โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การสะกดจิต

ดัชนี การสะกดจิต

การสะกดจิต (hypnosis) เป็นสภาพพิชานของมนุษย์ ที่มีการมุ่งความใส่ใจและลดความสนใจต่อสิ่งรอบตัว รวมทั้งตอบสนองต่อสิ่งชักจูงง่ายขึ้น ทฤษฎีอธิบายสิ่งที่เกิดระหว่างการสะกดจิตแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ทฤษฎีเปลี่ยนแปลงสภาพ มองว่าการสะกดจิตเป็นการเปลี่ยนสภาพจิตหรือการอยู่ในภวังค์ (trance) สังเกตจากระดับความรู้สึกตัวที่แตกต่างจากสภาพพิชานปกติ ในทางตรงข้าม ทฤษฎีไม่ใช่สภาพ มองว่าการสะกดจิตเป็นรูปแบบหนึ่งของการกำหนดบทบาทในจินตนาการ คนที่เคยถูกสะกดจิตกล่าวว่าพวกเขารู้สึกมีสมาธิมากขึ้น และระหว่างถูกสะกดจิตยังสามารถตั้งสมาธิอย่างแรงกล้าไปยังความคิดหรือความทรงจำเฉพาะ โดยไม่สนใจสิ่งเร้าอื่น.

15 ความสัมพันธ์: กรีซโบราณกายภาพบำบัดการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิมการศึกษาการคลอดการติดกีฬายาหลอกสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกาสตัฟโรปอลความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจความใส่ใจโรคกลัวโรควิตกกังวลโรคซึมเศร้า

กรีซโบราณ

กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.

ใหม่!!: การสะกดจิตและกรีซโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

กายภาพบำบัด

กายภาพบำบัด (physical therapy หรือ physiotherapy) เป็นวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน รักษา และจัดการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ผิดปรกติ ที่เกิดขึ้นจากสภาพและภาวะของโรค ที่เกิดขึ้นในทุกช่วงของชีวิต กายภาพบำบัด จะกระทำโดย นักกายกายภาพบำบัด (Physical therapist หรือ Physiotherapist หรือย่อว่า PT) หรือผู้ช่วยนักกายภาพบำบัด (Physical Therapy Assistant) ภายใต้การดูแลและแนวทางของนักกายภาพบำบัด อย่างไรก็ตาม ได้มีการใช้การรักษาทางกายภาพบำบัดบางอย่างโดยผู้ประกอบวิชาชีพสุขภาพอื่นๆ เช่น ไคโรแพรคเตอร์, แพทย์ทางด้านการจัดกระดูก และโปรแกรมการรักษาทางกายภาพบำบัด ยังเกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการสาธารณสุขอื่นๆอีกด้วย นักกายภาพบำบัด จะใช้ประวัติทางการรักษา และข้อมูลจากการตรวจร่างกาย เพื่อประกอบการให้การบำบัด ถ้าหากว่าจำเป็น นักกายภาพบำบัดอาจจะใช้ผลจากห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และการศึกษาภาพถ่ายทางรังสี ประกอบการบำบัดรักษาด้วย เป็นต้น นักกายภาพบำบัด ปฏิบัติงานในหลายลักษณะงาน เช่น ในส่วนของผู้ป่วยนอก คลินิค หรือสำนักงาน, แผนกผู้ป่วยใน เกี่ยวกับเวชกรรมฟื้นฟู, ผู้ป่วยที่ทำการฟื้นฟูอยู่บ้าน, วงการการศึกษา หรือศูนย์วิจัย, โรงเรียน, สถานพักฟื้น,โรงงานอุตสาหกรรม,ศูนย์ฟิตเนส และ สถานการฝึกสอนนักกีฬา แพทย์อย่างเช่น ฮิปโปกราเตส และ เฮกเตอร์ เป็นผู้ที่ซึ่งเชื่อว่า เป็นบุคคลกลุ่มแรกที่ริเริ่มการรักษาทางกายภาพบำบัดในสมัยโบราณ ได้นำการรักษาโดยการนวดและการทำธาราบำบัด มาใช้รักษาผู้ป่วย ตั้งแต่ 460 ปีก่อนคริสตกาล หลักฐานในสมัยแรกสุดที่ถูกบันทึกไว้เกี่ยวกับกายภาพบำบัดจัดว่า กายภาพบำบัด คือกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลุ่มหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เมื่อย้อนไปในปี 1894 เมื่อพยาบาลสี่คนในอังกฤษ รวมตัวกันเพื่อจัดตั้ง ชมรมผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด ประเทศอื่นๆ ก็ได้ดำเนินการเช่นกันและเริ่มมีการทำหลักสูตรการสอนที่เป็นระบบ เช่นเมื่อปี 1913 ได้มีโรงเรียนกายภาพบำบัด ที่มหาวิทยาลัยโอทาโก ในนิวซีแลนด์, และในสหรัฐอเมริกา ในปี 1914 ที่ Reed College ในพอร์ทแลนด์ รัฐ ออริกอน งานวิจัยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพบำบัด งานวิจัยทางกายภาพบำบัดฉบับแรก ถูกตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา เมื่อ เดือนมีนาคม ปี 1921 ใน The PT Review ในปีเดียวกันนั้น แมรี่ แมคมิลลาน ได้ก่อตั้ง สมาคมกายภาพบำบัด (ปัจจุบันคือ สมาคมกายภาพบำบัดแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ APTA) ในปี 1924 มูลนิธิ Georgia Warm Spring ได้สนับสนุนองค์กรนี้ โดยกล่าวว่า กายภาพบำบัดคือการรักษาสำหรับโรคโปลิโอ การรักษา ในช่วงทศวรรษที่ 1940 มีหลักที่ประกอบไปด้วย การออกกำลัง การนวด และการดึง ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1950 วิธีการใช้มือกดหรือทำการเคลื่อนไหวโดยตรง (Manipulation) ลงบนกระดูกสันหลัง และข้อต่อของกระดูกระยางค์ ได้ถูกนำมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศเครือจักรภพอังกฤษ ในช่วง 10 ปีหลังจากนั้น นักกายภาพบำบัด ได้เริ่มมีบทบาทในโรงพยาบาล สำหรับผู้ป่วยนอก ในส่วนของคลินิคผู้ป่วยทางออโธปิดิกส์, โรงเรียนรัฐบาล, วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย, การดูแลผู้สูงวัย, ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู, โรงพยาบาล, และศูนย์การแพทย์ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสำหรับกายภาพบำบัดในสหรัฐอเมริกา เริ่มขึ้นในปี 1974 ในสาขาของ ออร์โธปิดิกส์ หน่วยงานใน APTA ก็ได้รวมตัวเพื่อนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่อง ออร์โธปิดิกส์ ในปีเดียวกัน ได้เกิด สหพันธ์ออร์โธปิดิกส์หัตถการนานาชาติ (the International Federation of Orthopedic Manipulative Therapy) ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับ หัตถการขั้นสูงนับตั้งแต่นั้นมา ในช่วงทศวรรษที่ 1980 เกิดการตื่นตัวทางทางด้านเทคโนโลยีและ คอมพิวเตอร์ ทำให้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆมากขึ้นสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพ จากผลของความก้าวหน้านี้ ก่อให้เกิดเครื่องมือการรักษาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องกำเนิดคลื่นเหนือเสียง หรือ Ultrasound, เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า, เครื่องผลักประจุไฟฟ้า iontophoresis, และล่าสุดคือ การรักษาด้วยเลเซอร์เย็น ซึ่งผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยา ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2002 ปัจจุบันในประเทศไทย นักกายภาพบำบัดสามารถใช้คำนำหน้านามว่า ก. นำหน้าชื่อสกุลได้.

ใหม่!!: การสะกดจิตและกายภาพบำบัด · ดูเพิ่มเติม »

การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม (Classical Conditioning) ของ อีวาน พาฟลอฟ พฤติกรรมที่จะเกิดการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกได้มักเป็นพฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อน อันมีพื้นฐานมาจากการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การทำงานของต่อมต่าง ๆในร่างกาย การทำงานของระบบกล้ามเนื้อต่าง ๆ พฤติกรรมการตอบสนองในการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น พฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเหล่านี้ เรียกว่า พฤติกรรมตอบสนอง หรือพฤติกรรมที่เป็นไปโดยไม่ตั้งใจ การเรียนรู้โดยวางเงื่อนไขเงื่อนไขแบบดั้งเดิมกับสุนัขด้วยวิธีการของพาร์พลอฟ พาร์พลอฟ เชื่อว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากเกิดจากการวางเงื่อนไข (conditioning) กล่าวคือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้าหนึ่งมักมีเงื่อนไขหรือสถานการณ์เกิดขึ้น ซึ่งในสภาพปกติหรือในชีวิตประจำวันการตอบสนองเช่นนั้นอาจไม่มี เช่น กรณีสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งและน้ำลายไหล เสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข (เพราะโดยปกติเสียงกระดิ่งมิได้ทำให้สุนัขน้ำลายไหล แต่คนต้องการให้สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง) พาร์พลอฟ เรียกว่า สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข (conditioned stimulus) และปฏิกิริยาน้ำลายไหล เป็นการตอบสนองที่เรียกว่าการตอบสนองที่มีเงื่อนไข (conditioned response).

ใหม่!!: การสะกดจิตและการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม · ดูเพิ่มเติม »

การศึกษา

การศึกษา ในความหมายทั่วไปอย่างกว้างที่สุด เป็นวิธีการส่งผ่านจุดมุ่งหมายและธรรมเนียมประเพณีให้ดำรงอยู่จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง โดยทั่วไป การศึกษาเกิดขึ้นผ่านประสบการณ์ใด ๆ ซึ่งมีผลกระทบเชิงพัฒนาต่อวิธีที่คนคนหนึ่งจะคิด รู้สึกหรือกระทำ แต่ในความหมายเทคนิคอย่างแคบ การศึกษาเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการซึ่งสังคมส่งผ่านความรู้ ทักษะ จารีตประเพณีและค่านิยมที่สั่งสมมาจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง นั่นคือ การสอนในสถานศึกษา สำหรับปัจจุบันนี้มีการแบ่งระดับชั้นทางการศึกษาออกเป็นขั้นๆ เช่น การศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ทั้งนี้รวมไปถึงระดับอาชีวศึกษา อุดมศึกษา และการฝึกงาน สำหรับประเทศไทย มีกฎหมายบังคับให้ประชาชนไทยทุกคนต้องจบการศึกษาภาคบังคับ และสามารถเรียนได้จนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ในปัจจุบันยังเปิดโอกาสให้มีการเรียนการสอนโดยผู้ปกครองที่บ้านหรือที่เรียกว่าโฮมสคูลอีกด้วย คำว่า "education" เป็นศัพท์จากภาษาลาติน ēducātiō ("การปรับปรุง,การอบรม") จาก ēdūcō ("ฉันรู้, ฉันฝึก") สำหรับการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาต..

ใหม่!!: การสะกดจิตและการศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

การคลอด

็กแรกเกิด การคลอด เป็นการให้กำเนิดของสิ่งมีชีวิตที่เลี้ยงลูกด้วยนมหลังจากการตั้งครรภ์ ซึ่งเปลี่ยนภาวะจากตัวอ่อนในครรภ์ออกมาเผชิญสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งการคลอดโดยธรรมชาติทารกหรือตัวอ่อนจะออกทางช่องคลอด หรือกรณีที่คลอดธรรมชาติไม่ได้ แพทย์จะทำการผ่าตัดหน้าท้องเพื่อเอาเด็กออกม.

ใหม่!!: การสะกดจิตและการคลอด · ดูเพิ่มเติม »

การติด

การติด (addiction) หมายถึง การแสดงพฤติกรรมหนึ่งซ้ำ ๆ แม้จะมีผลเสีย หรือมีความบกพร่องทางประสาทวิทยาอันนำไปสู่พฤติกรรมดังกล่าว การติด เช่น การติดสารเสพติด การติดอาหาร การติดออกกำลังกาย การติดคอมพิวเตอร์และการพนัน.

ใหม่!!: การสะกดจิตและการติด · ดูเพิ่มเติม »

กีฬา

กีฬาในวัยเด็ก จากภาพคือกีฬาฟุตบอล กีฬาประเภททีมที่ให้โอกาสในการออกกำลังกายและเพิ่มทักษะในการปฏิสัมพันธ์ กีฬา เป็นกิจกรรมหรือการเล่นเพื่อความสนุกเพลิดเพลินหรือเพื่อความแข็งแรงของร่างกาย หรือเพื่อผ่อนคลายความเคร่งเครียดทางจิต รวมไปถึงกิจกรรมปกติหรือทักษะที่อยู่ภายใต้กติกาซึ่งถูกกำหนดโดยความเห็นที่ตรงกันโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพักผ่อน การแข่งขัน ความเพลิดเพลิน ความสำเร็จ การพัฒนาของทักษะ หรือหลายสิ่งรวมกัน กีฬาเป็นกิจกรรมที่ควบคู่กับการแข่งขัน และระบบคะแนน กีฬาหลายประเภทได้มีการจัดการแข่งขันในระดับเขต ประเทศ และระดับโลก ซึ่งกีฬาหลายชนิดได้มีการใส่เข้าและนำออกโดยการปรับปรุงของทางคณะกรรมการโอลิมปิกสากล เช่น รักบี้ ลาครอสส์ หรือ โปโล.

ใหม่!!: การสะกดจิตและกีฬา · ดูเพิ่มเติม »

ยาหลอก

หลอก (placebo) เป็นการรักษาโรคหรืออาการอื่นทางการแพทย์ที่ไม่แท้หรือไม่มีผลทางการแพทย์ โดยตั้งใจให้หลอกผู้รับการรักษา บางครั้ง ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาปลอมจะมีการพัฒนาของอาการทางการแพทย์ที่รับรู้หรือแท้จริง ปรากฏการณ์ดังกล่าวโดยทั่วไปเรียกว่า ปรากฏการณ์ยาหลอก ในการวิจัยทางการแพทย์ มีการให้ยาหลอกเป็นการรักษาควบคุมและขึ้นอยู่กับการหลอกที่ควบคุมได้ ยาหลอกสามัญรวมถึง ยาเม็ดเฉื่อย การผ่าตัดหลอก และกระบวนการอื่นที่ใช้สารสนเทศเท็จ อย่างไรก็ดี ยาหลอกสามารถมีผลทางบวกอย่างน่าประหลาดใจต่อผู้ป่วยที่ทราบว่า การรักษาที่ให้แก่ตนนั้นปราศจากยาออกฤทธิ์ใด ๆ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ทราบว่าไม่ได้รับยาหลอก.

ใหม่!!: การสะกดจิตและยาหลอก · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา

มาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society; อักษรย่อ: ACS) เป็นองค์กรอนามัยระดับประเทศที่ทุ่มเทต่อการกำจัดโรคมะเร็ง โดยได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: การสะกดจิตและสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

สตัฟโรปอล

ตัฟโรปอล (p) เป็นนครและเมืองหลวงของสตัฟโรปอลไคร ของประเทศรัสเซีย ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรป บนแควของแม่น้ำคาลอสตอนบน มีประชากร 398,539 คน (ค.ศ. 2010) เมืองก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม..

ใหม่!!: การสะกดจิตและสตัฟโรปอล · ดูเพิ่มเติม »

ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ

วามผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ หรือ ภาวะความเครียดผิดปกติหลังเหตุสะเทือนใจ (Posttraumatic stress disorder) มีชื่อย่ออย่างเป็นสากลว่า PTSD เป็นภาวะความเครียดที่ก่อให้เกิดอาการดังกล่าว อาการมักเป็นหลังจากเจอสถานการณ์ที่สะเทือนใจ ซึ่งต่างจาก Acute stress reaction ที่จะเกิดอาการขึ้นทันที่ที่เจอเหตุการณ์นั้น.

ใหม่!!: การสะกดจิตและความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ · ดูเพิ่มเติม »

ความใส่ใจ

วามใส่ใจกับการเล่นเกม ความใส่ใจ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" (Attention) เป็นกระบวนการทางปัญญา (cognitive process) ที่เลือกที่จะเข้าไปใส่ใจหรือมีสมาธิในอะไรอย่างหนึ่งเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยที่ไม่สนใจในสิ่งอื่น มีการกล่าวถึงความใส่ใจว่า เป็นการจัดสรรทรัพยากรที่ใช้ในการแปลผลข้อมูลจากประสาทสัมผัส ความใส่ใจเป็นประเด็นงานวิจัยที่มีการศึกษามากที่สุดประเด็นหนึ่งในสาขาจิตวิทยาและประสาทวิทยาศาสตร์วิทยาการปัญญา (cognitive neuroscience) และยังเป็นประเด็นการศึกษาที่สำคัญในสาขาการศึกษา จิตวิทยา และประสาทวิทยาศาสตร์ ประเด็นงานวิจัยที่ยังเป็นไปอย่าต่อเนื่องในปัจจุบันรวมทั้ง การหาแหล่งกำเนิดของสัญญาณในสมองที่มีผลเป็นเป็นความใส่ใจ ผลของสัญญาณต่อการเลือกตัวกระตุ้น (neuronal tuning) ของเซลล์ประสาทรับความรู้สึก และความสัมพันธ์ของความใส่ใจกับกระบวนการทางประชานอื่น ๆ เช่นหน่วยความจำใช้งาน (working memoryหน่วยความจำใช้งาน (working memory) คือระบบความจำที่รองรับข้อมูลชั่วคราวซึ่งสมองใช้ในการประมวลผล เช่น จะจำเบอร์โทรศัพท์อย่างชั่วคราวได้ก็จะต้องใช้ระบบนี้) และ vigilance นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีประเด็นงานวิจัยใหม่ ๆ ที่ตรวจสอบผลของการบาดเจ็บในกะโหลกศีรษะต่อความใส่ใจ คำว่า ความใส่ใจนั้น อาจจะมีความหมายต่าง ๆ กันแล้วแต่เชื้อชาติวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างความใส่ใจกับความรู้สึกตัว (พิชาน) เป็นเรื่องที่ซับซ้อนจนกระทั่งว่า มีการศึกษาทางด้านปรัชญามาตั้งแต่ในสมัยโบราณจนมาถึงในปัจจุบัน แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่เริ่มขึ้นตั้งแต่โบราณ แต่ก็ยังมีความเกี่ยวข้องกับประเด็นต่าง ๆ ในปัจจุบันอย่างสำคัญเริ่มตั้งแต่ในด้านสุขภาพจิต จนกระทั่งถึงงานวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษ.

ใหม่!!: การสะกดจิตและความใส่ใจ · ดูเพิ่มเติม »

โรคกลัว

รคกลัว, อาการกลัว หรือ โฟเบีย (phobia, φόβος "กลัว") เป็นความกลัวชนิดที่ไม่ปกติ มักจะเกิดกับความกลัวสิ่งของ บุคคล การกระทำ หรือเหตุการณ์ต่างๆ การกลัวมีความรุนแรงทางอารมณ์ เป็นพฤติกรรมเชิงอารมณ์ที่รุนแรงที่จะปฏิเสธต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ภายนอกที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่ตนเอง โฟเบียนี้จะแตกต่างกับความกลัว (Fear) ที่ไม่มีการแสดงอารมณ์ที่รุนแรง อย่างการร้องไห้ฟูมฟายหรืออาเจียน และแตกต่างกับความวิตกกังวล เพราะกรณีของโฟเบียเรารู้ว่าตัวเรากลัวอะไร แต่เราไม่รู้ว่าเราเป็นกังวลในเรื่องอะไร.

ใหม่!!: การสะกดจิตและโรคกลัว · ดูเพิ่มเติม »

โรควิตกกังวล

รควิตกกังวล (Anxiety disorders) เป็นกลุ่มความผิดปกติทางจิตกำหนดโดยความวิตกกังวลและความกลัว ความวิตกกังวล (anxiety) เป็นความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคตและความกลัว (fear) เป็นปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน --> ความรู้สึกเช่นนี้อาจทำให้เกิดอาการทางกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วและตัวสั่น --> มีโรควิตกกังวลหลายอย่าง รวมทั้งโรควิตกกังวลไปทั่ว (GAD), โรคกลัว (phobia) ที่เฉพาะเจาะจง, โรคกลัวการเข้าสังคม (social anxiety disorder), โรควิตกกังวลเมื่อต้องแยก (separation anxiety disorder), โรคกลัวที่ชุมชน (agoraphobia), และโรคตื่นตระหนก (panic disorder) --> โดยโรคจะต่าง ๆ กันตามอาการ --> แต่คนไข้มักจะมีโรควิตกกังวลมากกว่าหนึ่งชนิด โรคมีปัจจัยจากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งประวัติถูกทารุณกรรมในวัยเด็ก ประวัติความผิดปกติทางจิตในครอบครัว และความยากจน --> โรคมักเกิดร่วมกับความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า (MDD) ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (PD) และการเสพสารเสพติด (substance use disorder) เพื่อจะวินิจฉัยว่าเป็นโรค จะต้องมีอาการอย่างน้อย 6 เดือน มีความวิตกกังวลเกินเหตุ และมีปัญหาในการดำเนินชีวิต แต่ก็มีปัญหาทางจิตเวชและทางแพทย์อื่น ๆ ที่อาจมีอาการคล้าย ๆ กันรวมทั้งอาการไฮเปอร์ไทรอยด์, โรคหัวใจ, การเสพกาเฟอีน แอลกอฮอล์ และกัญชา, และการขาดยา (withdrawal) บางประเภท ถ้าไม่รักษา โรคมักจะไม่หาย การรักษารวมทั้งการเปลี่ยนสไตล์ชีวิต จิตบำบัด และการทานยา --> จิตบำบัดมักจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) ยาเช่นยาแก้ซึมเศร้าหรือเบต้า บล็อกเกอร์ อาจช่วยให้อาการดีขึ้น คนประมาณ 12% มีโรคทุก ๆ ปี โดยเกิดในหญิงมากกว่าชาย 2 เท่า และทั่วไปเริ่มก่อนอายุ 25 ปี ประเภทโรคที่สามัญที่สุดคือโรคกลัวที่เฉพาะเจาะจงซึ่งเกิดในคน 12% และโรคกลัวการเข้าสังคม (SAD) ซึ่งเกิดในคน 10% ในช่วงหนึ่งในชีวิต --> โดยเกิดกับบุคคลอายุ 15-35 ปีมากที่สุด และเกิดขึ้นน้อยหลังถึงอายุ 55 ปี --> อัตราการเกิดดูจะสูงกว่าในสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป สีหน้าของบุคคลที่มีความวิตกกังวลเรื้อรัง.

ใหม่!!: การสะกดจิตและโรควิตกกังวล · ดูเพิ่มเติม »

โรคซึมเศร้า

รคซึมเศร้า (major depressive disorder ตัวย่อ MDD) เป็นความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในแทบทุกสถานการณ์ มักเกิดร่วมกับการขาดความภูมิใจแห่งตน การเสียความสนใจในกิจกรรมที่ปกติทำให้เพลิดเพลินใจ อาการไร้เรี่ยวแรง และอาการปวดซึ่งไม่มีสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยอาจมีอาการหลงผิดหรือมีอาการประสาทหลอน ผู้ป่วยบางรายมีช่วงเวลาที่มีอารมณ์ซึมเศร้าห่างกันเป็นปี ๆ ส่วนบางรายอาจมีอาการตลอดเวลา โรคซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบในแง่ลบให้แก่ผู้ป่วยในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ชีวิตส่วนตัว ชีวิตในที่ทำงานหรือโรงเรียน ตลอดจนการหลับ อุปนิสัยการกิน และสุขภาพโดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าผู้ใหญ่ประมาณ 2–7% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และประมาณ 60% ของผู้ฆ่าตัวตายกลุ่มนี้มีโรคซึมเศร้าร่วมกับความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดอื่น คำว่า ความซึมเศร้า สามารถใช้ได้หลายทาง คือ มักใช้เพื่อหมายถึงกลุ่มอาการนี้ แต่อาจหมายถึงความผิดปกติทางจิตอื่นหรือหมายถึงเพียงภาวะซึมเศร้าก็ได้ โรคซึมเศร้าเป็นภาวะทำให้พิการ (disabling) ซึ่งมีผลเสียต่อครอบครัว งานหรือชีวิตโรงเรียน นิสัยการหลับและกิน และสุขภาพโดยรวมของบุคคล ในสหรัฐอเมริกา ราว 3.4% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย และมากถึง 60% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายนั้นมีภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างอื่น ในประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางจิตที่พบมากที่สุด (3.7% ที่เข้าถึงบริการ) เป็นโรคที่สร้างภาระโรค (DALY) สูงสุด 10 อันดับแรกโดยเป็นอันดับ 1 ในหญิง และอันดับ 4 ในชาย การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าอาศัยประสบการณ์ที่รายงานของบุคคลและการทดสอบสภาพจิต ไม่มีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการสำหรับโรคซึมเศร้า ทว่า แพทย์อาจส่งตรวจเพื่อแยกภาวะทางกายซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการคล้ายกันออก ควรแยกโรคซึมเศร้าจากความเศร้าซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิตและไม่รุนแรงเท่า มีการตั้งชื่อ อธิบาย และจัดกลุ่มอาการซึมเศร้าว่าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตปี 2523 ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน คณะทำงานบริการป้องกันสหรัฐ (USPSTF) แนะนำให้คัดกรองโรคซึมเศร้าในบุคคลอายุมากกว่า 12 ปี แต่บทปฏิทัศน์คอเครนก่อนหน้านี้ไม่พบหลักฐานเพียงพอสำหรับการคัดกรองโรค โดยทั่วไป โรคซึมเศร้ารักษาได้ด้วยจิตบำบัดและยาแก้ซึมเศร้า ดูเหมือนยาจะมีประสิทธิภาพ แต่ฤทธิ์อาจสำคัญเฉพาะในผู้ที่ซึมเศร้ารุนแรงมาก ๆ เท่านั้น ไม่ชัดเจนว่ายาส่งผลต่อความเสี่ยงการฆ่าตัวตายหรือไม่ ชนิดของจิตบำบัดที่ใช้มีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) และการบำบัดระหว่างบุคคล หากมาตรการอื่นไม่เป็นผล อาจทดลองให้การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ECT) อาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยที่มีควมเสี่ยงทำร้ายตนเองเข้าโรงพยาบาลแม้บางทีอาจขัดต่อความประสงค์ของบุคคล ความเข้าใจถึงธรรมชาติและสาเหตุของความซึมเศร้าได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์และยังมีประเด็นมากมายที่ยังต้องวิจัย เหตุที่เสนอรวมทั้งเป็นปัญหาทางจิต ทางจิต-สังคม ทางกรรมพันธุ์ ทางวิวัฒนาการ และปัจจัยอื่น ๆ ทางชีวภาพ การใช้สารเสพติดเป็นเวลานานอาจเป็นเหตุหรือทำอาการเศร้าซึมให้แย่ลง การบำบัดทางจิตอาศัยทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคลิกภาพ การสื่อสารระหว่างบุคคล และการเรียนรู้ ทฤษฎีทางชีววิทยามักจะพุ่งความสนใจไปที่สารสื่อประสาทแบบโมโนอะมีน คือ เซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดพามีน ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติในสมองและช่วยการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท.

ใหม่!!: การสะกดจิตและโรคซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »