โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การลงประชามติเอกราชสกอตแลนด์ พ.ศ. 2557

ดัชนี การลงประชามติเอกราชสกอตแลนด์ พ.ศ. 2557

มีการลงประชามติว่าประเทศสกอตแลนด์ควรเป็นประเทศเอกราชหรือไม่ในวันที่ 18 กันยายน 2557 หลังความตกลงระหว่างรัฐบาลสกอตแลนด์และสหราชอาณาจักร มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติการลงประชามติเอกราชสกอตแลนด์ซึ่งกำหนดการจัดการลงประชามตินี้ในวันที่ 21 มีนาคม 2556 ผ่านรัฐสภาสกอตแลนด์เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2556 และได้รับพระบรมราชานุญาตในวันที่ 17 ธันวาคม 2556 คำถามลงประชามติที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแนะนำจะเป็น "สกอตแลนด์ควรเป็นประเทศเอกราชหรือไม่" ผู้ออกเสียงลงคะแนนตอบได้เพียงใช่หรือไม่ ผู้อยู่อาศัยทุกคนในสกอตแลนด์ที่มีอายุเกิน 16 ปีสามารถออกเสียงลงมติได้โดยมีข้อยกเว้นบางประการ รวมมีกว่า 4 ล้านคน ข้อเสนอเอกราชต้องการคะแนนเสียงข้างมากปรกติจึงจะผ่าน เยสสกอตแลนด์ (Yes Scotland) เป็นกลุ่มรณรงค์หลักสนับสนุนเอกราช ขณะที่เบตเทอร์ทูเกเธอร์ (Better Together) เป็นกลุ่มรณรงค์หลักคัดค้านเอกราช ขณะที่กลุ่มรณรงค์ พรรคการเมือง ธุรกิจ หนังสือพิมพ์และปัจเจกบุคคลสำคัญอื่นอีกมากเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน ปัญหาสำคัญที่ถูกหยิบยกระหว่างการรณรงค์มีเงินตราซึ่งสกอตแลนด์หลังได้รับเอกราชจะใช้ รายจ่ายสาธารณะและน้ำมันทะเลเหนือ การนับคะแนนเริ่มหลังปิดการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งเมื่อ 22:00 BST (21:00 UTC) ของวันที่ 18 กันยายน เช้าวันที่ 19 กันยายน 2557 เมื่อนับการลงมติทั้งหมดแล้ว 55.3% ลงมติคัดค้านเอกราช หลังจากนั้น อเล็กซ์ ซัลมอนด์ นายกรัฐมนตรีสกอตแลนด์ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคแห่งชาติสกอตเพื่อแสดงความรับชอบต่อผลประชามต.

4 ความสัมพันธ์: การออกเสียงประชามติประเทศสกอตแลนด์เวลาสากลเชิงพิกัดเอกราชของสกอตแลนด์

การออกเสียงประชามติ

การออกเสียงประชามติ (referendum) คือ การนำร่างกฎหมาย ร่างรัฐธรรมนูญ และนโยบายที่สำคัญของประเทศ ไปผ่านการตัดสินเพื่อแสดงความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบโดยประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย นับเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อแนวทางการปกครองประเทศ และถือเป็นประชาธิปไตยทางตรงแบบหนึ่งซึ่งประชาชนมีส่วนมีเสียงโดยตรงในการบริหารราชการแผ่นดิน.

ใหม่!!: การลงประชามติเอกราชสกอตแลนด์ พ.ศ. 2557และการออกเสียงประชามติ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสกอตแลนด์

กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..

ใหม่!!: การลงประชามติเอกราชสกอตแลนด์ พ.ศ. 2557และประเทศสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เวลาสากลเชิงพิกัด

แผนที่โลกแสดงเขตเวลาในปัจจุบัน เวลาสากลเชิงพิกัด (Coordinated Universal Time; ตัวย่อ: UTC) คือ หน่วยเวลาที่ใช้ในการอ้างอิงการหมุนของโลก โดยใช้เครื่องหมายบวก (+) หรือลบ (-) เทียบจากหน่วยเวลาสากลซึ่งเป็นระบบอ้างอิงจากเวลามาตรฐานกรีนิช (GMT) จุดอ้างอิงของเวลาสากลเชิงพิกัดคือที่ลองจิจูด ที่ 0° ที่ตัดผ่านหอดูดาวหลวงกรีนิชในกรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร (และเป็นสาเหตุหลักที่เวลามาตรฐานกรีนิชยังคงมีใช้อยู่ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: การลงประชามติเอกราชสกอตแลนด์ พ.ศ. 2557และเวลาสากลเชิงพิกัด · ดูเพิ่มเติม »

เอกราชของสกอตแลนด์

อกราชของสกอตแลนด์ (Scottish independence, Scots unthirldom, Neo-eisimeileachd na h-Alba) เป็นจุดมุ่งหมายทางการเมืองของพรรคการเมือง กลุ่มรณรงค์ และบุคคลจำนวนหนึ่งในสกอตแลนด์ (ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งในสหราชอาณาจักร) ที่ต้องการให้ประเทศเป็นรัฐเอกราชที่มีอธิปไตยของตนเองอีกครั้งหนึ่ง การลงประชามติทั่วประเทศจะมีขึ้นในวันที่ 18 กันยายน..

ใหม่!!: การลงประชามติเอกราชสกอตแลนด์ พ.ศ. 2557และเอกราชของสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »