โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กองบัญชาการกองทัพไทย

ดัชนี กองบัญชาการกองทัพไทย

กองบัญชาการกองทัพไทย (Royal Thai Armed Forces Headquarters) เป็นส่วนราชการขึ้นตรงต่อ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ซึ่งแปรสภาพมาจากกองบัญชาการทหารสูงสุด (Supreme Command Headquarters) มีหน้าที่ควบคุม อำนวยการ สั่งการและกำกับดูแลการดำเนินงานของส่วนราชการในกองทัพไทยในการเตรียมกำลัง การป้องกันราชอาณาจักร และการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ มีที่ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 127 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 ผู้บังคับบัญชา ปัจจุบันคือ พลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พลเอก หัสพงศ์ ยุวนวรรธนะ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พลเรือเอก สายันต์ ประสงค์สำเร็จ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พลอากาศเอก สุทธิพงษ์ อินทรียงค์ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พลเอก ยศนันท์ หร่ายเจริญ รองผู้บัญชาการทหารสูง.

28 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2483พ.ศ. 2500พ.ศ. 2503พ.ศ. 2551กรมแผนที่ทหารกระทรวงกลาโหมกรุงเทพมหานครกรณีพิพาทอินโดจีนกองบัญชาการกองทัพไทยกองทัพบกไทยกองทัพอากาศไทยกองทัพไทยกองทัพเรือไทยรายชื่อผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทยวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรวิทยาลัยเสนาธิการทหารสฤษดิ์ ธนะรัชต์สงครามแปซิฟิกผู้บัญชาการทหารธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณถนนแจ้งวัฒนะประเทศไทยแปลก พิบูลสงครามโรงเรียนช่างฝีมือทหารโรงเรียนเตรียมทหารเขตหลักสี่27 กันยายน31 มกราคม

พ.ศ. 2483

ทธศักราช 2483 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1940 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและพ.ศ. 2483 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2500

ทธศักราช 2500 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1957 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและพ.ศ. 2500 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2503

ทธศักราช 2503 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1960 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและพ.ศ. 2503 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2551

ทธศักราช 2551 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2008 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและพ.ศ. 2551 · ดูเพิ่มเติม »

กรมแผนที่ทหาร

กรมแผนที่ทหาร เป็นหน่วยงานย่อยในกองบัญชาการกองทัพไทย มีหน้าที่สำรวจและทำแผนที่ของประเทศเพื่อรักษาอธิปไตยและเขตแดนประเทศให้ถูกต้อง เป็นที่รวบรวมเอกสารและจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการปักปันเขตแดน ทั้งประเทศ รวมไปถึงการรักษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับแผนที่ทั้งหมดของประเทศไท.

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและกรมแผนที่ทหาร · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงกลาโหม

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและกระทรวงกลาโหม · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

กรณีพิพาทอินโดจีน

กรณีพิพาทอินโดจีน หรือ สงครามอินโดจีน ในต่างประเทศเรียกว่า สงครามฝรั่งเศส-ไทย เป็นการสู้รบระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศสเขตวีชีเหนือดินแดนอินโดจีนฝรั่งเศส จอมพล ป. พิบูลสงคราม กล่าวปราศรัยแก่นิสิตนักศึกษาและประชาชนที่มาชุมนุมเรียกร้องเอาดินแดนอินโดจีน คืนจากฝรั่งเศส ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2483 ที่หน้ากระทรวงกลาโหม หลวงวิจิตรวาทการประกาศสงครามผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไท.

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและกรณีพิพาทอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

กองบัญชาการกองทัพไทย

กองบัญชาการกองทัพไทย (Royal Thai Armed Forces Headquarters) เป็นส่วนราชการขึ้นตรงต่อ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ซึ่งแปรสภาพมาจากกองบัญชาการทหารสูงสุด (Supreme Command Headquarters) มีหน้าที่ควบคุม อำนวยการ สั่งการและกำกับดูแลการดำเนินงานของส่วนราชการในกองทัพไทยในการเตรียมกำลัง การป้องกันราชอาณาจักร และการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ มีที่ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 127 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 ผู้บังคับบัญชา ปัจจุบันคือ พลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พลเอก หัสพงศ์ ยุวนวรรธนะ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พลเรือเอก สายันต์ ประสงค์สำเร็จ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พลอากาศเอก สุทธิพงษ์ อินทรียงค์ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พลเอก ยศนันท์ หร่ายเจริญ รองผู้บัญชาการทหารสูง.

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและกองบัญชาการกองทัพไทย · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพบกไทย

กองทัพบกไทย (คำย่อ: ทบ.; Royal Thai Army) เป็นเหล่าทัพที่มีประวัติความเป็นมายาวนานที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดของกองทัพไทย ก่อตั้งเป็นกองทัพสมัยใหม่ขี้นในปี พ.ศ. 2417.

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและกองทัพบกไทย · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพอากาศไทย

กองทัพอากาศไทย (อักษรย่อ: ทอ., '''Royal Thai Air Force''': '''RTAF'''.) เกิดขึ้นภายหลังจากการจัดตั้งกองทัพอากาศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกองทัพอากาศหน่วยแรกของโลกเพียง 4 ปีเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นกองทัพอากาศที่ก่อตั้งเป็นลำดับแรกๆ ของเอเชีย และมีวีรกรรมครั้งสำคัญเกิดขึ้นมากมายในช่วงกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส ปัจจุบันมีกองบัญชาการอยู่ที่เขตสายไหม เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และภายในปี พ.ศ. 2554 หลังจากได้รับมอบฝูงบิน Gripen กับเครื่องบินเตือนภัยทางอากาศจากบริษัท Saab และการปรับปรุงครึ่งชีวิตให้กับฝูงบิน F-16-A/B ให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับรุ่น C/D กองทัพอากาศไทยจะมีอิทธิพลทางอากาศมากเป็นอันดับที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากสิงคโปร์ในแง่ของขีดความสามารถและความทันสมัยของอากาศยาน.

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและกองทัพอากาศไทย · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพไทย

กองทัพไทย (Royal Thai Armed Forces) เป็นกองทัพของราชอาณาจักรไทย แบ่งเป็นสามเหล่าทัพ ได้แก่ กองทัพบก กองทัพเรือและกองทัพอาก.

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและกองทัพไทย · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพเรือไทย

กองทัพเรือไทย หรือ ราชนาวีไทย (คำย่อ: ทร., Royal Thai Navy) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติการทางทหารในทะเล ลำน้ำ และพื้นที่บริเวณชายฝั่งของประเทศไทย กองทัพเรือมีจำนวนกำลังพลประจำการเป็นลำดับ 2 (รองจากกองทัพบก) ซึ่งมีเรือปฏิบัติการด้วยเรือรบกว่า 74 ลำ อากาศยานกว่า 90 เครื่อง และกำลังรบทางบกอีก 2 กองพล นับเป็นกองทัพเรือที่มีความสำคัญในลำดับต้นของภูมิภาคเอเชีย กองทัพเรือมีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด โดยเป็นหน่วยงานในสังกัดของกองบัญชาการกองทัพไทย ที่มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา และอยู่ในสังกัดของกระทรวงกลาโหม กองทัพเรือมีพื้นที่ปฏิบัติการหลักทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ตามแนวเขตแดนระหว่างประเทศในทะเลความยาวกว่า 1,680 ไมล์ และตามแนวชายฝั่งความยาวกว่า 1,500 ไมล์ หน่วยต่างๆ ในสังกัดกองทัพเรือมีลักษณะการจัดโครงสร้างหน่วยที่คล้ายกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกามาก โดยเฉพาะในหน่วยกำลังรบ คือ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ (กบร. กร.) หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ (นสร. กร.) และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (นย.).

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและกองทัพเรือไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย

ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นชื่อตำแหน่งผู้บัญคับบัญชาระดับบนสุดของกองทัพไทยและกองบัญชาการกองทัพไทย ตั้งแต..

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและรายชื่อผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หรือ วปอ. เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของประเทศ ขึ้นตรงกับสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่จัดการศึกษาหลักสูตรเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติและการป้องกันราชอาณาจักร ให้แก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน พนักงานองค์การของรัฐ รัฐวิสาหกิจ รวมทั้งเอกชน โดยฝึกปฏิบัติการวางแผนและนโยบายระดับชาติ การพัฒนายุทธศาสตร์ชาต.

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาลัยเสนาธิการทหาร

วิทยาลัยเสนาธิการทหาร หรือ วสท.

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและวิทยาลัยเสนาธิการทหาร · ดูเพิ่มเติม »

สฤษดิ์ ธนะรัชต์

อมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 — 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 11, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, ผู้บัญชาการทหารบกและอธิบดีกรมตำรวจ เป็นผู้ริเริ่มการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้ก่อตั้งสำนักงบประมาณ เป็นผู้ก่อตั้งธนาคารทหารไทย และบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด เจ้าของคำพูดที่ว่า "พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ" และ "ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว" พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ใน วันที่ 16 กันยายน..

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและสฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามแปซิฟิก

งครามแปซิฟิก (Pacific War) หรือ สงครามมหาเอเชียบูรพา (Greater East Asia War; 大東亜戦争, Dai Tō-A Sensō) เป็นเขตสงครามหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง สู้รบกันในมหาสมุทรแปซิฟิกและเอเชียตะวันออกเป็นหลัก มีการยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าสงครามแปซิฟิกเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 หรือ 8 ธันวาคม 1941 เมื่อญี่ปุ่นบุกครองประเทศไทยและโจมตีอาณานิคมของบริติช ได้แก่ มาลายา สิงคโปร์และฮ่องกง ตลอดจนฐานทัพสหรัฐในหมู่เกาะฮาวาย หมู่เกาะเวก เกาะกวมและฟิลิปปินส์ ทว่า สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองระหว่างจักรวรรดิญี่ปุ่นและสาธารณรัฐจีนมีมาต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 1937 โดยมีความเป็นปรปักษ์ย้อนหลังไปถึงวันที่ 19 กันยายน 1931 เมื่อประเทศญี่ปุ่นบุกครองแมนจูเรีย จักรวรรดิญี่ปุ่นเริ่มนโยบายชาตินิยมโดยใช้คำขวัญที่ว่า "เอเชียเพื่อชาวเอเชีย" (Asia for Asiatics) วันที่ 3 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและสงครามแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

ผู้บัญชาการทหาร

ผู้บัญชาการทหาร (Commander-in-chief) คือ ผู้ที่สามารถใช้อำนาจสูงสุดหรือกองกำลังทหารทั้งปวงในประเทศ โดยทั่วไปผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้คือประมุขของรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาลซึ่งอาจเป็นพลเรือนก็ได้ สำหรับในประเทศไทยมีตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ จอมทัพ ซึ่งเรียกว่า จอมทัพไทย โดยจอมทัพไทยไม่ใช่ยศทหาร ผู้ที่ดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย คือ พระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งเป็นทั้งประมุขและผู้นำทหารทั้งประเทศ ทรงดำรงพระยศ จอมพล จอมพลเรือ และ จอมพลอาก.

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและผู้บัญชาการทหาร · ดูเพิ่มเติม »

ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ

ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ (เกิด; 5 สิงหาคม 2501) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ อดีตเสนาธิการทหาร สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติกรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช และสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาต.

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนแจ้งวัฒนะ

นนแจ้งวัฒนะ ถนนแจ้งวัฒนะ (Thanon Chaeng Watthana) เป็นถนนสายหนึ่งในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เขตหลักสี่ และเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นายชลอ แจ้งวัฒนะ อดีตนายช่างกำกับแขวงการทางกรุงเทพที่ 2 กรมทางหลวง ซึ่งเป็นนายช่างที่ควบคุมการก่อสร้างถนนสายนี้ - ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 67 ตอน 67 ง, 12 ธันวาคม..

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและถนนแจ้งวัฒนะ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

แปลก พิบูลสงคราม

งครามอินโดจีน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งผนวชทรงรับบาตรจากจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "จอมพล ป.พิบูลสงคราม" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย "รัฐนิยม" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง, ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ "ประเทศสยาม" เป็น "ประเทศไทย" และเป็นผู้เปลี่ยน "เพลงชาติไทย" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" หรือ "ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย" และ "ไทยอยู่คู่ฟ้า" ในสายตานักวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยส่วนหนึ่งเห็นว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นเผด็จการทางทหารที่มีบทบาททางการเมืองสูง และให้ความสนใจกับความคิดที่ส่อไปในทางเชื้อชาตินิยม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 67 ปี.

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและแปลก พิบูลสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนช่างฝีมือทหาร

รงเรียนช่างฝีมือทหาร ก่อตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง รัฐบาลไทย และ ออสเตรเลีย ภายใต้องค์การสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกัน แห่งเอเชียอาคเนย์ (สปอ.)สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทยโดยผู้ที่ศึกษาในโรงเรียนช่างฝีมือทหาร เรียกว่า นักเรียนช่างฝีมือทหาร (นชท.) หลักสูตรที่เปิดสอน มี 2 ระดับคือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)(ยกเลิกปี2553) โดยระดับ ปว.จะแบ่งนักเรียนออกเป็นภาคปกติและภาคสมทบ ระดับ ปว.จะเปิดวิชาชีพทั้งหมด 6 วิชาชีพ ดังนี้ ช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล,ช่างเครื่องมือกล,ช่างเชื่อมโลหะ,ช่างยานยนต์,ช่างไฟฟ้ากำลัง และช่างอิเล็กทรอนิกส์ ระดับ ปว.เปิดเพียงภาคสมทบ มี 3 สาขาวิชาชีพดังนี้ ช่างยานยนต์,ช่างไฟฟ้ากำลัง และช่างอิเล็กทรอนิกส์ การรับสมัครบุคคลพลเรือนเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหารนั้น ระดับ ปว.รับนักเรียนที่จบมัธยมศึกษาตอนต้น(ม.3)อายุ 15 - 18 ปี ส่วนระดับ ปว.จะรับนักเรียนที่จบ ปว.

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและโรงเรียนช่างฝีมือทหาร · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนเตรียมทหาร

รงเรียนเตรียมทหาร (Armed Forces Academies Preparatory School.) เป็นสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย และเป็นสถาบันการศึกษาแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เป็นศูนย์รวมเบื้องต้นสำหรับผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผู้ที่ศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร เรียกว่า นักเรียนเตรียมทหาร (นตท.) การรับสมัครบุคคลพลเรือนเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารนั้น โรงเรียนเตรียมทหารมิได้เป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหารด้วยตนเอง หากแต่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก โดยในแต่ละปีจะมีการกำหนดจำนวนรับนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จากนั้นแต่ละเหล่าทัพจะส่งผู้ผ่านการสอบคัดเลือกมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนเตรียมทหาร เป็นเวลา 2 ปี ภายหลังจากที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมทหารแล้ว นักเรียนเตรียมทหารเหล่านี้จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเหล่าทัพ ตามที่นักเรียนได้สมัครและผ่านการสอบคัดเลือก เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเหล่าทัพ หรือโรงเรียนนายร้อยตำรวจแล้ว นักเรียนนายร้อยเหล่านี้ จะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นนายทหาร และนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร พร้อมทั้งเข้ารับพระราชทานกระบี่จากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและโรงเรียนเตรียมทหาร · ดูเพิ่มเติม »

เขตหลักสี่

ตหลักสี่ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมือง ทางทิศตะวันออก (ตอนเหนือ) ของกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและเขตหลักสี่ · ดูเพิ่มเติม »

27 กันยายน

วันที่ 27 กันยายน เป็นวันที่ 270 ของปี (วันที่ 271 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 95 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและ27 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

31 มกราคม

วันที่ 31 มกราคม เป็นวันที่ 31 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 334 วันในปีนั้น (335 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: กองบัญชาการกองทัพไทยและ31 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กองบัญชาการทหารสูงสุด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »