โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน

ดัชนี การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันเป็นกระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมที่รูปแบบการสร้างโครงสร้างและส่วนประกอบของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งปฏิบัติต่อการคำนวณว่าเป็นการประเมินผลฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์และหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงสถานะและข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงได้ โดยเป็นกระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมเชิงประกาศซึ่งหมายความหรือการประกาศแทนข้อความสั่ง ในโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน ค่าผลลัพธ์ของฟังก์ชันขึ้นอยู่กับที่นำเข้าสู่ฟังก์ชันเท่านั้น ดังนั้นการเรียกฟังก์ชัน f สองครั้งด้วยค่าอาร์กิวเมนต์ x เดียวกันจะให้ค่าผลลัพธ์ f(x) เท่ากันทุกครั้ง การกำจัดผลข้างเคียง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสถานะที่ไม่ขึ้นกับสิ่งที่นำเข้าฟังก์ชัน สามารถทำให้ง่ายขึ้นที่จะทำความเข้าใจและพยากรณ์พฤฒิกรรมของโปรแกรมซึ่งเป็นหนึ่งในแรงจูงใจของการพัฒนาของการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันมีรากฐานมาจากแคลคูลัสแลมบ์ดาซึ่งเป็นระบบรูปนัยที่พัฒนาในคริสต์ทศวรรษ 1930 เพื่อค้นEntscheidungsproblem นิยามของฟังก์ชัน การประยุกต์ฟังก์ชัน และการเรียกซ้ำ ภาษาการใส่รายละเอียดเพิ่มจากแคลคูลัสแลมบ์ดา กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมเชิงประกาศที่เป็นที่รู้จักอื่น ๆ การเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ มีพื้นฐานอยู่บนความสัมพันธ์เชิงตรรกะ ในกลับโปรแกรมเชิงคำสั่งเปลี่ยนสถานะด้วยคำสั่งในภาษาต้นทาง ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดคือการกำหนดค่า การเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่งไม่มีฟังก์ชันในความหมายแบบคณิตศาสตร์แต่มีในความหมายแบบซับรูทีน ซึ่งมีผลข้างเคียงที่อาจะเปลี่ยนค่าของสถานะของโปรแกรมได้ ฟังก์ชันที่ไม่คืนค่าจึงสมเหตุสมผลเพราะขาดความโปร่งใสในการอ้างอิง ได้แก่นิพจน์เดียวกันทางภาษาสามารถให้ผลลัพธ์ที่มีค่าต่างกันได้ในเวลาที่ต่างกันขึ้นกับสถานะของโปรแกรมที่กำลังกระทำการ ภาษาโปรแกรมเชิงฟังก์ชันโดยเฉพาะภาษาโปรแกรมเชิงฟังก์ชันบริสุทธิ เช่น ภาษาโฮปถูกในความสำคัญในวงการวิชาการมากกว่าในการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตามภาษาโปรแกรมที่มีชื่อเสียงซึ่งสนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน เช่น ภาษาคอมมอนลิสป์ ภาษา Scheme ภาษา Clojure ภาษา Wolfram (หรือ ภาษา Mathematica) ภาษา Racket ภาษาเออร์แลง ภาษา OCaml ภาษา Haskell และภาษาเอฟชาร์ป ใช้ในโปรแกรมประยุกต์เชิงอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์โดยองค์กรอย่างกว้างขวาง การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันยังได้รับการรองรับในภาษาเขียนโปรแกรมเฉพาะทางบางภาษา เช่น ภาษาอาร์ (สถิติ) ภาษาเจ ภาษาเค และภาษาคิวจาก Kx Systems (การวิเคราะห์ทางการคลัง) XQuery/XSLT (เอกซ์เอ็มแอล) และภาษาโอปอล ภาษาเชิงประกาศเฉพาะทางที่ใช้งานอย่างกว้างขวางเช่น ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง และ Lex/Yacc ใช้บางส่วนประกอบของการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันโดยเฉพาะใน eschewing วัตถุที่เปลี่ยนแปลงได้.

19 ความสัมพันธ์: ฟังก์ชัน (คณิตศาสตร์)การเรียกซ้ำการเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่งการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะภาษาพีเอชพีภาษาสอบถามเชิงโครงสร้างภาษาอาร์ภาษาจาวาภาษาซีชาร์ปภาษาซีพลัสพลัส11ภาษาเพิร์ลภาษาเอฟชาร์ปภาษาเออร์แลงวิทยาการคอมพิวเตอร์สมาคมคอมพิวเตอร์เอซีเอ็มสถานะซับรูทีนแคลคูลัสแลมบ์ดาเอกซ์เอ็มแอล

ฟังก์ชัน (คณิตศาสตร์)

ในคณิตศาสตร์ ฟังก์ชัน คือ ความสัมพันธ์ จากเซตหนึ่งที่เรียกว่าโดเมน ไปยังอีกเซตหนึ่งที่เรียกว่าโคโดเมน (บางครั้งคำว่าเรนจ์อาจถูกใช้แทน แต่เรนจ์นั้นมีความหมายอื่นด้วย "โคโดเมน" จึงเป็นที่นิยมมากกว่า เพราะไม่กำกวม) โดยที่สมาชิกตัวหน้าไม่ซ้ำกัน ความคิดรวบยอดของฟังก์ชันนี้เป็นพื้นฐานของทุกสาขาของคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เชิงปริมาณ.

ใหม่!!: การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันและฟังก์ชัน (คณิตศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

การเรียกซ้ำ

การเรียกซ้ำ (recursion) หรือ การเวียนเกิด (recurrence) เป็นปรากฏการณ์ที่มีการกลับไปอ้างอิงถึงตนเอง (self-reference) หรือมีนิยามเช่นเดียวกันในลำดับต่ำลงไป ปรากฏการณ์นี้มีปรากฏในหลายด้านเช่น คณิตศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ศิลปะ ดนตรี การสร้างปฏิทรรศน์ เป็นต้น.

ใหม่!!: การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันและการเรียกซ้ำ · ดูเพิ่มเติม »

การเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง

ในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง คือกระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมที่เขียนบรรยายการคำนวณในรูปแบบของคำสั่งที่เปลี่ยนแปลงสถานะของโปรแกรม หากเปรียบกับภาษาธรรมชาติที่ใช้กันในชีวิตประจำวันที่คำสั่งคือการสั่งให้ปฏิบัติ การเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่งก็คือการเขียนกำหนดลำดับของคำสั่งในการทำงานสำหรับคอมพิวเตอร์ คำนี้ ถูกใช้เป็นคำตรงข้ามกับการเขียนโปรแกรมเชิงประกาศ ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์ที่ว่าโปรแกรมควรจะบรรลุเป้าหมายอะไรโดยไม่ระบุรายละเอียดลำดับขั้นตอนว่าจะต้องทำอะไรบ้าง หมวดหมู่:กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรม.

ใหม่!!: การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันและการเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง · ดูเพิ่มเติม »

การเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ

การเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ (Logic programming) เป็นแนวทางการเขียนโปรแกรม (programming paradigm) แบบหนึ่ง โดยกำหนดเซตคุณลักษณะ (attribute) ของคำตอบ แทนที่จะกำหนดขั้นตอนที่ทำให้ได้คำตอบ ภาษาโปรแกรมสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะที่ใช้อย่างกว้างขวาง คือ ภาษาโปรล็อก (Prolog) อีกภาษาหนึ่งที่ใช้ในเชิงการค้า คือ ภาษาเมอร์คิวรี (Mercury) การเขียนโปรแกรมแบบนี้มีหลักการคือ ความจริง + ก.

ใหม่!!: การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันและการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพีเอชพี

ีเอชพี (PHP) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะเซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์ โดยลิขสิทธิ์อยู่ในลักษณะโอเพนซอร์ส ภาษาพีเอชพีใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่งมาจากภาษา ภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่ง ภาษาพีเอชพี นั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่มีการตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว.

ใหม่!!: การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันและภาษาพีเอชพี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง

ษาสอบถามเชิงโครงสร้าง (Structured Query Language: SQL, อ่านอย่างย่อว่า เอสคิวแอล, ซีเควล, ซีควล) เป็นภาษาสอบถามที่นิยมมากที่สุดของการจัดการฐานข้อมูล สำหรับสร้าง แก้ไขและเรียกใช้ฐานข้อมูล โดยใช้มาตรฐานของแอนซี (ANSI) และ ไอเอสโอ (ISO) ปัจจุบันการใช้งานใช้ในหลายจุดประสงค์มากกว่าใช้สำหรับจัดการโปรแกรมเชิงวัตถุที่เป็นจุดประสงค์แรกของการสร้างภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง.

ใหม่!!: การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันและภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาร์

ัญลักษณ์ภาษาอาร์ อาร์ (R) หรือ ภาษาอาร์ เป็นภาษาโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์สำหรับวิเคราะห์ทางด้านสถิติ ภาษาอาร์เป็นที่นิยมใช้ในหมู่นักสถิติในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์สถิติเอง และการวิเคราะห์ข้อมูล ภาษาอาร์ได้ถูกนำมาเปรียบเทียบกับซอฟต์แวร์สถิติตัวอื่น อาทิ SAS, SPSS และ Stata โดยในปี 2552 ทางนิวยอร์กไทมส์ได้มีบทความเกี่ยวกับภาษาอาร์กล่าวถึงการยอมรับซอฟต์แวร์ตัวนี้ในหมู่นักสถิติ และการนำมาประยุกต์ในงานสถิติ ซึ่งมีผลต่อยอดขายกับซอฟต์แวร์ตัวอื่น อาทิ SAS ภาษาอาร์เป็นซอฟต์แวร์ฟรีในรูปแบบของโอเพนซอร์ซซึ่งสามารถนำไปใช้งานได้ฟรี และแจกจ่ายได้ฟรี.

ใหม่!!: การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันและภาษาอาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจาวา

ลโก้ของภาษาจาวา ภาษาจาวา (Java programming language) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming) พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการกรีน (the Green Project) และสำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ซึ่งภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส (C++) โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา" ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน และแม้ว่าจะมีชื่อคล้ายกัน แต่ภาษาจาวาไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ปัจจุบันมาตรฐานของภาษาจาวาดูแลโดย Java Community Process ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการ ที่อนุญาตให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกำหนดความสามารถในจาวาแพลตฟอร์มได้.

ใหม่!!: การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันและภาษาจาวา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซีชาร์ป

ษาซีชาร์ป (C♯ Programming Language) เป็นภาษาโปรแกรมแบบหลายโมเดล ที่ใช้ระบบชนิดข้อมูลแบบรัดกุม (strong typing) และสนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง การเขียนโปรแกรมเชิงประกาศ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเขียนโปรแกรมเชิงกระบวนการ การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (แบบคลาส) และการเขียนโปรแกรมเชิงส่วนประกอบ พัฒนาเริ่มแรกโดยบริษัทไมโครซอฟท์เพื่อทำงานบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก โดยมีแอนเดอร์ เฮลส์เบิร์ก (Anders Hejlsberg) เป็นหัวหน้าโครงการ และมีรากฐานมาจากภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอื่นๆ (โดยเฉพาะภาษาเดลไฟและจาวา) โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นภาษาสมัยใหม่ที่ไม่ซับซ้อน ใช้งานได้ทั่วไป (general-purpose) และเป็นเชิงวัตถุเป็นหลัก ปัจจุบันภาษาซีซาร์ปมีการรับรองให้เป็นมาตรฐานโดยเอ็กมาอินเตอร์เนชันแนล (Ecma International) และองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยารมาตรฐาน (ISO) และมีรุ่นล่าสุดคือ C♯ 5.0 ที่ออกมาเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม..

ใหม่!!: การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันและภาษาซีชาร์ป · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซีพลัสพลัส11

ษาซีพลัสพลัส11 (C++11) หรือชื่อเดิม ภาษาซีพลัสพลัสโอเอกซ์ (C++0x; โอ หมายถึงศูนย์) คือมาตรฐานภาษาซีพลัสพลัสฉบับที่มาแทนที่ภาษาซีพลัสพลัส03 (C++03) ได้รับอนุมัติจากองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม..

ใหม่!!: การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันและภาษาซีพลัสพลัส11 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเพิร์ล

right ภาษาเพิร์ล (Perl) (ย่อมาจาก Practical Extraction and Report Language) เป็นภาษาโปรแกรมแบบไดนามิก พัฒนาโดยนายแลร์รี วอลล์ (Larry Wall) ในปี ค.ศ. 1987 เพื่อใช้งานกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ภาษาเพิร์ล นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย โครงสร้างของภาษาจึงไม่ซับซ้อน มีลักษณะคล้ายกับภาษาซี นอกจากนี้เพิร์ลยังได้แนวคิดบางอย่างมาจากเชลล์สคริปต์, ภาษา AWK, sed และ Lisp ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดคือ 5.18.0.

ใหม่!!: การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันและภาษาเพิร์ล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเอฟชาร์ป

ษาเอฟชาร์ป (F#) เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบ strongly typed บนดอตเน็ตเฟรมเวิร์กและ Mono ที่สนับสนุนโมเดลการเขียนโปรแกรมหลายแบบรวมทั้ง การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ และการเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง F# เป็นภาษาดอตเน็ต สามารถเรียกใช้เอพีไอของดอตเน็ต และถูกเรียกจากภาษาดอตเน็ตอื่นๆ นอกจากนั้น F# ยังสามารถถูกใช้กับโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ เขียนโปรแกรมสำหรับหน่วยประมวลผลกราฟิกส์ หรือ GPU และใช้เขียนโปรแกรมสำหรับแมคโอเอสเท็น ไอโอเอส และ แอนดรอยด์ โดยใช้ Programming tool สร้างโดยบริษัท Xamarin.

ใหม่!!: การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันและภาษาเอฟชาร์ป · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเออร์แลง

ษาเออร์แลง (Erlang Programming Language) เป็นภาษาโปรแกรมที่ออกแบบมาให้มีลักษณะพร้อมทำงานหลายอย่างพร้อมกัน (concurrent) ภาษาเออร์แลงออกแบบโดยบริษัทอีริคสัน ใน ค.ศ. 1987 สำหรับระบบที่ทำงานต่อเนื่องไม่ได้หยุด สามารถสลับ (swap) โค้ดของโปรแกรมโดยไม่ต้องหยุดการทำงานของโปรแกรมได้ อีริคสันได้เผยแพร่ซอร์สโค้ดของภาษาเออร์แลงในปี ค.ศ. 1998 ชื่อ "เออร์แลง" นั้นตั้งตาม Agner Krarup Erlang นักคณิตศาสตร์ชาวเดนมาร์ก แต่สามารถหมายถึงตัวย่อของคำว่า ERicsson LANGuage ได้ด้วย ซึ่งเรื่องนี้ Bjarne Däcker หัวหน้าห้องวิจัยคอมพิวเตอร์ของอีริคสันในช่วงที่สร้างภาษาเออร์แลงเปิดเผยว่า เป็นความตั้งใจตั้งแต่แรกที่ให้มีสองความหม.

ใหม่!!: การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันและภาษาเออร์แลง · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาการคอมพิวเตอร์

วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer science) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ เครือข่าย ซึ่งวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับนามธรรม หรือความคิดเชิงทฤษฎี เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ขั้นตอนวิธี ไปจนถึงระดับรูปธรรม เช่น ทฤษฎีภาษาโปรแกรม ทฤษฎีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทฤษฎีฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และ ทฤษฎีเครือข่าย ในแง่ของศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นหนึ่งในห้าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิทยาศาสตรคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร และ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือ ระบบสารสนเทศทางธุรก.

ใหม่!!: การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันและวิทยาการคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมคอมพิวเตอร์เอซีเอ็ม

มาคมคอมพิวเตอร์เอซีเอ็ม (Association for Computing Machinery: ACM) คือ สมาคมระหว่างประเทศทางด้านคอมพิวเตอร์ ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันและสมาคมคอมพิวเตอร์เอซีเอ็ม · ดูเพิ่มเติม »

สถานะ

นะ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันและสถานะ · ดูเพิ่มเติม »

ซับรูทีน

ในด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซับรูทีน (subroutine) เป็นลำดับของคำสั่งโปรแกรมที่กระทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง และถูกรวมกันเป็นหนึ่งหน่วย หน่วยนี้สามารถใช้ในโปรแกรม ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งที่งานนั้น ๆ จะเข้าไปกระทำ โปรแกรมย่อยอาจถูกกำหนดขึ้นภายในโปรแกรมต่าง ๆ หรือถูกกำหนดแยกอยู่ในคลัง (library) ที่โปรแกรมหลายโปรแกรมสามารถเรียกใช้ ในแต่ละภาษาโปรแกรม ซับรูทีนชุดหนึ่งอาจเรียกว่า กระบวนงาน (procedure) ฟังก์ชัน (function) รูทีน (routine) เมท็อด (method) หรือโปรแกรมย่อย บางครั้งใช่คำเรียกทั่วไปว่า หน่วยที่เรียกใช้ได้ (callable unit).

ใหม่!!: การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันและซับรูทีน · ดูเพิ่มเติม »

แคลคูลัสแลมบ์ดา

แคลคูลัสแลมบ์ดา (หรือ λ-calculus) เป็นระบบรูปนัยในคณิตตรรกศาสตร์ที่ใช้ในการคำนวณ พื้นฐานของระบบประกอบไปด้วยการสร้างฟังก์ชันและการเรียกใช้ฟังก์ชันโดยใช้การโยงของตัวแปรและการแทนที่ตัวแปร นักคณิตศาสตร์อลอนโซ เชิร์ชได้คิดค้นแคลคูลัสแลมบ์ดาขึ้นมาในช่วงปี 1930 เพื่อสำรวจหารากฐานของคณิตศาสตร์ แคลคูลัสแลมบ์ดาเป็นแบบจำลองสากลในการคำนวณเทียบเท่ากับเครื่องจักรทัวริง (ความเท่าเทียมกันของาองระบบทั้งสองรู้จักได้รับการพิสูจน์ในแนวคิดหลักของเชิร์ช–ทัวริงในปี 1937) คำว่า "แลมบ์ดา" ซึ่งเป็นอักขระกรีก (λ) ปรากฏในพจน์แลมบ์ดา (หรืออาจจะเรียกว่านิพจน์แลมบ์ดา) ซึ่งใช้ในการแสดงถึงการโยงตัวแปรในฟังก์ชัน แคลคูลัสแลมบ์ดามีสองรูปแบบ: แบบมีชนิดข้อมูล และ ไม่มีชนิดข้อมูล ในแคลคูลัสแลมบ์ดาที่มีชนิดข้อมูล ฟังก์ชันสามารถเรียกใช้ได้เมื่อชนิดของฟังก์ชันสอดคล้องกับชนิดของข้อมูลนำเข้าของฟังก์ชันเท่านั้น มีการนำแคลคูลัสแลมบ์ดาไปประยุกต์ใช้ในหลากหลายด้านในคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาศาสตร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ แคลคูลัสแลมบ์ดายังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาของทฤษฎีของภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรมแบบฟังชันเป็นผลมาจากแคลคูลัสแลม.

ใหม่!!: การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันและแคลคูลัสแลมบ์ดา · ดูเพิ่มเติม »

เอกซ์เอ็มแอล

อกซ์เอ็มแอล (XML: Extensible Markup Language ภาษามาร์กอัปขยายได้) เป็นภาษามาร์กอัปสำหรับการใช้งานทั่วไป พัฒนาโดยW3C โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็น สิ่งที่เอาไว้ติดต่อกันในระบบที่มีความแตกต่างกัน (เช่นใช้คอมพิวเตอร์มี่มีระบบปฏิบัติการคนละตัว หรืออาจจะเป็นคนละโปรแกรมประยุกต์ที่มีความต้องการสื่อสารข้อมูลถึงกัน) นอกจากนี้ยังเพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างภาษามาร์กอัปเฉพาะทางอีกขั้นหนึ่ง XML พัฒนามาจาก SGML โดยดัดแปลงให้มีความซับซ้อนลดน้อยลง XML ใช้ในแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน และเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต XML ยังเป็นภาษาพื้นฐานให้กับภาษาอื่นๆ อีกด้วย (ยกตัวอย่างเช่น Geography Markup Language (GML), RDF/XML, RSS, MathML, Physical Markup Language (PML), XHTML, SVG, MusicXML และ cXML) ซึ่งอนุญาตให้โปรแกรมแก้ไขและทำงานกับเอกสารโดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในภาษานั้นมาก่อน.

ใหม่!!: การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันและเอกซ์เอ็มแอล · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »