โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กางเขนไขว้

ดัชนี กางเขนไขว้

“กางเขนไขว้” หรือ “กางเขนนักบุญแอนดรูว์” กางเขนไขว้ หรือ กางเขนนักบุญแอนดรูว์ (Saltire หรือ Saint Andrew's Cross หรือ crux decussata (ไม่ใช้ในมุทราศาสตร์)) เป็นภาษามุทราศาสตร์และธัชวิทยาที่เป็นเครื่องหมายกางเขนที่มีลักษณะคล้ายอักษร “X” ซึ่งเป็นลักษณะของกางเขนที่เชื่อกันว่าใช้ในการตรึงนักบุญแอนดรูว์ กางเขนไขว้ปรากฏบนธงชาติสกอตแลนด์, ธงชาติจาเมกา และในธง, ตราอาร์ม และ ตราประทับ และใช้ในเครื่องหมายจราจร นอกจากนั้นแล้วทรงของกางเขนไขว้ก็ยังประยุกต์ไปต่างๆ เช่นที่ใช้บนธงกางเขนแห่งเบอร์กันดีที่ใช้โดยสเปนระหว่าง..

30 ความสัมพันธ์: พิพิธภัณฑ์บริติชการตรึงกางเขนกางเขนกางเขนไขว้มุทราศาสตร์รัฐโนวาสโกเชียสมาพันธรัฐอเมริกาสัญลักษณ์ผิวตรา (มุทราศาสตร์)จักรพรรดิสันตะปาปานิยมจักรพรรดิอาร์กาดิอุสจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 3 แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์จักรพรรดิคอนสแตนเชียสที่ 2จักรวรรดิโรมันธัชวิทยาธงธงชาติสกอตแลนด์ธงชาติจาเมกาธงชาติเกรเนดาคอนสแตนติโนเปิลตราอาร์มตราประทับซีโมนเปโตรประเทศสเปนประเทศแอฟริกาใต้นักบุญอันดรูว์นิยามของตราโล่ (มุทราศาสตร์)เส้นแบ่ง (มุทราศาสตร์)เครื่องหมาย (มุทราศาสตร์)

พิพิธภัณฑ์บริติช

้านหน้าของ '''บริติช มิวเซียม''' ใจกลางของพิพิธภัณฑ์มีการรื้อพัฒนาใหม่ใน ปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ให้เป็นมหาราชสำนักของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 ล้อมรอบห้องอ่านหนังสือเดิม ห้องสมุดอันโด่งดังภายในบริติชมิวเซียม บริติชมิวเซียม หรือที่นิยมเรียกกันว่า พิพิธภัณฑ์อังกฤษ (British Museum) ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของมนุษยที่สำคัญที่สุดและใหญ่ที่สุดในโลก มีการก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2296 (ค.ศ. 1753) ในเบื้องต้นวัตถุที่เก็บรวบรวมไว้ส่วนใหญ่เป็นของสะสมของเซอร์ แฮนส์ สโลน (Hans Sloane) ซึ่งเป็นแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดให้บริการแก่สาธารณะเป็นครั้งแรกในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2302 (ค.ศ. 1759) ในมงตากูเฮาส์ เมืองบลูมส์เบอร์รี กรุงลอนดอน อันเป็นสถานที่ตั้งของอาคารพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบัน บริติชมิวเซียมเป็นแหล่งรวบรวมวัตถุต่างๆ จากทุกทวีป จำนวนกว่า 7 ล้านชิ้น ซึ่งล้วนมีชื่อเสียง และมีการบันทึกเรื่องราวของวัฒนธรรมมนุษน์จากจุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน วัตถุจำนวนมากถูกเก็บไว้ในชั้นใต้ดินของพิพิธภัณฑ์ เนื่องจากไม่มีเนื้อที่เพียงพอ ประธานอำนวยการพิพิธภัณฑ์คนปัจจุบัน คือเซอร์ จอห์น บอยด์ (John Boyd) และผู้อำนวยการคือ นีล แมกกรีเกอร์ (Neil MacGregor) บริติชมิวเซียมนั้นคล้ายกับพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่และหอศิลปะอื่นๆ ในอังกฤษ นั่นคือ ไม่คิดค่าเข้าชม แต่อาจคิดค่าธรรมเนียมพิเศษสำหรับการจัดแสดงพิเศษชั่วคราว บริติชมิวเซียมนับว่าให้ประสบการณ์การเรียนรู้แก่ทุกคน นับตั้งแต่นักเรียน ครอบครัว จนถึงผู้ใหญ่ และยังมีประกาศนียบัตรหลังปริญญาตรี ที่เน้นศิลปะยุคคลาสสิกและศิลป์ตกแต่งของเอเชียด้ว.

ใหม่!!: กางเขนไขว้และพิพิธภัณฑ์บริติช · ดูเพิ่มเติม »

การตรึงกางเขน

นักบุญปีเตอร์ตรึงกางเขน” โดย คาราวัจโจ การตรึงกางเขน (crucifixion) เป็นวิธีการประหารชีวิตซึ่งผู้ถูกสั่งให้ประหารจะถูกผูกหรือตอกตะปูบนไม้กางเขนและปล่อยทิ้งไว้ให้ตาย วิธีการประหารชีวิตแบบนี้เป็นวิธีที่ใช้ในสมัยจักรวรรดิโรมันและในประเทศเพื่อนบ้านในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน และวิธีที่คล้ายคลึงกันในจักรวรรดิเปอร์เชีย การประหารชีวิตโดยการตรึงกางเขนโดยจักรวรรดิโรมันมาจนถึงปี..

ใหม่!!: กางเขนไขว้และการตรึงกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

กางเขน

กางเขนแบบที่ง่ายที่สุดเรียกว่ากางเขนละติน หรือ “crux ordinaria” ที่เป็นสัญลักษณ์ของการตรึงพระเยซูที่กางเขนตามความเชื่อในคริสต์ศาสนา กางเขน (Cross) เป็นเครื่องหมายทรงเรขาคณิตที่ประกอบด้วยแกนสองแกนตัดเป็นมุมฉากกัน ตามปกติแล้วแกนจะเป็นแนวตั้งขวางกับแนวนอน แต่ถ้าตัดทแยงกันก็จะเรียกว่ากางเขนไขว้ หรือ กางเขนนักบุญอันดรูว์ กางเขนเป็นสัญลักษณ์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ใช้โดยมนุษย์ และใช้เป็นสัญลักษณ์ศาสนาหลายศาสนาที่รวมทั้งคริสต์ศาสนา กางเขนบ่อยครั้งจะเป็นสัญลักษณ์ของธาตุหลักทั้ง 4 ของโลก (เชวาลิเย์, ค.ศ. 1997) หรืออีกความหมายหนึ่งคือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเทพที่เป็นแกนตั้งและโลกที่คือแกนนอน (คอค, ค.ศ. 1955).

ใหม่!!: กางเขนไขว้และกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

กางเขนไขว้

“กางเขนไขว้” หรือ “กางเขนนักบุญแอนดรูว์” กางเขนไขว้ หรือ กางเขนนักบุญแอนดรูว์ (Saltire หรือ Saint Andrew's Cross หรือ crux decussata (ไม่ใช้ในมุทราศาสตร์)) เป็นภาษามุทราศาสตร์และธัชวิทยาที่เป็นเครื่องหมายกางเขนที่มีลักษณะคล้ายอักษร “X” ซึ่งเป็นลักษณะของกางเขนที่เชื่อกันว่าใช้ในการตรึงนักบุญแอนดรูว์ กางเขนไขว้ปรากฏบนธงชาติสกอตแลนด์, ธงชาติจาเมกา และในธง, ตราอาร์ม และ ตราประทับ และใช้ในเครื่องหมายจราจร นอกจากนั้นแล้วทรงของกางเขนไขว้ก็ยังประยุกต์ไปต่างๆ เช่นที่ใช้บนธงกางเขนแห่งเบอร์กันดีที่ใช้โดยสเปนระหว่าง..

ใหม่!!: กางเขนไขว้และกางเขนไขว้ · ดูเพิ่มเติม »

มุทราศาสตร์

รื่องยอด มุทราศาสตร์ (heraldry) เป็นอาชีพ, สาขาวิชา หรือศิลปะของการออกแบบ การมอบ และการให้นิยามของตราอาร์ม และ การวางกฎที่เกี่ยวกับศักดิ์หรือข้อกำหนดของพิธีการใช้ที่ควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ตราอาร์ม (officer of arms) คำว่า “heraldry” มาจากภาษาแองโกล-นอร์มันว่า “herald” ที่มีรากมาจากคำสมาทของภาษาเจอร์มานิค “*harja-waldaz” ที่แปลว่า “ผู้นำทัพ”Appendix I. koro-.

ใหม่!!: กางเขนไขว้และมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐโนวาสโกเชีย

รัฐโนวาสโกเชีย (Nova Scotia) เป็นรัฐในแคนาดา ตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของแคนาดา เป็นรัฐที่มีพลเมืองหนาแน่นที่สุดของแคนาดาทางฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก มีเมืองหลวงคือ แฮลิแฟกซ์ เป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของรัฐ รัฐโนวาสโกเชียยังเป็นรัฐที่เล็กเป็นอันดับ 2 ของแคนาดา กับพื้นที่ 55,284 ตร.

ใหม่!!: กางเขนไขว้และรัฐโนวาสโกเชีย · ดูเพิ่มเติม »

สมาพันธรัฐอเมริกา

มาพันธรัฐอเมริกา (Confederate States of America; ย่อ: CSA) มักเรียกว่า สมาพันธรัฐ (Confederate States; ย่อ: CS) เป็นรัฐบาลแยกตัวออกซึ่งสถาปนาใน..

ใหม่!!: กางเขนไขว้และสมาพันธรัฐอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

สัญลักษณ์

ัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมาย (Symbol) โดยพื้นฐานหมายถึง สิ่งที่ใช้แทนความหมายของอีกสิ่งหนึ่ง หรือถ้าจะกล่าวให้ลึกลงไปอีก สัญลักษณ์ หมายถึง วัตถุ อักษร รูปร่าง หรือสีสัน ซึ่งใช้ในการสื่อความหมายหรือแนวความคิดให้มนุษย์เข้าใจไปในทางเดียวกัน อาจจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ในทางปรัชญามักมีคำนิยามว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติ หรือแม้ในจักรวาล สามารถแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ทั้งสิ้น สัญลักษณ์นั้นช่วยในการสื่อสาร อาจจะเป็นรูปภาพ การเขียนอักษร การออกเสียง หรือการทำท่าทาง ซึ่งช่วยให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารเข้าใจตรงกันแม้จะพูดกันคนละภาษา แต่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของทั้งสองฝ่ายว่า ผู้ส่งสารมีความสามารถใช้สัญลักษณ์ให้สื่อความหมายมากเพียงใด และผู้รับสารมีความเข้าใจในสัญลักษณ์ที่ใช้มากเพียงใด ดังนั้นภาษามือจึงจัดว่าเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งเช่นกัน.

ใหม่!!: กางเขนไขว้และสัญลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ผิวตรา (มุทราศาสตร์)

ผิวตรา (Tincture) ในภาษามุทราศาสตร์ “ผิวตรา” เป็นองค์ประกอบของการให้คำนิยามตราอาร์มหรือธงที่หมายถึงสีที่ใช้หรือลักษณะของผิวของตรา ผิวตราแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มๆ ที่มีสีอ่อนเรียกว่า “โลหะ”, กลุ่มๆ ที่มีสีแก่เรียกว่า “สี”, กลุ่มๆ ที่มีสีต่างจากสีหลักเรียกว่า “สีเพี้ยน” (stains), กลุ่ม “ขนสัตว์” (furs), กลุ่ม “ธรรมชาติ” (proper หรือ natural) สีกลุ่มหลังเป็นสีที่พบตามธรรมชาติ กฎพื้นฐานสองสามข้อของมุทราศาสตร์คือผิวตราในกลุ่มเดียวกันจะไม่ใช้ด้วยกันเช่นสีทองและสีเงินจะไม่ใช้ด้วยกันเพราะทั้งสองสีเป็นสีในกลุ่ม “โลหะ” แต่ผิวตราจากต่างกลุ่มกันใช้ด้วยกันได้ เช่นผิวตราจากกลุ่ม “ขนสัตว์” ใช้กันได้กับผิวตราจากกลุ่ม “ธรรมชาติ” เป็นต้น กฎเหล่านี้บรรยายในบทความกฎของผิวตรา กลุ่ม “สีเพี้ยน” มาเริ่มใช้กันในยุคกลางตอนปลายแต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกันเท่าใดนักเพราะไม่ตรงกับปรัชญาของการใช้สีของมุทราศาสตร์ที่เน้นการใช้ภาพที่เด่นและสีที่สด ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาก็เกิดความนิยมที่ค่อนข้างแปลกที่จับคู่ระหว่างสีตรากับดาวเคราะห์ อัญมณี ดอกไม้ สัญลักษณ์โหราศาสตร์ หรืออื่นๆ แต่ก็เลิกทำกันไปและถือกันว่าเป็นเรื่องนอกขอบเขตของมุทราศาสตร์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็เริ่มมีการใช้ “ภูมิทัศน์” และผิวตรากลุ่มสี “ธรรมชาติ” โดยเฉพาะในการประยุกต์ตรา โดยเฉพาะในมุทราศาสตร์เยอรมันมากกว่าในมุทราศาสตร์อังกฤษ แต่ความนิยมนี้ก็เช่นกันถือว่าทำให้คุณค่าของมุทราศาสตร์ลดลง.

ใหม่!!: กางเขนไขว้และผิวตรา (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิสันตะปาปานิยม

ักรพรรดิสันตะปาปานิยม (Caesaropapism) คือแนวคิดที่ต้องการรวมอำนาจฝ่ายอาณาจักรให้เข้ากับ (หรือเหนือกว่า) อำนาจฝ่ายศาสนจักร โดยเฉพาะในแบบของการเชื่อมคริสตจักรกับฝ่ายรัฐบาล “จักรพรรดิสันตะปาปานิยม” เป็นระบบการปกครองที่ตรงกันข้ามกับ “เทวาธิปไตย” ที่หมายถึงระบบการปกครองทางโลกและทางศาสนาที่มีนักบวชถืออำนาจเป็นประมุข ประเทศที่ใช้ระบบจักรพรรดิสันตะปาปานิยมในปัจจุบันก็ได้แก่สหราชอาณาจักรที่พระมหากษัตริย์อังกฤษเป็นทั้งประมุขทางการปกครองบ้านเมืองและเป็นประมุขสูงสุดของคริสตจักรแห่งอังกฤษด้วยในขณะเดียวกัน.

ใหม่!!: กางเขนไขว้และจักรพรรดิสันตะปาปานิยม · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิอาร์กาดิอุส

ักรพรรดิอาร์กาดิอุส หรือ เฟลเวียส อาร์กาดิอุส (Arcadius; ชื่อเต็ม: Flavius Arcadius) (ค.ศ. 377 – 1 พฤษภาคม ค.ศ. 408) อาร์กาดิอุสมีตำแหน่งเป็นออกัสตัสภายใต้พระราชบิดาระหว่างวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 393 จนถึงปี ค.ศ. 395 เมื่อทรงขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิ แห่ง จักรวรรดิโรมันตะวันออก จนกระทั่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 408 โดยมีพระอนุชาจักรพรรดิโฮโนริอัสเป็นจักรพรรดิ แห่ง จักรวรรดิโรมันตะวันตก อาร์กาดิอุสเสด็จพระราชสมภพในสเปน เป็นพระราชโอรสองค์โตของจักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 1 และเอเลีย ยูโดเซีย และเป็นพระเชษฐาของโฮโนริอัส จักรพรรดิธีโอโดเซียสทรงประกาศแต่งตั้งให้อาร์กาดิอุสเป็น “ออกัสตัส” และผู้ร่วมราชบัลลังก์ในการปกครองครึ่งตะวันออกของจักรวรรดิในเดือนมกราคม ค.ศ. 393 และให้โฮโนริอัสเป็น “ออกัสตัส” และผู้ร่วมราชบัลลังก์ในการปกครองครึ่งตะวันตกของจักรวรร.

ใหม่!!: กางเขนไขว้และจักรพรรดิอาร์กาดิอุส · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 3 แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์

ักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 3 แห่งไบแซนไทน์ หรือ เฮราคลิอัส โนวัส คอนสแตนตินัส (Constantine III (Byzantine emperor); ชื่อเต็ม: Heraclius Novus Constantinus; Ηράκλειος (νέος) Κωνσταντίνος) (3 พฤษภาคม ค.ศ. 612 – 20 เมษายน หรือ 24/26 พฤษภาคม ค.ศ. 641) คอนสแตนตินที่ 3 ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ ของราชวงศ์เฮราเคลียน ผู้ทรงครองราชย์เพียงสี่เดือนตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ. 641 จนเสด็จสวรรคต คอนสแตนตินเป็นพระราชโอรสองค์โตในจักรพรรดิเฮราคลิอัสและพระอัครมเหสีองค์แรกจักรพรรดินียูโดเคี.

ใหม่!!: กางเขนไขว้และจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 3 แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคอนสแตนเชียสที่ 2

ักรพรรดิคอนสแตนเชียสที่ 2 (Constantius II) หรือฟลาวิอุส ยูลิอุส คอนสตานติอุส(Flavius Iulius Constantius) (7 สิงหาคม ค.ศ. 317 – 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 361) คอนสแตนเชียสที่ 2 เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันของราชวงศ์คอนแสตนติเนียน คอนสแตนเชียสที่ 2 ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นซีซาร์โดยพระราชบิดาระหว่างวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 324 จนถึงวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 337; ระหว่าง ค.ศ. 337 ถึง ค.ศ. 340 ทรงมีตำแหน่งเป็นออกัสตัสร่วมกับจักรพรรดิคอนสแตนและจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 2 ในการปกครองมณฑลในเอเชียและอียิปต์; ระหว่าง ค.ศ. 340 ถึง ค.ศ. 350 ทรงเป็นออกัสตัสร่วมกับจักรพรรดิคอนสแตนในการปกครองจังหวัดในเอเชียและอียิปต์ และระหว่าง ค.ศ. 350 ถึงวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 361 คอนสแตนเชียสที่ 2 ก็ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันทั้งหม.

ใหม่!!: กางเขนไขว้และจักรพรรดิคอนสแตนเชียสที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: กางเขนไขว้และจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ธัชวิทยา

งของ ''Fédération internationale des associations vexillologiques''. ธัชวิทยา (vexillology) คือวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับธง ชื่อวิชา Vexillology เริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2500 โดย วิทนีย์ สมิท ผู้แต่งหนังสือเรื่อง ธง และบทความเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับธง ในช่วงแรกยังนับเป็นสาขาย่อยของ"วิชาการผูกตราสัญลักษณ์" (heraldry) ซึ่งบางครั้งก็ยังถือว่าเป็นดังนั้นอยู่ นอกจากนี้ก็ยังอาจถือว่าเป็นสาขาของวิชา สัญญาณศาสตร์ (semiotics) วิชานี้ได้มีการนิยามไว้ในข้อบังคับของ สหพันธ์ธัชวิทยานานาชาติ - FIAV (Fédération internationale des associations vexillologiques) ว่าเป็น "การสร้างสรรค์และพัฒนาการว่าด้วยองค์ความรู้เกี่ยวกับธงทุกประเภท ทุกรูปแบบ ทุกหน้าที่ใช้สอย และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และหลักการที่เป็นพื้นฐานแห่งความรู้นี้" บุคคลผู้ศึกษาเกี่ยวกับธงเรียกว่า "นักธัชวิทยา" (vexillologist) และเรียกผู้ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบธงหรือนักออกแบบธง เป็นภาษาอังกฤษว่า vexillographer ในคำภาษาอังกฤษ Vexillology ได้มาจากการสังเคราะห์คำภาษาละติน vexillum และ หน่วยคำเติมหลัง –ology ที่แปลว่า "การศึกษาว่าด้ว..." สำหรับ vexillum หมายถึงธงประจำกองทหารโรมันในยุคคลาสสิก ธงสมัยนั้นต่างกันธงปัจจุบันตรงที่ธงปัจจุบันใช้ผูกกับเสาทางดิ่ง ส่วนธง vexillum เป็นผืนสี่เหลี่ยมจตุรัสแขวนอยู่กับแขนกางเขนทางนอนที่ยึดกับปลายหอก นักธัชวิทยารวมตัวกันในระดับนานาชาติจัดประชุมด้านธัชวิทยา (ICV - International Concress of Vexillology) ทุกๆ สองปี เมื่อ..

ใหม่!!: กางเขนไขว้และธัชวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ธง

ง เป็นวัตถุใช้เป็นเครื่องหมายเพื่อสื่อสาร เช่น บอกชาติ ตำแหน่งในราชการ โดยมีกำหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพนายกอง ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอกที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจำนนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคารการค้า ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริงหรือถือเข้ากระบวนแห่เป็นต้น ส่วนใหญ่ธงจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ยังมีธงสามเหลี่ยมหรือธงรูปร่างแบบอื่นต่างกันไป.

ใหม่!!: กางเขนไขว้และธง · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสกอตแลนด์

งชาติสกอตแลนด์ ใช้พื้นธงสีน้ำเงิน มีกากบาทสีขาว เรียกกากบาทนี้ว่า "ธงเซนต์แอนดรูว์" โดยธงนี้มีกำเนิดในศตวรรษที่ 11 และได้ประกาศใช้ธงเซนต์แอนดรู ในศตวรรษที่12 และ ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ได้ประกาศใช้สีน้ำเงินในแบบสีแพนโทน 300.

ใหม่!!: กางเขนไขว้และธงชาติสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติจาเมกา

งชาติจาเมกา เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ภายในแบ่งเป็น 4 ส่วนด้วยกากบาททแยงสีทอง ช่องสามเหลี่ยมช่องบนและช่องล่างเป็นสีเขียว ส่วนช่องซ้ายและช่องขาวเป็นพื้นสีดำ แบบธงที่ใช้อยู่นี้เป็น แบบที่ชนะเลิศการประกวดธงชาติจาเมกา และเริ่มใช้อย่างเป็นทางการหลังประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2505 แต่ละสีในธงมีความหมายต่างๆ กล่าวคือ พื้นสีดำในธงหมายถึงกำลังและความคิดสร้างสรรค์ของชาวจาเมกา สีเหลืองทองเป็นตัวแทนของแสงอาทิตย์และความมั่งคั่งด้วยทรัพยากรธรรมชาติ สีเขียวคือความหวังต่ออนาคตกาลและความมั่งคั่งด้วยเกษตรกรรม.

ใหม่!!: กางเขนไขว้และธงชาติจาเมกา · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติเกรเนดา

งชาติเกรนาดา ที่ใช้ในปัจจุบัน เริ่มใช้เมื่อประเทศเกรนาดาได้ประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักร ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 3 ส่วน ยาว 5 ส่วน ตอนในแบ่งเป็นสี่ส่วนตามแนวทแยงที่เรียกว่ากางเขนนักบุญแอนดรูว์ ภายในช่องซ้ายและขวาเป็นพื้นสีเขียว ช่องบนและช่องล่างเป็นพื้นสีเหลือง ตรงกลางเป็นวงกลมสีแดงมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลือง 1 ดวง ที่ช่องสีเขียวฝั่งซ้ายมีภายใบลูกจันทน์เทศ 1 ใบ พื้นธงชั้นนอกเป็นขอบสีแดง ในขอบนั้นมีดาวห้าแฉกสีเหลือง 6 ดวง อยู่ด้านบน 3 ดวง ด้านล่าง 3 ดวง ดาวสีเหลือง 6 ดวงที่ขอบธงหมายถึงเขตการปกครองทั้ง 6 เขตของเกรนาดา (ซึ่งเรียกในภาษาอังกฤษว่า parish) ดาวดวงใหญ่ที่อยู่ในวงกลมสีแดง หมายถึง เมืองเซนต์จอร์เจส ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ ใบลูกจันทน์หมายถึงสินค้าสำคัญของเกรนาดา (ประเทศนี้ได้ชื่อว่าเป็น "หมู่เกาะเครื่องเทศ") ส่วนสีแดง เหลือง และเขียน เป็นการแสดงถึงอัตลักษณ์ความเป็นแอฟริกันของประเทศ แต่ละสีมีความหมายย่อยลงไปอีกคือ สีแดงหมายถึงความมีชีวิตชีวา สีเหลืองคือความอบอุ่นและปัญญา สีเขียวหมายถึงการเกษตร ธงนี้ออกแบบโดยแอนโทนี่ ซี. จอร์จ ชาวเมืองซูบีส เขตเซนต์แอนดรูว์ ประเทศเกรเน.

ใหม่!!: กางเขนไขว้และธงชาติเกรเนดา · ดูเพิ่มเติม »

คอนสแตนติโนเปิล

แผนที่คอนสแตนติโนเปิล คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople, (กรีก: Κωνσταντινούπολις (Konstantinoúpolis) หรือ ἡ Πόλις (hē Pólis), ภาษาละติน: CONSTANTINOPOLIS, ภาษาออตโตมันตุรกี (ทางการ): قسطنطينيه Konstantiniyye) คอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง (กรีก: Βασιλεύουσα (Basileúousa)) ของจักรวรรดิโรมัน ระหว่างปี ค.ศ. 330 ถึง ค.ศ. 395; ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ระหว่างปี ค.ศ. 395 ถึง ค.ศ. 1204 และระหว่างปี ค.ศ. 1261 ถึง ค.ศ. 1453; ของจักรวรรดิละติน ระหว่างปี ค.ศ. 1204 ถึง ค.ศ. 1261); และของจักรวรรดิออตโตมัน ระหว่างปี..

ใหม่!!: กางเขนไขว้และคอนสแตนติโนเปิล · ดูเพิ่มเติม »

ตราอาร์ม

ตราแผ่นดินของหลายประเทศมีลักษณะเป็นตราอาร์ม ดังเช่นภาพตราแผ่นดินของประเทศในสหภาพยุโรป ตราอาร์ม (Coat of arms, เรียกอย่างเฉพาะเจาะจงว่า armorial achievement หรือ armorial bearings, เรียกอย่างย่อว่า arms) ในธรรมเนียมของทวีปยุโรป เป็นสัญลักษณ์ซึ่งออกแบบขึ้นสำหรับบุคคลหรือคณะบุคคล อันมีการดัดแปลงใช้ในหลายลักษณะ พัฒนามาจากตราประจำตัวของอัศวินในยุโรปสมัยโบราณเพื่อจำแนกพวกของตนออกจากพวกของศัตรู สามัญชนในยุโรปภาคพื้นทวีปอาจใช้ตราอาร์มเป็นสัญลักษณ์ได้เช่นกัน แต่เรียกชื่อชนิดตราต่างออกไปว่า Burgher arms ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ของประเทศไทย ได้ให้นิยามของคำว่า "อาร์ม" ไว้ดังนี้ ตราอาร์มนั้นต่างจากตราประทับ (seal) และตราสัญลักษณ์ (emblem) ตรงที่มีการให้คำอธิบายอย่างเป็นทางการโดยมีศัพท์เฉพาะของตนเอง ซึ่งเรียกโดยรวมในภาษาอังกฤษว่า Blazon หรือเทียบเป็นภาษาไทยว่า นิยามของตรา ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 21 ตราอาร์มได้มีการนำไปใช้กับสถาบันต่างๆ เช่นมหาวิทยาลัย ตราของแต่ละแห่งจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและปกป้องสิทธิการใช้งาน การใช้ตราดังว่ามานี้ยังรวมถึงการใช้เป็นเครื่องหมายราชการประจำชาติหลายประเทศ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือใช้เป็น "ตราแผ่นดิน" นั่นเอง ศิลปะในการออกแบบ การแสดงให้ปรากฏ การอธิบาย และการบันทึกตราอาร์ม เรียกว่า heraldry อันอาจแปลเป็นภาษาไทยตามสำนวนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ว่า "มุทราศาสตร์".

ใหม่!!: กางเขนไขว้และตราอาร์ม · ดูเพิ่มเติม »

ตราประทับ

ตราประทับเครื่อง รูปลูกคลื่น ตราประทับ (postal marking) ในทางไปรษณีย์ หมายถึงการทำเครื่องหมายต่าง ๆ ลงบนซองจดหมาย หรือ สิ่งอื่นที่ส่งทางไปรษณีย์ มีหลายประเภท มีทั้งตราที่ใช้ในงานไปรษณีย์ และตราสำหรับประทับเป็นที่ระลึกในการสะสมแสตมป.

ใหม่!!: กางเขนไขว้และตราประทับ · ดูเพิ่มเติม »

ซีโมนเปโตร

ซีโมนเปโตร (Σιμων Πέτρος ซีมอน เปโตฺรส) หรืออัครทูตเปโตร (Απόστολος Πέτρος อะโปสโตโลส เปโตฺรส) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญเปโตร (Saint Peter) เดิมชื่อซีโมน เป็นชาวประมงคนหนึ่งของตำบลเบทไซดา (ลก. 5:3;ยน.1:44) แต่ว่าต่อมาได้ย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองคาร์เปอร์นาอุม (มก. 1: 21.29) นักบุญอันดรูว์ น้องชายของท่านได้เป็นคนแนะนำให้ท่านติดตามพระเยซู (ยน. 1:42) และอาจเป็นนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาที่ได้เป็นผู้ตระเตรียมจิตใจของท่านสำหรับการพบปะครั้งสำคัญของท่านกับพระเยซู พระเยซูทรงได้เปลี่ยนชื่อท่านใหม่ว่าเปโตร ซึ่งแปลว่า "ศิลา" (มธ. 16: 17-19) ครั้งหนึ่งพระเยซูตรัสถามท่านว่า "ท่านคิดว่าเราเป็นใคร" และเปโตรได้ทูลว่า "พระองค์คือพระคริสต์ พระบุตรพระเป็นเจ้า" พระเยซูจึงตรัสว่า "เราจะตั้งเราเป็นหัวหน้าแทนท่าน ทั้งจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์" (มธ. 16: 15-19) สัญลักษณ์ที่เห็นเด่นชัดในภาพคือ มือของท่านมีลูกกุญแจ เปโตรเป็นพยานบุคคลผู้หนึ่งที่ได้แลเห็นพระคูหาว่างเปล่าของพระอาจารย์ (ยน. 20:6) และได้เห็นการคืนพระชนม์ของพระเยซู (ลก. 23:34) หลังจากที่พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว ท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบรรดาคริสตชน (กจ. 1: 15; 15:7) ได้กล่าวสรุปข่าวดี (พระวรสาร) (กจ. 2:14-41) และท่านเองเป็นคนแรกที่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดคริสตจักรไปสู่พวกคนต่างชาติ (กจ.10-11) เปโตรเขียนจดหมาย 2 ฉบับที่ทรงคุณค่าอย่างมากคือ 1 และ 2 เปโตร ท้ายที่สุดเปโตรได้เสียสละชีวิตเพื่อพระเยซูตามคำทำนายของพระองค์ (ยน 21.18-19) ภารกิจด้านวิญญาณที่ได้รับมอบหมายมิใช่ว่าจะช่วยให้ท่านหมดจากสภาพของความเป็นคนหรือจากข้อบกพร่องต่าง ๆ ทางอารมณ์ก็หาไม่ (มธ.10: 41; 14:26,66-72; ยน. 13: 6;18:10; มธ. 14: 29-31) เปาโลอัครทูตเองก็มิได้ลังเลใจแต่อย่างใดที่จะพูดจาต่อว่าท่านเวลาที่พบกันที่เมืองแอนติออก (กจ.15; กท. 2:11-14) เพื่อเชิญชวนท่านว่าไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของพวกยิว ในเรื่องนี้รู้สึกว่าเปโตร ยังตัดสินใจช้าและยังถือว่ากลุ่มคริสตชนซึ่งเดิมทีเป็นคนต่างศาสนาก็ยังด้อยกว่าหรือเป็นรองกลุ่มคริสตชนที่เดิมทีเป็นชาวยิว (กจ. 6: 1-2) ต่อเมื่อเปโตรได้มาที่กรุงโรม เมื่อนั้นแหละท่านจึงจะได้กลายเป็นอัครทูตของทุก ๆ คน และได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างครบถ้วนคือเป็น "ศิลาหัวมุม" ของคริสตจักรของพระเยซูโดยรวมชาวยิวและคนต่างศาสนาให้เข้ามาอยู่ภายในอาคารเดียวกัน และท่านได้ประทับตราภารกิจหน้าที่นี้ด้วยการหลั่งโลหิตของท่านตามแบบพระอาจารย์ คริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่าท่านเป็นพระสันตะปาปาองค์แรก ท่านถูกจับตรึงกางเขน และได้ขอร้องให้หันศีรษะท่านลง เพราะคิดว่าไม่สมควรที่จะตายในลักษณะเดียวกับพระเยซูผู้เป็นพระอาจาร.

ใหม่!!: กางเขนไขว้และซีโมนเปโตร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: กางเขนไขว้และประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแอฟริกาใต้

รณรัฐแอฟริกาใต้ (Republic of South Africa) หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า แอฟริกาใต้ (ต่างจาก "แอฟริกาตอนใต้" ซึ่งเป็นภูมิภาคประกอบไปด้วยหลายประเทศ รวมถึงประเทศแอฟริกาใต้ด้วย) เป็นประเทศอิสระที่อยู่ตอนปลายทางใต้สุดของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนติดกับประเทศนามิเบีย บอตสวานา ซิมบับเว โมซัมบิก และสวาซิแลนด์ นอกจากนี้ยังมีเลโซโทซึ่งเป็นประเทศที่ถูกล้อมรอบทุกด้านด้วยอาณาเขตของประเทศแอฟริกาใต้ รวมทั้งยังเป็นประเทศส่งออกเพชร, ทองคำ และไวน์ที่ชาวฝรั่งเศสนำเข้ามาอีกด้ว.

ใหม่!!: กางเขนไขว้และประเทศแอฟริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญอันดรูว์

อันดรูว์อัครทูต (Ανδρέας อันเดฺรอัส; Andrew แอนดฺรูว) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญอันดรูว์ เป็นนักบุญและมรณสักขีในคริสต์ศาสนา เกิดเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 1 ที่เมืองเบ็ธไซดาบนฝั่งทะเลกาลิลี และเสียชีวิตโดยการถูกตรึงกางเขนบนกางเขนรูป “X” เมื่อราวกลางหรือปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 ที่เมืองเพ็ทราส์ ในประเทศกรีซปัจจุบัน นักบุญอันดรูว์ เป็นหนึ่งในอัครทูตสิบสององค์ของพระเยซู ในคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ เรียกนักบุญอันดรูว์ว่า “Protocletos” หรือ “ผู้ถูกเรียกคนแรก” ชื่อ “แอนดรูว” มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “เกียรติ” เช่นเดียวกับชื่อภาษากรีกอื่น ๆ เป็นชื่อที่ชาวยิวใช้กันทั่วไปในระหว่างร้อยถึงสองร้อยปีก่อนคริสต์ศตวรรษ เท่าที่ทราบนักบุญอันดรูว์ไม่มีชื่อบ่งเป็นภาษาฮิบรูและภาษาอราเมอิก ตามพันธสัญญาใหม่นักบุญแอนดรูว์เป็นลูกของโยนาห์หรือยอห์น (มัทธิว; ยอห์น) เกิดที่เมืองเบ็ธไซดาบนฝั่งทะเลกาลิลี(ยอห์น) และเป็นน้องชายของซีโมนเปโตร เปโตรและอันดรูว์เดิมเป็นชาวประมงฉะนั้นเมื่อพระเยซูเรียกตัวมาเป็นอัครทูตโดยกล่าวว่าเจ้าจงเป็น “ชาวประมงหามนุษย์” (ภาษากรีก: ἁλιείς ἀνθρώπων “halieis anthropon”)Metzger & Coogan (1993) Oxford Companion to the Bible, p 27.

ใหม่!!: กางเขนไขว้และนักบุญอันดรูว์ · ดูเพิ่มเติม »

นิยามของตรา

นิยามของตรา (Blazon) ในด้านการศึกษาทางด้านมุทราศาสตร์ และ ธัชวิทยา “Blazon” หรือ “นิยามของตรา” คือคำบรรยายอย่างเป็นทางการของลักษณะของตรา ที่ส่วนใหญ่เป็นการบรรยายตราอาร์ม หรือ ธง ที่สามารถทำให้ผู้สร้างสามารถสร้างตรา, ธง หรือ เครื่องหมายได้ตามความต้องการอย่างถูกต้อง ฉะนั้นรูปลักษณะและองค์ประกอบของตราอาร์ม หรือ ธงตามหลักแล้วไม่ใช่เป็นการบรรยายโดยการใช้รูป แต่จะเป็นการบรรยายโดยตัวอักษร (แต่ในสมัยปัจจุบัน จะมีการให้นิยามเพิ่มเติมและบรรยายอย่างเจาะจงกว่าที่เป็นมาด้วยรายละเอียดทางเรขาคณิต) “นิยามของตรา” ใช้ภาษาเฉพาะทางในการเขียนนิยามตั้งแต่หลักการวางตำแหน่งของคำบรรยาย การใช้คำกิริยา ไปจนถึงหลัก และลำดับการเขียนคำบรรยายของแต่ละส่วนที่ย่อยออกไป เช่นคำแรกที่พบในการบรรยายตราคือชื่อผิวตรา ที่หมายถึงสีหรือผิวของพื้นตรา เช่น “Azure...” ซึ่งหมายความว่า “ (พื้นตรา) น้ำเงิน” ผู้อ่านที่เข้าใจหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยามจะทราบว่า “Azure...” เป็นสีของพื้นตราโดยไม่ต้องมีคำว่า “Field” ที่แปลว่าพื้นตรานำหน้าคำว่า “Azure...” เพราะตำแหน่งการวางคำเป็นไปตามหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยาม นอกจากโครงสร้างการวางลำดับการบรรยายและการใช้ไวยากรณ์แล้ว นิยามของตราในมุทราศาสตร์ก็ยังใช้คำศัพท์ที่เป็นศัพท์เฉพาะกิจเช่นคำว่า “Charge” ที่หมายถึง “เครื่องหมาย” บน “พื้นตรา” (Field) หรือคำว่า “Attitude” ที่หมายถึง “ลักษณะการวางท่า” ของมนุษย์หรือสัตว์ที่ปรากฏบนตรา นอกจากตราอาร์ม หรือ ธง แล้ว “นิยามของตรา” ก็อาจจะใช้ในการบรรยายลักษณะของสิ่งอื่นๆ ด้วยเช่น ตรายศ (badge), แถบคำขวัญ (banner) และ ตราประทั.

ใหม่!!: กางเขนไขว้และนิยามของตรา · ดูเพิ่มเติม »

โล่ (มุทราศาสตร์)

ล่ หรือ โล่ภายในตรา (Escutcheon หรือ scutcheon) ในมุทราศาสตร์ “โล่” เป็นองค์ประกอบที่ปรากฏบนตราอาร์มที่เป็น บางครั้งก็จะมีการใช้คำว่า “Crest” (“เครื่องยอด”) แทน “Escutcheon” หรือ “โล่กลางตรา” ซึ่งเป็นการใช้ที่ไม่ถูกต้อง รูปทรงของ “โล่กลางตรา” มาจากรูปทรงของโล่ที่ใช้โดยอัศวินในการต่อสู้ในยุคกลาง รูปทรงที่ใช้ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่ท้องถิ่นและยุคสมัย เพราะโล่เป็นเครื่องหมายของสงครามจึงเป็นเครื่องหมายที่ใช้สำหรับบุรุษเท่านั้น สตรีชาวอังกฤษตามธรรมเนียมแล้วจะใช้โล่ทรงข้าวหลามตัด (Lozenge) ขณะที่สตรีและนักบวชบนแผ่นดินใหญ่ยุโรปใช้ทรงทรงคาร์ทูช (Cartouche) หรือทรงรูปไข่ ทรงอื่นที่ใช้กันก็มีทรงกลม (roundel) ที่มักจะใช้โดยตราสำหรับชนพื้นเมืองแคนาดา (Aboriginal Canadians) ที่มอบให้โดยสำนักงานมุทราศาสตร์แห่งแคนาดา (Canadian Heraldic Authority) คำว่า “Escutcheon” มาจากภาษาอังกฤษกลาง “escochon” ที่มาจากที่มาจากแองโกล-นอร์มัน “escuchon” ที่มาจากที่มาจากแองโกล-นอร์มัน “Escochon” ที่มาจากภาษาลาตินพื้นบ้าน (Vulgar Latin) “scūtiōn-” จากภาษาลาติน “scūtum” ที่แปลว่า “โล่” จากความหมายนี้ในมุทราศาสตร์ คำว่า “Escutcheon” สามารถหมายถึงสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของตระกูลและเกียรติยศของตระกูล คำว่า “inescutcheon” หรือ “โล่ใน” เป็นโล่ที่มีขนาดเล็กกว่าโล่หลักที่ตั้งอยู่ในบริเวณโล่หลัก ที่อาจจะใช้สำหรับ “pretense” หรือการวางโล่เหนือโล่อีกโล่หนึ่งของตนเอง ซึ่งคือการวางโล่เหนือโล่หรือสัญลักษณ์ของดินแดนในปกครอง หรือ เพียงเพื่อเป็นเครื่องหมายตกแต่งโดยไม่มีความหมายลึกไปกว่านั้น.

ใหม่!!: กางเขนไขว้และโล่ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

เส้นแบ่ง (มุทราศาสตร์)

้นแบ่ง (Line) ในมุทราศาสตร์ “เส้นแบ่ง” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ใช้ในการแบ่งโล่ (division of the field) และการสร้างลายตรา (variations of the field) และ เครื่องหมาย (charges) ที่ใช้ในมุทราศาสตร์ ที่ตามปกติจะเป็นเส้นตรง แต่อาจจะมีหลายรูปหลายแบบ (การกำหนดชนิดของ “เส้นแบ่ง” บางครั้งต้องเป็นไปอย่างระมัดระวังระหว่างเส้นแบ่งตามธรรมเนียมที่ใช้กันมาและเส้นแบ่งที่แปลกออกไป และการแยกระหว่าง “เส้นแบ่ง” และ “เครื่องหมาย” เช่นในนิยาม “a mount in base” (“เนิน ตอนล่าง”) หรือโดยเฉพาะในมุทราศาสตร์เยอรมันที่ใช้หยักเชิงเทินจากกำแพงเมืองในการเป็น “เส้นแบ่ง” หรือ “เครื่องหมาย”) ในสกอตแลนด์การใช้เส้นแบ่งมักจะใช้ในการแต่งเติมขอบโล่ (หรือเรขลักษณ์อื่นๆ) เพื่อให้ทำให้ตราเป็นเอกลักษณ์ (cadency) จากตราของประมุขเจ้าของตราอาร์มหลัก.

ใหม่!!: กางเขนไขว้และเส้นแบ่ง (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องหมาย (มุทราศาสตร์)

รื่องหมาย (Charge) ในมุทราศาสตร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งของตราอาร์มที่เป็นเครื่องหมายที่อาจจะเป็นตราสัญลักษณ์หรือสิ่งต่างๆ ที่ตั้งอยู่บนพื้นตราของโล่ภายในตรา ซึ่งอาจจะเป็นลายเรขาคณิต (บางครั้งเรียกว่า “แถบ”) หรือสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์สำหรับของบุคคล สัตว์ สิ่งของ หรือ สิ่งอื่นๆ ในนิยามของตราของฝรั่งเศสแถบเรียกว่า “pièces” และเครื่องหมายอื่นๆ เรียกว่า “mobile” ซึ่งเป็นคำคำพ้องรูปพ้องเสียง (homonym) กับคำว่า “meuble” ในภาษาฝรั่งเศสปัจจุบันที่แปลว่าเครื่องเรือน การแบ่งเครื่องหมายออกเป็น “แถบ” หรือ “แถบย่อย” และกลุ่มอื่นๆ เป็นระเบียบใหม่ที่เป็นที่คัดค้านโดยนักเขียนเกี่ยวกับมุทราศาสตร์หลายคนที่รวมทั้งฟ็อกซ์-เดวิส ความสำคัญและความหมายของเครื่องหมายจะได้รับการระบุในนิยามของตรา คำว่า “charge” (“เครื่องหมาย”) อาจจะใช้เป็นคำกิริยา เช่นถ้าโล่มีสิงห์โตสามตัวก็จะนิยามว่า charged with three lions (เครื่องหมายด้วยสิงห์สามตัว) หรือ เครื่องยอดหรือตัว “เครื่องหมาย” เองก็อาจจะเป็น “เครื่องหมาย” ได้ เช่นเป็นปีกเหยี่ยวคู่ charged with trefoils (เป็นเครื่องหมายจิกสามแฉก) (เช่นตราแผ่นดินของบรันเดินบวร์ค) สิ่งสำคัญคือการแสดงความแตกต่างระหว่าง “แถบ” (ordinaries) กับ “ช่องตรา” (divisions of the field) เพราะเครื่องหมายทั้งสองอย่างนี้ใช้วิธีนิยามเดียวกัน เช่นโล่ divided "per chevron" (ช่องแบ่งด้วยแถบเชฟรอน) ที่ต่างจาก charged with chevron (เป็นเครื่องหมายเชฟรอน) สิ่งต่างที่ใช้เป็นเครื่องหมายมาจากธรรมชาติ ตำนาน หรือเทคโนโลยี สิ่งต่างๆ ที่ใช้เป็นเครื่องหมายก็ได้แก่กางเขนที่เป็นเครื่องหมายของคริสต์ศาสนา เหยี่ยว สิงห์โต หรือ สิ่งก่อสร้าง.

ใหม่!!: กางเขนไขว้และเครื่องหมาย (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Saint Andrew's CrossSaltireกางเขนนักบุญแอนดรูว์กางเขนเซนต์แอนดรูว์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »