โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การรุกตรุษญวน

ดัชนี การรุกตรุษญวน

การรุกตรุษญวน (Tet Offensive; Sự kiện Tết Mậu Thân 1968, หรือ Tổng tiến công và nổi dậy Tết Mậu Thân) เป็นการทัพทางทหารครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในสงครามเวียดนาม เปิดฉากเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2511 โดยกำลังเวียดกงและกองทัพประชาชนเวียดนามเหนือต่อกำลังเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาและพันธมิตร เป็นการทัพการโจมตีอย่างจู่โจมต่อกองบัญชาการทหารและพลเรือนและศูนย์ควบคุมทั่วประเทศเวียดนามใต้ การรุกนี้ได้ชื่อจากวันหยุดตรุษญวน (เต๊ต, Tết) เมื่อเกิดการโจมตีใหญ่ครั้งแรก ฝ่ายคอมมิวนิสต์ดำเนินการโจมตีเป็นระลอกในกลางดึกของวันที่ 30 มกราคมในเขตยุทธวิธีเหล่าที่ 1 และที่ 2 ของเวียดนามใต้ การโจมตีช่วงแรกนี้ไม่นำไปสู่มาตรการป้องกันอย่างกว้างขวาง เมื่อปฏิบัติการหลักของคอมมิวนิสต์เริ่มในเช้าวันรุ่งขึ้น การรุกก็ลามไปทั่วประเทศและมีการประสานงานอย่างดี จนสุดท้ายมีกำลังคอมมิวนิสต์กว่า 80,000 นายโจมตีเมืองและนครกว่า 100 แห่ง ซึ่งรวมเมืองหลักของ 36 จาก 44 จังหวัด นครปกครองตนเอง 5 จาก 6 แห่ง เมืองเขต 72 จาก 245 แห่ง และเมืองหลวงของเวียดนามใต้ การรุกนี้เป็นปฏิบัติการทางทหารใหญ่ที่สุดของทั้งสองฝ่ายจนถึงเวลานั้น การโจมตีขั้นต้นทำให้กองทัพสหรัฐและเวียดนามใต้สับสนและทำให้เสียการควบคุมหลายนครเป็นการชั่วคราว แต่ก็สามารถจัดกลุ่มใหม่เพื่อขับการโจมตีกลับไป ทำให้กำลังคอมมิวนิสต์มีกำลังพลสูญเสียมหาศาล ระหว่างยุทธการที่เว้ การสู้รบอย่งาดุเดือดกินเวลาหนึ่งเดือน ทำให้กำลังสหรัฐทำลายนคร ระหว่างการยึดครอง คอมมิวนิสต์ประหารชีวิตประชาชนหลายพันคนในเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่เว้ การสู้รบดำเนินไปรอบ ๆ ฐานทัพสหรัฐที่เคซานเป็นเวลาอีกสองเดือน แม้การรุกจะเป็นความพ่ายแพ้ทางทหารสำหรับฝ่ายคอมมิวนิสต์ แต่มีผลลัพธ์ใหญ่หลวงต่อรัฐบาลสหรัฐและทำให้สาธารณชนสหรัฐตะลึง ซึ่งถูกผู้นำทางการเมืองและทหารเชื่อว่าฝ่ายคอมมิวนิสต์กำลังปราชัยและไม่สามารถดำเนินความพยายามมโหฬารเช่นนี้ได้ การสนับสนุนสงครามของสาธารณชนสหรัฐเสื่อมลงและสหรัฐแสวงการเจรจาเพื่อยุติสงคราม คำว่า "การรุกตรุษญวน" ปกติหมายถึงการรุกในเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2511 แต่อาจรวมการรุกที่เรียก "ตรุษญวนเล็ก" ซึ่งเกิดในเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคมด้ว.

7 ความสัมพันธ์: สหรัฐสงครามเวียดนามหวอ เงวียน ซ้าปตรุษญวนประเทศเวียดนามใต้ประเทศเวียดนามเหนือแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: การรุกตรุษญวนและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

ใหม่!!: การรุกตรุษญวนและสงครามเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

หวอ เงวียน ซ้าป

หวอ เงวียน ซ้าป หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ โวเหงียนเกี๊ยบ (Võ Nguyên Giáp; 25 สิงหาคม พ.ศ. 2454 - 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556) เป็นนายทหารนอกราชการสังกัดกองทัพประชาชนเวียดนามและนักการเมือง เขาเป็นผู้บัญชาการหลักสงครามใหญ่ 2 ครั้ง คือ สงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2489-2497) และสงครามเวียดนาม (อีกนัยหนึ่งคือสงครามอินโดจีนครั้งที่ 2, พ.ศ. 2503-2518) และมีส่วนร่วมในยุทธการครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์อันได้แก่ยุทธการที่หลั่งเซิน (พ.ศ. 2493) ยุทธการที่ฮหว่าบิ่ญ (พ.ศ. 2494-2495) ยุทธการที่เดียนเบียนฟู (1954) การรุกวันตรุษญวน (พ.ศ. 2511) การรุกวันอีสเตอร์ (ในเวียดนามเรียกชื่อว่า "การรุกเหงียนเว้", พ.ศ. 2515) การทัพโฮจิมินห์ (พ.ศ. 2518) และ สงครามจีน-เวียดนาม (พ.ศ. 2522) นอกจากนี้ย้าบยังเป็นนักหนังสือพิมพ์ รัฐมนตรีมหาดไทยในรัฐบาลเวียดมินห์ของโฮจิมินห์ ผู้บัญชาการทหารของเวียดมินห์ ผู้บัญชาการกองทัพประชาชนเวียดนาม รัฐมนตรีกลาโหม และรับตำแหน่งในคณะกรมการเมือง (โปลิตบูโร) ของพรรคแรงงานเวียดนาม (พรรคลาวด่ง) อีกด้วย ซ้าปเป็นผู้บัญชาการทหารที่โดดเด่นที่สุดที่อยู่เคียงข้างประธานาธิบดีโฮจิมินห์ในช่วงสงคราม และรับผิดชอบในการนำปฏิบัติการต่างๆ ที่สำคัญมาโดยตลอดจนกระทั่งสงครามยุติ นอกจากนี้ซ้าปยังเป็นที่จดจำว่ามีชีวิตอยู่ยืนยาวยิ่งกว่าประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นคู่สงครามทุกคน และเป็นนายทหารระดับสูงที่โดดเด่นที่สุดในช่วงสงครามเวียดนามซึ่งได้รับการยอมรับจากทั้งสองฝ.

ใหม่!!: การรุกตรุษญวนและหวอ เงวียน ซ้าป · ดูเพิ่มเติม »

ตรุษญวน

นนที่นครโฮจิมินห์ในเทศกาลตรุษญวน ประเพณีตรุษญวน หรือปีใหม่ของชาวเวียดนาม มีลักษณะเหมือนกับประเพณีตรุษจีนของชาวจีน ในอดีตสมัยที่เวียดนามตกเป็นเมืองขึ้นของจีนนานนับพันปี วัฒนธรรมทางความเชื่อและการดำรงชีวิตตลอดจนภาษาต่างก็ได้รับอิทธิพลจากจีนทั้งสิ้น ปฏิทินทางจันทรคติของเวียดนามจะตรงกับปฏิทินทางจันทรคติของจีน ดังนั้นวันตรุษญวนหรือวันขั้นปีใหม่เวียดนามจะตรงกับวันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติ หรือตรงกับวันตรุษจีนนั่นเอง ตรุษญวนในภาษาเวียดนามเรียกว่า เต๊ตเงวียนด๊าน (Tết Nguyên Đán) แปลว่าเทศกาลต้อนรับแสงรุ่งอรุณของปีใหม่ ในการเฉลิมฉลองเทศการตรุษญวนจะเริ่มขึ้นในวันที่ 23 เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติของเวียดนาม (เจ็ดวันก่อนตรุษญวน) วันนี้จะมีการไหว้เทพเจ้าแห่งเตาไฟ ในภาษาเวียดนามเรียกว่า องต๊าว (Ông Táo) หรือ ต๊าวเกวิน (Táo Quân) เทพเจ้าเตาเป็นเทพเจ้าที่คอยสอดส่องดูแลความเป็นไปทุกอย่างภายในบ้าน เทพเจ้าเตาของเวียดนามมีสามองค์ ซึ่งแตกต่างกับของจีน พอถึงวันที่ 23 เดือน 12 จะมีการเซ่นไหว้เทพเจ้าโดยวัตถุประสงค์คือเพื่อส่งเทพเจ้าขึ้นสวรรค์ ในพิธีจะมีการไหว้ปลาคร๊าฟ ซึ่งเทพเจ้าจะขึ้นสวรรค์โดยขี่ปลาคร๊าฟนี้ พอไหว้เสร็จก็จะนำปลาคร๊าฟไปปล่อยในแม่น้ำหรือหนองน้ำเพราะเชื่อว่าปลาคร๊าฟจะแปลงกลายเป็นมังกรพาเทพเจ้าขึ้นสู่สวรรค์ หลังจากนั้นจะมีการทำความสะอาดบ้านเรือนประดับตกแต่งสวยงานเพื่อต้อนรับเทศกาลตรุษญวนที่จะมาถึง หลังจากไหว้เทพเจ้าเตาในวันที่ 23 เดือน 12 แล้ว พอถึงวันที่ 30 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติของเวียดนาม (ก่อนตรุษจีนหนึ่งวัน) จะมีการไหว้บรรพบุรุษเพื่อเชิญบรรพบุรุษกลับมาร่วมเฉลิมฉลองในเทศกาลตรุษญวน โดยญาติพี่น้องทุกคนที่อยู่ไกลบ้านจะต้องกลับมาเพื่อรวมกันพร้อมหน้าพร้อมตาในวันปีใหม่ การไหว้บรรพบุรุษจะเริ่มขึ้นในช่วงบ่าย การไหว้มีสองแบบคือ.

ใหม่!!: การรุกตรุษญวนและตรุษญวน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนามใต้

รณรัฐเวียดนาม เป็นรัฐที่ปกครองบริเวณตอนใต้ของเวียดนามระหว่างปี พ.ศ. 2498 ถึง พ.ศ. 2518 ซึ่งต่างชาติโดยเฉพาะรัฐประชาธิปไตยและชาติต่อต้านคอมมิวนิสต์นิยมเรียกในชื่อว่า เวียดนามใต้ คำเรียก เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ ถูกใช้อย่างแพร่หลายในปี พ.ศ. 2497 ในการประชุมที่เจนีวา ซึ่งแบ่งประเทศเวียดนามออกเป็นสองส่วนโดยเส้นขนานที่ 17 ในระหว่างสงครามเวียดนาม เวียดนามใต้ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ในอดีต เวียดนามใต้เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในชื่อ โคชินไชนา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เวียดมินห์ซึ่งนำโดยโฮจิมินห์ สถาปนารัฐคอมมิวนิสต์ขึ้นที่ฮานอย ในปีพ.ศ. 2492นักการเมืองที่ไม่ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ ก่อตั้งรัฐบาลขึ้นที่เมืองไซ่ง่อนซึ่งนำโดยอดีตจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ในปี 2498 บ๋าว ดั่ย ถูกปลดโดยนายกรัฐมนตรีโง ดิ่ญ เสี่ยม และแต่งตั้งตนขึ้นเป็นประธานาธิบดี หลังจากเสี่ยมเสียชีวิตจากการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2506 ได้มีรัฐบาลทหารอายุสั้นหลายสมัยได้ปกครองเวียดนามใต้จนถึงปี พ.ศ. 2510 พลโท เหงียน วัน เถี่ยวได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีและได้ปกครองเวียดนามใต้จนถึงปี พ.ศ. 2518 สงครามเวียดนามเริ่มต้นในปี..

ใหม่!!: การรุกตรุษญวนและประเทศเวียดนามใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนามเหนือ

วียดนามเหนือ หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (Việt Nam Dân Chủ Cộng Hòa) คือประเทศที่เกิดจากการรวมของแคว้นตังเกี๋ยและแคว้นอันนัมของฝรั่งเศส ประกาศก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) โดยประธานาธิบดีโฮจิมินห์ ตั้งอยู่บริเวณครึ่งบนของประเทศเวียดนามในปัจจุบัน.

ใหม่!!: การรุกตรุษญวนและประเทศเวียดนามเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้

แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้ หรือ เวียดกง หรือ เหวียดกง (Mặt trận Dân tộc Giải phóng miền Nam Việt Nam หรือ Việt Cộng) ก่อตั้งเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2503 เป็นตัวแทนของพรรคคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้ เพื่อหาเสียงสนับสนุนจากประชาชนและต่อต้านรัฐบาลของโง ดิ่ญ เสี่ยม เวียดกงได้รับการสนับสนุนทางอาวุธยุทโธปกรณ์จากฝ่ายคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้ และกองทัพประชาชนเวียดนาม แนวร่วมนี้ก่อตั้งตามแนวชายแดนกัมพูชา ประธานคือ เหงียน หืว เถาะ พรรคนี้ได้เข้าร่วมในรัฐบาลปฏิวัติเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐเวียดนามใต้ เมื่อเดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: การรุกตรุษญวนและแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Tet Offensive

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »