โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา

ดัชนี กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา

"กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา" ("acta exteriora indicant interiora secreta"; "exterior act indicates interior secret" หรือ "intention may be inferred from a person's action") เป็นภาษิตภาษาละตินทางกฎหมาย ซึ่งตรงกับพุทธศาสนสุภาษิตว่า "เจตนาหํ กมฺมํ วทามิ" แปลว่า "เจตนานั่นแหละเป็นกรรม" อันมาจากพุทธพจน์ว่า "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ, เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรมิ กาเยน วาจาย มนสา" แปลว่า "ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนานั่นแหละเป็นกรรม เมื่อมีเจตนาแล้ว บุคคลย่อมกระทำกรรมโดยทางกาย วาจา ใจ" ภาษิตนี้เป็นหลักกฎหมายอาญา ไว้สำหรับพิจารณาพฤติการณ์ในการกระทำของจำเลยเพื่อกำหนดฐานความผิดของจำเลย โดยพิจารณาว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดหรือไม่ และยังใช้แยกเจตนาฆ่าออกจากเจตนาทำร้าย เพราะเจตนาฆ่าย่อมมีโทษหนักกว่าเจตนาทำร้าย ทั้งนี้ เนื่องจากเจตนาเป็นเรื่องที่อยู่ภายในจิตใจของผู้กระทำไม่มีใครหยั่งรู้ได้ ในการวินิจฉัยหรือพิสูจน์ว่าผู้กระทำมีเจตนาฆ่าหรือเพียงแต่มีเจตนาทำร้ายเท่านั้นจึงต้องถือหลักว่า "การกระทำที่แสดงออกมาภายนอกเป็นเครื่องชี้ถึงสภาพจิตใจของผู้กระทำ" หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ "กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา" นั่นเอง ในประเทศไทย ศาลมีการพิจารณาจำแนกเจตนาฆ่าและเจตนาทำร้ายออกจากกันโดยอาศัยพฤติการณ์ต่าง ๆ อาทิ พิจารณาอาวุธที่ผู้กระทำความผิดใช้ อวัยวะที่ผู้กระทำความผิดกระทำต่อ บาดแผลที่เกิดจากการกระทำนั้น เป็นต้น.

17 ความสัมพันธ์: พยานบุคคลพุทธพจน์กฎหมายอาญามาตรามิลลิเมตรมีดวรรควาศาลฎีกาศาลอุทธรณ์ (ประเทศไทย)ศาลไทยหมู่บ้าน (ประเทศไทย)หนี้สินขวานประเทศไทยปืนเมตร

พยานบุคคล

พยานบุคคล หรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า พยาน (witness) หมายถึง ผู้รู้เห็นด้วยประสาทสัมผัสของตนซึ่งการกระทำความผิดอาญาหรือเหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ เช่น ได้เห็นด้วยตา ได้ฟังด้วยหู ได้ดมด้วยจมูก หรือได้สัมผัสด้วยมือ ของตนเอง และเพราะฉะนั้น จึงสามารถให้รายละเอียดสำคัญเกี่ยวกับเหตุการณ์เช่นว่านั้นได้ อันพยานบุคคลที่ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารมาด้วยตนเองนั้น เรียกว่า "ประจักษ์พยาน" (eyewitness) พยานทั้งหลายมักได้รับเบิกตัวขึ้นศาลเพื่อให้การในการพิจารณาคดี การเรียกพยานให้ปรากฏตัวต่อศาลนั้น ศาลจะใช้ "หมายเรียกพยาน" (subpoena) หรือหากคู่ความนำพยานมาเบิกความต่อศาลเอง จะเรียกว่า "พยานนำ" ในต่างประเทศ คดีบางประเภท โจทก์หรือจำเลย หรือผู้แทน เช่น ทนายความ ก็มีอำนาจออกหมายเรียกพยานได้ พยานที่เชี่ยวชาญในศาสตร์ต่าง ๆ หากศาลเป็นผู้แต่งตั้ง เรียกว่า "พยานผู้เชี่ยวชาญ" (expert witness) แต่หากคู่ความเป็นฝ่ายนำมาเอง เรียกว่า "ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ" การสืบพยานบุคคลตามกฎหมายไทย การสืบพยานบุคคลตามกฎหมายไทยนั้น ไม่ได้จำกัดอายุขั้นต่ำของพยานบุคคลไว้ แต่ผู้ที่จะเป็นพยานบุคคลจะต้องสามารถเข้าใจและตอบคำถามได้ แม้แต่ผู้หูหนวก เป็นใบ้ ก็สามารถเป็นพยานได้ และจะต้องเป็นประจักษ์พยาน ได้รู้เห็นเรื่องนั้นมาโดยตรง ส่วนพยานบอกเล่านั้นโดยหลักแล้วห้ามรับฟัง เว้นแต่ ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้น น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ หรือ มีเหตุจำเป็นเนื่องจากไม่สามารถนำประจักษ์พยานมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น ในคดีแพ่ง คู่ความสามารถอ้างคู่ความอีกฝ่ายเป็นพยานได้ แต่ในคดีอาญา กฎหมายห้ามไม่ให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน ก่อนเบิกความ พยานจะต้องสาบานตนตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณีแห่งชาติของตน หรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามความสัตย์จริงเสียก่อน เว้นแต่มีเอกสิทธิไม่ต้องสาบาน หากพยานเบิกความโดยไม่ได้สาบานตน และไม่ใช่ผู้มีเอกสิทธิแล้ว ศาลก็รับฟังพยานนั้นไม่ได้ ในการสอบถามพยาน ศาลจะเป็นผู้ถามรายละเอียดก่อน จากนั้นจะให้ฝ่ายอ้างพยานซักถาม และให้อีกฝ่ายถามค้านเพื่อทำลายน้ำหนักพยาน และฝ่ายที่อ้างพยานถามอีกครั้งหนึ่งเพื่อปิดช่องโหว่จากการถามค้าน เรียกว่าถามติง ทั้งนี้ การซักถามและถามติงห้ามใช้คำถามนำ และการถามติงจะต้องเป็นการถามที่เกี่ยวกับเรื่องที่ถูกถามค้าน เมื่อถามติงแล้วหากจะถามพยานเพิ่มเติม จะต้องได้รับอนุญาตจากศาล การเบิกความจะต้องเบิกความด้วยวาจา และห้ามอ่านข้อความที่เขียนมา ยกเว้นศาลอนุญาตหรือเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้งสามารถทำความเห็นเป็นหนังสือต่อศาลได้ แต่ในคดีอาญา พยานผู้เชี่ยวชาญที่ทำความเห็นเป็นหนังสือต่อศาลก็ต้องมาศาลเพื่อเบิกความประกอบด้วย ทั้งนี้ การสืบพยานบุคคล สามารถใช้วิธียื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นแทนการซักถามได้ แต่จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลและมาศาลเพื่อให้อีกฝ่ายถามค้าน หรือจะใช้วิธีประชุมทางจอภาพก็ได้ แต่ในคดีอาญา การส่งบันทึกถ้อยคำสามารถทำได้เฉพาะกรณีพยานอยู่ต่างประเทศ และการประชุมทางจอภาพสามารถทำได้ภายในประเทศไทยเท่านั้น อนึ่ง การที่ศาลไปสืบพยานนอกศาล (โดยศาลนั้นเอง หรือหากเป็นคดีแพ่งก็สามารถมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการได้) เรียกว่า การเดินเผชิญสืบ ส่วนการที่ศาลให้ศาลอื่นสืบพยานให้ เรียกว่า การส่งประเด็นไปสืบ หมวดหมู่:วิธีพิจารณาความ.

ใหม่!!: กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนาและพยานบุคคล · ดูเพิ่มเติม »

พุทธพจน์

ทธพจน์ หรือ พุทธวจนะ (พุทฺธวจน) แปลว่า พระดำรัสหรือคำพูดของพระพุทธเจ้า ในอลคัททูปมสูตร พระโคตมพุทธเจ้าตรัสถึงธรรมะ ได้แก.

ใหม่!!: กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนาและพุทธพจน์ · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมายอาญา

กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่รัฐบัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิด และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับความผิดนั้น เป็นกฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดเป็นความผ.

ใหม่!!: กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนาและกฎหมายอาญา · ดูเพิ่มเติม »

มาตรา

"มาตรา" สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนาและมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

มิลลิเมตร

มิลลิเมตร อักษรย่อ มม. (Millimetre: mm) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 x 10-3 เมตร.

ใหม่!!: กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนาและมิลลิเมตร · ดูเพิ่มเติม »

มีด

มีด คือเครื่องมือชนิดแรกๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันมาอย่างยาวนาน เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับแทบจะทุกกิจกรรม ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเผ่าพันธุ์ หรือกลุ่มสังคมใดๆ ก็ตาม มีดเป็นเครื่องมือตัดเฉือนชนิดมีคมสำหรับใช้ สับ หั่น เฉือน ปาด บางชนิดอาจมีปลายแหลมสำหรับกรีด หรือแทง มักมีขนาดเหมาะสมสำหรับจับถือด้วยมือเดียว.

ใหม่!!: กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนาและมีด · ดูเพิ่มเติม »

วรรค

วรรค (อ่านว่า วัก) มาจากภาษาบาลี วคฺค และภาษาสันสกฤต วรฺค อาจหมายถึง.

ใหม่!!: กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนาและวรรค · ดูเพิ่มเติม »

วา

วา เป็นหน่วยวัดความยาวของไทย มีที่มาจากการกางแขนทั้งสองออกไปข้างลำตัวในแนวราบ หนึ่งวาวัดจากปลายนิ้วกลางของแขนข้างหนึ่ง (หรือนิ้วอื่นที่ยาวที่สุดสำหรับบางคน) ผ่านอกไปยังปลายนิ้วกลางของแขนอีกข้าง แต่เนื่องจากระยะวาของแต่ละคนไม่เท่ากัน พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พระพุทธศักราช ๒๔๖๖ จึงกำหนดให้ 1 วายาวเท่ากับ 2 เมตรเป็นต้นมา และใช้อักษรย่อว่า ว. หน่วยวาใช้ประกอบกันเป็นหน่วยวัดพื้นที่คือ ตารางวา 1 วา มีค่าเท่ากั.

ใหม่!!: กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนาและวา · ดูเพิ่มเติม »

ศาลฎีกา

ัญลักษณ์ของศาลฎีกา ศาลฎีกา เป็นศาลยุติธรรมชั้นสูงสุด มีเขตอำนาจทั่วทั้งราชอาณาจักร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายว่าด้วยการฎีกา และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกาไม่ต้องผ่านศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามกฎหมายเฉพาะ เช่น คดีแรงงาน คดีภาษีอากร คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ คดีล้มละลายเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ เป็นต้น และคดีที่กฎหมายอื่นบัญญัติให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษา รวมทั้งมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดหรือสั่งคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลฎีกาตามกฎหมาย (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23) คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลฎีกาเป็นที่สุด (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23).

ใหม่!!: กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนาและศาลฎีกา · ดูเพิ่มเติม »

ศาลอุทธรณ์ (ประเทศไทย)

right ศาลอุทธรณ์ คือ ศาลสูงถัดจากศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อยู่ในเขตอำนาจ กับมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่นในเขตท้องที่ที่มิได้อยู่ในเขตศาลอุทธรณ์ภาค เว้นแต่คดีที่อยู่นอกเขตศาลอุทธรณ์จะอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ก็ได้ ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งที่อุทธรณ์เช่นนั้นก็ได้ เว้นแต่คดีนั้นจะได้โอนมาตามบทบัญญัติแห่งกฎหม.

ใหม่!!: กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนาและศาลอุทธรณ์ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ศาลไทย

ลไทย เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อำนาจตุลาการนั้นเป็นสาขาหนึ่งของอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ไทยในฐานะประมุขแห่งรัฐทรงใช้อำนาจตุลาการผ่านทางศาล และศาลปฏิบัติการในพระปรมาภิไธย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2550) มาตรา 197 ถึงมาตรา 228 ศาลไทยมีสี่ประเภทดัง.

ใหม่!!: กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนาและศาลไทย · ดูเพิ่มเติม »

หมู่บ้าน (ประเทศไทย)

หมู่บ้าน เป็นรูปแบบการปกครองลักษณะปกครองท้องที่ นับเป็นเขตการปกครองขนาดเล็กที่สุดของประเทศไทย โดยแบ่งย่อยออกจากตำบลอีกทีหนึ่ง จากข้อมูลเมื่อปี..

ใหม่!!: กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนาและหมู่บ้าน (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

หนี้สิน

หนี้สิน หรือ หนี้เงิน (debt) หมายถึง เงินที่ผู้หนึ่งซึ่งเรียกว่า "ลูกหนี้" (debtor) ติดค้างอยู่จะต้องใช้ให้แก่อีกผู้หนึ่งซึ่งเรียกว่า "เจ้าหนี้" (creditor) บางทีก็เรียกสั้น ๆ ว่า "หนี้" ความเป็นหนี้สินกันนั้นมีขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ตกลงให้ลูกหนี้ยืมเงินจำนวนหนึ่งซึ่งปัจจุบันมักมีการกำหนดระยะเวลาให้ลูกหนี้ปฏิบัติการชำระหนี้และมักต้องชำระดอกเบี้ย (interest) อันงอกเงยจากหนี้สินนั้นด้วย หมวดหมู่:กฎหมายหนี้.

ใหม่!!: กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนาและหนี้สิน · ดูเพิ่มเติม »

ขวาน

ขวานตัดไม้ ขวาน เป็นเครื่องมือที่มีมาแต่อดีต ใช้ในการตัดไม้ หรือหั่นไม้ รวมไปถึงการใช้เป็นอาวุธ โดยทั่วไปขวานจะประกอบด้วยสองส่วนหลักคือ ส่วนหัว และส่วนด้ามจับ โดยจะเห็นได้ว่าขวานเป็นตัวอย่างหนึ่งที่เป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับลิ่ม ที่ใช้ในการผ่อนแรง ขวานในสมัยโบราณ ส่วนหัวทำจากหิน และผูกเข้ากันกับด้ามไม้ ในขณะที่ขวานในยุคปัจจุบันส่วนหัว จะสร้างจากเหล็กและด้ามจับไม้ โดยขวานจะมีทั้งแบบที่ด้ามยาว และแบบด้ามสั้นขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งานของขวานนั้น ๆ หมวดหมู่:เครื่องมือตัด หมวดหมู่:อาวุธมีคม.

ใหม่!!: กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนาและขวาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนาและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปืน

ูเอสเอส ไอโอว่า ยิงปืนขณะทำการฝึกยิงใกล้เกาะวีคูส์ เปอร์โต ริโค เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1984 ปืน คืออาวุธสำหรับยิงลูกกระสุนปืน เพื่อให้เข้าสู่เป้าหมาย โดยอาศัยหลักการเผาไหม้ของดินปืนให้เกิดแก๊สผลักดันลูกกระสุนให้ออกจากปากลำกล้องด้วยความเร็วสูง ลูกกระสุนที่ออกจากปากลำกล้องจะการเคลื่อนที่ในแนววิถีราบ ส่วนปืนที่มีขนาดใหญ่ เช่น ปืนใหญ่นิยมใช้การเคลื่อนที่วิถีโค้ง ปืนมีทั้งที่เป็นอาวุธประจำกายเช่น ปืนสั้น ปืนลูกซอง ปืนไรเฟิล ปืนกล หรือ เป็นอาวุธติดตั้งกับพาหนะเช่น ปืนใหญ่รถถัง ปืนกลอากาศในเครื่องบิน ปืนประจำเรือ หรือเป็นอาวุธหนักในสนามรบเช่น ปืนใหญ.

ใหม่!!: กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนาและปืน · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนาและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กรรมเป็นเครื่องบ่งเจตนาเจตนาหัง ภิกขะเว กัมมัง วะทามิเจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »