โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อในประเทศไทย

ดัชนี การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อในประเทศไทย

การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ (Party-list proportional representation) หรือ ปาร์ตีลิสต์ เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบหนึ่งของไทยตามที่บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 นอกจากระบบแบ่งเขต โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น โดยเลือกบัญชีรายชื่อใดบัญชีรายชื่อหนึ่งเพียงบัญชีเดียว โดยถือเขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง.

6 ความสัมพันธ์: พรรคการเมืองการเลือกตั้งการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในประเทศไทยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550สภาผู้แทนราษฎรไทย

พรรคการเมือง

รรคการเมือง เรียกย่อว่า พรรค คือองค์กรทางการเมืองที่รวมบุคคลที่มีอุดมการณ์เดียวกัน นั่นคือมีแนวความคิดทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ แบบเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน เพื่อส่งบุคคลเข้ารับเลือกตั้ง เพื่อให้ได้เสียงข้างมากในรัฐสภาและจัดตั้งรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศตามแนวความคิดหรือนโยบายที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ของกลุ่ม ลักษณะสำคัญที่สุดที่ทำให้พรรคการเมืองมีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มทางการเมืองอื่น ๆ ก็คือ พรรคการเมืองจะต้องมีความปรารถนาหรือต้องการที่จะเป็นรัฐบาล เพื่อจะได้มีโอกาสนำนโยบายของพรรคไปปฏิบัติจริง ในระบอบรัฐสภา พรรคการเมืองส่วนใหญ่จะมีผู้นำ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถ้าพรรคการเมืองนั้นได้รับเสียงข้างมาก จะรับหน้าที่เป็นผู้นำรัฐบาล ขณะที่ในระบอบประธานาธิบดี พรรคการเมืองอาจไม่มีผู้นำที่ชัดเจน โดยเฉพาะในระบบการเมืองที่มีการแยกอำนาจโดยสมบูรณ์ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองจะเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสำคัญมากและขาดไม่ได้ในกระบวนการปกครอง เพราะการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและมีอิทธิพลเหนือรัฐบาล โดยผ่านทางสภาผู้แทนราษฎร ๑)ความหมายของพรรคการเมือง หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความคิดและผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่คล้ายคลึงกัน.

ใหม่!!: การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อในประเทศไทยและพรรคการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

การเลือกตั้ง

การเลือกตั้งโดยการหย่อนบัตร การเลือกตั้ง (election) เป็นกระบวนการวินิจฉัยสั่งการอย่างเป็นทางการซึ่งประชาชนเลือกปัจเจกบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมือง การเลือกตั้งเป็นกลไกปกติที่ใช้ในระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 Encyclpoedia Britanica Online.

ใหม่!!: การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อในประเทศไทยและการเลือกตั้ง · ดูเพิ่มเติม »

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป..

ใหม่!!: การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อในประเทศไทยและการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในประเทศไทย

การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง' เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นรายบุคคลตามการแบ่งเขตเลือกตั้งที่กำหนด เขตละ 1 คน การคำนวณเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คน ต้องคำนวณจากจำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง เฉลี่ยด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 400 คน ส่วนจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีนั้น ให้นำจำนวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คนที่คำนวณได้มาเฉลี่ยจำนวนราษฎรในจังหวัดนั้น หากจังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คน ให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 1 คน และจังหวัดใดที่มีราษฎรเกินเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คนก็ให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้นอีก 1 คน ทุกจำนวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คน เมื่อได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละจังหวัดแล้ว ถ้าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังไม่ครบ 400 คน จังหวัดใดมีเศษเหลือจากการคำนวณมากที่สุดก็ให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้นอีก 1 คน และเพิ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามวิธีการดังกล่าวให้แก่จังหวัดที่มีเศษที่เหลือจากการคำนวณในลำดับรองลงมาตามลำดับจนครบ 400 คน ในการแบ่งเขตเลือกตั้งนั้น จังหวัดที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน 1 คนให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง และจังหวัดใดที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกิน 1 คน ต้องแบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งมีจำนวนเท่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมี โดยจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน และจังหวัดใดที่มีการแบ่งเขตเลือกตั้งมากกว่า 1 เขต ต้องแบ่งพื้นที่ของเขตเลือกตั้งแต่ละเขตให้ติดต่อกัน และต้องให้จำนวนราษฎรในแต่ละเขตใกล้เคียงกันด้ว.

ใหม่!!: การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อในประเทศไทยและการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในระหว่าง..

ใหม่!!: การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อในประเทศไทยและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 · ดูเพิ่มเติม »

สภาผู้แทนราษฎรไทย

ผู้แทนราษฎรไทย ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงทั้งหมด 500 คน และแบ่งการได้มาออกเป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จำนวน 350 คน และแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง โดยให้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง จำนวน 150 คน ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรูปแบบนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ทั้งนี้อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ สภาผู้แทนราษฎรมีหน้าที่โดยตรงในทางนิติบัญญัติ ซึ่งร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ จะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ ก็ด้วยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา และยังมีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินด้วย เช่น การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี การตั้งกระทู้ถาม และการเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ทั้งนี้ เป็นไปตามการปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ปัจจุบันสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎร จนถึงวันก่อนวันเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

ใหม่!!: การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อในประเทศไทยและสภาผู้แทนราษฎรไทย · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »