โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การถ่ายภาพ

ดัชนี การถ่ายภาพ

กล้องถ่ายภาพ อุปกรณ์หลักในการถ่ายภาพ การถ่ายภาพ คือ การบันทึกเหตุการณ์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยการเก็บสภาพแสง ณ เวลานั้นไว้บนวัตถุไวแสง ผ่านอุปกรณ์รับแสงที่เรียกว่ากล้องถ่ายรูป หลังจากนั้น จะสามารถเปลี่ยนสภาพแสงเหล่านั้นกลับมาเป็นภาพได้อีกครั้งหนึ่ง ผ่านกระบวนการล้างอัดภาพ ในภาษาอังกฤษคำว่า การถ่ายภาพ คือ Photography (อ่านว่า โฟทอก' กระฟี) มาจากการผสมคำกรีกสองคำ คือ คำว่า φως - phos ซึ่งแปลว่า แสง กับคำว่า γραφις - graphis หรือ γραφη - graphê ซึ่งแปลว่า การเขียน.

55 ความสัมพันธ์: ชาลส์ วีตสตันฟรานซิส ฟริธฟิล์มฟิล์มที่ใช้เกลือเงินเฮไลด์พ.ศ. 2368พ.ศ. 2382พ.ศ. 2383พ.ศ. 2404พูน เกษจำรัสกระบวนการกระจกเปียกกระบวนการดาแกโรไทป์กระบวนการเพลตแห้งกล้องถ่ายภาพกล้องทาบเงาการบันทึกภาพบนแผ่นดีบุกการถ่ายเอกสารการ์ตเดอวีซิตภาพสามมิติแบบซ้อนเหลื่อมภาษากรีกยรรยง โอฬาระชินระบบภาพสามมิติราโยกราฟส์ริชาร์ด แมดด็อกซ์ลัทธิประทับใจวิลเลียม ฟอกซ์ แทลบอตศิลปินแห่งชาติออสการ์ กุสตาฟ เรย์ลันเดอร์อ็องรี การ์ตีเย-แบรซงฮิปโปไลท์ เบยาดจอร์จ อีสต์แมนจอห์น เฮอร์เชลจิตต์ จงมั่นคงจูเลีย มาร์กาเร็ต คาเมรอนทองแดงปรอทนาดาร์นิคอนนีเซฟอร์ เนียปส์แม็ทธิว เบรดีแสงโฟโตกราวัวร์โยฮันน์ ไฮน์ริช ชูลซ์โจฮันน์ เฮนริช ชูลท์โจเซฟ แมกซิมิเลียน เพทช์วอลโทมัส เวดจ์วู้ดไพบูลย์ มุสิกโปดกไลก้าไอโอดีนไดโอรามาเฟรดเดอริค สก็อต อาร์เชอร์...เลนส์ถ่ายภาพเฮนรี พีช โรบินสันเจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์เงิน (โลหะ)Pictorialism ขยายดัชนี (5 มากกว่า) »

ชาลส์ วีตสตัน

ลส์ วีตสตัน เซอร์ชาลส์ วีตสตัน (Charles Wheatstone) เกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1802 ที่เทศมณฑลกลอสเตอร์เชอร์ (Gloucestershire) ในประเทศอังกฤษ และเสียชีวิตในวันที่ 19 ตุลาคม..

ใหม่!!: การถ่ายภาพและชาลส์ วีตสตัน · ดูเพิ่มเติม »

ฟรานซิส ฟริธ

Francis Frith (ฟรานซิส ฟริทธ์) เกิดที่ เชสเตอร์ฟิลด์ เดอร์บีไซร์ ประเทศฝรั่งเศส ในปี..

ใหม่!!: การถ่ายภาพและฟรานซิส ฟริธ · ดูเพิ่มเติม »

ฟิล์ม

ฟิล์มถ่ายภาพ เป็นแถบวัสดุทำจากพลาสติก (โพลีเอสเตอร์, เซลลูลอยด์ หรือเซลลูโลสอะซิเตด) เคลือบด้วยสารเคมีที่มีส่วนผสมของเกลือเงินไวแสง ที่มีขนาดของผลึกแตกต่างกันตามค่าความไวแสงหรือความละเอียดของเนื้อฟิล์ม เมื่อสารเคมีที่เคลือบไว้ถูกกับแสง (หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าบางชนิด เช่น รังสีเอกซ์) จะทำให้เกิดภาพปรากฏขึ้นบนแผ่นฟิล์ม โดยจะเป็นภาพที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จำเป็นต้องผ่านกระบวนการล้างฟิล์ม เพื่อให้ภาพที่ได้ปรากฏให้เห็น ฟิล์มขาวดำจะมีสารเคมีเคลือบไว้ชั้นเดียว เมื่อผ่านการล้างฟิล์มแล้วเกลือเงินจะเปลี่ยนรูปเป็นโลหะเงินทึบแสง ซึ่งจะปรากฏเป็นส่วนสีดำของเนกาทีฟ ฟิล์มสีจะมีชั้นของสารเคมีอย่างน้อยสามชั้น โดยแต่ละชั้นจะไวต่อแสงต่างสีกัน ชั้นบนสุดเป็นชั้นที่ไวต่อแสงสีน้ำเงิน ชั้นต่ำต่อมาไวต่อแสงสีเขียวและแดงตามลำดับ ฟิล์มที่ยังไม่ได้ล้าง.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและฟิล์ม · ดูเพิ่มเติม »

ฟิล์มที่ใช้เกลือเงินเฮไลด์

ฟิล์มที่ใช้เกลือเงินเฮไลด์ (Silver halide salts) เป็นผลึกไวแสงจะไวต่อแสงคลื่นสั้น เช่น แสงอัลตร้าไวโอเลตและแสงในช่วงคลื่นสีน้ำเงิน ฟิล์มประเภทนี้เรียกว่า ฟิล์มที่ไวต่อแสงสีน้ำเงิน (blue-sensitive) ดังนั้น จึงมีการเติมสีย้อม (color dyes) เพื่อขยายช่วงความไวแสงของฟิล์มออกไป ฟิล์มที่มีการเติมสีย้อมลงไปในลักษณะดังกล่าว ได้แก่ ฟิล์มที่ไวต่อแสงสีน้ำเงินและแสงสีเขียว (orthochromatic) และฟิล์มที่ไวต่อแสงทุกสี (panchromatic) ดังนั้น การแบ่งประเภทของฟิล์มตามความไวแสงจึงแบ่งได้เป็นสามประเภท ได้แก่ ฟิล์มที่ไวต่อแสงสีน้ำเงิน ฟิล์มที่ไวต่อแสงสีน้ำเงินและแสงสีเขียว และฟิล์มที่ไวต่อแสงทุกสี.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและฟิล์มที่ใช้เกลือเงินเฮไลด์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2368

ทธศักราช 2368 ตรงกับคริสต์ศักราช 1825 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและพ.ศ. 2368 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2382

ทธศักราช 2382 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1839.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและพ.ศ. 2382 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2383

ทธศักราช 2383 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1840.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและพ.ศ. 2383 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2404

ทธศักราช 2404 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1861.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและพ.ศ. 2404 · ดูเพิ่มเติม »

พูน เกษจำรัส

ตราจารย์ พูน เกษจำรัส ศาสตราจารย์ พูน เกษจำรัส (15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 - 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2540) เป็นชาวเพชรบุรีโดยกำเนิด ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่ายศิลปะ) เมื่อ ปี พ.ศ. 2531.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและพูน เกษจำรัส · ดูเพิ่มเติม »

กระบวนการกระจกเปียก

กระบวนการกระจกเปียก เป็นผลมาจากการทดลองใช้กระจกเป็นวัตถุรองรับในการถ่ายภาพ แทนแผ่นเพลทที่เป็นโลหะ โดยช่างแกะสลักชาวลอนดอน ชื่อ เฟรดเดอริค สก็อต อาร์เชอร์ (Frederick Scott Archer) ได้ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทาบอลไทพ์ช่วยในการแกะสลักน้องสาวของของเขาให้เหมือนจริงมากขึ้น โดยการทดลองใช้วัสดุที่เรียกว่า "กัน คอตตอน" ละลายในแอลกอฮอล์และอีเธอร์ ซึ่งจะได้สารละลายที่เรียกว่า "โคโลเดียน" (Collodion) มีชื่อทางเคมีว่า "เซลลูโลสไนเตรต" ซึ่งทหารนำมาใช้ในการห้ามเลือดจากบาดแผลในสงคราม ซึ่งอาร์เชอร์ได้นำสารโคโลเดียนมาฉาบลงบนกระจกและจุ่มเพลทกะจกลงในสารละลายเงินไนเตรทอีกครั้งก่อนจะนำไปถ่ายภาพในขนะที่เพลทยังเปียกอยู่ (ขั้นตอนนี้ทำในห้องมืด) อาร์เชอร์พบว่าถ้ารอให้กระจกแห้งความไวแสงจะสูญเสียไปมาก แต่ถ้าถ่ายขณะที่เพลทยังเปียกอยู่จะใช้เวลาถ่ายน้อยกว่า 3นาที จากนั้นนำไปผ่านกระบวนการสร้างภาพด้วยการนำไปล้างในน้ำยา ไพโรแกลลิกแอซิด (Pyrogallic Acid) หรือ เฟอรัสซัลเฟต (FerrousSulphate) (ขั้นตอนนี้ทำในห้องมืด) จากนั้นนำไปคงภาพด้วยน้ำยาไฮโป เนื่องจากต้องถ่ายภาพขณะที่เพลทไวแสงยังเปียกอยู่จึงนิยมเรียกกระบวนการนี้ว่า กระบวนการกระจกเปียก (Wet Collodion Process On Glass) ซึ่งได้รับความนิยมนานถึง 30 ปี ซึ่งในการถ่ายนอกสถานที่ช่างภาพจะต้องนำกระโจมห้องมืด ขวดน้ำยาและเพลทกระจกและอุปกรณืที่จำเป็นอย่างอื่นไปด้วย หมวดหมู่:การถ่ายภาพ.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและกระบวนการกระจกเปียก · ดูเพิ่มเติม »

กระบวนการดาแกโรไทป์

หลุยส์ ฌาคส์ มังเด ดาแกร์ (ค.ศ. 1787 - 1851) ดาแกโรไทพ์ (Daguerreotype) ถูกคิดค้นโดย หลุยส์ ฌาคส์ มังเด ดาแกร์ (พ.ศ. 2330 - 2394) โดยดาแกร์ได้ทดลองเกี่ยวกับวัสดุไวแสง เพื่อใช้บันทึกภาพจากกล้องออบสคูร่าโดยตั้งชื่อว่ากระบวนการ ไดออรามา (Diorama) และในขณะเดียวกัน โจเซฟ นีเซฟอร์ เนียฟ ก็ได้คิดค้นกระบวนการเฮลิโอกราฟฟี (Heliograghy) อยู่เช่นกัน แต่ทั้งสองเก็บเป็นความลับเรื่อยมาจนกระทั่งได้รู้จักกันโดยการชักนำของสองพี่น้องช่างทำแว่นตาและต่อมาทั้งสองได้ทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกัน แต่เมื่อทำสัญญาได้เพียง 4 ปี เนียฟกลับถึงแก่กรรมไปเสียก่อน และดาแกร์ ได้นำกระบวนการเฮลิโอกราฟฟี่ (Heliograghy) ของ เนียฟ และกระบวนการไดออรามาของ ดาแกร์ เองมารวมกันแล้วทดลองถ่ายภาพปรากฏว่าเป็นผลสำเร็จเขาจึงตั้งชื่อกระบวนการใหม่นี้ว่า ดาแกโรไทพ์ (Daguerreotype) ภาพแรกที่ดาแกร์ทำสำเร็จจนทำให้เขาได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งการถ่ายภาพสมัยใหม่ มีชื่อว่าห้องภาพจิตรกร (The Artist’s studio) โดยเป็นการถ่ายภาพหุ่นนิ่งหรือภาพ(still Life) วัตถุที่ใช้เป็นแบบได้แก่ภาพวาด รูปแกะสลักที่เป็นฝีมือของเขาเอง เมื่อข่าวความสำเร็จแพร่ขยายออกไปทำให้ผู้คนสนใจเป็นอันมากโดยเฉพาะ ฟรังซัว อารากอล (Francois Aragol) นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งกรุงปารีส ได้มาขอศึกษาความรู้จาก ดาแกร์และนำไปเผยแพร่สาธิตต่อ และเขายังได้เสนอรัฐบาลฝรั่งเศสซื้อลิขสิทธิ์จากดาแกร์ เมื่อรัฐบาลเห็นชอบได้ซื้อลิขสิทธิ์และได้โอนให้สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งกรุงปรารีสพัฒนา และต่อมารัฐบาลฝรั่งเศส ก็ได้ประกาศให้กระบวนการ ดาแกร์โรไทพ์ (Daguerreotype) เป็นของสาธารณะ ผู้ใดจะนำไปใช้ก็ได้โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ เมื่อดาแกร์เห็นว่ามีคนสนใจกระบวนการของเขาเป็นอันมากเขาจึงได้เขียนหนังสือเพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาขึ้นมาเล่มหนึ่งชื่อว่า (The History and Description of the Process Named the Daguerreotype) มีจำนวน 79 หน้าและได้พิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศสถึง 29 ครั้งและเป็นภาษาอื่นแพร่หลายไปทั่วซีกโลกตะวันตก แต่มีคนติว่าดาแกร์ใช้คำยากเกินไปและมีศัพท์วิทยาศาสตร์อยู่มาก ทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจ รัฐบาลจึงสั่งให้ดาแกร์สาธิตกระบวนการให้สาธารณชนได้ดู เพื่อให้สาธารณชนได้เข้าใจแจ่มแจ้ง และทุกครั้งที่มีการสาธิตเมื่อจบการสาธิตผู้คนต่างพากันแย่งซื้ออุปกรณ์ในการทำกระบวนการนี้เป็นเสมือนหนึ่งว่าเป็นของฝากจากกรุงปารีส จนทำให้เกิดร้านขายอุปกรณ์เหล่านี้อยู่มากมากทั่วกรุงปรารีส เพียง 1 ปีหลังจากคิดค้นได้สำเร็จกระบวนการนี้ได้กระจายอยู่ทั่วไปในซีกโลกตะวันตก และเพียง 6 ปีจากนั้นดาแกร์โรไทพ์ก็ได้มาถึงประเทศไทยพร้อมเรือสินค้าของพวกฝรั่งในปี พ.ศ. 2388 ในปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีก็ทรงได้ฉายพระรูปส่งไปพระราชทานให้ประธานาธิบดี แฟรงคลิน เพียร์ซ ของสหรัฐอเมริกาจากกระบวนการดาแกร์โรไทพ์ด้วยและเจริญเติบโตในประเทศไทยอย่างสูงสุดในสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงขนาดมีการสร้างห้องมืด สั่งกล้องออบสคูร่า เพลท เคมีต่างๆ เข้ามาใช้ในราชสำนักมากมาย พระบาทสมเด็จพระอยู่หัวรัชกาลที่ 5 พระราชทานกล้องและความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพให้แก่เจ้านาย และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ด้วยกันทั้งยังเคยออกร้านถ่ายรูปและทรงเป็นช่างภาพเองในงานประจำปี วัดเบญจมบพิตรเพื่อนำเงินรายได้ไปบำเพ็ญพระราชกุศลในวัดเบญจมบพิตรด้วย ภาพที่มีชื่อเสียงของเอ็ดการ์ อัลลัน โพ ถ่ายโดยกระบวนการดาแกร์โรไทพ์ในปี พ.ศ. 2391 ไม่นานก่อนเขาเสียชีวิต.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและกระบวนการดาแกโรไทป์ · ดูเพิ่มเติม »

กระบวนการเพลตแห้ง

กระบวนการเพลตแห้ง (dry plate process) เริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1867 โดย B.J.Sayce และ W.B. Bojton ได้ร่วมคิดค้นวัตถุไวแสงและพบว่าเยื่อไวแสงโคโลเดียน โดยใช้ซิลเวอร์โบรไมด์และซิลเวอร์ไนเตรตฉาบบนแผ่นกระจกแล้วผึ่งให้แห้ง สามารถเก็บไว้ได้นาน ถ่ายเมื่อใดก็ได้ และในปี ค.ศ. 1867 มีบริษัท The Liverpool Dry Plate and Photohgraphic Company ผลิตเพลทแห้งออกจำหน่ายแต่ไม่ได้ความนิยมเท่าที่ควร เพราะใช้เวลานานกว่าเพลทเปียกถึง 3 เท่า เมื่อปี ค.ศ. 1871 Dr.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและกระบวนการเพลตแห้ง · ดูเพิ่มเติม »

กล้องถ่ายภาพ

ำลองกล้องถ่ายภาพในปี 2520 - 2540 กล้องถ่ายภาพ หรือ กล้องถ่ายรูป เป็นเหมือนกล่องทึบแสง ทำหน้าที่รับแสงในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการสร้างภาพ กลไกและชิ้นส่วนต่าง ๆ ของกล้องทำงานสัมพันธ์กันในการที่จะควบคุมปริมาณแสงไปยังหน่วยรับภาพอย่างถูกต้องแม่นยำ อีกทั้งยังควบคุมความคมชัดของภาพ ตลอดจนอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการบันทึกภาพ ความหมายของการถ่ายภาพ มี 2 ประเด็น คือ 1.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและกล้องถ่ายภาพ · ดูเพิ่มเติม »

กล้องทาบเงา

กล้องทาบเงา กล้องทาบเงา (camera obscura) คือเครื่องมือที่ใช้สำหรับเป็นเครื่องช่วยในการวาดภาพของจิตรกรและศิลปินในศตวรรษที่ 17-18 รูปแบบของกล้องมีอยู่หลายลักษณะ ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นกล้องถ่ายภาพในปัจจุบันมีลักษณะเป็นกล่อง 2 ใบซ้อนกัน เลื่อนเข้าออกได้ กล่องด้านหน้าติดเลนส์สำหรับรับภาพ ภายในกล่องใบหลังมีกระจกเงาวางทำมุม 45 องศาเพื่อสะท้อนภาพขึ้นมาที่กระจกฝ้า จิตรกรและศิลปินจะวางกระดาษและวาดภาพตามภาพที่ปรากฏขึ้น กล้องทาบเงาเป็นต้นแบบที่พัฒนามาเป็นกล้องถ่ายภาพในยุคแรก ๆ ของการถ่ายภาพ ก่อนที่จะพัฒนาต่อมาเรื่อย ๆ เป็นกล้องถ่ายภาพในปัจจุบัน.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและกล้องทาบเงา · ดูเพิ่มเติม »

การบันทึกภาพบนแผ่นดีบุก

นแผ่นดีบุกของผู้ชาย การบันทึกภาพบนแผ่นดีบุก (Tintype process).

ใหม่!!: การถ่ายภาพและการบันทึกภาพบนแผ่นดีบุก · ดูเพิ่มเติม »

การถ่ายเอกสาร

ั้นตอนการถ่ายเอกสาร เครื่องถ่ายเอกสาร (xerography) เป็นขบวนการที่ใช้ในเครื่องถ่ายเอกสาร คิดค้นโดยนักฟิสิกส์ชื่อ เชสเตอร์ คาร์ลสัน ในปี พ.ศ. 2481 และได้จดสิทธิบัตรกระบวนการทำสำเนาอย่างง่าย ซึ่งได้เปลี่ยนโฉมงานในสำนักงานไปมาก คาร์ลสันเริ่มต้นจากการคิดค้นทำแบบพิมพ์สีเขียวและเอกสารอื่นๆ ในปี..

ใหม่!!: การถ่ายภาพและการถ่ายเอกสาร · ดูเพิ่มเติม »

การ์ตเดอวีซิต

CARTE-DE-VISITE photography หรือ "การ์ตเดอวีซิต" เป็นชื่อนามบัตรรูปภาพเหมือนขนาดเล็ก (ขนาดปกติ 4 1/2 x 2 1/2") ริเริ่มโดยช่างภาพชาวกรุงปารีสชื่อ Andre Disdri ซึ่งในปี 1854 เขาได้จดลิขสิทธิ์วิธีการนำภาพหลายๆรูป (ปกติ 8 รูป) ถ่ายบน 1 plate (แผ่นกระจกรับแสงในกล้องถ่าพรูปสมัยก่อน), ดังนั้นจึงลดต้นทุนการผลิตลงได้มาก (ในครั้งแรกที่เขาผลิตเขาไม่ได้ลดต้นทุนอย่างจริงจัง แต่ผลสำเร็จเกิดขึ้นเมื่อช่างภาพไม่มีชื่อเสียงนักชื่อ Dodero จากเมืองมาเซลส นำไปทำ) กล้องถ่าพรูปหลายชนิดได้ถูกคิดค้นประดิษฐ์ขึ้น บางชนิดมีกลไกสามารถหมุนแผ่น plateได้ บางชนิดมีเลนซ์หลายเลนซ์ซึ่งสามารถใช้งานได้แบบเลนซ์เดียว หรือหลายๆ เลนซ์พร้อมกัน Cartes-de-visite ไม่เป็นที่แพร่หลายนักจนกระทั่งวันหนึ่งในเดือนพฤษภาคม ปี 1859, นโบเลียนที่ 3 ขณะเดินทางพร้อมกองทัพไปอิตาลี ได้หยุดกองทัพและแวะไปที่ร้านถ่ายรูปของ Disdri ในกรุงปารีส เพื่อถ่าพรูปของเขาที่นั่น เมื่อข่าวการถ่ายรูปที่นี่เผยแพร่ไปสู่สาธารณชน ทำให้ Disdri เป็นที่รู้จัก และในเวลา 2 ปีต่อมา เขาสามารถทำรายได้เกือบ 50,000 ต่อปี จากร้านนี้เพียงร้านเดียว ในประเทศอังกฤษ พระราชินีวิคตอเรียและเจ้าชายอัลเบริต์ ได้ทำนามบัตรรุปภาพเหมือน Cartes-de-visite และเป็นที่แน่นอนว่าการมีโอกาสเพียงเล็กน้อยได้ถ่ายภาพพระราชวงศ์ของอังกฤษ และนี่เป็นสัญญาณให้การสะสมภาพของผู้มีชื่อเสียง หรือการทำนามบัตร Cartes-de-visite เป็นที่โด่งดังเลื่องลือ เป็นที่กล่าวขวัญว่าภาพถ่ายพระราชินีวิคตอเรียและราชวงศ์ ซึ่งถ่ายโดย John Mayal ขายได้มากกว่า 100,000 ภาพ สิ่งเผยแพร่สู่สาธารณชนในรูปแบบอื่นๆ ได้ถูกชักจูงให้ทำและเผยแพร่ออกมา นักเขียนเรื่องประวัติศาสตร์การถ่ายภาพชื่อ Helmut Gernsheim ได้แสดงความเห็นในเรื่องนี้.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและการ์ตเดอวีซิต · ดูเพิ่มเติม »

ภาพสามมิติแบบซ้อนเหลื่อม

ซ้อนทับกันแบบแอนะกลิ๊ป (Anaglyph) โดยต้องดูผ่านฟิวเตอร์สีแดง (ตาซ้าย) และฟ้า (ตาขวา) ในการชม แว่น 3 มิติ ภาพต้นฉบับ ก่อนจะแปลงเป็นภาพแอนะกลิ๊ป (Anaglyph) รูปบน ภาพ 3 มิติในภาพถ่ายความละเอียดสูง แว่น 3 มิติ ภาพแอนะกลิ๊ป (Anaglyph) ของอุทยานแห่งชาติซากัวโร แว่น 3 มิติ ภาพแว่นตาสำหรับดูภาพสามมิติแบบซ้อนเหลื่อม (Anaglyph 3D) โดยจะมีแผ่นใสสีแดงสำหรับตาซ้าย และแผ่นใสสีฟ้าสำหรับตาขวา ภาพสามมิติแบบซ้อนเหลื่อม (หรือ ภาพสามมิติแอนะกลิ๊ป หรือ แอนะกลิ๊ปทรีดี) (Anaglyph 3D) คือภาพสองมิติภาพเดียวที่หากดูด้วยตาเปล่าจะเห็นเป็นภาพสีแดงกับสีฟ้าพิมพ์ซ้อนเหลื่อมกัน ต้องดูผ่านฟิวเตอร์ (Filter) 2 สี หรือแว่นตาที่มีแผ่นใส หรือเลนส์ สีแดง(red)สำหรับตาซ้าย และสีฟ้า(cyan)สำหรับตาขวา เมื่อมองผ่านฟิวเตอร์สีแดง ตาเราจะไม่เห็นภาพที่พิมพ์ด้วยสีแดงแต่จะเห็นเฉพาะภาพที่พิมพ์ด้วยสีฟ้า โดยจะเห็นเป็นสีเกือบดำ ส่วนตาขวาเมื่อมองผ่านฟิวเตอร์สีฟ้า จะเห็นภาพส่วนที่พิมพ์ด้วยสีแดง โดยเห็นเป็นสีเกือบดำเช่นกัน ซึ่งภาพที่ดูจากสองตาจะเป็นภาพที่มีมุมมองต่างกันเล็กน้อย จากนั้นสมองจะแปลความรวมเป็นภาพเดียวกันแบบที่มีมิติตื้นลึก หรือสามมิต.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและภาพสามมิติแบบซ้อนเหลื่อม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: การถ่ายภาพและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ยรรยง โอฬาระชิน

รรยง โอฬาระชิน ยรรยง โอฬาระชิน (ศิลปินแห่งชาติ) เกิดปีพุทธศักราช 2481 สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัติวิชาชีพชั้นสูง จากแผนกวิชาการถ่ายภาพและภาพยนตร์ วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ) เมื่อพุทธศักราช 2506 (ช่างภาพรุ่นที่ 6) เป็นศิษย์ที่เรียนจากอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น อาจารย์ระบิล บุนนาค อาจารย์รัตน์ เปสตันยี ศาสตราจารย์พูน เกษจำรัส ศาสตราจารย์กิตติคุณ ชะอุ่ม ประเสริฐสกุล อาจารย์จำรัส เอี่ยมพินิจ และอาจารย์ชูศักดิ์ ดิษยนันท์ ยรรยง โอฬาระชิน ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ศิลปะภาพถ่าย) ปี 2550.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและยรรยง โอฬาระชิน · ดูเพิ่มเติม »

ระบบภาพสามมิติ

แผ่นภาพ 2 มิติสองภาพวางเคียง ดูแบบไขว้ตา จึงจะเห็นเป็นภาพสามมิติ ''ภาพแมนฮัตตัน ประมาณ พ.ศ. 2452'' ระบบภาพสามมิติ หรือ สเตอริโอสโคปี หรือ สเตอริโอสโคปิก หรือ ระบบภาพทรีดี หรือ ระบบภาพสามดี (Stereoscopy หรือ stereoscopic imaging หรือ 3-D imaging) เป็นเทคนิคในการสร้างภาวะลวงตา (จากภาพถ่าย หรือ ภาพยนตร์ ที่อยู่บนระนาบสองมิติ แบนๆ) ให้ดูมีมิติความตื้นลึก (illusion of depth) หลักการเบื้องต้นคือ ส่งภาพสองมิติ 2 ภาพสำหรับตาแต่ละข้างโดยมีมุมมองต่างกันเล็กน้อย เสมือนกับที่สองตาของคนเห็นภาพตามธรรมชาติ การถ่ายภาพ 3 มิติถูกนำมาใช้ในการทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ (photogrammetry) และเพื่อความบันเทิง โดยทำเป็นภาพสามมิติ (ภาพสเตอริโอแกรมส์, stereograms) ซึ่งดูด้วยกล้องดูภาพสามมิติ (สเตอริโอสโคป, stereoscope) การถ่ายภาพสามมิติมีประโยชน์ในการดูภาพเห็นมิติตื้นลึก ภาพถ่ายสามมิติในการอุตสาหกรรมสมัยใหม่อาจใช้เครื่องสแกนภาพ 3 มิติ (3D scanners) สำหรับสแกนและบันทึกข้อมูล 3 มิติ ข้อมูลความลึกสร้างจากภาพ 2 ภาพโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ด้วยการใส่จุดภาพสมนัยลงบนภาพซ้ายและภาพขว.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและระบบภาพสามมิติ · ดูเพิ่มเติม »

ราโยกราฟส์

ราโยกราฟส์ (rayographs) ถูกพัฒนาโดย แมน เรย์ เค้าเกิดที่เมืองฟิลาเดลเฟีย ในตอนเด็กแมน เรย์ชื่อว่า เอ็มมานูเอล ราดินสกี้ และได้เปลี่ยนชื่อเมื่ออายุ 15 ปี แมน เรย์เป็นชาวยิวซึ่งหนีการก่อกวนและรังแกมาจากประเทศรัสเซีย ที่รัฐนิวเจอร์ซี่ เขาได้ประกอบอาชีพนักเขียนภาพโฆษณาเมื่อช่วงปี 1910 เขาได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น แมน เรย์ เมื่อปี 1912 แต่อย่างไรก็ตาม ครอบครัวของเขาก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงนามสกุลจนกระทั่งปี 1920 เขาเริ่มเรียนรู้การถ่ายภาพด้วยตนเองซึ่งมันได้กลายมาเป็นอาชีพหนึ่งของเขาไป ซึ่งรวมเอาการวาดภาพและการผสมผสานศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน ในปี 1921 เขาได้ย้ายไปอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสและจัดตั้งห้องแสดงภาพศิลป์ของตนเองขึ้น ซึ่งได้มีการจัดแสดงทั้งงานศิลปะ แฟชั่น ในช่วงต่อมาเขาได้เริ่มการสร้างสรรค์งานศิลปะแบบ โฟโต้แกรมขึ้น ซึ่งเขาเรียกมันว่า ราโย่กราฟ (rayographs) ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเล็กน้อย แมน เรย์ได้อพยพกลับไปยังสหรัฐอเมริกาอีกครั้งหนึ่ง แต่เขาก็ได้รับความผิดหวังอย่างมากเนื่องจากงานศิลปะของเขานั้นได้มีเพียงเรื่องที่เกี่ยวกับภาพถ่ายเท่านั้น ซึ่งไม่ได้รวมเอางานประเภทการสร้างภาพยนตร์ การวาดภาพ การสร้างประติมากรรม และสื่ออื่น ๆ เข้ามาไว้ในงานของเขาด้วย จึงทำให้มันไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ในปี 1951 แมน เรย์ ได้ย้ายกลับไปที่กรุงปารีสอีกครั้งหนึ่ง เขายังคงทำงานเกี่ยวกับศิลปะอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึงแก่กรรมเมื่อปี 1976 ในปี 1922 หนังสือของเขาเกี่ยวกับราโย่กราฟของเขา “Les Champ” ก็ได้รับการตีพิมพ์ขึ้น และในงานแสดงภาพ rayographs ของแมน เรย์เมื่อปี 1922 นั้นเป็นภาพที่เกิดจากจินตนาการของเขาซึ่งอาศัยแสงเงาของวัตถุต่าง ๆ เป็นแบบที่ปรากฏอยู่บนกระดาษอัดรูป ซึ่งงานชิ้นนี้ไม่ได้ใช้ฟิล์มแต่อย่างใด rayograph เป็นผลงานที่ได้รับการสร้างสรรค์จาก photogram โดย แมน เรย์ เป็นวิธีการสำคัญอย่างหนึ่งในการถ่ายภาพ สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการทดลองของเขาจากการใช้วัสดุหลากหลายชนิดและวิธีการอันหลากหลาย เขาได้ทดลองเกี่ยวกับภาพถ่ายจนทำให้สามารถพัฒนารูปแบบการถ่ายภาพโดยที่ไม่ต้องใช้กล้องถ่ายรูป เทคนิควิธีดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางโดยนักถ่ายภาพในช่วงศตวรรษที่ 20 ซึ่ง รูปแบบของเขานั้นได้รวมเอาการใช้ประโยชน์จากความแน่นอนตายตัวและผลที่เกิดขึ้นอย่างไม่ตั้งใจของภาพเนกาตีฟ การนำเอาภาพหรือสิ่งของมาเรียงต่อ ๆ กันอย่างไม่เป็นระเบียบและไม่เน้นสิ่งใดเป็นพิเศษ เป็นการนำเอาความหลากหลายของสิ่งที่มีความแตกต่างมาไว้ร่วมกันในภาพ ๆ เดียว และเปลี่ยนแปลงให้สิ่งของต่าง ๆ นั้นได้แสดงภาพของมันออกมา เพื่อให้ผู้พบเห็นได้รู้สึกแปลกตาไปกับมันภาพที่ได้นั้นจะเป็นภาพในแบบเนกาทีฟ และมีผลคล้ายคลึงกับที่เราเห็นในฟิล์มเอ็กซเรย์ทั่วไป ซึ่งวิธีการนี้เองได้ทำให้ชื่อเสียงของ แมน เรย์และวิธีการ rayographs ของเขานั้นโด่งดังเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งบุคคลอื่น ๆ ที่ได้นำเอาเทคนิควิธีการนี้มาใช้ก็มีอาทิเช่น ลาร์สโล่ โมโฮลี่-นากี้ คริสเตียน ช๊าด(ซึ่งเรียกงานประเภทนี้ว่าเป็น”ช๊าดโดกราฟซี่(Schadographs) ” ไอมอจ คันนิ่งแฮม หรือแม้แต่ ปาโบล ปิกาสโซ่ ศิลปินผู้โด่งดังชาวสแปนิชก็ได้เคยทำงานศิลปะประเภทนี้มาแล้ว งานศิลปะของเรย์นั้นจะเน้นไปที่เรื่องของความรู้สึกที่เกินจริง ซึ่งมันก็เป็นเหมือนกับแนวความคิดและจินตนาการของตัวเขาเองด้วย การแสดงออกถึงสิ่งที่ใฝ่ฝัน ความมีอิสระแห่งการระลึกรู้ถึงตนเองและการควบคุมของเหตุผลและข้อตกลงต่าง ๆ แนวคิดดังกล่าวนั้นเป็นเสมือนกับการอุปมาอุปมัยเรื่องราวที่เพ้อฝันว่าเป็นเสมือนเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง แต่เขาได้เน้นย้ำว่าจริง ๆ แล้วงานของเขาเกิดจากข้อผิดพลาดเกี่ยวกับกระบวนการซึ่งมันเกิดมาจากอุบัติเหตุที่เขาได้เปลี่ยนเอากรวยแก้วขนาดเล็กและเครื่องมือวัดอุณหภูมิมาใช้แทนวัตถุอื่น ๆ สำหรับการวางบนกระดาษ ผลที่ได้นั้นเป็นสิ่งบังเอิญที่เกิดขึ้น และเมื่อเขาลองใช้แสงส่องลงไปยังกระดาษอัดภาพนั้น ผลที่ปรากฏออกมาก็คือภาพของวัตถุที่นำมาวางไว้บนกระดาษดังกล่าวได้ปรากฏขึ้นมา ซึ่งภาพที่บิดเบือนออกมานั้นเกิดจากการหายไปของสารที่ฉาบอยู่บนกระดาษนั้น เขาได้เริ่มทำการทดลองกับวัตถุอื่น ๆ เพิ่มเติมซ้ำไปซ้ำมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลที่ได้รับนั้นก็เป็นเช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง อันเป็นที่มาของ rayographs หมวดหมู่:การถ่ายภาพ.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและราโยกราฟส์ · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด แมดด็อกซ์

Dr.Richard Leach Maddox (ค.ศ.1861 - 1902) ริชาร์ด แมดด็อกซ์ (Dr. Richard Leach Maddox) เป็นนักฟิสิกส์ ชาวอังกฤษ เกิดเมื่อ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1816 เสียชีวิตเมื่อ 11 พฤษภาคม 1902.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและริชาร์ด แมดด็อกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิประทับใจ

''Avenue de l'Opéra'') โดยกามีย์ ปีซาโร ลัทธิประทับใจ หรือ อิมเพรสชันนิซึม (impressionism) เป็นขบวนการศิลปะที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเริ่มต้นจากการรวมตัวกันอย่างหลวม ๆ ของจิตรกรทั้งหลายที่มีนิวาสถานอยู่ในกรุงปารีส พวกเขาเริ่มจัดแสดงงานศิลปะในช่วงทศวรรษที่ 1860 ชื่อของขบวนการนี้มีที่มาจากภาพวาดของโกลด มอแน ที่มีชื่อว่า Impression, Sunrise ("Impression, soleil levant" ในภาษาฝรั่งเศส) และนักวิจารณ์ศิลปะนามว่าหลุยส์ เลอรัว (Louis Leroy) ก็ได้ให้กำเนิดคำคำนี้ขึ้นมาอย่างไม่ตั้งใจในบทวิจารณ์ศิลปะเชิงเสียดสีซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เลอชารีวารี (Le Charivari) อิทธิพลของลัทธิประทับใจยังแผ่ออกจากวงการศิลปะไปยังดนตรีและวรรณกรรม.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและลัทธิประทับใจ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม ฟอกซ์ แทลบอต

วิลเลียม ฟอกซ์ แทลบอต วิลเลียม เฮนรี ฟอกซ์ แทลบอต (William Henry Fox Talbot) (11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1800 - 17 กันยายน ค.ศ. 1877) นักวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ทดลองค้นคว้าเกี่ยวกับสารเคมีไวแสงที่จะนำมาฉาบลงบนกระดาษมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1833 จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1835 เขาได้ค้นพบว่า “เงินคลอไรด์”(Silver Chloride) เป็นสารที่มีความไวต่อแสงสว่าง ซึ่งสามารถฉาบลงบนกระดาษได้ ทำให้ได้กระดาษไวแสงที่จะนำไปอัดภาพ เขาได้ทดลองนำใบไม้ ขนนก มาวางทับกระดาษไวแสง พบว่า ส่วนที่วัตถุทับอยู่จะเป็น สีขาวแต่ส่วนที่ถูกแสงสว่างจะเป็นสีดำ เมื่อนำไปล้างในสารละลายเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์ ได้ภาพที่เรียกว่า “ภาพPhotogenic Drawing” ที่มีลักษณะเป็นสีตรงข้ามกับต้นแบบคือ ขาวเป็นดำ และดำเป็นขาว หรือที่เรียกว่า "ภาพเนกาตีฟ" ในปัจจุบัน ซึ่งแทลบอตใช้เป็นต้นแบบในการอัดภาพ ภาพต่อๆ มาจะเป็นภาพโพสิตีฟ ฉะนั้นวิธีการของแทลบอตจึงดีเท่ากระบวนการของดาร์แกโรไทพ์ ตรงนี้สามารถอัดภาพได้หลายภาพตามต้องการ แต่ก็มีข้อด้อยตรงที่เมื่อเก็บไว้นาน ๆ สีของภาพจะซีดจางลง ต่อมาแทลบอตได้ปรับปรุงกระบวนการของเขาหลายขั้นตอนทั้งการถ่ายและการล้างทำให้ได้ภาพที่ดีขึ้นเท่าเดิม ซึ่งเขาตั้งชื่อกระบวนการนี้ว่า “คาโลไทพ์” (Calotype) ซึ่งแปลว่า ความประทับใจในภาพที่สวยงามแต่เพื่อน ๆ ของเขาแนะนำว่าควรใช้ชื่อ แทลบอตไทพ์ (Talbotype) ในปี..

ใหม่!!: การถ่ายภาพและวิลเลียม ฟอกซ์ แทลบอต · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปินแห่งชาติ

ลปินแห่งชาติ ของประเทศไทย หมายถึงศิลปินผู้มีความสามารถ มีผลงานสร้างสรรค์และพัฒนาเป็นที่ยอมรับของวงการ และมีผลงานเป็นประโยชน์ต่อสังคม นับตั้งแต่เริ่มโครงการศิลปินแห่งชาติ (พ.ศ. 2528) ถึงสิ้นปี..

ใหม่!!: การถ่ายภาพและศิลปินแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ออสการ์ กุสตาฟ เรย์ลันเดอร์

ออสการ์ กุสตาฟ เรย์ลันเดอร์ (Oscar Gustave Rejlander) (สวีเดน พ.ศ. 2374 - ลอนดอน 18 มกราคม พ.ศ. 2418) เป็นผู้บุกเบิกการถ่ายภาพศิลปะสมัยวิกตอเรีย เขาได้รับการศึกษาจากที่โรม และไปพักอยู่ที่เมือง ลิงคอล์น ในอังกฤษ เขาได้ทิ้งงานแท้ๆของเขาคือ นักวาดภาพและนักวาดรูปย่อคน หลังจากที่เขาเห็นว่าภาพถ่ายสามารถเก็บภาพได้ละเอียด อีกด้านหนึ่งมีผู้อ้างว่าเขาได้รับแรงบันดาลใจจาก Henry Fox Talbot เขาได้ตั้งร้านวาดภาพบุคคลขึ้นที่เมือง wolverhampton ซึ่งเป็นเมืองอุตสาหกรรมในเขตมิดแลนด์ของอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2389 (ค.ศ. 1846) ปี พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) เขาได้เรียนรู้วิธีการทำคอลโลเดียนเปียกได้อย่างรวดเร็วและเปลี่ยนธุรกิจของเขา ไปเป็นธุรกิจทางด้านการถ่ายภาพ เขาทำการทดลองหลายอย่างเพื่อที่จะให้ภาพถ่ายของเขาสมบูรณ์แบบ รวมถึงเทคนิค combination printing ซึ่งคิดว่าเขาอาจจะเป็นคนคิดขึ้นมา เขาเป็นเพื่อนกับชาลส์ ลุตวิดจ์ ดอดจ์สัน ผู้เก็บสะสมงานชิ้นแรกๆ ของเขาและปรึกษากันเรื่องทางเทคนิค หลังจากนั้นเรจลันเดอร์ได้สร้างภาพที่มีชื่อเสี่ยงที่สุดและเปิดเผยที่สุดของดอดจ์สัน งานชิ้นแรก ๆ ของเขานั้นไม่ได้ช่วยทำชื่อเสียงให้กับเขาเท่าไหร่ และเขาได้เข้าร่วมในงาน Paris Exhibition ในปี พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) และในปี พ.ศ. 2400 (ค.ศ. 1857) เขาได้ทำงานลักษณะเปรียบเทียบที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา ที่มีชื่อว่า "The two ways of life" นี่เป็นเทคนิคการต่อภาพแบบไร้รอยจากภาพ 32 ใบ เนื่องด้วยความสำเร็จนี้และด้วยการเป็นสมาชิกของ สมาคมถ่ายภาพหลวงแห่งลอนดอน นั้นได้รับการยอมรับในกรุงลอนดอน เขาย้ายสตูดิโอของเขาไปที่ลอนดอนประมาณปี พ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862) และหลังจากนั้นก็ทดลองเทคนิคการถ่ายภาพซ้อนสอง การประกอบภาพซ้อน การเปลี่ยนแปลงรูปและการตกแต่งภาพ เขาได้กลายเป็นผู้นำทางด้านเทคนิคการถ่ายภาพและเขาสอนเขียนบทความที่โด่งดังด้วย ความคิดและเทคนิคของเรย์ลันเดอร์นั้นได้ถูกใช้โดยนักถ่ายภาพอื่น ๆ และนี่เองที่บ่งบอกว่าเขาเป็นบิดาแห่งวงการถ่ายภาพศิลป์ หมวดหมู่:การถ่ายภาพ หมวดหมู่:นักถ่ายภาพชาวสวีเดน.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและออสการ์ กุสตาฟ เรย์ลันเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อ็องรี การ์ตีเย-แบรซง

อ็องรี การ์ตีเย-แบรซง (Henri Cartier-Bresson) เป็นช่างถ่ายภาพชาวฝรั่งเศส ตอนเด็ก ๆ เขามีกล้องตัวเล็ก ๆ สำหรับถ่ายภาพเล่นแต่สิ่งที่เขาชื่นชอบมากกว่ากลับกลายเป็นการวาดรูป เขาเคยบอกไว้ครั้งหนึ่งว่าการวาดภาพเป็นความหลงใหลใฝ่ฝันของเขา เริ่มตั้งแต่ลุงของเขาได้พาไปเยี่ยมสตูดิโอวาดภาพในช่วงคริสต์มาส เมื่อได้ไปอยู่ ณ ที่นั้น เขารู้สึกราวกับว่าถูกดูดเข้าไปใน Canvas (ผ้าใบที่ใช้วาดภาพ) สิ่งที่สำคัญที่ทำให้อ็องรี การ์ติเยร์-แบรซง สนใจ "ภาพของเด็ก ๆ ผิวดำที่กำลังวิ่งเล่นอยู่กับคลื่นนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้แทบไม่เชื่อว่านี่คือภาพที่ได้มาจากกล้อง มันราวกับชีวิตจริง ๆ " หลังจากนั้นเขาก็หันไปหยิบกล้องและภาพถ่ายอย่างจริงจัง วันหนึ่งในปี..

ใหม่!!: การถ่ายภาพและอ็องรี การ์ตีเย-แบรซง · ดูเพิ่มเติม »

ฮิปโปไลท์ เบยาด

Self-Portrait French, 1847.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและฮิปโปไลท์ เบยาด · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ อีสต์แมน

อร์จ อีสท์แมน ผู้ก่อตั้งบริษัทโกดัก จอร์จ อีสต์แมน (George Eastman, 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1854) - 14 มีนาคม พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1932)) เป็นผู้ประดิษฐ์ฟิล์มม้วนในปี พ.ศ. 2427 และกล้องโกดัก (Kodak) ในปี พ😭😉💕😌👌😩ท นักประดิษฐ์ชาวอเมริกาผู้นี้เป็นผู้ที่เปลี่ยนแปลงการถ่ายภาพจากงานอดิเรกที่แพง และมีผู้คนเพียงเล็กน้อยที่คลั่งไคล้ ให้กลายเป็นงานอดิเรกที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เขาเกิดในเมืองวอเทอร์วิลล์ (Waterville) รัฐนิวยอร์ก และการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง ในปี..

ใหม่!!: การถ่ายภาพและจอร์จ อีสต์แมน · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น เฮอร์เชล

อห์น เฮอร์เชล จอห์น เฮอร์เชล (John Herschel) (7 มีนาคม ค.ศ. 1792-11 พฤษภาคม ค.ศ. 1871) นักคณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นผู้คิดค้นกระบวนการไซยาโนไทป์ (Cyanotype) ที่เป็นต้นแบบของกระบวนพิมพ์เขียว (Blue Print) ที่พัฒนาต่อกันมาใช้ในการทำสำเนาแบบพิมพ์เขียว หรือกระดาษคาร์บอนพิมพ์ดีด ที่ใช้กันในปัจจุบันนี้ เนื่องจากว่าสมัยนั้นการบันทึกข้อมูลต้องเขียนด้วยลายมือ และหากต้องการสำเนาก็ต้องคัดลอกซ้ำให้เหมือนเดิม ทำให้ต้องใช้เวลามากขึ้นไป เฮอร์เชล จึงพยายามคิดวิธีการทำสำเนาขึ้นนั่นเอง ในทางการถ่ายภาพ เป็นผู้แนะนำให้ทัลบอท ผู้คิดค้นกระบวนการถ่ายภาพทัลบอทไทป์ (หรือเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า กระบวเนกาทิฟโพสิทิฟ) ให้ใช้ "ไฮโป" ในการคงสภาพให้ภาพติดถาวร ในยุคแรกของการคงสภาพนั้นใช้น้ำเกลือเข้มข้นในการคงสภาพ นอกจากนั้นยังเป็นผู้บัญญัติศัพท์ที่ใช้ในทางการถ่ายภาพ คือคำว่า "photograph" "negative" และ "positive" จอห์น เฮอร์เชล เป็นลูกชายของวิลเลียม เฮอร์เชล นักดาราศาสตร์ ซึ่งค้นพบดาวยูเรนั.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและจอห์น เฮอร์เชล · ดูเพิ่มเติม »

จิตต์ จงมั่นคง

ตต์ จงมั่นคง ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่ายศิลปะ) เกิดวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2465 ที่ กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาชั้นมัธยม 4 จาก โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก จิตต์ จงมั่นคง เป็นทั้งช่างภาพ และช่างห้องมืด เป็นศิลปินภาพถ่ายที่มีผลงานภาพถ่ายศิลปะมากมาย และทำงานต่อเนื่องมานานกว่า 40 ปี เป็นผู้ที่ได้อุทิศตนให้กับงานด้านภาพถ่ายศิลปะ อย่างแท้จริง มีผลงานได้รับรางวัล และได้รับเกียรติบัตรจากสมาคมถ่ายภาพต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ในปีพุทธศักราช 2538 ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่ายศิลปะ) จิตต์ จงมั่นคง เสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552 ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยอาการโรคหัวใจ เมื่อเวลาประมาณ 14.00 น.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและจิตต์ จงมั่นคง · ดูเพิ่มเติม »

จูเลีย มาร์กาเร็ต คาเมรอน

ูเลีย มาร์กาเร็ต คาเมรอน จูเลีย มาร์กาเร็ต คาเมรอน (11 มิถุนายน ค.ศ. 1815 - 26 มกราคม ค.ศ. 1879) นักถ่ายภาพสมัครเล่นชาวอังกฤษ ซึ่งมีชื่อเสียงในการถ่ายภาพบุคคลผู้ที่มีชื่อเสียงในเวลานั้น รวมถึงเรื่องราวเกี่ยวกับ กษัตริย์อาเธอร์ แห่งอังกฤษ และ ภาพถ่ายเกี่ยวกับ จินตนาการในนวนิยายต่างๆ จูเลีย มีอาชีพถ่ายภาพเพียงระยะเวลาสั้นๆแค่ 12 ปี ในบั้นปลายอายุของเธอเท่านั้น เธอใช้กล้องที่มีเลนส์ไม่ดีนักเพื่อกลบเกลื่อนตำหนิอื่นๆ ก่อนถ่ายภาพเธอได้ศึกษาเกี่ยวกับการประกอบภาพและบุคลิคลักษณะของคน เธอถ่ายภาพโดยมุ่งเน้นด้านบุคลิคภาพเป็นสำคัญ ภาพของเธอเป็นภาพที่แสดง ถึงอารมณ์ต่างๆตามธรรมชาติของแต่ละคน ให้เป็นจริงไม่ใช่เป็นการแสร้งหรือฝืนทำ.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและจูเลีย มาร์กาเร็ต คาเมรอน · ดูเพิ่มเติม »

ทองแดง

ทองแดง (Copper) คือธาตุที่มีเลขอะตอม 29 และสัญลักษณ์คือ Cu ทองแดงอยู่ในตารางธาตุหมู่ 29 เป็นที่ทราบกันว่ามนุษย์ใช้ประโยชน์จากทองแดงมาไม่น้อยกว่า 10,000 ปี พบหลักฐานว่ามนุษย์สามารถหลอมสกัดทองแดงให้บริสุทธิ์ได้เมื่อประมาณ 5000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่มนุษย์จะรู้จักกับทองคำ โดยมนุษย์รู้จักทองคำ เมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและทองแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปรอท

ปรอท (Mercury; Hydragyrum) เป็นธาตุเคมีสัญลักษณ์ Hg และเลขอะตอมเท่ากับ 80 รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ควิกซิลเวอร์ (quicksilver) และมีชื่อเดิมคือ ไฮดราเจอรัม (hydrargyrum) ปรอทเป็นโลหะหนักสีเงินในบล็อก-d เป็นธาตุโลหะชนิดเดียวที่เป็นของเหลวในที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน ธาตุอื่นอีกธาตุหนึ่งที่เป็นของเหลวภายใต้สภาวะเช่นนี้คือ โบรมีน แม้ว่าโลหะอย่างซีเซียม แกลเลียม และรูบิเดียมจะละลายที่อุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิห้อง ปรอทพบได้ทั่วโลก ส่วนใหญ่พบในรูปซินนาบาร์ (เมอร์คิวริกซัลไฟด์) เมอร์คิวริกซัลไฟด์บริสุทธิ์เป็นผงสีแดงชาด ได้จากปฏิกิริยาของปรอท (เกิดจากรีดักชันจากซินนาบาร์) กับกำมะถัน หากสัมผัส สูดดมไอ หรือทานอาหารทะเลที่ปนเปื้อนปรอทที่ละลายน้ำ (เช่น เมอร์คิวริกคลอไรด์ หรือเมธิลเมอร์คิวรี) อาจเกิดเป็นพิษได้ ปรอทมักใช้ประโยชน์ในเทอร์โมมิเตอร์ บารอมิเตอร์ มาโนมิเตอร์ สฟิกโมมาโนมิเตอร์ โฟลตวาล์ว สวิตช์ปรอท ปรอทรีเลย์ หลอดฟลูออเรสเซนต์ และอุปกรณ์อื่น ๆ แม้ว่ายังมีประเด็นเรื่องพิษที่อาจทำให้เทอร์โมมิเตอร์และสฟิกโมมาโนมิเตอร์ไม่ถูกนำมาใช้อีก แต่จะใช้แอลกอฮอล์ หรือแก้วที่เติมกาลินสแตน หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นเทอร์มิสเตอร์ หรืออินฟราเรดแทน เช่นเดียวกัน สฟิกโมมาโนมิเตอร์ถูกแทนด้วยเกจความดันเชิงกลและเกจรับความตึงอิเล็กทรอนิกส์ ปรอทยังคงมีใช้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และสารอะมัลกัมสำหรับอุดฟันในบางท้องที่ ปรอทนำมาใช้ผลิตแสงสว่าง กล่าวคือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านไอปรอทในหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์จะสร้างแสงอัลตราไวโอเลตคลื่นสั้น ก่อให้เกิดฟอสเฟอร์ ทำให้หลอดเรืองแสง และเกิดเป็นแสงสว่างขึ้นม.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและปรอท · ดูเพิ่มเติม »

นาดาร์

Nadar (self-portrait) นาดาร์ (Nadar) หรือ กัสปาร์ด-เฟลิกซ์ ตูร์นาคง (Gaspard-Félix Tournachon) (6 เมษายน พ.ศ. 2363 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2453) ไม่ได้เป็นที่รู้จักเฉพาะงานที่เกี่ยวกับการถ่ายภาพเท่านั้น เขายังเป็นที่รู้จักในความมีพรสวรรค์ของเขาในด้าน นักวารสาร, นักแต่งนวนิยาย, นักประดิษฐ์บอลลูน และนักสังคม เขาเป็นชาวฝรั่งเศสผู้ที่แม้ว่าจะเริ่มต้นอย่างต่ำต้อยแต่เขาก็ก้าวสู่ระดับของสังคมที่สูงขึ้นได้.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและนาดาร์ · ดูเพิ่มเติม »

นิคอน

นิคอน คอร์ปอเรชัน เป็นบริษัทอุปกรณ์ทางด้านภาพในญี่ปุ่น ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของบริษัทนี้ ได้แก่ กล้องถ่ายภาพ กล้องส่องทางไกล กล้องจุลทรรศน์ อุปกรณ์การวัด รวมถึงแว่นสายตา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2460 โดยใช้ชื่อ นิปปง โคงะกุ โคเงียว ก่อนจะเปลี่ยนเป็นชื่อในปัจจุบัน ปัจจุบันนิคอน คอร์ปอเรชัน เป็นบริษัทหนึ่งในเครือ มิตซูบิชิ กรุ๊ป.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและนิคอน · ดูเพิ่มเติม »

นีเซฟอร์ เนียปส์

นีเซฟอร์ เนียปส์ (Nicéphore Niépce) ชื่อเกิด โฌแซ็ฟ เนียปส์ (Joseph Niépce; 7 มีนาคม 1765 - 5 กรกฎาคม 1833) เป็นนักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ที่ได้ชื่อว่ามีส่วนในการบุกเบิกการถ่ายภาพ เนียปส์เกิดในเมืองชาลง-ซูร์-โซน (Chalon-sur-Saône) ในเขตจังหวัดโซเนลัวร์ปัจจุบัน บิดาเป็นทนายผู้มีฐานะ เขามีพี่ชาย 1 คน ชื่อ โกลด (1763-1828) มีน้องสาว 1 คน และน้องชายอีก 1 คน เมื่ออายุได้ 21 ปี เนียปส์ได้ศึกษาที่ Oratorian Brothers เมืองอ็องเฌ ในสาขาวิชาฟิสิกส์และเคมี เมื่อจบการศึกษาแล้ว เนียปส์จึงกลับมาเรียนวิชาการทหาร (National Guard) ที่เมืองชาลง-ซูร์-โซน บ้านเกิด ในปี 1789 เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสขึ้น เนียปส์ได้ถูกประจำการเป็นทหารอยู่ที่ซาร์ดิเนีย และผลจากการปฏิวัติครั้งนี้ทำให้ทรัพย์สินของครอบครัวส่วนใหญ่เสียหาย แต่ครอบครัวของเขามีบ้านหลังหนึ่งอยู่ใกล้หมู่บ้านชาลง-ซูร์-โซน ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส หลังจากที่เนียปส์ได้ออกจากราชการทหารในปี 1794 เขาแต่งงานกับแอกเนส โรเมโร่ (Agnes Romero) และย้ายมาอยู่ที่เมืองนี้ เมื่อแต่งงานไปได้ 1 ปี ภรรยาของเขาก็ให้กำเนิดบุตร ตั้งชื่อว่า อีซีดอร์ (Isidore; ภายหลังร่วมมือกับหลุยส์ ดาแกร์ ผู้คิดค้น กระบวนการดาแกโรไทป์ เพื่อพัฒนางานถ่ายภาพ) ในขณะนั้น เนียปส์ใช้เวลาในการค้นคว้าทำการทดลองเกี่ยวกับการบันทึกภาพไปด้วย เนียปส์เสียชีวิตในปี 1833 ในสภาพบุคคลล้มละล.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและนีเซฟอร์ เนียปส์ · ดูเพิ่มเติม »

แม็ทธิว เบรดี

แม็ทธิว เบรดี (Mathew B. Brady; ค.ศ. 1822 – 15 มกราคม ค.ศ. 1896) เป็นช่างภาพชาวอเมริกันผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งภาพถ่ายเชิงสารคดี (photojournalism) เบรดีมีชื่อเสียงจากการถ่ายภาพเหมือนของบุคคลสำคัญๆ และภาพสารคดีจากสงครามกลางเมืองอเมริกัน เบรดีเกิดเมื่อปี..

ใหม่!!: การถ่ายภาพและแม็ทธิว เบรดี · ดูเพิ่มเติม »

แสง

ปริซึมสามเหลี่ยมกระจายลำแสงขาว ลำที่ความยาวคลื่นมากกว่า (สีแดง) กับลำที่ความยาวคลื่นน้อยกว่า (สีม่วง) แยกจากกัน แสง (light) เป็นการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในบางส่วนของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า คำนี้ปกติหมายถึง แสงที่มองเห็นได้ ซึ่งตามนุษย์มองเห็นได้และทำให้เกิดสัมผัสการรับรู้ภาพ แสงที่มองเห็นได้ปกตินิยามว่ามีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 400–700 นาโนเมตร ระหวางอินฟราเรด (ที่มีความยาวคลื่นยาวกว่าและมีคลื่นแคบกว่านี้) และอัลตราไวโอเล็ต (ที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่าและมีคลื่นกว้างกว่านี้) ความยาวคลื่นนี้หมายถึงความถี่ช่วงประมาณ 430–750 เทระเฮิรตซ์ ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดแสงหลักบนโลก แสงอาทิตย์ให้พลังงานซึ่งพืชสีเขียวใช้ผลิตน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ในรูปของแป้ง ซึ่งปลดปล่อยพลังงานแก่สิ่งมชีวิตที่ย่อยมัน กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงนี้ให้พลังงานแทบทั้งหมดที่สิ่งมีชีวิตใช้ ในอดีต แหล่งสำคัญของแสงอีกแหล่งหนึ่งสำหรับมนุษย์คือไฟ ตั้งแต่แคมป์ไฟโบราณจนถึงตะเกียงเคโรซีนสมัยใหม่ ด้วยการพัฒนาหลอดไฟฟ้าและระบบพลังงาน การให้แสงสว่างด้วยไฟฟ้าได้แทนแสงไฟ สัตว์บางชนิดผลิตแสงไฟของมันเอง เป็นกระบวนการที่เรียก การเรืองแสงทางชีวภาพ คุณสมบัติปฐมภูมิของแสงที่มองเห็นได้ คือ ความเข้ม ทิศทางการแผ่ สเปกตรัมความถี่หรือความยาวคลื่น และโพลาไรเซชัน (polarization) ส่วนความเร็วในสุญญากาศของแสง 299,792,458 เมตรต่อวินาที เป็นค่าคงตัวมูลฐานหนึ่งของธรรมชาติ ในวิชาฟิสิกส์ บางครั้งคำว่า แสง หมายถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในทุกความยาวคลื่น ไม่ว่ามองเห็นได้หรือไม่ ในความหมายนี้ รังสีแกมมา รังสีเอ็กซ์ ไมโครเวฟและคลื่นวิทยุก็เป็นแสงด้วย เช่นเดียวกับแสงทุกชนิด แสงที่มองเห็นได้มีการเแผ่และดูดซํบในโฟตอนและแสดงคุณสมบัติของทั้งคลื่นและอนุภาค คุณสมบัตินี้เรียก ทวิภาคของคลื่น–อนุภาค การศึกษาแสง ที่เรียก ทัศนศาสตร์ เป็นขอบเขตการวิจัยที่สำคัญในวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่) ^~^.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและแสง · ดูเพิ่มเติม »

โฟโตกราวัวร์

Photogravure เกิดขึ้นในปี..

ใหม่!!: การถ่ายภาพและโฟโตกราวัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ ไฮน์ริช ชูลซ์

ันน์ ไฮน์ริช ชูลซ์ โยฮันน์ ไฮน์ริช ชูลซ์ (Johann Heinrich Schultz) (พ.ศ. 2227 - พ.ศ. 2287) เป็นผู้ค้นพบเคมีภัณฑ์ทางการถ่ายภาพ เป็นศาสตราจารย์ทางด้านกายวิภาคศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยอัลทอร์ฟ (Altrof) อยู่ใกล้ ๆ กับเมืองนูเรมเบอร์ก เยอรมนี ชูลซ์เป็นศาสตราจารย์ชาวเยอรมันสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยอัลทอร์ฟ ซึ่งการทดลองของเขาได้เป็นสิ่งที่ปูทางให้แก่การถ่ายภาพในวันข้างหน้า ถึงแม้ว่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าสารเคมีที่มีอยู่นั้นจะมีสีดำขึ้นเมื่อถูกแสงอาทิตย์ แต่มันก็ยังไม่สารเคมีด้านที่ไม่โดนแสงจะหลงเหลือส่วนที่เป็นสีขาวเขาได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการวิเคราะห์ของเอาแต่มันไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนักจนกระทั่งเขาเสียชีวิตลง เขาได้บรรยายในหนังสือเอาไว้ว่า ชูลท์คิดว่ามันเป็นไปได้ที่จะทาสารละลายไปบนหนัง กระดูก ไม้ เพื่อทำให้เกิดภาพขึ้น ในที่สุดภาพที่เกิดขึ้นเหล่านั้นก็จางหายไป การทดลองของเขาไม่ประสบผลสำเร็จเวลานั้นยังไม่มีทางที่จะทำให้ภาพสเตนซิลเหล่านี้เกิดขึ้นถาวรได้ การทำให้เกิดเกลือโลหะเงินสีดำ (Black Metallic Silver) ของชูลท์นั้นพิสูจน์ให้เห็นความจริงได้ในปัจจุบัน จากการสังเกตของชูลท์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ เขาส่งสิ่งที่ค้นพบเหล่านั้นไปยัง Nurnberg Imperial Academy แต่ก็ยังไม่มีการนำหลักการนี้มาใช้หรือพิจารณากันในเวลานั้น แต่ก็เป็นผลดีต่อการคิดค้นทางการถ่ายภาพ ในปี..

ใหม่!!: การถ่ายภาพและโยฮันน์ ไฮน์ริช ชูลซ์ · ดูเพิ่มเติม »

โจฮันน์ เฮนริช ชูลท์

ันน์ เฮนริช ชูลท์ (Johann Heinrich Schultz).

ใหม่!!: การถ่ายภาพและโจฮันน์ เฮนริช ชูลท์ · ดูเพิ่มเติม »

โจเซฟ แมกซิมิเลียน เพทช์วอล

ซฟ แมกซิมิเลียน เพทช์วอล (Jozef Maximilián Petzval Josef, Maximilian Petzval, Petzvál József Miksa) (6 มกราคม พ.ศ. 2350 – 17 กันยายน พ.ศ. 2434) เพทช์วอล เกิดในฮังการี เขาได้เข้ารับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแห่งบูดาเปสต์ ที่นั่นเขาได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้สอนบรรยายวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2378 (ค.ศ. 1835) และในปี พ.ศ. 2380 (ค.ศ. 1837) เขาได้ย้ายไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยแห่งกรุงเวียนนา กล้อง Dagurre ได้ถูกเรียกว่า “Wollaston – Chevalies” เลนส์ด้วยเช่นกัน เลนส์ชนิดนี้ได้ถูกใช้ได้จริงกับกล้อง Daguerrotype แต่เลนส์ไม่มีความสามารถมากพอสำหรับช่องรับแสงที่ f/17และไม่มีทีเดียวที่จะได้รับความสะดวกว่องไวและคมชัดที่ดีพอในขณะที่เปิดช่องรับแสง เพทช์วอล ได้ออกแบบเลนส์ชนิดใหม่มา 2 ชน.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและโจเซฟ แมกซิมิเลียน เพทช์วอล · ดูเพิ่มเติม »

โทมัส เวดจ์วู้ด

Thomas Wedgwood โทมัส เวดจ์วู้.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและโทมัส เวดจ์วู้ด · ดูเพิ่มเติม »

ไพบูลย์ มุสิกโปดก

ูลย์ มุสิกโปดก ไพบูลย์ มุสิกโปดก (15 พฤษภาคม พ.ศ. 2460 ที่จังหวัดเชียงใหม่ — 27 มิถุนายน 2551) เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่ายศิลปะ) สร้างผลงานต่อเนื่องมากกว่า 45 ปี โดยผลงานจะเน้นเรื่องวัฒนธรรม ที่มีสาระและความสุนทรีย์ ทำให้ผู้ชมเกิดอารมณ์สะเทือนใจ และอิ่มเอมกับความงามของภาพแต่ละชุด จนได้รับรางวัลยอดเยี่ยมและรางวัลเหรียญทองภาพถ่ายจากต่างประเทศถึง 11 รางวัล และได้รับยกย่องเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมสาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่าย)..

ใหม่!!: การถ่ายภาพและไพบูลย์ มุสิกโปดก · ดูเพิ่มเติม »

ไลก้า

ลก้า อาจหมายถึง.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและไลก้า · ดูเพิ่มเติม »

ไอโอดีน

อโอดีน (อังกฤษ:Iodine) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 53 และสัญลักษณ์คือ I ไอโอดีน (เป็นคำในภาษากรีก Iodes, มีความหมายว่า "สีม่วง") เป็นธาตุที่ไม่ละลายน้ำ มีความจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต สมบัติทางเคมีของไอโอดีนมีความไวน้อยกว่าธาตุในกลุ่มฮาโลเจนด้วยกัน ไอโอดีนมีประโยชน์ในทางการแพทย์ การถ่ายภาพ และสีย้อมผ้า ไอโอดีนสามารถระเหิดได้ โครงสร้างอะตอมของไอโอดีน (2-8-18-18-7).

ใหม่!!: การถ่ายภาพและไอโอดีน · ดูเพิ่มเติม »

ไดโอรามา

Diorama ภาพ flatboat ในการเก็บถาวรของเด็กพิพิธภัณฑ์ของอินเดียแนโพลิ ไดโอรามา คือ อุปกรณ์ที่ใช้โชว์ที่กล่าวถึงอุปกรณ์ในละครถึงสิ่งที่เคลื่อนที่ได้ถูกต้อง คือ การใช้หลักจำลองแบบ 3 มิติ ที่โดยปกติจะห่อหุ้มและเก็บไว้ในตู้โชว์ในพิพิธภัณฑ์ ดาแกรี่ ไดโอรามา แบบพื้นและหน้าตัดสำหรับไดโอรามาในลอนดอน ไดโอรามาเป็นที่นิยมในสถานบันเทิงในปารีส อังกฤษ สก๊อตแลนด์และไอร์แลนด์ ตั้งแต่ปี 1822 - 1880 และเป็นทางเลือกซึ่งเป็นที่นิยม "ทัศนียภาพทั้งหมด" ไดโอรามา คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับโรงละครโดยมุมมองของคนดูที่อยู่ในที่สูงและในชั้นพิเศษในโรงละคร ที่มีผู้ชมกว่า 350 คน ในแฟ้มเอกสารมุมมองของภูมิทัศมันสามารถเปลี่ยนภาพลักษณ์ของทั้งสองและในการแสดงละคร ที่ยืนอยู่แม้ว่าจะมีที่นั่งจำกัดหรือที่จัดหาไว้ให้ในการแสดงล่าสุด 10 - 15 นาที ก่อนหน้าที่เวลาที่ผู้ชมทั้งหมดจะเข้ามาโดยทำมุมมองทั้งสองมุมมอง ซึ่งต่อมาเป็นต้นแบบสำหรับโรงภาพยนตร์ไดโอรามา 3 มิติ ขนาดและสัดส่วนของหน้าเวที คือ กว้าง 24 ฟุต สูง 21 ฟุต (7.3*6.4 เมตร) โดยจะทำฉากและสีด้วยมือ คือ การทำให้มันโปร่งใสโดยเลือกพื้นที่ที่จะทำให้โปร่งใสและในเรื่องที่มีขั้นตอนมาก ๆ จะจัดเตรียมแผ่นลินินในส่วนของความลึกและทำให้สว่างโดยใช้แสงไฟเป็นตัจัดการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของแสงที่แสงทำงานเต็มที่จะทำให้ฉากเปลี่ยนไปโดยผลกระทบที่เกิดจากการจะทำด้วยความประณีต ทำให้นักวิจารณ์และผู้ชมประหลาดใจและเชื่อในสิ่งที่กำลังดูฉากที่เป็นธรรมชาติอยู่ นักประดิษฐ์และเจ้าของลิขสิทธิ์ของไดโอรามา คือ ลุย ฌัก ม็องเด ดาแกร์ (ในปี 1789-1815) ก่อนหน้านี้ผู้ตกแต่และผู้ผลิตกระจกสำหรับสีภูมิทัศน์และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบด้านสีของด้านเทตนิคเวทีให้เข้าใจก่อน ต่อมาดาแกรี่ได้รับเป็นที่ปรึกษาของดาแกโรไทป์เป็นที่แรกและใช้อย่างกว้างขวางสำหรับวิธีการ.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและไดโอรามา · ดูเพิ่มเติม »

เฟรดเดอริค สก็อต อาร์เชอร์

ฟรดเดอริค สก็อต อาร์เชอร์ เฟรดเดอริค สุรยุท อาร์เชอร์ (Frederick Scott Archer) เป็นที่รู้จักของสาธารณชนในฐานะนักประดิษฐ์คนแรกแห่งวงการภาพถ่าย ที่คิดค้น "กระบวนการเพลทเปียก"(wet collodion) ซึ่งได้รับความนิยมจากช่างภาพทั่วไปยาวนานถึง 300 ปี เกือบทั้งชีวิตของอาร์เชอร์ แทบไม่มีเอกสารอะไรที่บันทึกเรื่องราวของเขาไว้เลย หลังจากที่เขาเสียชีวิตลง เรื่องราวชีวิตบางส่วนของเขาได้ถูกเล่าโดยภรรยาของเขา Fanny G. Archer อาร์เชอร์ทุ่มเทให้กับการทำงานเป็นอย่างมาก ผลจากการที่ลงทุนลงแรงและหักโหมมากจนเกินไป ทำให้ชีวิตของเขาค่อนข้างลำบาก ด้วยเหตุนี้เองสุขภาพร่างกายของเขาจึงค่อนข้างอ่อนแอ และได้เสียชีวิตลงในที.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและเฟรดเดอริค สก็อต อาร์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เลนส์ถ่ายภาพ

ลนส์ถ่ายภาพ เป็นส่วนประกอบหนึ่งของกล้องถ่ายภาพ ใช้สำหรับเป็นกลไกหนึ่ง ในการให้แสงสะท้อนกับวัตถุส่งผ่านเข้ามาสู่ในกล้อง เลนส์ถ่ายภาพมีหลายแบบทั้งแบบที่ ติดตั้งกับกล้อง และแบบที่สามารถแยกชิ้นส่วนออกมาได้ และสามารถปรับเปลี่ยน รูรับแสง ความยาวโฟกัส และคุณสมบัติอื่นๆ ประเภทของเลนส์ แบ่งได้ 6 ชนิด - เลนส์ปกติ (Normal Lens, Standard Lens) เป็นเลนส์ที่มีความสามารถรับภาพได้ ขนาดเท่ากับที่ตามนุษย์มองเห็น ไม่ว่าจะเป็นด้านกว้างหรือด้านยาว รวมทั้งระยะความใกล้ไกลพอ ๆ กับการรับรู้ทางตา ของมนุษย์ - เลนส์มุมกว้าง (Wide Field lens, Wide Angle Lens, Short lens) เป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสั้นกว่าเลนส์มาตรฐาน หรือเลนส์ที่ใช้ถ่ายภาพปกติธรรมดาทั่ว ๆ ไป ฉะนั้น การใช้เลนส์มุมกว้างถ่ายภาพจึงครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่าเลนส์ทั่วไป และยังได้ระยะชัดลึกตลอดทั้งภาพ - เลนส์มุมแคบ (Narrow Angle Lens) หรือเรียกว่าเทเลโฟโต้ (Telephoto Lens) เลนส์ชนิดนี้มีความยาวโฟกัสยาวกว่าเลนส์ธรรมดา และมีมุมถ่ายภาพ แคบมาก จึงทำให้ภาพที่ได้มีขนาดใหญ่กว่าภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ปกติ - เลนส์ตาปลา (Fisheye Lens) เป็นเลนส์ที่มีลักษณะคล้ายตาของปลาที่ว่ายอยู่ในน้ำ กินมุมในระยะถ่ายภาพได้กว้างมากถึง 180 องศา มากกว่าเลนส์ทุกชนิด - เลนส์ซูม (Zoom Lens) เป็นเลนส์ที่สามารถเปลี่ยนความยาวโฟกัสได้หลายค่าในตัวเดียวกัน คือ เป็นทั้งเลนส์มุมกว้าง เลนส์มาตรฐาน และเลนส์ถ่ายไกล ในตัวเดียวกัน - เลนส์มาโคร (Macro Lens) เป็นเลนส์ที่ใช้ถ่ายวัตถุขนาดเล็กมาก ๆ ขยายให้ใหญ่ขึ้นได้คล้ายกับเลนส์ถ่ายใกล้ แต่เลนส์มาโครนี้เป็นเลนส์ที่สามารถถ่ายภาพวัตถุที่อยู่ใกล้มาก ๆ ประมาณ 1 - 1.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและเลนส์ถ่ายภาพ · ดูเพิ่มเติม »

เฮนรี พีช โรบินสัน

นรี พีช โรบินสัน (Henry Peach Robinson) (9 กรกฎาคม ค.ศ. 1830 - 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1901) คือผู้บุกเบิกการถ่ายภาพประกอบ หรือเรียกได้ว่าเป็นดั่งราชาแห่งการถ่ายภาพและเป็นหนึ่งในช่างภาพที่เก่งที่สุดของยุคนั้น เฮนรี พีช โรบินสันเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อวงการช่างภาพและการถ่ายภาพมากที่สุด จนกระทั่งถึงยุคของ ปีเตอร์ เฮนรี อีเมอร์สัน (Peter Henry Emerson) ผู้บุกเบิกการถ่ายภาพแบบ naturalistic เฮนรี พีช โรบินสันได้รับอิทธิพลมากมายจากภาพเขียนและงานเขียนมากมายของ J.M.W.Turner เมื่ออายุได้ 19 ปีเข้าจึงเริ่มสร้างงานศิลปะ และจัดแสดงนิทรรศการภาพวาดจากสีน้ำมันครั้งแรกที่ The Royal Academy of Art ในปี ค.ศ. 1852 ปี..1852 เขาเริ่มถ่ายภาพ 5 ปีให้หลัง เขาจึงตัดสินใจเปิดสตูดิโอส่วนตัวเพื่อขายภาพ portraits ที่ Lemington และยังได้ก่อตั้งสตูดิโอที่ Kent อีกด้วย ต่อมา ในปี..

ใหม่!!: การถ่ายภาพและเฮนรี พีช โรบินสัน · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์

เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ นักฟิสิกส์ เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ (James Clerk Maxwell พ.ศ. 2374-2422) นักฟิสิกส์ เกิดที่เมืองเอดินเบิร์ก สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร ได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเอดินเบิร์กและเคมบริดจ์ และเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยอาเบอร์ดีน (พ.ศ. 2399) และมหาวิทยาลัยลอนดอน (พ.ศ. 2403) แมกซ์เวลล์เป็นศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์เชิงทดลอง (Experimental Physics) คนแรกของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (พ.ศ. 2414) โดยเป็นผู้ก่อตั้งห้องทดลองคาเวนดิช (Cavendish Laboratory) ที่มีชื่อเสียง แมกซ์เวลล์ได้ตีพิมพ์หนังสือเล่มสำคัญชื่อ "เรื่องราวว่าด้วยไฟฟ้าและแม่เหล็ก" (Treatise on Electricity and magnetism) ในปี พ.ศ. 2416 ซึ่งเป็นการให้วิธีการทางคณิตศาสตร์เพื่ออธิบายทฤษฎีของฟาราเดย์เกี่ยวกับไฟฟ้าและแรงของแม่เหล็ก นอกจากนี้ แมกซ์เวลล์ยังได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับการมองเห็นสี จลนะ หรือ การเคลื่อนไหวของก๊าซ แต่งานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาได้แก่ทฤษฎีว่าด้วยการแผ่รังสีของแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งทำให้แมกซ์เวลล์ได้รับการยกย่องให้เป็นนักทฤษฎีฟิสิกส์ชั้นนำแห่งศตวรรษ จเมส์ คเลิร์ก มแกซ์วเลล์ จเมส์ คเลิร์ก มแกซ์วเลล์ หมวดหมู่:บุคคลจากเอดินบะระ.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและเจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เงิน (โลหะ)

งิน (silver) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 47 และสัญลักษณ์คือ Ag (άργυρος árguros, Argentum) เงินเป็นโลหะทรานซิชันสีขาวเงิน มีสมบัติการนำความร้อนและไฟฟ้าได้ดีมาก ในธรรมชาติอาจรวมอยู่ในแร่อื่นๆ หรืออยู่อิสระ เงินใช้ประโยชน์ในการทำเหรียญ เครื่องประดับ ภาชนะบนโต๊ะอาหาร และอุตสาหกรรมการถ่ายรูป มีผู้ค้นพบคือ โรเบิร์ต แบนฟอตร.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและเงิน (โลหะ) · ดูเพิ่มเติม »

Pictorialism

Pictorialism เป็นความเคลื่อนไหวในวงการถ่ายภาพช่วงราวๆ ปี ค.ศ. 1885 ทำให้เกิดแนวทางในการใช้กระบวนการ Dry-Plate อย่างกว้างขวาง ซึ่งได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และลดความนิยมลงอย่างรวดเร็วหลังปี 1914 หลังจากการได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางของศิลปะสมัยใหม่ โดยทั่วไปแล้ว Pictorialism เป็นส่วนหนึ่งของแนวความคิดการถ่ายภาพศิลปะที่ต้องการให้ภาพถ่ายเหมือนเป็นภาพวาด และรูปสลัก ส่วนมากของรูปภาพเหล่านี้เป็นสีขาว-ดำ หรือซีเปียในวิธีการถ่ายภาพ เป็นการใช้โฟกัสต่ำ ซอฟต์โฟกัส ฟิลเตอร์พิเศษ และเคลือบผิวเลนส์ ขั้นตอนหลาย ๆ ขั้นตอนในห้องมืดที่ใช้ล้างฟิล์ม และกระบวนการการพิมพ์ที่มาจากต่างประเทศ กระดาษอัดรูปที่มีพื้นผิวขรุขระ ได้ถูกเพิ่มเข้ามาใช้เป็นองค์ประกอบของรูป เพื่อเบรกความชัดเจนของรูปให้น้อยลง เพื่อการบรรลุผลงานของศิลปินทั้งหลาย Pictorialists ใช้เทคนิคแตกต่างกันไป อย่างเช่น.

ใหม่!!: การถ่ายภาพและPictorialism · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Photographyการถ่ายรูปถ่ายภาพถ่ายรูปงานถ่ายภาพ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »