โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การผันคำ

ดัชนี การผันคำ

การผันคำ หรือ การลงวิภัตติปัจจัย คือการเปลี่ยนแปลงรูปคำในประโยค เพื่อแสดงเพศ พจน์ การก บุรุษ กาล วาจก มาลา ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงรูปคำเช่นนี้ไม่พบในภาษาไทย แต่จะพบในภาษาในหลายๆตระกูล เช่น ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน เป็นต้น ภาษาที่อาศัยการผันคำเพื่อเปลี่ยนความหมายในระดับสูงเรียกว่า ภาษามีวิภัตติปัจจัย (Inflectional Language) ซึ่งตรงกันข้ามกับ ภาษาคำโดด (Isolating Language) ซึ่งมักจะเป็นภาษาที่คำแต่ละคำมีพยางค์เดียวและไม่มีการผันคำ สำหรับภาษาที่จำแนกตามลักษณะอื่นๆ ได้แก่ ภาษาคำติดต่อ (Agglutinative Language) และ ภาษาคำควบมากพยางค์ (Poly-synthetic Language).

11 ความสัมพันธ์: การกภาษาบาลีภาษาสันสกฤตภาษาอังกฤษภาษาคำโดดภาษาไอซ์แลนด์ภาษาเยอรมันตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนตระกูลของภาษาประโยค

การก

การก ของคำนามหรือสรรพนามจะแสดงหน้าที่ทางไวยากรณ์ของคำนั้น ๆ ในประโยค เช่น ประธาน กรรมตรง กรรมรอง สถานที่ ฯลฯ โดยทั่วไปแล้ว ภาษาที่ 'มีการก' จะหมายถึงภาษาที่มีการเปลี่ยนแปลงวิภัตติเพื่อแสดงการก เช่น ภาษาบาลี ภาษารัสเซีย เยอรมัน ละติน ฯลฯ แต่หลาย ๆ ภาษาก็ใช้วิธีการอื่นเพื่อแสดงการก เช่น การใช้บุพบท หรือการลำดับคำในประโยค เป็นต้น นอกจากคำนามและสรรพนามแล้ว คำนำหน้านามและคุณศัพท์ก็มักจะแสดงการกเช่นกัน.

ใหม่!!: การผันคำและการก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาลี

ษาบาลี (ปาลิ; पाऴि); (Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้ อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี.

ใหม่!!: การผันคำและภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: การผันคำและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: การผันคำและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคำโดด

ษาคำโดด (Isolating Language) คือ ประเภทของภาษาที่มีอัตราส่วนของหน่วยคำหรือคำมูล (morpheme) ต่อคำน้อย และไม่มีการลงวิภัตติปัจจัย (การผันคำ) เลย คำส่วนใหญ่ในภาษาประเภทนี้อาจประกอบด้วยหน่วยคำเพียงหน่วยเดียว ภาษาคำโดดเป็นภาษาที่เมื่อนำคำตั้งหรือคำมูลมาเรียงลำดับกันเข้าเป็นประโยค จะคงรูปคำเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง มีรูปอย่างไรก็คงรูปอย่างนั้น แยกโดด ๆ เป็นคำ ๆ ออกไป เมื่อสลับตำแหน่งของคำในประโยคความหมายก็จะเปลี่ยนไป เช่น "งูกินไก่" มีควาหมายอีกอย่างหนึ่ง ถ้าสลับคำในประโยคเป็น "ไก่กินงู" ก็ได้ ความหมายอีกอย่างหนึ่ง ภาษาคำโดดนี้บางภาษาเป็นคำพยางค์เดียว (Monosyllabic Language) บางภาษามี วิวัฒนาการทางภาษากลายเป็นคำหลายพยางค์ แต่ก็แตกต่างจากการสร้างคำแบบภาษามีวิวัตติปัจจัย คือ ไม่มีการลงอุปสรรค + อาคม และปัจจัย เป็นต้น ภาษายอรูบา (Yoruba) เป็นภาษาคำโดดที่มีผู้พูดมากที่สุดในปัจจุบัน ภาษาคำโดด มีลักษณะที่ใกล้เคียงกับภาษาแยกหน่วยคำ (analytic language) ซึ่งมีการผันคำเพื่อกำหนดความสัมพันธ์ทางไวยกรณ์อยู่น้อยมาก หรือไม่มีเลย ภาษาคำโดดจึงอาจเป็นภาษาแยกหน่วยคำด้วยก็ได้ และมีภาษาคำโดดหลายภาษาที่อาศัยเทคนิคของภาษาแยกหน่วยคำในการสร้างคำใหม่ เช่น ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน อย่างไรก็ดีภาษาคำควบอย่างเช่น ภาษาอังกฤษ และภาษาจีนก็อาจจะมีคำที่มีหลายหน่วยคำอยู่ได้เหมือนกัน ทั้งนี้เพราะการลดรูปของหน่วยคำบางคำ (derivational morphemes) ภาษาคำโดดมีความสัมพันธ์ตรงกันข้ามกับภาษาคำควบ (synthetic language) ซึ่งคำแต่ละคำมักประกอบด้วย หน่วยคำหลายหน่วย ในทางภาษาศาสตร์ยังสมารถแบ่งย่อยต่อไปอีกเป็น ภาษาคำติดต่อ (agglutinative) และภาษาคำควบหลายพยางค์ (polysynthetic) ได้อีก.

ใหม่!!: การผันคำและภาษาคำโดด · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไอซ์แลนด์

ษาไอซ์แลนด์ (íslenska อีสฺแลนฺสฺกา) เป็นภาษาเจอร์แมนิกเหนือ ภาษาราชการของประเทศไอซ์แลนด์ มีผู้พูดประมาณ 300 000 คน ภาษาไอซ์แลนด์เป็นภาษาเจอร์แมนิกเหนือที่ใกล้เคียงกับภาษานอร์สโบราณมากที่สุด ภาษาไอซ์แลนด์ยังคงรูปแบบทางไวยากรณ์หลายอย่างของภาษาเจอร์แมนิกแบบโบราณ โดยยังคงการผันคำที่ซับซ้อน.

ใหม่!!: การผันคำและภาษาไอซ์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเยอรมัน

ษาเยอรมัน (German; Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: การผันคำและภาษาเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน

ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน เป็นตระกูลภาษาที่มีผู้พูดกระจายไปทั่วหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก มีจำนวนน้อยบนผืนแผ่นดินของทวีปเอเชีย อยู่ในระดับมาตรฐานเดียวกับตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนและตระกูลภาษายูราลิกคือสามารถสืบหาภาษาดั้งเดิมของตระกูลได้ คำว่าออสโตรนีเซียนมาจากภาษาละติน austro (ลมใต้) รวมกับคำภาษากรีก nesos (เกาะ) ตระกูลภาษานี้ได้ชื่อนี้ เพราะส่วนมากใช้พูดในบริเวณหมู่เกาะ มีเพียงไม่กี่ภาษา เช่น ภาษามลายู และ ภาษาจามที่ใช้พูดบนผืนแผ่นดิน สมาชิกของตระกูลนี้มีถึง 1,268 ภาษา หรือประมาณ 1 ใน 5 ของภาษาที่รู้จักกันทั่วโลก การแพร่กระจายจากแหล่งกำเนิดของภาษาถือว่ากว้างไกล เริ่มตั้งแต่เกาะมาดากัสการ์ ไปจนถึงเกาะทางตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก ภาษาราปานูอี ภาษามาลากาซี และ ภาษาฮาวาย เป็นภาษาที่ใช้พูดตามรอบนอกของขอบเขตที่มีการใช้ภาษาตระกูลนี้ ภาษาตระกูลนี้มีสาขามากมาย ส่วนมากพบในไต้หวัน ภาษากลุ่มเกาะฟอร์โมซาในไต้หวันเป็นสาขาหลักของภาษาในตระกูลนี้ มีถึง 9 สาขา ภาษาที่ใช้พูดนอกเกาะฟอร์โมซาทั้งหมดอยู่ในภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย ซึ่งบางครั้งเรรียกว่าภาษานอกเกาะฟอร์โมซ.

ใหม่!!: การผันคำและตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน หรือ ตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป ประกอบด้วยภาษาและภาษาย่อยรวม 443 ภาษา (ตามการประมาณของ SIL) ที่พูดโดยคนประมาณ 3 พันล้านคน ซึ่งรวมถึงตระกูลภาษาหลัก ๆ ของยุโรป และเอเชียตะวันตก ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลใหญ่ ภาษาปัจจุบันที่อยู่ในตระกูลใหญ่นี้ มีเช่น ภาษาเบงกาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาฮินดี ภาษาโปรตุเกส ภาษารัสเซีย และ ภาษาสเปน (แต่ละภาษามีคนพูดมากกว่า 100 ล้านคน).

ใหม่!!: การผันคำและตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลของภาษา

ตระกูลภาษาต่างๆทั่วโลก ภาษาส่วนใหญ่สามารถจะจำแนกให้อยู่ในตระกูลของภาษา (ซึ่งจะเรียกว่า "กลุ่มภาษา" ในบทความนี้) กลุ่มภาษาที่มีการจัดกลุ่มอย่างชัดเจน จะเป็นหน่วยทางวิวัฒนาการ กล่าวคือ ทุกสมาชิกจะสืบทอดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน ส่วนใหญ่แล้ว ภาษาบรรพบุรุษมักจะไม่เป็นที่รู้จักโดยตรง เนื่องจากภาษาส่วนใหญ่จะมีประวัติของการเขียนสั้นมาก อย่างไรก็ดี เป็นไปได้ที่จะค้นพบคุณสมบัติต่าง ๆ ของภาษาบรรพบุรุษโดยใช้วิธีการเปรียบเทียบ (comparative method) -- เป็นวิธีการสร้างใหม่ที่คิดโดย นักภาษาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชื่อ เอากุสต์ ชไลเกอร์ ซึ่งสามารถแสดงถึงสถานภาพของกลุ่มภาษาของกลุ่มจำนวนมากที่จะได้กล่าวถึงต่อไป ตระกูลของภาษาสามารถแบ่งย่อยเป็นหน่วยที่เล็กลงไปอีก ซึ่งมักจะเรียกหน่วยย่อยว่า "สาขา" (เนื่องจากประวัติของกลุ่มภาษามักจะเขียนเป็นแผนผังต้นไม้) บรรพบุรุษของกลุ่มภาษา (หรือสาขาของภาษา) เรียกว่า "protolanguage" เช่น protolanguage ของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนที่สร้างใหม่เรียกว่า โปรโต-อินโด-ยูโรเปียน (Proto-Indo-European, ไม่เป็นที่รู้จักจากการเขียน เนื่องจากพูดกันในสมัยที่ก่อนจะมีการประดิษฐ์การเขียนขึ้น) ในบางกรณี สามารถจะระบุ protolanguage ได้เป็นภาษาที่รู้จักในสมัยประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้ ภาษาย่อยตามมณฑลชนบทต่าง ๆ ของภาษาละติน ("Vulgar Latin") ทำให้เกิดตระกูลภาษาโรมานซ์ปัจจุบัน ฉะนั้น ภาษาโปรโต-โรมานซ์จะค่อนข้างเหมือนกับภาษาละติน (ถ้าไม่ใช่ภาษาละตินที่นักเขียนคลาสสิกใช้เขียน) และภาษาย่อยของภาษานอร์สโบราณ (Old Norse) เป็น protolanguage ของภาษานอร์เวย์, ภาษาสวีเดน, ภาษาเดนมาร์ก และภาษาไอซ์แลนด์ ภาษาที่ไม่สามารถจัดได้อย่างแน่นอนลงไปในกลุ่มภาษาใด ๆ เรียกว่า ภาษาโดดเดี่ยว (language isolate).

ใหม่!!: การผันคำและตระกูลของภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ประโยค

ประโยค อาจหมายถึง.

ใหม่!!: การผันคำและประโยค · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วิภัตติ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »