โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

ดัชนี การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Internet Access) หมายถึงการเชื่อมต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือคอมพิวเตอร์ใดๆ หรืออุปกรณ์มือถือ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการต่างๆในอินเทอร์เน็ตได้ (เช่นอีเมลและเวิลด์ไวด์เว็บ) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider, ISP) เสนอการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตให้ประชาชนทั่วไปผ่านทางเทคโนโลยีต่างๆที่มีความหลากหลายของอัตราการส่งสัญญาณข้อมูล (ความเร็ว) ผู้บริโภคใช้งานอินเทอร์เน็ต, ในช่วงต้นก่อนที่จะกลายเป็นที่นิยม, ผ่านทางโทรฯเข้า (dial-up) ซึ่งเป็นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในทศวรรษที่ 1980 และ 1990.

18 ความสัมพันธ์: บรอดแบนด์บรอดแบนด์ไร้สายวายแมกซ์วีดิทัศน์ตามคำขอสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศอินเทอร์เน็ตอินเทอร์เน็ตโพรโทคอลอีเมลผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจีพีอาร์เอสแลนแอลทีอีใยแก้วนำแสงเวิลด์ไวด์เว็บเอดจ์ (เครือข่ายไร้สาย)2 จี3 จี4 จี

บรอดแบนด์

ำว่า บรอดแบนด์ (Broadband) หมายถึงลักษณะสมบัติแบนด์วิดท์ที่กว้างของความถี่แม่เหล็กไฟฟ้าบนสื่อกลางการส่งและความสามารถในการขนส่งหลายสัญญาณและหลายประเภทของการจราจรได้พร้อมๆกัน สื่อกลางอาจเป็น สายเคเบิลแกนร่วม (coax), ใยแก้วนำแสง, สายเคเบิลตีเกรียว (twisted pair) หรือไร้สาย ตรงกันข้ามกับ baseband ที่เป็นระบบการสื่อสารที่ข้อมูลถูกส่งผ่านไปในความถี่เดียว.

ใหม่!!: การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและบรอดแบนด์ · ดูเพิ่มเติม »

บรอดแบนด์ไร้สาย

นรับสัญญาณบรอดแบนด์ไร้สายคลุมด้วยสิ่งป้องกัน 3 จาน ติดตั้งบนหลังคาอาคารในรัฐเท็กซัส ราวปี 2001 บรอดแบนด์ไร้สาย (wireless broadband) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงหรือการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในพื้นที่กว้าง.

ใหม่!!: การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและบรอดแบนด์ไร้สาย · ดูเพิ่มเติม »

วายแมกซ์

วายแมกซ์ (WiMAX เป็นชื่อย่อของ Worldwide Interoperability for Microwave Access) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงที่ถูกพัฒนาขึ้นมาบนมาตรฐาน IEEE 802.16 และได้พัฒนามาตรฐาน IEEE 802.16d ให้รองรับการทำงานแบบจุดต่อจุด ขึ้นโดยได้เผยแพร่เอกสารมาตรฐานฉบับสมบูรณ์เมื่อเดือนมกราคม ปี..

ใหม่!!: การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและวายแมกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

วีดิทัศน์ตามคำขอ

วีดิทัศน์ตามคำขอ, วีดิทัศน์ตามอุปสงค์ หรือ วีโอดี (video on demand, VOD) เป็นระบบที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเลือกรับชมหรือฟังเนื้อหาที่เป็นภาพและ/หรือเสียงเมื่อใดก็ตามที่ต้องการ แทนที่จะต้องรอรับชมเนื้อหาตามตารางเวลาหรือผังรายการที่กำหนดไว้ เทคโนโลยีไอพีทีวีมักได้รับการนำมาใช้เพื่อส่งวีดิทัศน์ตามคำขอเข้าสู่โทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ระบบวีดิทัศน์ตามคำขอทางโทรทัศน์สามารถทำได้ทั้งส่งเนื้อหาอย่างต่อเนื่องผ่านกล่องรับสัญญาณ, คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่นเพื่อดูเนื้อหานั้นในเวลาจริง และดาวน์โหลดเนื้อหาสู่อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์, เครื่องบันทึกวีดิทัศน์ดิจิทัล (หรือที่เรียกว่าเครื่องบันทึกวีดิทัศน์ส่วนตัว) หรือเครื่องเล่นสื่อแบบพกพาเพื่อรับชมในเวลาใดก็ได้ ผู้ให้บริการโทรทัศน์ทางสายเคเบิลและทางสายโทรศัพท์ส่วนใหญ่เสนอบริการวีดิทัศน์ตามคำขอทั้งสองประเภท ซึ่งรวมถึงเนื้อหาฟรีและเนื้อหาที่ต้องจ่ายเมื่อรับชม (pay-per-view) โทรทัศน์อินเทอร์เน็ตเป็นวีดิทัศน์ตามคำขอรูปแบบหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ เรายังสามารถเข้าถึงวีดิทัศน์ตามคำขอผ่านโปรแกรมประยุกต์ลูกข่ายในคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (เช่น ไอทูนส์) ได้ด้วย สายการบินบางแห่งให้บริการวีดิทัศน์ตามคำขอเป็นความบันเทิงในเที่ยวบินแก่ผู้โดยสาร โดยให้ผู้โดยสารแต่ละคนเป็นผู้ควบคุมการเล่นเนื้อหาผ่านหน้าจอที่ฝังตัวอยู่ในเบาะที่นั่งหรือที่วางแขน หรือบางแห่งก็ให้บริการผ่านเครื่องเล่นสื่อแบบพกพา บริษัทที่ให้บริการวีดิทัศน์ตามคำขอบางแห่ง (เช่น เน็ตฟลิกซ์) มีโครงสร้างธุรกิจขึ้นอยู่กับการสมัครสมาชิกซึ่งกำหนดให้ผู้ใช้ต้องจ่ายค่าบริการรายเดือนในการเข้าถึงเนื้อหา ในขณะที่บริษัทอื่น ๆ มีโครงสร้างธุรกิจขึ้นอยู่กับการโฆษณา โดยผู้ใช้สามารถเข้าถึงเนื้อหาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและตัวบริการต้องพึ่งการขายโฆษณาเป็นกระแสรายได้หลัก.

ใหม่!!: การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและวีดิทัศน์ตามคำขอ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

หภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union - ชื่อย่อ: ITU) เป็นองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งนับเป็นองค์การสากลที่เก่าแก่มากที่สุดอันดับสอง ที่ยังคงดำเนินการอยู่ โดยในระยะแรกเริ่ม ใช้ชื่อว่า สหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ (International Telegraph Union) จัดตั้งขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม..

ใหม่!!: การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

อินเทอร์เน็ต

วิถีการจัดเส้นทางผ่านส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้.

ใหม่!!: การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและอินเทอร์เน็ต · ดูเพิ่มเติม »

อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล

อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล ย่อว่า ไอพี​ (Internet Protocol: IP) หรือ เกณฑ์วิธีอินเทอร์เน็ต เป็นโพรโทคอลการสื่อสารที่สำคัญใน Internet protocol suite สำหรับถ่ายทอดดาต้าแกรม(หน่วยข้อมูลพื้นฐานของแพ็กเกต ซึ่งการส่ง, เวลาถึงและลำดับที่ถึง ไม่ถูกรับประกันโดยเครือข่าย)ข้ามเขตแดนเครือข่าย ฟังก์ชันการกำหนดเส้นทางของมันจะช่วยงานภายในเครื่อข่ายและก่อตั้งระบบอินเทอร์เน็ตขึ้น การทำงานของไอพีเป็นการทำงานแบบไม่รับประกันความถูกต้องของข้อมูล รุ่นปัจจุบันคือ IPv4 และกำลังอยู่ในช่วงผลักดันให้ใช้ IPv6 ในอดีต IP เป็นบริการดาต้าแกรมแบบ connectionless ใน Transmission Control Program เดิมที่ถูกแนะนำโดย Vint Cerf และบ๊อบ คาห์นในปี 1974; อีกตัวหนึ่งเป็น Transmission Control Protocol (TCP) แบบ connection-oriented ชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตจึงมักจะเรียกว่า TCP / IP รุ่นแรกของ IP, Internet Protocol เวอร์ชัน 4 (IPv4) เป็นโพรโทคอลที่โดดเด่นของอินเทอร์เน็ต ผู้รับช่วงต่อของมันคือ Internet Protocol เวอร์ชัน 6 (IPv6).

ใหม่!!: การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล · ดูเพิ่มเติม »

อีเมล

อีเมล (e-mail, email) หมายถึง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail) คือวิธีการหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจิทัล ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นหลัก ข้อความนั้นจะต้องประกอบด้วยเนื้อหา ที่อยู่ของผู้ส่ง และที่อยู่ของผู้รับ (ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่ง) เป็นอย่างน้อย บริการอีเมลบนอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้เริ่มมีการจัดตั้งมาจากอาร์พาเน็ต (ARPANET) และมีการดัดแปลงโค้ดจนนำไปสู่มาตรฐานของการเข้ารหัสข้อความ RFC 733 อีเมลที่ส่งกันในยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 นั้นมีความคล้ายคลึงกับอีเมลในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงจากอาร์พาเน็ตไปเป็นอินเทอร์เน็ตในคริสต์ทศวรรษ 1980 ทำให้เกิดรายละเอียดแบบสมัยใหม่ของการบริการ โดยส่งข้อมูลผ่านเกณฑ์วิธีถ่ายโอนไปรษณีย์อย่างง่าย (SMTP) ซึ่งได้เผยแพร่เป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 10 (RFC 821) เมื่อ..

ใหม่!!: การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและอีเมล · ดูเพิ่มเติม »

ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet service provider: ISP) คือ บริษัทที่ให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โดยผู้ให้บริการจะเชื่อมโยงลูกค้าเข้ากับเทคโนโลยีรับส่งข้อมูลที่เหมาะสมในการส่งผ่านอุปกรณ์โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต อย่างเช่น ไดอัล, ดีเอสแอล, เคเบิลโมเด็ม, ไร้สาย หรือการเชื่อมต่อระบบไฮสปีด ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอาจให้บริการ เปิดบัญชีชื่อผู้ใช้ในอีเมล ติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นโดยรับ-ส่ง ผ่านเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ ในบางครั้งผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตอาจให้บริการเก็บไฟล์ข้อมูลระยะไกล รวมถึงเรื่องเฉพาะทางอื่น เป็นต้น.

ใหม่!!: การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต · ดูเพิ่มเติม »

จีพีอาร์เอส

ีพีอาร์เอส หรือ GPRS เป็นตัวย่อ ของ General Packet Radio Service เป็นบริการส่งข้อมูลสำหรับโทรศัพท์มือถือแบบ GSM โดย GPRS มักถูกเรียกว่าเป็นโทรศัพท์มือถือยุค 2.5G ซึ่งอยู่ระหว่าง 2G และ 3G ทางเทคนิคแล้ว GPRS ใช้ช่องสัญญาณแบบ TDMA ของเครือข่าย GSM ในการส่งข้อมูล ในทางทฤษฎีแล้ว ความเร็วสูงสุดของ GPRS อยู่ที่ประมาณ 60 กิโลบิตต่อวินาที.

ใหม่!!: การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและจีพีอาร์เอส · ดูเพิ่มเติม »

แลน

แลน (Local Area Network หรือ LAN) หรือ ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันทั้งหมดโดยอาศัยสื่อกลาง มีการแบ่งแยกเครือข่ายออกเป็น 3 รูปแบบการเชื่อมโยงคือ การเชื่อมโยงภายในพื้นที่ระยะใกล้หรือ แลน (LAN) การเชื่อมโยงเครือข่ายระดับเมืองหรือแมน (MAN) และการเชื่อมโยงระยะไกลหรือแวน (WAN) โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบแลน มี 3 รูปแบบ คือ.

ใหม่!!: การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและแลน · ดูเพิ่มเติม »

แอลทีอี

แอลทีอี (LTE - Long Term Evolution) เป็นชื่อโครงการของระบบสื่อสารโทรศัพท์มือถือ 4G โดยมีเป้าหมายในการออกแบบให้สามารถส่งผ่านข้อมูลได้มากขึ้นและเร็วขึ้น แอลทีอีได้มีการเปิดตัวในชื่อโทรศัพท์มือถือ 4G LTE โดยเทเลียโซเนรา ในสตอกโฮล์ม และ ออสโล ในวันที่ 14 ธันวาคม 2552 โดยพัฒนาเพิ่มเติมจากระบบยูเอ็มทีเอส ของระบบ 3G 4G LTE มีความสามารถดาวโหลดได้สูงถึง 100Mbps ความเร็วอับโหลด 50Mbps และปิงต่ำกว่า 10 มิลลิวินาที โดยมีแบนด์วิทธ์อยู่ในช่วงระหว่างช่วง 1.4 เมกกะเฮิร์ตถึง 20 เมกกระเฮิร์ต ในวันที่ 18 สิงหาคม 2552 ทาง European Commission ได้ประกาศลงทุนเป็นจำนวนเงิน 18 ล้านยูโรในงานวิจัยและพัฒนา LTE Advanced.

ใหม่!!: การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและแอลทีอี · ดูเพิ่มเติม »

ใยแก้วนำแสง

ใยแก้วนำแสงใยแก้วนำแสง หรือ ออปติกไฟเบอร์ หรือ ไฟเบอร์ออปติก เป็นแก้วหรือพลาสติกคุณภาพสูง ที่สามารถยืดหยุ่นโค้งงอได้ โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 8-10 ไมครอน (10 ไมครอน.

ใหม่!!: การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและใยแก้วนำแสง · ดูเพิ่มเติม »

เวิลด์ไวด์เว็บ

แสดงตัวอย่างของเวิลด์ไวด์เว็บ ที่เชื่อมโยงกับวิกิพีเดีย เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web, WWW, W3; หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า เว็บ) คือพื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต โดยการกำหนดยูอาร์แอล คำว่าเวิลด์ไวด์เว็บมักจะใช้สับสนกับคำว่า อินเทอร์เน็ต จริง ๆ แล้วเวิลด์ไวด์เว็บเป็นเพียงแค่บริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต.

ใหม่!!: การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวด์เว็บ · ดูเพิ่มเติม »

เอดจ์ (เครือข่ายไร้สาย)

อดจ์ (Enhanced Data rates for GSM Evolution: EDGE) หรือ อีจีพีอาร์เอส (Enhanced GPRS: EGPRS) เป็นระบบอินเทอร์เน็ตไร้สาย 2.75G ในเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เป็นเทคโนโลยีตามมาตรฐานสากลที่กำหนดโดย ITU (International Telecommunications Union) คล้ายกับระบบจีพีอาร์เอส แต่มีความเร็วที่สูงกว่าคือที่ประมาณ 200-300 Kbps ซึ่งสูงกว่าจีพีอาร์เอสสี่เท่า แต่ในบางพื้นที่ถ้าหากใช้เอดจ์ไม่ได้ โทรศัพท์ก็จะเปลี่ยนไปใช้จีพีอาร์เอสเอง ช่วยให้การรับส่งข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือได้มากกว่าและรวดเร็วกว่า ทั้งการเข้า WAP และ WEB รับส่ง MMS, Video/Audio Streaming และ Interactive Gaming และเป็นก้าวสำคัญเพื่อการก้าวเข้าสู่ยุค 3G.

ใหม่!!: การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและเอดจ์ (เครือข่ายไร้สาย) · ดูเพิ่มเติม »

2 จี

2 จี (2G) เป็นชื่อย่อของ มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 โดยเป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานบนจีเอสเอ็ม ซึ่งถูกใช้งานโดย เรดิโอลินจา ของประเทศฟินแลนด์ (ปัจจุบันคือ อีลีซา) ในปี พ.ศ. 2534 โดยสามารถสื่อสารด้วยระบบดิจิตอลในยุคใหม่ได้ ซึ่ง 2 จีเป็นกลไลสำคัญในการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมในยุคใหม่ โดยสามารถส่งบริการข้อความสั้น และเข้าถึงอินเทอร์เน็ตด้วยจีพีอาร์เอส ได้.

ใหม่!!: การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและ2 จี · ดูเพิ่มเติม »

3 จี

3 จี (3G,3rd generation mobile telecommunications) เป็นมาตรฐานโทรศัพท์มือถือในยุคที่ 3 ถูกพัฒนาเพื่อแทนที่ ระบบโทรศัพท์ 2G ซึ่ง 3G นั้นได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานของมาตรฐาน IMT-2000 ภายใต้กลุ่มของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ มาตรฐานโทรศัพท์มือถือยุคที่ 3 หรือที่เรียกว่า ระบบ UMTS หรือ W-CDMA ในระบบ GSM ใช้ช่วงความถี่ตั้งแต่ 850, 900, 1800, 1900 และ 2100 ผสานเทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูล ใช้งานด้านมัลติมีเดีย ส่งผ่านข้อมูลทั้งภาพและเสียงในระบบไร้สายด้วยความเร็วที่สูง.

ใหม่!!: การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและ3 จี · ดูเพิ่มเติม »

4 จี

4G (สี่จี หรือ โฟร์จี) กล่าวถึงมาตรฐานโทรศัพท์มือถือที่เป็นรุ่นมาตรฐานที่ต่อจาก 3G และ 2G ซึ่ง 4G จะสามารถเล่นบนคลื่นความถี่ 2100 2500 และ 2600 ขึ้นอยู่กับภูมิภาคและผู้ให้บริการ ในขณะนี้ประเทศไทยได้มีแค่การรับรองมาตรฐานบนคลื่นความถี่ 2100 เท่านั้น ซึ่งทรูมูฟเอชเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ดีแทคเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 รุดหน้าเปิดบริการ 4G LTE จะสามารถเล่นบนคลื่นความถี่ 2100 2500 และ 2600 คลื่นความถี่ 1800 ซึ่งเอไอเอส 4 จี แอดวานซ์ เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558.

ใหม่!!: การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและ4 จี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Internet access

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »