โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การรุกเลนินกราด–นอฟโกรอด

ดัชนี การรุกเลนินกราด–นอฟโกรอด

การรุกทางยุทธศาสตร์เลนินกราด–นอฟโกรอด เป็นการรุกทางยุทธศาสตร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การรุกเริ่มโดยกองทัพแดงในวันที่ 14 มกราคม 1944 โดยโจมตีกลุ่มกองทัพเยอรมันเหนือ โดยแนวรบวอลฮอฟ และ แนวรบเลนินกราดของโซเวียต และบางส่วนจากแนวรบบอลติกที่ 2 โดยมีเป้าหมายหลักคือยุดิการล้อมเลนินกราด ประมาณ 2 สัปดาห์ต่อมา กองทัพแดงสามารถควบคุมทางรถไฟมอสโก-เลนินกราดคืนมาได้ และในวันที่ 26 มกราคม 1944 โจเซฟ สตาลิน ประกาศว่าการล้อมเลนินกราดได้ยุติลงแล้ว และกองกำลังเยอรมันได้ถอยออกจากแคว้นเลนินกราดKrivosheev, Grigori et al., p. 315 มีการเฉลิมฉลองการยุดิการล้อมเลนินกราดที่กินเวลา 900 วันที่เลนินกราด ด้วยการยิงปืนใหญ่สลุต 324 นัด การรุกทางยุทธศาสตร์จบลงในวันที่ 1 มีนาคม เมื่อกองบัญชาการสามัญของสหภาพโซเวียต (Stavka) สั่งให้กองกำลังในแนวรบเลนินกราดไปปฏิบัติงานข้ามแม่น้ำนาร์วา ขณะที่แนวรบบอลติกที่ 2 กำลังปกป้องดินแดนที่ได้ยึดครองจากการบุกคืนของกองทัพน้อยที่ 16 ของเยอรมัน.

11 ความสัมพันธ์: กองเรือบอลติกการล้อมเลนินกราดวัลเทอร์ โมเดิลสงครามโลกครั้งที่สองคีริลล์ เมเรตสคอฟนาร์วาแคว้นเลนินกราดแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)โจเซฟ สตาลินเกออร์ก ฟอน คึชเลอร์เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

กองเรือบอลติก

กองเรือบอลติก (Балтийский флот, Baltiysky Flot) เป็นกองเรือของกองทัพเรือรัสเซีย ในทะเลบอลติก กองเรือบอลติก สถาปนาขึ้นในวันที่ 18 พฤษภาคม 1703 โดยจักรพรรดิปีเตอร์มหาราช โดยเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซีย กองเรือบอลติกเป็นองค์กรของกองทัพเรือรัสเซียที่เก่าแก่ที่สุด กองเรือได้ถูกโอนเปลี่ยนยังสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย และต่อมาคือ สหภาพโซเวียต ในปี 1922 โดยเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพเรือโซเวียต กองเรือยังเป็นที่รู้จักในชื่อของ ดวัจดืยครัสโนซนามิออนนืยบัลตีสกีโฟลต์ (Два́жды Краснознамённый Балти́йский фло́т) เนื่องจากในช่วงยุคโซเวียตกองเรือบอลติกได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์ธงแดง 2 ครั้ง หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในเดือน ธันวาคม 1991 กองเรือบอลติกได้ถูกโอนเปลี่ยนยังสหพันธรัฐรัสเซีย โดยกลับไปใช้ชื่อเดิมในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพเรือรัสเซีย กองบัญชาการของกองเรือบอลติกตั้งอยู่ในเมืองคาลีนินกราด ซึ่งฐานทัพหลักตั้งอยู่ในเมืองบัลตีสค์ โดยทั้งสองอยู่ในแคว้นคาลีนินกราด และมีฐานทัพอื่นตั้งอยู่ในเมืองโครนสตัดต์, เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในอ่าวฟินแลน.

ใหม่!!: การรุกเลนินกราด–นอฟโกรอดและกองเรือบอลติก · ดูเพิ่มเติม »

การล้อมเลนินกราด

การล้อมเลนินกราด (блокада Ленинграда blokada Leningrada) เป็นการล้อมยืดเยื้อซึ่งกลุ่มกองทัพเหนือของเยอรมันกระทำต่อเลนินกราด ซึ่งก่อนหน้านี้และปัจจุบันคือ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในแนวรบด้านตะวันออกของสงครามโลกครั้งที่สอง การล้อมเริ่มต้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน 1941 เมื่อถนนเส้นสุดท้ายสู่นครถูกตัดขาด แม้ฝ่ายโซเวียตสามารถเปิดฉนวนทางบกแคบ ๆ สู่นครได้เมื่อวันที่ 18 มกราคม 1943 กว่าการล้อมจะยุติก็วันที่ 27 มกราคม 1944 กินเวลา 872 วัน เป็นการล้อมที่ยาวนานและทำลายล้างสูงสุดในประวัติศาสตร์ และอาจเป็นการล้อมที่มียอดผู้เสียชีวิตสูงสุดด้ว.

ใหม่!!: การรุกเลนินกราด–นอฟโกรอดและการล้อมเลนินกราด · ดูเพิ่มเติม »

วัลเทอร์ โมเดิล

อ็อทโท โมริทซ์ วัลเทอร์ โมเดิล (Otto Moritz Walter Model; 24 มกราคม 1891 – 21 เมษายน 1945) เป็นจอมพลเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขามีชื่อเสียงในการรบป้องกันในช่วงครึ่งหลังของสงคราม ส่วนใหญ่ในแนวรบตะวันออกแต่อยู่ในด้านตะตะวันตก เขาได้ถูกเรียกว่า ผู้บัญชาการยุทธวิธีป้องกันที่ดีที่สุดของจักรวรรด์ไรซ์ที่สาม ในช่วงปลายสงคราม โมเดิลได้ล้มเหลวในป้องกันการบุกเข้าสู่เยอรมนีของกองทัพสัมพันธมิตรในด้านตะวันตกและกองทัพของเขาถูกล้อมอย่างสิ้นเชิงในรูร์ เขาจึงตัดสินใจฆ่าตัวตายเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับนำตัวไปพิจารณาคดีในข้อหาอาชญากรสงครามเมื่อ 21 เมษายน..

ใหม่!!: การรุกเลนินกราด–นอฟโกรอดและวัลเทอร์ โมเดิล · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: การรุกเลนินกราด–นอฟโกรอดและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

คีริลล์ เมเรตสคอฟ

ีริลล์ อะฟานาเลวิช เมเรตสคอฟ (Кири́лл Афана́сьевич Мерецко́в) เป็นผู้บัญชาการกองทัพโซเวียตในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมเรตสคอฟเข้าร่วม พรรคคอมมิวนิสต์ ในปี 1917 เข้าเข้าร่วมกองทัพแดง ในปี 1920 ในช่วงสงครามฤดูหนาว เขาได้รับผิดชอบการแทรกซึมแนวมันเนอร์เฮม ในฐานะผู้บัญชาการกองทัพที่ 7 เมเรตสคอฟได้รับเหรียญดาวทองของวีรชนแห่งสหภาพโซเวียต ในช่วงหลัง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เมเรตสคอฟ กลับไปบัญชาการกองทัพที่ 7 และแนวรบวอลฮอฟ ในช่วง การล้อมเลนินกราด เมเรตสคอฟบัญชาการแนวรบคาเรเลีย ในเดือนกุมภาพันธ์ 1944 เมเรตสคอฟสร้างผลงานอย่างโดดเด่นในช่วงการรุกเพ็ตซาโม–คิร์เคเนส และในเดือน เมษายน 1945 เมเรตสคอฟยังไปประจำการที่ตะวันออกไกล โดยบัญชาการแนวรบในช่วงระหว่างที่ สหภาพโซเวียตบุกครองแมนจูเรีย ระหว่างสงครามเมเรตสคอฟได้รับการเลื่อนยศเป็นจอมพลแห่งสหภาพโซเวียต; on warheroes.ru.

ใหม่!!: การรุกเลนินกราด–นอฟโกรอดและคีริลล์ เมเรตสคอฟ · ดูเพิ่มเติม »

นาร์วา

นาร์วา (Narva; Нарва) เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศเอสโตเนีย ตั้งอยู่ตะวันออกสุดของประเทศ ติดกับชายแดนประเทศรัสเซีย บนริมฝั่งแม่น้ำนาร์วา เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตผ้าฝ้ายและผ้ากระสอบ เมืองนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: การรุกเลนินกราด–นอฟโกรอดและนาร์วา · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นเลนินกราด

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: การรุกเลนินกราด–นอฟโกรอดและแคว้นเลนินกราด · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันออกเป็นเขตสงครามหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง มีอักษะประเทศในทวีปยุโรป และคู่สงครามร่วมฟินแลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียต โปแลนด์และชาติสัมพันธมิตรจำนวนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สงคราม เขตสงครามนี้กินอาณาบริเวณยุโรปตะวันออก บางส่วนของยุโรปเหนือและยุโรปใต้ สู้รบกันระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน..

ใหม่!!: การรุกเลนินกราด–นอฟโกรอดและแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง) · ดูเพิ่มเติม »

โจเซฟ สตาลิน

ซฟ สตาลิน (รัสเซีย: Иосиф Виссарионович Сталин Iosif Vissarionovich Stalin อิโอซิฟ วิซซาริโอโนวิช สตาลิน; อังกฤษ: Joseph Stalin) (1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878 - 5 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1920 ถึง..

ใหม่!!: การรุกเลนินกราด–นอฟโกรอดและโจเซฟ สตาลิน · ดูเพิ่มเติม »

เกออร์ก ฟอน คึชเลอร์

กออร์ก คาร์ล ฟรีดริช วิลเฮล์ม ฟอน คึชเลอร์ (Georg Karl Friedrich Wilhelm von Küchler) เป็นจอมพลแห่งกองทัพบกเยอรมันของนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้ได้รับเหรียญอิสริยาภรณ์กางเขนเหล็กกางเขนอัศวินประดับด้วยใบโอ๊ค ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง เขาได้ต่อสู้คดีในการพิจารณาคดีกองบัญชาการทหารสูงสุด (High Command Trial) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาเนือร์นแบร์กครั้งหลัง เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม..

ใหม่!!: การรุกเลนินกราด–นอฟโกรอดและเกออร์ก ฟอน คึชเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

ซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (Saint Petersburg; Санкт-Петербу́рг, เป็นเมืองท่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของสหพันธรัฐรัสเซีย ตั้งอยู่ปากแม่น้ำเนวา ริมอ่าวฟินแลนด์ในทะเลบอลติก เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กสร้างโดยพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราช เมื่อ พ.ศ. 2246 โดยตัวเมืองเริ่มสร้างด้วยการถมทรายและหินเป็นจำนวนมากเพราะว่าพื้นที่เดิมของเมืองนั้นเป็นดินเลนของทะเล พระองค์ทรงเลือกที่จะสร้างเมืองที่บริเวณนี้เพราะว่าตัวเมืองมีทางออกทะเลบอลติกและสามารถติดต่อไปทางยุโรปและประเทศอื่นๆได้ง่าย เพื่อการปฏิรูปรัสเซียให้ทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ ในยุโรปได้โดยง่าย ต่อมาเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์กจึงได้รับสมญานามว่าหน้าต่างแห่งยุโรป และได้เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิรัสเซียเป็นเวลา 206 ปี (หลังจากนั้นได้ย้ายเมืองหลวงไปที่มอสโก เมื่อ พ.ศ. 2461) ชื่อเดิมของเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กคือ เปโตรกราด (Petrograd, Петрогра́д, ใช้ในช่วง พ.ศ. 2457-2467) และ เลนินกราด (Leningrad, Ленингра́д, ใช้ในช่วง พ.ศ. 2467-2534) ปัจจุบันเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กมีประชากรมากกว่า 4.7 ล้านคน เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของรัสเซีย และเป็นมรดกโลกขององค์กรยูเนสโก.

ใหม่!!: การรุกเลนินกราด–นอฟโกรอดและเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Leningrad–Novgorod Offensive

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »