โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การปฏิวัติโลก

ดัชนี การปฏิวัติโลก

การปฏิวัติโลก (World revolution) คือแนวคิดตามลัทธิมากซ์ของฝ่ายซ้ายจัดในการล้มล้างระบอบทุนนิยมของทุกประเทศด้วยการปฏิวัติอย่างตระหนักรู้ (conscious) โดยกลุ่มชนชั้นแรงงานจัดตั้ง ซึ่งการปฏิวัติเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นโดยพร้อมเพรียงกัน แต่ให้ก่อการขึ้นเมื่อเวลาและสถานที่ (รัฐหรือดินแดน) ใดก็ตามเข้าเงื่อนไขที่จะทำให้ฝ่ายปฏิวัติ (พรรคปฏิวัติ) สามารถยึดสิทธิ์ถือครองและการปกครองจากชนชั้นกระฎุมพีได้สำเร็จ และสามารถสถาปนารัฐแรงงานซึ่งยึดหลักการที่สังคมร่วมเป็นเจ้าของ (social ownership) ในปัจจัยการผลิต (means of production) ส่วนกรณีของลัทธิทรอตสกี ยังพิจารณาเงื่อนไขที่จำเป็นอื่น ๆ ในระดับสากล เช่น การต่อสู้ระหว่างชนชั้น และการก่อการในระดับโลก ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญและปัจจัยหลักที่อธิบายว่าทำไมแนวทางสังคมนิยมประเทศเดียวถึงประสบความล้มเหลว เป้าหมายสูงสุดของการปฏิวัติสังคมนิยมในระดับสากลคือเพื่อให้เกิด โลกสังคมนิยม หรือ ระบอบสังคมนิยมทั่วโลก (world socialism) และภายหลังพัฒนาไปถึงขั้น คอมมิวนิสต์ไร้พรมแดน (stateless communism; ระบอบคอมมิวนิสต์เดียวที่ปกครองโลก).

4 ความสัมพันธ์: การต่อสู้ระหว่างชนชั้นลัทธิมากซ์สังคมนิยมประเทศเดียวทุนนิยม

การต่อสู้ระหว่างชนชั้น

การต่อสู้ระหว่างชนชั้น (class struggle) เป็นการแสดงออกอย่างเห็นได้ชัดของความขัดแย้งทางชนชั้นตามทฤษฎี เมื่อพิจารณาจากมุมมองสังคมนิยมทุกรูปแบบ คาร์ล มากซ์และฟรีดริช เองเงิลส์ นักอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ เขียนว่า "ประวัติศาสตร์ของสังคมทั้งหมดที่ผ่านมาจนกระทั่งถึงบัดนี้ล้วนแต่เป็นประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ทางชนชั้น" ความเข้าใจของมากซ์เกี่ยวกับชนชั้นนั้นไม่เกี่ยวกับชนชั้นทางสังคมในวิชาสังคมวิทยา ซึ่งประกอบด้วยชนชั้นบน ชนชั้นกลาง และชนชั้นล่าง (เป็นการอธิบายในแง่ของปริมาณรายรับหรือความมั่งคั่ง) แต่มากซ์อธิบายในยุคของทุนนิยม ซึ่งเป็นชนชั้นทางเศรษฐกิจ สมาชิกในชนชั้นจะถูกนิยามโดยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้น ๆ กับวิธีการผลิต นั่นคือ ตำแหน่งของบุคคลในโครงสร้างทางสังคมที่แสดงคุณสมบัติของทุนนิยม ส่วนใหญ่มากซ์กล่าวถึงสองชนชั้นซึ่งรวมไปถึงประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ได้แก่ ชนชั้นกรรมาชีพและชนชั้นนายทุน ส่วนชนชั้นอื่น ๆ อย่างเช่น ชนชั้นนายทุนน้อยแสดงคุณลักษณะอยู่ระหว่างชนชั้นหลักทั้งสองนี้.

ใหม่!!: การปฏิวัติโลกและการต่อสู้ระหว่างชนชั้น · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิมากซ์

ลัทธิมากซ์ (Marxism) หรือมักใช้ทับศัพท์ว่า มาร์กซิสต์ เป็นวิธีการวิเคราะห์สังคมและเศรษฐกิจซึ่งวิพากษ์ทุนนิยมผ่านกระบวนทัศน์การขูดรีด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นและความขัดแย้งทางสังคมโดยใช้การตีความพัฒนาการประวัติศาสตร์แบบวัสดุนิยม และทัศนะวิภาษวิธีการแปลงสังคม (social transformation) ถือกำเนิดจากนักปรัชญาชาวเยอรมันสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 คาร์ล มากซ์และฟรีดริช เองเงิลส์ ลัทธิมากซ์ใช้วิธีวิทยาที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์การพัฒนาของทุนนิยมและบทบาทของการต่อสู้ระหว่างชนชั้นในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจทั้งระบบ ตามทฤษฎีลัทธิมากซ์ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นเกิดในสังคมทุนนิยมอันเนือ่งจากความขัดกันระหว่างผลประโยชน์ทางวัตถุของชนกรรมาชีพที่ถูกกดขี่ ชนกรรมาชีพคือผู้ใช้แรงงานเอาค่าจ้างที่ชนชั้นกระฎุมพีว่าจ้างเพื่อผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งชนชั้นกระฎุมพีนี้เป็นชนชั้นปกครองที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและเอาความมั่งคั่งมาจากการจัดสรรผลิตภัณฑ์ส่วนเกิน (กำไร) ที่ชนกรรมาชีพผลิตขึ้น การต่อสู้ระหว่างชนชั้นนี้ซึ่งมักแสดงออกมาเป็นการกบฏของกำลังการผลิตของสังคม (productive force) ต่อความสัมพันธ์การผลิต (relation of production) ของสังคม ส่งผลให้เกิดวิกฤติระยะสั้นเมื่อชนชั้นกระฎุมพีประสบความลำบากในการจัดการความแปลกแยกของแรงงาน (alienation of labor) ที่ทวีความรุนแรงขึ้นของชนกรรมาชีพ แม้ว่ามีความสำนึกเรื่องชนชั้น (class consciousness) ระดับมากน้อย วิกฤตนี้ลงเอยด้วยการปฏิวัติของชนกรรมาชีพและการสถาปนาสังคมนิยมในที่สุด ซึ่งเป็นระบบทางสังคมและเศรษฐกิจที่ยึดสังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต กระจายให้แต่ละคนตามการมีส่วนร่วมและการผลิตที่จัดระเบียบโดยตรงสำหรับการใช้ เมื่อกำลังการผลิตก้าวหน้าขึ้น มากซ์ตั้งสมมติฐานว่าสังคมนิยมสุดท้ายจะแปลงเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ หมายถึง สังคมไร้ชนชั้น ไร้รัฐ และมีมนุษยธรรมที่ยึดกรรมสิทธิ์ร่วมและหลักการพื้นเดิม "จากแต่ละคนตามความสามารถ ให้แต่ละคนตามความต้องการ" (From each according to his ability, to each according to his needs) ลัทธิมากซ์พัฒนาเป็นหลายแขนงและสำนักคิด แม้ปัจจุบันไม่มีทฤษฎีลัทธิมากซ์หนึ่งเดียว สำนักลัทธิมากซ์ต่าง ๆ เน้นแง่มุมบางอย่างของลัทธิมากซ์คลาสสิกต่างกัน และปฏิเสธหรือดัดแปลงแง่มุมบางอย่าง หลายสำนักคิดมุ่งรวมมโนทัศน์ลัทธิมากซ์กับมโนทัศน์ที่มิใช่มากซ์ ซึ่งมักนำไปสู่บทสรุปที่ขัดแย้งกัน ทว่า สมัยหลังมีขบวนการสู่การรับรองวัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์และวัสดุนิยมวิภาษวิธียังเป็นแง่มุมหลักของสำนักคิดลัทธิมากซ์ทุกสำนัก ซึ่งทำให้มีความเห็นตรงกันระหว่างสำนักต่าง ๆ มากขึ้น.

ใหม่!!: การปฏิวัติโลกและลัทธิมากซ์ · ดูเพิ่มเติม »

สังคมนิยมประเทศเดียว

ังคมนิยมประเทศเดียว (อังกฤษ: Socialism in One Country) เป็นทฤษฎีหลักในการดำเนินการนโยบายต่าง ๆ ในสมัยการเตรียมรุกแบบสังคมนิยม (New Socialist Offensive) ภายใต้การปกครองของ โจเซฟ สตาลิน แห่งสหภาพโซเวียต โดยมุ่งเปลี่ยนสหภาพโซเวียตจากการเป็นประเทศเกษตรกรรมมาเป็นประเทศอุตสาหกรรม สตาลินนั้นได้ขึ้นมามีอำนาจต่อจากเลนิน ซึ่งถึงแก่กรรมในปี..

ใหม่!!: การปฏิวัติโลกและสังคมนิยมประเทศเดียว · ดูเพิ่มเติม »

ทุนนิยม

"พีระมิดระบบทุนนิยม" ถูกตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ในปี..

ใหม่!!: การปฏิวัติโลกและทุนนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »