โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ

ดัชนี การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ

การนวดหัวใจผายปอดกู้ชี.

12 ความสัมพันธ์: การกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าการหยุดหายใจการหายใจการหายใจเฮือกการใส่ท่อช่วยหายใจสมองหัวใจหัวใจหยุดเต้นออกซิเจนปอดแลซซีโรคหมอทำ

การกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า

ตำแหน่งการวางขั้วไฟฟ้าของเครื่องกระตุ้นหัวใจ แผนภาพวงจรทางไฟฟ้าซึ่งแสดงหลักการทำงานของเครื่องกระตุ้นหัวใจอย่างง่าย ซึ่งประกอบเพียงแค่ ตัวเก็บประจุและตัวเหนี่ยวนำ และสร้างมารถสัญญาณในรูปแบบเอ็ดมาร์ค (Edmark) หรือ เกอร์วิกช์ (Gurvich) ได้ การกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า (defibrillation) เป็นวิธีการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิตชนิดเวนทริคูลาร์ฟิบริลเลชันและเวนทริคูลาร์แทคีคาร์เดียชนิดคลำชีพจรไม่ได้ ทำให้ส่งกระแสไฟฟ้าขนาดที่มีผลต่อการรักษาเข้าไปยังหัวใจด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่าเครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า (defibrillator) ซึ่งจะสลายความเป็นขั้วในกล้ามเนื้อหัวใจเกือบทั้งหมด หยุดการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะนั้นลง และเปิดโอกาสให้จังหวะหัวใจปกติหรือจังหวะเต้นไซนัสกลับมาเต้นเองด้วยตัวควบคุมจังหวะเต้นหัวใจตามธรรมชาติซึ่งอยู่ในหัวใจที่ไซโนเอเทรียลโนด การกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าอาจทำแบบภายนอก, แบบผ่านหลอดเลือด, หรือผ่านอุปกรณ์ซึ่งฝังไว้ ขึ้นอยู่กับความจำเป็นอื่น.

ใหม่!!: การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพและการกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

การหยุดหายใจ

การหยุดหายใจ (apnea, apnoea) คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่หายใจ ไม่มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ และปริมาตรของปอดไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้อาจมีการไหลของอากาศหรือไม่ก็ได้ หากตั้งใจทำเองเรียกว่าการกลั้นหายใจ.

ใหม่!!: การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพและการหยุดหายใจ · ดูเพิ่มเติม »

การหายใจ

การหายใจ (breathing) เป็นกระบวนการซึ่งนำอากาศเข้าหรือออกจากปอด สิ่งมีชีวิตที่ต้องการออกซิเจนต้องการไปเพื่อปลดปล่อยพลังงานผ่านการหายใจระดับเซลล์ในรูปเมแทบอลิซึมโมเลกุลพลังงานสูง เช่น กลูโคส การหายใจเป็นเพียงกระบวนการเดียวซึ่งส่งออกซิเจนไปยังที่ที่ต้องการในร่างกายและนำคาร์บอนไดออกไซด์ออก อีกกระบวนการหนึ่งที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของเลือดโดยระบบไหลเวียน การแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นในถุงลมปอดโดยการแพร่ของแก๊สระหว่างแก๊สในถุงลมและเลือดในหลอดเลือดฝอยปอด เมื่อแก๊สที่ละลายนี้อยู่ในเลือด หัวใจปั๊มเลือดให้ไหลไปทั่วร่างกาย นอกเหนือไปจากการนำคาร์บอนไดออกไซด์ออก การหายใจส่งผลให้เกิดการสูญเสียน้ำจากร่างกาย อากาศที่หายใจออกมีความชื้นสัมพัทธ์เท่ากับ 100% เพราะน้ำแพร่ข้ามพื้นผิวที่ชุ่มชื้นของทางเดินหายใจและถุงลมปอด หมวดหมู่:แก๊ส หมวดหมู่:การหายใจ หมวดหมู่:รีเฟล็กซ์ หมวดหมู่:ร่างกายของมนุษย์.

ใหม่!!: การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพและการหายใจ · ดูเพิ่มเติม »

การหายใจเฮือก

ผู้ป่วยที่มีอาการหายใจเฮือกควรได้รับการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ การหายใจเฮือก (agonal respiration, agonal breathing, gasping respiration) เป็นรูปแบบการหายใจผิดปกติชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาตอบสนอง (รีเฟลกซ์) จากก้านสมอง มีลักษณะหายใจเฮือก ดูใช้แรงมากในการหายใจ อาจมีเสียงออกมาพร้อมกับการหายใจ หรือมีกล้ามเนื้อกระตุกได้ สาเหตุอาจเกิดจากภาวะสมองขาดเลือด ออกซิเจนในเลือดต่ำรุนแรง หรือไม่มีออกซิเจนในเลือด ถือเป็นอาการแสดงทางการแพทย์ที่บ่งบอกถึงภาวะเจ็บป่วยรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เนื่องจากส่วนใหญ่หากดำเนินต่อไปผู้ป่วยอาจหยุดหายใจและเสียชีวิตได้ ช่วงเวลาของการหายใจเฮือกจนถึงเสียชีวิตอาจแตกต่างกันได้มาก ตั้งแต่ 2-3 เฮือก ไปจนถึงหลายชั่วโมง คำนี้บางครั้งถูกใช้เรียกลักษณะการหายใจหอบเหนื่อยขาดเป็นห้วง ที่พบในผู้ป่วยอวัยวะล้มเหลว เช่น ตับวาย ไตวาย ผู้ป่วยที่มีภาวะการอักเสบทั่วร่าง (SIRS) ติดเชื้อในกระแสเลือด เลือดเป็นกรดจากเมตาบอลิก ซึ่งเกิดจากสาเหตุคนละอย่างกันกับการหายใจเฮือก การหายใจเฮือกเช่นนี้พบได้บ่อยในผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้น โดยผู้ป่วยอาจยังมีการหายใจเฮือกได้อีกหลายนาที ถือเป็นอาการที่จะต้องได้รับการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ หากเปรียบเทียบในผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นด้วยกัน ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นที่มีการหายใจเฮือกอาจมีพยากรณ์โรคที่ดีกว่าผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นที่ไม่มีการหายใจเฮือก สำหรับผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นที่หมดสติและคลำชีพจรไม่ได้ การหายใจเฮือกให้เห็นนี้ไม่ถือเป็นการหายใจที่ส่งออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้ จึงยังคงต้องช่วยหายใจอยู่หากไม่มีข้อห้ามอื่น สำหรับผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล สามารถพบการหายใจเฮือกได้ราว 40%.

ใหม่!!: การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพและการหายใจเฮือก · ดูเพิ่มเติม »

การใส่ท่อช่วยหายใจ

การใส่ท่อช่วยหายใจคือการใส่ท่อช่วยหายใจซึ่งทำจากพลาสติกหรือยางเข้าไปในหลอดลมเพื่อให้ผู้ป่วยมีทางหายใจที่เปิดตลอดเวลา หรือใช้เป็นทางในการให้ยาบางอย่าง ส่วนใหญ่ใช้กับผู้ป่วยที่ป่วยหนักเฉียบพลัน บาดเจ็บเฉียบพลัน หรือได้รับยาระงับความรู้สึก เพื่อเป็นทางในการช่วยหายใจ และป้องกันการสูดสำลัก หรือป้องกันไม่ให้ทางหายใจถูกปิดกั้น ที่ทำบ่อยที่สุดคือการใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก ซึ่งจะใส่ท่อช่วยหายใจผ่านปาก ผ่านกล่องเสียง เข้าไปยังหลอดลม ทางอื่นเช่นใส่ทางจมูก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีวิธีที่ต้องผ่าตัด เช่น การผ่าเปิดช่องที่เยื่อคริโคไทรอยด์ (cricothyroidomy) ซึ่งมักใช้ในกรณีฉุกเฉิน และการผ่าเปิดช่องที่หลอดลม (tracheostomy, "การเจาะคอ") ซึ่งมักทำในกรณีที่คาดว่าจำเป็นจะต้องใส่ท่อช่วยหายใจอยู่เป็นเวลานาน วิธีใส่ท่อช่วยหายใจแบบที่ต้องผ่าตัดนี้อาจทำในกรณีฉุกเฉินหากการใส่ด้วยวิธีปกติไม่ประสบผลสำเร็จ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ของการใส่ท่อช่วยหายใจมีตั้งแต่ภาวะแทรกซ้อนเล็กน้อยเช่นฟันหัก หรือเนื้อเยื่อของทางเดินหายใจส่วนบนบาดเจ็บ หรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้เช่นการสูดสำลักจากกระเพาะอาหารเข้าไปยังปอด หรือใส่ท่อช่วยหายใจไม่เข้าหลอดลมแต่ไปเข้าหลอดอาหารแทนทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน ดังนั้นการประเมินว่าผู้ป่วยที่กำลังจะได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจอาจมีกายวิภาคของทางเดินหายใจที่ไม่ปกติหรือปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจึงมีความสำคัญอย่างมากก่อนที่จะใส่ท่อช่วยหายใจ หากเป็นไปได้จำเป็นจะต้องมีแผนทางเลือกสำหรับกรณีใส่ท่อช่วยหายใจไม่สำเร็จเอาไว้ด้วยเสมอ หมวดหมู่:อุปกรณ์การแพทย์ หมวดหมู่:วิสัญญีวิทยา หมวดหมู่:หัตถการในเวชศาสตร์ฉุกเฉิน หมวดหมู่:การปฐมพยาบาล หมวดหมู่:เวชบำบัดวิกฤต หมวดหมู่:Medical equipment หมวดหมู่:Oral and maxillofacial surgery หมวดหมู่:โสตศอนาสิกวิทยา หมวดหมู่:หัตถการของระบบหายใจ หมวดหมู่:Respiratory therapy.

ใหม่!!: การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพและการใส่ท่อช่วยหายใจ · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ใหม่!!: การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจ

หัวใจ เป็นอวัยวะกล้ามเนื้อซึ่งสูบเลือดทั่วหลอดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยการหดตัวเป็นจังหวะซ้ำ ๆ พบในสัตว์ทุกชนิดที่มีระบบไหลเวียน ซึ่งรวมสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย หัวใจสัตว์มีกระดูกสันหลังนั้นประกอบด้วยกล้ามเนื้อหัวใจและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเป็นหลัก กล้ามเนื้อหัวใจเป็นกล้ามเนื้อลายที่อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ พบเฉพาะที่หัวใจ และทำให้หัวใจสามารถสูบเลือดได้ หัวใจมนุษย์ปกติเต้น 72 ครั้งต่อนาที ซึ่งจะเต้นประมาณ 2,500 ล้านครั้งในช่วงอายุเฉลี่ย 66 ปี และสูบเลือดประมาณ 4.7-5.7 ลิตรต่อนาที หนักประมาณ 250 ถึง 300 กรัมในหญิง และ 300 ถึง 350 กรัมในชาย คำคุณศัพท์ cardiac มาจาก kardia ในภาษากรีก ซึ่งหมายถึงหัวใจ หทัยวิทยาเป็นแขนงแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับโรคและความผิดปกติของหัวใ.

ใหม่!!: การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพและหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจหยุดเต้น

หัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest) คือภาวะซึ่งหัวใจไม่มีการบีบตัว ทำงานผิดปกติ หรือทำงานช้าลง ทำให้ไม่มีการไหลเวียนเลือด ทำให้ไม่มีการลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ เกิดอาการของการทำงานผิดปกติที่อวัยวะต่างๆ ที่เห็นได้อย่างหนึ่งคือการทำงานของสมอง ซึ่งเมื่อไม่มีเลือดเลี้ยงทำให้หมดสติ หากหัวใจหยุดเต้นนานกว่า 5 นาที มีโอกาสเกิดความเสียหายต่อเนื้อสมองได้มาก การช่วยเหลือในทันทีจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตและมีการฟื้นตัวของสมองที่ดี หัวใจหยุดเต้นเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ บางครั้งหากได้รับการรักษาทันท่วงทีอาจทำให้หัวใจกลับมาเต้นใหม่ได้ หากมีหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันโดยไม่คาดฝันจนเสียชีวิตใช้ศัพท์ว่า sudden cardiac death วิธีสำคัญในการรักษาภาวะหัวใจหยุดเต้นคือการช่วยกู้ชีพ (CPR) เพื่อสร้างการไหลเวียนของเลือดให้มีเลือดไปเลี้ยงร่างกาย พิจารณาสัญญาณไฟฟ้าหัวใจว่าเป็นชนิดที่สามารถช็อกไฟฟ้าเพื่อช่วยเหลือได้หรือไม่และให้การรักษาตามความเหมาะสม.

ใหม่!!: การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพและหัวใจหยุดเต้น · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิเจน

ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพื.

ใหม่!!: การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพและออกซิเจน · ดูเพิ่มเติม »

ปอด

ปอด คำว่าปอดในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า lung ในทางการแพทย์สิ่งที่เกี่ยวกับปอดใช้คำว่า Pulmonary นำหน้าสิ่งนั้น ๆ ในมนุษย์นั้นมีปอดอยู่ในทรวงอก มีสองข้าง คือขวาและซ้าย ปอดมีลักษณะนิ่ม ร่างกายจึงมีกระดูกซี่โครงคอยปกป้องปอดไว้อีกชั้นหนึ่ง ปอดแต่ละข้างจะมีถุงบาง ๆ 2 ชั้นหุ้มอยู่ เรียกว่า เยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มปอดที่เป็นถุงบาง ๆ 2 ชั้นนี้เรียกว่า เยื่อหุ้มปอดชั้นในและ เยื่อหุ้มปอดชั้นนอก เยื่อหุ้มปอดชั้นในจะแนบติดไปกับผิวของปอด ส่วนเยื่อหุ้มปอดชั้นนอกจะแนบติดไปกับช่องทรวงอก ระหว่างเยื่อหุ้มปอด 2 ชั้นบางๆนี้จะมีช่องว่าง เรียกว่า ช่องเยื่อหุ้มปอด ในช่องเยื่อหุ้มปอดจะมีของเหลวคอยหล่อลื่นอยู่ เรียกว่า ของเหลวเยื่อหุ้มปอด ของเหลวนี้จะช่วยให้เยื่อหุ้มปอดแต่ละชั้นสไลด์ไปมาระหว่างกันได้โดยไม่เสียดสีกัน และของเหลวเยื่อหุ้มปอดก็ยังช่วยยึดเยื่อหุ้มปอดทั้งสองชั้นไว้ไม่ให้แยกจากกันโดยง่าย ปอดข้างซ้ายนั้นมีขนาดเล็กกว่าปอดข้างขวา เพราะปอดข้างซ้ายต้องเว้นที่เอาไว้ให้หัวใจอยู่ในทรวงอกด้วยกันด้ว.

ใหม่!!: การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพและปอด · ดูเพิ่มเติม »

แลซซี

แลซซี จาก ''Lassie Come Home'' (1943) ขณะถ่ายทำภาพยนตร์ที่ฟลอริดา แลซซี (Lassie) เป็นชื่อของตัวละครสมมุติ เป็นหมาพันธุ์คอลลีเพศเมีย ปรากฏครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) ในเรื่องสั้นชื่อ Lassie Come Home ของ อีริค ไนท์ นักเขียนชาวอังกฤษ-อเมริกัน ซึ่งต่อมาได้เขียนขยายความเป็นนิยายในชื่อเดียวกัน ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) ต่อมาตัวละครตัวนี้เป็นที่นิยมและนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ ภาพยนตร์โทรทัศน์ ละครวิทยุ และหนังสือ ซ้ำอีกหลายครั้งมาจนถึงปัจจุบัน ในนิยายต้นฉบับของอีริค ไนท์ เรื่องราวเกิดขึ้นในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ (ช่วงทศวรรษ 1930) ในประเทศอังกฤษ เจ้าของแลซซี เป็นเด็กชายชาวยอร์คเชอร์ที่ครอบครัวประสบปัญหาทางการเงิน และจำเป็นต้องขายแลซซีให้กับเศรษฐี เจ้าของใหม่ย้ายแลซซีไปอยู่ที่บ้านใหม่ห่างออกไปหลายร้อยกิโลเมตร แต่ด้วยสัญชาตญาณและความรักที่มีต่อเด็กน้อย แลซซีหนีออกมาได้และออกเดินทางด้วยความยากลำบากกลับไปหาเจ้าของเดิมของมัน แลซซี ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพและแลซซี · ดูเพิ่มเติม »

โรคหมอทำ

รคหมอทำ.

ใหม่!!: การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพและโรคหมอทำ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

CPRCardiopulmonary resuscitationการช่วยกู้ชีพการปั๊มหัวใจการนวดหัวใจผายปอดช่วยชีวิตกู้ชีพซีพีอาร์นวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »