โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การสงครามเคมี

ดัชนี การสงครามเคมี

ทหารแคนาดาที่ถูกรมด้วยแก๊สมัสตาร์ดในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเคมี หรือ อาวุธเคมี (Chemical warfare หรือ CW) คือการใช้คุณสมบัติอันเป็นพิษของสารเคมีในการเป็นอาวุธเพื่อการสังหาร, สร้างความบาดเจ็บ หรือ สร้างความพิการให้แก่ศัตรู ประเภทของสงครามนี้แตกต่างจากการใช้อาวุธสามัญ (conventional weapons) หรือ อาวุธนิวเคลียร์ เพราะการทำลายโดยสารเคมีมิได้เกิดจากแรงระเบิด อาวุธเคมีจัดอยู่ในประเภทอาวุธเพื่อการทำลายล้างสูงโดยสหประชาชาติและการผลิตก็เป็นการผิดกฎอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี (Chemical Weapons Convention) ของปี ค.ศ. 1993 แต่การใช้พิษของสิ่งมีชีวิต (organism) เป็นอาวุธไม่ถือว่าเป็นอาวุธเคมีแต่เป็นอาวุธชีว.

10 ความสัมพันธ์: ชีวพิษโบทูลินัมพ.ศ. 2536สหประชาชาติสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงอาวุธนิวเคลียร์องค์การห้ามอาวุธเคมีอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมีแอนแทรกซ์ไรซิน

ชีวพิษโบทูลินัม

ทูลินั่ม ท็อกซิน (Botulinum toxin) หรือชื่อการค้ารู้จักกันชื่อว่า โบท็อกซ์ (Botox) ที่นำมาใช้เสริมความงาม เป็นสารสกัดจากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า คลอสตริเดียม โบทูลินัม (Clostridium Botulinum) มี 7 ชนิด คือ โบทูลินั่ม ท็อกซิน ชนิด เอ (botulinum toxin type A) ถึงโบทูลินั่ม ท็อกซิน ชนิด จี (botulinum toxin type G) จัดเป็นสารพิษออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท (neurotoxin) โดยจะไปรบกวนการทำงานของระบบประสาท มีผลทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตชั่วคราว.

ใหม่!!: การสงครามเคมีและชีวพิษโบทูลินัม · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2536

ทธศักราช 2536 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1993 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: การสงครามเคมีและพ.ศ. 2536 · ดูเพิ่มเติม »

สหประชาชาติ

หประชาชาติ (United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายที่แถลงไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: การสงครามเคมีและสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: การสงครามเคมีและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง

อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (อังกฤษ: Weapon of Mass Destruction, WMD) คืออาวุธที่สามารถสังหารมนุษย์, สัตว์หรือพืชในจำนวนมาก และอาจทำลายสภาพแวดล้อมของโลกอย่างมหาศาล ซึ่งจำแนกได้เป็นอาวุธหลายประเภทด้วยกันได้แก่ อาวุธปรมาณู, อาวุธชีวภาพ, อาวุธเคมี รวมไปถึงอาวุธกัมมันตภาพรังสี (ต่างจากอาวุธปรมาณูตรงที่ให้แรงระเบิดน้อยกว่ามาก แต่แพร่กัมมันตรังสีในปริมาณที่เทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับอาวุธปรมาณู) ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นจากกองกำลังที่มีอำนาจทางการเงินและเทคโนโลยีที่ด้อยกว่า (เช่น ผู้ก่อการร้าย) เป็นที่โต้เถียงกันว่าศัพท์นี้ (ในภาษาอังกฤษ ส่วนในภาษาไทยนั้น ไม่ค่อยพบเห็นการใช้คำนี้มากนัก) ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อใด โดยนิยามนี้อาจถูกใช้ครั้งแรกใน พ.ศ. 2480 (เมื่ออ้างอิงถึงการทำลายล้างเมืองเกอร์นิคาในสเปนด้วยการใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดในสงครามกลางเมืองสเปน) หรือใน พ.ศ. 2488 (เมื่ออ้างอิงถึงการที่สหรัฐอเมริกาใช้อาวุธปรมาณูกับเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิในญี่ปุ่น) และเมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง ศัพท์นี้ก็ถูกใช้กับอาวุธอื่นนอกจากอาวุธตามปกติมากขึ้น แต่คำนี้ถูกใช้มากที่สุดในการรุกรานอิรักใน พ.ศ. 2546 ที่มีสหรัฐฯ เป็นผู้นำการโจมตี (โดยอ้างเหตุในการรุกรานว่าอิรักนั้นครอบครองอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง).

ใหม่!!: การสงครามเคมีและอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง · ดูเพิ่มเติม »

อาวุธนิวเคลียร์

ญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2488 ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง อาวุธนิวเคลียร์ เป็นวัตถุระเบิดซึ่งมีอำนาจทำลายล้างมาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ไม่ว่าจะเป็นปฏิกิริยาฟิชชัน(atomic bomb)อย่างเดียว หรือ ฟิชชันและฟิวชัน(hydrogen bomb)รวมกัน ปฏิกิริยาทั้งสองปลดปล่อยพลังงานปริมาณมหาศาลจากสสารปริมาณค่อนข้างน้อย การทดสอบระเบิดฟิชชัน ("อะตอม") ลูกแรกปลดปล่อยพลังงานออกมาเทียบเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 20,000 ตัน การทดสอบระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ ("ระเบิดไฮโดรเจน") ลูกแรก ปลดปล่อยพลังงานออกมาเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 10,000,000 ตัน อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์สมัยใหม่ที่หนักกว่า 1,100 กิโลกรัมเล็กน้อย สามารถก่อให้เกิดแรงระเบิดเทียบเท่ากับการจุดจามทีเอ็นทีมากกว่า 1.2 ล้านตัน ดังนั้น กระทั่งวัตถุนิวเคลียร์ลูกเล็กๆ ที่ขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าระเบิดธรรมดา สามารถทำลายล้างนครทั้งนครได้ ด้วยแรงระเบิด ไฟและกัมมันตรังสี อาวุธนิวเคลียร์ถูกพิจารณาว่าเป็นอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง และการใช้และควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ได้กลายเป็นจุดสนใจสำคัญของนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนับแต่ถือกำเนิดขึ้น มีอาวุธนิวเคลียร์เพียงสองชิ้นเท่านั้นที่เคยใช้ตลอดห้วงการสงคราม ทั้งสองครั้งโดยสหรัฐอเมริกายามสงครามโลกครั้งที่สองใกล้ยุติ วันที่ 6 สิงหาคม..

ใหม่!!: การสงครามเคมีและอาวุธนิวเคลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การห้ามอาวุธเคมี

องค์การห้ามอาวุธเคมี (Organisation for the Prohibition of Chemical Weapons, OPCW) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สนับสนุนและทวนสอบการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมีซึ่งห้ามใช้อาวุธเคมีและกำหนดให้ต้องทำลายอาวุธเคมีที่ภาคีมีในครอบครอง ในปี 2556 องค์การได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันต.

ใหม่!!: การสงครามเคมีและองค์การห้ามอาวุธเคมี · ดูเพิ่มเติม »

อนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี

ทหารแคนาดาที่ถูกรมด้วยแก๊สมัสตาร์ดในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี (Chemical Weapons Convention หรือ CWC) คือความตกลงการควบคุมอาวุธที่ห้ามการผลิต, การสะสม และการใช้อาวุธเคมี ข้อตกลงปัจจุบันได้รับการบริหารโดยองค์การเพื่อการห้ามอาวุธเคมี (OPCW) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่มักจะเข้าใจผิดกันว่าเป็นส่วนหนึ่งของสหประชาชาติ ในเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: การสงครามเคมีและอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี · ดูเพิ่มเติม »

แอนแทรกซ์

แอนแทรกซ์ (Anthrax) เป็นโรคเฉียบพลันซึ่งเกิดจากแบคทีเรีย Bacillus anthracis รูปแบบส่วนใหญ่ของโรครุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต และมีผลต่อทั้งมนุษย์และสัตว์อื่น ปัจจุบันมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพต่อแอนแทรกซ์แล้ว และโรคบางรูปแบบสนองดีต่อการรักษาปฏิชีวนะ เช่นเดียวกับแบคทีเรียอีกหลายชนิดในจีนัสบาซิลลัส Bacillus anthracis สามารถสร้างเอนโดสปอร์พักตัว (มักเรียกสั้น ๆ ว่า "สปอร์" แต่ระวังสับสนกับสปอร์ของฟังไจ) ซึ่งสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมโหดร้ายเป็นทศวรรษหรือกระทั่งศตวรรษ สปอร์เหล่านี้ถูกพบทั่วทุกทวีปของโลก ยกเว้นแอนตาร์กติกา เมื่อสปอร์ถูกสูดหรือกินเข้าไปในร่างกายสิ่งมีชีวิต หรือสัมผัสกับบาดแผลตรงผิวหนังของโฮสต์ (host) สปอร์เหล่านี้อาจมีปฏิกิริยาและเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกินพืชทั้งที่เป็นสัตว์ป่าและสัตว์บ้านพบติดเชื้อแอนแทรกซ์ที่รับสปอร์เข้าทางปากหรือจมูกขณะกำลังกินหญ้า คาดกันว่าการกินเป็นทางที่สัตว์กินพืชติดต่อกับแอนแทรกซ์มากที่สุด สัตว์กินพืชที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกันอาจติดเชื้อจากการกินสัตว์ที่ติดเชื้อแล้ว สัตว์ที่ป่วยสามารถแพร่แอนแทรกซ์แก่มนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อโดยตรงหรือโดยการบริโภคเนื้อของสัตว์ที่ติดเชื้อ สปอร์แอนแทรกซ์สามารถผลิตแบบ in vitro (นอกร่างกาย) และใช้เป็นอาวุธชีวภาพได้ แอนแทรกซ์ไม่แพร่โดยตรงจากสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อไปยังอีกคนหรือตัวหนึ่ง แต่แพร่โดยสปอร์ สปอร์เหล่านี้สามารถส่งผ่านได้โดยเสื้อผ้าหรือรองเท้า ร่างกายของสัตว์ที่มีแอนแทรกซ์อยู่ในช่วงที่ตายสามารถเป็นแหล่งสปอร์แอนแทรกซ์ได้.

ใหม่!!: การสงครามเคมีและแอนแทรกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ไรซิน

มล็ดละหุ่ง ไรซิน (Ricin) เป็นสารพิษประเภทโปรตีน สกัดได้จากเมล็ดละหุ่ง ปริมาณเฉลี่ยที่เป็นอันตรายถึงตายต่อร่างกายมนุษย์อยู่ที่ 0.2 มิลลิกรัม จัดว่ามีพิษรุนแรงเป็นสองเท่าของพิษงูเห่า หนังสือ Guinness World Records ปี 2007 (พ.ศ. 2550) ได้จัดอันดับให้ไรซินเป็นสารพิษจากพืชที่มีความรุนแรงมากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: การสงครามเคมีและไรซิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Chemical agentChemical agentsChemical attackChemical warfareChemical warfare agentChemical weaponChemical weapon agentChemical weaponsGas (chemical warfare)Gas attackGas bombPoison gasPoisonous gasการโจมตีด้วยอาวุธเคมีการโจมตีด้วยแก๊สสงครามเคมีอาวุุธเคมีอาวุธเคมีแก๊สพิษ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »