โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การสงครามจิตวิทยา

ดัชนี การสงครามจิตวิทยา

การสงครามจิตวิทยา (psychological warfare) คือ การสงครามที่ใช้ทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาที่มุ่งเน้นต่อความคิดและความเชื่อของบุคคลและกลุ่มบุคคล โดยอาศัยการโฆษณาชวนเชื่อร่วมกับกิจกรรมทางจิตวิทยา สงครามจิตวิทยานั้นกระทำทั้งในยามสงบและยามสงครามทั้งฝ่ายข้าศึกและฝ่ายเดียวกัน รวมถึงฝ่ายเป็นกลางอีกด้วย ทั้งในด้านการเมืองและการทหาร ในระดับยุทธศาสตร์ ยุทธการ และระดับยุทธวิธี.

23 ความสัมพันธ์: กลยุทธ์กษัตริย์กองทัพสหราชอาณาจักรการสงครามการทหารการโฆษณาการโฆษณาชวนเชื่อการเมืองภาพยนตร์ม้าโทรจันยุทธวิธีทางทหารสหรัฐสงครามหนังสือหนังสือพิมพ์อาณานิคมจิตวิทยาคบเพลิงคัมภีร์ไบเบิลปฏิวัติประชาชนประเทศอังกฤษเทวดา

กลยุทธ์

กลยุทธ์ (strategy) หรือ ยุทธศาสตร์ เป็นศัพท์ที่มีกำเนิดในทางทหาร หมายถึง แผนการปฏิบัติซึ่งวางเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์จำเพาะ กลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ในทางทหารนั้นแตกต่างจากยุทธวิธี ซึ่งว่าด้วยการดำเนินการรบปะทะ (engagement) ขณะที่ยุทธศาสตร์นั้น ว่าด้วยวิธีการเชื่อมโยงการรบปะทะต่าง ๆ เข้าด้วยกัน คำถามที่ว่า "จะสู้รบอย่างไร" เป็นปัญหาทางยุทธวิธี แต่ข้อกำหนดและเงื่อนไขซึ่งมีการสู้รบกันและความเหมาะสมในการสู้รบกันนั้นเป็นปัญหาทางยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสงคราม (warfare) สี่ระดับ ได้แก่ วัตถุประสงค์ทางการเมืองหรือยุทธศาสตร์หลัก, ยุทธศาสตร์, ปฏิบัติการและยุทธวิธี นักคิดคนหนึ่งนิยามยุทธศาสตร์ไว้ว่าเป็น "วิถีอย่างครอบคลุมในอันที่จะพยายามปฏิบัติเพื่อผลเบื้องปลายทางการเมือง รวมทั้งการข่มขู่หรือการใช้กำลังอย่างแท้จริง ในวิภาษวิธีแห่งเจตจำนง ซึ่งจำต้องมีอย่างน้อยสองฝ่ายในความขัดแย้งหนึ่ง ๆ ฝ่ายเหล่านี้มีปฏิสัมพันธ์กัน และดังนั้น ยุทธศาสตร์จะประสบความสำเร็จน้อยครั้งหากไม่แสดงความสามารถในการดัดแปลง"Beatrice Heuser, The Evolution of Strategy: Thinking War from Antiquity to the Present (Cambridge University Press, 2010), ISBN 978-0-521-19968-1, p.27f.

ใหม่!!: การสงครามจิตวิทยาและกลยุทธ์ · ดูเพิ่มเติม »

กษัตริย์

กษัตริย์ (क्षत्रिय กฺษตฺริย; khattiya ขตฺติย; ปรากฤต:khatri) เป็นวรรณะหนึ่งในสังคมชาวฮินดู (อีก 4 วรรณะที่เหลือคือพราหมณ์ แพศย์ และศูทร).

ใหม่!!: การสงครามจิตวิทยาและกษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพสหราชอาณาจักร

กองทัพบริเตน (British Armed Forces) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า กองทัพในสมเด็จฯ (Her Majesty's Armed Forces) และ บ้างเรียกว่า กองทัพในพระองค์ (Armed Forces of the Crown) เป็นกองทัพของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ กองทัพนี้ประกอบด้วยหน่วยที่แต่งเครื่องแบบอาชีพสามเหล่า ได้แก่ 1.

ใหม่!!: การสงครามจิตวิทยาและกองทัพสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

การสงคราม

การสงคราม (warfare) หมายถึง การจัดการความขัดแย้งระหว่างฝ่ายตรงข้าม และปกติเกี่ยวข้องกับการยกระดับการรุกรานจาก "สงครามน้ำลาย" ระหว่างนักการเมืองและนักการทูตสู่ความขัดแย้งด้วยอาวูธเต็มขั้น ซึ่งดำเนินไปจนกว่าฝ่ายหนึ่งยอมรับความพ่ายแพ้หรือข้อสันติภาพตามที่ตกลงกัน การสงครามระหว่างกลุ่มและองค์การทหารต้องอาศัยการวางแผนและการใช้ยุทธศาสตร์การทหารระดับหนึ่งเพื่อให้การจัดการเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพในการบรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย หมวดหมู่:ปฏิบัติการทางทหาร.

ใหม่!!: การสงครามจิตวิทยาและการสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

การทหาร

การทหาร เป็นองค์การที่สังคมอนุญาตให้ใช้อำนาจสำหรับสังหาร (lethal force) ซึ่งโดยปกติรวมการใช้อาวุธ ในการป้องกันประเทศ โดยต่อสู้กับภัยคุกคามที่แท้จริงหรือที่รับรู้เช่นนั้น การทหารอาจมีการทำหน้าที่อื่นต่อสังคม เช่น การเดินหน้าวาระทางการเมือง (ในกรณีคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครอง) สนับสนุนหรือส่งเสริมการขยายทางเศรษฐกิจผ่านจักรวรรดินิยม และเป็นการควบคุมทางสังคมภายในรูปแบบหนึ่ง คำว่า "การทหาร" หรือ "ทางทหาร" ที่เป็นคำคุณศัพท์ ยังใช้หมายถึง ทรัพย์สินหรือมุมมองของทหาร การทหารทำหน้าที่เป็นสังคมภายในสังคม โดยมีชุมชนทหารเป็นของตนเอง.

ใหม่!!: การสงครามจิตวิทยาและการทหาร · ดูเพิ่มเติม »

การโฆษณา

การโฆษณา (advertising) เป็นการประกาศสินค้าหรือบริการให้ประชาชนโดยทั่วไปทราบ เป็นเครื่องมือสื่อสารทางเพื่อบอกกล่าวให้ผู้บริโภครู้สึกถึงคุณค่าและความแตกต่าง รู้จักและก่อให้เกิดพฤติกรรมการซื้อสินค้าหรือใช้บริการนั้น ในอดีตการเริ่มต้นของการโฆษณาจะเป็นลักษณะของการร้องป่าวประกาศเชิญชวน ปัจจุบันทำโดยเผยแพร่งานโฆษณา ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ เป็นต้น โดยเจ้าของกิจการจะว่าจ้างบริษัทรับทำโฆษณา เพื่อทำการโฆษณาสินค้าและบริการในสื่อต่าง ๆ เช่น ป้ายโฆษณากลางแจ้งตามถนนสายหลัก ซึ่งเป็นสื่อที่ช่วยประหยัดงบประมาณได้และสามารถตอกย้ำตราสินค้าได้อีกทางใดทางหนึ่ง.

ใหม่!!: การสงครามจิตวิทยาและการโฆษณา · ดูเพิ่มเติม »

การโฆษณาชวนเชื่อ

การโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) เป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่มุ่งชักจูงทัศนคติของประชาคมต่ออุดมการณ์หรือมุมมองบางอย่างโดยการนำเสนอการให้เหตุผลเพียงข้างเดียว การโฆษณาชวนเชื่อมักทำซ้ำและกระจายในสื่อหลายชนิดเพื่อสร้างผลที่เลือกสรรแล้วในทัศนคติของผู้ชม ตรงข้ามกับการให้สารสนเทศอย่างยุติธรรม การโฆษณาชวนเชื่อ ในความหมายพื้นฐานที่สุด นำเสนอสารสนเทศเพื่อชักจูงผู้ชมเป็นหลัก การโฆษณาชวนเชื่อมักนำเสนอข้อเท็จจริงที่เลือกเฟ้นแล้วเพื่อกระตุ้นการสังเคราะห์อย่างเฉพาะเจาะจง หรือใช้ข้อความจำนวนมากเพื่อสร้างการตอบสนองทางอารมณ์ มิใช่เหตุผล ต่อสารสนเทศที่นำเสนอ ผลที่คาดหวัง คือ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อหัวข้อในผู้ชมเป้าหมายเพื่อส่งเสริมวาระทางการเมืองหรือศาสนาต่อไป การโฆษณาชวนเชื่อยังสามารถใช้เป็นการสงครามการเมืองรูปแบบหนึ่งได้ แม้คำว่า การโฆษณาชวนเชื่อ จะดูมีความหมายเป็นลบ (เช่น การโฆษณาชวนเชื่อของนาซีที่ใช้สร้างความชอบธรรมแก่ฮอโลคอสต์) แต่ยังใช้กับ การแนะนำด้านสาธารณสุข ป้ายกระตุ้นให้พลเมืองเข้าร่วมในการลงประชามติหรือการเลือกตั้ง หรือข้อความกระตุ้นให้บุคคลรายงานอาชญากรรมต่อตำรวจ ก็ได้ หมวดหมู่:โฆษณาชวนเชื่อ หมวดหมู่:มติมหาชน หมวดหมู่:การควบคุมจิตใจ.

ใหม่!!: การสงครามจิตวิทยาและการโฆษณาชวนเชื่อ · ดูเพิ่มเติม »

การเมือง

การเมือง (politics) คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับรัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และในวงการศาสนา '''ฮาโรลด์ ลาสเวลล์''' นักโทษคนหนึ่ง ได้นิยามการเมืองว่า เป็นการตัดสินว่า "ใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร" วิชาแนะแนวคือ วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง และวิเคราะห์การได้มาซึ่งอำนาจและการนำอำนาจไปใช้ ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะบังคับให้ผู้อื่นกระทำตามสิ่งที่ตนตั้งใ.

ใหม่!!: การสงครามจิตวิทยาและการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์

กล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวของฟ็อกซ์ในยุคแรก ๆ ภาพยนตร์ หรือ หนัง คือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิลม์ชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง.

ใหม่!!: การสงครามจิตวิทยาและภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ม้าโทรจัน

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ ม้าโทรจัน (คอมพิวเตอร์) ม้าโทรจัน หรือ ม้าไม้เมืองทรอย (Trojan horse) เป็นม้าขนาดใหญ่ที่ทำจากไม้ จากมหากาพย์อีเลียดเรื่องสงครามเมืองทรอย ม้าไม้นี้เกิดขึ้นจากอุบายของโอดิสเซียส ในการบุกเข้าเมืองทรอย ที่มีป้อมปราการแข็งแรง หลังจากที่รบยืดเยื้อมานานถึง 10 ปีแล้ว ด้วยการให้ทหารสร้างม้าไม้นี้ขึ้นมา แล้วลากไปวางไว้หน้ากำแพงเมืองทรอย แล้วให้ทหารกรีกแสร้งทำเป็นล่าถอยออกไป เมื่อชาวทรอยเห็นแล้วเข้าใจว่าเป็นบรรณาการที่ทางฝ่ายกรีกสร้างขึ้นมาเพื่อบูชาเทพเจ้าและล่าถอยไปแล้ว จึงลากเข้าไปไว้ในเมืองและฉลองชัยชนะ เมื่อตกดึก ทหารกรีกที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ ก็ไต่ลงมาเผาเมืองและปล้นเมืองทรอยได้เป็นที่สำเร็จ ปัจจุบัน ม้าโทรจัน ได้กลายมาเป็นสำนวนในภาษาอังกฤษ และเป็นชื่อของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่เมืองชานักกาเล ประเทศตุรกี ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของเมืองทรอยจริงตามประวัติศาสตร์ ทางผู้สร้างภาพยนตร์เรื่อง Troy เมื่อปี ค.ศ. 2004 ก็ได้มอบม้าไม้ตัวที่ใช้ในเรื่องให้แก่เมือง ซึ่งกลายเป็นจุดสนใจและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเมืองด้ว.

ใหม่!!: การสงครามจิตวิทยาและม้าโทรจัน · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธวิธีทางทหาร

ทธวิธีทางทหาร เป็นศาสตร์และศิลป์ของการจัดกำลังทหาร เป็นเทคนิคสำหรับการจัดยุทโธปรกรณ์ในกับหน่วยรบและการใช้ยุทโธปกรณ์และหน่วยรบในการเผชิญหน้ากับศัตรูและเอาชนะศัตรูในการทำศึก การเปลี่ยนแปลงปรัชญาและเทคโนโลยีตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันถูกสะท้อนออกมาด้วยการเปลี่ยนแปลงยุทธวิธีทางทหาร ศาสตร์การทหารในปัจจุบัน ยุทธวิธีเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในการวางแผนสามระดับ อันได้แก่ (1)แผนยุทธศาสตร์, (2)แผนปฏิบัติการ และ (3)แผนยุทธวิธี การวางแผนระดับสูงที่สุด คือ ยุทธศาสตร์ ซึ่งว่าด้วยกำลังทางทหารจะแปลเป็นวัตถุประสงค์ทางการเมืองอย่างไร โดยเชื่อมโยงว่าด้านการเมืองต้องการอะไรจึงต้องใช้กำลัง และเมื่อบรรลุสิ่งที่ต้องการอะไรบ้างจึงจะยุติสงคราม ระดับกลาง คือ แผนปฏิบัติการ เป็นการแปรแผนยุทธศาสตร์ลงไปเป็นแผนยุทธวิธี ซึ่งโดยหลักแล้วเกี่ยวข้องกับการจัดกำลังพลและกำหนดภาระหน้าที่ที่ต้องกระทำรวมทั้งกำหนดเป้าหมายที่ต้องบรรลุ ส่วนแผนยุทธวิธี เป็นการเตรียมแนวทางปฏิบัติเพื่อใช้สำหรับการตัดสินใจดำเนินการหรือตอบสนองต่ออุปสรรคเฉพาะหน้าในรูปแบบต่างๆขณะทำศึก โดยพื้นฐานความเข้าใจทั่วๆไป การตัดสินใจทางยุทธวิธี เป็นไปเพื่อให้บรรลุผลดีที่สุดและส่งประโยชน์เฉพาะหน้าโดยทันทีซึ่งเป็นขอบเขตในภาพเล็ก ในขณะที่การตัดสินใจทางยุทธศาสตร์ กระทำเพื่อบรรลุประโยชน์สูงสุดโดยภาพรวมอันเป็นขอบเขตภาพใหญ่สุด ซึ่งไม่คำนึงถึงผลลัพท์ในเชิงยุทธวิธี.

ใหม่!!: การสงครามจิตวิทยาและยุทธวิธีทางทหาร · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: การสงครามจิตวิทยาและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สงคราม

ระเบิดนิวเคลียร์ที่ นางาซากิในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สงคราม (war) คือ สถานะความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างองค์การที่เป็นอิสระ (เช่น รัฐและตัวแสดงที่มิใช่รัฐ) หรือแนวร่วมขององค์การดังกล่าว โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นการรุกราน การทำลายล้างรวมสุดขีดและปกติมีอัตราตายสูง ชุดเทคนิคที่กลุ่มใช้ดำเนินสงคราม เรียก การสงคราม (warfare) การปลอดสงคราม ปกติเรียก สันติภาพ นักวิชาการบางส่วนมองว่าการสงครามเป็นสากลและเป็นส่วนที่สืบมาแต่บรรพชนของธรรมชาติมนุษย์ แต่บางส่วนก็แย้งว่าสงครามเป็นเพียงผลลัพธ์แห่งกรณีแวดล้อมทางสังคม-วัฒนธรรมหรือระบบนิเวศเฉพาะ ใน..

ใหม่!!: การสงครามจิตวิทยาและสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

หนังสือ

หนังสือ เป็นสื่อที่รวบรวมของข้อมูล ประเภทตัวอักษร และ รูปภาพ ที่ลงในแผ่นกระดาษหรือวัสดุชนิดอื่น และรวมเข้าด้วยกัน ด้วยวิธีการ เย็บเล่ม หรือ ทากาว เข้าด้วยกันที่บริเวณขอบด้านใดด้านหนึ่ง โดยมีขนาดต่าง ๆ กัน แต่มักจะไม่ทำใหญ่กว่าการจับและเปิดอ่านสะดวก หนังสือมักจะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ความรู้ วรรณกรรม ต่าง ๆ สำหรับหนังสือในรูปแบบที่เก็บในลักษณะอิเล็กทรอนิกส์ จะเรียกว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีบุ๊ก (e-book) การจัดพิมพ์ตามมาตรฐานจะมีหมายเลขไอเอสบีเอ็น (ISBN) เพื่อจะระบุประเทศและสำนักพิมพ์ หนังสือสามารถซื้อขายได้ที่ร้านหนังสือ และสามารถยืมได้จากห้องสมุด กูเกิลประมาณว่าใน..

ใหม่!!: การสงครามจิตวิทยาและหนังสือ · ดูเพิ่มเติม »

หนังสือพิมพ์

ร้านจำหน่ายหนังสือพิมพ์และนิตยสาร ในเมืองแพดดิงตัน กรุงลอนดอน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 หนังสือพิมพ์ คือสิ่งพิมพ์ที่เสนอข่าว การเคลื่อนไหวใหม่ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ มีกำหนดการออกที่แน่นอนตายตัว โดยส่วนใหญ่จะออกเป็นรายวัน นอกจากนี้แล้วยังมีหนังสือพิมพ์รายสามวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ และรายเดือน หนังสือพิมพ์มักจะพิมพ์ลงในกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์โดยเฉพาะ ซึ่งมีราคาถูก เนื้อหาหลักของหนังสือพิมพ์คือข่าวสารบ้านเมืองและเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านต่างๆ อาทิ ข่าวการเมือง ข่าวอาชญากรรม ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวกีฬา และข่าวบันเทิง มีการใช้รูปภาพประกอบเนื้อหา ทำให้เนื้อหาชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้แล้วอาจมีส่วนต่างๆ เพิ่มเติมเป็นพิเศษ เช่น พยากรณ์อากาศ และ การ์ตูน ซึ่งโดยทั่วไปเป็นการ์ตูนล้อเลียนการเมือง.

ใหม่!!: การสงครามจิตวิทยาและหนังสือพิมพ์ · ดูเพิ่มเติม »

อาณานิคม

ในทางการเมืองและประวัติศาสตร์ อาณานิคม (Colony) หมายถึงดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมทางการเมืองของรัฐๆหนึ่ง ไม่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง อาณานิคมสามารถเกิดขึ้นได้จาก 2 กรณีคือ กรณีแรกคือการจัดตั้งอาณานิคม ในอดีต เจ้าอาณานิคมมักส่งคณะบุกเบิกไปตั้งอาณานิคมในดินแดนที่ไม่มีเจ้าของ กรณีที่สองคือการเข้ายึดครองดินแดนซึ่งเดิมอาจเคยเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ของตนเองมาก่อน หรืออาจมีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ก่อน อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์หลักของการมีอาณานิคม คือการแสวงหาทรัพยากรและผลประโยชน์ป้อนแก่แผ่นดินบ้านเกิดของเจ้าอาณานิคมที่เรียกว่า "แผ่นดินแม่" อาณานิคมไม่เหมือนกับ รัฐหุ่นเชิด หรือ รัฐบริวาร เนื่องจากอาณานิคมไม่ได้มีฐานะเป็น รัฐ จึงไม่มีจุดยืนในเวทีระหว่างประเทศ เนื่องจากฝ่ายบริหารสูงสุดของอาณานิคม ยังคงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแผ่นดินแม่ ในปัจจุบัน อาณานิคมที่มีอยู่ทั้งหมดเป็นอาณานิคมโพ้นทะเล รัฐบาลกลางบางประเทศ อาจยินยอมให้อาณานิคมมีรัฐบาลเป็นของตนเองซึ่งเป็นการลดภาระของรัฐบาลกลาง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลอาณานิคมจะดูแลทุกอย่างภายในอาณานิคม ด้านกฎหมาย, การคลัง, กลาโหม, ต่างประเทศ ยังคงถูกกำหนดจากรัฐบาลกลาง.

ใหม่!!: การสงครามจิตวิทยาและอาณานิคม · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยา

ตวิทยา (psychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์), อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม.

ใหม่!!: การสงครามจิตวิทยาและจิตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

คบเพลิง

คบเพลิงติดไฟที่วางอยู่บนพื้น คบเพลิง หรือ คบไฟ (torch) เป็นอุปกรณ์ให้แสงสว่างชนิดหนึ่ง แบบดั้งเดิมจะทำจากท่อนไม้ที่ปลายด้านหนึ่งพันด้วยผ้าชุบน้ำมันดินหรือสารติดไฟอื่นๆ เมื่อนำมาให้แสงสว่างในอาคาร เช่น ปราสาท หรือสุสาน จะติดตั้งไว้บนเชิงแขวนผนัง ปัจจุบันคบเพลิงไม่ได้ใช้ในการให้แสงสว่างเพียงอย่างเดียว แต่จะใช้เป็นสัญลักษณ์ในงานพิธี (เช่น งานกีฬา) หรือเป็นส่วนหนึ่งของการละเล่นต่างๆ ด้วย หมวดหมู่:ไฟ.

ใหม่!!: การสงครามจิตวิทยาและคบเพลิง · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ใหม่!!: การสงครามจิตวิทยาและคัมภีร์ไบเบิล · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิวัติ

ำว่าปฏิวัติในภาษาอังกฤษ (revolution) มีรากศัพท์จากภาษาละตินคือ revolutio และ revolvere แปลว่า หมุนกลับ (to turn around) คำนี้มีใช้ทั่วไปในทางสังคมศาสตร์ แต่ก็มีใช้ในทางวิทยาศาสตร์เช่นกัน เช่น การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เป็นต้น สารานุกรมเมอร์เรียม-เวบสเตอร์ (Merriam-Webster Encyclopedia) อธิบายว่า ปฏิวัติทางการเมืองคือการเปลี่ยนแปลงการตัดรูปแบบของการเมืองการปกครองในระดับฐานราก (fundamentally) สารานุกรมบริทานิกา คอนไซส์ (Briyanica Concise Encyclopedia) อธิบายว่าปฏิวัติในทางสังคมศาสตร์ และการเมือง คือการกระทำความรุนแรงต่อโครงสร้าง ระบบ สถาบัน ฯลฯ ทางสังคมการเมือง ปฏิวัติทางสังคมการเมืองจะเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากมาตรฐานต่าง ๆ ที่สังคมการเมืองเป็นอยู่เดิม เพิ่มจัดตั้ง หรือสถานามาตรฐานของสังคมการเมืองแบบใหม่ให้เกิดขึ้น อาริสโตเติลอธิบายการปฏิวัติทางการเมืองไว้สองประเภท ดังนี้.

ใหม่!!: การสงครามจิตวิทยาและปฏิวัติ · ดูเพิ่มเติม »

ประชาชน

ประชาชน ชน หรือราษฎรเป็นบุคคลหลายคนซึ่งถือเป็นทั้งหมด ดังในกลุ่มชาติพันธุ์หรือชาติ ตัวอย่างเช่น คนยิวเรียกรวม ๆ ว่า "ชนยิว" คนยิปซียุโรปประกอบเป็นส่วนใหญ่ของ "ชนโรมานี" และคนปาเลสไตน์เรียก "ชนปาเลสไตน์" หมวดหมู่:มนุษย์ หมวดหมู่:ประชาชน.

ใหม่!!: การสงครามจิตวิทยาและประชาชน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: การสงครามจิตวิทยาและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เทวดา

ระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เทวดา (devatā) หรือ เทพ (deva เทว) ตามคติความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ หมายถึง ชาวสวรรค์ที่เป็นโอปปาติกะ มีกายทิพย์ ตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์ และเสวยสุขในสรวงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นภพภูมิที่ดี เทวดาผู้หญิงเรียกว่า เทวี หรือ "เทพี" หรือ นางฟ้า เทวดาผู้มีมิจฉาทิฐิ เรียกว่า มาร คำว่า เทพเจ้า หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม ซึ่งเชื่อว่ามีอำนาจควบคุมธรรมชาติบางอย่าง เช่น สุริยเทพ เทพเจ้าแห่งสายฟ้.

ใหม่!!: การสงครามจิตวิทยาและเทวดา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

PSYWARPsychological warfareสงครามจิตวิทยา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »