โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลุ่มภาษาเซมิติกใต้

ดัชนี กลุ่มภาษาเซมิติกใต้

กลุ่มภาษาเซมิติกใต้ (South Semitic) เป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาเซมิติก นอกเหนือจากกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันออก (เช่นภาษาอัคคาเดีย) และกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตก (เช่น ภาษาอาหรับ ภาษาอราเมอิก ภาษาฮีบรู) กลุ่มภาษาเซมิติกใต้แบ่งได้อีกเป็นสองสาขาหลัก คือกลุ่มภาษาอาระเบียใต้ที่ใช้พูดทางชายฝั่งตอนใต้ของคาบสมุทรอาระเบีย และกลุ่มภาษาเอธิโอปิกที่พบตามฝั่งทะเลแดงด้านจะงอยของทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะในเอธิโอเปียและเอริเทรียในปัจจุบัน ภาษาหลักในเอริเทรียเช่น ภาษาทีกรินยา ภาษาติเกร เป็นกลุ่มภาษาเอธิโอปิกเหนือ ในขณะที่ภาษาอัมฮาราที่เป็นภาษาหลักในเอธิโอเปียเป็นกลุ่มภาษาเอธิโอปิกใต้ บ้านเกิดของกลุ่มภาษาเซมิติกใต้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ส่วนใหญ่เชื่อว่าอยู่ทางตอนเหนือของของเอธิโอเปียและเอริเทรีย หรือทางตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอาระเบีย หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของกลุ่มภาษาเซมิติกใต้ สาขาเอธิโอปิกในแอฟริกา เชื่อว่าเกิดจากการอพยพของผู้พูดภาษาอาระเบียใต้จากเยเมนเมื่อไม่กี่พันปีที่ผ่านมา บางกลุ่มเชื่อว่า การอพยพนี้เป็นการอพยพกลับของกลุ่มผู้พูดตระกูลภาษาแอฟโฟร-เอเชียติกที่มีต้นกำเนิดในแอฟริกา และอพยพเข้าสู่ตะวันออกกลางและคาบสมุทอาระเบีย โดยกลุ่มของผู้พูดภาษาเซมิติกดั้งเดิม แต่นักภาษาศาสตร์บางคน เช่น A. Murtonen (1967) เชื่อว่ากลุ่มภาษานี้มีต้นกำเนิดในเอธิโอเปีย หมวดหมู่:กลุ่มภาษาเซมิติก.

12 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาเซมิติกกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกภาษาอาหรับภาษาฮีบรูภาษาแอกแคดภาษาแอราเมอิกทะเลแดงคาบสมุทรอาหรับตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติกประเทศเยเมนประเทศเอริเทรียประเทศเอธิโอเปีย

กลุ่มภาษาเซมิติก

หมายของอมาร์นา เขียนด้วย ภาษาอัคคาเดีย กลุ่มภาษาเซมิติก (Semitic languages) เป็นกลุ่มของภาษาที่มีผู้พูดมากกว่า 300 ล้านคนในปริเวณแอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลางและจะงอยของแอฟริกา เป็นสาขาย่อยในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก และเป็นสาขาเดียวของตระกูลนี้ที่มีผู้พูดในทวีปเอเชีย กลุ่มภาษาเซมิติกที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษาอาหรับ (ภาษาแม่ 325 ล้านคน) รองลงมาคือภาษาอัมฮารา (27 ล้านคน) ภาษาตึกรึญญา (6.9 ล้านคน) และภาษาฮีบรู (5 ล้านคน) กลุ่มภาษาเซมิติกเป็นกลุ่มภาษาแรกๆ ที่มีระบบการเขียน ภาษาอัคคาเดียเริ่มเขียนตั้งแต่ราว 2,000 ปีก่อนพุทธศักราช นอกจากนั้นยังมีอักษรโบราณที่ใช้เขียนกลุ่มภาษาเซมิติกมากมาย เช่น อักษรฟินิเชีย อักษรอาหรับ อักษรแอราเมอิก อักษรซีรีแอก อักษรอาระเบียใต้ และอักษรเอธิโอปิก มีภาษามอลตาเท่านั้นที่เป็นกลุ่มภาษานี้แต่เขียนด้วยอักษรโรมัน ชื่อของกลุ่มภาษานี้มาจาก เซม บุตรชายของโนอาห์ ในไบเบิล.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาเซมิติกใต้และกลุ่มภาษาเซมิติก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตก

กลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตก (West Semitic languages) เป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาเซมิติกที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและได้รับการสนับสนุนจาก Robert Hetzron และ John Huehnergard ผู้เชี่ยวชาญด้านกลุ่มภาษาเซมิติก ซึ่งแบ่งกลุ่มภาษาเซมิติกออกเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันออกและตะวันตก กลุ่มตะวันออกประกอบด้วยภาษาเอ็บลาไอต์ และภาษาอัคคาเดีย ส่วนกลุ่มตะวันตกเป็นกลุ่มใหญ่ของกลุ่มภาษาเซมิติก ประกอบด้วยกลุ่มย่อยได้แก่ กลุ่มเอธิโฮปิก กลุ่มอาระเบียใต้ ภาษาอาหรับ และกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือ (ภาษายูการิติก ภาษาฮีบรู ภาษาอราเมอิก) กลุ่มภาษาเอธิโอปิกและอาระเบียใต้ มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก บางครั้งรวมกันเป็นกลุ่มภาษาเซมิติกใต้ การจัดตำแหน่งของภาษาอาหรับภายในกลุ่มเซมิติกยังสับสน บางครั้งจัดให้อยู่ในกลุ่มเซมิติกใต้ บางครั้งรวมกับกลุ่มตะวันตกเฉียงเหนือเป็นกลุ่มภาษาเซมิติกกลาง หมวดหมู่:กลุ่มภาษาเซมิติก.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาเซมิติกใต้และกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาเซมิติกใต้และภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาเซมิติกใต้และภาษาฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแอกแคด

ษาแอกแคด (lišānum akkadītum; Akkadian language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติกใช้พูดในเมโสโปเตเมียโบราณ รวมทั้งชาวบาบิโลเนียและชาวอัสซีเรีย ชื่อของภาษานี้มาจากเมืองแอกแคดซึ่งเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมเมโสโปเตเมี.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาเซมิติกใต้และภาษาแอกแคด · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแอราเมอิก

ษาแอราเมอิก (Aramaic language) เป็นภาษาตระกูลเซมิติกที่มีความเป็นมายาวนานกว่า 3,000 ปืเป็นภาษากลางของบริเวณตะวันออกใกล้ในช่วง 157 ปีก่อนพุทธศักราชถึง..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาเซมิติกใต้และภาษาแอราเมอิก · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลแดง

วเทียมของทะเลแดง ทะเลแดง (Red Sea; البحر الأحمر, อัลบะฮฺรุ อัลอะฮฺมัร; Yam Suf) เป็นอ่าวในมหาสมุทรอินเดีย แบ่งระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชีย โดยทะเลแดงเชื่อมกับมหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเอเดน (Gulf of Aden) ทะเลแดงมีความยาวประมาณ 1900 กิโลเมตร และกว้างประมาณ 300 กิโลเมตร ร่องทะเลที่ลึกที่สุดประมาณ 2,500 เมตร และความลึกเฉลี่ยประมาณ 500 เมตร ทะเลแดงมีชื่ออื่นคือ อ่าวอาหรับ (Arabian Gulf) ซึ่งเรียกกันก่อนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชื่อทะเลแดงไม่ได้หมายถึงสีของน้ำทะเล แต่หมายถึงสีของแบคทีเรียชนิดหนึ่งบริเวณผิวน้ำ.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาเซมิติกใต้และทะเลแดง · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรอาหรับ

ทางอากาศของคาบสมุทรอาหรับ คาบสมุทรอาหรับ (Arabian Peninsula; شبه الجزيرة العربية หรือ جزيرة العرب) เป็นคาบสมุทรในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และอยู่ระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปแอฟริกา พื้นที่ส่วนมากเป็นทะเลทราย พื้นที่ส่วนนี้เป็นดินแดนสำคัญของตะวันออกกลาง เนื่องจากเต็มไปด้วยทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรอาหรับติดกับทะเลแดง ฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ติดทะเลอาหรับ (ส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย) ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดอ่าวโอมานและอ่าวเปอร์เซี.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาเซมิติกใต้และคาบสมุทรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก

แสดงการแพร่กระจายของภาษาตระกูลแอโฟรเอชีแอติกด้วยสีเหลือง ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afroasiatic languages) เป็นตระกูลภาษาที่มีสมาชิก 375 ภาษาและมีผู้พูดมากกว่า 300 ล้านคน แพร่กระจายในตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ แอฟริกาตะวันตก แอฟริกาตะวันออก แอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ (รวมผู้พูดภาษาอาหรับ 200 ล้านคน) ชื่อของภาษาตระกูลนี้ตั้งโดย Joseph Greenberg เพื่อใช้แทนชื่อเดิม ตระกูลภาษาฮามิโต-เซมิติก กลุ่มย่อยของภาษาตระกูลนี้ได้แก.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาเซมิติกใต้และตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยเมน

มน (Yemen; اليَمَن) หรือ สาธารณรัฐเยเมน (Republic of Yemen; الجمهورية اليمنية) ประกอบด้วยอดีตเยเมนเหนือและเยเมนใต้ เป็นประเทศในคาบสมุทรอาหรับในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และเป็นส่วนหนึ่งของตะวันออกกลาง มีชายฝั่งจรดทะเลอาหรับและอ่าวเอเดนทางทิศใต้ จรดทะเลแดงทางทิศตะวันตก มีพรมแดนทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับโอมาน ส่วนพรมแดนด้านอื่น ๆ ติดกับซาอุดีอาระเบีย เยเมนมีอาณาเขตรวมถึงเกาะโซโกตราซึ่งอยู่ห่างไปทางใต้ประมาณ 350 กิโลเมตร นอกชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก หลังการสู้รบในกรุงซานาเมื่อเดือนกันยายน 2014 กลุ่มฮูษี (Houthis) ก็เข้ายึดเมืองหลวงได้สำเร็จ ประธานาธิบดีฮาดีถูกปลด ต่อมากลุ่มฮูษีได้แต่งตั้งมุฮัมมัด อะลี อัลฮูษี ขึ้นเป็นผู้นำคนใหม่ ในขณะที่ประธานาธิบดีฮาดีหลบหนีไปยังเอเดน และประกาศว่าตนยังคงเป็นประธานาธิบดีแห่งเยเมน พร้อมทั้งประกาศให้เอเดนเป็นเมืองหลวงใหม่ของประเทศ กลุ่มฮูษีและกองกำลังสนับสนุนอดีตประธานาธิบดีศอเลียะห์ตอบโต้ด้วยปฏิบัติการบุกเอเดน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของรัฐบาลฮาดีถูกจับตัวได้ในวันที่ 25 มีนาคม ในวันเดียวกัน ชาติอาหรับนำโดยซาอุดีอาระเบียเริ่มปฏิบัติการต่อต้านกลุ่มฮูษีทางอาก.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาเซมิติกใต้และประเทศเยเมน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเอริเทรีย

อริเทรีย (Eritrea; ตึกรึญญา:; إرتريا) หรือชื่อทางการคือ รัฐเอริเทรีย (State of Eritrea; ตึกรึญญา:; دولة إرتريا) เป็นประเทศทางตอนเหนือของแอฟริกาตะวันออก มีชายฝั่งทะเลติดกับทะเลแดงเกือบหนึ่งพันกิโลเมตร ทิศเหนือและทิศตะวันออกติดทะเลแดง ทิศตะวันตกติดซูดาน ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดจิบูตี ทิศใต้ติดเอธิโอเปีย มีเมืองหลวงชื่อแอสมาร.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาเซมิติกใต้และประเทศเอริเทรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเอธิโอเปีย

อธิโอเปีย (Ethiopia; อามฮารา) หรือชื่อทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย (Federal Democratic Republic of Ethiopia; อามฮารา) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ตั้งอยู่ในส่วนแหลมของทวีปแอฟริกา (Horn of Africa) เป็นหนึ่งในชาติที่มีประวัติศาสตร์อันต่อเนื่องยาวนานที่สุดบนทวีปนี้ ในฐานะชาติอิสระ เอธิโอเปียเป็นประเทศเดียวในแอฟริกาที่ยังคงเอกราชระหว่างยุคล่าอาณานิคมในแอฟริกา (Scramble for Africa) และยังคงเอกราชไว้จนถึง พ.ศ. 2479 ซึ่งกองทัพอิตาลีในสมัยของเบนิโต มุสโสลินีได้เข้ายึดครองประเทศนี้ อังกฤษและเอธิโอเปียปราบกองทัพอิตาลีในพ.ศ. 2484 แต่เอธิโอเปียไม่ได้รับเอกราชใหม่จนถึงการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษกับเอธิโอเปีย (Anglo-Ethiopian Agreement) เมื่อธันวาคม พ.ศ. 2487.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาเซมิติกใต้และประเทศเอธิโอเปีย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ภาษากลุ่มเซมิติกใต้

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »