โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กองพลเอ็สเอ็ส-พันเซอร์ที่ 2 ดัสไรช์

ดัชนี กองพลเอ็สเอ็ส-พันเซอร์ที่ 2 ดัสไรช์

กองพลเอ็สเอ็ส-พันเซอร์ที่ 2 ดัสไรช์" (2. SS-Panzer-Division "Das Reich".)เป็นกองพลของนาซี หน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นหนึ่งในสามสิบแปดกองพลที่ก่อตั้งโดยหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส ดัสไรช์ได้ทำหน้าที่ในช่วงการบุกครองฝรั่งเศสและได้เข้ามามีส่วนร่วมในการต่อสู้ครั้งสำคัญหลายครั้งบนแนวรบด้านตะวันออก รวมทั้งในยุทธการที่โปรโฮรอฟกาได้ต่อกรกับกองทัพรถถังการ์ดที่ 5 (5th Guards Tank Army) ที่ยุทธการที่คูสค์ จากนั้นก็ได้ย้ายไปยังด้านตะวันตกและได้เข้ามามีส่วนร่วมในการต่อสู้ในนอร์มังดีและยุทธการตอกลิ่ม สงครามได้ยุติลงในฮังการีและออสเตรีย ดัส ไรช์ได้มีส่วนรับผิดชอบในการสังหารหมู่ออราดูร์-ซูร์-กลานและตูล (Tulle).

15 ความสัมพันธ์: พอล เฮาเซอร์พันเซอร์กองพลการสังหารหมู่ออราดูร์-ซูร์-กลานยุทธการที่ฝรั่งเศสยุทธการที่มอสโกยุทธการที่คูสค์ยุทธการที่โปรโฮรอฟกายุทธการตอกลิ่มวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สสงครามโลกครั้งที่สองปฏิบัติการบาร์บารอสซาปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ดไฟรบวร์คอิมไบรส์เกาเวร์มัคท์

พอล เฮาเซอร์

อล เฮาเซอร์(7 ตุลาคม ค.ศ. 1880 – 21 ธันวาคม ค.ศ. 1972) เป็นผู้บัญชาการระดับยศสูงในหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สแห่งนาซีเยอรมนี ผู้มีบทบาทสำคัญในช่วงหลังสงครามในความพยายามของเหล่าอดีตสมาชิกของหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สเพื่อฟื้นฟูประวัติศาสตร์และกฏหมาย เฮาเซอร์ได้ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่นายทหารในกองทัพปรัสเซียในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและได้รับตำแหน่งยศเป็นนายพลในไรชส์เฮร์ในช่วงระหว่างสงคราม ภายหลังจากปลดเกษียณ เขาได้เข้าร่วมหน่วยเอ็สเอ็สแห่งนาซีเยอรมนีและได้สร้างประโยชน์ในการจัดตั้งหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้ก้าวถึงระดับผู้บัญชาการกองทัพกลุ่ม เขาได้นำทหารหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สในยุทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 3, ยุทธการที่คูสค์ และการทัพนอร์ม็องดี เฮาเซอร์เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงในหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สพร้อมกับเซพพ์ ดีทริซ ซึ่งไม่เหมือนกับดีทริซ เฮาเซอร์นั้นเป็นเจ้าหน้าที่นายทหารระดับมืออาชีพก่อนที่จะเข้าร่วมหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส หลังสงคราม เฮาเซอร์ได้กลายเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้งและเป็นโฆษกคนแรกของกลุ่ม HIAG กลุ่มล็อบบี้และองค์กรทหารผ่านศึกที่ได้รับการตรวจสอบใหม่ ก่อตั้งโดยเหล่าอดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงในหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สในเยอรมนีตะวันตกในปี..

ใหม่!!: กองพลเอ็สเอ็ส-พันเซอร์ที่ 2 ดัสไรช์และพอล เฮาเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พันเซอร์

Leopard 2A5 ของ กองทัพเยอรมัน พันเซอร์ 3ในช่วงยุทธการที่กรีซ, เมษายน ค.ศ. 1941 แพนเซอร์ (Panzer) เป็นคำศัพท์เยอรมันที่มีความหมายว่า ยานเกราะ นอกจากนี้ยังได้ใช้โดยการเรียกภาษาเยอรมันเป็นคำย่อซึ่งหมายถึง "ยานเกราะรบ" หรือรถถัง คำศัพท์เต็มเยอรมันสำหรับ"ยานพาหนะหุ้มเกราะรบ"คือ พันเซอร์คัมพ์วาเกิน (Panzerkampfwagen) คำว่า พันเซอร์ เป็นที่ใช้บางครั้งบางในภาษาอังกฤษและอื่นๆ เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอื่นๆในเรื่องการทหารเยอรมัน หมวดหมู่:ทหาร.

ใหม่!!: กองพลเอ็สเอ็ส-พันเซอร์ที่ 2 ดัสไรช์และพันเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กองพล

กองพล (division) คือ หน่วยหรือรูปขบวนทหารขนาดใหญ่ ปกติประกอบด้วยทหารระหว่าง 10,000 ถึง 20,000 นาย ในกองทัพส่วนใหญ่ กองพลประกอบด้วยหลายกรมหรือกองพลน้อย และตรงแบบ หลายกองพลประกอบขึ้นเป็นกองทัพน้อย (corps) ในการสงครามสมัยใหม่ส่วนใหญ่ กองพลมักเป็นหน่วยผสมเหล่าเล็กที่สุดซึ่งสามารถปฏิบัติการได้อย่างอิสระ อันเนื่องจากบทบาทสนับสนุนตนเองเป็นหน่วยด้วยหน่วยรบและหน่วยสนับสนุนการรบที่เหมาะสมหลากหลาย ซึ่งแบ่งได้เป็นการผสมหน่วยขึ้นตรงมากมาย หมวดหมู่:การจัดขบวนรบ.

ใหม่!!: กองพลเอ็สเอ็ส-พันเซอร์ที่ 2 ดัสไรช์และกองพล · ดูเพิ่มเติม »

การสังหารหมู่ออราดูร์-ซูร์-กลาน

ซากเครื่องมือ จักรยาน จักรเย็บผ้า ฯลฯ ยังคงปรากฏให้เห็นในอนุสรณ์สถานออราดูร์-ซูร์-กลาน วันที่ 10 มิถุนายน..

ใหม่!!: กองพลเอ็สเอ็ส-พันเซอร์ที่ 2 ดัสไรช์และการสังหารหมู่ออราดูร์-ซูร์-กลาน · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ฝรั่งเศส

ทธการที่ฝรั่งเศส ในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการบุกครองฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำของเยอรมนีที่สัมฤทธิ์ผล เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม..

ใหม่!!: กองพลเอ็สเอ็ส-พันเซอร์ที่ 2 ดัสไรช์และยุทธการที่ฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่มอสโก

ทธการมอสโก เป็นชื่อที่นักประวัติศาสตร์โซเวียตตั้งโดยหมายถึงการสู้รบที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์สองช่วงบนพื้นที่ 600 กิโลเมตรบนแนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: กองพลเอ็สเอ็ส-พันเซอร์ที่ 2 ดัสไรช์และยุทธการที่มอสโก · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่คูสค์

ทธการที่คูสค์ (Курская битва, Битва на Курской дуге) เกิดขึ้นเมื่อกำลังเยอรมนีและโซเวียตเผชิญหน้ากันในแนวรบด้านตะวันออกระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง บริเวณย่านชานนครคูสค์ (Kursk) ห่างจากกรุงมอสโกไปทางใต้ 450 กิโลเมตร ในสหภาพโซเวียต ช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม..

ใหม่!!: กองพลเอ็สเอ็ส-พันเซอร์ที่ 2 ดัสไรช์และยุทธการที่คูสค์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่โปรโฮรอฟกา

ทธการที่โปรโฮรอฟกา เป็นการสู้รบเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม..

ใหม่!!: กองพลเอ็สเอ็ส-พันเซอร์ที่ 2 ดัสไรช์และยุทธการที่โปรโฮรอฟกา · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการตอกลิ่ม

German movements ยุทธการตอกลิ่ม (Battle of the Bulge) (16 ธันวาคม 1944 – 25 มกราคม 1945) เป็นการบุกใหญ่ครั้งสุดท้ายของเยอรมนีบนแนวรบด้านตะวันตกช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ผ่านเขตอาร์แดนที่มีป่าทึบแห่งวาโลเนียในทางตะวันออกของประเทศเบลเยียม ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศสและประเทศลักเซมเบิร์ก การเข้าตีอย่างจู่โจมนี้ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ทันตั้งตัวย่างสิ้นเชิง กำลังอเมริกันรับแรงกระทบของการเข้าตีและเป็นปฏิบัติการมีกำลังพลสูญเสียมากที่สุดในสงคราม ยุทธการดังกล่าวทำให้กำลังยานเกราะของเยอรมนีหมดลงอย่างรุนแรง และสามารถทดแทนได้เพียงเล็กน้อย กำลังพลของเยอรมันและอากาศยานของลุฟท์วัฟเฟอในเวลาต่อมาก็ประสบความสูญเสียอย่างหนักเช่นกัน ฝ่ายเยอรมันเรียกการบุกนี้ว่า ปฏิบัติการเฝ้าดูไรน์ (Unternehmen Wacht am Rhein) ส่วนฝ่ายสัมพันธมิตรตั้งชื่อว่า การรุกโต้ตอบอาร์เดน วลี "ยุทธการตอกลิ่ม" นั้นสื่อร่วมสมัยตั้งให้เพื่ออธิบายส่วนยื่นเด่นในแนวรบของเยอรมนีในแผนที่ข่าวยามสงคราม และกลายเป็นชื่อที่แพร่หลายที่สุดสำหรับการยุทธ์นี้ การรุกของเยอรมนีตั้งใจหยุดฝ่ายสัมพันธมิตรมิใช้ท่าแอนต์เวิร์ปของประเทศเบลเยียม และเพื่อแบ่งแนวของฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อให้ฝ่ายเยอรมันตีวงล้อมและทำลายกองทัพสัมพันธมิตรสี่กองทัพ และบังคับให้สัมพันธมิตรตะวันตกเจรจาสนธิสัญญาสันติภาพโดยฝ่ายอักษะได้เปรียบ เมื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวแล้ว ผู้เผด็จการเยอรมัน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์เชื่อว่าตนสามารถทุ่มความสนใจต่อโซเวียตบนแนวรบด้านตะวันออกได้ มีการวางแผนการรุกดังกล่าวโดยปิดเป็นความลับที่สุด มีการติดต่อวิทยุและการเคลื่อนย้ายกำลังและยุทโธปกรณ์ภายใต้กำบังของความมืด ทั้งฝ่ายสัมพันธมิตรมิได้ตอบโต้การสื่อสารของเยอรมันที่ถูกดักได้ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการตระเตรียมการบุกของเยอรมันครั้งสำคัญ ฝ่ายเยอรมันบรรลุการจู่โจมอย่างสมบูรณ์ในเช้าวันที่ 16 ธันวาคม 1944 เนื่องจากความผยองของฝ่ายสัมพันธมิตร การหมกมุ่นกับแผนการบุกของฝ่ายสัมพันธมิตร และการลาดตระเวนทางอากาศที่เลว ฝ่ายเยอรมันเข้าตีส่วนที่มีการป้องกันเบาบางของแนวรบฝ่ายสัมพันธมิตร โดยฉวยประโยชน์จากสภาพอากาศที่มีเมฆมากซึ่งทำให้กองทัพอากาศที่เหนือกว่ามากไม่สามารถใช้การได้ มีการต่อต้านอย่างดุเดือด ณ ไหล่ทิศเหนือของการบุก รอบสันเขาเอลเซ็นบอร์น (Elsenborn) และในทางใต้ รอบบาสตอง (Bastogne) สกัดฝ่ายเยอรมันมิให้เข้าถึงถนนสำคัญสู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันตกซึ่งเยอรมันต้องอาศัยจึงจะสำเร็จ แถวยานเกราะและทหารราบซึ่งควรบุกไปตามเส้นทางขนานกลับพบว่าอยู่บนถนนเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ และภูมิประเทศซึ่งเอื้อต่อฝ่ายตั้งรับ ทำให้การบุกของเยอรมันล่าช้ากว่ากำหนด และทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถเสริมกำลังพลที่จัดวางอย่างเบาบางได้ สภาพอากาศที่ดีขึ้นทำให้การโจมตีทางอากาศต่อกำลังและแนวกำลังบำรุงของเยอรมัน ซึ่งตอกย้ำความล้มเหลวของการบุก ในห้วงของความปราชัย หน่วยของเยอรมันที่มีประสบการณ์สูงขาดแคลนกำลังพลและยุทโธปกรณ์อย่างมาก ส่วนผู้รอดชีวิตล่าถอยไปยังการป้องกันของแนวซีกฟรีด ความปราชัยนี้ทำให้หน่วยที่มีประสบการณ์หลายหน่วยของเยอรมนีขาดแคลนกำลังคนและยุทโธปกรณ์ เนื่องจากผู้รอดชีวิตได้ถอยไปยังแนวซีกฟรีด สำหรับอเมริกา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมรบประมาณ 610,000 นาย และมีกำลังพลสูญเสีย 89,000 นาย โดยในจำนวนนี้มีเสียชีวิต 19,000 นาย ทำให้ยุทธการตอกลิ่มเป็นยุทธการใหญ่ที่สุดและนองเลือดที่สุดที่สู้รบกันในแนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: กองพลเอ็สเอ็ส-พันเซอร์ที่ 2 ดัสไรช์และยุทธการตอกลิ่ม · ดูเพิ่มเติม »

วัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส

วัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส เป็นหน่วยกองกำลังติดอาวุธของพรรคนาซีในหน่วยชุทซ์ชทัฟเฟิลหรือหน่วยเอ็สเอ็ส เป็นการรวมตัวกันของคนในนาซีเยอรมนีพร้อมทั้งอาสาสมัครและทหารเกณฑ์จากทั้งสองดินแดนคือดินแดนที่ถูกยึดครองและดินแดนที่ไม่ถูกยึดครองซึ่งหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สเป็นหน่วยกองกำลังรบพิเศษที่จะปฏิบัติการรบร่วมกันกับกองทัพบก (เฮร์) ของเวร์มัคท์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 วัฟเฟิน-เอ็สเอ็สนั้นถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นหน่วยกองกำลังองครักษ์พิทักษ์ฟือเรอร์ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และถูกฝึกฝนมาอย่างหนักจนกลายเป็นกองกำลังรบระดับชั้นหัวกะทิเพื่อใช้เป็นเครื่องจักรสงครามในการยึดครองทวีปยุโรปตามเจตนารมณ์ของฮิตเลอร์และพรรคนาซี ฮิตเลอร์ได้มอบความไว้วางใจให้กับวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สมากที่สุดว่าเป็นหน่วยกองกำลังรบที่มีประสิทธิภาพในการรบมากที่สุด สามารถแก้ไขต่างๆได้ทุกสถานการณ์ ในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง หน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สขึ้นชื่อว่าเป็นกองกำลังปีศาจเพราะเนื่องจากได้รับถูกปลูกฝังความคิดและอุดมการณ์นาซีทำให้ก่ออาชญากรรมสงครามมากมาย เช่น การสังหารหมู่เชลยศึกสงครามและพลเรือน การกวาดต้อนชาวยิวและอื่นๆในเขตปกครองของนาซีเยอรมันเข้าไปยังค่ายกักกันนาซี เป็นต้น แต่ในช่วงปลายสงครามในปี..

ใหม่!!: กองพลเอ็สเอ็ส-พันเซอร์ที่ 2 ดัสไรช์และวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: กองพลเอ็สเอ็ส-พันเซอร์ที่ 2 ดัสไรช์และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา (Unternehmen Barbarossa, Operation Barbarossa, รัสเซีย: Оперенация Барбарросса) เป็นชื่อรหัสสำหรับแผนการบุกสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ชื่อปฏิบัติการบาร์บารอสซาถูกตั้งชื่อตามพระนามของจักรพรรดิฟรีดริช บาร์บารอสซา แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้นำสงครามครูเสดครั้งที่สาม ในช่วงคริสต์ศตวรรรษที่ 12 วัตถุประสงค์ของปฏิบัติการนี้ คือ การพิชิตสหภาพโซเวียตทางภาคพื้นยุโรปทั้งหมด ซึ่งถือเอาแนวที่ลากเส้นระหว่าง อัคอังเกลส์ก (Arkangelsk) ที่อยู่ทางตอนเหนือของรัสเซีย ลงไปจนถึงเมืองอัสตราคาน (Astrakhan) ที่อยู่ริมสามเหลี่ยมปากแม่น้ำวอลกา โดยแนวนี้ถูกเรียกว่าแนว AA ปฏิบัติการบาร์บารอสซาไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ฮิตเลอร์คาดหวังไว้ ในทางยุทธวิธีแล้ว กองทัพเยอรมันก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อสหภาพโซเวียต โดยการยึดครองพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของประเทศเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ไม่นานหลังจากปฏิบัติการบาร์บารอสซา กองทัพเยอรมันไม่อาจเป็นฝ่ายบุกในแนวรบด้านตะวันออกอีกต่อไป และหลังจากนั้น ก็ประสบความพ่ายแพ้มาตลอดMilitary-Topographic Directorate, maps No.

ใหม่!!: กองพลเอ็สเอ็ส-พันเซอร์ที่ 2 ดัสไรช์และปฏิบัติการบาร์บารอสซา · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด

ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (Operation Overlord) เป็นส่วนหนึ่งของการรบในแนวรบด้านตะวันตก ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองในปี..

ใหม่!!: กองพลเอ็สเอ็ส-พันเซอร์ที่ 2 ดัสไรช์และปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ไฟรบวร์คอิมไบรส์เกา

ฟรบวร์คอิมไบรส์เกา (Freiburg im Breisgau) เป็นเมืองในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก ประเทศเยอรมนี มีประชากรราว 230,000 คน เป็นเมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ระหว่างแม่น้ำไดรซัม ที่เชิงเขาด้านตะวันตกสุดของแบล็กฟอเรสต์ มีมหาวิหารยุคกลาง และมีมหาวิทยาลัยไฟรบวร์คที่เก่าแก่และมีชื่อเสียง เมืองตั้งอยู่ใจกลางของศูนย์กลางการทำไวน์ เป็นเมืองที่มีแดดและอบอุ่นที่สุดในเยอรมนี มีสถิติอุณหภูมิสูงสุดที่ 40.2 °C (104.4 °F).

ใหม่!!: กองพลเอ็สเอ็ส-พันเซอร์ที่ 2 ดัสไรช์และไฟรบวร์คอิมไบรส์เกา · ดูเพิ่มเติม »

เวร์มัคท์

วร์มัคท์ (Wehrmacht ความหมาย:"กำลังป้องกัน") เป็นกองทัพของนาซีเยอรมนีระหว่าง..

ใหม่!!: กองพลเอ็สเอ็ส-พันเซอร์ที่ 2 ดัสไรช์และเวร์มัคท์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กองพลแพนเซอร์เอ็สเอ็สที่ 2 ดัส ไรช์กองพลเอ็สเอ็สที่ 2 ดาส ไรช์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »