โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กราฟิกส์แท็บเล็ต

ดัชนี กราฟิกส์แท็บเล็ต

กระดานและปากกาของเท็บเล็ตยี่ห้อวาคอม (Wacom) รุ่นแบมบูแคปเจอร์ (Bamboo Capture) กราฟิกส์แท็บเล็ต (graphics tablet) หรือ ดิจิไทเซอร์ (digitizer) หรือมักเรียกกันว่า เมาส์ปากกา (pen mouse) เป็นอุปกรณ์รับเข้าสำหรับคอมพิวเตอร์ซึ่งช่วยให้บุคคลใช้มือวาดภาพและกราฟิกส์ทำนองเดียวกับใช้ปากกาวาดลงบนกระดาษ ทั้งยังสามารถใช้ยึดเก็บข้อมูล ลงลายมือชื่อ และร่างภาพจากกระดาษซึ่งวางหรืดติดไว้บนเครื่องได้ด้วย อุปกรณ์นี้ประกอบด้วยกระดานที่สามารถใช้แท่ง (stylus) ซึ่งเป็นอุปกรณ์คล้ายปากกาและแนบมาพร้อมกัน วาดหรือร่างภาพลงบนนั้นได้ แต่ภาพจะมิได้ปรากฏบนตัวแท็บเล็ต หากปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกันอยู.

5 ความสัมพันธ์: อาตาริตัวถูกเปลี่ยนแอปเปิล (บริษัท)โออีเอ็มเอลิชา เกรย์

อาตาริ

เครื่องเล่นอาตาริ 2600 อาตาริ (อังกฤษ: Atari Inc.) เป็นบริษัทผลิตเครื่องเล่นวิดีโอเกมของสหรัฐอเมริกา ที่มียอดขายหลายล้านเครื่องในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ในปี 1971 โนแลนบุชเนล และเท็ดแดปนีย ก่อตั้งบริษัทไซเซอจีเอ็นจิเนียริง และได้ออกแบบสร้างวิดีโอเกมอาเขตเครื่องแรกคือคอมพิวเตอร์สเปซให้กับบริษัทนัตติงแอตโซซิเอต จนวันที่ 27 มิถุนายน 1972 บริษัทอาตาริ อิงค์ ได้ถูกก่อตั้งขึ้นและได้ว่าจ้าง อลันอัลคอรน เป็นวิศวกรด้านการออกแบบ บุชเนลตัดสินใจให้ อัลคอรน ได้ทดสอบความสามารถโดยพัฒนาเกมเลียนแบบ เกมเทเบิ้ลเทนนิสของเครื่อง แม็กนาวอกซ์โอดีสซี ซึ่งออกวางตลาดโดยใช้ชื่อว่า ป็อง โดยแรกเริ่ม ป็อง เป็นเครื่องเล่นเกมอาเขต ต่อมาวางจำหน่ายเป็นเครื่องเล่นเกมในบ้าน บุชเนลเลือกชื่อ อาตาริ จากศัพท์ในเกมโกะ คำว่า อาตาริ ซึ่งหมายถึงกลุ่มก้อนหินซึ่งหมายถึงคู่ต่อสู้กำลังจะถูกทำให้แพ้ คำว่า อาตาริในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า เรื่องกำลังจะเกิดขึ้นหรือบางคนกำลังถูกลอตเตอรี่ ในปี 1976 บุชเนลว่าจ้าง บริษัทกลาสวัลเลย์ สร้างเครื่องเล่นวิดีโอเกมที่ยืดหยุ่นและมีราคาประหยัดผลงานที่ได้คือ อาตาริวิดีโอคอมพิวเตอร์ซีสเต็ม หรือ วีซีเอส ซึ่งต่อมามีชื่อว่า อาตาริ 2600 แต่เนื่องจากการนำออกสู่ตลาดต้องใช้ทุนจำนวนมาก บุชเนลจึงตัดสินใจขายสิทธิให้กับ วอร์เนอร์คอมมิวนิเคชั่น ในราคา 28-32ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเงินที่ได้ไปซื้อ โฟวเกอร์แมนชั่น บุชเนลยังทำงานอยู่ในบริษัทต่อไปจนถูกไล่ออกในเดือนธันวาคม ปี 1978 ในการสร้างอาตาริ 2600 ถูกกำหนดให้วางตลาดได้ 3 ปี ในระหว่างนี้บริษัทต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่โดยให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะทำได้ ในที่สุดได้ออกวางจำหน่าย เครื่องรุ่นที่มีคีย์บอร์ดในตัว ในชื่อ อาตาริ 800 และรุ่นประหยัด อาตาริ 400 อย่างไรก็ตามสินค้าไม่ได้รับการตอบรับจากตลาดดีเท่าที่ควรเนื่องจากผู้บริโภคให้ความสนใจ แอปเปิ้ล ทู มากกว่าภายหลังบริษัทจึงตัดสินใจที่จะยกเลิกคีย์บอร์ดในตัว และกลับไปทำเครื่อง อาตาริ 5200 ภายใต้การบริหารงานของ วอร์เนอร์ อาตาริสามารถขายเครื่องรุ่น 2600 ได้หลายล้านเครื่องและกลายเป็นบริษัทที่มียอดขายเติบโตสูงสุดในช่วงเวลานั้น อย่างไรก็ตามพอถึงช่วงต้นปี 1980 เกิดการแข่งขันราคาอย่างมากในตลาดเครื่องเล่นเกม จากนั้นอาตาริไม่เคยประสบความสำเร็จอีกเลย วอร์เนอร์ขายสิทธิเครื่องเล่นเกม ให้ แจ็กทาไมล ในปี 1984 และขายสิทธิตัวเกมอาตาริ ให้นัมโค ในปี 1985 ทาไมล บริหารอาตาริในนามบริษัท อาตาริคอร์ป และออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในชื่อ อาตาริ เอสที ในเดือน เมษายน ของปี 1985 ต่อมาในปี 1989 ออกผลิตภัณฑ์ เครื่องเล่นเกมขนาดเล็กชื่อ อาตาริ ลิงนซ์ อย่างไรก็ตามต้องต่อสู้อย่างหนักกับ เกมบอย ของนินเทนโด จึงหันกลับไปพัฒนาเครื่องเล่นเกมรุ่น จากัวร์ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จทางการตลาด ในปี 1996 บริษัทควบรวมกับ บริษัทเจทีเอสอิงค์ ผู้ผลิตดิสไดรฟ์ ในปี 1998 เจทีเอสตัดสินใจขายชื่อ อาตาริ และสินทรัพย์ทั้งหมดให้กับ แฮสโบรวอินเตอร์แอกทีฟ ในราคา 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หมวดหมู่:บริษัทวิดีโอเกม หมวดหมู่:บริษัทของสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:บริษัทที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2515.

ใหม่!!: กราฟิกส์แท็บเล็ตและอาตาริ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวถูกเปลี่ยน

ตัวถูกเปลี่ยน หรือ ซับสเตรต (substrate) ในทางชีววิทยาและวิทยาเอนไซม์ หมายถึง โมเลกุลที่เอนไซม์จับ เอนไซม์เร่งปฏิกิริยาเคมีที่มีตัวถูกเปลี่ยนมาเกี่ยวข้อง ในกรณีตัวถูกเปลี่ยนตัวเดียว ตัวถูกเปลี่ยนจะยึดกับบริเวณเร่ง (active site) ของเอนไซม์ และเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนเอนไซม์กับตัวถูกเปลี่ยน (enzyme-substrate complex) เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยา จะได้ผลิตภัณฑ์ออกมาหนึ่งชนิดหรือมากกว่า ซึ่งจะถูกปล่อยจากบริเวณเร่ง บริเวณเร่งของเอนไซม์ก็จะสามารถรับโมเลกุลตัวถูกเปลี่ยนตัวใหม่ได้อีก ในกรณีที่มีตัวถูกเปลี่ยนมากกว่าหนึ่งตัว ตัวถูกเปลี่ยนอาจจับกับบริเวณเร่งตามลำดับที่เจาะจง ก่อนที่จะทำปฏิกิริยากันเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ ปฏิกิริยาระหว่างเอนไซม์กับตัวถูกเปลี่ยน เขียนเป็นสมการได้ดังนี้ E + S ⇌ ES → EP ⇌ E + P โดยที่ E คือ เอนไซม์ S คือ ตัวถูกเปลี่ยน และ P คือ ผลิตภัณฑ์ ขณะที่ขั้นแรก (ขั้นจับ) และขั้นที่สาม (ขั้นปล่อย) โดยทั่วไปสามารถผันกลับได้ แต่ขั้นที่สองอาจผันกลับไม่ได้หรือผันกลับได้ก็ได้ การเพิ่มความเข้มข้นของตัวถูกเปลี่ยน จะเพิ่มอัตราการเกิดปฏิกิริยาเนื่องจากโอกาสเกิดสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างเอนไซม์กับตัวถูกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น ยกเว้นความเข้มข้นของเอนไซม์จะเป็นปัจจัยจำกัด คือ เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของตัวถูกเปลี่ยนไปถึงจุดหนึ่งแล้ว อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะไม่เพิ่มขึ้นอีก เพราะเอนไซม์อิ่มตัวด้วยตัวถูกเปลี่ยน หมวดหมู่:โมเลกุลชีวภาพ หมวดหมู่:จลนศาสตร์เอนไซม์ หมวดหมู่:ตัวเร่งปฏิกิริยา.

ใหม่!!: กราฟิกส์แท็บเล็ตและตัวถูกเปลี่ยน · ดูเพิ่มเติม »

แอปเปิล (บริษัท)

ริษัทแอปเปิล (Apple Inc.) หรือในชื่อเดิม บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer Inc.) เป็นบริษัทในซิลิคอนแวลลีย์ ทำธุรกิจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แอปเปิลปฏิวัติคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในยุค 70 ด้วยเครื่องแอปเปิล I และแอปเปิล II และแมคอินทอช ในยุค 80 ปัจจุบันแอปเปิลมีชื่อเสียงด้านฮาร์ดแวร์ เช่น ไอแมค ไอพอด ไอโฟน ไอแพด และร้านขายเพลงออนไลน์ไอทูน.

ใหม่!!: กราฟิกส์แท็บเล็ตและแอปเปิล (บริษัท) · ดูเพิ่มเติม »

โออีเอ็ม

ผู้ผลิตอุปกรณ์ตามแบบฐาน (original equipment manufacturer) หรือ โออีเอ็ม (OEM) เป็นคำที่ใช้เมื่อบริษัทหนึ่งได้ผลิตชิ้นส่วนหรือส่วนควบขึ้นมา โดยที่ชิ้นส่วนดังกล่าวถูกใช้ในผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายของบริษัทตัวเองหรือบริษัทอื่น อย่างไรก็ตาม คำนี้อาจถูกใช้ไปในหลายความหมายตามแต่บริบทที่ต่างกันไป.

ใหม่!!: กราฟิกส์แท็บเล็ตและโออีเอ็ม · ดูเพิ่มเติม »

เอลิชา เกรย์

ผู้คิดค้นและประดิษฐ์โทรศัพท์ เอลิชา เกรย์ (Elisha Gray - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2378 - 21 มกราคม พ.ศ. 2444) นักประดิษฐ์ วิศวกรไฟฟ้า เกิดที่บาร์นสวิลล์ รัฐโอไฮโอ เป็นเจ้าของบริษัทผู้ผลิตเครื่องโทรศัพท์และส่วนประกอบ ซึ่งต่อมาคือ บริษัทเวสเทิร์นอีเล็กตริก เอลิชา เกรย์ เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มากกว่า 60 รายการ รวมทั้งอุปกรณ์โทรเลขแบบสหสัญญาณ (multiplex) เอลิชา เกรย์ได้อ้างสิทธิ์ในการเป็นผู้คิดค้นและประดิษฐ์เครื่องโทรศัพท์ด้วย แต่ก็แพ้คดีเสียสิทธิ์ในการครองลิขสิทธิ๋ให้แก่อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ หลังจากการต่อสู้คดีในศาลสูงสหรัฐอันยาวนาน เอลิชา เกรย์ ได้ประสบความสำเร็จในการคิดค้นและประดิษฐ์โทรศัพท์อย่างเป็นเอกเทศในเวลาไล่เรี่ยกับอเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ เมื่อ พ.ศ. 2419 ที่ไฮแลนด์ปาร์ก รัฐอิลลินอ.

ใหม่!!: กราฟิกส์แท็บเล็ตและเอลิชา เกรย์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

DigitizerGraphics tabletPen mouseกราฟิกส์แทบเล็ตดิจิไทเซอร์เมาส์ปากกา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »