าพรรค พรรคนี้ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: การเลือกตั้งในกัมพูชาและพรรคสมรังสี · ดูเพิ่มเติม »

พรรคประชาชนกัมพูชา

รรคประชาชนกัมพูชา (គណបក្សប្រជាជនកម្ពុជា คณบกฺสบฺรชาชนกมฺพุชา: KPK; Cambodian People’s Party เป็นพรรคที่สืบทอดมาจากพรรคปฏิวัติประชาชนกัมพูชาที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2522 การเปลี่ยนแปลงมาเป็นพรรคประชาชนกัมพูชาเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2534 โดยมีการเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ของพรรค ยกเลิกแนวคิดนิยมคอมมิวนิสต์ก่อนการประชุมสันติภาพที่ปารีส ผู้นำพรรคคือฮุน เซน และ เจีย ซิม พรรคเข้าร่วมการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2536 และได้คะแนนเสียงเป็นลำดับที่สอง ได้เข้าร่วมรัฐบาลผสมกับพรรคฟุนซินเปก โดยฮุน เซนได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สอง เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 ฮุน เซน เข้ายึดอำนาจและขับไล่สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ออกจากตำแหน่ง และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2541 ซึ่งพรรคได้เสียงมากที่สุดและได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลผสม.

ใหม่!!: การเลือกตั้งในกัมพูชาและพรรคประชาชนกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

พฤฒสภากัมพูชา

(ព្រឹទ្ធសភា พฺรึทฺธสภา; Senate) ชื่อเต็มว่า พฤฒสภาในพระราชาณาจักรกัมพูชา (ព្រឹទ្ធសភានៃព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺรึทฺธสภาไนพฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นสภาสูงในสภาผู้แทนราษฎรกัมพูชา คู่กับรัฐสภาซึ่งเป็นสภาล่าง พฤฒสภามีสภาชิก 61 คน 57 คนสภาท้องถิ่น (commune council) เลือกมาทุก 6 ปี ทีเหลือ 4 คน 2 คนพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง อีก 2 คนรัฐสภาแต่งตั้ง เพื่อทำหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนด พฤฒสภามีผู้บริหาร คือ ประธาน 1 คน และรองประธาน 2 คน พฤฒสภาประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 มีนาคม..

ใหม่!!: การเลือกตั้งในกัมพูชาและพฤฒสภากัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภากัมพูชา

รัฐสภา (រដ្ឋសភា รฎฺฐสภา; National Assembly) ชื่อเต็มว่า รัฐสภาในพระราชาณาจักรกัมพูชา (រដ្ឋសភានៃព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា รฎฺฐสภาไนพฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นสภาล่างในสภาผู้แทนราษฎรกัมพูชา คู่กับสภาสูง คือ.

ใหม่!!: การเลือกตั้งในกัมพูชาและรัฐสภากัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองกัมพูชา

งครามกลางเมืองกัมพูชา เป็นความขัดแย้งระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา (เขมรแดง) สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (เวียดนามเหนือ) และเวียดกงฝ่ายหนึ่งกับรัฐบาลสาธารณรัฐเขมรที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามนี้ซับซ้อนยิ่งขึ้นจากอิทธิพลและการกระทำของพันธมิตรคู่สงคราม การเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องของกองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) เป็นไปเพื่อป้องกันฐานที่มั่นทางตะวันออกของกัมพูชา ซึ่งหากเสียไปการดำเนินความพยายามทางทหารในเวียดนามใต้จะยากขึ้น หรัฐประหาร 18 มีนาคม..

ใหม่!!: การเลือกตั้งในกัมพูชาและสงครามกลางเมืองกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

องค์การบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชา

องค์การบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชา (United Nations Transitional Authority in Cambodia; អាជ្ញាធរអន្តរកាលសហប្រជាជាតិនៅកម្ពុជា อาชฺญาธรอนฺตรกาลสหบฺรชาชาติเนากมฺพุชา) หรือ อันแทก (UNTAC; អ.អ.ស.ប.ក. อ.อ...ก.) เป็นปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในกัมพูชาระหว่าง..

ใหม่!!: การเลือกตั้งในกัมพูชาและองค์การบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

องค์การนอกภาครัฐ

องค์การนอกภาครัฐ (non-governmental organisation หรือย่อว่า NGO) เป็นองค์การที่ไม่แสวงผลกำไร และดำเนินงานอยู่ภายนอกโครงสร้างการเมืองแบบสถาบัน โดยทั่วไปใช้เรียกกลุ่มรณรงค์ด้านสังคม วัฒนธรรม กฎหมาย และสิ่งแวดล้อมซึ่งไม่มีเป้าหมายหลักทางการค้า แต่เพื่ออุดมการณ์ในการปกป้องประชาชนไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาซึ่งไร้การจัดการที่ดี องค์การนอกภาครัฐมักจะได้รับเงินสนับสนุนส่วนหนึ่งจากภาคเอกชน เนื่องจากชื่อ "องค์การนอกภาครัฐ" นั้นกินความหมายกว้าง ปัจจุบัน ในประเทศไทยจึงนิยมใช้ว่า "องค์การอาสาสมัครเอกชน" (private voluntary organisation หรือ PVO), "องค์การพัฒนาเอกชน" (private development organisation หรือ PDO) หรือ "องค์การสาธารณประโยชน์".

ใหม่!!: การเลือกตั้งในกัมพูชาและองค์การนอกภาครัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ธนาคารโลก

นาคารโลก (World Bank) หรือเรียกว่า ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและวิวัฒนาการ (International Bank for Reconstruction and Development; IBRD) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ได้จัดตั้งขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยประเทศมหาอำนาจในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกได้ทำการฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมุ่งเน้นการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นองค์กรอยู่ในสังกัดขององค์การสหประชาชาติ มีสำนักงานใหญ่ตั้งที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 188 ประเทศ เงินทุนของธนาคารโลกได้มาจากการจำหน่ายพันธบัตรในตลาดการเงินสำคัญของโลก ค่าบำรุงจากประเทศสมาชิก และเงินค่าหุ้นของประเทศสมาชิก.

ใหม่!!: การเลือกตั้งในกัมพูชาและธนาคารโลก · ดูเพิ่มเติม »

เขมรแดง

ธงแดงรูปค้อนเคียวของพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา (ต่อมาคือพรรคกัมพูชาประชาธิปไตย) เขมรแดง (เขมร: ខ្មែរក្រហម; แขฺมรกฺรหม; อ่านว่า คแมร์กรอฮอม /ฝรั่งเศสและอังกฤษ: Khmer Rouge) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “กองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตย” (Armée nationale du Kampuchéa démocratique) คือ กองกำลังคอมมิวนิสต์กัมพูชา ที่เคยปกครองราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งในขณะนั้นถูกเปลี่ยนชื่อเป็นกัมพูชาประชาธิปไตย ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2522 เขมรแดงถือเป็นตัวแทนความสำเร็จเชิงอำนาจของพรรคการเมืองลัทธิคอมมิวนิสต์ในกัมพูชา ที่ต่อมาได้พัฒนาไปเป็น “พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา” (Communist Party of Kampuchea; Parti communiste du Kampuchéa – PCK) และ “พรรคกัมพูชาประชาธิปไตย” (Parti du Kampuchéa démocratique) รูปแบบการปกครองของเขมรแดงมีจุดประสงค์เพื่อสร้าง "สังคมใหม่" โดยใช้รากฐานทางอุดมการณ์ที่เรียกว่า "อุดมการณ์ปฏิวัติแบบเบ็ดเสร็จ" (idéologie de révolution totale) ที่มีการรักษาเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ เป็นตัวขับเคลื่อน สิ่งแรกที่เขมรแดงกระทำหลังจากได้รับอำนาจ คือ การกวาดต้อนประชาชนกัมพูชาทั้งหมดจากกรุงพนมเปญและเมืองสำคัญอื่น ๆ มาบังคับให้ทำการเกษตรและใช้แรงงานร่วมกันในพื้นที่ชนบท เพื่อจำแนกประชาชนที่ถือว่าเป็น "ศัตรูทางชนชั้น" ไม่ว่าจะเป็น ทหาร ข้าราชการ เชื้อพระวงศ์ ผู้มีการศึกษา หรือผู้มีวิชาชีพเฉพาะในด้านต่าง ๆ ออกมาเพื่อขจัดทิ้ง การกระทำดังกล่าวนี้ ส่งผลให้ประชาชนชาวกัมพูชาต้องเสียชีวิตจากการถูกสังหาร ถูกบังคับใช้แรงงาน และความอดอยาก เป็นจำนวนประมาณ 850,000 ถึง 3 ล้านคน ซึ่งเมื่อเทียบอัตราส่วนของประชาชนที่เสียชีวิตต่อจำนวนประชาชนกัมพูชาทั้งหมดในขณะนั้น (ประมาณ 7.5 ล้านคน ใน พ.ศ. 2518) ถือได้ว่าระบอบการปกครองของเขมรแดงเป็นหนึ่งในระบอบที่มีความรุนแรงที่สุดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 หลังจากที่เขมรแดงปกครองกัมพูชาเป็นระยะเวลา 4 ปี ใน..

ใหม่!!: การเลือกตั้งในกัมพูชาและเขมรแดง · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »