โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การยอมจำนนของญี่ปุ่น

ดัชนี การยอมจำนนของญี่ปุ่น

ูเอสเอส ''มิสซูรี'' (BB-63) ขณะที่พลเอก ริชาร์ด เค. ซูเธอร์แลนด์ มองจากฝั่งตรงข้าม การยอมจำนนของจักรวรรดิญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 2 กันยายน..

12 ความสัมพันธ์: การยึดครองญี่ปุ่นการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิกติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่นยูเอสเอส มิสซูรี (BB-63)รัฐประหารสหภาพโซเวียตสงครามโลกครั้งที่สองสนธิสัญญาซานฟรานซิสโกจักรพรรดิโชวะจักรวรรดิญี่ปุ่นประเทศแมนจูเกียวกุอง โฮโซ

การยึดครองญี่ปุ่น

การยุบจักรวรรดิญี่ปุ่น คลิกที่รูปภาพสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม การยึดครองญี่ปุ่นโดยฝ่ายสัมพันธมิตรหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ อันมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ และเครือจักรภพอังกฤษเป็นผู้สนับสนุน ซึ่งเป็นการยึดครองแผ่นดินญี่ปุ่นโดยชาวต่างชาติเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นกว่า 2,000 ปี การยึดครองดังกล่าวเปลี่ยนแปลงประเทศญี่ปุ่นจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยซึ่งทำให้หวนคิดถึงการเมือง "นิวดีล" (New Deal) ของอเมริกาในคริสต์ทศวรรษ 1930 การยึดครองดังกล่าวมีชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการบัญชีดำ (Operation Blacklist) สิ้นสุดลงด้วยสนธิสัญญาซานฟรานซิสโก ที่ลงนามเมื่อวันที่ 8 กันยายน..

ใหม่!!: การยอมจำนนของญี่ปุ่นและการยึดครองญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ

การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ เป็นการโจมตีจักรวรรดิญี่ปุ่นด้วยอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่สอง โดยคำสั่งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฮร์รี เอส. ทรูแมน เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม และวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังจากการโจมตีทิ้งระเบิดเพลิงตามเมืองต่าง ๆ 67 เมืองของญี่ปุ่นอย่างหนักหน่วงเป็นเวลาติดต่อกันถึง 6 เดือน สหรัฐอเมริกาจึงได้ทิ้ง "ระเบิดปรมาณู" หรือที่เรียกในปัจจุบันว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่มีชื่อเล่นเรียกว่า "เด็กน้อย" หรือ "ลิตเติลบอย" ใส่เมืองฮิโรชิมะในวันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม..

ใหม่!!: การยอมจำนนของญี่ปุ่นและการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ · ดูเพิ่มเติม »

กติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่น นายมัสซูโอกะ กำลังลงนามในกติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต-ญี่ปุ่น กติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต-ญี่ปุ่น (Soviet–Japanese Neutrality Pact) คือสนธิสัญญาระหว่าง สหภาพโซเวียตและจักรวรรดิญี่ปุ่น ลงนามกันเมื่อปี ค.ศ. 1941 สองปีหลังจากสงครามชายแดนโซเวียต-ญี่ปุ่น.

ใหม่!!: การยอมจำนนของญี่ปุ่นและกติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ยูเอสเอส มิสซูรี (BB-63)

ูเอสเอส มิสซูรี(BB-63) ("ไมท์ตีโม" หรือ "บิกโม") เป็นเรือประจัญบานชั้นไอโอวาของกองทัพเรือสหรัฐ และเป็นเรือลำที่สามของกองทัพเรือสหรัฐที่ใช้ชื่อตามรัฐมิสซูรี มิสซูรี เป็นเรือประจัญบานชั้นสุดท้ายที่สร้างขึ้นโดยสหรัฐและเป็นที่เซ็นสัญญายอมจำนนของจักรวรรดิญี่ปุ่นในตอนจบของสงครามโลกครั้งที่สอง มิสซูรี สั่งต่อเรือในปี..

ใหม่!!: การยอมจำนนของญี่ปุ่นและยูเอสเอส มิสซูรี (BB-63) · ดูเพิ่มเติม »

รัฐประหาร

รัฐประหาร (coup d'état กูเดตา) เป็นการใช้กำลังยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงรัฐบาลอย่างฉับพลันและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปกติเกิดจากสถาบันของรัฐที่มีอยู่เดิมขนาดเล็กเพื่อโค่นรัฐบาลซึ่งเป็นที่ยอมรับแล้วเปลี่ยนเป็นองค์การปกครองใหม่ ไม่ว่าเป็นพลเรือนหรือทหาร รัฐประหารพิจารณาว่าสำเร็จแล้วเมื่อผู้ยึดอำนาจสถาปนาภาวะครอบงำ รัฐประหารไม่จำเป็นต้องเกิดความรุนแรงหรือเสียเลือดเนื้อ ศาลฎีกาตีความว่า รัฐประหารมิได้ขัดต่อกฎหมาย เพราะ "กฎหมายคือคำสั่งคำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์".

ใหม่!!: การยอมจำนนของญี่ปุ่นและรัฐประหาร · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: การยอมจำนนของญี่ปุ่นและสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: การยอมจำนนของญี่ปุ่นและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก

โยชิดะ ชิเกรุ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ลงนามในสนธิสัญญาซานฟรานซิสโก สนธิสัญญาสันติภาพกับญี่ปุ่น หรือ สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก (Treaty of San Francisco; Traité de paix avec le Japon; ญี่ปุ่น: 日本国との平和条約, 日本国との平和条約, โรมะจิ Nihon-koku tono Heiwa-Jōyaku, นิฮงโกะกุโทะโนะเฮวะโจยะกุ) (8 กันยายน พ.ศ. 2494) เป็นสนธิสัญญาที่นำไปสู่การยุติสงครามระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศร่วมลงนามในสัญญาอีก 49 ประเทศ ประเทศต่างๆ เหล่านี้ได้แก่ประเทศที่ได้ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น ยกเว้นรัสเซีย จีนไต้หวันและจีนแผ่นดินใหญ่และประเทศอื่นเคยอยู่ในการยึดครองของญี่ปุ่นระหว่างสงคราม ที่ประกาศตั้งเป็นรัฐใหม่หลังการประกาศยอมแพ้ของญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2488 สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก เป็นสัญญาที่นำไปสู่การยุติการยึดครองประเทศญี่ปุ่นของประเทศต่าง ๆ หลังการยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข และเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการรับญี่ปุ่นเข้าร่วมกับประชาคมโลกในฐานะเท่าเทียมกันอีกครั้งหนึ่ง มีดังนี้.

ใหม่!!: การยอมจำนนของญี่ปุ่นและสนธิสัญญาซานฟรานซิสโก · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโชวะ

มเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ หรือพระนามตามชื่อรัชสมัย คือ จักรพรรดิโชวะ (29 เมษายน 2444 - 7 มกราคม 2532) (裕仁) ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 124 ของญี่ปุ่น ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2469 - พ.ศ. 2532 (63 ปี) ในตอนต้นรัชสมัยของพระองค์ จักรวรรดิญี่ปุ่นในขณะนั้น ได้กลายเป็นชาติมหาอำนาจของโลกแล้ว ด้วยขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก จักรพรรดิฮิโระฮิโตะทรงดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐของจักรวรรดิญี่ปุ่นภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น ในรัชสมัยของพระองค์ ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งทำให้ในห้วงเวลานั้น จักรวรรดิญี่ปุ่นแผ่อำนาจและดินแดนไปทั่วเอเชียบูรพาโดยที่ไม่มีชาติใด ๆ จะสามารถต้านทาน ภายหลังสงครามสิ้นสุดลงบนความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น พระองค์ไม่ได้ถูกดำเนินคดีในข้อหาอาชญากรสงครามดังเช่นผู้นำคนอื่น ๆ ของชาติฝ่ายอักษะ และภายหลังสงคราม พระองค์ทรงเป็นสัญลักษณ์ของรัฐใหม่ในการกอบกู้ประเทศชาติที่ได้รับความเสียหายจากสงคราม ในตอนปลายรัชกาล ประเทศญี่ปุ่นก็สามารถกลับมายืนหยัดในฐานะชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก.

ใหม่!!: การยอมจำนนของญี่ปุ่นและจักรพรรดิโชวะ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิญี่ปุ่น

ักรวรรดิญี่ปุ่น หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ มหาจักรวรรดิญี่ปุ่น เป็นจักรวรรดิที่อยู่ทางตะวันออกที่สุดและเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของโลก ในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 สถาปนาขึ้นภายหลังจากการปฏิรูปเมจิ เมื่อวันที่ 3 มกราคม..

ใหม่!!: การยอมจำนนของญี่ปุ่นและจักรวรรดิญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแมนจู

ประเทศแมนจู หรือเรียกอย่างทับศัพท์ว่า หมั่นโจวกั๋ว ("ประเทศแมนจู") มีชื่อทางการว่าจักรวรรดิแมนจู เป็นรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่ตั้งอยู่ในดินแดนแมนจูเรียและมองโกลเลียในด้านทิศตะวันออกปัจจุบัน ดินแดนแห่งนี้นับเป็นรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ของชนชาติแมนจูผู้สถาปนาราชวงศ์ชิงปกครองประเทศจีนในอดีต กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองดินแดนดังกล่าวจากสาธารณรัฐจีนในปี..

ใหม่!!: การยอมจำนนของญี่ปุ่นและประเทศแมนจู · ดูเพิ่มเติม »

เกียวกุอง โฮโซ

แผ่นเสียงบันทึกกระแสพระราชดำรัส "เกียวกุอง โฮโซ" ของจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ ปัจจุบันได้รับการอนุรักษ์ไว์ที่พิพิธภัณฑ์ของเอ็นเอชเค เกียวกุอง โฮโซ หรือ "การออกอากาศพระสุรเสียง" เป็นการออกอากาศ "พระราชดำรัสว่าด้วยการสิ้นสุดสงครามมหาเอเชียบูรพา" ของจักรพรรดิฮิโระฮิโตะแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น ทางระบบวิทยุกระจายเสียง โดยทรงประกาศต่อชาวญี่ปุ่นว่ารัฐบาลญี่ปุ่นได้ยอมรับปฏิญญาพ็อทซ์ดัม ซึ่งต้องการให้ทหารญี่ปุ่นยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขเพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่สอง พระราชดำรัสดังกล่าวได้รับการเผยแพร่เมื่อเที่ยงวันตามเวลามาตรฐานญี่ปุ่น วันที่ 15 สิงหาคม..

ใหม่!!: การยอมจำนนของญี่ปุ่นและเกียวกุอง โฮโซ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »