โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การสำรวจ

ดัชนี การสำรวจ

นักสำรวจ คาซิเมียร์ โนวัก การสำรวจ (Exploration) คือการค้นหาเพื่อบรรลุเป้าหมายของการค้นพบหรือทรัพยากร การสำรวจเกิดขึ้นในทุกสิ่งมีชีวิตที่มีการเคลื่อนไหวรวมถึงมนุษย์ ในประวัติศาสตรของมนุษย์การสำรวจที่มีอิทธิพลมากที่สุดอยู่ในช่วงยุคแห่งการค้นพบเมื่อนักสำรวจชาวยุโรปแล่นเรือและเขียนแผนที่ในพื้นที่ส่วนที่เหลือของโลกด้วยเหตุผลหลายประการ ตั้งแต่นั้นมาการสำรวจครั้งใหญ่หลังยุคแห่งการสำรวจเกิดขึ้นจากการค้นพบข้อมูลสำคัญเป็นเหตุผลส่วนใหญ่ ในระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ การสำรวจเป็นหนึ่งในสามวัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงประจักษ์ (อีกสองอย่างคือการพรรณาและการอธิบาย).

112 ความสัมพันธ์: บริเตนใหญ่ชวาบาร์ตูลูเมว ดีอัชชาวพอลินีเซียชาวมาวรีชาวไวกิงช่องแคบมาเจลลันช่องแคบเบริงฟินิเชียกรีนแลนด์การค้าระหว่างโรมันกับอินเดียการค้าเครื่องเทศมหาสมุทรอินเดียมาร์แซย์ยุคแห่งการสำรวจระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์รัฐฟลอริดารัฐอะแลสการัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์รัฐแทสเมเนียรัฐเท็กซัสราชบัลลังก์กัสติยาราชวงศ์ฮั่นลมค้าลั่วหยางวัชกู ดา กามาสยามสหราชอาณาจักรสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์หมู่เกาะพิตแคร์นหมู่เกาะมาร์เคซัสหมู่เกาะมาเรียนาหมู่เกาะฮาวายหมู่เกาะคะแนรีหมู่เกาะซุนดาหมู่เกาะโมลุกกะหมู่เกาะโซโลมอนหมู่เกาะโซไซเอตีหนานจิงอานาโตเลียอาเบิล ตัสมันอ่าวฮัดสันอ่าวเม็กซิโกฌัก การ์ตีเยจักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสจักรพรรดิอันโตนีนุส ปิอุสจักรพรรดิฮั่นหฺวันจักรพรรดิแนโรจักรวรรดิสเปนทวีปยุโรป...ทวีปอเมริกาเหนือทวีปแอฟริกาทอเลมีทะเลทรายสะฮาราทะเลแดงทะเลเบริงทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทิมบักตูทิศตะวันออกคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสควน ปอนเซ เด เลออนคอคอดปานามาคาบสมุทรมลายูคาร์เธจง่อก๊กตูอาโมตัสซุนกวนซูเกรประเทศบราซิลประเทศกัมพูชาประเทศกาบูเวร์ดีประเทศยูกันดาประเทศปารากวัยประเทศปาปัวนิวกินีประเทศนอร์เวย์ประเทศนามิเบียประเทศนิวซีแลนด์ประเทศแอฟริกาใต้ประเทศแองโกลาประเทศแทนซาเนียประเทศโบลิเวียประเทศโซมาเลียประเทศไอซ์แลนด์ประเทศไนจีเรียประเทศเยอรมนีประเทศเอธิโอเปียนิวเบียแกรนด์แคนยอนแม่น้ำมิสซิสซิปปีแม่น้ำคองโกแม่น้ำแอมะซอนแม่น้ำโคโลราโดแม่น้ำไนล์แม่น้ำไนเจอร์แม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์แหลมกู๊ดโฮปแอฟริกาเหนือโอเชียเนียไวทัส เบริงไทร์ (ประเทศเลบานอน)ไดโดไซบีเรียเฟอร์ดินานด์ มาเจลลันเกรตเลกส์เกาะสุมาตราเกาะเวกเลฟ เอริกสันเอนรีเกราชนาวิกเฮนรี ฮัดสันเจมส์ คุกเทือกเขาแอนดีสเปดรู อัลวารึช กาบรัล ขยายดัชนี (62 มากกว่า) »

บริเตนใหญ่

ริเตนใหญ่ (Great Britain) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะบริติช ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของภาคพื้นทวีปยุโรป มีเกาะไอร์แลนด์ตั้งอยู่ทางตะวันตก เกาะบริเตนใหญ่เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป ล้อมรอบด้วยเกาะเล็กนับร้อยเกาะ บริเตนใหญ่เนื้อที่ส่วนใหญ่ของสหราชอาณาจักร เป็นที่ตั้งของอังกฤษ สกอตแลนด์ และเวลส์ บริเตนใหญ่เป็นเกาะที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากเกาะชวาและเกาะฮนชู คำว่าบริเตนใหญ่บางครั้งใช้ในความหมายของสหราชอาณาจักร ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ซึ่งเป็นรัฐที่เกิดจากการรวมตัวของอังกฤษและสกอตแลนด์ในช่วงพ.ศ. 2250–2344 ก่อนที่นอร์เทิร์นไอร์แลนด์จะเข้าร่วม เป็นสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และนอร์เทิร์นไอร์แลน.

ใหม่!!: การสำรวจและบริเตนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ชวา

วา อาจหมายถึง.

ใหม่!!: การสำรวจและชวา · ดูเพิ่มเติม »

บาร์ตูลูเมว ดีอัช

ร์ตูลูเมว ดีอัช บาร์ตูลูเมว ดีอัช (Bartolomeu Dias; ประมาณ 1451 – 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1500) ขุนนางแห่งราชสำนักโปรตุเกส เป็นนักสำรวจชาวโปรตุเกส เขาแล่นเรือไปถึงแหลมใต้สุดของแอฟริกาในปี..

ใหม่!!: การสำรวจและบาร์ตูลูเมว ดีอัช · ดูเพิ่มเติม »

ชาวพอลินีเซีย

วพอลินีเซีย (Polynesians) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาพอลินีเซียและอาศัยอยู่ในพอลินีเซีย (ฮาวาย ตาฮิตี ซามัว รวมไปถึงพวกมาวรีในนิวซีแลนด์).

ใหม่!!: การสำรวจและชาวพอลินีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ชาวมาวรี

มาวรี เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นชนพื้นเมืองของประเทศนิวซีแลน.

ใหม่!!: การสำรวจและชาวมาวรี · ดูเพิ่มเติม »

ชาวไวกิง

แผนที่แสดงการตั้งถิ่นฐานสแกนดิเนเวียของชาวไวกิง สีแดงเข้ม-ระว่าง ค.ศ.701-800, สีแดง-ระหว่าง ค.ศ. 801-900, สีส้มเข้ม-ระว่าง ค.ศ. 901-1000, และสีเหลือง-ระว่าง ค.ศ. 1001-1100, บริเวณสีเขียวแสดงพื้นที่ที่มักถูกโจมตีโดยพวกไวกิงบ่อยแต่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานมาก ไวกิง (Vikings) ในความหมายหลักหมายถึงชนเผ่านักรบ นักการค้า และนักตั้งถิ่นฐานจากนอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก ซึ่งบุกรบชนะ ยึดครอง และตั้งอาณานิคมอาณาเขตในส่วนใหญ่ของอังกฤษ นอร์ม็องดี และรัสเซียเมื่อระหว่างประมาณ..

ใหม่!!: การสำรวจและชาวไวกิง · ดูเพิ่มเติม »

ช่องแคบมาเจลลัน

วเทียมบริเวณช่องแคบมาเจลลัน ช่องแคบมาเจลลัน (Strait of Magellan, Magellanic Strait; Estrecho de Magallanes) เป็นทางเดินเรือที่ตั้งอยู่ระหว่างตอนใต้ของแผ่นดินใหญ่ทวีปอเมริกาใต้กับกลุ่มเกาะเตียร์ราเดลฟวยโก ตั้งชื่อตามชื่อของเฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน นักเดินเรือชาวโปรตุเกส ช่องแคบนี้เป็นทางเชื่อมสำคัญระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติก มีความยาวประมาณ 570 กิโลเมตร ส่วนที่แคบที่สุดอยู่บริเวณเกาะการ์โลสที่ 3 ทางด้านตะวันตกของช่องแคบ ซึ่งกว้างเพียง 2 กิโลเมตร เนื่องจากมาเจลลันเดินเรือมาถึงที่นี่ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันสมโภชนักบุญทั้งหลายพอดี ในตอนแรกเขาจึงตั้งชื่อว่า "ช่องแคบแห่งเหล่านักบุญ" (Strait of All Saints) แต่ต่อมาพระมหากษัตริย์แห่งสเปนที่มาเจลลันถวายงานทรงเปลี่ยนชื่อมาเป็น "ช่องแคบมาเจลลัน" เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา ปัจจุบันตลอดช่องแคบมาเจลลันถือเป็นน่านน้ำของชิลี แต่ปากทางด้านแอตแลนติกบางจุดเป็นอาณาเขตของอาร์เจนตินา อย่างไรก็ตาม เรือชาติต่าง ๆ ยังสามารถเดินทางผ่านช่องแคบนี้ได้อย่างเสรี ก่อนที่จะมีการเปิดใช้คลองปานามาซึ่งสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1914 ช่องแคบนี้เป็นเส้นทางข้ามมหาสมุทรที่สำคัญและปลอดภัยสำหรับเรือกลจักรไอน้ำ แต่ถ้าเป็นเรือใบ เช่น เรือแบบคลิปเปอร์ จะนิยมใช้ช่องแคบเดรกซึ่งอยู่ใต้ลงไปอีก เพราะมีเนื้อที่ให้กลับลำเรือได้กว้างกว่า แต่ก็ต้องเสี่ยงกับสภาพอากาศที่ปั่นป่วนและคาดคะเนได้ยาก.

ใหม่!!: การสำรวจและช่องแคบมาเจลลัน · ดูเพิ่มเติม »

ช่องแคบเบริง

ทางอากาศของช่องแคบเบริง ช่องแคบเบริง (Bering Strait; Берингов пролив Beringov proliv) เป็นช่องทะเลเล็ก ๆ ระหว่างแหลมเดจเนฟ ประเทศรัสเซีย จุดตะวันออกสุดของทวีปเอเชีย (169°43' ตะวันตก) กับแหลมพรินซ์ออฟเวลส์ รัฐอะแลสกา จุดที่อยู่ตะวันตกสุดของทวีปอเมริกาเหนือ (168°05' ตะวันตก) อยู่ค่อนมาทางใต้เส้นอาร์กติกเซอร์เคิลเล็กน้อย เป็นหนึ่งในช่องแคบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ชื่อของช่องแคบได้มาจากชื่อนักสำรวจชาวเดนมาร์ก นามว่าไวทัส เบริง นักสำรวจชาวเดนมาร์กในกองทัพเรือรัสเซีย ซึ่งเดินทางข้ามช่องแคบในปี..

ใหม่!!: การสำรวจและช่องแคบเบริง · ดูเพิ่มเติม »

ฟินิเชีย

ฟินิเชีย (Phoenicia) เป็นเซเมติกสาขาหนึ่ง อพยพมาจากทะเลทรายอาหรับ เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล เข้ามาตั้งหลักแหล่งในบริเวณตะวันตกของทวีปเอเชียบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มปัญญาชนของเอเชียตะวันตก สร้างเมืองสำคัญ ๆ เช่น ไทรน์ ไซดอน ไบบลอส เป็นพวกที่ร่ำรวย มีชื่อเสียงทางด้านการเดินเรือและค้าขาย มีการตั้งอาณานิคมในส่วนอื่น ๆ เช่น กาดิซในสเปน คาร์เทจทางตอนเหนือของแอฟริกา มรดกชิ้นสำคัญของชาวฟินิเชียคือ ตัวอักษร ซึ่งกรีกและลาตินใช้เป็นแบบในการสร้างตัวอักษรของตนในสมัยต่อมา ตัวอักษรในยุโรปปัจจุบันก็มาจากตัวอักษรเหล่านี้.

ใหม่!!: การสำรวจและฟินิเชีย · ดูเพิ่มเติม »

กรีนแลนด์

กรีนแลนด์ (Kalaallit Nunaat; Grønland เกฺรินลันฺด) เป็นดินแดนทางเหนือสุดของโลก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติกและเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ประมาณ 2,175,900 ตารางกิโลเมตร มีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองของประเทศเดนมาร์ก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499.

ใหม่!!: การสำรวจและกรีนแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

การค้าระหว่างโรมันกับอินเดีย

“เส้นทางการค้าระหว่างโรมันกับอินเดีย” ตาม “บันทึกเส้นทางการเดินเรือในทะเลอีริทเธรียน” จากคริสต์ศตวรรษที่ 1 การค้าระหว่างโรมันกับอินเดีย (Roman trade with India) เป็นการติดต่อค้าขายโดยการขนส่งสินค้าข้ามอานาโตเลียและเปอร์เซียที่พอจะมีบ้างเมื่อเทียบกับเวลาต่อมาที่ใช้เส้นทางสายใต้ผ่านทางทะเลแดงโดยการใช้ลมมรสุม การค้าขายเริ่มขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 1 หลังจากรัชสมัยของออกัสตัสเมื่อโรมันพิชิตอียิปต์ได้จากราชวงศ์ทอเลมีShaw, Ian (2003).

ใหม่!!: การสำรวจและการค้าระหว่างโรมันกับอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

การค้าเครื่องเทศ

วามสำคัญทางเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมและเส้นทางเครื่องเทศของเส้นทางการค้าไปยังตะวันออกมาถูกปิดโดยจักรวรรดิออตโตมัน ราว ค.ศ. 1453 เมื่อจักรวรรดิไบแซนไทน์และคอนสแตนติโนเปิลล่ม ซึ่งเป็นชนวนที่ทำให้เกิดการแข่งขันกันสำรวจหาเส้นทางการค้าไปยังตะวันออกใหม่ที่เริ่มด้วยการพยายามหาเส้นทางรอบแอฟริกาที่ในที่สุดก็นำไปสู่ยุคแห่งการสำรวจ ภาพแสดงเส้นทางการเดินทางของวัชกู ดา กามาไปยังอินเดีย (เส้นดำ) ผู้เดินทางรอบแอฟริกาคนแรก เส้นทางของเปรู ดา กูวิลยัง (สีส้ม) และอาฟงซู ดี ไปวา (สีน้ำเงิน) เส้นทางซ้อนกันเป็นสีเขียว การค้าเครื่องเทศ คือกิจการทางการพาณิชย์ที่มีต้นตอมาแต่ยุคโบราณที่เป็นการค้าขายสินค้าที่รวมทั้งเครื่องเทศ, สมุนไพร และฝิ่น การวิวัฒนาการของวัฒนธรรมของเอเชียบางส่วนก็มีอิทธิพลมาจากการค้าขายเครื่องเทศ จากนั้นก็ตามด้วยโลกกรีก-โรมันที่ใช้เส้นทางสายเครื่องหอม และเส้นทางสายโรมัน-อินเดียเป็นเส้นทางการค้ามายังตะวันออกFage 1975: 164 เส้นทางสายโรมัน-อินเดียวิวัฒนาการมาจากเทคนิคที่ใช้โดยมหาอำนาจทางการค้าของราชอาณาจักรอัคซูม (ราว 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช-จนถึง ค.ศ. 1000 กว่า ๆ) ที่เป็นการริเริ่มการใช้เส้นทางในทะเลแดงมาตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 1 อัคซูมแบ่งปันความรู้ในการใช้ลมมรสุมในการเดินเรือกับชาวโรมัน (ราว 30-10 ปีก่อนคริสตกาล) และรักษาสัมพันธ์ภาพระหว่างกันอย่างปรองดองมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 เมื่ออิสลามเรืองอำนาจขึ้น ก็ปิดเส้นทางการค้าทางทะเล และหันมาใช้ขบวนคาราวานในการขนส่งทางบกไปยังอียิปต์และซุเอซ ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดความสัมพันธ์ทางการค้าโดยตรงระหว่างยุโรปไปยังอัคซูมและอินเดีย และในที่สุดพ่อค้าอาหรับก็ยึดการขนส่งสินค้าเข้ามาอยู่ในมือของตนเอง โดยการขนส่งสินค้าเข้าทางบริเวณเลแวนต์ไปให้แก่พ่อค้าเวนิสในยุโรปยุโรป การขนส่งด้วยวิธีนี้มายุติลงเมื่อออตโตมันเติร์กมาปิดเส้นทางอีกครั้งในปี..

ใหม่!!: การสำรวจและการค้าเครื่องเทศ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.

ใหม่!!: การสำรวจและมหาสมุทรอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

มาร์แซย์

มาร์แซย์ (Marseille) หรือ มาร์เซยอ (Marselha) เป็นเมืองทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส และเป็นเมืองที่ใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ มีประชากร 1,516,340 คน (ปี 2542) เมืองมาร์แซย์เป็นเมืองท่าที่สำคัญของประเทศ ตั้งอยู่ริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน.

ใหม่!!: การสำรวจและมาร์แซย์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคแห่งการสำรวจ

แห่งการสำรวจ หรือ ยุคแห่งการค้นพบ (Age of Exploration หรือ Age of Discovery) เป็นช่วงระยะเวลาในประวัติศาสตร์โลกที่เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่ชาวยุโรปออกเดินทางไปสำรวจทางทะเลในโลกที่กว้างออกไปจากตัวทวีปยุโรปเองโดยมีจุดประสงค์เพื่อหาคู่ค้าขายใหม่ และโดยเฉพาะเพื่อการแสวงหาสินค้าเพื่อสนองความต้องการของตลาดตามต้องการ สินค้าที่เป็นที่ต้องการกันมากในยุโรปในขณะนั้นคือทอง เงิน และ เครื่องเทศ ยุคแห่งการสำรวจประจวบกับช่วงที่ชาวยุโรปตะวันตกเริ่มใช้เข็มทิศในการกำหนดและระบุเส้นทาง, การใช้วิธีการเดินเรือเดินทะเลแบบใหม่, การมีแผนที่ใหม่ และความก้าวหน้าทางดาราศาสตร์ ความก้าวหน้าเหล่านี้ช่วยในการแสวงหาเส้นทางการค้าขายใหม่ไปยังเอเชียโดยเลี่ยงอุปสรรคถ้าการใช้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของมหาอำนาจที่เป็นปฏิปักษ์ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่วิวัฒนาการขึ้นสำหรับการเดินทางทางทะเลคือเรือชนิดใหม่สองแบบที่ออกแบบโดยโปรตุเกส--เรือคาร์แร็ค (Carrack) และ เรือคาราเวล (Caravel) ที่วิวัฒนาการมาจากการออกแบบเรือในยุคกลางที่ใช้ในการเดินเรือในทะเลเหนือและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เรือสองชนิดนี้เป็นเรือสองชนิดแรกที่ให้ความปลอดภัยพอที่จะฝ่าคลื่นฝ่าลมในมหาสมุทรแอตแลนติกได้เมื่อเทียบกับเรือรุ่นก่อนหน้านั้นที่ใช้กันเฉพาะในบริเวณที่คลื่นลมไม่รุนแรงเทียบเท่ากับการเดินทางกลางมหาสมุทร.

ใหม่!!: การสำรวจและยุคแห่งการสำรวจ · ดูเพิ่มเติม »

ระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์

ระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์ (scientific method) หรือ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (scientific process) เป็นหลักการพื้นฐานของการตรวจสอบและเสาะหาความรู้ใหม่แบบวิทยาศาสตร์ ที่ใช้หลักฐานทางกายภาพ นักวิทยาศาสตร์เสนอความเชื่อใหม่เกี่ยวกับโลกในรูปของทฤษฎีที่ผ่านขั้นตอนของ การสังเกต, การตั้งสมมติฐาน, และการอนุมาน ผลการทำนายของทฤษฎีเหล่านี้จะถูกทดสอบด้วยการทดลอง ถ้าผลการทำนายนั้นถูกต้องหรือสอดคล้องกับการทดลอง ทฤษฎีดังกล่าวจะถูกเก็บไว้ ทฤษฎีที่ความน่าเชื่อถือจะถูกนำไปทดลองซ้ำเพื่อยืนยันความถูกต้องเพิ่มเติม ระเบียบวิธีนี้ถูกจัดให้เป็นตรรกะสำคัญของธรรมเนียมปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ โดยสาระสำคัญนั้นระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์คือวิธีการที่รอบคอบมาก สำหรับสร้างความเข้าใจ ที่มีหลักฐานและยืนยันได้เกี่ยวกับโลก.

ใหม่!!: การสำรวจและระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐฟลอริดา

รัฐฟลอริดา (Florida, เป็นรัฐที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐอเมริกา ทิศตะวันตกติดต่อกับอ่าวเม็กซิโก ทิศเหนือติดต่อกับรัฐอะลาบามา และรัฐจอร์เจีย ทิศตะวันออกติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศใต้ติดต่อกับช่องแคบฟลอริดา รัฐฟลอริดาเป็นรัฐที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 22 มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 และหนาแน่นมากเป็นอันดับ 8 ในสหรัฐอเมริกา แจ็กสันวิลล์เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในรัฐฟลอริดา และมีพื้นที่มากที่สุดในสหรัฐอเมริกาแผ่นดินใหญ่ มีเขตเมืองไมแอมี (Miami metropolitan area) เป็นเขตเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 8 ในสหรัฐอเมริกา และมีแทลลาแฮสซีเป็นเมืองหลวงของรัฐ รัฐฟลอริดาเป็นที่รู้จักกันในนาม ซันไชน์สเตต (Sunshine State) คำว่า "ฟลอริดา" เป็นภาษาสเปนซึ่งหมายถึง "ที่ซึ่งอุดมไปด้วยดอกไม้" ชื่อของแหลมฟลอริดาตั้งชื่อโดยควน ปอนเซ เด เลออง (Juan Ponce de León) ซึ่งมาเทียบที่ชายฝั่งเมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2056 (ค.ศ. 1513) ในช่วงเทศกาล "ปัสกวาโฟลรีดา" (Pascua Florida) หรือช่วงเทศกาลอีสเตอร์ของชาวสเปน วันปัสกวาโฟลรีดาจัดขึ้นในวันที่ 2 เมษายนของทุกปี และยังเป็นวันหยุดราชการด้วย ฟลอริดาเป็นหนึ่งในเจ็ดรัฐที่ไม่เก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรม.

ใหม่!!: การสำรวจและรัฐฟลอริดา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอะแลสกา

รัฐอะแลสกา (State of Alaska) รวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับสหรัฐอเมริกา นับเป็นรัฐที่ 49 มีจำนวนประชากร 626,932 คน (พ.ศ. 2543) ชื่อ อะแลสกา นั้นน่าจะเพี้ยนมาจากคำในภาษาแอลิอุต ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นว่า "Alyeska" แปลว่า "ดินแดนที่ไม่ใช่เกาะ".

ใหม่!!: การสำรวจและรัฐอะแลสกา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์

รัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ (Newfoundland and Labrador) เป็นรัฐของแคนาดา ทางชายฝั่งแอตแลนติก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ เป็นส่วนตะวันออกสุดของรัฐแคนาดา ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ เกาะนิวฟันด์แลนด์ทางตะวันออกของชายฝั่ง และแลบราดอร์บนแผ่นดินใหญ่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ จากข้อมูลเดือนมกราคม..

ใหม่!!: การสำรวจและรัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐแทสเมเนีย

กาะแทสเมเนีย เป็นรัฐหนึ่งของประเทศออสเตรเลีย ตั้งอยู่ห่างออกไปราว 240 กม.

ใหม่!!: การสำรวจและรัฐแทสเมเนีย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเท็กซัส

ท็กซัส (Texas) เป็นรัฐที่อยู่ทางใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา มีพื้นที่ทั้งหมด 695,622 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 22.8 ล้านคน เท็กซัสเป็นรัฐที่ใหญ่เป็นอันดับสองทั้งพื้นที่และประชากร รวมเข้ากับสหรัฐอเมริกาเป็นลำดับที่ 28 ในปี พ.ศ. 2388 อักษรย่อของที่ทำการไปรษณีย์สหรัฐคือ TX.

ใหม่!!: การสำรวจและรัฐเท็กซัส · ดูเพิ่มเติม »

ราชบัลลังก์กัสติยา

ราชบัลลังก์กัสติยา (Corona de Castilla) เป็นสหอาณาจักรที่มักจะกล่าวกันว่าเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: การสำรวจและราชบัลลังก์กัสติยา · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่น

มเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น เขตแดนของราชวงศ์ฮั่นสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ราชวงศ์ฮั่น (ภาษาจีน: 漢朝 พ.ศ. 337 - พ.ศ. 763) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์ฉิน.

ใหม่!!: การสำรวจและราชวงศ์ฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

ลมค้า

ลมค้า (ลูกศรสีเหลืองและน้ำตาล) และลมตะวันตก (ลูกศรสีน้ำเงิน) ลมค้า (trade wind) เป็นลมประจำปีทางทิศตะวันออก เป็นลมที่มีความเร็วลมปานกลางถึงแรงจัด ทำให้อากาศแจ่มใสและใช้ประโยชน์ได้ในด้านการเดินเรือและการบิน.

ใหม่!!: การสำรวจและลมค้า · ดูเพิ่มเติม »

ลั่วหยาง

thumb ลั่วหยาง หรือสำเนียงฮกเกี้ยนว่า ลกเอี๋ยง เป็นเมืองหนึ่งในประเทศจีน ปัจจุบันตั้งอยู่ทางตะวันตกของมณฑลเหอหนาน เคยเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์เช่น ราชวงศ์โจวตะวันออก ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และราชวงศ์ถัง.

ใหม่!!: การสำรวจและลั่วหยาง · ดูเพิ่มเติม »

วัชกู ดา กามา

วัชกู ดา กามา เส้นทางเดินเรือครั้งแรกของวัชกู ดา กามา วัชกู ดา กามา (Vasco da Gama; ประมาณ พ.ศ. 2003-2068) เป็นนักเดินเรือสำรวจชาวโปรตุเกส เกิดที่เมืองซีนึช แคว้นอาเลงเตฌู ประเทศโปรตุเกส สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการค้บพบเส้นทางการเดินเรือจากยุโรปสู่อินเดียระหว่างปี..

ใหม่!!: การสำรวจและวัชกู ดา กามา · ดูเพิ่มเติม »

สยาม

งชาติสยาม พ.ศ. 2398-พ.ศ. 2459 สยาม (อักษรละติน: Siam, อักษรเทวนาครี: श्याम) เคยเป็นชื่อเรียกประเทศไทยในอดีต แต่มิใช่ชื่อที่คนไทยเรียกตนเอง ราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่า สยามเป็นชื่อเรียกดินแดนและกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยโบราณ สยามเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของไทยตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ก่อนเปลี่ยนเป็น "ไทย" เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน..

ใหม่!!: การสำรวจและสยาม · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: การสำรวจและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์

หมู่เกาะมาร์แชลล์ (Marshall Islands; มาร์แชลล์: Aelōn̄ in M̧ajeļ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ (Republic of the Marshall Islands; มาร์แชลล์: Aolepān Aorōkin M̧ajeļ) เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งอยู่ทางเหนือของประเทศนาอูรูและประเทศคิริบาส ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศไมโครนีเซียและอยู่ทางใต้ของเกาะเวกของสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: การสำรวจและสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะพิตแคร์น

หมู่เกาะพิตแคร์น (Pitcairn Islands; พิตแคร์น: Pitkern Ailen) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า พิตแคร์น (Pitcairn) เป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร อยู่ในเขตมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบไปด้วยกลุ่มเกาะ 4 กลุ่ม คือ เกาะพิตแคร์น เกาะแฮนเดอร์สัน เกาะดูซี และเกาะโอเอโน เกาะเหล่านี้ล้วนเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรทั้งสิ้น ซึ่งเขตนี้เป็นอาณานิคมสุดท้ายที่ยังหลงเหลืออยู่ของสหราชอาณาจักรในมหาสมุทรแปซิฟิก.

ใหม่!!: การสำรวจและหมู่เกาะพิตแคร์น · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะมาร์เคซัส

หมู่เกาะมาร์เคซัส (Îles Marquises; Marquesas Islands) เป็นหมู่เกาะของดินแดนเฟรนช์โปลินีเซีย อยู่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ที่ละติจูด 9° 00 ใต้ ลองจิจูด 139° 30 ตะวันตก มีเมืองหลวงชื่อไตโอไฮ ตั้งอยู่บนเกาะนูกูฮีวา หมู่เกาะมีประชากร 8,632 คน จากการสำรวจประชากรในเดือนสิงหาคม..

ใหม่!!: การสำรวจและหมู่เกาะมาร์เคซัส · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะมาเรียนา

แผนที่แสดงหมู่เกาะมาเรียนา ทางตอนใต้แสดงดินแดนเกาะกวมของสหรัฐ และทางตอนเหนือแสดงดินแดนหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาของสหรัฐ และเครื่องหมายสามเหลี่ยมสีแดงคือตำแหน่งภูเขาไฟที่ปะทุอยู่ หมู่เกาะมาเรียนา (Mariana Islands) เป็นหมู่เกาะที่เรียงตัวเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว ประกอบไปด้วยเกาะที่เกิดจากภูเขาไฟจำนวน 15 เกาะ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเหนือเส้นศูนย์สูตรของมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างเส้นพาราเซลเหนือที่ 12 และ 21 ในคาบเส้นเมริเดียนที่ 145 องศาตะวันออก หมู่เกาะแห่งนี้ถูกตั้งชื่อตามพระนามของพระนางมาเรียนาโดยชาวสเปน ซึ่งเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้มาถึงยังหมู่เกาะนี้ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 และเข้ายึดครองหมู่เกาะแห่งนี้เป็นอาณานิคมจากชนพื้นเมืองที่เรียกตัวเองว่าชาวจามอร์โร จากการค้นคว้าของนักโบราณคดีพบว่า ชนพื้นเมืองบนหมู่เกาะนี้ได้มาตั้งรกรากตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่านับพันปี โดยสันนิฐานว่าเกาะแรกที่พวกเขาเข้ามาตั้งรกรากคือเกาะติเนียน หนึ่งในสามเกาะหลักของหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา ซึ่งจะถือว่าเป็นการตั้งรกรากครั้งแรกของมนุษย์ในภูมิภาคโอเชียเนีย สแตมป์ของมาเรียนาในยุคเยอรมันปกครอง เดิมหมู่เกาะนี้เป็นอาณานิคมของสเปน ภายใต้กำกับของรัฐบาลข้าหลวงใหญ่สเปนประจำฟิลิปปินส์ จนกระทั่งในปี..

ใหม่!!: การสำรวจและหมู่เกาะมาเรียนา · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะฮาวาย

หมู่เกาะฮาวายเป็นกลุ่มเกาะที่ประกอบด้วย 8 เกาะใหญ่, อะทอลล์, เกาะเล็ก ๆ และภูเขาใต้ทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ทอดตัวยาวเป็นระยะทาง 2,400 กิโลเมตรจากเกาะฮาวายทางตอนใต้ไปถึงอะทอลล์เคอร์ทางตอนเหนือ ในอดีตชาวยุโรปและชาวอเมริกันเรียกกลุ่มเกาะนี้ว่า"หมู่เกาะแซนวิช"อันเป็นชื่อที่เจมส์ คุกตั้งให้เพื่อเป็นเกรียติแก่จอห์น มอนทากิว เอิร์ลที่ 4 แห่งแซนด์วิช ปัจจุบันเรียกชื่อว่าหมู่เกาะฮาวายตามชื่อของเกาะที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มเกาะนี้ การปกครองแบบราชาธิปไตยฮาวายถูกล้มล้างใน..

ใหม่!!: การสำรวจและหมู่เกาะฮาวาย · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะคะแนรี

หมู่เกาะคะแนรี (Canary Islands), คะแนรีส์ (Canaries) หรือ กานาเรียส (Canarias) เป็นหมู่เกาะของราชอาณาจักรสเปน ประกอบด้วยเกาะภูเขาไฟ 7 เกาะในมหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา (โมร็อกโกและเวสเทิร์นสะฮารา) และมีฐานะเป็นแคว้นปกครองตนเองของสเปน.

ใหม่!!: การสำรวจและหมู่เกาะคะแนรี · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะซุนดา

กลุ่มเกาะมลายู หมู่เกาะซุนดา (Sunda Islands) เป็นกลุ่มของเกาะในส่วนตะวันตกของกลุ่มเกาะมลายู.

ใหม่!!: การสำรวจและหมู่เกาะซุนดา · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะโมลุกกะ

หมู่เกาะโมลุกกะ (Moluccas) หรือ หมู่เกาะมาลูกู (Maluku Islands) เป็นหมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซีย และเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเกาะมลายู ตั้งอยู่บนแผ่นเปลือกโลกออสเตรเลีย ทางด้านตะวันออกของเกาะซูลาเวซี (เซเลบีส) ทางด้านตะวันตกของเกาะนิวกินี และทางเหนือของติมอร์ ในอดีตนั้น ชาวจีนและชาวยุโรปเรียกหมู่เกาะนี้ว่า หมู่เกาะเครื่องเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะเป็นภูเขา บางส่วนยังเป็นภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่ และมีสภาพภูมิอากาศที่ชื้น พืชพรรณอุดมสมบูรณ์ แม้จะอยู่บนเกาะที่เล็ก แคบ และล้อมรอบด้วยทะเล อาทิ ป่าฝน สาคู ข้าว และเครื่องเทศต่าง ๆ (เช่น ลูกจันทน์เทศ กานพลู และดอกจันทน์เทศ) ถึงแม้ว่าชาวเมลานีเซียนจะเป็นประชากรส่วนใหญ่แต่เดิมโดยเฉพาะบนเกาะบันดา แต่ก็ถูกสังหารในช่วงศตวรรษที่ 17 การอพยพเข้ามาของชาวมลายูในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ในช่วงที่ชาวดัตช์ปกครองอยู่ และต่อเนื่องมาจนถึงยุคที่เป็นประเทศอินโดนีเซียแล้ว ในทางการเมือง หมู่เกาะโมลุกกะเป็นจังหวัดหนึ่งในอินโดนีเซียตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 ถึงปี พ.ศ. 2542 มาลูกูเหนือและฮัลมาเฮรากลางถูกแยกออกเป็นอีกจังหวัดหนึ่ง ดังนั้น หมู่เกาะนี้จึงถูกแบ่งออกเป็น 2 จังหวัด คือ มาลูกู (Maluku) และมาลูกูเหนือ (North Maluku) ระหว่างปี 2542 ถึง 2545 เป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมกับชาวคริสต์ แต่ก็เพิ่งกลับมาสงบสุขเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านม.

ใหม่!!: การสำรวจและหมู่เกาะโมลุกกะ · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะโซโลมอน

หมู่เกาะโซโลมอน (Solomon Islands) เป็นประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศปาปัวนิวกินี และเป็นส่วนหนึ่งของเครือจักรภพ ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ กว่า 990 เกาะ ซึ่งมีพื้นที่รวมกัน 28,000 ตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: การสำรวจและหมู่เกาะโซโลมอน · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะโซไซเอตี

หมู่เกาะโซไซเอตี (Society Islands) หรือ อีลเดอลาซอซีเยเต (Îles de la Société) เป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตอนใต้ เป็นส่วนหนึ่งของเฟรนช์โปลินีเซีย มีเมืองหลวงคือ ปาเปเอเต หมู่เกาะประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ หมู่เกาะวินด์เวิร์ด (เกาะตาฮีตี เกาะโมโอเรอา และเกาะขนาดเล็กอีกหลายเกาะ) และหมู่เกาะลีเวิร์ด เป็นหมู่เกาะที่เกิดจากภูเขาไฟและมีพื้นที่เป็นภูเขา ผลิตเนื้อมะพร้าวตากแห้งและไข่มุก ในปี..

ใหม่!!: การสำรวจและหมู่เกาะโซไซเอตี · ดูเพิ่มเติม »

หนานจิง

หนานจิง หรือรู้จักกันอีกชื่อว่า นานกิง เป็นเมืองหลวงของมณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยหนานจิงเป็นหนึ่งในเมืองหลวงเก่าของจีน ปัจจุบันหนานจิงเป็นเมืองใหญ่อันดับสองในภาคตะวันออกของจีน รองจากช่างไห่ และหนานจิงเป็นเมืองหลวงของจีนคณะชาติสมัยปฏิวัติล้มล้างจักรพรรดิจีน ราชวงศ์ชิงหรือแมนจู หนานจิง ที่แปลว่านครหลวงใต้ เคยเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์ จนได้รับสมญานามว่า เมืองหลวงสิบแผ่นดิน และยังเป็น 1 ใน 6 นครโบราณ อันได้แก่ ปักกิ่ง หนานจิง ซีอาน ลั่วหยาง หางโจว และ ไคเฟิง เป็นเมืองหลวงครั้งสุดท้ายระหว่างปี พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2492 โดยรัฐบาลสาธารณรัฐจีน ซึ่งมีผู้นำขณะนั้น คือ นายพลเจียงไคเช็ค หลังสถาปนาเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลใหม่จึงได้ย้ายเมืองหลวงกลับมายังปักกิ่งดังเดิม บรรพบุรุษชาวหนานจิง จำนวนมากอพยพมาจากปักกิ่งตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง จึงมีส่วนทำให้ภาษาหนานจิงมีสำเนียงคล้ายภาษาจีนกลางที่ฟังเข้าใจได้ทั่วไป จนทำให้ปัจจุบันหนานจิงเป็นหนึ่งในเมืองที่มีนักศึกษาต่างชาติมากที่สุดในประเทศจีน แต่เนิ่นๆการพัฒนา ตั้งแต่ 3 ราชอาณาจักรระยะเวลาหนานจิงได้กลายเป็นศูนย์แห่งอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมของหนานจิงราชวงศ์ถูกขยายเพิ่มเติมและเมืองกลายเป็นหนึ่งในเมืองที่เจริญมากที่สุดในจีน.

ใหม่!!: การสำรวจและหนานจิง · ดูเพิ่มเติม »

อานาโตเลีย

อานาโตเลีย (อังกฤษ: (Anatolia), กรีก: ανατολή หมายถึง "อาทิตย์อุทัย" หรือ "ตะวันออก") นิยมเรียกในภาษาละตินว่า เอเชียน้อย อีกด้วย เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป คาบสมุทรอานาโตเลียมีพื้นที่ประมาณ 757,000 ตร.กม.

ใหม่!!: การสำรวจและอานาโตเลีย · ดูเพิ่มเติม »

อาเบิล ตัสมัน

อาเบิล ตัสมัน อาเบิล ยันส์โซน ตัสมัน (Abel Janszoon Tasman; พ.ศ. 2146 - 10 ตุลาคม พ.ศ. 2202) เป็นนักสำรวจ นักเดินเรือ และพ่อค้าชาวดัตช์ ตัสมันมีชื่อเสียงมากสำหรับการเดินเรือของเขาในปี พ.ศ. 2185 และ พ.ศ. 2187 ในบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ (Dutch East India Company) เขาเป็นนักเดินเรือยุโรปคนแรกที่ออกสำรวจจนไปถึงเกาะฟัน ดีเมิน (Van Diemen's Land) (ปัจจุบันคือแทสเมเนีย) และนิวซีแลนด์ และมองเห็นทัศนียภาพของเกาะฟิจิเมื่อปี พ.ศ. 2186 คนเดินเรือของเขา ฟร็องซัว ฟิสเซอร์ และพ่อค้าของเขา อีซ้าก คิลเซอมันส์ ได้ทำแผนที่บางส่วนของออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะแปซิฟิกไว้ด้วย หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2146 หมวดหมู่:นักสำรวจชาวดัตช์.

ใหม่!!: การสำรวจและอาเบิล ตัสมัน · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวฮัดสัน

อ่าวฮัดสัน (Hudson Bay) เป็นทะเลภายในน้ำเค็มขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศแคนาดา มีเนื้อที่ 4,041,400 ตร.กม.

ใหม่!!: การสำรวจและอ่าวฮัดสัน · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวเม็กซิโก

อ่าวเม็กซิโก อ่าวเม็กซิโก (Gulf of Mexico; Golfo de México) ตั้งอยู่ทางใต้ของสหรัฐอเมริกาและทางตะวันออกของประเทศเม็กซิโก และอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศคิวบา มีพื้นที่ประมาณ 615,000 ตารางไมล์หรือประมาณ 1.6 ล้านตารางกิโลเมตร จุดที่ลึกที่สุดมีความลึกประมาณ 4,384 เมตร ในอ่าวเป็นแหล่งทรัพย์กรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก เม็กซิโก หมวดหมู่:ธรณีสัณฐานในประเทศเม็กซิโก.

ใหม่!!: การสำรวจและอ่าวเม็กซิโก · ดูเพิ่มเติม »

ฌัก การ์ตีเย

ัก การ์ตีเย ฌัก การ์ตีเย (Jacques Cartier; 31 ธันวาคม พ.ศ. 2034 - 1 กันยายน พ.ศ. 2100) นักสำรวจชาวฝรั่งเศสคนแรกที่เดินทางไปถึงทวีปอเมริกาเหนือ ไม่มีใครทราบที่มาของการ์ตีเยในช่วงวัยเด็กของเขา ทราบเพียงว่าในปี พ.ศ. 2063 (ค.ศ. 1520) เขาสมรสกับคัทรีน บุตรสาวของฌัก เดอ กร็องฌ์ แม่ทัพแห่งเมืองแซ็ง-มาโล ซึ่งเป็นการสมรสที่ยกระดับทางสังคมของเขาขึ้นมาเป็นอย่างมาก นักประวัติศาสตร์บางคนได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่าเขาอาจจะได้เดินทางไปยังเมืองแตร์-เนิฟ ร่วมกับเรือประมง เนื่องจากดินแดนแถบนั้นเป็นที่รู้จักอย่างดีในหมู่ชาวประมงจากแคว้นบาสก์และเบรอตาญ ส่วนนักประวัติศาสตร์อีกส่วนหนึ่งได้จินตนาการว่าเขาได้ทำหน้าที่ล่ามในหลายโอกาสหลังจากเกษียณอายุแล้ว จากข้อมูลที่ว่าการ์ตีเยรู้ภาษาโปรตุเกสเป็นอย่างดี และจากบันทึกการเดินทางของเขาที่มักเปรียบเทียบชาวเผ่าอินเดียนแดงจากดินแดนนิวฟรานซ์ในทวีปอเมริกาเหนือกับชาวบราซิล ทำให้เขาได้มีโอกาสเดินเรือพร้อมกับโจวันนี แวรัซซาโนในการเดินทางสำรวจชายฝั่งประเทศบราซิลครั้งหนึ่ง ซึ่งอันที่จริงแล้ว แวรัซซาโนไม่เคยไปสำรวจชายฝั่งของบราซิล แต่หากเป็นชายฝั่งของทวีปอเมริกาเหนือ การ์ตีเยเป็นผู้คนพบนูแวลอ็องกูแลม (ส่วนหนึ่งของรัฐนิวยอร์ก) เป็นคนแรก ในปี พ.ศ. 2075 (ค.ศ. 1532) เขาได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระเจ้าฟรองซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส โดยการแนะนำของชอง เลอ เวอเนอร์ บาทหลวงแห่งมง-แซ็ง-มีแชล ต่อมาไม่นาน พระเจ้าแผ่นดินก็ได้เลือกให้เขาเป็นผู้ออกเดินทางสำรวจ "เกาะและดินแดนบางแห่ง ที่เราน่าจะพบทองคำจำนวนมากและสิ่งของมีค่าอื่น ๆ" เขาได้เดินทางไปยังทวีปอเมริกาเหนือสามครั้ง ระหว่างปีพ.ศ. 2077 และ พ.ศ. 2085 โดยหวังว่าจะได้พบเส้นทางสายตะวันตกเฉียงเหนือไปยังทวีปเอเชี.

ใหม่!!: การสำรวจและฌัก การ์ตีเย · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส

ักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส (Marcus Aurelius หรือ Marcus Aurelius Antoninus Augustus) (ราว 26 เมษายน ค.ศ. 121Augustan History, "Marcus Aurelius" – 17 มีนาคม ค.ศ. 180) มาร์กุส เอาเรลิอุสเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันระหว่างวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 161 ถึง ค.ศ. 169 โดยปกครองร่วมกับ ลูกิอุส เวรุส (Lucius Verus) พระอนุชาบุญธรรม จนเวรุสสิ้นพระชนม์ในปี 169; จากนั้นเอาเรลิอุสทรงปกครองต่อมาโดยลำพังพระองค์เองระหว่างปี ค.ศ. 169 ถึง ค.ศ. 177 และ ทรงปกครองร่วมกับ ก็อมมอดุส (Commodus) ผู้เป็นราชโอรสของพระองค์ ระหว่าง ค.ศ. 177 จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 180 มาร์กุส เอาเรลิอุสเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของ “จักรพรรดิโรมันผู้ทรงคุณธรรมห้าพระองค์” (Five Good Emperors) และถือกันว่าเป็นนักปรัชญาลัทธิสโตอิก (Stoicism) คนสำคัญคนหนึ่ง เหตุการณ์สำคัญในสมัยการปกครองของมาร์กุส เอาเรลิอุสก็ได้แก่สงครามในเอเชียกับจักรวรรดิพาร์เธียน (Parthian Empire), และกับชนเผ่าเจอร์มานิคตามบริเวณพรมแดนโรมัน-เจอร์มานิคัส (LimesGermanicus) เข้าไปในกอลและข้ามแม่น้ำดานูบ และการปฏิวัติทางตะวันออกที่นำโดยอาวิเดียส คาสเซียส (Avidius Cassius) ที่ไม่ประสบความสำเร็จ นอกจากความสามารถในการสงครามแล้วมาร์กุส เอาเรลิอุสก็ยังมีงานเขียน “Meditations” ที่เขียนเป็นภาษากรีกระหว่างที่ทำการรณรงค์ระหว่างปี..

ใหม่!!: การสำรวจและจักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิอันโตนีนุส ปิอุส

ักรพรรดิอันโตนีนุส ปิอุส หรือ ตีตุส เอาเรลิอุส ฟุลวุส โบอิโอนิอุส อาร์ริอุส อันโตนีนุส (Antoninus Pius; ชื่อเต็ม: Titus Aurelius Fulvus Boionius Arrius Antoninus) (19 กันยายน ค.ศ. 86 – 7 มีนาคม ค.ศ. 161) อันโตนีนุส ปิอุสเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันของราชวงศ์อันโตนิน ผู้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาเลี้ยงจักรพรรดิฮาดริอานุสเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 138 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 161 โดยมีพระราชโอรสจักรพรรดิมาร์คัส ออเรลิอัสเป็นผู้ครองราชย์สืบต่อมา อันโตนีนุส ปิอุสทรงเป็นจักรพรรดิองค์ที่สี่ในบรรดา “จักรพรรดิโรมันผู้ทรงคุณธรรมห้าพระองค์” (Five Good Emperors) และไม่ได้รับการขนานนามว่า “ปิอุส” จนกระทั่งเมื่อขึ้นครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิแล้ว การที่ทรงได้รับนามเช่นนั้นอาจจะมาจากการที่ทรงบังคับให้สภาเซเนทแต่งตั้งให้พระราชบิดาเลี้ยงเป็นเทพ แต่หนังสือ “ชีวประวัติของจักรพรรดิโรมัน” (Augustan History) เสนอว่าอาจจะเป็นเพราะทรงช่วยให้วุฒิสมาชิกให้รอดจากการถูกประหารชีวิตโดยพระราชบิดาในปลายรัชสมั.

ใหม่!!: การสำรวจและจักรพรรดิอันโตนีนุส ปิอุส · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฮั่นหฺวัน

ฮั่นหฺวัน (132–168) ชื่อตัวว่า หลิว จื้อ (劉志) เป็นพระเจ้าแผ่นดินจีนในราชวงศ์ฮั่น หลิว จื้อ เป็นเหลนของพระเจ้าฮั่นจาง ในปี 145 พระเจ้าฮั่นชงสิ้นพระชนม์ นางเหลียง น่า (梁妠) พระมารดาพระเจ้าฮั่นชง จึงยกหลิว จวั่น (劉纘) ญาติของพระเจ้าฮั่นชง ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ เหลียง จี้ (梁冀) พี่ชายของนางเหลียง น่า ได้เป็นใหญ่ในราชการแผ่นดิน และในปี 146 เหลียง จี้ ก็ฆ่าหลิว จวั่น ทิ้ง นางเหลียง น่า จึงยกหลิว จื้อ ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ถัดมา ขณะนั้น หลิว จื้อ อายุได้สิบสี่ปี เมื่อเสวยราชย์แล้ว หลิว จื้อ กำจัดอิทธิพลของพี่น้องสกุลเหลียงเป็นผลสำเร็จ โดยได้ความช่วยเหลือจากเหล่าขันที แต่นั้นก็เป็นเหตุให้ขันทีเข้ามาครอบงำกิจการบ้านเมืองแทน ขันทีทั้งหลายฉ้อฉลไม่ต่างจากพี่น้องสกุลเหลียง ราษฎรจึงไม่สิ้นความเดือดร้อน ในปี 166 บัณฑิตจำนวนมากประท้วงต่อต้านรัฐบาล หลิว จื้อ จึงสั่งให้จับผู้ประท้วงทั้งสิ้น ราชวงศ์ฮั่นก็เข้าสู่ความเสื่อมอีกระดับหนึ่ง หลิว จื้อ อยู่ในสมบัติได้ยี่สิบสองปีก็วายชนม์ไปในปี 168 อายุได้สามสิบหก หลิว หง (劉宏) ญาติของหลิว จื้อ ได้เป็นกษัตริย์สืบต่อมา หมวดหมู่:จักรพรรดิราชวงศ์ฮั่น หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์ขณะทรงพระเยาว์.

ใหม่!!: การสำรวจและจักรพรรดิฮั่นหฺวัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิแนโร

แนโร เกลาดิอุส ไกซาร์ เอากุสตุส แกร์มานิกุส (NERO CLAVDIVS CAESAR AVGVSTVS GERMANICVS) เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันองค์ที่ 5 เกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 37 ที่เมืองอันติอูง จักรวรรดิโรมัน มีชื่อเต็มตอนเกิดว่า ลูกิอุส ดอมิติอุส อาเอนอบาร์บุส (LVCIVS DOMITIVS AHENOBARBVS) บิดาชื่อกไนอุส ดอมิติอุส อาเอนอบาร์บุส มารดาชื่ออากริปปีนา ซึ่งมีศักดิ์เป็นถึงน้องสาวของจักรพรรดิกาลิกุลา จักรพรรดิรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์ยูลิอุส-เกลาดิอ.

ใหม่!!: การสำรวจและจักรพรรดิแนโร · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิสเปน

ักรวรรดิสเปน (Imperio Español, Spanish Empire) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก และเป็นหนึ่งในจักรวรรดิโลก (global empire) จักรวรรดิแรก ที่มีดินแดนและอาณานิคมในยุโรป, อเมริกา, เอเชีย และ โอเชียเนีย มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ส่วนอาณานิคมในแอฟริกาเป็นดินแดนที่ได้มาในตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 20 สเปนก่อตัวขึ้นเป็นสหอาณาจักรในปี..

ใหม่!!: การสำรวจและจักรวรรดิสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: การสำรวจและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ใหม่!!: การสำรวจและทวีปอเมริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ใหม่!!: การสำรวจและทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ทอเลมี

ลาดิออส โตเลเมออส (Κλαύδιος Πτολεμαῖος) รู้จักในชื่อภาษาอังกฤษว่า ทอเลมี (Ptolemy) เป็นนักภูมิศาสตร์ นักดาราศาสตร์ และนักโหราศาสตร์ชาวกรีกโบราณ คาดว่ามีชีวิตและทำงานอยู่ในเมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ทอเลมีเป็นผู้แต่งตำราที่สำคัญหลายเล่ม ที่ถือว่าเป็นคัมภีร์ทางวิชาการ ในจำนวนนี้ มีสองเล่มที่ได้ใช้สืบต่อไปในวิทยาการของอาหรับและยุโรป เล่มแรกคือคัมภีร์ดาราศาสตร์ในชื่อว่า The Mathematical Compilation (Μαθηματική Σύνταξις ซึ่งภายหลังถูกเปลี่ยนชื่อเป็น The Greatest Compilation (Η Μεγάλη Σύνταξις ชาวอาหรับได้แปลหนังสือเล่มนี้ และให้ชื่อใหม่เป็นภาษาอารบิกว่า "al-majisti" ซึ่งภายหลังจากนั้นถูกแปลเป็นภาษาละตินว่า อัลมาเจสต์ (Almagest) อัลมาเจสต์เป็นหนังสือเกี่ยวกับเรื่องการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ ด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์ว่า: โลกมีลักษณะเป็นทรงกลม เป็นศูนย์กลางของจักรวาล และหยุดนิ่งไม่มีการเคลื่อนไหว; โดยทฤษฎีนี้ได้รับการยอมรับยาวนานถึง 1,400 กว่าปี จนกระทั่งสมัยของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส ตำราอีกเล่มหนึ่งคือ "ภูมิศาสตร์" ซึ่งเกี่ยวกับความรู้ด้านภูมิศาสตร์ในโลกยุคกรีก-โรมัน อย่างละเอี.

ใหม่!!: การสำรวจและทอเลมี · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลทรายสะฮารา

ทะเลทรายสะฮารา หรือ ซาฮารา หรือ สาฮารา (Sahara) เป็นทะเลทรายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นบริเวณแห้งแล้งใหญ่สุดเป็นอันดับสามรองจากทวีปแอนตาร์กติกาและอาร์กติก มีเนื้อที่มากกว่า 9,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,500,000 ตารางไมล์ คำว่า สะฮารา ในภาษาอาหรับ (صحراء) หมายถึง ทะเลทราย อาณาเขตของทะเลทรายสะฮารา ด้านทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศเหนือคือเทือกเขาแอตลาสและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันออกจรดทะเลแดงและประเทศอียิปต์ ทิศใต้จรดประเทศซูดานและหุบเขาของแม่น้ำไนเจอร์ วิดีโอที่ถ่ายในมุมมองจากอวกาศ ของ ทะเลทรายสะฮารา และ แถวตะวันออกกลาง โดยสมาชิกนักบินอวกาศในการสำรวจที่ 29.

ใหม่!!: การสำรวจและทะเลทรายสะฮารา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลแดง

วเทียมของทะเลแดง ทะเลแดง (Red Sea; البحر الأحمر, อัลบะฮฺรุ อัลอะฮฺมัร; Yam Suf) เป็นอ่าวในมหาสมุทรอินเดีย แบ่งระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชีย โดยทะเลแดงเชื่อมกับมหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเอเดน (Gulf of Aden) ทะเลแดงมีความยาวประมาณ 1900 กิโลเมตร และกว้างประมาณ 300 กิโลเมตร ร่องทะเลที่ลึกที่สุดประมาณ 2,500 เมตร และความลึกเฉลี่ยประมาณ 500 เมตร ทะเลแดงมีชื่ออื่นคือ อ่าวอาหรับ (Arabian Gulf) ซึ่งเรียกกันก่อนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชื่อทะเลแดงไม่ได้หมายถึงสีของน้ำทะเล แต่หมายถึงสีของแบคทีเรียชนิดหนึ่งบริเวณผิวน้ำ.

ใหม่!!: การสำรวจและทะเลแดง · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลเบริง

ทะเลเบริง (Берингово мо́ре; Bering Sea) ตั้งอยู่ทางมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ทางใต้ช่องแคบแบริ่งที่กั้นระหว่างประเทศรัสเซียและสหรัฐอเมริกา ทางใต้มีหมู่เกาะคอมมานเดอร์กั้นระหว่างทะเลกับมหาสมุทรแปซิฟิค ทะเลแบริ่งมีความลึกมากเพราะใต้ทะเลมีหุบเหว ทะเลแห่งนี้มีความลึกโดยเฉลี่ย 1,600 เมตร จุดที่ลึกที่สุดมีความลึก 4,151 เมตร แม่น้ำสายสำคัญที่ไหลลงสู่ทะเลแห่งนี้คือแม่น้ำอะนาดึร ที่ทะเลแห่งนี้เป็นแหล่งการประมงหลากหลายชนิด เช่น ปลาในตระกูลปลาแซลมอน ปลาในตระกูลปลาซาดีน และปูอลาสก้า หมวดหมู่:ทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก หมวดหมู่:ทะเลในประเทศรัสเซีย หมวดหมู่:ธรณีสัณฐานในสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:ทะเลเบริง หมวดหมู่:รัฐอะแลสกา หมวดหมู่:เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ.

ใหม่!!: การสำรวจและทะเลเบริง · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

วเทียมของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Sea) เป็นทะเลระหว่างทวีป คั่นกลางทวีปยุโรปที่อยู่ทางเหนือ ทวีปแอฟริกาที่อยู่ทางใต้ และทวีปเอเชียที่อยู่ทางตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร คำในภาษาอังกฤษ Mediterranean มาจากภาษาละติน mediterraneus หมายถึง 'ภายในแผ่นดิน' (medius 'กลาง' terra 'แผ่นดิน, โลก') ในภาษากรีกใช้ว่า "mesogeios".

ใหม่!!: การสำรวจและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน · ดูเพิ่มเติม »

ทิมบักตู

ทิมบักตู (Timbuktu) หรือ ตงบุกตู (Tombouctou) เป็นเมืองแห่งหนึ่งของประเทศมาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ มีประชากรราว 54,453 คน.

ใหม่!!: การสำรวจและทิมบักตู · ดูเพิ่มเติม »

ทิศตะวันออก

วงกลมแสดงทิศ (compass rose) ระบุทิศหลักและทิศรองไว้มากมาย โดยทิศตะวันออก (E) อยู่ทางขวา ทิศตะวันออก หรือ ทิศบูรพา เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันตก ขวามือของทิศเหนือ และซ้ายมือของทิศใต้ โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันออกอยู่ด้านขวามือของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ทางซ้ายมือของแผนที่ดาว ทิศตะวันออกเป็นทิศที่โลกหมุนไป ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกพอดีในวันวิษุวัต.

ใหม่!!: การสำรวจและทิศตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส

ริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus), กริสโตบัล โกลอน (Cristóbal Colón), คริสโตโฟรุส โกลุมบุส (Christophorus Columbus) หรือ กริสตอโฟโร โกลอมโบ (Cristoforo Colombo; เกิด ค.ศ. 1451 เสียชีวิตวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1506) เป็นนักทำแผนที่ นักสำรวจ นักเดินเรือ และพ่อค้า เชื่อกันว่าน่าจะเป็นชาวสาธารณรัฐเจนัว "Christopher Columbus." Encyclopædia Britannica.

ใหม่!!: การสำรวจและคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส · ดูเพิ่มเติม »

ควน ปอนเซ เด เลออน

ควน ปอนเซ เด เลออน (Juan Ponce de León; ค.ศ. 1474 – กรกฎาคม ค.ศ. 1521) เป็นนักสำรวจและกองกิสตาดอร์ชาวสเปน เขาเป็นผู้ว่าราชการเปอร์โตริโกคนแรกโดยพระมหากษัตริย์สเปนทรงแต่งตั้ง เขานำคณะสำรวจยุโรปคณะแรกเท่าที่ทราบไปลาฟลอริดาที่เขาตั้งชื่อ และสัมพันธ์กับตำนานน้ำพุแห่งความเยาว์วัย (Fountain of Youth) ซึ่งเชื่อว่าอยู่ในฟลอริดา หมวดหมู่:นักสำรวจคริสต์ศตวรรษที่ 16 หมวดหมู่:กองกิสตาดอร์สเปน หมวดหมู่:ยุคการสำรวจ หมวดหมู่:นักสำรวจทวีปอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: การสำรวจและควน ปอนเซ เด เลออน · ดูเพิ่มเติม »

คอคอดปานามา

อคอดปานามา คอคอดปานามา (Istmo de Panamá) หรือในอดีตเรียก คอคอดดาเรียน (Istmo de Darién) เป็นแผ่นดินกิ่วคอดซึ่งอยู่กลางทะเลแคริบเบียนและมหาสมุทรแปซิฟิก และเชื่อมทวีปอเมริกาเหนือเข้ากับทวีปอเมริกาใต้ ทั้งเป็นดินแดนประเทศปานามาและเป็นแหล่งคลองปานามา นอกจากนี้ ยังมีคุณค่าทางยุทธศาสตร์นานัปการเช่นเดียวกับคอคอดแห่งอื่น ๆ คอคอดปานาเกิดขึ้นราวสามล้านปีก่อนในยุคไพลโอซีน ซึ่งทำให้มหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิกแยกจากกัน และก่อให้เกิดกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรดังกล่าว.

ใหม่!!: การสำรวจและคอคอดปานามา · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรมลายู

มุทรมลายู คาบสมุทรมลายู หรือ แหลมมลายู (Semenanjung Tanah Melayu; Malay Peninsula) เป็นคาบสมุทรขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วางตัวเกือบอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ และเป็นจุดที่อยู่ใต้สุดของทวีปเอเชีย ส่วนที่แคบที่สุดของคาบสมุทรมลายู คือ คอคอดกระ ชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้แยกออกจากเกาะสุมาตราด้วยช่องแคบมะละกา มีเกาะบอร์เนียวอยู่ทางตะวันออกในทะเลจีนใต้.

ใหม่!!: การสำรวจและคาบสมุทรมลายู · ดูเพิ่มเติม »

คาร์เธจ

ร์เธจ (Carthago) เป็นเมืองโบราณ ปัจจุบันตั้งอยู่ในเมืองตูนิส ประเทศตูนีเซี.

ใหม่!!: การสำรวจและคาร์เธจ · ดูเพิ่มเติม »

ง่อก๊ก

ง่อก๊ก หรือ ตั้งอู๋ (東吳) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก ปกครองโดยพระเจ้าซุนกวน ในระหว่างปี พ.ศ. 765 - พ.ศ. 823 (ปี ค.ศ. 222-280) ง่อก๊กครอบครองพื้นที่ทางด้านตะวันออกของประเทศจีน ทางบริเวณตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี ซึ่งคือพื้นที่บริเวณรอบ ๆ เมืองหนานจิงในปัจจุบัน ง่อก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 4 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์ซุน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: การสำรวจและง่อก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ตูอาโมตัส

ตูอาโมตัส หรือ กลุ่มเกาะตูอาโมตู (Îles Tuamotu, หรือชื่อทางการคือ Archipel des Tuamotu) เป็นกลุ่มเกาะในดินแดนเฟรนช์โปลินีเซีย อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ส่วนใหญ่เป็นเกาะปะการังวงแหวน มีเกาะเล็ก ๆ รวมกันประมาณ 80 เกาะ เป็นแนวเกาะปะการังวงแหวนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครอบคลุมพื้นที่ขนาดราวยุโรปตะวันตก เปโดร เฟร์นันเดส เด เกย์รอส นักเดินเรือชาวโปรตุเกสเดินเรือให้แก่กษัตริย์สเปนมาพบบางส่วนของกลุ่มเกาะนี้ใน..

ใหม่!!: การสำรวจและตูอาโมตัส · ดูเพิ่มเติม »

ซุนกวน

ระเจ้าซุนกวน (181 — 252) หรือ พระเจ้าหวูต้าตี้ เป็นตัวละครในวรรณกรรม จีน อิง ประวัติศาสตร์ เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ผู้ก่อตั้งและพระมหากษัตริย์ของง่อก๊ก (吳) หนึ่งในสามอาณาจักรของยุคสามก๊ก ซุนกวนเป็นบุตรคนที่สองของซุนเกี๋ยน และเป็นน้องชายของซุนเซ็ก เมื่อซุนเซ็กพี่ชายตายไปจึงได้ขึ้นครองเมืองกังตั๋งแทนด้วยวัยแค่ 18 ปี แม้ซุนกวนจะไม่ปรากฏความสามารถในการรบเหมือนผู้พี่แต่มีความสามารถในการปกครองสูงมาก มารดาของซุนกวนได้ตายไปก่อนหน้านี้ ผู้ที่เลี้ยงซุนกวนขึ้นมา คือ ง่อก๊กไท่ ผู้มีศักดิ์เป็นน้าของซุนกวน ซึ่งซุนกวนนับถือง่อก๊กไท่ผู้นี้เสมือนแม่แท้ ๆ ของตัว ซุนกวนมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว มีตาสีเขียว หนวดเคราแดง เมื่อขึ้นครองเมืองแต่ยังเล็ก จึงได้รับฉายาว่า "ทารกตาเขียว" ซึ่งในบรรดาผู้นำก๊กทั้ง 3 นั้น ซุนกวนเป็นผู้มีอายุน้อยที่สุด แม้ตอนที่โจโฉยกทัพไปรบกับง่อก๊กของซุนกวนในศึกหับป๋า ซุนกวนก็บัญชาการรบอย่างแข็งขัน จนโจโฉที่แม้แต่เป็นศัตรูยังเอ่ยปากชมว่า "ถ้าจะได้บุตร ต้องได้บุตรอย่างซุนกวน" ซุนกวนมีน้องสาวอยู่นางหนึ่ง เป็นบุตรสาวของง่อก๊กไท่ ชื่อว่าซุนซางเซียงแต่เรียกกันว่า ซุนฮูหยิน ซึ่งต่อมาในภายหลังได้แต่งงานกับเล่าปี่ เป็นภรรยาคนที่ 3 ของเล่าปี่ ซุนกวนออกอุบายให้นางกลับคืนมาง่อก๊ก โดยเชิญนางให้เร่งรีบกลับมาพร้อมอาเต๊าโดยที่เล่าปี่ไม่รู้ แต่ขงเบ้งอ่านอุบายออก จึงให้จูล่งเร่งรีบเดินทางติดตามไป เมื่อถึงเรือของนางก็กระโดดขึ้นเรือขอให้นางกลับไป แต่นางไม่ยอม จูล่งจึงให้นางไปได้แต่อาเต๊า บุตรของเล่าปี่ต้องอยู่ ท้ายที่สุดอาเต๊าก็ได้กลับไปจ๊กก๊ก และเมื่อซุนฮูหยินทราบเมื่อกลับไปถึงว่านี่เป็นอุบายของพี่ชาย ก็เศร้าโศกเสียใจ ท้ายที่สุดนางก็ตรอมใจตาย ซุนกวน เองก็ปรารถนาก็จะเป็นใหญ่ในแผ่นดินเช่นเดียวกับโจโฉและเล่าปี่ เมื่อตอนที่เล่าปี่มาที่ง่อก๊กเพื่อที่จะสมรสกับซุนฮูหยิน แต่ซุนกวนได้ให้คนคอยซุ่มทำร้ายเล่าปี่อยู่เป็นระยะ ๆ เล่าปี่ก็รู้ทันและได้จูล่งแก้สถานการณ์ให้ เมื่อออกมาจากงานได้รำพันถอดถอนหายใจถึงชะตากรรมตัวเอง และได้เจอหินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่ง เล่าปี่อธิษฐานว่าหากตนจะได้เป็นใหญ่ ขอให้ใช้กระบี่ฟันหินนี้ให้แตกเป็น 2 ท่อน ก็ปรากฏว่าฟันหินได้ขาดจริง ๆ ซุนกวนเห็นดังนั้นจึงอธิษฐานบ้าง ก็ปรากฏว่าสามารถฟันหินได้แตกเช่นกัน และทั้งคู่จึงได้ขี่ม้าออกชมทัศนียภาพของง่อก๊กด้วยกัน แต่นโยบายในการทำสงครามของซุนกวนจะไม่ประกาศเป็นศัตรูกับก๊กใหญ่อีก 2 ก๊ก นั้นอย่างเต็มที่ แต่จะผูกไมตรีกับทุกก๊กที่จะเป็นประโยชน์กับตัวเอง ดังจะเห็นว่า ซุนกวนเองแม้จะผูกไมตรีกับจ๊กก๊ก แต่ก็หาทางจะกำจัดเล่าปี่อยู่เสมอ ๆ ถ้ามีโอกาส และซุนกวนเองก็เป็นสาเหตุการตายของกวนอู โดยซุนกวนออกอุบายทำให้จับกวนอูได้ จากนั้นจึงตัดหัวกวนอูส่งไปให้โจโฉ ซึ่งทำให้ทั้งเล่าปี่และเตียวหุยแค้นซุนกวนมาก และทั้งเตียวหุยและเล่าปี่ก็ต้องมาตายด้วยการมาแก้แค้นให้กวนอูทั้งสิ้น และต่อมาใน ปี..252 พระเจ้าซุนกวนสวรรคต รวมเวลาเสวยราชย์อยู่ได้ 24 ปี ภายหลังพระเจ้าซุนกวนสวรรคตไปแล้ว พระโอรสก็ได้ขึ้นเป็นผู้นำก๊กต่อ แต่สภาพภายในง่อก๊กไม่แข็งแกร่งเหมือนเก่า ขุนนางแตกแยกกันเอง จนนำมาสู่การล่มสลายของก๊กในที.

ใหม่!!: การสำรวจและซุนกวน · ดูเพิ่มเติม »

ซูเกร

ซูเกร (Sucre) เป็นเมืองหลวงของประเทศโบลิเวีย มีประชากร (ในปี ค.ศ. 2006) ทั้งหมด 247,300 คน อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 2,750 เมตรหรือ 9,022 ฟุต เมืองนี้ยังได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลกอีกด้วย ซึ่งได้รับการจดทะเบียนในปี ค.ศ. 1990 ซูเกร เป็นเมืองที่ได้ฉายาว่า "นครสี่นาม" เนื่องจากมีชื่อมาแล้วสี่ชื่อ โดยแรกเริ่มใช้ชื่อว่า "ลาปลาตา" (La Plata) และเปลี่ยนเป็น "ชาคราส" (Charcas) และเปลี่ยนเป็น "ชูควิซากา" (Chuquisaca) และเปลี่ยนเป็น "ซูเกร" ในปี ค.ศ. 1839 เช่นในปัจจุบัน เพื่อให้เกียรติแก่ประธานาธิบดีคนแรกของโบลิเวีย คือ อันโตเนียว โฮเซ เดอ ซูเกร.

ใหม่!!: การสำรวจและซูเกร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบราซิล

ราซิล (Brazil; Brasil) หรือชื่อทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (Federal Republic of Brazil; República Federativa do Brasil) เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีพื้นที่กว้างขวางระหว่างตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้และ มหาสมุทรแอตแลนติก มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอุรุกวัย อาร์เจนตินา ปารากวัย โบลิเวีย เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา กายอานา ซูรินาม และแคว้นเฟรนช์เกียนาของฝรั่งเศส (ติดกับทุกประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ยกเว้นเอกวาดอร์และชิลี) ชื่อ "บราซิล" มาจากต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า บราซิลวูด (Pau-Brasil ในภาษาโปรตุเกส) ซึ่งนำไปใช้ย้อมผ้าด้วยสีแดงจากเปลือกไม้ของมัน บราซิลเป็นดินแดนแห่งเกษตรกรรมและป่าเขตร้อน การที่บราซิลมีทรัพยากรธรรมชาติที่มากมายและมีแรงงานเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ (สูงเป็นอันดับที่ 10 ของโลก) และเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในปัจจุบัน บราซิลใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาทางการ.

ใหม่!!: การสำรวจและประเทศบราซิล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกัมพูชา

กัมพูชา หรือ ก็อมปุเจีย (កម្ពុជា กมฺพุชา) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรก็อมปุเจีย (ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี ใน..

ใหม่!!: การสำรวจและประเทศกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกาบูเวร์ดี

กาบูเวร์ดี (Cabo Verde) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐกาบูเวร์ดี (República de Cabo Verde) เป็นประเทศเกาะที่ตั้งอยู่บนกลุ่มเกาะภูเขาไฟประมาณ 10 เกาะในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนกลาง ห่างจากชายฝั่งทวีปแอฟริกาไปทางทิศตะวันตก 570 กิโลเมตร (350 ไมล์) ทุกเกาะมีเนื้อที่รวมกันประมาณ 4,000 ตารางกิโลเมตร (1,500 ตารางไมล์) เกาะสามเกาะในจำนวนนี้ (ได้แก่ เกาะซัล, เกาะโบอาวิชตา และเกาะไมยู) มีลักษณะค่อนข้างราบ แห้ง และเต็มไปด้วยทราย ส่วนเกาะอื่น ๆ โดยทั่วไปจะมีภูมิประเทศที่ขรุขระและมีพืชพรรณขึ้นอยู่มากกว่า ก่อนที่ชาวยุโรปจะเข้ามานั้น บนหมู่เกาะกาบูเวร์ดีไม่มีผู้คนอาศัยอยู่จนกระทั่งนักสำรวจชาวโปรตุเกสได้ค้นพบและเข้ายึดครองเป็นอาณานิคมในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก หมู่เกาะแห่งนี้จึงทวีความมั่งคั่งขึ้นเรื่อย ๆ และดึงดูดให้บรรดาโจรสลัดเข้ามาปล้นสะดมอยู่หลายครั้ง หนึ่งในจำนวนนั้นได้แก่ ฟรานซิส เดรก โจรสลัดหลวงของราชินีอังกฤษซึ่งเข้าปล้นเมืองรีไบรากรังดือ (เมืองหลักของหมู่เกาะในขณะนั้น) ถึงสองครั้งในคริสต์ทศวรรษ 1580 นอกจากนี้เรือหลวงบีเกิล (ที่มีชาลส์ ดาร์วิน เดินทางไปด้วย) ก็เข้ามาจอดแวะที่กาบูเวร์ดีในปี ค.ศ. 1832 เช่นกัน การลดลงของการค้าทาสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ส่งผลให้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ ประกอบกับทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีน้อยและการลงทุนอย่างยั่งยืนที่ไม่เพียงพอจากชาวโปรตุเกส ชาวหมู่เกาะจึงเริ่มรู้สึกไม่พอใจเจ้าอาณานิคมที่ยังคงปฏิเสธที่จะให้คนในท้องถิ่นมีอำนาจปกครองตนเองมากขึ้น อามิลการ์ กาบรัล นักเขียน นักคิด และนักชาตินิยมได้เป็นผู้นำการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชของกาบูเวร์ดี (และกินี-บิสเซา) จากโปรตุเกส แต่ก็ถูกลอบสังหารในวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1973 ลูอิช กาบรัล และอาริชตีดึช ปือไรรา จึงก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำขบวนการและดำเนินการแทนจนกระทั่งหมู่เกาะแห่งนี้ได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1975 ประชากรส่วนใหญ่ของกาบูเวร์ดีเป็นชาวครีโอลเลือดผสมระหว่างชาวโปรตุเกสกับชาวแอฟริกา กรุงไปรอาเมืองหลวงเป็นที่อาศัยของประชากรจำนวนเกือบหนึ่งในสี่ของประชากรทั้งประเทศที่มีอยู่ประมาณ 5 แสนคน จากสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2013 พบว่า เกือบร้อยละ 35 ของประชากรทั้งหมดอาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท และอัตราการรู้หนังสืออยู่ที่ประมาณร้อยละ 85 (จำแนกเป็นร้อยละ 91 ของประชากรชายอายุ 15 ปีขึ้นไป และร้อยละ 83 ของประชากรหญิงอายุ 15 ปีขึ้นไป) ในทางการเมือง กาบูเวร์ดีเป็นประเทศที่มีระบอบประชาธิปไตยที่เสถียรมากประเทศหนึ่ง การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเติบโตทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นของกาบูเวร์ดี (แม้ว่าจะขาดแคลนทรัพยากร) ก็เป็นที่ยอมรับจากนานาชาติ โดยประเทศและองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ มักจะให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอยู่เสมอ อนึ่ง กาบูเวร์ดีได้รับการจัดให้เป็นประเทศกำลังพัฒนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 เป็นต้นมา ห้วงเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำระหว่างทศวรรษหลัง ๆ ของการเป็นอาณานิคมจนถึงช่วงปีแรก ๆ ที่ได้รับเอกราชทำให้ชาวกาบูเวร์ดีจำนวนมากอพยพไปยังทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา และประเทศอื่น ๆ ในทวีปแอฟริกา ทุกวันนี้ประชากรที่อพยพออกไปอยู่นอกประเทศรวมทั้งลูกหลานมีจำนวนมากกว่าประชากรที่ยังอาศัยอยู่ในประเทศเสียอีก ในอดีต รายได้ที่ผู้ย้ายถิ่นออกส่งกลับมาให้ครอบครัวและญาติพี่น้องในกาบูเวร์ดีนับว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม ลูกหลานรุ่นหลัง ๆ มักไม่ค่อยส่งเงินกลับมาเท่าไรนัก และในปัจจุบัน เศรษฐกิจของกาบูเวร์ดีก็พึ่งพาภาคบริการเป็นหลักโดยเน้นการท่องเที่ยวและการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น ซึ่งมีข้อได้เปรียบจากภูมิอากาศที่อบอุ่นตลอดทั้งปี ภูมิทัศน์ที่หลากหลาย ความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะด้านดนตรี ชื่อประเทศกาบูเวร์ดีมีที่มาจากชื่อกัป-แวร์ คาบสมุทรเล็ก ๆ ซึ่งตั้งอยู่ห่างออกไปไม่ไกลบนชายฝั่งของประเทศเซเนกัลในปัจจุบัน ในครั้งแรกแหลมนี้ได้รับการตั้งชื่อเป็นภาษาโปรตุเกสว่า "กาบูเวร์ดี" (cabo แปลว่า แหลม และ verde แปลว่า สีเขียว) เมื่อนักสำรวจชาวโปรตุเกสสังเกตเห็นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1444 ซึ่งเป็นเวลาไม่กี่ปีก่อนที่พวกเขาจะมาพบหมู่เกาะแห่งนี้ แต่เดิมหมู่เกาะและประเทศนี้มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสว่า "เคปเวิร์ด" (Cape Verde) และ "กัป-แวร์" (Cap-Vert) ตามลำดับ จนกระทั่งในปี..

ใหม่!!: การสำรวจและประเทศกาบูเวร์ดี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดา

ูกันดา (Uganda) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐยูกันดา (Republic of Uganda) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก มีอาณาเขตทางตะวันออกจดประเทศเคนยา ทางเหนือจดประเทศซูดานใต้ ทางตะวันตกจดสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์เดิม) ทางตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศรวันดา และทางใต้จดประเทศแทนซาเนีย ทางใต้ของประเทศรวมถึงบางส่วนของทะเลสาบวิกตอเรีย ซึ่งมีพรมแดนติดกับเคนยาและแทนซาเนียด้วย ยูกันดาได้ชื่อมาจากอาณาจักรบูกันดาซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมทางใต้ของประเทศ รวมถึงเมืองหลวง กัมปาลา นอกจากนี้ยังมีอาณาจักรอื่นคือ อาณาจักรโตโร อาณาจักรบุนโยโร-กิตารา อาณาจักรบูโซกา อาณาจักรอันโกเล อาณาจักรรเวนซูรูรู เมืองหลวงเก่าของประเทศนี้คือเอนเทบบี อันเป็นที่ตั้งของสนามบินแห่งชาติยูกันดาด้ว.

ใหม่!!: การสำรวจและประเทศยูกันดา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศปารากวัย

ปารากวัย (Paraguay; กวารานี: Paraguái) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐปารากวัย (República del Paraguay; กวารานี: Tetã Paraguái) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในทวีปอเมริกาใต้ ตั้งอยู่บนสองฝั่งแม่น้ำปารากวัย มีอาณาเขตจรดประเทศอาร์เจนตินาทางทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ จรดประเทศบราซิลทางทิศเหนือ และจรดประเทศโบลิเวียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ชื่อประเทศปารากวัยมีความหมายว่า "น้ำซึ่งไหลไปสู่น้ำ" (water that goes to the water) โดยมาจากคำในภาษากวารานี: ปารา (pará) แปลว่า มหาสมุทร, กวา (gua) แปลว่า สู่/จาก, และ อี (y) แปลว่า น้ำ วลีในภาษากวารานีมักจะอ้างถึงเมืองหลวงอาซุนซีออน แต่ถ้าเป็นในภาษาสเปนจะอ้างถึงทั้งประเท.

ใหม่!!: การสำรวจและประเทศปารากวัย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศปาปัวนิวกินี

ปาปัวนิวกินี (Papua New Guinea; Papua Niugini) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐเอกราชปาปัวนิวกินี (Independent State of Papua New Guinea; Independen Stet bilong Papua Niugini) เป็นประเทศในแถบโอเชียเนีย เป็นพื้นที่ทางตะวันออกของเกาะนิวกินี (พื้นที่ทางตะวันตกเป็นของจังหวัดปาปัวของประเทศอินโดนีเซีย) ตั้งอยู่ในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ทางเหนือของประเทศออสเตรเลีย และอยู่ทางตะวันตกของหมู่เกาะโซโลมอน ปัจจุบันปาปัวนิวกินีเป็นประเทศสังเกตการณ์ในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน).

ใหม่!!: การสำรวจและประเทศปาปัวนิวกินี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศนอร์เวย์

นอร์เวย์ (Norway; Norge; Noreg) มีชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรนอร์เวย์ (Kingdom of Norway; Kongeriket Norge; Kongeriket Noreg) เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ในยุโรปเหนือ ส่วนตะวันตกของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มีอาณาเขตจรดประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ และรัสเซีย และมีอาณาเขตทางทะเลจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้กับประเทศเดนมาร์กและสหราชอาณาจักร นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีชายฝั่งยาวและเป็นที่ตั้งของฟยอร์ดที่มีชื่อเสียง ดินแดนหมู่เกาะที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ สฟาลบาร์และยานไมเอน ต่างก็อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของนอร์เวย์และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร ในขณะที่เกาะบูแวในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และเกาะปีเตอร์ที่ 1 ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้นั้น มีฐานะเป็นอาณานิคมของนอร์เวย์เท่านั้น ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร นอกจากนี้ นอร์เวย์ยังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนดรอนนิงมอดแลนด์ในทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีวิจัยอีกด้ว.

ใหม่!!: การสำรวจและประเทศนอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศนามิเบีย

นามิเบีย (Namibia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐนามิเบีย (Republic of Namibia) เป็นประเทศในทวีปแอฟริกาตอนใต้ ริมฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก มีพรมแดนติดด้านเหนือกับประเทศแองโกลา และแซมเบีย ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับซิมบับเว ทางตะวันออกติดกับบอตสวานา และทางใต้ติดกับประเทศแอฟริกาใต้ นามิเนียได้รับเอกราชคืนจากประเทศแอฟริกาใต้เมื่อ..

ใหม่!!: การสำรวจและประเทศนามิเบีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศนิวซีแลนด์

นิวซีแลนด์ (New Zealand; มาวรี: Aotearoa หมายถึง "ดินแดนแห่งเมฆยาวสีขาว" หรือ Niu Tirenio ซึ่งเป็นการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ รวมถึงเกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนตะวันตกเฉียงใต้ - นิวซีแลนด์มีเมืองหลวงชื่อเวลลิงตัน นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ห่างไกลจากประเทศอื่น ๆ มากที่สุด ประเทศที่อยู่ใกล้ที่สุดคือประเทศออสเตรเลีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่ 2,000 กิโลเมตร โดยที่มี ทะเลแทสมันกั้นกลาง ดินแดนเดียวที่อยู่ทางใต้คือทวีปแอนตาร์กติกา และทางเหนือคือนิวแคลิโดเนีย ฟิจิ และตองกา นิวซีแลนด์ได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษด้วยสนธิสัญญาไวตางี (Treaty of Waitangi) เมื่อปี พ.ศ. 2383 ซึ่งได้สัญญาไว้ว่าจะให้สิทธิในการเป็นผู้นำชนเผ่าอย่างเต็มรูปแบบ "complete chieftainship" (tino rangatiratanga) แก่ชาวมาวรีพื้นเมืองของนิวซีแลนด์ ในปัจจุบันความหมายที่แน่นอนของสนธิสัญญานี้ยังคงเป็นข้อพิพาท และยังคงเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกและความไม่พอใจกันอยู่เนื่องจากมีการแปลสนธิสัญญาทั้งสองฉบับไม่ตรงกัน โดยในฉบับภาษาอังกฤษมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะปกครองประเทศและประชาชนของประเทศ ในขณะที่ในฉบับภาษามาวรีมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะเป็นฝ่ายสนับสนุนการปกครองของผู้นำที่ชาวมาวรีพึงใจให้ปกครอง ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: การสำรวจและประเทศนิวซีแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแอฟริกาใต้

รณรัฐแอฟริกาใต้ (Republic of South Africa) หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า แอฟริกาใต้ (ต่างจาก "แอฟริกาตอนใต้" ซึ่งเป็นภูมิภาคประกอบไปด้วยหลายประเทศ รวมถึงประเทศแอฟริกาใต้ด้วย) เป็นประเทศอิสระที่อยู่ตอนปลายทางใต้สุดของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนติดกับประเทศนามิเบีย บอตสวานา ซิมบับเว โมซัมบิก และสวาซิแลนด์ นอกจากนี้ยังมีเลโซโทซึ่งเป็นประเทศที่ถูกล้อมรอบทุกด้านด้วยอาณาเขตของประเทศแอฟริกาใต้ รวมทั้งยังเป็นประเทศส่งออกเพชร, ทองคำ และไวน์ที่ชาวฝรั่งเศสนำเข้ามาอีกด้ว.

ใหม่!!: การสำรวจและประเทศแอฟริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแองโกลา

แองโกลา (Angola,, อังกอลา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐแองโกลา (República de Angola) คือประเทศในแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนจดกับประเทศนามิเบีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกและประเทศแซมเบีย และมีชายฝั่งทางตะวันตกบนมหาสมุทรแอตแลนติก ส่วนจังหวัดกาบิงดาแยกจากส่วนที่เหลือของประเทศและมีพรมแดนจดสาธารณรัฐคองโก (คองโก-บราซาวีล) แองโกลาเป็นอดีตอาณานิคมของประเทศโปรตุเกส มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่พอสมควร ที่สำคัญคือน้ำมันและเพชร แองโกลาเป็นประเทศที่ปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไต.

ใหม่!!: การสำรวจและประเทศแองโกลา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแทนซาเนีย

แทนซาเนีย หรือชื่อทางการ สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย (United Republic of Tanzania; Jamhuri ya Muungano wa Tanzania) เป็นประเทศที่อยู่บนชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา มีอาณาเขตทางเหนือจดเคนยาและยูกันดา ทางตะวันตกจดรวันดา บุรุนดี และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และทางใต้จดแซมเบีย มาลาวี และโมซัมบิก ส่วนทางตะวันออกจดมหาสมุทรอินเดีย ประเทศตั้งชื่อมาจากแผ่นดินใหญ่แทนกันยีกาและเกาะแซนซิบาร์ที่อยู่นอกจากชายฝั่งตะวันออก แทนซาเนียเป็นสมาชิกของเครือจักรภพแห่งชาติ ตั้งแต่ประกาศเอกราชเมื่อ พ.ศ. 2504 เมื่อ พ.ศ. 2507 แทนกันยีกาได้รวมกับแซนซีบาร์ กลายเป็นสหสาธารณรัฐแทนแกนยิกาและแซนซิบาร์ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย เมื่อพ.ศ. 2539 เมืองหลวงของแทนซาเนียย้ายจากดาร์เอสซาลามไปโดโดมา อย่างไรก็ดี สำนักงานของรัฐบาลหลายแห่งยังคงตั้งอยู่ในเมืองหลวงเดิม.

ใหม่!!: การสำรวจและประเทศแทนซาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโบลิเวีย

ลิเวีย (Bolivia) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐพหุชนชาติแห่งโบลิเวีย เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตจรดประเทศบราซิลทางทิศเหนือและทิศตะวันออก จรดประเทศปารากวัยและอาร์เจนตินาทางทิศใต้ และจรดประเทศชิลีและเปรูทางทิศตะวันตก.

ใหม่!!: การสำรวจและประเทศโบลิเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโซมาเลีย

ซมาเลีย (Somalia; Soomaaliya; الصومال) หรือชื่อประเทศอย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐโซมาเลีย (Federal Republic of Somalia; Jamhuuriyadda Federaalka Soomaaliya; جمهورية الصومال الفدرالية) มีชื่อเดิมว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยโซมาลี และ สาธารณรัฐโซมาลี มีพื้นที่ติดกับแหลมแอฟริกา มีพรมแดนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับจีบูติ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับเคนยา มีพื้นที่ทางทิศเหนือติดกับประเทศเยเมนโดยมีอ่าวเอเดนเป็นพรมแดนทางทะเล ทิศตะวันออกติดกับมหาสมุทรอินเดีย และทิศตะวันตกติดกับประเทศเอธิโอเปี.

ใหม่!!: การสำรวจและประเทศโซมาเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไอซ์แลนด์

อซ์แลนด์ (Iceland; อิสตลันต์) เป็นประเทศนอร์ดิกในยุโรปเหนือ ตั้งอยู่บนเกาะในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ระหว่างกรีนแลนด์ นอร์เวย์ และสหราชอาณาจักร มีเมืองหลวงคือเรคยาวิก ไอซ์แลนด์มีประชากรประมาณสามแสนคน มีพื้นที่ประเทศรวม 102,775 ตารางกิโลเมตร เรียกข้อมูลวันที่ 2008-03-03 นับว่ามีประชากรเบาบาง จากดัชนีการพัฒนามนุษย์ ปี..

ใหม่!!: การสำรวจและประเทศไอซ์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไนจีเรีย

นจีเรีย (Nigeria) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย (Federal Republic of Nigeria) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันตก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในแอฟริกา ไนจีเรียได้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยเมื่อพ.ศ. 2542 หลังจากที่มีการปกครองโดยเผด็จการทหารหลายคนที่โหดร้ายและคดโกง มานาน 16 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2508 ถึง พ.ศ. 2542 ไนจีเรียปกครองโดยเผด็จการทหารที่ชิงอำนาจด้วยการรัฐประหาร (ยกเว้นสาธารณรัฐที่ 2 ในช่วง..

ใหม่!!: การสำรวจและประเทศไนจีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: การสำรวจและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเอธิโอเปีย

อธิโอเปีย (Ethiopia; อามฮารา) หรือชื่อทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย (Federal Democratic Republic of Ethiopia; อามฮารา) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ตั้งอยู่ในส่วนแหลมของทวีปแอฟริกา (Horn of Africa) เป็นหนึ่งในชาติที่มีประวัติศาสตร์อันต่อเนื่องยาวนานที่สุดบนทวีปนี้ ในฐานะชาติอิสระ เอธิโอเปียเป็นประเทศเดียวในแอฟริกาที่ยังคงเอกราชระหว่างยุคล่าอาณานิคมในแอฟริกา (Scramble for Africa) และยังคงเอกราชไว้จนถึง พ.ศ. 2479 ซึ่งกองทัพอิตาลีในสมัยของเบนิโต มุสโสลินีได้เข้ายึดครองประเทศนี้ อังกฤษและเอธิโอเปียปราบกองทัพอิตาลีในพ.ศ. 2484 แต่เอธิโอเปียไม่ได้รับเอกราชใหม่จนถึงการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษกับเอธิโอเปีย (Anglo-Ethiopian Agreement) เมื่อธันวาคม พ.ศ. 2487.

ใหม่!!: การสำรวจและประเทศเอธิโอเปีย · ดูเพิ่มเติม »

นิวเบีย

ูมิภาคนิวเบียปัจจุบัน นิวเบีย หรือ นูเบีย (Nubia) เป็นภูมิภาคตามแม่น้ำไนล์ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศซูดานตอนเหนือและประเทศอียิปต์ตอนใต้ เป็นอารยธรรมแรก ๆ ในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือโบราณ โดยสามารถสืบย้อนประวัติศาสตร์มาแต่ 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชเป็นต้นมา (ผ่านสิ่งก่อสร้างและสิ่งประดิษฐ์นิวเบีย ตลอดจนบันทึกลายลักษณ์จากอียิปต์และโรม) และเป็นที่ตั้งของจักรวรรดิแห่งหนึ่งของแอฟริกา มีราชอาณาจักรนิวเบียขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งตลอดสมัยหลังคลาสสิก ราชอาณาจักรแห่งสุดท้ายล่มสลายใน..

ใหม่!!: การสำรวจและนิวเบีย · ดูเพิ่มเติม »

แกรนด์แคนยอน

แกรนด์แคนยอน มุมมองจากไบรต์เอนเจลเทรล แกรนด์แคนยอน (Grand Canyon;Hopi: Ongtupqa; Yavapai: Wi:kaʼi:la, Navajo: Tsékooh Hatsoh, Spanish: Gran Cañón)) เป็นดินแดนหินผาและหุบเหว ซึ่งหน้าผามีความสูงถึง 1,600 เมตร และหุบเหวยาวถึง 450 กิโลเมตร อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา ชาวยุโรปผู้เข้าสำรวจกลุ่มแรกคือพันตรี จอห์น เวสลีย์ พาวเวลล์ และคณะเมื่อปี ค.ศ. 1869 ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวนับแสนคนในแต่ละปี แกรนด์แคนยอนเกิดขึ้นโดยอิทธิพลของแม่น้ำโคโลราโด ไหลผ่านที่ราบสูงทำให้เกิดการสึกกร่อน พังทะลายของหินเป็นเวลา 990 ล้านปีมาแล้ว เดิมทีแม่น้ำโคโลราโดมีสภาพเป็นลำธารเล็กๆที่ไหลคด เคี้ยวไป ตามที่ราบกว้างใหญ่ที่อยู่ ระดับเดียวกับน้ำทะเล ต่อมาพื้นโลกเริ่มยกตัวสูงขึ้น อันเนื่องมาจาก แรงดันและ ความร้อนอันมหาศาลภายใต้พื้น โลกที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปและกลายเป็นแนวเทือกเขา กว้างใหญ่ การยกตัว ของแผ่นดินทำให้ทางที่ลำธาร ไหลผ่านลาดชันขึ้นและทำให้น้ำไหลแรงมากขึ้น พัดเอาทรายและตะกอนไปตาม น้ำเกิดการกัดเซาะลึกลงไปทีละน้อยในเปลือกโลก วัดจากขอบลงไป ก้นหุบเหวกว่า 1 ไมล์ (ประมาณ 1,600 เมตร) และอาจลึกว่าสองเท่า ของความหนาของเปลือกโลก ก่อให้เสยยววยนวยยกิดหินแกรนิต หินชั้นแบบต่าง ๆ พื้นดินที่เป็น หินทรายถูกน้ำ และลมกัดเซาะ จนเป็นร่องลึกสลับ ซับซ้อนนานนับล้านปี เป็นแคนยอนงดงามน่าพิศวงเนื่อง จากผลของดินฟ้าอากาศ ความร้อนเย็นซึ่งมีอิทธิพลรอบด้าน.

ใหม่!!: การสำรวจและแกรนด์แคนยอน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำมิสซิสซิปปี

แม่น้ำมิสซิสซิปปี ภาพถ่ายจากสวนสาธารณะในรัฐมินนิโซตา แม่น้ำมิสซิสซิปปี (Mississippi River) อยู่ตอนกลางของสหรัฐอเมริกา เป็นเครือข่ายสาขาแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ(เครือข่ายแม่น้ำมิสซิสซิปปี-มิสซูรี) มีความยาวทั้งสิ้น 3,334 กม.

ใหม่!!: การสำรวจและแม่น้ำมิสซิสซิปปี · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำคองโก

แม่น้ำคองโก บริเวณมาลูกู แม่น้ำคองโก (Congo River) หรือแม่น้ำซาอีร์ (Zaire River) เป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดทางตะวันออกกลางของแอฟริกา มีความยาวรวม 4,700 กม.

ใหม่!!: การสำรวจและแม่น้ำคองโก · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำแอมะซอน

แม่น้ำแอมะซอน แม่น้ำแอมะซอน (Amazon River; Rio Amazonas; Río Amazonas) เป็นแม่น้ำในทวีปอเมริกาใต้ มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศเปรู และไหลออกมหาสมุทรที่ประเทศบราซิล มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 6,992 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดของโลก (รองลงมาคือแม่น้ำไนล์) และยังเป็นแม่น้ำที่มีปากแม่น้ำกว้างที่สุดในโลก ซึ่งอยู่บริเวณทางเหนือของบราซิล แม่น้ำแอมะซอนเป็นแม่น้ำสายที่มีปริมาณน้ำมากที่สุด ปริมาณน้ำที่ไหลออกยังมหาสมุทรแอตแลนติกมากถึง 45 ล้านแกลลอนต่อวินาทีในฤดูฝน ฝนที่ตกในลุ่มแม่น้ำแอมะซอนเฉลี่ยปีละ 3 เมตร (สูงสุด 6 เมตร) แต่ฝนจะตกเพียงไม่กี่เดือน ต่างกันไปตามแต่ละสถานที่ ในช่วงฤดูแล้งราวเดือนตุลาคม น้ำจะลดปริมาณลงจนเห็นสันทรายและเกิดเป็นทะเลสาบต่าง ๆ บางแห่งตัดขาดจากกัน ในฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วมป่าทุกปี ในเนื้อที่ประมาณ 90,000 ตารางกิโลเมตร ขนาดเท่าประเทศอังกฤษ และยังถือเป็นแม่น้ำที่มีปริมาณน้ำมากถึง 1 ใน 5 ส่วนของโลก มีแม่น้ำสาขาที่แยกออกจากแอมะซอนมากกว่า 1,100 สาขา อีกทั้งยังถือเป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก เป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ปลามากที่สุดในโลก กว่า 3,000 ชนิด ซึ่งนับว่ามากกว่ามหาสมุทรแอตแลนติกเสียอีก.

ใหม่!!: การสำรวจและแม่น้ำแอมะซอน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำโคโลราโด

แผ่นที่แสดงการไหลของแม่น้ำโคโลราโด ภาพแม่น้ำโคโลราโดบริเวณมาร์เบิลแคนยอน ทางตอนเหนือของแกรนด์แคนยอน แม่น้ำโคโลราโด มีความยาวประมาณ 2,330 กิโลเมตร มีอัตราการไหลอยู่ที่ประมาณ 570 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีในฤดูแล้ง และมีอัตราการไหลประมาณ 28,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีในฤดูน้ำหลาก แม่น้ำอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 750 เมตร ไหลจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ใต้สู่ทะเลสาบมี๊ด ไหลออกสู่ทะเลที่อ่าวแคลิฟอร์เนีย น้ำในแม่น้ำจะมีอุณหภูมิคงที่ประมาณ 10 องศาเซลเซียส เพราะ ก่อนที่แม่น้ำจะเข้ามาแกรนด์แคนยอนจะมีเขื่อนที่เกลนแคนยอนซึ่งจะใช้น้ำจากระดับลึกประมาณ 200 ฟุตใต้เขื่อนมาปั่นไฟ น้ำในแม่น้ำโคโลราโดจึงมีอุณหภูมิคงที่ทั้งปี แม่น้ำโคโลราโดไหลผ่านที่ราบสูงด้วยความเร็วเฉลี่ย 32 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พร้อมเซาะกร่อนหินและดินตามเส้นทางไปวันละหลายล้านตัน และจากการไหลอันเชี่ยวกรากของกระแสน้ำในแม่น้ำโคโลราโด ทำให้เกิดสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติของโลกอย่างหนึ่ง คือ แกรนด์แคนยอน และแม่น้ำโคโลราโดยังเป็นแม่น้ำที่มีชื่อเสียงในด้านการล่องแก่งเป็นอันดับต้นๆในอเมริกาอีกด้วย ดังนั้นในแต่ละปีจึงมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมแม่น้ำโคโลราโดเป็นจำนวนมาก โดยจุดชมวิว Mahave Point ถือว่าเป็นจุดชมแม่น้ำโคโลราโดที่สวยที่สุด ในเส้นทางการไหลของแม่น้ำจะมีเขื่อนฮูเวอร์ตั้งขวางการไหลของแม่น้ำสายนี้อยู่เพื่อทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับรัฐต่างๆได้ถึง 4 รัฐ ซึ่งเขื่อนนี้เองที่ทำให้เกิดทะเลสาบมี.

ใหม่!!: การสำรวจและแม่น้ำโคโลราโด · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำไนล์

แผนที่แสดงเส้นทางการไหลของแม่น้ำไนล์ แม่น้ำไนล์ ในบริเวณอียิปต์ แม่น้ำไนล์ และ กรุงไคโรด้านหลัง แม่น้ำไนล์ (النيل อันนีล; Nile) เป็นแม่น้ำใน ทวีปแอฟริกา เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลก โดยถูกค้นพบแหล่งต้นน้ำใหม่ที่ทำให้มีความยาวกว่าเดิมเมื่อไม่นานมานี้ โดยแม่น้ำไนล์มีความยาวทั้งสิ้น 6,695 กิโลเมตร^~^.

ใหม่!!: การสำรวจและแม่น้ำไนล์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำไนเจอร์

แม่น้ำไนเจอร์ แม่น้ำไนเจอร์ เป็นแม่น้ำที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ที่สำคัญของทวีปแอฟริกา อยู่ในส่วนแอฟริกาตะวันตกของประเทศมาลี ไนเจอร์ ไนจีเรีย ต้นน้ำอยู่ที่ประเทศเซียร์ราลีโอน ไหลลงสู่อ่าวกินี ทอดตัวยาวเป็นแนวกว่า 2500 ไมล์ แม่น้ำไนเจอร์ เปรียบเสมือนเลือดชีวิตของ ประเทศมาลี เป็นแหล่งอาหาร, น้ำซึ่งเหมาะสำหรับดื่ม, และน้ำสำหรับการทำไร่ เป็นวิถีทางที่สำคัญที่ชาวมาลีได้รับ เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ให้พ่อค้าใช้สำหรับการขนส่งแลกเปลี่ยนสินค้าอีกด้วย ระหว่างเดือนที่มีน้ำสูง (ระหว่าง สิงหาคม ถึง พฤศจิกายน) เรือใหญ่มากมายสามารถเดินทางเที่ยวชมตามแม่น้ำ เรือที่มีขนาดเล็กสามารถล่องในแม่น้ำได้อย่างกว้างขวางอีกด้วย หมวดหมู่:แม่น้ำในทวีปแอฟริกา หมวดหมู่:แม่น้ำนานาชาติในทวีปแอฟริกา.

ใหม่!!: การสำรวจและแม่น้ำไนเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์

แม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์ (Saint Lawrence River) เป็นแม่น้ำในรัฐออนแทรีโอและรัฐควิเบก ประเทศแคนาดา มีความยาว 1,197 กิโลเมตร ปากแม่น้ำมีความกว้างมากถึง 145 กิโลเมตร โดยถือเป็นปากแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีเกาะตั้งอยู่บนลำน้ำหลายเกาะ บางตอนขยายกว้างออกเป็นทะเลสาบขนาดเล็ก แม่น้ำไหลออกจากทะเลสาบออนแทรีโอขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเส้นเขตแดนระหว่างรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกากับรัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา จนถึงเมืองคอร์นวอลล์ ไหลผ่านเข้ารัฐควิเบกทางตอนใต้และไหลต่อไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนลงอ่าวเซนต์ลอว์เรนซ์ มหาสมุทรแอตแลนติก มีแควสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำออตตาวา แม่น้ำแซงมอรีซ และแม่น้ำแซกิเนย์ไหลมาบรรจบทางด้านเหนือ แม่น้ำริเชลู แม่น้ำยาแมสกา แม่น้ำเซนต์แฟรนซิส และแม่น้ำโชดีแยร์ไหลมาบรรจบทางด้านใต้ เมืองสำคัญที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำได้แก่ มอนทรีออลและควิเบก เรือขนาดใหญ่สามารถเดินเรือได้ตลอดทั้งสาย เนื่องจากมีการขุดคลอง สร้างเขื่อนและประตูน้ำไว้เป็นระยะ ๆ เพื่อให้มีร่องน้ำลึกสม่ำเสมอ เส้นทางเดินเรือนี้เรียกว่า เซนต์ลอว์เรนซ์ซีเวย์ ยังสามารถเดินเรือมายังกลุ่มทะเลสาบเกรตเลกส์ได้อีกด้ว.

ใหม่!!: การสำรวจและแม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

แหลมกู๊ดโฮป

“แหลมกู๊ดโฮป” มองไปทางตะวันตก แหลมกู๊ดโฮป (Cape of Good Hope; Kaap die Goeie Hoop; Kaap de Goede Hoop) คือแหลมที่ยื่นออกไปทางด้านมหาสมุทรแอตแลนติกไม่ไกลจากเคปทาวน์ของประเทศแอฟริกาใต้ โดยทั่วไปมักจะเข้าใจผิดกันว่าแหลมกู๊ดโฮปตั้งอยู่ตอนปลายสุดของทวีปแอฟริกาและเป็นจุดที่แบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย แต่ตามความเป็นจริงแล้วแหลมที่อยู่ปลายสุดของทวีปแอฟริกาคือแหลมอะกะลัส (Cape Agulhas) ประมาณ 150 กิโลเมตรไปทางตะวันออกเฉียงใต้ แต่ความสำคัญของแหลมกู๊ดโฮปเป็นความสำคัญทางจิตวิทยา เพราะถ้าเดินทางตามแนวฝั่งจากเส้นศูนย์สูตรแล้วแหลมกู๊ดโฮปก็จะเป็นจุดที่เป็นการเริ่มหันการเดินทางไปทางตะวันออกมากกว่าที่จะเดินทางต่อไปทางใต้ ฉะนั้นการเดินทางรอบแหลมกู๊ดโฮปในปี..

ใหม่!!: การสำรวจและแหลมกู๊ดโฮป · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาเหนือ

นแดนแอฟริกาเหนือ แอฟริกาเหนือ หรือ แอฟริกาตอนเหนือ เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกาประกอบไปด้วย 7 ประเทศคือ.

ใหม่!!: การสำรวจและแอฟริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

โอเชียเนีย

อเชียเนีย (Oceania) เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มของหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก การใช้ในวงแคบ หมายถึง หมู่เกาะพอลินีเซีย (รวมนิวซีแลนด์) หมู่เกาะเมลานีเซีย (รวมนิวกินี) และหมู่เกาะไมโครนีเซีย การใช้ในวงกว้างจะรวมออสเตรเลียเข้าไปด้วย และอาจรวมถึงกลุ่มเกาะมลายู บางทีนำไปใช้ในความหมายที่รวมเอาเกาะอื่นๆ เข้าไว้ เช่น ญี่ปุ่นและหมู่เกาะอาลิวเชียน แต่พบน้อยมาก "โอเชียเนีย" หมายถึง กลุ่มประเทศและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทวีปออสเตรเลียซึ่งเป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุด เนื้อที่ราว 7.7 ล้านตารางกิโลเมตร เล็กกว่าทวีปเอเชียถึง 6 เท่า ประกอบด้วย ผืนแผ่นดินที่เป็นที่ตั้งของประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ และหมู่เกาะพอลินีเซีย หมู่เกาะไมโครนีเซีย หมู่เกาะเมลานีเซีย ทวีปออสเตรเลีย-โอเชียเนีย เป็นกลุ่มของหมู่เกาะจำนวนมากนับพันเกาะ อย่างไมโครนีเซียมีในครอบครองกว่า 600 เก.

ใหม่!!: การสำรวจและโอเชียเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ไวทัส เบริง

ไวทัส เบริง ไวทัส เบริง (Vitus Bering, สิงหาคม พ.ศ. 2224 - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2284) เป็นนักสำรวจชาวเดนมาร์กในกองทัพเรือของรัสเซีย หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2224 หมวดหมู่:นักสำรวจชาวเดนมาร์ก หมวดหมู่:นักสำรวจชาวรัสเซีย.

ใหม่!!: การสำรวจและไวทัส เบริง · ดูเพิ่มเติม »

ไทร์ (ประเทศเลบานอน)

ทร์ (Tyre) หรือ ศูร (صور; ฟินิเชีย: צור,; צוֹר, Tzor; ฮีบรูไทบีเรียส,; แอกแคด: 𒋗𒊒,; กรีก:, Týros; Sur; Tyrus) เป็นเมืองในเขตผู้ว่าการใต้ ทางตอนใต้ของประเทศเลบานอน มีประชากรราว 117,000 คน ในปี..

ใหม่!!: การสำรวจและไทร์ (ประเทศเลบานอน) · ดูเพิ่มเติม »

ไดโด

(Daidō) ปีรัชศกของญี่ปุ่นที่มาก่อนปี โคนิง และตามหลังปี เอ็นเรียะกุ โดยอยู่ในช่วงปี..

ใหม่!!: การสำรวจและไดโด · ดูเพิ่มเติม »

ไซบีเรีย

ซบีเรีย ไซบีเรีย (Siberia, Сиби́рь) ถูกครอบครองโดยชนเผ่าเร่ร่อนหลากหลายกลุ่มแตกต่างออกไป เช่น Yenets, the Nenets, the Hun และ the Uyghurs Khan of Sibir ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง มีอากาศหนาวเย็นได้เข้าครอบครองแล้วตั้งชื่อว่า Khagan ใน Avaria ในปี..

ใหม่!!: การสำรวจและไซบีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน

ฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน (Ferdinand Magellan), ฟือร์เนา ดือ มากัลไยช์ (Fernão de Magalhães) หรือ เฟร์นันโด เด มากายาเนส (Fernando de Magallanes) เป็นนักเดินเรือชาวโปรตุเกส มีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา เขาเกิดที่เมืองซาบรอซา ทางภาคเหนือของประเทศโปรตุเกส หลังจากรับราชการทหารที่อินเดียตะวันออกและโมร็อกโก มาเจลลันได้เสนอตัวทำงานให้กับพระเจ้าชาลส์ที่ 5 แห่งสเปนเพื่อค้นหาเส้นทางเดินเรือทางทิศตะวันตกสู่ "หมู่เกาะเครื่องเทศ" (หมู่เกาะโมลุกกะในประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน) เขาจึงได้รับสัญชาติสเปนด้วย มาเจลลันได้เดินเรือออกจากเมืองเซบียาในปี พ.ศ. 2062 การเดินทางในช่วง..

ใหม่!!: การสำรวจและเฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน · ดูเพิ่มเติม »

เกรตเลกส์

วเทียมบริเวณเกรตเลกส์ แผนที่ เกรตเลกส์ ทะเลสาบทั้ง 5 แห่ง เกรตเลกส์ (อังกฤษ: Great Lakes) เป็นชื่อเรียกทะเลสาบทั้ง 5 ได้แก่ สุพีเรีย มิชิแกน ฮูรอน อิรี และออนแทรีโอ เป็นกลุ่มของทะเลสาบน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก บางครั้งชาวอเมริกันให้ฉายาว่าเป็น "ชายหาดที่สาม" เนื่องจากอาณาบริเวณที่กว้างขวาง ลักษณะระบบนิเวศ ชายหาดและพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ ทำให้ได้รับการขนานนามว่าเป็น "ทะเลในแผ่นดิน" เพราะปริมาณน้ำจืดในทะเลสาบทั้ง 5 คิดเป็น 20 % ของปริมาณน้ำจืดที่มีอยู่บนโลก ในทางภูมิศาสตร์เส้นแบ่งประเทศของสหรัฐอเมริกาและแคนาดาลากผ่านกลุ่มทะเลสาบเหล่านี้ มีเพียงทะเลสาบเดียวที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาคือทะเลสาบมิชิแกน บริเวณนี้เป็นแหล่งแร่เหล็กที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะทะเลสาบซุพีเรี.

ใหม่!!: การสำรวจและเกรตเลกส์ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะสุมาตรา

มาตรา หรือ ซูมาเตอรา (Sumatra; Sumatera) คือเกาะที่มีขนาดเป็นอันดับ 6 ของโลก (มีขนาดประมาณ 470,000 กม.&sup2) และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซี.

ใหม่!!: การสำรวจและเกาะสุมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

เกาะเวก

กาะเวก (Wake Island) เป็นอาณานิคมของสหรัฐอเมริกาในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ มีพื้นทีทั้งหมด 6.5 ตารางกิโลเมตร มีสภาพพื้นที่เป็นเกาะปะการัง ใต้น้ำมีภูเขาไฟอยู่ด้วยและมีแนวปะการังรอบเกาะ เกาะเวกมีเพียงแค่บุคคลในราชการทหารสหรัฐเท่านั้นที่อาศัยอยู่ เกาะเวกมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจทางด้านอาหาร มีระบบโทรศัพท์ดินแดนโพ้นทะเล (OTS) มีสถานีวิทยุแต่ไม่สถานีโทรทัศน์ เกาะเวกมีสนามบินอยู่หนึ่งแห่งบนเกาะเวกแต่ไม่มีท่าเรือ เกาะเวกต่างจากบรรดาดินแดนอาณานิคมของสหรัฐในแปซิฟิกเหนือบางดินแดนเนื่องจากมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเคยเป็นสมรภูมิในสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้ว.

ใหม่!!: การสำรวจและเกาะเวก · ดูเพิ่มเติม »

เลฟ เอริกสัน

ลฟ เอริกสัน (Leif Ericsson) (พ.ศ. 1523 - พ.ศ. 1563) เป็นนักสำรวจชาวไอซ์แลนด์ เป็นผู้ค้นพบทวีปยุโรป และ ทวีปอเมริกาเหนือ เลฟ อีริคสัน เขาได้ทำการสำรวจเกาะกรีนแลนด์สืบต่อจากพ่อของเขา และเขายังได้เคย เข้าร่วมขบวนเดินทางสำรวจที่พ่อของเขาส่งไปยัง ทวีปอเมริกาเหนือ เมื่อประมาณปี..

ใหม่!!: การสำรวจและเลฟ เอริกสัน · ดูเพิ่มเติม »

เอนรีเกราชนาวิก

้าฟ้าชายเองริกึ ราชนาวิก (Henrique o Navegador) (4 มีนาคม ค.ศ. 1394 - 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1460) เป็น “อินฟันเต” (เจ้าชาย) แห่งราชวงศ์อาวิซ (House of Aviz) ผู้มีบทบาทสำคัญในจักรวรรดิโปรตุเกสยุคแรก โดยเฉพาะในการเดินทางทำสำรวจไปทั่วโลก เจ้าฟ้าชายเองริกึเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สามในพระเจ้าโจเอาที่ 1 แห่งโปรตุเกสผู้ก่อตั้งราชวงศ์อาวิซและฟิลิปปาแห่งแลงแคสเตอร์ธิดาของจอห์นแห่งกอนท์ ดยุกที่ 1 แห่งแลงแคสเตอร์ แห่งอังกฤษ เจ้าฟ้าชายเองริกึทรงยุให้พระราชบิดาพิชิตเซวตา (ค.ศ. 1415) ซึ่งเป็นเมืองท่าในแอฟริกาเหนือของมุสลิมตรงข้ามกับช่องแคบยิบรอลตาร์จากคาบสมุทรไอบีเรียซึ่งเป็นผลทำให้ทรงมีความเข้าใจถึงผลประโยชน์ที่จะได้จากการใช้เส้นทางการค้าที่ยุติลงในทะเลทรายซาฮาราและทรงมีความสนพระทัยอย่างมุ่งมั่นกับทวีปแอฟริกาโดยทั่วไป และทรงมีความตื่นพระทัยเป็นอันมากกับตำนานคริสเตียนเกี่ยวกับเพรสเตอร์ จอห์นและการขยายตัวทางการค้าของโปรตุเกส เชื่อกันว่าเจ้าฟ้าชายเองริกึทรงรวบรวมกลุ่มนักเดินเรือและนักเขียนแผนที่ที่คฤหาสน์ของพระองค์ที่แหลมซาเกรส พระองค์ทรงจ้างนักเขียนแผนที่เพื่อช่วยในการเขียนแผนที่ของฝั่งทะเลของมอริเตเนียหลังจากการสำรวจที่ทรงส่งไป แต่ก็มิได้เป็นศูนย์กลางของวิทยาการการเดินเรือหรือสถานที่สำหรับดูดาวอย่างที่เข้าใจกันในสมัยใหม่ หรือเป็นศูนย์การเดินเรือที่มีโครงสร้างที่มีระบบ พระองค์ทรงได้รับการบรรยายว่าทรงเป็นผู้มีความสมถะ พระสุรเสียงเบาและเป็นผู้เคร่งขรึม ทรงเป็นผู้มีคุณธรรมดีหลายประการและไม่เคยทรงปล่อยให้คนยากจนที่มาเข้าเฝ้ากลับไปมือเปล.

ใหม่!!: การสำรวจและเอนรีเกราชนาวิก · ดูเพิ่มเติม »

เฮนรี ฮัดสัน

นรี ฮัดสัน เฮนรี ฮัดสัน (Henry Hudson; คริสต์ทศวรรษ 1560/70 – ค.ศ. 1611) นักสำรวจชาวอังกฤษ เป็นผู้ค้นพบอ่าวฮัดสัน.

ใหม่!!: การสำรวจและเฮนรี ฮัดสัน · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ คุก

องเจมส์ คุก นักสำรวจชาวอังกฤษ วาดโดยนาธาเนียล แดนซ์ ปีค.ศ. 1775 จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ทางทะเลแห่งชาติ ในเมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษ เจมส์ คุก (27 ตุลาคม ค.ศ. 1728 - 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1779) เป็นนักสำรวจและนักเดินเรือชาวอังกฤษ และยังเป็นนักทำแผนที่อีกด้วย เขาได้เดินทางไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกสามครั้ง ซึ่งก็ได้ทำแผนที่แนวชายฝั่งไว้ส่วนใหญ่ กัปตัน เจมส์ คุก เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้เข้ามาสำรวจประเทศออสเตรเลีย และยึดออสเตรเลียเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เป็นผู้ค้นพบเกาะฮาวายนอกจากนี้เขายังเป็นผู้คนพบเกาะอีกหลายแห่ง เช่น เกาะนิวซิแลนด์ เป็นต้น เจมส์ คุก ถูกฆ่าตายระหว่างการต่อสู้กับชนพื้นเมืองฮาวาย ที่อ่าวเกียลาคีกัว เกาะฮาวายในปี ค.ศ. 1779.

ใหม่!!: การสำรวจและเจมส์ คุก · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาแอนดีส

ทือกเขาแอนดีสระหว่างชิลีและอาร์เจนตินา right เทือกเขาแอนดีส เป็นเทือกเขาที่วางตัวขนานกับด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ เป็นเทือกเขาที่ยาวที่สุดในโลก พาดผ่าน 7 ประเทศตั้งแต่ เวเนซุเอลา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เปรู โบลิเวีย อาร์เจนตินา และชิลี เทือกเขาเกิดจากแนวรอยปะทะกันของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นปะทะกันเป็นเวลานานหลายล้านปี โดยแผ่นเปลือกโลกอเมริกาใต้กดทับแผ่นเปลือกโลกนาซกา โดยแนวเทือกเขาแอนดิสจะมีความสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปีและมียอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาอากอนกากัว เทือกเขาแอนดิสบริเวณประเทศโบลิเวียมีที่ราบสูงที่ชาวโบลีเวียเรียกว่า อัลติพลาโน (altiplano) หรือที่ราบสูงโบลิเวีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของประเทศโบลิเวียชื่อลาปาซซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากที่สุดในโลก และบริเวณที่ราบสูงโบลิเวียนี้ก็เป็นที่ตั้งของทะเลสาบติติกากาซึ่งตั้งอยู่พรมแดนระหว่างประเทศเปรูกับประเทศโบลิเวีย และได้ชื่อว่าเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากที่สุดในโลกด้วย แนวเขาในเขตประเทศเปรูเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำอเมซอนที่ความยาวเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากแม่น้ำไนล์ บริเวณตอนใต้ของเทือกเขาแอนดิสเป็นที่ราบเชิงเขาอยู่เขตรอยต่อระหว่างประเทศอาร์เจนตินากับประเทศชิลี และเรียกบริเวณนั้นว่าที่ราบสูงปาตาโกเนีย บริเวณเทือกเขาแอนดีนั้นเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรอินคา และเป็นแหล่งกำเนิดของตัวลาม.

ใหม่!!: การสำรวจและเทือกเขาแอนดีส · ดูเพิ่มเติม »

เปดรู อัลวารึช กาบรัล

ปดรู อัลวารึช กาบรัล เปดรู อัลวารึช กาบรัล (Pedro Álvares Cabral) เกิดเมื่อประมาณ พ.ศ. 2010-ประมาณ พ.ศ. 2063) ตรงกับรัชสมัยระหว่างสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 หรือพระเชษฐาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา กราบรัลเป็นนักเดินเรือและนักสำรวจชาวโปรตุเกส ได้รับการยกย่องเป็นชาวยุโรปผู้ค้นพบบราซิล เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2043.

ใหม่!!: การสำรวจและเปดรู อัลวารึช กาบรัล · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »