โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กันดั้ม

ดัชนี กันดั้ม

กันดั้ม (Gundam) เป็นซีรีส์แอนิเมชั่นญี่ปุ่นเกี่ยวกับหุ่นยนต์ต่อสู้ขนาดยักษ์ สร้างโดยบริษัทซันไรส์ Sunrise (company) กันดั้มนับเป็นอะนิเมะซีรีส์แรกซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มการ์ตูนหุ่นยนต์แนวเรียลโรบ็อท มีการสร้างภาคต่อและภาคใหม่มาจนถึงปัจจุบัน และในบางตอนของกันดั้มหลายๆซีรีส์ ซันไรส์ได้สร้างใหม่หรือสร้างเพิ่มเติมแบบขยายความจากเนื้อเรื่องเดิมในรูปแบบ คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ โดยรวมกันในชื่อ Gundam Evolve ออกมา สำหรับคำว่า กันดั้ม เป็นคำเรียกรวม ๆ ของซีรีส์สองกลุ่มคือ กลุ่มที่ใช้ระบบปฏิทินแบบ Universal Century เช่น โมบิลสูทกันดั้ม และกลุ่มจักรวาลคู่ขนานอื่นๆ เช่น กันดั้มวิง กันดั้มเอกซ์ หรือ กันดั้มซี้ด นอกจากนั้นยังมีเรื่องชุดเอสดีกันดั้ม SD Gundam ซึ่งเอสดีเป็นตัวย่อมาจากคำว่าซูเปอร์ดีฟอร์ม ภาคแรกๆของเอสดีกันดั้มนี้มีเนื้อหาที่เป็นแนวตลกขบขันและล้อเลียนเนื้อหาของภาคหลัก ผู้กำกับและเขียนบทกันดั้มภาคแรกๆ คือ โทะมิโนะ โยะชิยุกิ ผู้ออกแบบตัวละครคือ ยะซุฮิโกะ โยะชิกะซุ หรือ YAS เนื้อเรื่องของกันดั้มยังมีการเผยแพร่ในรูปแบบของหนังสือการ์ตูนและนิยาย ซึ่งมีทั้งเนื้อเรื่องซึ่งเป็นการดัดแปลง ตัดทอน หรือขยายความจากเนื้อเรื่องในอะนิเมะซีรีส์ กับเรื่องที่เป็นภาคประกอบของเรื่องหลัก ปัจจุบันหนังสือการ์ตูนมีตีพิมพ์ในประเทศไทยโดยสำนักพิมพ์หลายแห่ง เช่น บงกช พับลิชชิ่ง และสยามอินเตอร์คอมิก.

51 ความสัมพันธ์: บันได (บริษัทญี่ปุ่น)บันเทิงคดีช่อง 9 เอ็มคอตเอชดีพ.ศ. 2542พ.ศ. 2547กันดั้ม: G โนะ เรคอนกิสต้ากันดั้มบิลด์ไฟท์เตอร์กันดั้มบิลด์ไฟท์เตอร์ไทร์กันดั้มวิงกันดั้มดับเบิลโอกันดั้มซี้ดกันดั้มซี้ด C.E.73 สตาร์เกเซอร์กันดั้มซี้ดเดสทินีกันดั้มเอจกันดั้มเอ็กซ์กันด๊าม กันดั้มภาพยนตร์มังงะยุคคอสมิกยูนิเวอร์แซลเซนจูรีรายชื่อหุ่นยนต์ใน After Colonyรายชื่อหุ่นยนต์ใน Cosmic Eraรายชื่อหุ่นยนต์ในกันดั้มซีรีส์รายชื่อหุ่นยนต์ในยูนิเวอร์แซลเซนจูรีรายการโทรทัศน์สยามอินเตอร์มัลติมีเดียสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7อะนิเมะคริสต์ศักราชคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ตัวละครใน Cosmic Eraซูเปอร์โรบ็อตไทเซ็นโมบิลสูทโมบิลสูท กันดั้มโมบิลสูท กันดั้ม 0080 : วอร์อินเดอะพอกเก็ตโมบิลสูท กันดั้ม 08th ทีมโมบิลสูท กันดั้ม ยูนิคอร์นโมบิลสูท กันดั้ม ดับเบิ้ลเซต้าโมบิลสูท กันดั้ม เอ็มเอสอิกลูโมบิลสูท กันดั้ม F91โมบิลสูท วิกทอรี่ กันดั้มโมบิลสูท เซต้ากันดั้มโมบิลสูทกันดั้ม : ชาร์ เคาน์เตอร์ แอทแทคโมบิลสูทกันดั้ม ไอรอน บลัด ออร์แฟนซ์โมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ เดอะมูฟวี่: การตื่นของผู้บุกเบิกโมบิลอาเมอร์โมบิลไฟท์เตอร์ จีกันดั้มโอวีเอไอทีวีไดนาสตีวอริเออร์กันดั้ม...เพลย์สเตชัน 3 ขยายดัชนี (1 มากกว่า) »

บันได (บริษัทญี่ปุ่น)

ันได เป็นบริษัทผลิตของเล่น รูปแบบต่าง ๆ และเป็นบริษัทของเล่นรายใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นและเป็นสปอนเชอร์หลักในการผลิตภาพยนตร์โทคุซัทสึ และอะนิเมะ ในปี.

ใหม่!!: กันดั้มและบันได (บริษัทญี่ปุ่น) · ดูเพิ่มเติม »

บันเทิงคดี

บันเทิงคดี เป็นงานรูปแบบหนึ่งที่ว่าด้วยสารสนเทศหรือเหตุการณ์ซึ่งมิใช่ข้อเท็จจริง แต่เป็นจินตนาการหรือทฤษฎีบางส่วนหรือทั้งหมด กล่าวคือ เป็นงานที่ผู้ประพันธ์แต่งขึ้น แม้บันเทิงคดีจะใช้หมายถึงสาขาหลักของงานวรรณกรรมอย่างหนึ่ง แต่ยังอาจหมายถึง งานละคร ภาพยนตร์หรือดนตรีด้วย บันเทิงคดีตรงข้ามกับสารคดี ซึ่งว่าด้วยเหตุการณ์ คำอธิบาย การสังเกตที่เป็นจริง (หรืออย่างน้อย ที่สันนิษฐานว่าเป็นจริง) เช่น ชีวประวัติ ประวัติศาสตร์ เป็นต้น ผลงานที่จัดเป็นบันเทิงคดี เช่น นิทาน เรื่องสั้น ภาพยนตร์บางประเภท เรื่องปรัมปรา การ์ตูน หรืออาจเป็นแอนิเมชัน และวิดีโอเกมบางประเภท เป็นต้น หมวดหมู่:ประเภทวรรณกรรม.

ใหม่!!: กันดั้มและบันเทิงคดี · ดูเพิ่มเติม »

ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี

นีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี (Channel 9 MCOT HD; ชื่อเดิม: สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 บางลำพู, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท., สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) แห่งแรกของประเทศไทย ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 4 ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 จึงย้ายมาออกอากาศด้วยภาพสี ทางช่องสัญญาณที่ 9 จนถึงปัจจุบัน สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล มีพลเอก ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข เป็นประธานกรรมการบริษัท และนายเขมทัตต์ พลเดชเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ.

ใหม่!!: กันดั้มและช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2542

ทธศักราช 2542 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1999 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และสหประชาชาติกำหนดให้เป็น ปีสากลแห่งผู้สูงอายุและเป็นปีมหามงคลในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ (พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒).

ใหม่!!: กันดั้มและพ.ศ. 2542 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2547

ทธศักราช 2547 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2004 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน เป็นปีอธิกมาส ปกติวาร ตามปฏิทินไทยจันทรคติ และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: กันดั้มและพ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

กันดั้ม: G โนะ เรคอนกิสต้า

กันดั้ม: G โนะ เรคอนกิสต้า (Gundam Reconguista in G) เป็นผลงานซีรีส์ กันดั้ม ของบริษัท ซันไรส์ เป็นผลงานที่ถูกสร้างเพื่อฉลองครอบรอบ 35 ปีของซีรีส์ และเป็นผลงานทีวีซีรีส์ในรอบหลายปีซึ่งกำกับและเขียนบทโดย โทะมิโนะ โยะชิยุกิ บิดาผู้ให้กำเนิด กันดั้ม นับตั้งแต่ผลงาน∀กันดั้มในปี 2542 โดยจะเริ่มออกอากาศครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ 2 ตุลาคม 2557 ถึงวันที่ 27 มีนาคม 2558 รวมทั้งสิ้น 26 ตอน.

ใหม่!!: กันดั้มและกันดั้ม: G โนะ เรคอนกิสต้า · ดูเพิ่มเติม »

กันดั้มบิลด์ไฟท์เตอร์

กันดั้มบิลด์ไฟท์เตอร์ (Gundam Build Fighters) เป็นผลงานซีรีส์ กันดั้ม ลำดับที่ 13 ของบริษัท ซันไรส์ เริ่มออกอากาศครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2556 จนถึงถึงวันที่ 31 มีนาคม 2557 รวมทั้งสิ้น 25 ตอน ในประเทศไทยได้ฉายทางโทรทัศน์ช่อง โมเดิร์นไนน์ ทีวี และยังฉายผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ตทาง DexChannel โดย DEX ภาคต่อจะออกอากาศในเดือนตุลาคมของปี..

ใหม่!!: กันดั้มและกันดั้มบิลด์ไฟท์เตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กันดั้มบิลด์ไฟท์เตอร์ไทร์

กันดั้มบิลด์ไฟท์เตอร์ไทร์ (Gundam Build Fighters TRY) เป็นผลงานซีรีส์ กันดั้ม ลำดับที่ 15 ของบริษัท ซันไรส์ และเป็นภาคต่อโดยตรงของกันดั้มบิลด์ไฟท์เตอร์เริ่มออกอากาศครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ 8 ตุลาคม 2557 ถึงวันที่ 1 เมษายน 2558 รวมทั้งสิ้น 25 ตอน ตอนพิเศษ กันดั้มบิลด์ไฟท์เตอร์ไทร์: Island Wars (Gundam Build Fighters Try: Island Wars) มีกำหนดฉายในวันที่ 21 สิงหาคม 2559.

ใหม่!!: กันดั้มและกันดั้มบิลด์ไฟท์เตอร์ไทร์ · ดูเพิ่มเติม »

กันดั้มวิง

มบิลสูทกันดั้มวิง (Mobile Suit Gundam Wing) เป็นแอนิเมชันทางโทรทัศน์ความยาว 49 ตอน ออกอากาศ พ.ศ. 2538 ในประเทศไทยเคยแพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. และ ยูบีซีคิดส์ ช่อง 26 (ปัจจุบันคือ ยูบีซีสปาร์ค ช่อง 28) ของสถานีเคเบิลโทรทัศน์ ยูบีซี โดยในอดีตบริษัท ไทก้า เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์และจำหน่ายเฉพาะในรูปแบบของ วีซีดี โดยในปัจจุบันลิขสิทธิ์ได้อยู่กับทาง เด็กซ์ และจำหน่ายในรูปแบบของ วีซีดี และ ดีวีดี อีกรอบโดยยังคงใช้เสียงพากย์ของทาง ไทก้า เหมือนเดิม.

ใหม่!!: กันดั้มและกันดั้มวิง · ดูเพิ่มเติม »

กันดั้มดับเบิลโอ

มบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น 1 ในซีรีส์ กันดั้ม เริ่มออกอากาศครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ถึง 29 มีนาคม พ.ศ. 2551 มีความยาวทั้งหมด 25 ตอน และมีกำหนดการที่จะออกอากาศซีซันที่ 2 ต่อ หลังจากเว้นระยะเวลาไปช่วงหนึ่ง ส่วนในประเทศไทย โมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ วางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดี-ดีวีดีลิขสิทธิ์ โดย DEXโดยกันดั้มภาคนี้เป็นกันดั้มภาคสุดท้ายที่ทางDEXจัดจำหน่ายในรูปแบบวีซีดี.

ใหม่!!: กันดั้มและกันดั้มดับเบิลโอ · ดูเพิ่มเติม »

กันดั้มซี้ด

มบิลสูท กันดั้ม ซี้ด (Mobile Suit Gundam SEED) (เรียกย่อ ๆ ว่า กันดั้มซี้ด) เป็นอะนิเมะฉายทางโทรทัศน์ในประเทศญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในอะนิเมะตระกูลกันดั้ม ของสตูดิโอซันไรส์ แต่ ดำเนินเรื่องในจักรวาลเฉพาะที่ใช้ชื่อศักราชว่า Cosmic Era แยกจากกันดั้มตอนอื่น ๆ ความยาว 50 ตอน ฉายระหว่าง ค.ศ. 2002-2003 ลิขสิทธิ์ในประเทศไทยเป็นของบริษัท DEX และเคยฉายทางไอทีวี ในปี..

ใหม่!!: กันดั้มและกันดั้มซี้ด · ดูเพิ่มเติม »

กันดั้มซี้ด C.E.73 สตาร์เกเซอร์

มบิลสูทกันดั้มซี้ด C.E.73 สตาร์เกเซอร์ (Gundam SEED C.E.73 Stargazer) เป็นเนื้อเรื่องไซด์สตอรี่อีกภาคหนึ่งของซีรีส์ กันดั้มซี้ด (Gundam SEED) ซึ่งทางบริษัทซันไรส์ได้นำมาลงเป็น "ONA" (Original Net Animation) เป็นการฉายทางเน็ตโดยการโหลดมาชม) ซึ่งเนื้อเรื่องจะเป็นช่วงเวลาตอนที่ยูนิอุสเซเว่นตกใน กันดั้มซี้ดเดสทินี (Gundam SEED Destiny) และจะสื่อไปในอีกรูปแบบหนึ่งที่ผู้ชมไม่เคยได้รับทราบมาก่อน อะนิเมะเรื่องนี้ได้ออกตอนแรกไปแล้วเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2549และได้มีการจำหน่ายดีวีดีในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2549 ที่ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งภายในแผ่นนอกจากจะมี "โมบิลสูทกันดั้มซี้ด C.E.73 สตาร์เกเซอร์" แล้วยังมี "โมบิลสูทกันดั้มซี้ด เอ็มเอสวี แอสเทรย์" (Gundam Seed MSV Astray) ซึ่งเป็น OVA ขนาดสั้นแถมมาอีกด้ว.

ใหม่!!: กันดั้มและกันดั้มซี้ด C.E.73 สตาร์เกเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กันดั้มซี้ดเดสทินี

กันดั้มซี้ดเดสทินี เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น 1 ในซีรีส์กันดั้ม ที่ถูกสร้างขึ้นเป็นภาคต่อของกันดั้มซี้ด เริ่มออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่น ทุกวันเสาร์ เวลา 18.00-18.30 น. ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 2004 (บางท้องถิ่นเป็นวันที่ 16 ตุลาคม) ถึง 1 ตุลาคม ค.ศ. 2005 (บางท้องถิ่นเป็นวันที่ 8 ตุลาคม) ทางสถานี TBS รวมความยาวทั้งสิ้น 50 ตอน ในประเทศไทย กันดั้มซี้ดเดสทินี ไม่ได้ออกอากาศทางฟรีทีวี แต่เพิ่งได้ออกกอากาศทาง ทรูสปาร์กในช่วงปลายปี 2550 ค.ศ. 2007 โดยออกอากาศครบตามจำนวนตอนปกติเหมือนครั้งออกอากาศทางญี่ปุ่น และในปี 2553 ได้กลับมาออกอากาศในรายการการ์ตูนทางทีวีช่อง 5 อีกครั้ง ส่วนรูปแบบ วีซีดี และ ดีวีดี เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท DEX ซึ่งในรูปแบบ ดีวีดี แผ่นสุดท้ายได้มีตอนพิเศษแถมมาให้ซึ่งก็คือเนื้อเรื่องตอนที่ 50 นำมาดัดแปลงบางส่วนของตอนจบให้ต่างจากของต้นฉบับเดิม อนึ่ง กันดั้มซี้ดเดสทินี เป็นอะนิเมะเรื่องแรกๆ ของประเทศไทยที่มีการออกวางจำหน่ายวีซีดีในช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นยังคงออกอากาศต่อเนื่องอยู.

ใหม่!!: กันดั้มและกันดั้มซี้ดเดสทินี · ดูเพิ่มเติม »

กันดั้มเอจ

มบิลสูทกันดั้มเอจ เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น 1 ในซีรีส์ กันดั้ม เริ่มออกอากาศครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2554 จนถึงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555 การนับศักราชในซีรีส์นี้คือ A.G. (Advanced Generation).

ใหม่!!: กันดั้มและกันดั้มเอจ · ดูเพิ่มเติม »

กันดั้มเอ็กซ์

กันดั้มเอ็กซ์ (แปลว่า Mobile New Century Gundam X ในภาษาอังกฤษ แต่ชื่อทางการในภาษาอังกฤษ คือ After War Gundam X) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น 1 ในซีรีส์ กันดั้ม โดยเนื้อหาไม่เกี่ยวข้องกับภาคหลักเช่นเดียวกับกันดั้มวิงและจีกันดั้ม การนับศักราชในซีรีส์นี้คือ A.W. (After War) โดยนับตั้งแต่สงครามระหว่างโคโลนี่และโลกจบลง กันดั้มเอ็กซ์เป็นกันดั้มภาคเดียวที่กล่าวถึงนิวไทป์แต่ไม่ได้ใช้ระบบปฏิทิน Universal Century โดยในประเทศไทยกันดั้มเอ็กซ์ได้ฉายทางสถานีโทรทัศน์ ITV โดยผู้ถือลิขสิทธิ์ในไทยคือบริษัท ไทก้า โดยได้จัดทำมาในรูปแบบ วีซีดี อย่างเดียวโดยในปัจจุบันบริษัทDEXเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์และได้ทำออกมาจำหน่ายในรูปแบบของดีวีดีบ้อกเซ็ตพากย์ญี่ปุ่นซับไตเติ้ลไทย อย่างเดียว.

ใหม่!!: กันดั้มและกันดั้มเอ็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

กันด๊าม กันดั้ม

กันด๊าม กันดั้ม เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นแบบสี่ช่องจบ แต่งโดย ฮิเดกิ โอวาดะ ลงตีพิมพ์ในนิตยสารกันดั้มเอซรายเดือน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบัน และมีฉบับรวมเล่มออกมาแล้ว 2 เล่ม เนื้อหาหลักในเรื่องเป็นการล้อเลียนภาพยนตร์อะนิเมะ โมบิลสูทกันดั้ม แบบตลกขบขัน เดิมที กันด๊าม กันดั้ม เป็นผลงานที่ ฮิเดกิ โอวาดะ เขียนไว้ก่อนที่จะได้เป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพ และนำขึ้นแสดงไว้ใน "" เว็บไซต์ส่วนตัวของตนเอง แต่เมื่อได้เป็นนักเขียนอาชีพแล้ว กันด๊าม กันดั้ม ก็ถูกนำลงตีพิมพ์ในนิตยสารกันดั้มเอซรายเดือน ทำให้ผลงานชิ้นนี้กลายเป็นการ์ตูนล้อเลียนอย่างเป็นทางการ ซึ่งทางสำนักพิมพ์เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ โอวาดะจึงต้องลบผลงานเรื่อง กันด๊าม กันดั้ม ที่เขียนไว้ทั้งหมดออกจากเว็บไซต์ของตนเอง กันด๊าม กันดั้ม ถูกจัดพิมพ์เป็นภาคภาษาไทยแบบไม่มีลิขสิทธิ์โดยสำนักพิมพ์ Ant Comics Group.

ใหม่!!: กันดั้มและกันด๊าม กันดั้ม · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์

กล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวของฟ็อกซ์ในยุคแรก ๆ ภาพยนตร์ หรือ หนัง คือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิลม์ชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง.

ใหม่!!: กันดั้มและภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มังงะ

หน้าหนึ่งจากหนังสือการ์ตูนเรื่องมาร์มาเลดบอย ฉบับภาษาญี่ปุ่น เล่ม 1 มังงะ เป็นคำภาษาญี่ปุ่นสำหรับเรียกการ์ตูนช่อง สำหรับภายนอกประเทศญี่ปุ่น คำนี้ถูกใช้เรียกการ์ตูนช่องที่มาจากญี่ปุ่น มังงะพัฒนามาจากอุคิโยเอะและจิตรกรรมตะวันตก และเริ่มคงรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง มังงะที่ได้รับความนิยมสูงมักถูกนำไปสร้างเป็นอะนิเมะ เนื้อหาของมังงะเหล่านั้นมักถูกดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมต่อการแพร่ภาพทางโทรทัศน์และเพื่อให้ถูกรสนิยมของผู้ชมทั่วไปมากขึ้น.

ใหม่!!: กันดั้มและมังงะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคคอสมิก

ปีศักราชแบบใหม่ที่ถูกใช้ในยุคแห่งการสำรวจอวกาศ ซึ่งในโลกของSEEDนั้น ผู้ริเริ่มคือองค์การสหประชาชาติ ซึ่งนับปีที่สามารถจบสงครามโลกครั้งที่3ได้เป็นปีแรกของยุคสมัยCosmic Era (ไม่มีการระบุปีคริสต์ศักราชเอาไว้ชัดเจน) เนื้อเรื่องของกันดั้มSEED (วันที่คิระขึ้นขับสไตรค์ครั้งแรก) คือวันที่ 25 มกราคม C.E.71 ซึ่งเป็นเรื่องราวหลังจากโลกและแพล้นท์เริ่มสงครามไปแล้วถึง 11 เดือน หมวดหมู่:กันดั้ม.

ใหม่!!: กันดั้มและยุคคอสมิก · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิเวอร์แซลเซนจูรี

ูนิเวอร์แซลเซนจูรี หรือตัวย่อ UC เป็นระบบปฏิทินแบบหนึ่งในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องกันดั้ม ศักราช ยูนิเวอร์แซลเซนจูรี เริ่มเมื่อมนุษย์สามารถตั้งถิ่นฐานในอวกาศได้ และเริ่มนับเมื่อการสร้างโคโลนี Side 1 ซึ่งเริ่มการก่อสร้างในคริสต์ศักราช 2045 เสร็จสิ้น ศักราช UC ถือเป็นระบบเวลาหลักของซีรีส์กันดั้ม ในโมบิลสูทกันดั้ม ตอนที่แปด มีแสตมป์ที่ระบุปี 2079 และในโมบิลสูทเซต้ากันดั้มมีแสตมป์ซึ่งระบุปี 2088 ซึ่งหมายความว่าศักราช UCที่หนึ่งนั้นเริ่มในปีคริสต์ศักราช 2001 แต่ในฉบับตัดต่อใหม่เพื่อฉายในโรงภาพยนตร์ของทั้งสองภาคไม่มีฉากเหล่านี้ ในตอนสุดท้ายของกันดั้ม 0080 มีหนังสือพิมพ์ที่ระบุวันที่ไว้ว่า Monday, January 14, 0081 ซึ่งทำให้สามารถระบุได้ว่าศักราช UCนั้นเริ่มในปี 2053, 2081, 2109 หรือหลังจากนั้น.

ใหม่!!: กันดั้มและยูนิเวอร์แซลเซนจูรี · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อหุ่นยนต์ใน After Colony

รายชื่อของหุ่นยนต์จากกันดั้มซีรีส์ที่ใช้ระบบปฏิทิน After Colony.

ใหม่!!: กันดั้มและรายชื่อหุ่นยนต์ใน After Colony · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อหุ่นยนต์ใน Cosmic Era

รายชื่อของหุ่นยนต์จากกันดั้มซีรีส์ซึ่งใช้ระบบปฏิทิน Cosmic Era.

ใหม่!!: กันดั้มและรายชื่อหุ่นยนต์ใน Cosmic Era · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อหุ่นยนต์ในกันดั้มซีรีส์

รายชื่อของหุ่นยนต์จากกันดั้มซีรีส์โดยแบ่งตามระบบปฏิทินที่ใช้ในเรื่อง รายชื่อนี้จะเรียงตามภาคที่ปรากฏตัวเป็นครั้งแรก.

ใหม่!!: กันดั้มและรายชื่อหุ่นยนต์ในกันดั้มซีรีส์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อหุ่นยนต์ในยูนิเวอร์แซลเซนจูรี

รายชื่อของหุ่นยนต์จากกันดั้มซีรีส์ซึ่งใช้ระบบปฏิทินยูนิเวอร์แซลเซนจูรี รายชื่อนี้จะเรียงตามภาคที่ปรากฏตัวเป็นครั้งแรก.

ใหม่!!: กันดั้มและรายชื่อหุ่นยนต์ในยูนิเวอร์แซลเซนจูรี · ดูเพิ่มเติม »

รายการโทรทัศน์

รายการทอล์กโชว์ The Oprah Winfrey Show โดย โอปราห์ วินฟรีย์ รายการโทรทัศน์ เป็นส่วนต่าง ๆ ของการออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ การออกอากาศรายการโทรทัศน์ มีขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1936 ในกรุงลอนดอน รายการโทรทัศน์ อาจออกอากาศเพียงแค่ครั้งเดียว หรือมีตอนต่อ ที่เรียกว่า ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์ (TV series) ส่วนมากมักเป็นรายการประเภทละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์มักแบ่งเป็นภาค ๆ โดยในหนึ่งภาค ในสหรัฐอเมริกาจะเรียกว่า ฤดูกาล (season) แต่ในสหราชอาณาจักรจะเรียกว่า ชุด (series) แต่ละฤดูกาลหรือชุดจะมีความยาวประมาณ 6-26 ตอน รายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศเป็นพิเศษเพียงครั้งเดียว จะเรียกว่า รายการพิเศษ (special program) และสถานีวิทยุโทรทัศน์บางสถานี ยังมี ภาพยนตร์โทรทัศน์ (TV movies) ที่สร้างขึ้นเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์โดยเฉพาะ ไม่ได้ออกฉายทางโรงภาพยนตร์ หรือบันทึกลงในวิดีโอ วีซีดี ดีวีดี หรือสื่ออื่น ๆ ทุกวันนี้ การออกอากาศ ภาพยนตร์โฆษณา (commercial advertisement) ถือเป็นส่วนสำคัญของรายการโทรทัศน์ โดยมีข้อปฏิบัติเป็นเกณฑ์ว่า ในการออกอากาศรายการโทรทัศน์ 1 ชั่วโมง จะมีภาพยนตร์โฆษณาได้ไม่เกิน 15 นาที เหมือนในโรงภาพยนตร.

ใหม่!!: กันดั้มและรายการโทรทัศน์ · ดูเพิ่มเติม »

สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย

ริษัท สยาม อินเตอร์ มัลติมีเดีย จำกัด (มหาชน) (Siam Inter Multimedia Public Company Limited).

ใหม่!!: กันดั้มและสยามอินเตอร์มัลติมีเดีย · ดูเพิ่มเติม »

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

นีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (Bangkok Broadcasting Television Channel 7) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินซึ่งออกอากาศด้วยระบบภาพสีแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่ 3 ของประเทศไทย ดำเนินกิจการภายใต้สัญญาสัมปทานกับกองทัพบก เริ่มแพร่ภาพเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 9ราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม 86 ตอน 10 ง หน้า 241, 4 กุมภาพัน..

ใหม่!!: กันดั้มและสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 · ดูเพิ่มเติม »

อะนิเมะ

รูปแบบอะนิเมะในปัจจุบัน อะนิเมะ (「アニメ」 anime) เป็นคำภาษาญี่ปุ่นที่มาจากภาษาอังกฤษว่า แอนิเมชั่น (animation) ซึ่งมาจาก ภาษาฝรั่งเศส อานีเม่ (animé) และจากภาษาละติน แปลว่าเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหว แต่ความหมายกลายจนเป็นคำเฉพาะของภาษาญี่ปุ่นแปลว่า ภาพยนตร์การ์ตูน ภายนอกประเทศญี่ปุ่น อะนิเมะหมายถึงภาพยนตร์การ์ตูนสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะทางศิลปะแตกต่างกับภาพยนตร์การ์ตูนจากแหล่งอื่น อะนิเมะส่วนใหญ่จะวาดขึ้นด้วยมือ แต่ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสร้างอะนิเมะอย่างแพร่หลาย อะนิเมะส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อให้ความบันเทิงเหมือนภาพยนตร์ โดยมีแนวเรื่องหลากหลายและครอบคลุมแนววรรณกรรมเกือบทุกแนว อะนิเมะส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นเป็นตอน ๆ เพื่อฉายทางโทรทัศน์ ส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาวเพื่อฉายในโรงภาพยนตร์ และอีกส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นตอน ๆ เพื่อขายตรงในรูปแบบดีวีดี วีซีดี หรือวีดิโอ ดูมีการทำตอนเฉพาะที่เรียกว่า โอวีเอ อะนิเมะหลายเรื่องถูกดัดแปลงมาจากมังงะ นอกจากนี้ยังมีอะนิเมะที่ถูกนำไปดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์อีกด้ว.

ใหม่!!: กันดั้มและอะนิเมะ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศักราช

ริสต์ศักราช (Anno Domini Nostri Iesu Christi Anno Domini: AD หรือ A.D. ส: คฺฤสฺตศกฺราช ป: คิตฺถสกฺกาช) เขียนย่อว.. หมายถึง ปีของพระเยซูคริสต์ โดยเริ่มนับจากปีที่เชื่อว่าพระเยซูทรงประสูติ เป็น..

ใหม่!!: กันดั้มและคริสต์ศักราช · ดูเพิ่มเติม »

คอมพิวเตอร์กราฟิกส์

อมพิวเตอร์กราฟิกส์ (computer graphics) หรือในศัพท์บัญญัติว่า วิชาเรขภาพคอมพิวเตอร์ คือหนึ่งในศาสตร์ องค์ความรู้ ของระเบียบวิธีการแก้ปัญหาเชิงคอมพิวเตอร์ (computing methodology) ที่แก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของภาพหรือการแสดงภาพ โดยเน้นการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ให้ข้อมูลนำเข้าเป็นข้อมูลตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญญานต่าง ๆ แทน ตำแหน่งพิกัด สี รูปทรง ความสว่าง ขั้นตอนแรกเริ่มต้นด้วยการสร้างแบบจำลอง (modeling) เพื่อแทนความสัมพันธ์ของข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นให้สามารถประมวลผลได้ด้วยคอมพิวเตอร์ ตามด้วย การแปรเป็นภาพสุดท้าย หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเร็นเดอร์ หรือการเร็นเดอร์ (rendering) เป็นการแปรหรือแสดงผลลัพธ์ทางอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ เช่น จอภาพ หรือ อุปกรณ์อื่น ๆ ออกมาเป็นภาพเชิงเรขาคณิตมองเห็น รูปทรง สีสัน ลวดลาย ลายผิว หรือ ลักษณะแสงเงา รวมถึง ข้อมูลอื่น ๆ ของภาพ เช่น ข้อมูลการเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลง ลักษณะการเชื่อมต่อ และ ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุหรือสิ่งของในภาพ วิชานี้ยังครอบคลุมถึงการศึกษาด้านระบบในการแสดงภาพ ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ สถาปัตยกรรมของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เชื่อมต่อ หรือ อุปกรณ์ในการนำเข้า และ แสดงผล ปัจจุบันมีการประยุกต์ วิชาเรขภาพคอมพิวเตอร์ใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่น เช่น การสร้างภาพเคลื่อนไหวหรือ แอนิเมชัน งานภาพยนตร์ เกม สื่อประสมภาพและเสียง ศึกษาบันเทิง หรือ ระบบสร้างภาพความจริงเสมือน เป็นต้น ระเบียบวิธีที่นิยมแบ่งเป็นสองวิธีหลัก คือ การใช้หลักการฉายและการใช้หลักการตามรอยละแสง สำหรับวิธีการสร้างภาพโดยใช้หลักการฉาย (projective method) ซึ่งใช้หลักการแปลงพิกัดข้อมูลตำแหน่งต่าง ๆ ในสามมิติ ให้เป็นข้อมูลที่มีพิกัดสองมิติแล้วแสดงผลบนอุปกรณ์แสดงผลเช่นจอภาพ เป็นต้น โดยระหว่างการแปลงพิกัดจะมีการคำนวณย่อย เช่น การขริบ (clipping) การขจัดเส้นแฝงผิวแฝง (hidden line/surface removal) และ การทำให้เป็นจุดภาพ (rasterization) เป็นต้น อีกวิธีที่นิยมใช้คือ การตามรอยลำแสง (ray tracing) ซึ่งเป็นการคำนวณโดยอาศัยหลักไล่ตามรอยทางเดินของแสงที่มาจากแหล่งกำเนิดแสงมาตกกระทบที่วัตถุแล้วสะท้อนเข้าตาหรือกล้อง โดยไล่ตรวจสอบย้อนรอยแสง ไปดูค่าความสว่างของวัตถุที่จะแสดงในแต่ละจุดภาพบนอุปกรณ์แสดงผล.

ใหม่!!: กันดั้มและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวละครใน Cosmic Era

Cosmic Era เป็นระบบปฏิทินที่ใช้ในการ์ตูนอะนิเมะเรื่องกันดั้มซี้ด กันดั้มซี้ดเดสทินี และภาคเสริมอื่นๆ ของกันดั้มซี้ด รายชื่อตัวละครเหล่านี้เป็นตัวละครที่ปรากฏตัวในจักรวาล Cosmic Era ทั้งหมด โดยใช้สัญลักษณ์ดังนี้.

ใหม่!!: กันดั้มและตัวละครใน Cosmic Era · ดูเพิ่มเติม »

ซูเปอร์โรบ็อตไทเซ็น

ปกเกม ซูเปอร์โรบ็อตไทเซ็น ภาคอัลฟาไกเด็น สำหรับเครื่องเพลย์สเตชัน ซูเปอร์โรบ็อตไทเซ็น (スーパーロボット大戦, ซูปาโรบ็อตโตะไทเซ็น; Super Robot Wars) หรือในชื่อย่อว่า SRW เป็นตระกูลเกมซิมูเลชันอาร์พีจี (วางแผนการรบ + พัฒนาตัวละคร) พัฒนาโดยบริษัทแบนเพรสโต ออกวางจำหน่ายในรูปแบบเกมสำหรับเครื่องเล่นเกมแทบทุกชนิด เช่น แฟมิคอม, ซูเปอร์แฟมิคอม, เกมบอย, เพลย์สเตชัน, เกมบอยแอดวานซ์ ฯลฯ เป็นการจับเอาตัวละครและหุ่นจากอะนิเมะแนวหุ่นยนต์ยอดฮิตหลายๆ เรื่องมายำรวมกัน และร้อยเรียงเนื้อเรื่องขึ้นมาใหม่ให้กลายเป็นเรื่องเดียวกัน โดยในเกมจะมีการแบ่งประเภทหุ่นออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ซูเปอร์โรบ็อต และ เรียลโรบ็อต ซึ่งหุ่นทั้ง 2 ประเภท ต่างก็มีจุดเด่นและประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยมกันไปคนละแบบ ให้ผู้เล่นสามารถเลือกใช้ได้ตามแต่สถานการณ์และความถนัดของตนเอง อย่างไรก็ตาม แม้ในข้างต้นจะบอกว่าเกมซูเปอร์โรบ็อตไทเซ็น จะนำตัวละครและหุ่นจากอะนิเมะแนวหุ่นยนต์หลายเรื่องมาใช้ แต่ปัจจุบัน ตัวละครจากอะนิเมะที่ไม่ใช่แนวหุ่นยนต์อย่าง เทคก้าแมนเบลด กับ เบ็ตเตอร์แมน รวมไปถึง มังงะ และ เกม อย่าง ครอสโบนกันดั้ม และ เวอร์ชวลออน ก็ได้มามีบทบาทอยู่ในเกมด้วยแล้วเช่นกัน.

ใหม่!!: กันดั้มและซูเปอร์โรบ็อตไทเซ็น · ดูเพิ่มเติม »

โมบิลสูท

มบิลสูท ((ญี่ปุ่น:モビルスーツ;อังกฤษ:Mobile Suit มีคำย่อว่า MS) เป็นกลุ่มของหุ่นยนต์อาวุธรูปร่างคล้ายมนุษย์ขนาดใหญ่ในซีรีส์กันดั้ม ชื่อโมบิลสูทเชื่อว่าได้รับอิทธิพลจาก โมบิลอินแฟนทรี และ พาวเวิร์ดสูท ในนิยายวิทยาศาสตร์ สตาร์ชิปทรูเปอร์ของโรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน.

ใหม่!!: กันดั้มและโมบิลสูท · ดูเพิ่มเติม »

โมบิลสูท กันดั้ม

มบิลสูท กันดั้ม การ์ตูนญี่ปุ่นในลักษณะอะนิเมะซึ่งผลิตโดยบริษัทซันไรส์ ซึ่งถือว่าเป็นอะนิเมะที่เป็นต้นกำเนิดหุ่นยนต์ประเภทเรียลโรบ็อตและมีอิทธิผลต่อวงการอะนิเมะเป็นอย่างมากในปัจจุบันนี้ ออกอากาศครั้งแรกในญี่ปุ่น ทุกวันเสาร์ 17:30 - 18:30 วันที่ 7 เดือน4 ปี1979 จนถึง วันที่ 26 เดือน 1 ปี 1980 รวมทั้งสิ้น 42 ตอน ผลงานของ โยชิยูกิ โทมิโนะ (Yoshiyuki Tomino).

ใหม่!!: กันดั้มและโมบิลสูท กันดั้ม · ดูเพิ่มเติม »

โมบิลสูท กันดั้ม 0080 : วอร์อินเดอะพอกเก็ต

มบิลสูท กันดั้ม 0080: วอร์อินเดอะพอกเก็ต เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น 1 ในซีรีส์ กันดั้ม ออกแบบตัวละครโดย ฮารุฮิโกะ มิกิโมโตะ ออกแบบโมบิลสูทโดย คุนิโอะ โอคาวาระ และร่วมออกแบบโดย ยูทากะ อิซุบุจิ ผลงานเรื่องนี้มี ฟูมิฮิโกะ ทากายามะ เป็นผู้กำกับ นับเป็นผลงานเรื่องแรกในซีรีส์กันดั้มที่ โยชิยูกิ โทมิโนะ ไม่ได้เป็นผู้กำกับ และถูกสร้างออกมาในรูปแบบโอวีเอ ออกวางจำหน่ายในปี ค.ศ. 1989 มีความยาวทั้งสิ้น 6 ตอนจบ ในประเทศไทย โมบิลสูท กันดั้ม 0080: วอร์อินเดอะพอกเก็ต ได้รับลิขสิทธิ์จัดทำเป็นวีซีดีและดีวีดีโดย DEX.

ใหม่!!: กันดั้มและโมบิลสูท กันดั้ม 0080 : วอร์อินเดอะพอกเก็ต · ดูเพิ่มเติม »

โมบิลสูท กันดั้ม 08th ทีม

มบิลสูท กันดั้ม 08th ทีม เป็นแอนิเมชัน 1 ในซีรีส์ชุด กันดั้ม ซึ่งเล่าถึงเหตุการณ์ในช่วงสงครามหนึ่งปีจากมุมมองของทหารสามัญ ออกจำหน่ายในรูปแบบ โอวีเอ ตั้งแต่ปี 1996 ถึง 1999 มีความยาวทั้งสิ้น 11 ตอนจบ แต่ภายหลังได้มีการสร้างตอนพิเศษ "Last Resort" (ที่พักพิงสุดท้าย) ออกมาเพิ่มเป็นตอนที่ 12 นอกจากนี้ยังมีตอน "Miller's Report" ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อออกฉายในโรงภาพยนตร์ในปี 1998 ด้วย ในประเทศไทย โมบิลสูท กันดั้ม 08th ทีม ได้ออกจำหน่ายในรูปแบบ วีซีดี (6 แผ่นจบ) และ ดีวีดี (4 แผ่นจบ) โดย DEX.

ใหม่!!: กันดั้มและโมบิลสูท กันดั้ม 08th ทีม · ดูเพิ่มเติม »

โมบิลสูท กันดั้ม ยูนิคอร์น

มบิลสูท กันดั้ม ยูนิคอร์น เป็นไลท์โนเวลของซีรีส์กันดั้ม ประพันธ์โดยฮารุโทชิ ฟุคุอิ ออกแบบเครื่องกลโดยฮาจิเมะ คาโทกิ ความยาวสิบเล่ม ปัจจุบันก็ถูกนำมาตีพิมพ์เป็นภาษาไทยแล้ว โดยสองเล่มแรกจะมีชื่อตอนว่า "วันแห่งยูนิคอร์น" และเล่มที่สามจะมีชื่อว่า "การกลับมาของดาวหางสีแดง" นอกจากนั้นยังมีการประกาศสร้างเป็นโอวีเอความยาวห้าสิบนาที ความยาวเจ็ดตอนจบ ลิขสิทธิ์โดย DEX.

ใหม่!!: กันดั้มและโมบิลสูท กันดั้ม ยูนิคอร์น · ดูเพิ่มเติม »

โมบิลสูท กันดั้ม ดับเบิ้ลเซต้า

มบิลซูทเซต้ากันดั้ม โมบิลสูท กันดั้ม ดับเบิ้ลเซต้า;Mobile Suit Gundam Double Zeta) เป็นโมบิลซูทกันดั้มที่สร้างต่อจากภาคเซต้า เนื้อเรื่องหลังจากที่หน่วยทีทานส์ได้ล่มสลายลงในสงครามกริปส์วอร์เนื่องจากการที่เสียผู้บัญชาการสูงสุด แปปติมุส ซิร็อกโก้ ไปนั้น แต่ว่าจากผลกระทบของสงครามในครั้งนี้ทำให้ คามิล บีดัน เอซไพล็อทของเอวโก้กองกำลังต่อต้านทีทานส์นั้นไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ อันเป็นเพราะผลที่เนื่องมาจากพลังนิวไทป์ของในช่วงสุดท้ายที่ แปปติมุส ซีร็อกโก้ได้ใช้ก่อนที่ตัวเองจะตายนั้น ในการขับเคี่ยวกันในการต่อสู้ของทั้งสองคน ซึ่งหลังจากศึกครั้งนั้นเอวโก้ก็เสียหายเป็นอย่างมากจึงต้องซ่อมแซมที่โคโลนี่ไซด์วัน.

ใหม่!!: กันดั้มและโมบิลสูท กันดั้ม ดับเบิ้ลเซต้า · ดูเพิ่มเติม »

โมบิลสูท กันดั้ม เอ็มเอสอิกลู

มบิลสูท กันดั้มเอ็ม เอสอิกลู (機動戦士ガンダム MS IGLOO) เป็นภาพยนตร์คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ในชุดกันดั้ม โดยภาคแรกสามารถแบ่งออกได้เป็นสองภาคย่อยคือภาค บันทึกลับสงครามหนึ่งปี ซึ่งฉายที่บันไดมิวเซียม เมืองมัตสึโดะ จังหวัดจิบะและต่อมาได้มีการจำหน่ายเป็นดีวีดี กับภาค อโพคาลิป 0079 ซึ่งเป็นโอวีเอที่จำหน่ายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 เอ็มเอสอิกลูได้รับการกำกับโดยทาคาชิ อิมานิชิ ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นผู้กำกับกันดั้ม 0083และมียูทากะ อิซุบุจิเป็นผู้ดูแลการผลิต นอกจากนั้นยังมีภาคมังงะ เอ็มเอสอิกลู 603 ซึ่งวาดโดย MEIMU เนื้อหาของภาค 603 เป็นการนำภาคบันทึกลับสงครามหนึ่งปีมาเล่าใหม่และเพิ่มตอนพิเศษเข้าไป ต่อมาจึงมีภาคต่อคือ เอ็มเอสอิกลู 2 เดอะกราวิตีฟรอนท์ และเผยแพร่ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 การดำเนินเรื่องของภาค 2 นี้จะคล้ายกับภาคแรก แต่เปลี่ยนเป็นเรื่องราวจากมุมมองของฝ่ายสหพันธ์โลกแทนและเนื้อหาจะไม่ต่อเนื่องกันเหมือนภาคแรก.

ใหม่!!: กันดั้มและโมบิลสูท กันดั้ม เอ็มเอสอิกลู · ดูเพิ่มเติม »

โมบิลสูท กันดั้ม F91

มบิลสูท กันดั้ม F - 91 เป็นการเล่าเรื่องราวถึง กลุ่ม ครอสโบน แวนการ์ด ที่นำกำลังทหารเข้ารุกรานโคโลนี ฟรอนเทียร์ โคโลนีอันอยู่ใต้การปกครองของสหพันธ์โลก ซีบุค อาโน ผู้อาศัยอยู่ใน โคโลนี ฟรอนเทียร์ หมายเลข4 และเพื่อน ขณะที่กำลังหลบหนีจากการโจมตี กลุ่ม ครอสโบน แวนการ์ด ได้เข้ามาลักพาตัวเพื่อนของ ซีบุค อาโน ที่ชื่อ เซซิลี แฟร์ชาย ซึ่งเป็น ลูกสาวของหัวหน้ากลุ่ม ครอสโบน แวนการ์ด อาโน และเพื่อนที่เหลือจึงหนีไป ด้วยยานกู้ภัยและ ถูกคนของทางกองทัพสหพันธโลกยื้อตัวเข้าไปช่วยในสงครามเพื่อแย่งชิง ฟรอนเทียร์ คืนภายหลังเมื่อกองทัพโลกรู้ว่า อาโนนั้นคือนิวไทบ์ที่หายากยิ่งแล้ว จึงใช้เพื่อนและน้องสาวของอาโนบังคับให้อาโนออกสู้ ด้วยโมบิลสูทรุ่น ทดลองที่ชื่อF-91 หลังจากที่อาโน พบขึ้นขับF-91ในสนามรบก็พบกับ เซซิลี แฟร์ชาย อีกครั้งในครั้งนี้เธอเป็นนักบินของกลุ่มครอสโบน เมื่อทั้งคู่รู้ตัวว่ากำลังสู้กับใคร ทั้งคู่จึง ร่วมมือกันทำลายแผนของกลุ่มครอสโบน ที่จะใช้ บัคและโมบิลอาเมอ ราเฟิลเซีย ทำลายล้างระบบของสหพันธ์ที่กำลังปกครอง โคโลนีอยู.

ใหม่!!: กันดั้มและโมบิลสูท กันดั้ม F91 · ดูเพิ่มเติม »

โมบิลสูท วิกทอรี่ กันดั้ม

มบิลสูท วิกทอรี่กันดั้ม โมบิลสูท วิกทอรี่ กันดั้ม() (Mobile Suit Victory Gundam) เป็นภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์ (อะนิเมะ) ออกอากาศครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นระหว่างปี ค.ศ. 1993-1994 โดยเป็นหนึ่งในซีรีส์กันดั้ม.

ใหม่!!: กันดั้มและโมบิลสูท วิกทอรี่ กันดั้ม · ดูเพิ่มเติม »

โมบิลสูท เซต้ากันดั้ม

มบิลสูทเซต้ากันดั้ม โมบิลสูท เซต้ากันดั้ม (Mobile Suit Zeta Gundam) เป็นภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์ (อะนิเมะ) ออกอากาศครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นระหว่างปี ค.ศ. 1985-1986 โดยเป็นหนึ่งในซีรีส์กันดั้ม และเป็นภาคต่อของโมบิลสูทกันดั้ม กำกับและเขียนบทโดยโยชิยูกิ โทมิโนะ มีจำนวนตอนทั้งหมด 50 ตอน ออกแบบตัวละครโดย โยชิคาสึ ยาสุฮิโกะ และออกแบบหุ่นยนต์และแมคคานิคอื่นๆโดย คุนิโอะ โอคาวาระ, มาโมรุ นากาโน่ และคาสุมิ ฟูจิตะ เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปีกันดั้ม (และ 20 ปีของกันดั้มภาคนี้) ใน ค.ศ. 2005 เซต้ากันดั้มทั้ง 50 ตอนจึงถูกนำมาตัดต่อเพิ่มฉากใหม่ และเปลี่ยนแปลงเนื้อเรื่องบางส่วน รวมไปถึง CG ใหม่ๆ เป็นภาพยนตร์ความยาว 3 ตอน ในชื่อ Mobile Suit Zeta Gundam:A New Translation และชื่อตอนทั้งสามคือ.

ใหม่!!: กันดั้มและโมบิลสูท เซต้ากันดั้ม · ดูเพิ่มเติม »

โมบิลสูทกันดั้ม : ชาร์ เคาน์เตอร์ แอทแทค

มบิลสูทกันดั้ม: ชาร์ เคาน์เตอร์ แอทแทค (ญี่ปุ่น: 機動戦士ガンダム 逆襲のシャア คิโดเซนชิ กันดั้ม เกียคุชู โนะ ชาร์; อังกฤษ: Mobile Suit Gundam Char's Counter Attack) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันซึ่งออกฉายเป็นครั้งแรกในโรงภาพยนตร์ของประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1988 และเป็นแอนิเมชันกันดั้มเรื่องแรกที่สร้างขึ้นเพื่อฉายในโรงภาพยนตร์โดยเฉพาะ (แอนิเมชันกันดั้มเรื่องต่อมาที่สร้างขึ้นเพื่อฉายในโรงภาพยนตร์คือ โมบิลสูทกันดั้ม F91 ซึ่งออกฉายในญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1991) โดยเป็นผลงานกำกับของ "โยชิยูกิ โทมิโนะ" บุคคลซึ่งถือว่าเป็นบิดาของกันดั้ม ผู้มีชื่อเล่นตามเว็บไซต์ของฝั่งอเมริกาว่า "ฆ่ามันให้เหี้ยน โทมิโนะ" เนื่องจากงานส่วนใหญ่ของเขามักจะให้ตัวละครตายอย่างไม่ปราณีคนดู ในประเทศไทย โมบิลสูทกันดั้ม: ชาร์ เคาน์เตอร์ แอทแทค ไม่เคยฉายในโรงภาพยนตร์ แต่ได้ออกจำหน่ายในรูปแบบวีซีดีในช่วงปลายปี พ.ศ. 2548 โดยบริษัท ดรีม เอกซ์เพรส (เดกซ์).

ใหม่!!: กันดั้มและโมบิลสูทกันดั้ม : ชาร์ เคาน์เตอร์ แอทแทค · ดูเพิ่มเติม »

โมบิลสูทกันดั้ม ไอรอน บลัด ออร์แฟนซ์

มบิลสูทกันดั้ม ไอรอน บลัด ออร์แฟนซ์ (Kidou Senshi Gundam Tekketsu no Orphans) เป็นผลงานซีรีส์ กันดั้ม ลำดับที่ 16 ของบริษัท ซันไรส์ เริ่มออกอากาศครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ 4 ตุลาคม 2558.

ใหม่!!: กันดั้มและโมบิลสูทกันดั้ม ไอรอน บลัด ออร์แฟนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

โมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ เดอะมูฟวี่: การตื่นของผู้บุกเบิก

มบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ เดอะมูฟวี่: การตื่นของผู้บุกเบิก (Mobile Suit Gundam 00 the Movie: A Wakening of the Trailblazer) เป็นภาพยนตร์อะนิเมะซึ่งมีเนื้อหาต่อเนื่องจากอะนิเมะทางโทรทัศน์ชุดโมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการต่อสู้ของกลุ่มองค์กรติดอาวุธเอกชน "เซเลสเชี่ยล บีอิ้ง" ในช่วง 2 ปีหลังจากจบเหตุการณ์ในภาคโทรทัศน์ โดยเป็นการต่อสู้กับสิ่งมีชีวิตต่างดาวที่ไม่มีใครรู้จักมาก่อน ซึ่งถูกเรียกชื่อว่า "ELS" นับได้ว่าเป็นซีรีส์กันดั้มชุดแรกที่มีเนื้อหากล่าวถึงสิ่งมีชีวิตจากต่างดาว ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายรอบปฐมทัศน์ที่ประเทศญี่ปุ่นและประเทศสิงคโปร์เมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 2010 ออกฉายในงาน New York Anime Festival เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม และในงาน Anime Festival Asia ในวันที่ 13 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ทั้งนี้ ซันไรส์ได้ตัดสินใจทำคำบรรยายบทภาพยนตร์เป็นภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการสำหรับอะนิเมะชุดกันดั้ม โดยนำร่องจากภาพยนตร์เรื่องนี้ในรอบการออกฉายที่ประเทศสิงคโปร์ หลังจากนั้นจึงได้มีการจัดจำหน่ายในรูปแบบ Blu-ray และ DVD ที่ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 2010 สำหรับในประเทศไทย ลิขสิทธิ์ในการจำหน่ายภาพยนตร์ "โมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ เดอะมูฟวี่: การตื่นของผู้บุกเบิก" เป็นของบริษัท DEX เช่นเดียวกับแอนิเมชั่นทางโทรทัศน์ชุดโมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ.

ใหม่!!: กันดั้มและโมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ เดอะมูฟวี่: การตื่นของผู้บุกเบิก · ดูเพิ่มเติม »

โมบิลอาเมอร์

มบิลอาเมอร์ ((ญี่ปุ่น:モビルアーマー;อังกฤษ:Mobile Armour มีคำย่อว่า MA) เป็นกลุ่มของหุ่นยนต์ขนาดใหญ่ในซีรีส์กันดั้ม โมบิลอาเมอร์ต่างจากโมบิลสูทโดยมักมีลักษณะที่ดูไม่เหมือนมนุษย์ โมบิลอาเมอร์ยังมักมีสมรรถนะสูงในด้านหนึ่ง ระหว่างความเร็ว พลังทำลาย หรือ พลังป้องกัน ในขณะที่โมบิลสูทส่วนใหญ่จะมีสมรรถนะโดยรวมที่สมดุลกว.

ใหม่!!: กันดั้มและโมบิลอาเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โมบิลไฟท์เตอร์ จีกันดั้ม

มบิลไฟเตอร์ จีกันดั้ม (Mobile Fighter G Gundam) เป็นภาพนตร์อะนิเมะซีรีส์กันดั้มโดยเนื้อหามักจะเป็นการต่อสู้เป็นหลักออกอากาศเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2537 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2538 ออกอากาศทั้งหมด 49 ตอน ในประเทศไทยลิขสิทธิ์ในการจัดจำหน่ายรูปแบบวีซีดีและดีวีดีเป็นของบริษัท ดรีมเอกซ์เพลส (เดกซ์) จำกัด ในชื่อ หุ่นนักสู้สะท้านปฐพี จี กันดั้ม และได้ออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์เวลา 8.30-9.00 น.และได้ออกอากาศอีกครั้งทางช่องทรูสปาร.

ใหม่!!: กันดั้มและโมบิลไฟท์เตอร์ จีกันดั้ม · ดูเพิ่มเติม »

โอวีเอ

ออริจินอลวิดีโอแอนิเมชัน (Original Video Animation) หรือย่อว่า โอวีเอ (OVA) เป็นชื่อเรียกภาพยนตร์แอนิเมชัน (ที่เรียกว่า อะนิเมะ) สำหรับนำมาสำหรับเป็นวิดีโอหรือดีวีดีโดยตรง โดยไม่ออกฉายทางโทรทัศน์หรือโรงภาพยนตร์ก่อน มีลักษณะคล้ายหนังแผ่นในประเทศไทย ถ้ามีการผลิตภาพยนตร์ที่ใช้คนแสดงออกมาจำหน่าย โอวีเอเริ่มในต้นช่วง..

ใหม่!!: กันดั้มและโอวีเอ · ดูเพิ่มเติม »

ไอทีวี

ริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เป็นกลุ่มบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสื่อโทรทัศน์ โดยได้รับอนุมัติให้ดำเนินการสัมปทานสถานีโทรทัศน์ระบบ UHF จาก สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) จำนวน 1 ช่องสถานี ส่งโทรทัศน์สีในระบบยูเอชเอฟ ทางช่อง 26 (ต่อมาเปลี่ยนเป็นช่อง 29) โดยใช้ชื่อว่า สถานีโทรทัศน์ไอทีวี (ปัจจุบันสถานีฯได้ถูกโอนกิจการให้แก่ทั้งสองหน่วยงานของรัฐ ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ด้านล่าง) เดิมชื่อ บริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 โดย ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัทอื่นๆ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ปัจจุบัน บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทนี้.

ใหม่!!: กันดั้มและไอทีวี · ดูเพิ่มเติม »

ไดนาสตีวอริเออร์กันดั้ม

นาสตีวอริเออร์กันดั้ม (Dynasty Warrior: Gundam); เป็นวิดีโอเกมส์แนวแอ็กชันที่สร้างและพัฒนาโดย Koeiและบันไดแนมโค Dynasty Warrior: Gundam ใช้ตัวละครมาจากอะนิเมะซีรีส์กันดั้ม โดยเป็นเกมส์ที่มีต้นแบบมาจาก Dynasty Warriors ที่พัฒนาโดย Koei เช่นกัน ลักษณะที่แตกต่างจากเกมอื่นๆในชุดวอริเออร์ของ Koei ก็คือ ผู้เล่นจะเลือกตัวละครที่ใช้ดำเนินเรื่องและโมบิลสูทซึ่งใช้บังคับในแต่ละฉาก แม้เกมจะยังเน้นที่การต่อสู้ในระยะประชิดเหมือนเกมอื่นๆแต่ก็มีการต่อสู้ในระยะไกลมากขึ้นเนื่องจากโมบิลสูทส่วนใหญ่จะมีปืนเป็นอาวุธ นอกจากนั้น โมบิลสูทยังสามารถใช้ท่อขับดันในการแดช ซึ่งโมบิลสูทบางตัวจะสามารถแปลงร่างเป็นยานบินกลางอากาศได้ ทำให้การต่อสู้ของเกมแตกต่างจากเดิมค่อนข้างมาก ในปัจจุบัน ไดนาสตีวอริเออร์กันดั้ม มีการวางจำหน่ายแล้วทั้งหมดสองภาค โดยภาคแรกนั้นเริ่มวางจำหน่ายสำหรับเพลย์สเตชัน 3และเอกซ์บอกซ์ 360 ต่อมาจึงมีการทำใหม่สำหรับเพลย์สเตชัน 2เฉพาะภาคภาษาญี่ปุ่นโดยใช้ชื่อว่ากันดั้มมุโซ สเปเชียลซึ่งเพิ่มตัวละคร มุฉะกันดั้มมาร์คทูว์ และเนื้อเรื่องในโหมดออริจินัลของมุฉะกันดั้มและมุฉะกันดั้มมาร์คทูว์ ส่วนภาคสองนั้นมีการจำหน่ายบนเครื่องทั้งสามครบสองภาษา เนื้อเรื่องของเกมในภาคแรกนั้นสามารถแบ่งได้เป็นสองโหมด คือโหมดออฟฟิเชียลซึ่งดำเนินเรื่องใกล้เคียงกับเนื้อเรื่องเดิมของอะนิเมะ และโหมดออริจินัลซึ่งเป็นเนื้อเรื่องใหม่ที่โยงตัวละครในภาคต่างๆเข้าเป็นเรื่องเดียว ซึ่งตัวละครและโมบิลสูทบางส่วนจะปรากฏตัวในโหมดออริจินัลเท่านั้น ในภาคสองนั้น โหมดออริจินัลถูกเปลี่ยนเป็นโหมดมิชชัน ซึ่งผู้เล่นจะเลือกตัวละครและปฏิบัติภารกิจต่างๆ แม้จะมีเนื้อเรื่องย่อยของตัวละครในโหมดมิชชัน แต่จะไม่มีเนื้อเรื่องรวมที่โยงตัวละครทั้งหมดแบบโหมดออริจินัลในภาคแรก.

ใหม่!!: กันดั้มและไดนาสตีวอริเออร์กันดั้ม · ดูเพิ่มเติม »

เพลย์สเตชัน 3

ลย์สเตชัน 3 (อังกฤษ PlayStation 3, ญี่ปุ่น プレイステーション 3) ตัวย่อ PS3 เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมตระกูลเพลย์สเตชันรุ่นที่ 3 ของบริษัท โซนี่คอมพิวเตอร์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ถือเป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมยุคที่ 7 ตัวเครื่องมีขนาด 12.8×3.9×10.8 นิ้ว (32.5×9.8×27.4 เซนติเมตร) ตัวเครื่องมีอย่างน้อย 3 สีให้เลือก คือสีดำ, สีขาว, และสีเงิน ตัวเครื่องที่ขายจะมีตัวเลือก 2 แบบที่แตกต่างกันในเรื่องของความจุฮาร์ดไดรฟ์ และช่องสัญญาณต่างๆ ขณะนี้ได้ออกวางจำหน่ายแล้ว โดยออกวางตลาดที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นที่แรก ในวันที่ 11 พ.ย. พ.ศ. 2549 ส่วนประเทศอื่นๆ วางตลาดในวันที่ 17 พฤศจิกายน โดยราคาอยู่ที่ US$499 (฿19,000) ในรุ่น 20 GB.

ใหม่!!: กันดั้มและเพลย์สเตชัน 3 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Gundam

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »