โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระจุกดาวทรงกลม

ดัชนี กระจุกดาวทรงกลม

เมสสิเยร์ 80 กระจุกดาวทรงกลมในกลุ่มดาวแมงป่อง อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ของเรา 28,000 ปีแสง ประกอบด้วยดาวฤกษ์นับแสนดวง กระจุกดาวทรงกลม (Globular Cluster) เป็นแหล่งรวมของดวงดาวที่มีรูปร่างเป็นทรงกลม โคจรไปรอบๆ แกนกลางดาราจักร ดาวฤกษ์ในกระจุกดาวทรงกลมมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดต่อกันค่อนข้างมาก ทำให้พวกมันรวมตัวเป็นกลุ่มทรงกลม มีความหนาแน่นของดาวค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในจุดศูนย์กลาง บางครั้งเรียกชื่อโดยย่อเพียงว่า globular กระจุกดาวทรงกลมมักพบอยู่ในกลดดาราจักร มีดวงดาวรวมตัวกันอยู่มากและมักมีอายุเก่าแก่กว่าส่วนที่เหลือของดาราจักร หรือกระจุกดาวเปิดซึ่งมักพบในจานดาราจักร ในดาราจักรทางช้างเผือกมีกระจุกดาวทรงกลมอยู่ราว 158 แห่ง และคาดว่ายังมีกระจุกดาวที่ยังค้นไม่พบอีกราว 10-20 แห่งAshman, Keith M.; Zepf, Stephen E. (1992).

66 ความสัมพันธ์: บันไดระยะห่างของจักรวาลชาร์ล เมซีเยพลังงานจลน์พัลซาร์พาร์เซกกระจุกดาวเปิดกลุ่มท้องถิ่นกลุ่มดาวแมงป่องกลดดาราจักรกล้องโทรทรรศน์กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลกำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักรมวลดวงอาทิตย์ระบบดาวคู่ระบบดาวเคราะห์รังสีเอกซ์รายชื่อกระจุกดาวทรงกลมลิปดาลิเทียมวิลเลียม เฮอร์เชลสเปกตรัมมองเห็นได้หลุมดำหลุมดำมวลยวดยิ่งหลุมดำของดาวฤกษ์หน่วยดาราศาสตร์ฮาร์โลว์ แชปลีย์ฮีเลียมจักรวาลวิทยาธารดาวฤกษ์ทางช้างเผือกดวงอาทิตย์ดัชนีสีดาราจักรดาราจักรชนิดก้นหอยดาราจักรรีดาราจักรแอนดรอมิดาดาราจักรแคระชนิดรีดาวยักษ์ดาวฤกษ์ดาวนิวตรอนดาวแคระขาวดาวแปรแสงดาวแปรแสงชนิดเซเฟอิดดาวแปลกพวกสีน้ำเงินดาวเทียมโคบีดาวเคราะห์ดุมดาราจักรคลื่นวิทยุความส่องสว่างสัมบูรณ์ความโน้มถ่วง...ความเป็นโลหะ (ดาราศาสตร์)คาร์บอนตัวเลขอารบิกตัวเลขโรมันปัญหาหลายวัตถุปีแสงนาซานีกอลา หลุยส์ เดอ ลากายแรงไทดัลแถบลำดับหลักโอเมกาคนครึ่งม้าไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์เมฆแมเจลแลนใหญ่เยอรมันเส้นสเปกตรัมเอ็ดมันด์ แฮลลีย์ ขยายดัชนี (16 มากกว่า) »

บันไดระยะห่างของจักรวาล

แผนภูมิบันไดระยะห่างของจักรวาล บันไดระยะห่างของจักรวาล (Cosmic distance ladder หรือ Extragalactic Distance Scale) เป็นกระบวนการต่อเนื่องที่นักดาราศาสตร์ใช้ในการบรรยายระยะห่างของวัตถุท้องฟ้า การวัดระยะทางโดยตรงที่แท้จริงของเทหวัตถุหนึ่งๆ จะทำได้ก็ต่อเมื่อวัตถุนั้นอยู่ "ใกล้" กับโลกพอที่จะทำได้เท่านั้น (คือระยะไม่เกินหนึ่งพันพาร์เซก) ดังนั้นเทคนิคในการอธิบายถึงระยะห่างของวัตถุที่อยู่ไกลกว่านั้นจึงต้องใช้วิธีการหลากหลายโดยอาศัยความสัมพันธ์กับวัตถุใกล้เคียง กระบวนการต่างๆ เหล่านั้นจะอิงอยู่กับ เทียนมาตรฐาน ซึ่งหมายถึงวัตถุดาราศาสตร์ที่ทราบค่าความส่องสว่างที่แน่นอน.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและบันไดระยะห่างของจักรวาล · ดูเพิ่มเติม »

ชาร์ล เมซีเย

ร์ล เมซีเย ชาร์ล เมซีเย (Charles Messier; 26 มิถุนายน ค.ศ. 1730 - 12 เมษายน ค.ศ. 1817) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส มีชื่อเสียงจากการจัดทำและเผยแพร่เอกสารทางดาราศาสตร์ ว่าด้วยรายชื่อของวัตถุท้องฟ้าในห้วงอวกาศลึก เช่น เนบิวลา และกระจุกดาว ซึ่งในเวลาต่อมาเป็นที่รู้จักกันว่า "วัตถุท้องฟ้าของเมซีเย" ในเบื้องแรกรายชือวัตถุท้องฟ้าเหล่านี้จัดทำขึ้นเพื่อช่วยในภารกิจของนักล่าดาวหาง (ตัวเขาเองก็เป็นคนหนึ่ง) และนักสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์คนอื่นๆ ให้สามารถแยกแยะระหว่างวัตถุท้องฟ้าที่ปรากฏเป็นการถาวรกับที่ปรากฏเพียงชั่วคราวออกจากกัน.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและชาร์ล เมซีเย · ดูเพิ่มเติม »

พลังงานจลน์

ลังงานจลน์ (Kinetic Energy) คือพลังงานที่เกิดกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เช่น รถยนต์กำลังแล่น เครื่องบินกำลังบิน พัดลมกำลังหมุน น้ำกำลังไหลหรือน้ำตกจากหน้าผา ธนูที่พุ่งออกจากคันศร จักรยานที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่า พลังงานจลน์ ล้วนเป็นพลังงานกลที่สามารถเปลี่ยนรูปกลับไป กลับมาได้ "วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ล้วนมีพลังงานจลน์ทั้งสิ้น ปริมาณพลังงานจลน์ในวัตถุจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับมวลและความเร็วของวัตถุนั้น" ถ้าวัตถุมีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงจะมีพลังงานจลน์มาก แต่ถ้าเคลื่อที่เท่ากันวัตถุที่มีมวลมากกว่าจะมีพลังงานจลน์มากกว่า จากนิยามเขียนเป็นสมการได้ว่า Ek.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและพลังงานจลน์ · ดูเพิ่มเติม »

พัลซาร์

แผนภาพของพัลซาร์ ทรงกลมตรงกลางหมายถึงดาวนิวตรอน เส้นโค้งรอบๆ คือเส้นสนามแม่เหล็ก ส่วนรูปกรวยที่พุ่งออกมาคือลำการแผ่รังสี พัลซาร์ (Pulsar; มาจากการรวมกันของ 2 คำ คือ pulsating และ star) คือดาวนิวตรอนที่หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูงมาก และแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาเป็นจังหวะ คาบการหมุนที่สังเกตได้อยู่ระหว่าง 1.4 มิลลิวินาที ถึง 8.5 วินาที เราสามารถสังเกตเห็นการแผ่รังสีได้จากลำรังสีที่ชี้มาทางโลกเท่านั้น ลักษณะปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่า ปรากฏการณ์ประภาคาร (lighthouse effect) และการที่สังเกตเห็นรังสีเป็นช่วงๆ (pulse) นี้เองเป็นที่มาของชื่อพัลซาร์ พัลซาร์บางแห่งมีดาวเคราะห์โคจรอยู่รอบๆ เช่น ดาว PSR B1257+12 เวอร์เนอร์ เบ็คเกอร์ แห่งสถาบันมักซ์ พลังค์เพื่อการศึกษาฟิสิกส์นอกโลก (Max Planck Institute for Extraterrestrial Physics) ได้กล่าวเอาไว้ในปี 2549 ว่า "ทฤษฎีว่าด้วยเหตุที่พัลซาร์แผ่รังสีออกมายังคงเป็นสิ่งลึกลับ แม้จะมีการเฝ้าศึกษามาเป็นเวลากว่า 40 ปีแล้ว".

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและพัลซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

พาร์เซก

ร์เซก (Parsec; มาจาก parallax of one arcsecond ตัวย่อ: pc) เป็นหน่วยวัดระยะทางทางดาราศาสตร์ เท่ากับความสูงของสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่มีเส้นฐานยาว 1 หน่วยดาราศาสตร์และมีมุมยอด 1 พิลิปดา มีค่าประมาณ 3.2616 ปีแสง (3.26 ปีแสง)หรือ 206,265 หน่วยดาราศาสตร์ มักใช้วัดระยะทางภายในดาราจักร การวัดระยะจากโลกถึงดาวฤกษ์คือการวัดแพรแลกซ์ของดาวฤกษ์ แพรัลแลกซ์ คือ ปรากฏการณ์ที่ผู้สังเกตมองจาก 2 จุด แล้วเห็นตำแหน่งของวัตถุเปลี่ยนไปเมื่อเทียบกับวัตถุอ้างอิง ทดลองได้โดยใช้มือถือวัตถุยื่นไปข้างหน้า แล้วสังเกตวัตถุดังกล่าวด้วยตาซ้าย และขวาจะสังเกตเห็นตำแหน่งของวัตถุเปลี่ยนไปหรือไม่ หมวดหมู่:หน่วยความยาว หมวดหมู่:มาตรดาราศาสตร์.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและพาร์เซก · ดูเพิ่มเติม »

กระจุกดาวเปิด

กระจุกดาวลูกไก่ หนึ่งในกระจุกดาวเปิดที่มีชื่อเสียงมากที่สุด กระจุกดาวเปิด (Open Cluster) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์จำนวนหลายพันดวงที่รวมกลุ่มกันอยู่ในเมฆโมเลกุลขนาดยักษ์ชุดเดียวกัน และมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดต่อกันและกันอย่างหลวมๆ กระจุกดาวเปิดจะพบได้ในดาราจักรชนิดก้นหอยและชนิดไร้รูปร่างเท่านั้น ซึ่งเป็นดาราจักรที่ยังมีการก่อตัวของดาวฤกษ์ดำเนินอยู่ โดยทั่วไปมีอายุน้อยกว่าร้อยล้านปี และมักถูกรบกวนจากกระจุกดาวอื่นหรือกลุ่มเมฆที่มันโคจรอยู่ใกล้ๆ ทำให้สูญเสียสมาชิกในกระจุกดาวไปบ้างในการประจันหน้าเช่นนั้น กระจุกดาวเปิดที่มีอายุน้อยอาจยังคงอยู่ในกลุ่มเมฆโมเลกุลซึ่งมันก่อตัวขึ้นมา ส่องแสงและความร้อนจนสามารถสร้างบริเวณเอช 2 ขึ้นมาได้ เมื่อเวลาผ่านไป แรงดันของการแผ่รังสีจากกระจุกดาวจะทำให้เมฆโมเลกุลกระจัดกระจายออกไป โดยทั่วไปมวลของแก๊สในกลุ่มเมฆประมาณ 10% จะรวมเข้าอยู่ในดาวฤกษ์ก่อนที่แรงดันของการแผ่รังสีจะผลักพวกมันออกไปเสีย กระจุกดาวเปิดเป็นวัตถุท้องฟ้าที่สำคัญมากในการศึกษาวิวัฒนาการของดวงดาว เพราะดาวฤกษ์ในกระจุกดาวเดียวกันจะมีอายุใกล้เคียงกันและมีลักษณะทางเคมีคล้ายคลึงกัน การศึกษาผลกระทบต่อตัวแปรอันละเอียดอ่อนต่างๆ ของคุณลักษณะของดวงดาวจึงทำได้ง่ายกว่าการศึกษาดาวฤกษ์เดี่ยวๆ กระจุกดาวเปิดจำนวนหนึ่ง เช่น กระจุกดาวลูกไก่ กระจุกดาวสามเหลี่ยมหน้าวัว หรือ กระจุกดาวอัลฟาเพอร์เซย์ เป็นกระจุกดาวที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า กระจุกดาวบางจำพวกเช่นกระจุกดาวแฝดจะมองเห็นได้ค่อนข้างยากหากไม่ใช้เครื่องมือช่วย ส่วนอื่นๆ ที่เหลือจะมองเห็นได้โดยใช้กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและกระจุกดาวเปิด · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มท้องถิ่น

ราจักรแคระ Sextans A หนึ่งในดาราจักรสมาชิกของกลุ่มท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยดาราจักรแอนโดรเมดาและทางช้างเผือก ซึ่งปรากฏเป็นแถบดาวสีเหลืองในภาพ Sextans A คือภาพดาวสีน้ำเงินอ่อนที่เห็นได้ชัดเจน กลุ่มท้องถิ่น (Local Group) เป็นกลุ่มของดาราจักรซึ่งมีดาราจักรทางช้างเผือกของเราเป็นสมาชิกอยู่ ประกอบด้วยดาราจักรมากกว่า 35 แห่ง มีจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงอยู่ระหว่างทางช้างเผือกกับดาราจักรแอนโดรเมดา กลุ่มท้องถิ่นกินเนื้อที่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 ล้านปีแสง และมีรูปร่างเหมือนดัมเบลล์ ประมาณการว่ากลุ่มท้องถิ่นมีมวลรวมประมาณ (1.29 ± 0.14) เท่าของมวลดวงอาทิตย์ และเป็นสมาชิกหนึ่งอยู่ใน กลุ่มกระจุกดาราจักรหญิงสาว (หรือเรียกว่าเป็น กลุ่มกระจุกดาราจักรท้องถิ่น) ด้วย สมาชิกที่มีมวลมากที่สุดสองแห่งในกลุ่มท้องถิ่น คือ ดาราจักรทางช้างเผือก และ ดาราจักรแอนโดรเมดา ดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานทั้งสองแห่งนี้มีดาราจักรบริวารโคจรอยู่โดยรอบเป็นระบบดาราจักร ดังนี้.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและกลุ่มท้องถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวแมงป่อง

กลุ่มดาวแมงป่อง หรือ กลุ่มดาวพิจิก (♏) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี เป็นกลุ่มดาวอันดับที่ 8 อยู่ระหว่างกลุ่มดาวตาชั่งทางทิศตะวันตกกับกลุ่มดาวคนยิงธนูทางทิศตะวันออก เป็นกลุ่มดาวที่มีขนาดใหญ่ อยู่ในซีกฟ้าใต้ ใกล้กับศูนย์กลางทางช้างเผือก มีดาวที่สำคัญคือดาวปาริชาต ซึ่งมีสีส้มแดง ในขณะที่ดาวดวงอื่นเรียงเป็นแถวยาวโค้งคล้ายกับหางแมงป่อง กลุ่มดาวแมงป่องเป็นหนึ่งในกลุ่มดาวบนฟ้าที่มีลักษณะเด่นที่สุด สังเกตง่าย และถึงแม้จะต่างภาษาและวัฒนธรรมกัน หลายชาติก็เรียกลักษณะของกลุ่มดาวนี้ตรงกันว่ามีรูปร่างคล้ายกับแมงป่อง หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวแมงป่อง.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและกลุ่มดาวแมงป่อง · ดูเพิ่มเติม »

กลดดาราจักร

กลดดาราจักร (Galactic halo) หมายถึงบริเวณหนึ่งของดาราจักรที่มีรูปร่างค่อนข้างเป็นทรงกลม ขยายตัวออกมาจากส่วนหลักของดาราจักรที่มองเห็นได้ชัดเจน ห่อหุ้มดาราจักรเอาไว้ แต่ไม่ได้เคลื่อนที่ในแบบเดียวกับดาราจักร สามารถหมายถึงส่วนประกอบต่างๆ ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน ดังต่อไปนี้คือ.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและกลดดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์

กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง กล้องโทรทรรศน์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ขยายวัตถุท้องฟ้าโดยอาศัยหลักการรวมแสง เพื่อให้สามารถมองเห็นวัตถุท้องฟ้าที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือทำให้มองเห็นได้ชัดขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้น กล้องโทรทรรศน์ได้ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1608 โดยฮานส์ ช่างทำแว่นคนหนึ่งซึ่งต่อมาค้นพบว่าหากนำเลนส์มาวางเรียงกับให้ได้ระยะที่ถูกต้องเลนส์สามารถขยายภาพที่อยู่ไกลๆได้ใกล้ขึ้น และ 1 ปีต่อมา กาลิเลโอ กาลิเลอิ ก็ได้ นำมาสำรวจท้องฟ้าเป็นครั้งแรกซึ่งในตอนนั้นเป็นกล้องหักเหแสงที่มีกำลังขยายไม่ถึง 30 เท่า เท่านั้นแต่ก็ทำให้เห็นรายละเอียดต่างๆมากมายของดวงดาวต่างๆที่ยังไม่เคยเห็นมาก่อนทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มมาสำรวจท้องฟ้าโดยใช้กล้องโทรทรรศน.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและกล้องโทรทรรศน์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) คือ กล้องโทรทรรศน์ในวงโคจรของโลกที่กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีนำส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อเดือนเมษายน..

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล · ดูเพิ่มเติม »

กำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักร

การศึกษาเรื่องการก่อกำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักรนั้นเกี่ยวข้องกับกระบวนการกำเนิดเอกภพที่มีลักษณะแตกต่างกันจากจุดเริ่มต้นเดียวกัน การกำเนิดของดาราจักรแรก ๆ การเปลี่ยนแปลงของดาราจักรตามกาลเวลา และกระบวนการที่ก่อให้เกิดโครงสร้างแบบต่าง ๆ จากที่มีการสังเกตดาราจักรข้างเคียง โดยการศึกษาในเรื่องนี้เป็นการศึกษาที่สำคัญเรื่องหนึ่งในวิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ การกำเนิดดาราจักร เชื่อว่าเกิดจากทฤษฎีการกำเนิดโครงสร้าง (structure formation theories) ซึ่งเป็นผลมาจากเปลี่ยนแปลงขึ้น ๆ ลง ๆ ทางควอนตัมซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากการเกิดบิกแบง (Big Bang) วิวัฒนาการการกำเนิดหลุมดำนี้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเกิดจากโครงสร้างของแบบจำลองแลมดา-ซีดีเอ็ม(\Lambda) ซึ่งว่าด้วยวัตถุที่เย็นและมืดในจักรวาล โดยกล่าวว่าการรวมตัวของดาราจักรนั้นเป็นเพิ่มมวลที่สามารถจะคาดการณ์รูปร่างและโครงสร้างได้.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและกำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

มวลดวงอาทิตย์

มวลดวงอาทิตย์ เป็นวิธีพื้นฐานในการบรรยายค่ามวลในทางดาราศาสตร์ สำหรับใช้อธิบายถึงมวลดาวฤกษ์หรือมวลดาราจักร มีค่าเท่ากับมวลของดวงอาทิตย์ คือประมาณ 2 โนนิลเลียนกิโลกรัม หรือเท่ากับ 332,950 เท่าของมวลของโลก หรือ 1,048 เท่าของมวลของดาวพฤหัสบดี สัญลักษณ์และค่าพื้นฐานของมวลดวงอาทิตย์แสดงได้ดังนี้ เราสามารถบรรยายมวลดวงอาทิตย์ในรูปของระยะทางเป็นปี คือระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์ (หนึ่งหน่วยดาราศาสตร์ หรือ AU) กับค่าคงที่แรงโน้มถ่วง (G) ได้ดังนี้ จนกระทั่งปัจจุบันยังไม่สามารถบอกตัวเลขที่แท้จริงของหน่วยดาราศาสตร์หรือค่าคงที่แรงโน้มถ่วงได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ดี การอธิบายถึงมวลสัมพันธ์ของดาวเคราะห์อื่นในระบบสุริยะหรือในระบบดาวคู่ด้วยหน่วยของมวลดวงอาทิตย์ มิได้มีความจำเป็นต้องทราบถึงค่าแท้จริงเหล่านั้น ดังนั้นการบรรยายถึงมวลต่างๆ ด้วยหน่วยของมวลดวงอาทิตย์จึงเป็นวิธีที่มีประโยชน์ที.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและมวลดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบดาวคู่

กล้องฮับเบิล ดาวซิริอุส B แทบจะมองไม่เห็น (ล่างซ้าย) ดาวคู่ (Binary star) คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์สองดวงโคจรไปรอบๆ จุดศูนย์กลางมวลของระบบ ดาวแต่ละดวงถือว่าเป็น ดาวเพื่อน ของอีกดวงหนึ่ง การวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ชี้ว่าดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ในดาราจักรทางช้างเผือกมักเป็นระบบดวงเดี่ยวมากกว่าระบบดาวคู่ มีความสำคัญต่อการศึกษาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ เพราะการสังเกตการณ์วงโคจรร่วมของทั้งสองทำให้สามารถประเมินมวลของดาวได้ ขณะที่การประเมินมวลของดาวฤกษ์เดี่ยวจำนวนมากต้องทำจาก extrapolation ที่ได้จากการศึกษาดาวคู่ ดาวคู่เป็นคนละอย่างกับดาวแฝด (Double star) ที่เมื่อมองจากโลกจะเห็นอยู่ใกล้กันอย่างมาก แต่ไม่ได้มีแรงดึงดูดระหว่างกัน ดาวคู่อาจจะไม่สามารถมองเห็นได้ในแสงปกติ หรืออาจต้องใช้วิธีทางอ้อมในการตรวจสอบ เช่นการใช้สเปกโทรสโกปี ถ้าดาวคู่โคจรรอบกันและกันในแนวระนาบเดียวกับสายตา เราจะเห็นมันเกิดคราสบังกันเอง กรณีนี้จะเรียกว่า ดาวคู่คราส (eclipsing binary) ระบบที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์มากกว่า 2 ดวง ที่เรียกกันว่า ระบบดาวหลายดวง ถือเป็นระบบที่ไม่ปกติเช่นกัน องค์ประกอบภายในของระบบดาวคู่สามารถแลกเปลี่ยนมวลซึ่งกันและกันได้ ทำให้วิวัฒนาการของมันดำเนินไปในทิศทางที่ดาวฤกษ์เดี่ยวไม่อาจทำได้ ตัวอย่างของดาวคู่ได้แก่ Algol (เป็นดาวคู่คราส) ดาวซิริอุส และ ดาว Cygnus X-1 (ซึ่งดาวสมาชิกดวงหนึ่งอาจจะเป็นหลุมดำ).

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและระบบดาวคู่ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบดาวเคราะห์

วาดโดยศิลปินแสดงภาพของระบบดาวเคราะห์ ระบบสุริยะของเรา เปรียบเทียบกับระบบดาวเคราะห์ของ 55 Cancri ระบบดาวเคราะห์ (Planetary system) คือระบบที่ประกอบด้วยวัตถุหลายชนิดที่ไม่ใช่ดาวฤกษ์ โคจรไปรอบๆ ดาวฤกษ์ เช่น ดาวเคราะห์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์น้อย สะเก็ดดาว ดาวหาง และ ฝุ่นคอสมิก ดวงอาทิตย์กับระบบดาวเคราะห์ของมันซึ่งมีโลกเป็นดาวสมาชิกอยู่ มีชื่อเรียกเฉพาะว่า ระบบสุร.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและระบบดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

รังสีเอกซ์

รังสีเอกซ์มือของอัลแบร์ต ฟอน คืลลิเคอร์ ถ่ายโดยวิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน รังสีเอกซ์ (X-ray หรือ Röntgen ray) เป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีความยาวคลื่นในช่วง 10 ถึง 0.01 นาโนเมตร ตรงกับความถี่ในช่วง 30 ถึง 30,000 เพตะเฮิรตซ์ (1015 เฮิรตซ์) ในเบื้องต้นมีการใช้รังสีเอกซ์สำหรับถ่ายภาพเพื่อการวินิจฉัยโรค และงานผลึกศาสตร์ (crystallography) รังสีเอกซ์เป็นการแผ่รังสีแบบแตกตัวเป็นไอออน และมีอันตรายต่อมนุษย์ รังสีเอกซ์ค้นพบโดยวิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน เมื่อ ค.ศ. 1895 ทฤษฎีอิเล็กตรอนสมัยปัจจุบัน อธิบายถึงการเกิดรังสีเอกซ์ว่า ธาตุประกอบด้วยอะตอมจำนวนมากในอะตอมแต่ละตัวมีนิวเคลียสเป็นใจกลาง และมีอิเล็กตรอนวิ่งวนเป็นชั้น ๆ ธาตุเบาจะมีอิเล็กตรอนวิ่งวนอยู่น้อยชั้น และธาตุหนักจะมีอิเล็กตรอนวิ่งวนอยู่หลายชั้น เมื่ออะตอมธาตุหนักถูกยิงด้วยกระแสอิเล็กตรอน จะทำให้อิเล็กตรอนที่อยู่ชั้นในถูกชนกระเด็นออกมาวิ่งวนอยู่รอบนอกซึ่งมีภาวะไม่เสถียรและจะหลุดตกไปวิ่งวนอยู่ชั้นในอีก พร้อมกับปล่อยพลังงานออกในรูปรังสี ถ้าอิเล็กตรอนที่ยิงเข้าไปมีพลังงานมาก ก็จะเข้าไปชนอิเล็กตรอนในชั้นลึก ๆ ทำให้ได้รังสีที่มีพลังงานมาก เรียกว่า ฮาร์ดเอกซเรย์ (hard x-ray) ถ้าอิเล็กตรอนที่ใช้ยิงมีพลังงานน้อยเข้าไปได้ไม่ลึกนัก จะให้รังสีที่เรียกว่า ซอฟต์เอกซเรย์ (soft x-ray) กระบวนการเกิดหรือการผลิตรังสีเอกซ์ทั้งโดยฝีมือมนุษย์และในธรรมชาติ มีอยู่ 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและรังสีเอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อกระจุกดาวทรงกลม

รายชื่อต่อไปนี้คือ รายชื่อกระจุกดาวทรงกลม.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและรายชื่อกระจุกดาวทรงกลม · ดูเพิ่มเติม »

ลิปดา

ลิปดา (minute of arc, arcminute หรือ MOA) เป็นหน่วยหนึ่งในการวัดมุม มีค่าเท่ากับ ของหนึ่งองศา เนื่องจากหนึ่งองศาเท่ากับ ของวงกลม ดังนั้น 1 ลิปดาจึงเท่ากับ ของวงกลม หน่วยวัดขนาดเล็กเช่นนี้มักใช้ในการวัดค่าที่ละเอียดมากๆ เช่นในวิชาดาราศาสตร์หรือการกำหนดพิกัดการยิงอาวุธ ส่วน พิลิปดา (second of arc, arcsecond) (บ้างก็เขียนว่า วิลิปดา) เป็นหน่วยที่มีขนาดเป็น ของหนึ่งลิปดาอีกต่อหนึ่ง หรือเท่ากับ องศา หรือเท่ากับ ของวงกลม ลิปดาและพิลิปดาเป็นคำไทย การเขียน "ฟิลิปดา" ไม่ถูกต้องและมาจากความเข้าใจที่ผิดว่าคำนี้มาจากภาษาต่างประเทศ ตารางแสดงสัดส่วนและความสัมพันธ์ระหว่าง องศา ลิปดา พิลิปดา และมิลลิพิลิปดา แสดงได้ดังนี้.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและลิปดา · ดูเพิ่มเติม »

ลิเทียม

ลิเทียม (Lithium) เป็นธาตุมีสัญลักษณ์ Li และเลขอะตอม 3 ในตารางธาตุ ตั้งอยู่ในกลุ่ม 1 ในกลุ่มโลหะอัลคาไล ลิเทียมบริสุทธิ์ เป็นโลหะที่อ่อนนุ่ม และมีสีขาวเงิน ซึ่งถูกออกซิไดส์เร็วในอากาศและน้ำ ลิเทียมเป็นธาตุของแข็ง ที่เบาที่สุด และใช้มากในโลหะผสมสำหรับการนำความร้อน ในถ่านไฟฉายและเป็นส่วนผสมในยาบางชนิดที่เรียกว่า "mood stabilizer".

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและลิเทียม · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เฮอร์เชล

วิลเลียม เฮอร์เชล วิลเลียม เฮอร์เชล (William Herschel) (พ.ศ. 2281 - 2365) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเชื้อสายเยอรมัน ผู้ค้นพบดาวยูเรนัสโดยบังเอิญใน พ.ศ. 2324 ขณะเขากำลังส่องกล้องโทรทรรศน์ศึกษาดาวฤกษ์ ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าดวงแรกที่ถูกค้นพบ เฮอร์เชลเป็นนักดนตรีอาชีพที่อพยพจากเมืองฮันโนเวอร์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนี) มาตั้งหลักแหล่งอยู่ในอังกฤษ งานอดิเรกของเขาคือ การสร้างกล้องโทรทรรศน์ และมีความชำนาญมากในการศึกษาสังเกตดวงดาว การค้นพบดาวยูเรนัสทำให้เฮอร์เชลมีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลก น้องสาวของเขา คือ แคโรลีน เฮอร์เชล (พ.ศ. 2293 - 2391) ทำงานร่วมกับเขา และได้ค้นพบดาวหางหลายดวง.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและวิลเลียม เฮอร์เชล · ดูเพิ่มเติม »

สเปกตรัมมองเห็นได้

การกระจายของแสงเมื่อเดินทางผ่านปริซึม สเปกตรัมมองเห็นได้ (visible spectrum) เป็นช่วงหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถมองเห็นได้ด้วยดวงตาของมนุษย์ การแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นนี้บางครั้งก็เรียกว่า "แสงที่ตามองเห็น" หรือ "แสง" เฉยๆ ความยาวคลื่นช่วงนี้อยู่ระหว่าง 380-750 นาโนเมตร สเปคตรัมของแสงไม่ได้มีสีทุกสีที่ตาและสมองของมนุษย์สามารถรับรู้ บางสีที่หายไปเช่นชมพู หรือม่วงอมแดง แต่สามารถเกิดขึ้นได้จากการผสมช่วงคลื่นที่มีความยาวคลื่นหลายแ.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและสเปกตรัมมองเห็นได้ · ดูเพิ่มเติม »

หลุมดำ

มุมมองจำลองของหลุมดำด้านหน้าของทางช้างเผือก โดยมีมวลเทียบเท่าดวงอาทิตย์ 10 ดวงจากระยะทาง 600 กิโลเมตร หลุมดำ (black hole) หมายถึงเทหวัตถุในเอกภพที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมาก ไม่มีอะไรออกจากบริเวณนี้ได้แม้แต่แสง ยกเว้นหลุมดำด้วยกัน เราจึงมองไม่เห็นใจกลางของหลุมดำ หลุมดำจะมีพื้นที่หนึ่งที่เป็นขอบเขตของตัวเองเรียกว่าขอบฟ้าเหตุการณ์ ที่ตำแหน่งรัศมีชวาร์สชิลด์ ถ้าหากวัตถุหลุดเข้าไปในขอบฟ้าเหตุการณ์ วัตถุจะต้องเร่งความเร็วให้มากกว่าความเร็วแสงจึงจะหลุดออกจากขอบฟ้าเหตุการณ์ได้ แต่เป็นไปไม่ได้ที่วัตถุใดจะมีความเร็วมากกว่าแสง วัตถุนั้นจึงไม่สามารถออกมาได้อีกต่อไป เมื่อดาวฤกษ์ที่มีมวลมหึมาแตกดับลง มันอาจจะทิ้งสิ่งที่ดำมืดที่สุด ทว่ามีอำนาจทำลายล้างสูงสุดไว้เบื้องหลัง นักดาราศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่า "หลุมดำ" เราไม่สามารถมองเห็นหลุมดำด้วยกล้องโทรทรรศน์ใดๆ เนื่องจากหลุมดำไม่เปล่งแสงหรือรังสีใดเลย แต่สามารถตรวจพบได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ และคลื่นโน้มถ่วงของหลุมดำ (ในเชิงทฤษฎี โครงการแอลไอจีโอ) และจนถึงปัจจุบันได้ค้นพบหลุมดำในจักรวาลแล้วอย่างน้อย 6 แห่ง หลุมดำเป็นซากที่สิ้นสลายของดาวฤกษ์ที่ถึงอายุขัยแล้ว สสารที่เคยประกอบกันเป็นดาวนั้นได้ถูกอัดตัวด้วยแรงดึงดูดของตนเองจนเหลือเป็นเพียงมวลหนาแน่นที่มีขนาดเล็กยิ่งกว่านิวเคลียสของอะตอมเดียว ซึ่งเรียกว่า ภาวะเอกฐาน หลุมดำแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ หลุมดำมวลยวดยิ่ง เป็นหลุมดำในใจกลางของดาราจักร, หลุมดำขนาดกลาง, หลุมดำจากดาวฤกษ์ ซึ่งเกิดจากการแตกดับของดาวฤกษ์, และ หลุมดำจิ๋วหรือหลุมดำเชิงควอนตัม ซึ่งเกิดขึ้นในยุคเริ่มแรกของเอกภพ แม้ว่าจะไม่สามารถมองเห็นภายในหลุมดำได้ แต่ตัวมันก็แสดงการมีอยู่ผ่านการมีผลกระทบกับวัตถุที่อยู่ในวงโคจรภายนอกขอบฟ้าเหตุการณ์ ตัวอย่างเช่น หลุมดำอาจจะถูกสังเกตเห็นได้โดยการติดตามกลุ่มดาวที่โคจรอยู่ภายในศูนย์กลางหลุมดำ หรืออาจมีการสังเกตก๊าซ (จากดาวข้างเคียง) ที่ถูกดึงดูดเข้าสู่หลุมดำ ก๊าซจะม้วนตัวเข้าสู่ภายใน และจะร้อนขึ้นถึงอุณหภูมิสูง ๆ และปลดปล่อยรังสีขนาดใหญ่ที่สามารถตรวจจับได้จากกล้องโทรทรรศน์ที่โคจรอยู่รอบโลก การสำรวจให้ผลในทางวิทยาศาสตร์เห็นพ้องต้องกันว่าหลุมดำนั้นมีอยู่จริงในเอกภพ แนวคิดของวัตถุที่มีแรงดึงดูดมากพอที่จะกันไม่ให้แสงเดินทางออกไปนั้นถูกเสนอโดยนักดาราศาสตร์มือสมัครเล่นชาวอังกฤษ จอห์น มิเชล ในปี 1783 และต่อมาในปี 1795 นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ปีแยร์-ซีมง ลาปลาส ก็ได้ข้อสรุปเดียวกัน ตามความเข้าใจล่าสุด หลุมดำถูกอธิบายโดยทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ซึ่งทำนายว่าเมื่อมีมวลขนาดใหญ่มากในพื้นที่ขนาดเล็ก เส้นทางในพื้นที่ว่างนั้นจะถูกทำให้บิดเบี้ยวไปจนถึงศูนย์กลางของปริมาตร เพื่อไม่ให้วัตถุหรือรังสีใดๆ สามารถออกมาได้ ขณะที่ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไปอธิบายว่าหลุมดำเป็นพื้นที่ว่างที่มีความเป็นภาวะเอกฐานที่จุดศูนย์กลางและที่ขอบฟ้าเหตุการณ์บริเวณขอบ คำอธิบายนี่เปลี่ยนไปเมื่อค้นพบกลศาสตร์ควอนตัม การค้นคว้าในหัวข้อนี้แสดงให้เห็นว่านอกจากหลุมดำจะดึงวัตถุไว้ตลอดกาล แล้วยังมีการค่อย ๆ ปลดปล่อยพลังงานภายใน เรียกว่า รังสีฮอว์คิง และอาจสิ้นสุดลงในที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีคำอธิบายเกี่ยวกับหลุมดำที่ถูกต้องตามทฤษฎีควอนตัม.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและหลุมดำ · ดูเพิ่มเติม »

หลุมดำมวลยวดยิ่ง

''ภาพบน'': ภาพร่างแสดงเหตุการณ์ที่หลุมดำมวลยวดยิ่งฉีกดาวฤกษ์ออกป็นเสี่ยง ''ภาพล่าง'': การคาดคะเนเหตุการณ์ที่หลุมดำมวลยวดยิ่งดูดกลืนดาวฤกษ์ในดาราจักร RXJ 1242-11 ''ด้านซ้าย'' คือภาพถ่ายรังสีเอกซ์ ''ด้านขวา'' คือภาพถ่ายในแสงที่ตามองเห็น หลุมดำมวลยวดยิ่ง (supermassive black hole: SMBH) คือหลุมดำที่มีมวลมากในระดับ ถึง เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ดาราจักรส่วนใหญ่รวมทั้งทางช้างเผือก (แต่ไม่ใช่ทุกดาราจักร) มักมีหลุมดำมวลยวดยิ่งอยู่ที่บริเวณศูนย์กลาง หลุมดำมวลยวดยิ่งมีคุณลักษณะสำคัญที่สามารถแบ่งแยกจากหลุมดำธรรมดาได้คือ.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและหลุมดำมวลยวดยิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

หลุมดำของดาวฤกษ์

หลุมดำของดาวฤกษ์ (stellar black hole) เป็นหลุมดำชนิดหนึ่งที่เกิดจากการยุบตัวจากแรงโน้มถ่วงของดาวฤกษ์มวลมาก (ขนาดตั้งแต่ 20 เท่ามวลดาวอาทิตย์ หรือมากกว่า ทั้งนี้ขนาดที่แน่นอนยังคงต้องมีการศึกษาต่อไปเพราะเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายอย่าง) ในช่วงเวลาสุดท้ายของดาวฤกษ์เมื่อสิ้นอายุขัย กระบวนการนี้สามารถสังเกตได้จากการระเบิดของซูเปอร์โนวา หรือในแสงวาบรังสีแกมมา หลุมดำของดาวฤกษ์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบ (นับถึงปี ค.ศ. 2007) มีขนาด 15.65±1.45 มวลดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่า แหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์ IC 10 X-1 เป็นหลุมดำของดาวฤกษ์ที่คาดว่ามีขนาดมวล 24-33 เท่ามวลดวงอาทิต.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและหลุมดำของดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยดาราศาสตร์

หน่วยดาราศาสตร์ (Astronomical Unit; ย่อในภาษาอังกฤษว่า AU หรือ au หรือ a.u. หรือ ua) คือ หน่วยของระยะทาง มีค่า (โดยประมาณ) เท่ากับระยะห่างเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ค่าที่ยอมรับในปัจจุบัน เท่ากับ 149,597,870,691±30 เมตร (ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 93 ล้านไมล์) สัญลักษณ์ "ua" ได้รับการเสนอจากสำนัก Bureau International des Poids et Mesures แห่งฝรั่งเศส แต่ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษจะใช้อักษรตัวใหญ่มากกว่า ส่วนสหภาพดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union) เสนอให้ใช้ "au" ส่วนมาตรฐานนานาชาติ ISO 31-1 นั้นใช้ "AU".

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและหน่วยดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮาร์โลว์ แชปลีย์

ร์โลว์ แชปลีย์ (Harlow Shapley; 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1885 - 20 ตุลาคม ค.ศ. 1972) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ผู้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลากับการส่องสว่างของดาวแปรแสงเซฟิอิด (ซึ่งค้นพบโดย เฮนเรียตตา สวาน ลีอาวิตต์) สำหรับใช้คำนวณระยะห่างของกระจุกดาวทรงกลม แชปลีย์เป็นคนแรกที่ทำการคำนวณว่าดาราจักรทางช้างเผือกมีขนาดใหญ่กว่าที่เคยเชื่อกันมามาก และตำแหน่งของดวงอาทิตย์ของเราที่เชื่อกันว่าอยู่บริเวณศูนย์กลางของดาราจักร เป็นตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง แชปลีย์ได้เข้าร่วมในการโต้วาทีครั้งใหญ่กับ เฮเบอร์ ดี. เคอร์ติส ที่เรียกว่า "The Great Debate" ว่าด้วยลักษณะของเนบิวลากับดาราจักร และขนาดของเอกภพ การโต้วาทีจัดขึ้นในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1920 โดยแชปลีย์คัดค้านแนวคิดที่ว่าดวงอาทิตย์อยู่ใกล้กับศูนย์กลางของดาราจักร ทั้งยังเสนอแนวคิดว่า กระจุกดาวทรงกลมกับเนบิวลาแบบกังหันที่แท้อยู่ในดาราจักรทางช้างเผือกนี้เอง ประเด็นหลังนี้เขาคิดผิด แต่ความเห็นของเขาในประเด็นแรกนั้นถูกต้อง ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 แชปลีย์ได้ช่วยเหลือทางรัฐบาลหาเงินทุนก่อตั้งองค์กรวิชาการทางวิทยาศาสตร์หลายแห่ง รวมถึง มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Science Foundation: NSF) และยังมีส่วนสำคัญในการเพิ่มบทบาทของ "S" (Science) ให้แก่องค์การยูเนสโก (UNESCO: United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization).

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและฮาร์โลว์ แชปลีย์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮีเลียม

ีเลียม (Helium) เป็นธาตุเคมีที่มีสัญลักษณ์ว่า He และมีเลขอะตอมเท่ากับ 2 ฮีเลียมเป็นแก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่เป็นพิษ เฉื่อย มีอะตอมเดี่ยวซึ่งถูกจัดให้อยู่ในหมู่แก๊สมีตระกูลบนตารางธาตุ จุดเดือดและจุดหลอมเหลวของฮีเลียม มีค่าต่ำสุดกว่าบรรดาธาตุทั้งหมดในตารางธาตุ และมันจะปรากฏในอยู่รูปของแก๊สเท่านั้น ยกเว้นในสภาวะที่เย็นยิ่งยว.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและฮีเลียม · ดูเพิ่มเติม »

จักรวาลวิทยา

ักรวาลวิทยา (cosmology) เป็นการศึกษาเอกภพโดยรวม ซึ่งนับว่าเป็นการศึกษาถึงสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นพื้นฐานที่สุดในเวลาเดียวกัน จักรวาลวิทยามุ่งเน้นที่จะศึกษาถึงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งทั้งหลายในเอกภพ พร้อมกับพยายามที่จะอธิบายความเป็นมาของเอกภพในอดีต และทำนายความเป็นไปของเอกภพในอนาคต เอกภพเป็นอย่างไร เอกภพมีขอบเขตจำกัดหรือไม่ เอกภพเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะเหตุใดเอกภพจึงมีรูปร่างลักษณะอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และอนาคตข้างหน้าเอกภพจะเป็นอย่างไร ปัญหาเหล่านี้คือสิ่งที่นักจักรวาลวิทยาทั้งหลายสนใจ จักรวาลวิทยาในความหมายที่กว้างที่สุด จะหมายถึงการทำความเข้าใจเอกภพโดยอาศัยความรู้จากหลายสาขาวิชา ไม่ว่าจะเป็น วิทยาศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา หรือศิลปะ แต่โดยทั่วไปในปัจจุบัน จักรวาลวิทยาจะหมายถึงการศึกษาเอกภพโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์ ซึ่งถือว่าเป็นสองเครื่องมือสำคัญในการใช้ศึกษาเอกภพ เป็นที่ยอมรับกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า ยิ่งเรามีความรู้ทางด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์มากขึ้นเท่าใด เราก็จะยิ่งมีความเข้าใจในเอกภพมากขึ้นเท่านั้น มโนทัศน์เกี่ยวกับเอกภพของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าเอกภพประกอบด้วยโลก คือ เทพเจ้าชื่อเก็บ ซึ่งถูกโอบล้อมด้วยท้องฟ้าคือ นัท ต่อมาเมื่อชาวกรีกโบราณศึกษาท้องฟ้าและการโคจรของดวงดาวมากขึ้น เขาก็สามารถสร้างแบบจำลองเอกภพที่สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษานั้น โดยให้โลกเป็นจุดศูนย์กลางของเอกภพ และมีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ รวมทั้งดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ทั้งหลาย โคจรอยู่รายล้อม แบบจำลองโลกเป็นศูนย์กลางนี้เป็นที่ยอมรับกันมานับพันปี ก่อนที่โคเปอร์นิคัสจะเสนอแบบจำลองใหม่ที่ให้ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ด้วยเหตุผลว่าแบบจำลองนี้ใช้การคำนวณที่ซับซ้อนน้อยกว่า (หลักการของออคแคม) จะเห็นว่าความรู้ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นนั้นทำให้มนุษย์มองโลกและเอกภพต่างออกไป การศึกษาเอกภพก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพราะในศตวรรษนี้มีทฤษฎีใหม่ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของเอกภพมากขึ้น เช่น ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป และควอนตัมฟิสิกส์ รวมทั้งมีการค้นพบหลายสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อวงการจักรวาลวิทยา เช่น การค้นพบว่าเอกภพกำลังขยายตัว หรือการค้นพบการแผ่รังสีคอสมิกไมโครเวฟเบื้องหลัง เป็นต้น ทั้งทฤษฎีและการค้นพบใหม่ ๆ เหล่านี้ทำให้ภาพของเอกภพในใจมนุษย์นั้นกระจ่างแจ่มชัดและใกล้เคียงความจริงยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามก็ต้องยอมรับว่าสิ่งที่มนุษย์รู้เกี่ยวกับเอกภพนั้นยังน้อยมาก และยังคงมีอีกหลายปัญหาในทางจักรวาลวิทยาที่ยังคงเป็นปริศนาอยู่ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและจักรวาลวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ธารดาวฤกษ์

รดาวฤกษ์บริเวณทางช้างเผือกที่ค้นพบในปี พ.ศ. 2550 ธารดาวฤกษ์ เป็นกลุ่มการรวมตัวของดาวฤกษ์แบบหนึ่งที่โคจรอยู่ในดาราจักร ครั้งหนึ่งดาวเหล่านี้เคยเป็นกระจุกดาวทรงกลมหรือดาราจักรแคระ ต่อมาถูกปัจจัยบางอย่างแยกออกจากกัน แต่ดาวฤกษ์ยังคงมีการเคลื่อนตัวไปในอวกาศด้วยกันเป็นลักษณะยาวคล้ายสายธารเนื่องจากยังมีผลจากแรงน้ำขึ้นน้ำลงอยู.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและธารดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทางช้างเผือก

ทางช้างเผือก คือดาราจักรที่มีระบบสุริยะและโลกของเราอยู่ เมื่อมองบนท้องฟ้าจะปรากฏเป็นแถบขมุกขมัวคล้ายเมฆของแสงสว่างสีขาว ซึ่งเกิดจากดาวฤกษ์จำนวนมากภายในดาราจักรที่มีรูปร่างเป็นแผ่นจาน ส่วนที่สว่างที่สุดของทางช้างเผือกอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู ซึ่งเป็นทิศทางไปสู่ใจกลางดาราจักร แต่เดิมนั้น นักดาราศาสตร์คิดว่าดาราจักรทางช้างเผือกมีลักษณะเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยธรรมดา แต่หลังจากผ่านการประเมินครั้งใหม่ในปี พ.ศ. 2548 พบว่าทางช้างเผือกน่าจะเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานเสียมากกว่า เมื่อเทียบกับเส้นศูนย์สูตรฟ้า ทางช้างเผือกขึ้นไปเหนือสุดที่กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย และลงไปใต้สุดบริเวณกลุ่มดาวกางเขนใต้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระนาบศูนย์สูตรของโลก ทำมุมเอียงกับระนาบดาราจักรอยู่มาก คนในเมืองใหญ่ไม่มีโอกาสมองเห็นทางช้างเผือกเนื่องจากมลภาวะทางแสงและฝุ่นควันในตัวเมือง แถบชานเมืองและในที่ห่างไกลสามารถมองเห็นทางช้างเผือกได้ แต่บางคนอาจนึกว่าเป็นก้อนเมฆในบรรยากาศ มุมมองของทางช้างเผือกไปทางกลุ่มดาวแมงป่อง (รวมถึงศูกย์กลางดาราจักร) เห็นได้จากการปนเปื้อในนเขตที่ไม่ใช่แสง (ทะเลทรายหินสีดำ, รัฐเนวาด้า, สหรัฐอเมริกา) เมื่อสังเกตเห็นท้องฟ้ายามค่ำคืนคำว่า "ทางช้างเผือก" ถูกจำกัดกลุ่มหมอกของแสงสีขาวบาง 30 องศา ลอยกว้างข้ามท้องฟ้า (แม้ว่าทั้งหมดของดาวที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของดาราจักรทางช้างเผือก) แสงในแถบนี้มาจากดาวที่สลายและวัสดุอื่น ๆ ที่อยู่ภายในระนาบทางช้างเผือก บริเวณมืดภายในวง เช่น ระแหงดี และถุงถ่าน ที่สอดคล้องกับบริเวณที่มีแสงจากดาวไกลถูกบล็อกโดย ฝุ่นละอองระหว่างดวงดาว ดาราจักรทางช้างเผือก มีความสว่างพื้นผิวที่ค่อนข้างต่ำ การมองเห็นของมันสามารถลดน้อยลงโดยแสงพื้นหลังเช่น มลพิษทางแสงหรือแสงเล็ดลอดจากดวงจันทร์ เราสามารถมองเห็นได้อย่างง่ายดายเมื่อมีขนาด จำกัดคือ 5.1 หรือมากกว่า ในขณะที่แสดงการจัดการที่ดีของรายละเอียดที่ 6.1 ซึ่งทำให้ทางช้างเผือกมองเห็นได้ยากจากใด ๆ สถานที่ในเมืองหรือชานเมืองสดใสสว่าง แต่ที่โดดเด่นมากเมื่อมองจากพื้นที่ชนบทเมื่อดวงจันทร์อยู่ใต้เส้นขอบฟ้า ดาราจักรทางช้างเผือกผ่านส่วนในประมาณ 30 กลุ่มดาว ศูนย์กลางของดาราจักรที่อยู่ในทิศทางของกลุ่มดาวคนยิงธนู มันอยู่ที่นี่ว่าทางช้างเผือกเป็นที่สว่างที่สุด จากราศีธนู กลุ่มหมอกแสงสีขาวที่ปรากฏขึ้นจะผ่านไปทางทิศตะวันตกในทางช้างเผือกไปยังไม่ใช้ศูนย์กลางของทางช้างเผือกในกลุ่มดาวสารถี กลุ่มดาวแล้วยังไปทางทิศตะวันตกส่วนที่เหลือของทางรอบท้องฟ้ากลับไปกลุ่มดาวคนยิงธนู ข้อเท็จจริงที่ว่ากลุ่มแบ่งออกท้องฟ้ายามค่ำคืนเป็นสองซีกโลกเท่ากับแสดงให้เห็นว่าระบบสุริยะตั้งอยู่ใกล้กับระนาบทางช้างเผือก ระนาบทางช้างเผือก มีแนวโน้มเอียงประมาณ 60 องศาไปสุริยุปราคา (ระนาบของวงโคจรของโลก) เมื่อเทียบกับเส้นศูนย์สูตร ที่ผ่านเท่าทิศเหนือของกลุ่มดาวค้างคาว และเท่าทิศใต้ของกลุ่มดาวกางเขนใต้ แสดงให้เห็นความโน้มเอียงสูงของระนาบเส้นศูนย์สูตรของโลกและระนาบสัมพันธ์สุริยุปราคากับระนาบทางช้างเผือก ขั้วโลกเหนือทางช้างเผือกที่ตั้งอยู่ที่ขวาขึ้น 12h 49m ลดลง +27.4° (B1950) อยู่ใกล้กับ Beta Comae Berenices และขั้วโลกทางช้างเผือกทิศใต้ที่อยู่ใกล้กับดาวอัลฟา ช่างแกะสลัก เนื่องจากการแนวโน้มเอียงสูง ขึ้นอยู่กับเวลากลางคืนและปี ส่วนโค้งของทางช้างเผือกจะปรากฏค่อนข้างต่ำหรือค่อนข้างสูงในท้องฟ้า สำหรับผู้สังเกตการณ์จากประมาณ 65 องศาเหนือถึง 65 องศาใต้บนพื้นผิวโลกทางช้างเผือกผ่านโดยตรงข้างบนวันละสองครั้ง ตาปลา โมเสกในดาราจักรทางช้างเผือก โค้งที่เอียงสูงทั่วท้องฟ้ายามค่ำคืนที่ถ่ายจากตำแหน่งที่ตั้งท้องฟ้ามืดใน ชิลี.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและทางช้างเผือก · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดัชนีสี

ในวิชาดาราศาสตร์ ดัชนีสี (color index) คือนิพจน์ตัวเลขอย่างง่ายที่อธิบายถึงสีของวัตถุ ซึ่งสำหรับกรณีของดาวฤกษ์แล้วจะมีความหมายถึงอุณหภูมิของมัน ในการวัดค่าดัชนี จะต้องสังเกตค่าระดับความสว่างของวัตถุอย่างต่อเนื่องผ่านตัวกรองสองชุดที่แตกต่างกัน เช่น U กับ B หรือ B กับ V โดยที่ U เป็นตัวกรองที่ไวต่อรังสีอัลตราไวโอเลต B ไวต่อแสงสีน้ำเงิน และ V ไวต่อแสงที่ตามองเห็น (สีเขียว-เหลือง) ระบบการอ่านค่าผ่านตัวกรองเหล่านี้เรียกว่า Photometric system ค่าความแตกต่างของระดับความสว่างที่วัดผ่านตัวกรองเหล่านี้ จะเรียกว่า ดัชนีสี U-B หรือ ดัชนีสี B-V ตามลำดับ ค่าดัชนีที่น้อยกว่าจะหมายถึงวัตถุนั้นเป็นสีน้ำเงินมากกว่า (คือร้อนกว่า) ตรงกันข้าม ถ้าดัชนีสีมีค่ามาก หมายถึงวัตถุเป็นสีแดงมาก (คือเย็นกว่า) ค่าดัชนีนี้เป็นสเกลความสว่างแบบลอกการิทึม วัตถุที่สว่างมากจะมีค่าแมกนิจูดน้อยกว่าวัตถุที่ซีดทึม (ยิ่งติดลบมากยิ่งสว่างมาก) ตัวอย่างเช่น ดวงอาทิตย์สีเหลืองของเรามีค่าดัชนี B-V เท่ากับ 0.656±0.005 ขณะที่ดาวไรเจลสีน้ำเงินมีค่าดัชนี B-V เท่ากับ -0.03 (เพราะระดับความสว่าง B เท่ากับ 0.09 และระดับความสว่าง V เท่ากับ 0.12 ดังนั้น B-V.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและดัชนีสี · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักร

ราจักร '''NGC 4414''' ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดก้นหอย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 56,000 ปีแสง และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 60 ล้านปีแสง ดาราจักร หรือ กาแล็กซี (galaxy) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์นับล้านดวง กับสสารระหว่างดาวอันประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่น และสสารมืด รวมอยู่ด้วยกันด้วยแรงโน้มถ่วง คำนี้มีที่มาจากภาษากรีกว่า galaxias หมายถึง "น้ำนม" ซึ่งสื่อโดยตรงถึงดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way) ดาราจักรโดยทั่วไปมีขนาดน้อยใหญ่ต่างกัน นับแต่ดาราจักรแคระที่มีดาวฤกษ์ประมาณสิบล้านดวง ไปจนถึงดาราจักรขนาดยักษ์ที่มีดาวฤกษ์นับถึงล้านล้านดวง.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักรชนิดก้นหอย

ราจักรชนิดก้นหอย M 101 หรือ NGC 5457 ดาราจักรชนิดก้นหอย (Spiral Galaxy) เป็นดาราจักรแบบหนึ่งในสามประเภทหลักของดาราจักรที่จัดแบ่งโดย เอ็ดวิน ฮับเบิล ในปี ค.ศ. 1936 ตามรูปร่างที่มองเห็น ในงานของเขาที่ชื่อว่า "The Realm of the Nebulae" (อาณาจักรของเนบิวลา) จึงถูกจัดประเภทอยู่ในลำดับของฮับเบิลด้วย ดาราจักรชนิดก้นหอยประกอบด้วยแผ่นจานหมุนแบนๆ ของดาวฤกษ์ แก๊ส และฝุ่น มีจุดศูนย์กลางเป็นกลุ่มดาวฤกษ์หนาแน่นเรียกว่าดุมดาราจักร ล้อมรอบด้วยกลุ่มกลดแบบจางๆ จำนวนมาก ส่วนใหญ่รวมตัวกันเป็นกระจุกดาวทรงกลม ดาราจักรชนิดก้นหอยได้ชื่อนี้จากรูปร่างภายนอกที่มองเห็น ซึ่งมักมีแขนสองแขนเป็นรูปก้นหอยยืดต่อออกมาจากดุมที่ใจกลางไปเชื่อมกับแผ่นจาน แขนก้นหอยเป็นแหล่งซึ่งดาวฤกษ์กำลังก่อตัวใหม่ มักสว่างกว่าบริเวณที่เป็นแผ่นจานโดยรอบ เพราะมีดาวฤกษ์ที่อายุน้อยและร้อนจัด ประมาณครึ่งหนึ่งของดาราจักรชนิดก้นหอยทั้งหมดพบว่าอยู่ในรูปแบบของโครงสร้างก้นหอยมีคาน ยืดต่อออกมาจากดุม เชื่อว่าดาราจักรทางช้างเผือกของเราก็จัดเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยมีคาน แม้ว่าส่วนที่เป็นโครงสร้างคานจะสังเกตเห็นได้ไม่ชัดเจนนักจากตำแหน่งของโลกเราที่อยู่บนจานหมุน สมมุติฐานที่น่าเชื่อถือที่สุดได้มาจากการสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ ในการสำรวจบริเวณใจกลางดาราจักร ดาราจักรชนิดก้นหอยพบอยู่มากเป็นจำนวนถึง 70% ของดาราจักรทั้งหมดในเอกภพของเรา พบได้มากที่สุดในเขตที่มีความหนาแน่นต่ำ และไม่ค่อยพบที่ใจกลางของกระจุกดาราจักร.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและดาราจักรชนิดก้นหอย · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักรรี

ราจักรรีขนาดยักษ์ ESO 325-G004 ดาราจักรรี (Elliptical Galaxy) เป็นดาราจักรแบบหนึ่งในสามประเภทหลักของดาราจักรที่จัดแบ่งโดย เอ็ดวิน ฮับเบิล ในปี ค.ศ. 1936 ตามรูปร่างที่มองเห็น ในงานของเขาที่ชื่อว่า "The Realm of the Nebulae" (อาณาจักรของเนบิวลา) จึงถูกจัดประเภทอยู่ในลำดับของฮับเบิลด้วย ดาราจักรรีอาจมีรูปร่างตั้งแต่เกือบเป็นทรงกลม ไปจนถึงแบบเรียวรีมากๆ และอาจมีดาวฤกษ์ตั้งแต่ไม่กี่ร้อยล้านดวง ไปจนถึงนับล้านล้านดวง ในระดับมหภาค ดาวฤกษ์หลายดวงจะจับกลุ่มเข้าด้วยกันเป็นกระจุกดาวทรงกลม ดาราจักรรีส่วนใหญ่มักประกอบไปด้วยดาวฤกษ์ที่มีอายุมากและมีมวลน้อย มีสสารระหว่างดาวอยู่เบาบาง อัตราการเกิดดาวฤกษ์ใหม่ก็ต่ำมาก เชื่อว่าดาราจักรรีมีอยู่ประมาณ 10-15% ของดาราจักรทั้งหมดในเอกภพของเรา และมักพบอยู่ใกล้ใจกลางของกระจุกดาราจักร.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและดาราจักรรี · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักรแอนดรอมิดา

ราจักรแอนดรอมิดา ดาราจักรแอนดรอมิดา (Andromeda Galaxy; หรือที่รู้จักในชื่ออื่นคือ เมสสิเยร์ 31 เอ็ม 31 หรือ เอ็นจีซี 224 บางครั้งในตำราเก่า ๆ จะเรียกว่า เนบิวลาแอนดรอมิดาใหญ่) เป็นดาราจักรชนิดก้นหอย ที่อยู่ห่างจากเราประมาณ 2.5 ล้านปีแสง อยู่ในกลุ่มดาวแอนดรอมิดา ถือเป็นดาราจักรแบบกังหันที่อยู่ใกล้กับดาราจักรทางช้างเผือกของเรามากที่สุด สามารถมองเห็นเป็นรอยจาง ๆ บนท้องฟ้าคืนที่ไร้จันทร์ได้แม้มองด้วยตาเปล่า ดาราจักรแอนดรอมิดาเป็นดาราจักรที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มดาราจักรท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยดาราจักรแอนดรอมิดา ดาราจักรทางช้างเผือก ดาราจักรสามเหลี่ยม และดาราจักรขนาดเล็กอื่น ๆ อีกกว่า 30 แห่ง แม้แอนดรอมิดาจะเป็นดาราจักรที่ใหญ่ที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ดาราจักรที่มีมวลมากที่สุด จากการค้นพบเมื่อไม่นานมานี้บ่งชี้ว่า ดาราจักรทางช้างเผือกมีสสารมืดมากกว่าและน่าจะเป็นดาราจักรที่มีมวลมากที่สุดในกลุ่ม ถึงกระนั้น จากการสังเกตการณ์โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์เมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่า ดาราจักร M31 มีดาวฤกษ์อยู่ราว 1 ล้านล้านดวง ซึ่งมีจำนวนมากกว่าดาวฤกษ์ในดาราจักรของเรา ผลการคำนวณเมื่อปี 2006 ประมาณการว่า มวลของดาราจักรทางช้างเผือกน่าจะมีประมาณ 80% ของดาราจักรแอนดรอมิดา คือประมาณ 7.1 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ดาราจักรแอนดรอมิดามีระดับความสว่างที่ 4.4 ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัตถุเมสสิเยร์ที่สว่างที่สุดชิ้นหนึ่ง และสามารถมองเห็นได้โดยง่ายด้วยตาเปล่า แม้จะอยู่ในพื้นที่ที่มีมลภาวะในอากาศอยู่บ้าง หากไม่ใช้กล้องโทรทรรศน์ช่วย อาจมองเห็นดาราจักรเป็นดวงเล็ก ๆ เพราะสามารถมองเห็นได้เพียงส่วนสว่างที่สุดซึ่งเป็นศูนย์กลาง แต่เส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุมทั้งหมดของดาราจักรกินอาณาบริเวณกว้างถึง 7 เท่าของดวงจันทร์เต็มดวงทีเดียว ทั้งนี้ ดาราจักรแอนดรอมิดาและดาราจักรทางช้างเผือกคาดว่าจะปะทะและรวมกันเป็นดาราจักรรี (elliptical galaxy) ขนาดใหญ่ ในอีก 3.75 พันล้านปีข้างหน้.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและดาราจักรแอนดรอมิดา · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักรแคระชนิดรี

ราจักรแคระชนิดรี (Dwarf elliptical galaxy; หรือเรียกย่อว่า dE) เป็นดาราจักรชนิดรีที่มีขนาดเล็กกว่าดาราจักรอื่นๆ มาก จัดเป็นประเภท dE ถือเป็นชนิดของกลุ่มและกระจุกดาราจักรที่พบได้ทั่วไป และมักอยู่กับดาราจักรอื่นใกล้เคียงในลักษณะดาราจักรคู่ หนึ่งในดาราจักรแคระชนิดรีที่อยู่ใกล้กับดาราจักรของเรามากที่สุดคือ เมสสิเยร์ 110 (หรือรู้จักอีกชื่อว่า NGC205) เป็นดาราจักรบริวารของดาราจักรแอนดรอเมดา ค้นพบโดยนักล่าดาวหางชาวฝรั่งเศสชื่อ ชาลส์ เมสสิเยร์ ในปี..

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและดาราจักรแคระชนิดรี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวยักษ์

ESO'' ดาวยักษ์ (Giant star) คือดาวฤกษ์ชนิดหนึ่งที่มีรัศมีและความส่องสว่างมากกว่าดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักที่มีอุณหภูมิพื้นผิวเท่ากันGiant star, entry in Astronomy Encyclopedia, ed.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและดาวยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวนิวตรอน

วนิวตรอน (Neutron Star) เป็นซากที่เหลือจากยุบตัวของการระเบิดแบบซูเปอร์โนวาชนิด II,Ib หรือ Ic และจะเกิดเฉพาะดาวฤกษ์มวลมากมีส่วนประกอบเพียงนิวตรอนที่อะตอมไร้กระแสไฟฟ้า (นิวตรอนมีมวลสารใกล้เคียงโปรตอน) และดาวประเภทนี้สามารถคงตัวอยู่ได้ด้วยหลักการกีดกันของเพาลีเกี่ยวกับแรงผลักระหว่างนิวตรอน ดาวนิวตรอนมีมวลประมาณ 1.35 ถึง 2.1 เท่ามวลดวงอาทิตย์ และมีรัศมี 20 ถึง 10 กิโลเมตรตามลำดับ (เมื่อดาวนิวตรอนมีมวลเพิ่มขึ้น รัศมีของดาวจะลดลง) ดาวนิวตรอนจึงมีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์ 30,000 ถึง 70,000 เท่า ดังนั้นดาวนิวตรอนจึงมีความหนาแน่นที่ 8*1013 ถึง 2*1015 กรัมต่อลูกบากศ์เซนติเมตร ซึ่งเป็นช่วงของความหนาแน่นของนิวเคลียสอะตอม ต้องใช้ความเร็วหลุดพ้นประมาณ 150,000 กิโลเมตรต่อวินาที หรือประมาณครึ่งหนึ่งของความเร็วแสง โดยทั่วไปแล้ว ดาวที่มีมวลน้อยกว่า 1.44 เท่ามวลดวงอาทิตย์ จะเป็นดาวแคระขาวตามขีดจำกัดของจันทรสิกขาร์ ถ้าอยู่ระหว่าง 2 ถึง 3 เท่ามวลดวงอาทิตย์อาจจะเป็นดาวควาร์ก (แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่) ส่วนดาวที่มีมวลมากกว่านี้จะกลายเป็นหลุมดำไป เมื่อดาวฤกษ์มวลมากเกิดซูเปอร์โนวาและกลายเป็นดาวนิวตรอน ส่วนแก่นของมันจะได้รับโมเมนตัมเชิงมุมมา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงรัศมีจากใหญ่ไปเล็กนั้นจะทำให้ความเร็วในการหมุนรอบตัวเองขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็จะหมุนรอบตัวเองช้าลงทีละน้อย ความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของดาวนิวตรอนที่มีการบันทึกได้นั้นอยู่ระหว่าง 700 รอบต่อวินาทีไปจนถึง 30 วินาทีต่อรอบ ความเร่งที่พื้นผิวอยู่ที่ 2*1011 ถึง 3*1012 เท่ามากกว่าโลก ด้วยเหตุนี้ดาวนิวตรอนจึงสามารถส่งคลื่นวิทยุออกมาเป็นช่วงหรือพัลซาร์ และกระแสแม่เหล็กออกมาปริมาณมหาศาล การที่ดาวนิวตรอนสามารถส่งคลื่นวิทยุออกมาเป็นช่วงๆ นั้นทำได้อย่างไร ยังคงเป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบ แม้ว่าจะมีการวิจัยเรื่องนี้มานานกว่า 40 ปีแล้วก็ตามในดาราจักรของเรานั้นเราพบเพียงไม่กี่สิบดวงเท่านั้น เรายังพบอีกว่า ดาวนิวตรอนน่าจะเป็นต้นกำเนิดของ แสงวาบรังสีแกมมา ที่มีความสว่างมากกว่าซูเปอร์โนวา หลายเท.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและดาวนิวตรอน · ดูเพิ่มเติม »

ดาวแคระขาว

ซิริอุส เอ และ บี ที่ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ซิริอุส บี ที่เป็นดาวแคระขาวสามารถเห็นเป็นจุดจาง ๆ อยู่ทางด้านล่างซ้ายของดาว Sirius A ที่สว่างกว่ามาก ๆ ดาวแคระขาว (White dwarf) หรือบางครั้งเรียกว่า ดาวแคระเสื่อม (Degenerate dwarf) เป็นดาวขนาดเล็กที่ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยอิเล็กตรอนที่เป็นสสารเสื่อม เนื่องจากดาวแคระขาวที่มีมวลเท่ากับดวงอาทิตย์จะมีปริมาตรใกล้เคียงกับโลก ทำให้มันมีความหนาแน่นสูงและมีกำลังส่องสว่างน้อยมาจากความร้อนที่สะสมไว้, Jennifer Johnson, lecture notes, Astronomy 162, Ohio State University.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและดาวแคระขาว · ดูเพิ่มเติม »

ดาวแปรแสง

วแปรแสง (Variable Star) คือดาวฤกษ์ ที่มีความสว่างเปลี่ยนแปลงอย่างมาก แตกต่างจากดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ในท้องฟ้าที่มีสภาพส่องสว่างเกือบคงที่ ดวงอาทิตย์ของเรา เป็นตัวอย่างที่ดีของดาวฤกษ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของความสว่างน้อยมาก (โดยปกติเปลี่ยนแปลงประมาณ 0.1% ในวัฏจักรสุริยะ 11 ปี) ดาวแปรแสงมีทั้งที่เปลี่ยนแปลงความสว่างจาก ปัจจัยภายใน และ ปัจจัยภายนอก ตัวอย่างดาวฤกษ์ดวงที่เห็นได้ชัดเจนคือ "ดาวบีเทลจุส" ในกลุ่มดาวนายพราน.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและดาวแปรแสง · ดูเพิ่มเติม »

ดาวแปรแสงชนิดเซเฟอิด

วแปรแสงชนิดเซเฟอิด (Cepheid variable; ออกเสียงว่า เซ-เฟ-อิด หรือ เซ-ฟีด) เป็นดาวแปรแสงชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง เพราะมีความเกี่ยวพันอย่างแน่นแฟ้นระหว่างช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงกับค่าความส่องสว่างสัมบูรณ์ ดาวต้นแบบที่มีชื่อเดียวกันและมีลักษณะการแปรแสงเช่นนี้ด้วยคือดาวเดลต้าเซเฟอัส (Delta Cephei) ซึ่งจอห์น กู้ดริค เป็นผู้ค้นพบคุณลักษณะการแปรแสงเมื่อปี พ.ศ. 2327 ผลจากคุณลักษณะของดาว (ซึ่งเฮนเรียตตา สวอน เลียวิตต์ ค้นพบและระบุได้ใน พ.ศ. 2451 ต่อมาคิดค้นสมการคณิตศาสตร์ที่คำนวณได้อย่างแน่นอนในปี พ.ศ. 2455) ทำให้เราสามารถใช้ดาวแปรแสงเซเฟอิดเป็นดุจเทียนมาตรฐานที่ใช้ประเมินระยะห่างของดาราจักรหรือกระจุกดาวที่มันสังกัดอยู่ได้ ความสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลากับความส่องสว่างสามารถคำนวณโดยละเอียดได้โดยอาศัยดาวเซเฟอิดที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้การคำนวณระยะห่างด้วยวิธีนี้เป็นหนึ่งในวิธีที่แม่นยำที่สุดเท่าที่สามารถทำได้.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและดาวแปรแสงชนิดเซเฟอิด · ดูเพิ่มเติม »

ดาวแปลกพวกสีน้ำเงิน

กกล้องโทรทัศน์อวกาศฮับเบิล ของกระจุกดาวทรงกลม NGC 6397 ซึ่งมีดาวแปลกพวกสีน้ำเงินเป็นจำนวนมาก ณ ตอนนี้ ดาวแปลกพวกสีน้ำเงิน (Blue straggler) คือดาวฤกษ์ที่อยู่ในกระจุกดาวเปิดหรือกระจุกดาวทรงกลม ที่มีความร้อนสูงกว่าและเป็นสีน้ำเงินเข้มกว่าดาวฤกษ์อื่นๆ ในระดับความส่องสว่างเดียวกัน มันจึงแปลกแยกแตกต่างจากดาวฤกษ์อื่นๆ ที่อยู่บนไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ ดาวแปลกพวกสีน้ำเงินนี้ดูจะแหวกหลักเกณฑ์ต่างๆ ตามทฤษฎีวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ ที่เชื่อว่าดาวฤกษ์ในกระจุกดาวเดียวกันที่เกิดในเวลาใกล้เคียงกันควรจะมีคุณลักษณะต่างๆ คล้ายคลึงกันเมื่อพิจารณาจากไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ ทว่าตำแหน่งของดาวเหล่านี้บนกราฟดูจะเป็นไปตามขนาดมวลของมันเท่านั้น และเนื่องจากคุณลักษณะของดาวเหล่านี้ไม่ได้อยู่บนเส้นกราฟ HR Diagram ดังนั้นการวิวัฒนาการของมันย่อมแตกต่างไปจากดาวฤกษ์ปกต.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและดาวแปลกพวกสีน้ำเงิน · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเทียมโคบี

แผนที่อุณหภูมิพื้นหลังของอวกาศ ดาวเทียมโคบี (Cosmic Background Explorer; คำย่อ COBE) ขึ้นสู่อวกาศไปโคจรรอบโลกเมื่อ ค.ศ. 1989 (พ.ศ. 2532) หน้าที่หลักคือตรวจสอบความอบอุ่นที่ยังหลงเหลืออยู่จากการเกิดบิกแบงซึ่งเรียกว่า อุณหภูมิพื้นหลังของอวกาศ ดาวเทียมโคบีได้ทำแผนที่อุณหภูมิท้องฟ้าทั้งหมดแล้วพบความแตกต่างน้อยมากคล้ายกับคลื่นน้ำ ดาวเทียมโคบีได้ตรวจสอบอุณหภูมิย้อนกลับไปถึงครึ่งล้านปีหลังบิกแบง การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเพียงเล็กน้อยของท้องฟ้า แสดงว่าเอกภพมีอุณหภูมิไม่สม่ำเสมอเมื่อตอนที่มีอายุได้ครึ่งล้านปี เมื่อเอกภพเริ่มไม่ราบเรียบและอุณหภูมิไม่สม่ำเสมอแล้ว สสารก็เกาะกลุ่มกันเป็นก้อน.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและดาวเทียมโคบี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์

วเคราะห์ (πλανήτης; planet หรือ "ผู้พเนจร") คือวัตถุขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1990 มีดาวเคราะห์ที่เรารู้จักเพียง 8 ดวง (ทั้งหมดอยู่ในระบบสุริยะ) ปัจจุบันเรารู้จักดาวเคราะห์ใหม่อีกมากกว่า 100 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบ คือ โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ ในปี..

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ดุมดาราจักร

มสสิเยร์ 81 ดาราจักรที่มีดุมแบบดั้งเดิม (classical bulge) สังเกตว่าโครงสร้างแบบก้นหอยสิ้นสุดลงที่ขอบของดุม ภาพเมสสิเยร์ 63 ดาราจักรที่มีดุมแบบไม่ใช่ดุมดั้งเดิม (non-classical bulge) โครงสร้างก้นหอยจะหมุนวนลงไปจนถึงบริเวณใจกลางของดาราจักร ในทางดาราศาสตร์ ดุมดาราจักร (Galactic bulge) คือส่วนที่มีดาวฤกษ์เกาะกลุ่มกันอยู่อย่างหนาแน่นที่สุดในดาราจักร มักใช้ในความหมายถึงกลุ่มดาวฤกษ์ใจกลางดาราจักรที่พบในดาราจักรชนิดก้นหอยโดยส่วนใหญ่ แต่เดิมเคยเชื่อกันว่าดุมดาราจักรนี้เป็นดาราจักรชนิดรีที่มีจานดาวฤกษ์อยู่รอบๆ แต่จากภาพถ่ายความละเอียดสูงโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้เผยให้ทราบว่า ดุมดาราจักรจำนวนมากมีคุณลักษณะที่คล้ายคลึงกับดาราจักรชนิดก้นหอยมากกว่า ในปัจจุบันนี้เชื่อกันว่า มีดุมดาราจักรอยู่อย่างน้อย 2 ชนิด คือชนิดที่มีลักษณะเหมือนดาราจักรชนิดรี กับชนิดที่มีลักษณะเหมือนดาราจักรชนิดก้นหอย ดุมดาราจักรแบบดั้งเดิม (classical bulge) จะมีลักษณะคล้ายดาราจักรชนิดรี มักประกอบด้วยดาวฤกษ์ชนิดดารากร 2 ซึ่งเก่าแก่กว่า และมีสีค่อนไปทางแดง การเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์ในดุมชนิดนี้มักเป็นไปแบบไม่เป็นระเบียบ ส่วนดุมดาราจักรที่มีลักษณะคล้ายดาราจักรชนิดก้นหอยจะมีอยู่เป็นจำนวนมากกว่า และจะเรียกว่า pseudobulges หรือ disky-bulges ดาวฤกษ์จะเคลื่อนที่แบบเป็นระเบียบไปตามทิศทางของระนาบดาราจักรหรือแผ่นจานดาราจักรด้านนอก.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและดุมดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

คลื่นวิทยุ

ลื่นวิทยุ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงความถี่วิทยุบนเส้นสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นวิทยุไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ ใช้ในการสื่อสารมี 2 ระบบคือ A.M. และ F.M. ความถี่ของคลื่น หมายถึง จำนวนรอบของการเปลี่ยนแปลงของคลื่น ในเวลา 1 วินาที คลื่นเสียงมีความถี่ช่วงที่หูของคนรับฟังได้ คือ ตั้งแต่เริ่มมีเพศสัมพัน คลื่นวิทยุแต่ละช่วงความถี่จะถูกกำหนดให้ใช้งานด้านต่างๆ ตามความเหมาะสม ส่วนประกอบของคลื่น 1.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและคลื่นวิทยุ · ดูเพิ่มเติม »

ความส่องสว่างสัมบูรณ์

วามส่องสว่างสัมบูรณ์ (Absolute magnitude,M) เป็นการวัดความสว่างที่แท้จริงของดาวฤกษ์ โดยจินตนาการให้ดาวฤกษ์นั้นอยู่ที่ระยะห่างจากโลกออกไป 10 พาร์เซก หรือ 32.616 ปีแสง โดยดาวที่ห่างไปจากโลก 10 พาร์เซก จะมีมุมแพรัลแลกซ์ เป็น 0.1 พิลิปดา การวัดความสว่างของดาวฤกษ์อีกแบบคือความส่องสว่างปรากฏซึ่งเป็นการวัดความสว่างของดาวบนท้องฟ้าเมื่อมองจากโลก อย่างไรก็ตามแม้ความส่องสว่างปรากฏจะสามารถบอกอันดับความสว่างของดาวได้ แต่ก็ไม่สามารถบอกกำลังส่องสว่างที่แท้จริงของดาวฤกษ์ดวงนั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง ดาวฤกษ์ที่ปรากฏให้เห็นความสว่างยามค่ำคืนน้อยกว่า แท้จริงแล้วอาจมีกำลังส่องสว่างมากกว่าดาวที่ปรากฏสุกใสอยู่บนท้องฟ้าได้ ซึ่งเป็นเพราะดาวนั้นอยู่ไกลจากโลกออกไปมากนั่นเอง ค่าของความส่องสว่างสัมบูรณ์มีลักษณะเหมือนกับความส่องสว่างปรากฏ คือ ดวงดาวที่มีอันดับความสว่างต่างกัน 5 อันดับ จะมีความสว่างต่างกัน 100 เท่า คือ ดวงดาวที่มีความส่องสว่างสัมบูรณ์ต่างกัน 1 ความส่องสว่าง จะมีความสว่างต่างกัน \sqrt\approx 2.512 เท.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและความส่องสว่างสัมบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ความโน้มถ่วง

หมุนรอบดวงอาทิตย์ ไม่หลุดออกจากวงโคจร (ภาพไม่เป็นไปตามอัตราส่วน) ความโน้มถ่วง (gravity) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งทำให้วัตถุกายภาพทั้งหมดดึงดูดเข้าหากัน ความโน้มถ่วงทำให้วัตถุกายภาพมีน้ำหนักและทำให้วัตถุตกสู่พื้นเมื่อปล่อย แรงโน้มถ่วงเป็นหนึ่งในสี่แรงหลัก ซึ่งประกอบด้วย แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และ แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม ในจำนวนแรงทั้งสี่แรงหลัก แรงโน้มถ่วงมีค่าน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าแรงโน้มถ่วงจะเป็นแรงที่เราไม่สามารถรับรู้ได้มากนักเพราะความเบาบางของแรงที่กระทำต่อเรา แต่ก็เป็นแรงเดียวที่ยึดเหนี่ยวเราไว้กับพื้นโลก แรงโน้มถ่วงมีความแรงแปรผันตรงกับมวล และแปรผกผันกับระยะทางยกกำลังสอง ไม่มีการลดทอนหรือถูกดูดซับเนื่องจากมวลใดๆ ทำให้แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่สำคัญมากในการยึดเหนี่ยวเอกภพไว้ด้วยกัน นอกเหนือจากความโน้มถ่วงที่เกิดระหว่างมวลแล้ว ความโน้มถ่วงยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการที่เราเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ตามกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน เช่น การเพิ่มหรือลดความเร็วของวัตถุ การเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ เป็นต้น.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและความโน้มถ่วง · ดูเพิ่มเติม »

ความเป็นโลหะ (ดาราศาสตร์)

ในทางดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ ความเป็นโลหะ (metallicity) ของวัตถุคือค่าสัดส่วนองค์ประกอบของสสารในวัตถุนั้นที่มีส่วนประกอบของธาตุทางเคมีชนิดอื่นมากกว่าไฮโดรเจนและฮีเลียม ทั้งนี้ ดาวฤกษ์ซึ่งเป็นวัตถุที่สามารถมองเห็นได้ชัดในเอกภพมักประกอบด้วยไฮโดรเจนกับฮีเลียม นักดาราศาสตร์จึงนิยมเรียกส่วนที่เหลือ (ในที่ว่างดำมืด) ว่าเป็น "โลหะ" เพื่อความสะดวกในการบรรยายถึงส่วนที่เหลือทั้งหมด จากคำนิยามนี้ เนบิวลาซึ่งมีส่วนประกอบของคาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน และนีออน อยู่อย่างล้นเหลือ จึงถูกเรียกว่าเป็น "วัตถุอุดมโลหะ" ในทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ แม้ว่าองค์ประกอบเหล่านั้นไม่ได้เป็นโลหะจริงๆ ตามความหมายของเคมีดั้งเดิม จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องระมัดระวังไม่นำไปปะปนกับคำว่า "โลหะ" (metal หรือ metallic) โดยทั่วไป ความเป็นโลหะของวัตถุทางดาราศาสตร์อาจพิจารณาได้จากอายุของวัตถุนั้นๆ เมื่อแรกที่เอกภพก่อตัวขึ้นตามทฤษฎีบิกแบง มีองค์ประกอบของไฮโดรเจนอยู่อย่างมากมาย ซึ่งเมื่อผ่านช่วงนิวคลีโอซินทีสิสในยุคแรกเริ่มแล้ว จึงได้เกิดสัดส่วนฮีเลียมเพิ่มจำนวนมากขึ้น กับลิเทียมและเบริลเลียมอีกจำนวนเล็กน้อย แต่ยังไม่มีธาตุหนักเกิดขึ้น ดาวฤกษ์ที่อายุเก่าแก่จึงมักมีส่วนประกอบโลหะอยู่ค่อนข้างน้อย แต่ข้อเท็จจริงที่พบจากการเฝ้าสังเกตดาวฤกษ์จำนวนมากและพบส่วนประกอบของธาตุหนักอยู่ด้วย ยังเป็นปริศนาที่ไขไม่ออก คำอธิบายในปัจจุบันจึงเป็นการนำเสนอข้อมูลการมีอยู่ของดาวฤกษ์ชนิด Population III เชื่อกันว่า ถ้าไม่มีโลหะ ก็มีแต่เพียงดาวฤกษ์ที่มีมวลมากอย่างมหาศาลเท่านั้นที่จะก่อตัวขึ้นมาได้ และในช่วงปลายอายุขัยของมันก็จะมีการสร้างธาตุ 26 ชนิดแรกไปจนถึงเหล็กในตารางธาตุ ผ่านกระบวนการนิวคลีโอซินทีสิส ในเมื่อดาวฤกษ์เหล่านี้มีมวลมหาศาล แบบจำลองในปัจจุบันจึงระบุถึงการสิ้นอายุขัยของมันในลักษณะซูเปอร์โนวา ซึ่งทำให้สสารภายในของดาวแตกกระจายและแผ่ออกไปในเอกภพ ทำให้เกิดเป็นดาวฤกษ์ในรุ่นถัดมาที่มีส่วนประกอบของธาตุหนักอยู่ดังที่เราพบเห็นในปัจจุบัน ตามทฤษฎีเท่าที่มีในปี..

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและความเป็นโลหะ (ดาราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

คาร์บอน

ร์บอน (Carbon) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ C และเลขอะตอม 6 เป็นธาตุอโลหะที่มีอยู่มาก มีวาเลนซ์ 4 และมีหลายอัญรูป.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

ตัวเลขอารบิก

ลขอารบิก เป็นสัญลักษณ์ตัวเลขที่นิยมใช้กันมากที่สุดในโลก และนับว่าเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวัน มีหลักฐานพอที่จะสืบประวัติไปได้ ว่า เกิดริเริ่มเป็นกำหนดนับแพร่หลายมาถึงปัจจุบัน จากนักปราชญ์แห่งอาหรับ ชาวแบกแดด (อิรัก) ชื่อ มุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์ ซึ่งมีช่วงชีวิตในประวัติศาสตร์ราว ปี..

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและตัวเลขอารบิก · ดูเพิ่มเติม »

ตัวเลขโรมัน

ลขโรมัน เป็นระบบตัวเลขที่ใช้ในโรมโบราณ เลขโรมันถือเป็น ระบบเลขไม่มีหลัก หมายความว่า ไม่ว่าจะเขียนตัวเลขแต่ละตัวไว้ ณ ตำแหน่งใดของค่าตัวเลขนั้นจะมีค่าคงที่เสมอ ระบบเลขโรมันมีสัญลักษณ์ที่ใช้กันดังนี้ นอกจากนี้ ยังมีสัญลักษณ์อื่นที่ไม่ได้ใช้ในระบบเลขโรมันปัจจุบัน แต่ปรากฏอยู่ในรหัสยูนิโคด ดังนี้.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและตัวเลขโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ปัญหาหลายวัตถุ

ปัญหาหลายวัตถุ หรือ ปัญหา n วัตถุ (n-body problem) คือการหาผลสืบเนื่องของการเคลื่อนที่ในวิชากลศาสตร์ดั้งเดิม จากค่ากำหนดได้แก่ ตำแหน่งเริ่มต้น มวล และความเร็วของวัตถุหลายชิ้น (หรือเรียกว่า วัตถุ n ชิ้น) ตัวอย่างของปัญหาหลายวัตถุได้แก่ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน และ กฎแรงโน้มถ่วงของนิวตัน.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและปัญหาหลายวัตถุ · ดูเพิ่มเติม »

ปีแสง

ปีแสง (อังกฤษ: light-year) คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792,458 เมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607 กิโลเมตร.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและปีแสง · ดูเพิ่มเติม »

นาซา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ นาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ คำขวัญขององค์การนาซาคือ "เพื่อประโยชน์ของคนทุกคน" (For the benefit of all).

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและนาซา · ดูเพิ่มเติม »

นีกอลา หลุยส์ เดอ ลากาย

นีกอลา หลุยส์ เดอ ลากาย (Nicolas Louis de Lacaille; 15 มีนาคม ค.ศ. 1713 - 21 มีนาคม ค.ศ. 1762) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส มีชื่อเสียงในฐานะผู้รวบรวมรายชื่อวัตถุท้องฟ้าในซีกโลกใต้เกือบ 10,000 รายการ รายชื่อวัตถุท้องฟ้านี้เรียกว่า Coelum Australe Stelliferum ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในปี..

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและนีกอลา หลุยส์ เดอ ลากาย · ดูเพิ่มเติม »

แรงไทดัล

นามแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ (หรือดวงอาทิตย์) ที่ไม่เท่ากันบนพื้นผิวของโลก เรียกว่าแรงไทดัล หรือแรงที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง เป็นกลไกพื้นฐานที่ทำให้เกิดเหตุการณ์น้ำขึ้นน้ำลงวันละ 2 ครั้ง ในภาพนี้ดวงจันทร์อาจอยู่ทางด้านซ้ายหรือด้านขวาของโลก แรงไทดัล (Tidal force) เป็นผลกระทบทุติยภูมิที่เกิดจากแรงโน้มถ่วง และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง แรงนี้เกิดขึ้นจากแรงโน้มถ่วงของวัตถุหนึ่งที่กระทำต่ออีกวัตถุหนึ่งอย่างไม่สม่ำเสมอกันตลอดแนวเส้นผ่านศูนย์กลาง ด้านที่อยู่ใกล้กับวัตถุที่สองมากกว่าจึงได้รับแรงดึงดูดที่มากกว่า ขณะที่ด้านตรงกันข้ามจะถูกแรงดึงดูดน้อยกว่า เมื่อวัตถุหนึ่ง (วัตถุ ก) ถูกกระทำโดยแรงโน้มถ่วงจากวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง (วัตถุ ข) สนามแรงโน้มถ่วงจะมีความแปรปรวนอย่างมีนัยสำคัญบนวัตถุ ก ระหว่างด้านที่วัตถุประจันหน้ากับวัตถุ ข กับอีกด้านหนึ่งที่อยู่ไกลออกไป แผนภาพด้านข้างนี้แสดงให้เห็นแรงกระทำจากแรงโน้มถ่วงที่แตกต่างกันที่เกิดขึ้นบนวัตถุทรงกลม ก อันเกิดจากแรงของวัตถุ ข ซึ่งทำให้เกิดแรงดึงระหว่างวัตถุทั้งสอง หากแรงมีขนาดสูงมากอาจทำให้วัตถุมีรูปร่างบิดเบี้ยวไป หรือกรณีสุดโต่งคือวัตถุอาจฉีกขาดออกจากกันได้ ขีดจำกัดโรเช คือระยะห่างระหว่างดาวเคราะห์ที่ปรากฏการณ์ไทดัลสามารถทำให้วัตถุฉีกขาดออกเป็นเสี่ยงๆ เนื่องจากความแตกต่างอย่างมากของสนามแรงโน้มถ่วงจากดาวเคราะห์จนสามารถเอาชนะแรงดึงดูดระหว่างชิ้นส่วนของวัตถุ แรงดึงชนิดนี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าสนามแรงโน้มถ่วงมีลักษณะสม่ำเสมอ เพราะสนามที่สม่ำเสมอนี้จะทำให้วัตถุทั้งชิ้นเคลื่อนที่ไปในทิศทางและในอัตราความเร็วเท่าๆ กัน.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและแรงไทดัล · ดูเพิ่มเติม »

แถบลำดับหลัก

ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ ที่พล็อตความสว่างแท้จริง (หรือความส่องสว่างสัมบูรณ์) ของดาวฤกษ์เทียบกับดัชนีสี แถบลำดับหลักจะมองเห็นเป็นแถบขวางโดดเด่นวิ่งจากด้านบนซ้ายลงไปยังด้านล่างขวา แถบลำดับหลัก (Main sequence) คือชื่อเรียกแถบต่อเนื่องและมีลักษณะพิเศษที่ปรากฏอยู่บนแผนภาพคู่ลำดับระหว่างสีของดาวฤกษ์กับความสว่าง แผนภาพคู่ลำดับสี-ความสว่างนี้รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ หรือ HR Diagram ซึ่งเป็นผลการศึกษาร่วมกันระหว่างเอจนาร์ แฮร์ทสชปรุง กับเฮนรี นอร์ริส รัสเซลล์ ดาวที่อยู่บนแถบนี้จะรู้จักกันว่า ดาวบนแถบลำดับหลัก หรือดาวฤกษ์แคระ หลังจากที่ดาวฤกษ์ก่อตัวขึ้นแล้ว มันจะสร้างพลังงานออกมาจากย่านใจกลางอันหนาแน่นและร้อนจัดโดยปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันของอะตอมไฮโดรเจนไปเป็นฮีเลียม ระหว่างที่กระบวนการนี้ดำเนินไปในช่วงอายุของดาว จะสามารถระบุตำแหน่งบนแถบลำดับหลักได้โดยใช้มวลของดาวเป็นข้อมูลเบื้องต้น ประกอบกับข้อมูลองค์ประกอบทางเคมีและปัจจัยอื่น ๆ อีก โดยทั่วไปยิ่งดาวฤกษ์มีมวลมากก็จะยิ่งมีช่วงอายุบนแถบลำดับหลักสั้นยิ่งขึ้น หลังจากเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แกนกลางถูกใช้จนหมดไป ดาวฤกษ์ก็จะเคลื่อนออกไปจากแถบลำดับหลัก บางคราวอาจพิจารณาแถบลำดับหลักออกเป็นแถบบนและแถบล่าง ขึ้นกับกระบวนการที่ดาวฤกษ์ใช้ในการสร้างพลังงาน ดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยกว่า 1.5 เท่าของมวลดวงอาทิตย์จะหลอมอะตอมไฮโดรเจนเข้าด้วยกันพร้อมกับกระบวนการสร้างฮีเลียม กระบวนการนี้เรียกว่า ปฏิกิริยาลูกโซ่โปรตอน-โปรตอน ถ้าดาวฤกษ์มีมวลมากกว่านี้ ก็จะอยู่ในแถบลำดับหลักบน นิวเคลียร์ฟิวชันจะใช้อะตอมของคาร์บอน ไนโตรเจน และออกซิเจนเป็นสื่อกลางในการผลิตฮีเลียมจากอะตอมไฮโดรเจน เนื่องจากอุณหภูมิของดาวฤกษ์ที่แกนกลางกับที่พื้นผิวดาวนั้นมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ จึงมีการส่งผ่านพลังงานขึ้นมาอย่างต่อเนื่องผ่านชั้นดาวจนกระทั่งมันแผ่รังสีออกไปจากบรรยากาศของดาว กลไกสองประการที่ใช้ในการส่งผ่านพลังงานเหล่านี้คือ การแผ่รังสี และการพาความร้อน ในประเภทที่ขึ้นกับเงื่อนไขเฉพาะของดาวแต่ละดวง การพาความร้อนจะเกิดขึ้นในบริเวณที่อุณหภูมิมีความแตกต่างกันอย่างมาก หรือเป็นพื้นที่อับแสง หรือทั้งสองอย่าง เมื่อมีการพาความร้อนเกิดขึ้นในแกนกลาง มันจะกระตุ้นเศษเถ้าฮีเลียมขึ้น เป็นการรักษาระดับสัดส่วนของเชื้อเพลิงที่จะนำไปใช้ในปฏิกิริยาฟิวชัน หมวดหมู่:ดาวฤกษ์แถบลำดับหลัก หมวดหมู่:ประเภทของดาวฤกษ์ หมวดหมู่:วิวัฒนาการของดาวฤกษ์.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและแถบลำดับหลัก · ดูเพิ่มเติม »

โอเมกาคนครึ่งม้า

อเมกาคนครึ่งม้า กระจุกดาวทรงกลมขนาดใหญ่ในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า โอเมกาคนครึ่งม้า (Omega Centauri; หรือ เอ็นจีซี 5139) เป็นกระจุกดาวทรงกลมที่พบเห็นอยู่ในบริเวณกลุ่มดาวคนครึ่งม้า ค้นพบโดย เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ เมื่อ..

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและโอเมกาคนครึ่งม้า · ดูเพิ่มเติม »

ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์

อะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (Hertzsprung-Russell diagram; บางครั้งเรียกย่อว่า H-R Diagram หรือ HRD) เป็นแผนภาพคู่ลำดับระหว่างสีของดาวฤกษ์กับความสว่างของดาว (colour-magnitude diagram; เรียกย่อว่า CMD) ซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างค่าความส่องสว่างสัมบูรณ์ ความส่องสว่าง ประเภทของดาวฤกษ์ และอุณหภูมิของดาวฤกษ์ แผนภาพสร้างขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1910 โดย เอจนาร์ แฮร์ทสชปรุง และ เฮนรี นอร์ริส รัสเซลล์ ได้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการศึกษาทำความเข้าใจวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ หรือ "ช่วงชีวิตของดาวฤกษ์" ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เมฆแมเจลแลนใหญ่

มฆมาเจลลันใหญ่ เมฆแมเจลแลนใหญ่ (Large Magellanic Cloud, LMC) คือดาราจักรบริวารของทางช้างเผือก อยู่ห่างจากเราออกไปเพียงไม่ถึง 50 กิโลพาร์เซก (ประมาณ 160,000 ปีแสง) ถือเป็นดาราจักรที่อยู่ใกล้กับทางช้างเผือกเป็นอันดับที่สาม โดยมีดาราจักรแคระชนิดรีคนยิงธนู (ประมาณ 16 กิโลพาร์เซก) กับดาราจักรแคระสุนัขใหญ่ (ประมาณ 12.9 กิโลพาร์เซก) อยู่ใกล้กับศูนย์กลางของดาราจักรทางช้างเผือก เมฆแมเจลแลนใหญ่มีมวลสมมูลประมาณ 1 หมื่นล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์ (1010 มวลดวงอาทิตย์) นั่นคือมีมวลเป็นประมาณ 1/10 เท่าของมวลของทางช้างเผือก เมฆแมเจลแลนใหญ่เป็นดาราจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ในกลุ่มท้องถิ่น โดยมีดาราจักรแอนดรอเมดา ทางช้างเผือก และดาราจักรไทรแองกูลัม เป็นดาราจักรขนาดใหญ่เป็นอันดับหนึ่ง สอง และสามตามลำดับ โดยมากเมฆแมเจลแลนใหญ่มักถูกพิจารณาว่าเป็นดาราจักรไร้รูปแบบ (ในฐานข้อมูลวัตถุพ้นดาราจักรขององค์การนาซา ระบุรหัสตามลำดับฮับเบิลให้แก่มันเป็น Irr/SB(s)m) อย่างไรก็ดีเมฆแมเจลแลนใหญ่ก็มีโครงสร้างคล้ายคานที่บริเวณศูนย์กลาง ทำให้เชื่อได้ว่ามันอาจจะเคยเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานมาก่อน ลักษณะอันไร้รูปแบบของเมฆแมเจลแลนใหญ่อาจเป็นผลมาจากปฏิกิริยาน้ำขึ้นน้ำลงระหว่างตัวมันเองกับทางช้างเผือกและเมฆแมเจลแลนเล็ก เมฆแมเจลแลนใหญ่ปรากฏบนท้องฟ้ายามกลางคืนเป็น "เมฆ" จาง ๆ อยู่ในทางซีกโลกใต้ บริเวณชายขอบระหว่างกลุ่มดาวปลากระโทงแทงกับกลุ่มดาวภูเขา เมฆแมเจลแลนใหญ่เป็นดาราจักรคู่กับเมฆแมเจลแลนเล็ก ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางตะวันตกประมาณ 20 อง.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและเมฆแมเจลแลนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

เยอรมัน

อรมัน หรือ เยอรมนี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

เส้นสเปกตรัม

ปกตรัมต่อเนื่อง สเปกตรัมแบบเส้นสว่าง หรือเส้นการแผ่ (emission line) สเปกตรัมแบบเส้นมืด หรือเส้นการดูดกลืน (absorption line) เส้นสเปกตรัม คือแสงที่เป็นเส้นหรือแถบที่แสดงออกมาเป็นสี โดยการแผ่รังสีที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านปริซึม แผ่นเกรตติ้ง หรือสเปกโตรสโคป เห็นเป็นสีได้ 7 สี ซึ่งไม่มีความต่อเนื่องกัน มีการเว้นช่วงความถี่และมีความยาวคลื่นแตกต่างกันจนเกิดเป็นแถบ ๆ เรียงกันไป คำว่า สเปกตรัม มาจากภาษาละตินมีความหมายว่า “Ghost” เพราะแสงพวกนี้ปรากฏแสงเป็นแบบ “Gostlike” จากแสงของจริงที่เป็นแสงสีขาว ไม่มีสีสันอย่างสเปกตรัมนั่นเอง เส้นสเปกตรัมเป็นหนึ่งในประเภทของสเปกตรัมจาก 2 ประเภท ได้แก่ สเปกตรัมไม่ต่อเนื่อง (Continuous spectrum) และสเปกตรัมต่อเนื่อง (Continuous spectrum) ซึ่งสเปกตรัมต่อเนื่องนั้นจะมีแถบสีที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันไป เช่น สเปกตรัมจากวัตถุดำ ซึ่งหมายถึงวัตถุที่มีคุณสมบัติดูดกลืนแสง ไม่สามารถสะท้อนได้ ทึบตัน สามารถหมายถึงดาวฤกษ์ ซึ่งก็คือดวงอาทิตย์ และยังหมายถึงไส้หลอดไฟต่าง ๆ เป็นต้น ส่วนเส้นสเปกตรัมถือเป็นสเปกตรัมไม่ต่อเนื่องที่มีการแผ่รังสีเป็นแถบ ๆ เส้น ๆ เว้นระยะไปและมีความถี่และความยาวคลื่นบางครั้ง ไม่มีความต่อเนื่องกันเลย เช่น สเปคตรัมของอะตอมไฮโดรเจน.

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและเส้นสเปกตรัม · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดมันด์ แฮลลีย์

อ็ดมันด์ แฮลลีย์ ภาพวาดโดย โทมัส เมอร์เรย์ เอ็ดมันด์ แฮลลีย์ (Edmond Halley) (8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1656 - 14 มกราคม ค.ศ. 1742) เป็นนักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักวิชาการฝนดาวตก และนายแพทย์ชาวอังกฤษ เป็นผู้คำนวณและทำนายการปรากฏตัวของดาวหางแบบมีคาบโคจรได้สำเร็จเป็นครั้งแรก โดยเขาเสนอว่า ดาวหางที่ปรากฏในปี..

ใหม่!!: กระจุกดาวทรงกลมและเอ็ดมันด์ แฮลลีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Globular cluster

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »