โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การออกเสียง

ดัชนี การออกเสียง

การออกเสียง อาจเรียกว่า เสียงอ่าน คำอ่าน หรือแม้แต่ การอ่าน หมายถึงวิธีการหรือรูปแบบของคำหรือวลีในภาษาที่ถูกพูดหรือเปล่งเสียงออกมา ถ้ากล่าวถึง "การออกเสียงที่ถูกต้อง" จะหมายถึงการออกเสียงโดยอิงสำเนียงที่เฉพาะเจาะจงอย่างหนึ่ง เช่นสำเนียงกลางมาตรฐาน ปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหลากหลายสามารถพูดคำหรือวลีหนึ่ง ๆ ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างอาทิ ภูมิภาคที่พวกเขาเติบโตหรืออาศัยอยู่ หรือในกรณีที่พวกเขามีความผิดปกติในการพูดหรือความผิดปกติในการเปล่งเสียง กลุ่มชาติพันธุ์ ชั้นชนทางสังคม หรือการศึกษาของพวก.

13 ความสัมพันธ์: ชาติพันธุ์วิทยาพยางค์การศึกษาการอ่านภาษาภาษาศาสตร์ภาษาถิ่นวลีสัทวิทยาสัทศาสตร์สัทอักษรสากลหน่วยเสียงคำ

ชาติพันธุ์วิทยา

ติพันธุ์วิทยา หรือ ชาติวงศ์วิทยา หรือ ชนชาติวิทยา (ethnology) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของมานุษยวิทยา ที่ศึกษาและเปรียบเทียบเกี่ยวกับความเชื่อและวิธีปฏิบัติของแต่ละสังคม เป้าหมายหนึ่งคือ การศึกษาประวัติศาสตร์มนุษย์ กฎทางวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม และนัยทั่วไปเกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์ สำหรับผู้ที่ศึกษาในสาขาวิชานี้ จะเรียกว่า "นักชาติพันธุ์วิทยา" (ethnologist) คำว่า ethnology ถูกใช้ครั้งแรกโดยนักประวัติศาสตร์ชาวสโลวัค Adam František Kollár (1718–1783) โดยมาจาก 2 คำในภาษากรีก คือ ethnos ("ชนชาติ") และ logos ("การศึกษา").

ใหม่!!: การออกเสียงและชาติพันธุ์วิทยา · ดูเพิ่มเติม »

พยางค์

งค์ หมายถึงหน่วยหนึ่งขององค์ประกอบในลำดับของเสียงที่ใช้สื่อสารด้วยคำพูด พยางค์โดยทั่วไปเกิดขึ้นจากแกนพยางค์ (syllable nucleus) ซึ่งมักจะเป็นเสียงสระ และอาจมีเสียงขึ้นต้นและเสียงลงท้ายเป็นเสียงพยัญชนะในพยางค์ พยางค์ถูกจัดว่าเป็นส่วนประกอบของคำในการศึกษาระบบเสียงในภาษา (phonology) ซึ่งมีอิทธิพลต่อจังหวะในภาษา ฉันทลักษณ์ ลักษณะคำประพันธ์ รูปแบบการเน้นเสียง เป็นต้น คำหนึ่งคำอาจอบขึ้นจากพยางค์เพียงพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ การเขียนสัญลักษณ์แทนพยางค์เริ่มมีขึ้นเมื่อไม่กี่ร้อยปีก่อนที่จะมีการใช้ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรก สัญลักษณ์แทนพยางค์ในสมัยนั้นถูกบันทึกลงบนแผ่นจารึกเมื่อประมาณ 2,800 ปีก่อนคริสตกาลโดยชาวสุเมเรียน สิ่งนี้เป็นตัวผลักดันให้อักษรภาพที่เขียนกันมาแต่เดิมถูกเปลี่ยนเป็นการเขียนแทนพยางค์ ซึ่งเป็นก้าวหนึ่งที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของระบบการเขียน.

ใหม่!!: การออกเสียงและพยางค์ · ดูเพิ่มเติม »

การศึกษา

การศึกษา ในความหมายทั่วไปอย่างกว้างที่สุด เป็นวิธีการส่งผ่านจุดมุ่งหมายและธรรมเนียมประเพณีให้ดำรงอยู่จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง โดยทั่วไป การศึกษาเกิดขึ้นผ่านประสบการณ์ใด ๆ ซึ่งมีผลกระทบเชิงพัฒนาต่อวิธีที่คนคนหนึ่งจะคิด รู้สึกหรือกระทำ แต่ในความหมายเทคนิคอย่างแคบ การศึกษาเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการซึ่งสังคมส่งผ่านความรู้ ทักษะ จารีตประเพณีและค่านิยมที่สั่งสมมาจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง นั่นคือ การสอนในสถานศึกษา สำหรับปัจจุบันนี้มีการแบ่งระดับชั้นทางการศึกษาออกเป็นขั้นๆ เช่น การศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ทั้งนี้รวมไปถึงระดับอาชีวศึกษา อุดมศึกษา และการฝึกงาน สำหรับประเทศไทย มีกฎหมายบังคับให้ประชาชนไทยทุกคนต้องจบการศึกษาภาคบังคับ และสามารถเรียนได้จนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ในปัจจุบันยังเปิดโอกาสให้มีการเรียนการสอนโดยผู้ปกครองที่บ้านหรือที่เรียกว่าโฮมสคูลอีกด้วย คำว่า "education" เป็นศัพท์จากภาษาลาติน ēducātiō ("การปรับปรุง,การอบรม") จาก ēdūcō ("ฉันรู้, ฉันฝึก") สำหรับการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาต..

ใหม่!!: การออกเสียงและการศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

การอ่าน

ฟรซโกเกี่ยวกับการอ่าน การอ่านเป็นกระบวนการรู้การถอดรหัสสัญลักษณ์ที่ซับซ้อนเพื่อสร้างหรือเอาความหมาย (ความเข้าใจซึ่งการอ่าน) การอ่านเป็นวิธีการได้มาซึ่งภาษา การสื่อสารและแบ่งปันสารสนเทศและความคิด เช่นเดียวกับทุกภาษา การอ่านเป็นอันตรกิริยาซับซ้อนระหว่างข้อความและผู้อ่านซึ่งเกิดขึ้นโดยความรู้ ประสบการณ์ เจตคติและชุมชนภาษาเดิมของผู้อ่านซึ่งวัฒนธรรมและสังคมกำหนด กระบวนการการอ่านต้องอาศัยการฝึกฝน การพัฒนาและการขัดเกลาอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากนี้ การอ่านยังต้องการความคิดสร้างสรรค์และการวิเคราะห์วิจารณ์ (critical analysis).

ใหม่!!: การออกเสียงและการอ่าน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษา

ษาในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง การพูดอะไรก็ได้ที่เป็นภาษาเช่น สวัสดี คน สวย ให้ พี่ ไป ส่ง ป่าว เป็นราก...

ใหม่!!: การออกเสียงและภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาศาสตร์

ษาศาสตร์ (linguistics) คือ การศึกษาเกี่ยวกับภาษามนุษย์ ผู้ที่ศึกษาในด้านนี้เรียกว่า นักภาษาศาสตร.

ใหม่!!: การออกเสียงและภาษาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาถิ่น

ษาถิ่น หรือ สำเนียง คือ ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียงเป็นต้น เช่น ในแต่ละภาคของประเทศไทยมีภาษาถิ่นประจำภาคนั้น ดังนี้ ภาคเหนือมีภาษาถิ่นพายัพเช่น ปิ๊กบ้าน ภาคอีสานมีภาษาถิ่นอีสานเช่น เมื่อบ้าน ภาคใต้มีภาษาถิ่นใต้เช่น หลบเริน (แผลงมาจาก "กลับเรือน") และภาคกลางมีภาษาไทยกลางเช่น กลับบ้าน เป็นต้น ทั้งนี้ ทุกภาษาถิ่นในประเทศไทยคงใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ที่สอดคล้องกัน แต่มักจะแตกต่างกันในเรื่องของวรรณยุกต์ ถ้อยคำ และสำเนียง เป็นต้น ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของภาษาถิ่นนั้น หากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย และมีภาษาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก ซึ่งภาษาถิ่นนั้นมักเป็นเรื่องของภาษาพูดหรือภาษาท่าทาง มากกว่า การกำหนดภาษาหลักหรือภาษาถิ่นนั้น นักภาษาศาสตร์จะพิจารณาคุณลักษณะในเชิงภาษาเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ภาษาไทย และภาษาลาวถือว่าต่างก็เป็นภาษาถิ่นของกันและกัน (อาจนับภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นภาษาหลักก็ได้ โดยไม่มีนัยสำคัญทางภาษาศาสตร์) แต่เนื่องจากภาษาถิ่นทั้งสองอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของสองประเทศ โดยทั่วไปจึงถือว่าเป็นคนละภาษา;แนวคิดในการจำแนกภาษาถิ่นนั้น มักพิจารณาจาก.

ใหม่!!: การออกเสียงและภาษาถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

วลี

วลี หรือ กลุ่มคำ เป็นการนำคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปมาเรียงต่อกันทำให้เกิดความหมายเพิ่มขึ้น มีความหมายมาจากคำเดิมที่นำมารวมมารวมกันแต่ไม่สมบูรณ์เหมือนประโยค วลีส่วนใหญ่มีคำกลางที่สำคัญหนึ่งคำที่เป็นตัวบ่งบอกถึงประเภทของวลี คำนั้นเรียกว่าเป็น "คำหลัก" ของวลี ดังนั้นเราสามารถแบ่งประเภทของวลีตามคำหลักของวลี เด็ดเจ็ดย่านน้ำ.

ใหม่!!: การออกเสียงและวลี · ดูเพิ่มเติม »

สัทวิทยา

ัทวิทยา, สรวิทยา หรือ วิชาระบบเสียง (phonology) เป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับเรื่องเสียงในภาษา โดยแยกย่อยออกเป็น 2 แขนง คือ สัทศาสตร์ (phonetics) และสรศาสตร์ (phonemics).

ใหม่!!: การออกเสียงและสัทวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สัทศาสตร์

ัทศาสตร์ (phonetics) เป็นสาขาย่อยของภาษาศาสตร์ที่ประกอบด้วยการศึกษาเสียงพูดของมนุษย์ สัทศาสตร์สนใจคุณสมบัติทางกายภาพของเสียงพูด และกระบวนการผลิตเสียงทางกายภาพ การรับรู้ในแง่ของการได้ยิน และการรับรู้ทางกายภาพ การศึกษาสัทศาสตร์เริ่มเมื่อ 2,500 ปีที่แล้วในอินเดียโบราณ โดยปาณินิได้อธิบายถึงฐานและกรณ์ในการออกเสียง พยัญชนะในตำราภาษาสันสกฤตของเขา อักษรอินเดียที่ใช้ในปัจจุบันเรียงลำดับตัวอักษรตามการแยกประเภทของปาณิน.

ใหม่!!: การออกเสียงและสัทศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สัทอักษรสากล

ตารางสัทอักษรสากลรุ่น ค.ศ. 2015 สัทอักษรสากล (International Phonetic Alphabet: IPA) คือสัทอักษรชุดหนึ่งที่พัฒนาโดยสมาคมสัทศาสตร์สากล โดยมุ่งหมายให้เป็นสัญกรณ์มาตรฐานสำหรับการแทนเสียงพูดในทุกภาษา นักภาษาศาสตร์ใช้สัทอักษรสากลเพื่อแทนหน่วยเสียงต่าง ๆ ที่อวัยวะออกเสียงของมนุษย์สามารถเปล่งเสียงได้ โดยแทนหน่วยเสียงแต่ละหน่วยเสียงด้วยสัญลักษณ์เฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน สัญลักษณ์ในสัทอักษรสากลนั้นส่วนใหญ่นำมาจากหรือดัดแปลงจากอักษรโรมัน สัญลักษณ์บางตัวนำมาจากอักษรกรีก และบางตัวประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับอักษรภาษาใดเลย สำหรับ ตารางสัทอักษรในภาษาไทย ดูได้ที่ ภาษาไท.

ใหม่!!: การออกเสียงและสัทอักษรสากล · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยเสียง

หน่วยเสียง (phoneme) เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของภาษาพูด สัทสมาคมระหว่างประเทศนิยามหน่วยเสียงว่าหมายถึง "ส่วนที่เล็กที่สุดของเสียงที่ใช้เพื่อสร้างความหมายต่าง ๆ เมื่อเปล่งเสียงออกมา" ในทางภาษาศาสตร์ยังมีทรรศนะแตกต่างกันว่าหน่วยเสียงเป็นอย่างไรแน่ และภาษาจำแนกออกเป็นหน่วยเสียงได้อย่างไร แต่โดยทั่วไปจะเข้าใจอย่างกว้าง ๆ ร่วมกันว่าหน่วยเสียงเป็นภาวะนามธรรมของชุดเสียงพูดที่ถือว่ามีลักษณะเหมือนกันในภาษานั้น ๆ ตัวอย่างเช่นในภาษาอังกฤษ "k" ในคำว่า kit และ skill ออกเสียงต่างกัน แต่ผู้พูดภาษาอังกฤษถือว่าเป็นเสียงเดียวกัน ดังนั้น k ในคำทั้งสองจึงถือเป็นหน่วยเสียงเดียวกันในรูป กรณีเสียงพูดต่างกันแต่ใช้หน่วยเสียงเดียวกันนี้เรียกว่าเสียงย่อย (allophone) ดังนั้นจึงถือว่าหน่วยเสียงเป็นตัวแสดงคำต่าง ๆ ออกมา การศึกษาระบบหน่วยเสียงถือเป็นประเด็นศึกษาหลักของสัทวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของภาษาศาสตร.

ใหม่!!: การออกเสียงและหน่วยเสียง · ดูเพิ่มเติม »

คำ

ำ เป็นหน่วยของภาษาที่สื่อถึงความหมายซึ่งประกอบด้วยพยางค์หนึ่งพยางค์หรือมากกว่า ปกติแล้วในแต่ละคำจะมีรากศัพท์ของคำแสดงถึงความหมายและที่มาของคำนั้น โดยการนำคำหลายคำมาประกอบกันจะทำให้เกิดวลีหรือประโยคซึ่งใช้สื่อความหมายให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นไป.

ใหม่!!: การออกเสียงและคำ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ออกเสียงคำอ่านเสียงอ่าน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »