โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การระบาดของไวรัสซิกา

ดัชนี การระบาดของไวรัสซิกา

ต้นปี 2559 กำลังมีการระบาดครั้งกว้างขวางที่สุดของไวรัสซิกาในประวัติศาสตร์ในทวีปอเมริกา การระบาดเริ่มในเดือนเมษายน 2558 ในประเทศบราซิล แล้วลามไปประเทศอื่นในอเมริกาใต้ อเมริกากลาง และแคริบเบียน ในเดือนมกราคม 2559 องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า ไวรัสน่าจะลามไปทั่วทวีปอเมริกาส่วนใหญ่เมื่อสิ้นปี ต่อมา ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 องค์การอนามัยโลกแถลงว่า การระบาดของไวรัสเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขที่เป็นปัญหาระหว่างประเทศ (public health emergency of international concern) ส่วนใหญ่ไวรัสแพร่โดยยุง Aedes aegypti (ยุงลายบ้าน) ที่พบทั่วไปตลอดเขตร้อนและทวีปอเมริกากึ่งเขตร้อน แต่ยังแพร่โดย Aedes albopictus (ยุงลายสวน) ที่ปัจจุบันมีอาศัยอยู่ถึงพื้นที่เกรตเลกส์ของสหรัฐ การติดเชื้อไวรัสซิกาส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ทำให้ประมาณจำนวนการติดเชื้อไวรัสซิกาได้ยาก ผู้ป่วยประมาณหนึ่งในห้าจะมีการเจ็บป่วยเล็กน้อยเรียก ไข้ซิกา ซึ่งทำให้เกิดอาการอย่างไข้และผื่น ทว่า การติดเชื้อไวรัสซิกาในหญิงตั้งครรภ์มีความเชื่อมโยงที่สงสัยกับภาวะหัวเล็กเกินในทารกแรกเกิดจากการส่งผ่านมารดาสู่เด็ก และในผู้ป่วยน้อยราย ทำให้เกิดกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร หลายประเทศออกคำเตือนท่องเที่ยว.

7 ความสัมพันธ์: กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เรภาวะหัวเล็กเกินยุงลายบ้านองค์การอนามัยโลกทวีปอเมริกาไวรัสซิกาไข้ซิกา

กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร

กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร หรือ กลุ่มอาการกีแยง-บาร์เร (Guillain–Barré syndrome) เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง (autoimmune disorder) อย่างหนึ่งซึ่งเกิดกับระบบประสาทส่วนปลาย ส่วนใหญ่ถูกกระตุ้นโดยการอักเสบติดเชื้อเฉียบพลัน กลุ่มอาการนี้ตั้งชื่อตามแพทย์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Guillain, Barré และ Strohl ซึ่งได้อธิบายกลุ่มอาการนี้ไว้ในปี..

ใหม่!!: การระบาดของไวรัสซิกาและกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะหัวเล็กเกิน

วะหัวเล็กเกิน (microcephaly) เป็นความผิดปกติของการเจริญทางประสาท (neurodevelopmental disorder) เป็นอาการแสดงทางประสาทวิทยาที่สำคัญ แต่ไม่มีนิยามเป็นเอกภาพ โดยปกตินิยามว่าเส้นรอบวงศีรษะต่ำเกินสองส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานต่ำกว่าค่าเฉลี่ยสำหรับอายุและเพศ ภาวะหัวเล็กเกินอาจเป็นแต่กำเนิดหรืออาจเป็นในช่วงปีแรก ๆ ของชีวิต ความผิดปกตินี้อาจกำเนิดจากหลายภาวะซึ่งทำให้กาารเจริญของสมองผิดปกติ หรือจากกลุ่มอาการที่สัมพันธ์กับความผิดปกติของโครโมโซม โดยทั่วไป อายุคาดหมายของปัจเจกบุคคลที่มีภาวะหัวเล็กเกินลดลงและพยากรณ์โรคสำหรับการทำหน้าที่ของสมองปกตินั้นเลว พยากรณ์โรคแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการมีความผิดปกติร่วมด้ว.

ใหม่!!: การระบาดของไวรัสซิกาและภาวะหัวเล็กเกิน · ดูเพิ่มเติม »

ยุงลายบ้าน

งลายบ้าน หรือยุงไข้เหลือง เป็นยุงที่สามารถแพร่ไวรัสไข้เด็งกี ชิคุนกุนยาและไข้เหลือง ตลอดจนโรคอื่น ๆ ได้ ยุงลายบ้านสามารถสังเกตได้จากรอยสีขาวที่ขาและเครื่องหมายรูปพิณโบราณ (lyre) บนอก ยุงลายบ้านมีกำเนิดในทวีปแอฟริกา แต่ปัจจุบันพบได้ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วโลก.

ใหม่!!: การระบาดของไวรัสซิกาและยุงลายบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..

ใหม่!!: การระบาดของไวรัสซิกาและองค์การอนามัยโลก · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกา

แผนที่ทวีปอเมริกาโดย Jonghe. Ca. พ.ศ. 2313 แผนที่ทวีปอเมริกา ทวีปอเมริกา (Americas)america.

ใหม่!!: การระบาดของไวรัสซิกาและทวีปอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัสซิกา

วรัสซิกา (Zika virus; ZIKV) เป็นไวรัสในสกุลเฟลวิวิริเด่ (Flaviviridae) วงศ์เฟลวิไวรัส (Flavivirus) โดยผ่านจากยุงลาย (Aedes) อาทิเช่น ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) และ ยุงลายสวน (Aedes albopictus) โดยตั้งชื่อโรคมาจากป่าซิกาใน ประเทศยูกันดา ซึ่งเป็นที่แพร่โรคซิก้าเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1947 สำหรับผู้ติดเชื้อซิก้า เป็นที่รู้จักในชื่อว่า ไข้ซิกา (Zika Fever) ในผู้ติดเชื้อซิกามักจะไม่มีอาการแสดงหรือมีอาการไม่รุนแรง ซึ่งนับแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 ทราบว่าเกิดเชื้อในเส้นศูนย์สูตรแคบ ๆ ตั้งแต่ทวีปแอฟริกาถึงทวีปเอเชีย, ปี 2014 ไวรัสซิก้าได้แพร่กระจาย ไปทางทิศตะวันออก สู่มหาสมุทรแปซิฟิก ไปยัง เฟรนช์โปลินีเซีย จากนั้นแพร่กระจายไปที่ เกาะอีสเตอร์ และในปี 2015 แพร่กระจายไปยังแม็กซิโก, อเมริกากลาง, แคริบเบียน และอเมริกาใต้ โดยเปนที่ระบาดของไวรัสซิก้าที่แพร่กระจายไปทั่วในปัจจุบัน.

ใหม่!!: การระบาดของไวรัสซิกาและไวรัสซิกา · ดูเพิ่มเติม »

ไข้ซิกา

้ซิกา หรือโรคไวรัสซิกา เป็นโรคติดเชื้ออย่างหนึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสซิกา ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อยคล้ายกับไข้เดงกี อาการมักคงอยู่ไม่เกินเจ็ดวัน โดยอาการเหล่านี้เช่น ไข้ ตาแดง ปวดข้อ ปวดหัว ผื่นแดง เป็นต้น ยังไม่มีรายงานว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคนี้ ภาวะนี้สัมพันธ์กับการเกิดกลุ่มอาการกิลแลงบาร์เรอีกด้วย ไข้ซิกาติดต่อผ่านทางการถูกยุง Aedes เช่น ยุงลาย กัด เป็นส่วนใหญ่ และยังอาจติดต่อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์และการถ่ายเลือดได้ด้วย เชื้ออาจติดต่อผ่านทางมารดาไปยังทารกและทำให้ทารกมีศีรษะเล็กได้ การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจหา RNA ของไวรัสในเลือด ปัสสาวะ หรือน้ำลายจากผู้ป่วย การป้องกันทำได้โดยการลดโอกาสการถูกยุงกัดในพื้นที่ที่มีการระบาด ทำได้โดยการใช้สารไล่แมลง การปกคลุมร่างกาย การใช้มุ้ง และการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเช่นในน้ำนิ่ง ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ได้ผลดี บุคลากรทางสาธารณสุขเริ่มให้คำแนะนำแก่คู่สามีภรรยาในพื้นที่ระบาดว่าให้ชะลอการมีบุตรออกไปก่อน และแนะนำให้สตรีมีครรภ์งดการเดินทางไปยังพื้นที่ระบาด การรักษาทำได้ด้วยวิธีรักษาประคับประคอง ยังไม่มีการรักษาจำเพาะที่มีประโยชน์ ส่วนใหญ่ใช้ยาแก้ปวดลดไข้เข่นพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการ ส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล ไวรัสนี้ถูกแยกได้สำเร็จครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1947 การระบาดในมนุษย์มีบันทึกไว้ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 2007 ในสหพันธรัฐไมโครนีเซีย จนถึงมกราคม ค.ศ. 2016 มีการพบโรคนี้ในกว่า 20 พื้นที่ของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังพบได้ในแอฟริกา เอเชีย และในเขตแปซิฟิก องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคนี้เป็นหัวข้อฉุกเฉินนานาชาติทางสุขภาพเมื่อกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 หลังจากมีการระบาดของโรคนี้ในประเทสบราซิลเมื่อ ค.ศ. 2015.

ใหม่!!: การระบาดของไวรัสซิกาและไข้ซิกา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การระบาดของไวรัสซิกาในทวีปอเมริกา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »