โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การระเบิดที่ตุงกุสคา

ดัชนี การระเบิดที่ตุงกุสคา

การระเบิดที่ตุงกุสคา หรือ เหตุการณ์ตุงกุสคา (Tunguska explosion, Tunguska event) เป็นการระเบิดอย่างรุนแรง ที่เกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำพอดกาเมนนายาตุงกุสคา (Podkamennaya Tunguska River) ไซบีเรีย จักรวรรดิรัสเซีย (ปัจจุบันคือ กราสโนยาร์คไคร ตอนกลางของรัสเซีย) เมื่อเวลาประมาณ 7.12 น. วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2451 ตามเวลาท้องถิ่น (GMT+7 ตามเวลาในประเทศไทย) แม้ว่าสาเหตุยังคงเป็นประเด็นถกเถียง แต่การระเบิดคล้ายมากกับการระเบิดคลื่นอัดอากาศจากการแตกตัวของอุกกาบาตหรือดาวหางขนาดใหญ่ ที่ความสูงเหนือพื้นผิวโลก 5-10 กิโลเมตร (3-6 ไมล์) แม้ว่าการระเบิดของอุกกาบาตกลางอากาศก่อนถึงพื้นผิวเกิดขึ้นน้อยกว่าการชนพื้นผิว แต่ก็ยังจัดเป็นการปะทะของอุกกาบาตอีกลักษณะหนึ่ง การศึกษาต่างวาระแสดงหลักฐานตรงกันว่ามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 10-30 เมตร แต่ขนาดที่แน่นอนอ้างไม่ตรงกัน ประมาณการว่า การระเบิดนี้มีความรุนแรงเทียบเท่ากับระเบิดทีเอ็นที ระหว่าง 5 เมกะตัน ถึง 30 เมกะตัน หรือประมาณ 1,000 เท่า _ ของระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น การระเบิดเกิดขึ้นกลางอากาศที่ความสูงประมาณ 5-10 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน การระเบิดทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนแผ่ออกเป็นวงกว้าง เทียบเท่ากับแผ่นดินไหวที่แมกนิจูด 5.0 ทำลายต้นไม้ประมาณ 80 ล้านต้น กินอาณาบริเวณประมาณ 2,150 ตารางกิโลเมตร แม้เชื่อกันว่าเหตุการณ์ตุงกุสคาเป็นการปะทะของอุกกาบาตขนาดใหญ่ที่สุดที่มนุษย์สังเกตพบในช่วงประวัติศาสตร์มนุษย์ แต่การปะทะขนาดคล้ายกันนี้พบได้ในพื้นที่มหาสมุทรที่ห่างไกล ซึ่งพลาดการสังเกตพบในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และคริสต์ทศวรรษ 1970 เพราะยังไม่มีการคิดค้นระบบตรวจการณ์ทางดาวเทียม.

19 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2451กิโลเมตรศูนย์ทดลองแห่งชาติซานเดียอาวุธนิวเคลียร์อุกกาบาตจักรวรรดิรัสเซียจังหวัดฮิโรชิมะดาวหางคริสต์ทศวรรษ 1960คริสต์ทศวรรษ 1970ตารางกิโลเมตรประเทศญี่ปุ่นประเทศรัสเซียนาซาไมล์ไตรไนโตรโทลูอีนไซบีเรียเวลามาตรฐานกรีนิช30 มิถุนายน

พ.ศ. 2451

ทธศักราช 2451 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1908 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: การระเบิดที่ตุงกุสคาและพ.ศ. 2451 · ดูเพิ่มเติม »

กิโลเมตร

กิโลเมตร อักษรย่อ กม. (mètre, km) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 × 103 เมตร.

ใหม่!!: การระเบิดที่ตุงกุสคาและกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

ศูนย์ทดลองแห่งชาติซานเดีย

ูนย์ทดลองแห่งชาติซานเดีย (Sandia National Laboratories) เป็นหนึ่งในสองศูนย์วิจัยและพัฒนาแห่งชาติที่สำคัญของกระทรวงพลังงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา บริหารจัดการโดย Sandia Corporation (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Lockheed Martion Corporation) ภารกิจพื้นฐานของศูนย์ทดลองคือการสร้าง พัฒนา และทดสอบส่วนประกอบที่มิใช่นิวเคลียร์ (non-nuclear component) ของอาวุธนิวเคลียร์ สาขาแรกตั้งอยู่ที่ฐานทัพอากาศเคิร์ตแลนด์ ที่ อัลบูเคอร์คี รัฐนิวเม็กซิโก อีกสาขาหนึ่งอยู่ที่ลิเวอร์มอร์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ใกล้กับศูนย์ทดลองแห่งชาติิลิเวอร์มอร์ ซานเดียเป็นห้องทดลองของคณะกรรมาธิการความมั่นคงด้านนิวเคลียร์แห่งชาติ หน้าที่หลักของซานเดียคือการตรวจสอบเสถียรภาพและความเชื่อถือได้ของระบบที่ใช้ในอาวุธนิวเคลียร์ ทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีแขนกลในการควบคุมและป้องกันระเบิดนิวเคลียร์ รวมถึงการตรวจสอบกระบวนการทำลายอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ภารกิจอีกประการหนึ่งรวมไปถึงการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม รวมถึงความมั่นใจด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นหัวใจสำคัญของประเทศ นอกจากนี้ ซานเดียยังเป็นแหล่งวิจัยในสาขาอื่นๆ อีกหลายสาขา รวมถึง computational biology, คณิตศาสตร์ (ผ่านทางสถาบันวิจัยวิทยาศสตร์คอมพิวเตอร์), วิทยาการวัสดุ, พลังงานทางเลือก, จิตศาสตร์, ไมโครเทคโนโลยี, และวิทยาศาสตร์แขนงใหม่ๆ แต่เดิมซานเดียทำงานด้วย ASCI Red ซึ่งเป็นหนึ่งในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลก จนกระทั่งปลดประจำการไปไม่นานนี้ ปัจจุบันซานเดียใช้เครื่อง ASCI Red Storm (ชื่อเดิม Thor's Hammer) นอกจากนี้ซานเดียยังเป็นที่ตั้งของ Z Machine อันเป็นเครื่องผลิตรังสีเอ็กซ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ออกแบบมาเพื่อใช้ทดสอบวัสดุในเงื่อนไขอุณหภูมิและแรงดันแบบยิ่งยวด เครื่องนี้บริหารโดยซานเดียใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลสำหรับทำแบบจำลองคอมพิวเตอร์ของอาวุธนิวเคลียร.

ใหม่!!: การระเบิดที่ตุงกุสคาและศูนย์ทดลองแห่งชาติซานเดีย · ดูเพิ่มเติม »

อาวุธนิวเคลียร์

ญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2488 ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง อาวุธนิวเคลียร์ เป็นวัตถุระเบิดซึ่งมีอำนาจทำลายล้างมาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ไม่ว่าจะเป็นปฏิกิริยาฟิชชัน(atomic bomb)อย่างเดียว หรือ ฟิชชันและฟิวชัน(hydrogen bomb)รวมกัน ปฏิกิริยาทั้งสองปลดปล่อยพลังงานปริมาณมหาศาลจากสสารปริมาณค่อนข้างน้อย การทดสอบระเบิดฟิชชัน ("อะตอม") ลูกแรกปลดปล่อยพลังงานออกมาเทียบเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 20,000 ตัน การทดสอบระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ ("ระเบิดไฮโดรเจน") ลูกแรก ปลดปล่อยพลังงานออกมาเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 10,000,000 ตัน อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์สมัยใหม่ที่หนักกว่า 1,100 กิโลกรัมเล็กน้อย สามารถก่อให้เกิดแรงระเบิดเทียบเท่ากับการจุดจามทีเอ็นทีมากกว่า 1.2 ล้านตัน ดังนั้น กระทั่งวัตถุนิวเคลียร์ลูกเล็กๆ ที่ขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าระเบิดธรรมดา สามารถทำลายล้างนครทั้งนครได้ ด้วยแรงระเบิด ไฟและกัมมันตรังสี อาวุธนิวเคลียร์ถูกพิจารณาว่าเป็นอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง และการใช้และควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ได้กลายเป็นจุดสนใจสำคัญของนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนับแต่ถือกำเนิดขึ้น มีอาวุธนิวเคลียร์เพียงสองชิ้นเท่านั้นที่เคยใช้ตลอดห้วงการสงคราม ทั้งสองครั้งโดยสหรัฐอเมริกายามสงครามโลกครั้งที่สองใกล้ยุติ วันที่ 6 สิงหาคม..

ใหม่!!: การระเบิดที่ตุงกุสคาและอาวุธนิวเคลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

อุกกาบาต

อุกกาบาตที่ถูกพบในสหรัฐอเมริกา อุกกาบาต คือ วัตถุในอวกาศ ที่ผ่านชั้นบรรยากาศลงมาสู่โลก ตอนอยู่ในอวกาศจะเรียกว่า สะเก็ดดาวตก พอเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก จะเรียกว่า ดาวตก เราสามารถพบหรือเจออุกกาบาตได้บนดาวเคราะห์ดวงอื่น เช่น ดาวอังคาร เป็นต้น อุกกาบาตเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงประมาณ 40-70 กิโลเมตร/วินาที และเกิดการ compression กับอากาศในชั้นบรรยากาศโลก ทำให้อากาศรอบๆอุกกาบาตมีความดันสูงขึ้นจึงเกิดความร้อนสูงจนลุกไหม้ สะเก็ดอุกกาบาตเล็กจะถูกเผาไหม้จนหมดแต่สำหรับก้อนที่มีขนาดใหญ่นั้นจะไม่ถูกเผาไหม้จนหมดทำให้ตกมายันบนพื้นโลก และเกิดหลุมอุกกาบาต ชนิดของอุกกาบาต ชนิดของอุกกาบาต มีดังนี้.

ใหม่!!: การระเบิดที่ตุงกุสคาและอุกกาบาต · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิรัสเซีย

ักรวรรดิรัสเซีย (Российская империя; Russian Empire) คืออดีตประเทศรัสเซียก่อนที่จะมีการปฏิวัติการปกครองของซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในปี 1917 จักรวรรดิรัสเซียสถาปนาขึ้นในปี 1721 โดยจักรพรรดิซาร์ปีเตอร์มหาราชสถาปนาขึ้นแทนที่อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซียมีพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมยุโรปตะวันออก, เอเชีย จนไปถึงทวีปอเมริกา นับได้ว่าเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นจักรวรรดิหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซี.

ใหม่!!: การระเบิดที่ตุงกุสคาและจักรวรรดิรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดฮิโรชิมะ

ังหวัดฮิโรชิมะ เป็นจังหวัดในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บริเวณภาคจูโงกุของญี่ปุ่นมีเมืองเอกในชื่อเดียวกันคือ นครฮิโรชิมะ left.

ใหม่!!: การระเบิดที่ตุงกุสคาและจังหวัดฮิโรชิมะ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวหาง

ดาวหางเฮล-บอปป์ ดาวหางเวสต์ ดาวหาง คือ วัตถุชนิดหนึ่งในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ มีส่วนที่ระเหิดเป็นแก๊สเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดชั้นฝุ่นและแก๊สที่ฝ้ามัวล้อมรอบ และทอดเหยียดออกไปภายนอกจนดูเหมือนหาง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ไปบนนิวเคลียสของดาวหาง นิวเคลียสหรือใจกลางดาวหางเป็น "ก้อนหิมะสกปรก" ประกอบด้วยน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย และมีฝุ่นกับหินแข็งปะปนอยู่ด้วยกัน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่กิโลเมตรไปจนถึงหลายสิบกิโลเมตร คาบการโคจรของดาวหางมีความยาวนานแตกต่างกันได้หลายแบบ ตั้งแต่คาบโคจรเพียงไม่กี่ปี คาบโคจร 50-100 ปี จนถึงหลายร้อยหรือหลายพันปี เชื่อว่าดาวหางบางดวงเคยผ่านเข้ามาในใจกลางระบบสุริยะเพียงครั้งเดียว แล้วเหวี่ยงตัวเองออกไปสู่อวกาศระหว่างดาว ดาวหางที่มีคาบการโคจรสั้นนั้นเชื่อว่าแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในแถบไคเปอร์ที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ส่วนดาวหางที่มีคาบการโคจรยาวอาจมาจากแหล่งอื่น ๆ ที่ไกลจากดวงอาทิตย์ของเรามาก เช่นในกลุ่มเมฆออร์ตซึ่งประกอบด้วยเศษซากที่หลงเหลืออยู่จากการบีบอัดตัวของเนบิวลา ดาวหางเหล่านี้ได้รับแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวเคราะห์รอบนอก (กรณีของวัตถุในแถบไคเปอร์) จากดวงดาวอื่นใกล้เคียง (กรณีของวัตถุในกลุ่มเมฆออร์ต) หรือจากการชนกัน ทำให้มันเคลื่อนเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์น้อยมีกำเนิดจากกระบวนการที่ต่างไปจากนี้ อย่างไรก็ดี ดาวหางที่มีอายุเก่าแก่มากจนกระทั่งส่วนที่สามารถระเหิดเป็นแก๊สได้สูญสลายไปจนหมดก็อาจมีสภาพคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์น้อยก็ได้ เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกหลายดวงเคยเป็นดาวหางมาก่อน นับถึงเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: การระเบิดที่ตุงกุสคาและดาวหาง · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ทศวรรษ 1960

..

ใหม่!!: การระเบิดที่ตุงกุสคาและคริสต์ทศวรรษ 1960 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ทศวรรษ 1970

..

ใหม่!!: การระเบิดที่ตุงกุสคาและคริสต์ทศวรรษ 1970 · ดูเพิ่มเติม »

ตารางกิโลเมตร

ตารางกิโลเมตร คือหน่วยของพื้นที่ มักย่อว่า ตร.กม.

ใหม่!!: การระเบิดที่ตุงกุสคาและตารางกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: การระเบิดที่ตุงกุสคาและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ใหม่!!: การระเบิดที่ตุงกุสคาและประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

นาซา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ นาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ คำขวัญขององค์การนาซาคือ "เพื่อประโยชน์ของคนทุกคน" (For the benefit of all).

ใหม่!!: การระเบิดที่ตุงกุสคาและนาซา · ดูเพิ่มเติม »

ไมล์

มล์ คือหน่วยมาตรฐานอังกฤษที่ใช้วัดระยะทาง มักย่อว่า mi จากภาษาอังกฤษ mile 1 ไมล์มีค่าเท่ากั.

ใหม่!!: การระเบิดที่ตุงกุสคาและไมล์ · ดูเพิ่มเติม »

ไตรไนโตรโทลูอีน

ทีเอ็นที (TNT; ย่อจาก "ไตรไนโตรโทลูอีน" (Trinitrotoluene)) มีสารเคมีซึ่งมีสูตรคือ C6H2(NO2)3CH3 เป็นของแข็งสีเหลืองซึ่งบ้างใช้เป็นตัวเร่งในการสังเคราะห์เคมี แต่รู้จักกันดีที่สุดว่าเป็นวัตถุระเบิดที่มีประโยชน์โดยมีคุณสมบัติจัดการได้สะดวก สารเคมีดังกล่าวนี้ มีการสังเคราะห์ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยโจเซฟ วิลแบรนด์ (Joseph Wilbrand) เมื่อ..

ใหม่!!: การระเบิดที่ตุงกุสคาและไตรไนโตรโทลูอีน · ดูเพิ่มเติม »

ไซบีเรีย

ซบีเรีย ไซบีเรีย (Siberia, Сиби́рь) ถูกครอบครองโดยชนเผ่าเร่ร่อนหลากหลายกลุ่มแตกต่างออกไป เช่น Yenets, the Nenets, the Hun และ the Uyghurs Khan of Sibir ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง มีอากาศหนาวเย็นได้เข้าครอบครองแล้วตั้งชื่อว่า Khagan ใน Avaria ในปี..

ใหม่!!: การระเบิดที่ตุงกุสคาและไซบีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เวลามาตรฐานกรีนิช

วลามาตรฐานกรีนิช หรือ เวลามัชฌิมกรีนิช (Greenwich Mean Time) ชื่อย่อ จีเอ็มที (GMT) แต่เดิมเป็นคำใช้เรียกเวลาสุริยคติมัชฌิมที่หอดูดาวหลวงกรีนิช เมืองกรีนิช สหราชอาณาจักร ปัจจุบันคำนี้มักใช้เพื่อหมายถึงเวลาสากลเชิงพิกัด (ยูทีซี) ในฐานะเขตเวลา แม้ว่าหากถือโดยเคร่งครัดแล้ว ยูทีซีนั้นเป็นมาตรฐานเวลาที่วัดโดยนาฬิกาอะตอม ซึ่งจะเท่ากันเพียงโดยประมาณกับจีเอ็มทีในความหมายเดิม จีเอ็มทียังใช้หมายถึงเวลาสากล (ยูที) ซึ่งเป็นเวลาเชิงดาราศาสตร์ที่กำหนดขึ้นเพื่อทดแทนจีเอ็มทีโดยตรง เวลาเที่ยงวันของมาตรฐานกรีนิชนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเวลาที่ดวงอาทิตย์ข้ามผ่านเส้นเมริเดียนแรกที่กรีนิชเสมอไป ทั้งนี้เนื่องจากการโคจรของโลกเป็นวงรีรอบดวงอาทิตย์มีอัตราเร็วไม่สม่ำเสมอและแกนโลกที่เอียง เวลาเที่ยงวันกรีนิชอาจต่างจากเวลาที่ดวงอาทิตย์ข้ามผ่านเส้นเมริเดียนแรกถึง 16 นาที จึงจำเป็นต้องสมมุติดวงอาทิตย์มัชฌิม ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยจากการปรับการเคลื่อนที่ที่ไม่สม่ำเสมอของดวงอาทิตย์ดวงจริงขึ้นใช้คำนวณแทน ดวงอาทิตย์มัชฌิมนี้เองเป็นที่มาของคำว่า มัชฌิม ในคำว่าเวลามัชฌิมกรีนิช ก่อน ค.ศ. 1925 นักดาราศาสตร์ใช้จีเอ็มทีโดยนับเที่ยงวันเป็นชั่วโมงที่ศูนย์ (เวลาศูนย์นาฬิกา) ในขณะที่ประชาชนทั่วไปนับเที่ยงคืนเป็นชั่วโมงที่ศูนย์ นักดาราศาสตร์ได้เปลี่ยนมานับเที่ยงคืนเป็นชั่วโมงที่ศูนย์เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไปตั้งแต..

ใหม่!!: การระเบิดที่ตุงกุสคาและเวลามาตรฐานกรีนิช · ดูเพิ่มเติม »

30 มิถุนายน

วันที่ 30 มิถุนายน เป็นวันที่ 181 ของปี (วันที่ 182 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 184 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: การระเบิดที่ตุงกุสคาและ30 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การระเบิดที่ทังกัสกาการระเบิดที่ทุงกุสกา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »