โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การตรวจสถานที่เกิดเหตุ

ดัชนี การตรวจสถานที่เกิดเหตุ

การตรวจสถานที่เกิดเหตุ (Crime Scene Investigation) เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ในประเทศไทยกำหนดให้การตรวจสถานที่เกิดเหตุเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำหน้าที่พนักงานสอบสวน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองพิสูจน์หลักฐาน ที่จะดำเนินการตรวจหาวัตถุพยานหรือพยานทางกายภาพอื่น ๆ เมื่อเกิดอาชญากรรมขึ้นในทุกกรณีรวมทั้งการตายด้วย ซึ่งในอนาคตถ้าหากระบบนิติเวชศาสตร์ในประเทศไทยมีการปรับเปลี่ยนไปจากเดิม แพทย์อาจจะต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุในกรณีที่มีการตายก็ได้.

17 ความสัมพันธ์: กฎหมายการชันสูตรพลิกศพการผ่าศพทางนิติเวชศาสตร์การข่มขืนกระทำชำเราวิทยุสื่อสารสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจสถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติหิมะหนังสือพิมพ์อาชญากรรมอาวุธตำรวจประเทศไทยนักข่าวแพทย์โทรศัพท์เลือด

กฎหมาย

กฎหมาย เป็นระบบของกฎและแนวทางปฏิบัติซึ่งบังคับใช้ผ่านสถาบันทางสังคมเพื่อควบคุมพฤติกรรม ในทุกที่ที่เป็นไปได้ กฎหมายก่อร่างการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคมในหลายวิถีทาง และใช้เป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางสังคม กฎหมายสัญญาวางระเบียบทุกอย่างตั้งแต่การซื้อตั๋วรถโดยสารประจำทางถึงการซื้อขายบนตลาดตราสารอนุพันธ์ กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินนิยามสิทธิและหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนและกรรมสิทธิ์ของสังหาชิดมทรัพย์ส่วนตัวและอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายทรัสต์ (Trust law) ใช้กับสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อการลงทุนและความมั่นคงทางการเงิน ขณะที่กฎหมายละเมิด (tort) อนุญาตให้เรียกร้องให้มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากสิทธิหรือทรัพย์สินของบุคคลได้รับความเสียหาย หากความเสียหายนั้นถูกประกาศว่า มิชอบด้วยกฎหมายในบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎหมายอาญาให้วิธีการซึ่งรัฐสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดกรอบสำหรับการบัญญัติกฎหมาย การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการเลือกตั้งผู้แทนทางการเมือง กฎหมายปกครองใช้เพื่อทบทวนการวินิจฉัยของหน่วยงานภาครัฐ ขณะที่กฎหมายระหว่างประเทศควบคุมกิจการระหว่างรัฐเอกราชในกิจกรรมตั้งแต่การค้าไปจนถึงระเบียบทางสิ่งแวดล้อมหรือการปฏิบัติทางทหาร นักปรัชญากรีก อริสโตเติล เขียนไว้เมื่อ 350 ปีก่อนคริสตกาลว่า "นิติธรรมดีกว่าการปกครองของปัจเจกบุคคลใด ๆ" ระบบกฎหมายกล่าวถึงสิทธิและความรับผิดชอบในหลายวิถีทาง ความแตกต่างทั่วไปสามารถตัดสินได้ระหว่างเขตอำนาจซีวิลลอว์ ซึ่งประมวลกฎหมายของตน และระบบคอมมอนลอว์ ที่ซึ่งผู้พิพากษาบัญญัติกฎหมายนั้นไม่ถูกรวบรวม ในบางประเทศ ศาสนาเป็นที่มาของกฎหมาย กฎหมายเป็นบ่อเกิดอันมีคุณค่าของการสอบสวนอย่างคงแก่เรียน ไปยังประวัติศาสตร์กฎหมาย ปรัชญา การวิเคราะห์เศรษฐกิจหรือสังคมวิทยา กฎหมายยังยกประเด็นที่สำคัญและซับซ้อนเกี่ยวข้องกับความเสมอภาค ความเป็นธรรมและความยุติธรรม ผู้ประพันธ์ อานาตอล ฟร็องส์ กล่าวใน..

ใหม่!!: การตรวจสถานที่เกิดเหตุและกฎหมาย · ดูเพิ่มเติม »

การชันสูตรพลิกศพ

การชันสูตรพลิกศพ (Autopsy) คือการตรวจพิสูจน์เพื่อดูสภาพศพแต่เพียงภายนอก ค้นหาสาเหตุและพฤติการณ์ที่ตายว่าผู้ตายคือใคร ตายเมื่อใด ถ้าตายโดยคนทำร้าย สงสัยว่าใครเป็นผู้กระทำความผิดที่ทำให้เกิดการตายตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 129 ความว่า "ให้ทำการสอบสวนรวมทั้งการชันสูตรพลิกศพในกรณีที่ความตายเป็นผลแห่งการกระทำผิดอาญาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการชันสูตรพลิกศพ ถ้าการชันสูตรพลิกศพยังไม่เสร็จ ห้ามมิให้ฟ้องผู้ต้องหายังศาล" ซึ่งตามกฎหมายมีความมุ่งหมายให้แพทย์และพนักงานสอบสวนดำเนินการตรวจสอบในสถานที่พบศพ ยกเว้นแต่ว่าการชันสูตรพลิกศพ เพื่อตรวจดูสภาพศพในสถานที่เกิดเหตุนั้น อาจเป็นเหตุทำให้การจราจรติดขัดมาก อาจกลายเป็นสถานที่อุดจาตาจากสภาพศพ หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนทั่วไป แพทย์และพนักงานสอบสวนย่อมมีสิทธิ์ที่จะสามารถเคลื่อนย้ายศพ เพื่อนำไปทำการชันสูตรพลิกศพยังสถานที่อื่นที่เหมาะสมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 148 ความว่า "เมื่อปรากฏแน่ชัดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลใดตายโดยผิดธรรมชาติ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานให้มีการชันสูตรพลิกศพ เว้นแต่ตายโดยการประหารชีวิตตามกฎหมาย"มาตรา 148 การชันสูตรพลิกศพ, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, ร..ต.อ หญิง นัยนา เกิดวิชัย, สำนักพิมพ์นิตินัย, 2550 อาจเห็นได้ว่าสภาพการจราจรในปัจจุบันก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางด้านจราจรเป็นจำนวนมาก เกือบทุกรายที่ประสบอุบัติเหตุจะเสียชีวิต จึงจำเป็นที่จะต้องเคลื่อนย้ายศพจากสถานที่เกิดเหตุเพื่อไปทำการชันสูตรพลิกศพและตรวจสอบสาเหตุการตายในสถานที่อื่นเช่น สถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งก็มักจะเป็นสถานที่ที่ใช้ในการผ่าศพนั่นเอง.

ใหม่!!: การตรวจสถานที่เกิดเหตุและการชันสูตรพลิกศพ · ดูเพิ่มเติม »

การผ่าศพทางนิติเวชศาสตร์

การผ่าศพทางนิติเวชศาสตร์ (Forensic Autopsy) เป็นการผ่าศพเพื่อศึกษาหาสาเหตุการตายเช่นเดียวกับการผ่าศพทางพยาธิวิทยา (Pathological Autopsy) คือแพทย์จะเริ่มตั้งแต่การตรวจสภาพศพภายนอก วิเคราะห์และตรวจสอบบาดแผลที่ปรากฏบนศพ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของสภาพร่างกายภายนอก ก่อนทำการผ่าศพเพื่อตรวจสอบสภาพอวัยวะภายใน เพื่อเป็นการค้นหาสาเหตุการตายรวมทั้งกลไกต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการบ่งบอกสาเหตุการตาย และในศพบางราย การผ่าศพทางนิติเวชศาสตร์อาจจะช่วยเป็นแนวทางสำคัญในการชี้เบาะแสให้ทราบถึงพฤติการณ์ในการตายได้ ส่วนวิธีการในการผ่าศพ แพทย์จะเลือกใช้มีดกรีดบริเวณผิวหนังให้เป็นรูปร่างใด จากตำแหน่งใด ขึ้นอยู่กับความจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้ในแต่ละรายให้เหมาะสม เพื่อให้ได้รายละเอียดและข้อมูลตามต้องการการผ่าศพทางนิติเวชศาสตร์, นิติเวชศาสตร์ สำหรับพนักงานสอบสวน, พล.ต.ต.เลี้ยง หุยประเสริฐ,., อว.

ใหม่!!: การตรวจสถานที่เกิดเหตุและการผ่าศพทางนิติเวชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การข่มขืนกระทำชำเรา

การข่มขืนกระทำชำเรา (rape) เป็นการทำร้ายร่างกายทางเพศซึ่งปกติเกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์หรือการใช้การล่วงล้ำทางเพศแบบอื่นต่อบุคคลโดยปราศจากความยินยอมของบุคคลเหล่านั้น การกระทำดังกล่าวอาจโดยใช้กำลังทางกาย การบีบบังคับ การละเมิดอำนาจหรือต่อบุคคลที่ไม่สามารถให้ความยินยอมสมบูรณ์ได้ เช่น ผู้ที่หมดสติ ไร้ความสามารถหรืออายุต่ำกว่าอายุที่ยอมให้มีการร่วมประเวณีได้ตามกฎหมาย คำว่า "ข่มขืนกระทำชำเรา" บางครั้งใช้แทนคำว่า "การทำร้ายร่างกายทางเพศ" ได้ อุบัติการณ์การข่มขืนกระทำชำเราที่ตำรวจบันทึกทั่วโลกในปี 2553 แปรผันระหว่าง 0.2 ต่อ 100,000 คนในประเทศอาเซอร์ไบจาน ถึง 92.9 ต่อ 100,000 คนในประเทศบอตสวานา โดยมีค่า 6.3 ต่อ 100,000 คนในประเทศลิทัวเนียเป็นมัธยฐาน United Nations.

ใหม่!!: การตรวจสถานที่เกิดเหตุและการข่มขืนกระทำชำเรา · ดูเพิ่มเติม »

วิทยุสื่อสาร

วิทยุสื่อสาร หรือเรียกอีกชื่อว่า วิทยุคมนาคม เป็นอุปกรณ์ที่แปลงกระแสไฟฟ้าเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ประกอบเป็น ภาครับ และ ภาคส่ง แผ่กระจายคลื่นวิทยุออกทางสายอากาศ เป็นเครื่องมือในการสื่อสารชนิดกึ่งสองทาง ถูกนำมาใช้งานในหลายประเภท เช่น วิทยุราชการ วิทยุสมัครเล่น และวิทยุภาคประชาชน เป็นต้น ทำงานโดยแปลงกระแสไฟฟ้าเป็นคลื่นแม่เหล็กแบ่งเป็นภาครับ และภาคส่งแผ่กระจายคลื่นวิทยุออกทางสายอากาศ คลื่นวิทยุ คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ถูกคิดค้นโดยเจมส์แมกซ์เวลล์ (James c. Maxwell) เมื่อสามร้อยกว่า ปีมาแล้ว(ปี ค.ศ.1864) ต่อมา ไฮริชเฮิรตซ์ (Heinrich Hertz) เป็นผู้ทดลองพิสูจน์ว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้เป็น.

ใหม่!!: การตรวจสถานที่เกิดเหตุและวิทยุสื่อสาร · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ

ำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ (Office of Police Forensic Science) หน่วยงานระดับกองบัญชาการ ส่วนงานสนับสนุนป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเป็นที่รู้จักในชื่อ กองพิสูจน์หลักฐาน, สำนักงานวิทยาการตำรวจ มีภารกิจในการสนับสนุนงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม โดยใช้วิทยาการสมัยใหม่ในการตรวจหาและเพิ่มน้ำหนักพยานหลักฐานในทางคดีให้มีประสิท.

ใหม่!!: การตรวจสถานที่เกิดเหตุและสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับการประสานงานระหว่างกองบัญชาการตำรวจนครบาลและกองบัญชาการตำรวจภูธรทั่วประเทศไทย ในการนำเอาความรู้และความเชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ผสมผสานกับงานทางด้านสืบสวนสอบสวน เพื่อใช้ในการคลี่คลายคดีสำคัญต่าง ๆ รวมทั้งคดีอุฉกรรจ์และคดีฆาตกรรมสะเทือนขวัญ มีหน้าที่ดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: การตรวจสถานที่เกิดเหตุและสถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

หิมะ

หิมะ เป็นรูปหนึ่งของการตกลงมาของน้ำจากบรรยากาศ อยู่ในรูปของผลึกน้ำแข็งจำนวนมากเรียก เกล็ดหิมะ จับตัวรวมกันเป็นก้อน ดังนั้นหิมะจึงมีเนื้อที่หยาบเป็นเกล็ด และมีโครงสร้างที่กลวงจึงมีความนุ่มเมื่อสัมผัส หิมะนั้นเกิดจากละอองน้ำเกิดการเกาะรวมตัวกันในชั้นบรรยากาศที่อุณหภูมิต่ำว่า 0 °C (32 °F) ทำให้เกิดการแข็งตัวเป็นผลึกน้ำแข็ง และตกลงมา นอกจากนี้หิมะยังสามารถผลิตได้จากเครื่องสร้างหิมะเทียม (snow cannon).

ใหม่!!: การตรวจสถานที่เกิดเหตุและหิมะ · ดูเพิ่มเติม »

หนังสือพิมพ์

ร้านจำหน่ายหนังสือพิมพ์และนิตยสาร ในเมืองแพดดิงตัน กรุงลอนดอน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 หนังสือพิมพ์ คือสิ่งพิมพ์ที่เสนอข่าว การเคลื่อนไหวใหม่ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ มีกำหนดการออกที่แน่นอนตายตัว โดยส่วนใหญ่จะออกเป็นรายวัน นอกจากนี้แล้วยังมีหนังสือพิมพ์รายสามวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ และรายเดือน หนังสือพิมพ์มักจะพิมพ์ลงในกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์โดยเฉพาะ ซึ่งมีราคาถูก เนื้อหาหลักของหนังสือพิมพ์คือข่าวสารบ้านเมืองและเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านต่างๆ อาทิ ข่าวการเมือง ข่าวอาชญากรรม ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวกีฬา และข่าวบันเทิง มีการใช้รูปภาพประกอบเนื้อหา ทำให้เนื้อหาชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้แล้วอาจมีส่วนต่างๆ เพิ่มเติมเป็นพิเศษ เช่น พยากรณ์อากาศ และ การ์ตูน ซึ่งโดยทั่วไปเป็นการ์ตูนล้อเลียนการเมือง.

ใหม่!!: การตรวจสถานที่เกิดเหตุและหนังสือพิมพ์ · ดูเพิ่มเติม »

อาชญากรรม

อาชญากรรม คือ การกระทำผิด โดยทำให้เกิดความเดือดร้อน เสียหาย ต่อ ทรัพย์สิน หรือ บุคคล เป็นการเรียกการกระทำทางคดีอาญาแบบทั่วไป ตัวอย่าง อาชญากรรม เช่น การฆ่าคนตาย ปล้นทรัพย์ ข่มขืน ซึ่งกฎหมายโดยทั่วไปของทุกสังคมมักกำหนดบทลงโทษของผู้ก่ออาชญากรรม (เรียกว่า อาชญากร).

ใหม่!!: การตรวจสถานที่เกิดเหตุและอาชญากรรม · ดูเพิ่มเติม »

อาวุธ

อาวุธ คือเครื่องมือที่ใช้ระหว่างการรบเพื่อสังหารหรือทำลายทรัพย์สินและทรัพยากร จนไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้ อาจใช้ในการโจมตี การป้องกัน อาธิ เล่น ดิวโและการข่มขู่ ถูกแบ่งไว้2ประเภทคือ (1) อาวุธที่เป็นอาวุธโดยลักษณะเช่น ดาบ หอก กระบี่ สนับมือ ปืน เครื่องระเบิด เป็นต้น (2) อาวุธที่มิใช่อาวุธโดยลักษณะแต่ใช้ได้เสมือนดัง อาวุธ มีบันทึกการใช้อาวุธปรากฏในภาพเขียนบนผนังถ้ำ การศึกษากระบวนการในการต่อสู้ ทำให้เกิดทั้งศิลปะการต่อสู้และหลักยุทธศาสตร์ โดยอุปมา ทุกสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหาย (แม้ทางจิตวิทยา) สามารถจัดให้เป็นอาวุธได้ อาจเป็นอาวุธอย่างง่ายจำพวกกระบองไปจนถึงที่ซับซ้อนอย่างขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM) หมวดหมู่:อาวุธ หมวดหมู่:การรักษาความปลอดภัย.

ใหม่!!: การตรวจสถานที่เกิดเหตุและอาวุธ · ดูเพิ่มเติม »

ตำรวจ

ตำรวจในประเทศอิตาลี ตำรวจ เป็นชื่อเรียกของเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบ จับกุม และปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย เรียกชื่อตามหน้าที่รับผิดชอบ เช่น ตำรวจกองปราบ ตำรวจดับเพลิง ตำรวจน้ำ ตำรวจตระเวนชายแดน ตำรวจรถไฟ ตำรวจป่าไม้ ตำรวจจราจร ตำรวจนครบาล ตำรวจทางหลวง ตำรวจภูธร ตำรวจลับ ตำรวจวัง ตำรวจสภา ตำรวจสันติบาล ตำรวจหลวง.

ใหม่!!: การตรวจสถานที่เกิดเหตุและตำรวจ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: การตรวจสถานที่เกิดเหตุและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

นักข่าว

นักข่าว (journalist) เป็นบุคคลที่รวบรวม เขียน และเผยแพร่ข่าว หรือการให้ข้อมูลล่าสุดแก่สาธารณะ นักข่าวอาจทำงานในประเด็นทั่ว ๆ ไป หรือประเด็นเฉพาะทาง อย่างไรก็ตาม นักข่าวส่วนใหญ่อาจจะสามารถเขียนข่าวเฉพาะทางได้ และร่วมงานกับนักข่าวอื่น ๆ ผลิตข่าวในหัวข้อต่าง ๆ มากขึ้น ตัวอย่างเช่น ข่าวกีฬาอาจจะครอบคลุมเฉพาะโลกของกีฬา แต่นักข่าวก็อาจเขียนข่าวของหนังสือพิมพ์ที่ครอบคลุมหัวข้อที่แตกต่างกัน.

ใหม่!!: การตรวจสถานที่เกิดเหตุและนักข่าว · ดูเพิ่มเติม »

แพทย์

แพทย์ (physician, doctor) หรือภาษาพูดว่า "หมอ" ในบางพื้นที่ตามชนบท อาจเรียกแพทย์ว่า "หมอใหญ่" เพื่อกันสับสนกับพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่อื่นในทางด้านสาธารณสุข แพทย์มีหน้าที่ ซักถามประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อสั่งการรักษาหรือให้การรักษาโรค ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพ ให้แก่ผู้ป่วย ร่วมกับบุคลากรด้านสุขภาพอื่น.

ใหม่!!: การตรวจสถานที่เกิดเหตุและแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

โทรศัพท์

ทรศัพท์ เป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารทางไกลด้วยเสียง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: การตรวจสถานที่เกิดเหตุและโทรศัพท์ · ดูเพิ่มเติม »

เลือด

ม่ ไม่รู้.

ใหม่!!: การตรวจสถานที่เกิดเหตุและเลือด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Crime Scene Investigation

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »