โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กรรม

ดัชนี กรรม

ในพระพุทธศาสนา กรรม (กรฺม, กมฺม) แปลว่า "การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา" ได้แก่ กระทำทางกาย เรียก กายกรรม ทางวาจา เรียก วจีกรรม และทางใจ เรียก มโนกรรม.

28 ความสัมพันธ์: บาปบุญพรหมภูมิพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)พระสุตตันตปิฎกพระอภิธรรมปิฎกกรรมกุศลและอกุศลภาวนามรรคมีองค์แปดมโนสุจริตมโนทุจริตราชบัณฑิตวัดราชโอรสารามราชวรวิหารวิบากศีลอดีตอนันตริยกรรมฌานทานทุกข์ปัจจุบันนรกโพชฌงค์ 7โมหะโลภะโทสะเวทนา

บาป

ป หมายถึง การกระทำผิดหลักคำสอนหรือข้อห้ามในศาสนา ความชั่วร้าย ความมัวหมอง.

ใหม่!!: กรรมและบาป · ดูเพิ่มเติม »

บุญ

ในพระพุทธศาสนา บุญ (ปุญฺญ; ปุณฺย) หมายถึง คุณงามความดี ความประพฤติชอบทางกายวาจาและใจ เรียกอีกอย่างว่ากุศล ในพระไตรปิฎกมักใช้คำว่า ปุญฺญ ตรงกันข้ามกับคำว่า บาป หรือ อปุญฺญ แต่ในคัมภีร์ชั้นหลังมักใช้คำว่า บาป มากกว่ากัน ในอรรถกถากล่าวถึงเผื่อแผ่บุญไว้ว่าสามารถเผื่อแผ่เพิ่มให้แก่ผู้อื่นได้โดยไม่มีประมาณ เปรียบได้กับการจุดเทียนส่งต่อไปเรื่อย ๆ คือผู้จุดก็มีความสว่างอยู่ตามเดิม และความสว่างยังเพิ่มไปอีกกว้างขวางได้.

ใหม่!!: กรรมและบุญ · ดูเพิ่มเติม »

พรหมภูมิ

อรูปพรหม (ฉบับกรุงศรี) พรหมภูมิ หรือ พรหมโลก ถือเป็นดินแดนของพระพรหม ซึ่งเป็นภพภูมิที่สถิตย์อยู่เสวยสุขของพระพรหมผู้อุบัติเกิดในพรหมวิมาน ณ พรหมโลก อันเป็นแดนซึ่งมีแต่ความสุขอันเกิดจากฌานเท่านั้น (แบ่งชั้นตามอำนาจฌานที่ได้บรรลุ) ในภพภูมินี้ตามคัมภีร์กล่าวว่าปราศจากความสุขที่เนื่องด้วยกามราคะ พรหมภูมิอาจแบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่ รูปพรหม และ อรูปพรหม.

ใหม่!!: กรรมและพรหมภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)

ระมหาโพธิวงศาจารย์ นามเดิม ทองดี สุรเดช ฉายา สุรเตโช เป็นราชบัณฑิต พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลั.

ใหม่!!: กรรมและพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) · ดูเพิ่มเติม »

พระสุตตันตปิฎก

ระสุตตันตปิฎก เป็นชื่อของปิฎกฉบับหนึ่งในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ซึ่งประกอบด้วย พระวินัยปิฎก พระสุตตตันปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก เรียกย่อว่า พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม พระสุตตันตปิฎก เป็นที่รวมของพระพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับเทศนาธรรม ซึ่งประกอบด้วย เนื้อหาสาระ บุคคล เหตุการณ์ สถานที่ ตลอดจนบทประพันธ์ ชาดก หรือ เรื่องราวอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า เมื่อกล่าวโดยรวมก็คือ คำสอนที่ประกอบด้วยองค์ 9 ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ นั่นเอง นับเป็นธรรมขันธ์ได้ 21,000 พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก แบ่งออกเป็นหมวดย่อยที่เรียกว่าคัมภีร์ 5 คัมภีร์ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตรนิกาย และขุททกนิกาย ใช้อักษรย่อว่า ที ม สัง อัง ขุ อักษรย่อทั้ง 5 คำนี้เรียกกันว่า หัวใจพระสูตร.

ใหม่!!: กรรมและพระสุตตันตปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระอภิธรรมปิฎก

ระอภิธรรมปิฎก (Abhidhammapiṭaka) เป็นปิฎกฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามใน "พระไตรปิฎกภาษาบาลี" (Pali Canon) อภิธรรม แปลว่า "ธรรมอันยิ่ง" ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วน ๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเล.

ใหม่!!: กรรมและพระอภิธรรมปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

กรรม

ในพระพุทธศาสนา กรรม (กรฺม, กมฺม) แปลว่า "การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา" ได้แก่ กระทำทางกาย เรียก กายกรรม ทางวาจา เรียก วจีกรรม และทางใจ เรียก มโนกรรม.

ใหม่!!: กรรมและกรรม · ดูเพิ่มเติม »

กุศลและอกุศล

กุศล หมายถึง บุญ ความดี ความฉลาด ในทสุตตรสูตร พระสารีบุตรกล่าวว่ารากเหง้าของกุศลมี 3 อย่าง คือ ความไม่โลภ ความไม่คิดประทุษร้าย และความไม่หลง อกุศล หมายถึง บาป, ความชั่วร้าย, ไม่เป็นมงคล, ไม่ฉลาด, กรรมชั่ว ตรงกันข้ามกับ กุศล ซึ่งแปลว่า ความดี ในสัมมาทิฏฐิสูตร พระสารีบุตรอธิบายว่า อกุศล คือ.

ใหม่!!: กรรมและกุศลและอกุศล · ดูเพิ่มเติม »

ภาวนา

วนา แปลว่า การเจริญ การอบรม การทำให้มีให้เป็นขึ้น หมายถึง การทำจิตใจให้สงบและทำปัญญาให้เกิดขึ้น ด้วยการฝึกฝนอบรมจิตไปตามแบบที่ท่านกำหนดไว้ ซึ่งเรียกชื่อไปต่างๆ เช่น การบำเพ็ญกรรมฐาน การทำสมาธิ การเจริญภาวนา การเจริญจิตภาวนา ภาวนา ในทางปฏิบัติท่านแบ่งไว้ ๒ แบบใหญ่ๆ คือ.

ใหม่!!: กรรมและภาวนา · ดูเพิ่มเติม »

มรรคมีองค์แปด

มรรค (มรฺค; มคฺค) คือ หนทางสู่ความดับทุกข์ เป็นหนึ่งในอริยสัจ 4 จึงเรียกอีกอย่างว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นทางสายกลาง คือเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น ตามวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าทรงอธิบายรายละเอียดไว้ดังนี้.

ใหม่!!: กรรมและมรรคมีองค์แปด · ดูเพิ่มเติม »

มโนสุจริต

มโนสุจริต แปลว่า การประพฤติดีทางใจ, การประพฤติดีด้วยใจ มโนสุจริต เป็นการกระทำความดีความงามทางใจ คือด้วยการคิด จัดเป็นบุญ ก่อความสุขให้ทั้งในปัจจุบันและภพชาติต่อไป มโนสุจริต มี 3 อย่างคือ.

ใหม่!!: กรรมและมโนสุจริต · ดูเพิ่มเติม »

มโนทุจริต

มโนทุจริต แปลว่า การประพฤติชั่วทางใจ, การประพฤติชั่วด้วยใจ เป็นการกระทำความชั่ว ทำความผิดทางใจ คือ ด้วยการคิด จัดเป็นบาปมิใช่บุญ ก่อทุกข์โทษให้ทั้งในปัจจุบันและภพชาติต่อไป มโนทุจริต มี 3 อย่างคือ.

ใหม่!!: กรรมและมโนทุจริต · ดูเพิ่มเติม »

ราชบัณฑิต

ราชบัณฑิต คือ "นักปราชญ์หลวง" ที่เป็นสมาชิกขององค์การวิทยาการของรัฐคือ ราชบัณฑิตยสภาโดยต้องเป็นผู้ที่มีเกียรติประวัติดีงาม ได้รับการยอมรับและการยกย่องจากผู้รู้ในศาสตร์สาขาเดียวแห่งตนและจากคนทั่วไป มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี ได้รับการคัดเลือกจากสภาราชบัณฑิตว่าเป็นผู้รู้ในสาขาวิชาใดสาขาหนึ่งที่มีกำหนดไว้ในราชบัณฑิตยสถาน เมื่อได้รับการคัดเลือกแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตและจะได้รับค่าสมนาคุณเป็นรายเดือน.

ใหม่!!: กรรมและราชบัณฑิต · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนการสร้างกรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดจอมทอง ต่อมาพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทรงยกทัพไปสกัดทัพพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรีใน พ.ศ. 2363 เมื่อกระบวนทัพเรือมาถึงวัดจอมทอง ฝั่งธนบุรีทรงหยุดพักและทำพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงคราม พร้อมทรงอธิษฐานขอให้การไปราชการทัพครั้งนี้ได้ชัยชนะ แต่ปรากฏว่าไม่มีทัพพม่ายกเข้ามา เมื่อยกทัพกลับ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่และถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่าวัดราชโอรส ซึ่งหมายถึง พระราชโอรสคือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในปัจจุบันมี พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) เป็นเจ้าอาว.

ใหม่!!: กรรมและวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วิบาก

วิบาก แปลว่า ผล, ผลผลิต, ผลที่เกิดขึ้น, ผลที่ติดตามมาจากเหตุ วิบาก ในคำวัดหมายถึงผลกรรม, ผลที่เกิดจากกรรมที่ทำไว้ก่อน ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว ล้วนมีวิบากคือผลทั้งสิ้น โดยกรรมดีมีวิบากเป็นสุข กรรมชั่วมีวิบากเป็นทุกข์ ใช้ซ้ำกันเป็น ผลวิบาก หรือ วิบากผล ก็มี วิบาก โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าหมายถึงผลทางชั่วคือทุกข์อย่างเดียว ส่วนวิบากทางดีไม่นิยมใช้พูดกัน เช่นพูดว่า "วิบากกรรมตามทันแล้ว จึงทำให้เขาตกยากลงอย่างทันตา" "กรรมวิบากเป็นเหตุให้ต้องตกนรก" วิบาก ในคำไทยใช้หมายความว่าลำบาก, ทุรกันดาร เช่น หนทางวิบาก, ประสบความวิบาก.

ใหม่!!: กรรมและวิบาก · ดูเพิ่มเติม »

ศีล

ีล (บาลี: สีล) คือข้อปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานในทางพระพุทธศาสนา เพื่อควบคุมความประพฤติทางกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงามมีความปกติสุข เพื่อให้เป็นกติกาข้อห้ามที่ใช้แก้ปัญหาขั้นพื้นฐาน 5 ปัญหาหลัก ซึ่งทำให้เกิดความสงบสุข และ ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันในสังคม ประโยชน์ของศีลในขั้นพื้นฐานคือทำให้กาย วาจา ใจ สงบไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทำให้สามารถที่จะทำให้จิตสงบได้ง่ายในการทำสมาธิ ในระดับของบรรพชิต ศีลจะมีจำนวนมาก เพื่อกำกับให้พระภิกษุสงฆ์สามเณรสามารถครองตนในสมณภาวะได้อย่างสมบูรณ์ และเอื้อต่อการประพฤติพรหมจรรย์ในขั้นสูงต่อไปได้ ความหมายของศีลนั้นแปลได้หลายความหมาย โดยศัพท์แปลว่า ความปกติกายวาจา กล่าวคือความปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ และยังมักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า "อธิศีลสิกขา" อันได้แก่ข้อปฏิบัติขั้นต้นเพื่อการฝึกตนในทางพระพุทธศาสนาด้ว.

ใหม่!!: กรรมและศีล · ดูเพิ่มเติม »

อดีต

อดีต คือคำที่ใช้ระบุเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นก่อนจุดเวลาจุดหนึ่ง อดีตตรงข้ามและกำหนดได้จากปัจจุบันและอนาคต แนวคิดของอดีตแผลงมาจากสมัยนิยมที่มนุษย์นักสังเกตได้รู้จักกับเวลา และเข้าถึงผ่านความจำและการระลึกได้ นอกจากนี้ มนุษย์ได้บันทึกเหตุการณ์ในอดีตไว้ตั้งแต่มีภาษาเขียนเกิดขึ้น อดีตเป็นจุดประสงค์ในศาสตร์ต่าง ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ดาราศาสตร์โบราณคดี วิทยาการลำดับเวลา ธรณีวิทยา ธรณีวิทยาเชิงประวัติ ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ กฎหมาย ภววิทยา บรรพชีวินวิทยา พฤกษศาสตร์บรรพชีวิน พฤกษศาสตร์โบราณคดี ธรณีวิทยาบรรพชีวิน ภูมิอากาศวิทยาบรรพชีวิน และจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ หมวดหมู่:ปรัชญาเวลา หมวดหมู่:เวลา.

ใหม่!!: กรรมและอดีต · ดูเพิ่มเติม »

อนันตริยกรรม

อนันตริยกรรม หมายถึง กรรมหนักที่สุด (ครุกรรม) ฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลทันที มี 5 อย่าง คือ.

ใหม่!!: กรรมและอนันตริยกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ฌาน

น (บาลี) หรือ ธยาน (สันสกฤต) หมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก.

ใหม่!!: กรรมและฌาน · ดูเพิ่มเติม »

ทาน

ทาน หมายถึง การให้, การแบ่งปัน, การเสียสละ, การเอื้อเฟื้อ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ วัตถุที่พึงให้ ทานที่แปลว่า การให้, การแบ่งปัน, การเสียสละ, การเอื้อเฟื้อ หมายถึงการให้ทานด้วยจิตใจที่ดีงาม มุ่งเพื่อบูชาพระคุณ เช่นที่ให้แก่บิดามารดา ถวายแก่พระสงฆ์ เป็นต้นบ้าง มุ่งเพื่อสงเคราะห์ เช่นที่ให้แก่คนตกทุกข์ได้ยาก ให้แก่คนทั่วไปด้วยความกรุณาสงสารบ้าง ทานที่แปลว่า วัตถุที่พึงให้ ย่อมาจาก "ทานวัตถุ" หมายถึงสิ่งของสำหรับให้สำหรับเสียสละให้ผู้อื่น ได้แก่สิ่งของที่ถวายพระ สิ่งของที่ควรนำไปให้เพื่อตอบแทนบุญคุณแก่ผู้มีพระคุณ เช่นพ่อแม่ ครู อาจารย์ ญาติผู้ใหญ่ เรียกว่าไทยทาน บ้าง ไทยธรรม บ้าง มี 10 อย่าง ทานสูตร ได้แก่ อาหาร, น้ำ, เครื่องนุ่งห่ม, ยานพาหนะ, มาลัยและดอกไม้, ของหอม (ธูปเทียน), เครื่องลูบไล้ (สบู่เป็นต้น), ที่นอน, ที่อยู่อาศัย, และประทีป (ไฟหรือไฟฟ้า) การให้ทานวัตถุ 10 อย่างนี้มีผลอานิสงส์มากเพราะเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์อย่างเดียว ไม่มีโทษ ไม่มีพิษภัยแก่ผู้รับ การเลือกของที่จะให้บัณฑิตสรรเสริญ ด้วยจิตใจที่ดีงาม ทานเป็นบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่า "ทานมัย" คือบุญที่เกิดจากการให้ เป็นสังคหวัตถุ คือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจกันไว้ได้ และเป็นบ่อเกิดแห่งบารมีที่เรียกว่า ทานบารมี การให้ทานมีวัตถุประสงค์สำคัญในการคลายความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว ความโลภในจิตใจมนุษย์ ส่งผลให้เกิดความ ใส สว่าง สะอาดของจิตใจขึ้นม.

ใหม่!!: กรรมและทาน · ดูเพิ่มเติม »

ทุกข์

ทุกข์ หรือ ทุกขัง (ทุกฺข) เป็นหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา แปลว่าทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก โดยทั่วไปหมายถึง สังขารทั้งปวง อันได้แก่ ขันธ์ 5 ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทุกข์ ในทางพระพุทธศาสนา การกำหนดทุกข์ถือเป็นกิจในอริยสัจ 4 ที่ชาวพุทธต้องทำเพื่อละและปล่อยวางในลำดับต่อไปในกิจทั้งสี่ในอริยสัจ อันได้แก่ รู้ทุกข์ เพื่อค้นหาสาเหตุในการดับทุกข์ (สมุทัย) แล้วจึงตั้งจุดมุ่งหมายในการดับทุกข์ (นิโรธ) และดำเนินตามเส้นทางสู่ความดับทุกข์ (มรรค) คือสละ ละ ปล่อยวาง ไม่ยึดติดในใจด้วยอำนาจกิเลส ทุกข์ จัดเป็นหนึ่งในชื่อเรียกที่เป็นไวพจน์ของขันธ์ซึ่งถูกใช้เป็นอย่างมากในพระไตรปิฎก.

ใหม่!!: กรรมและทุกข์ · ดูเพิ่มเติม »

ปัจจุบัน

ปัจจุบัน คือเวลาที่เหตุการณ์เป็นที่รับรู้โดยตรงและเป็นครั้งแรก ต่างจากการระลึกได้ (รับรู้มากกว่าหนึ่งครั้ง) หรือ การคาดหวัง (การคาดการณ์, สมมุติฐาน, ความไม่แน่นอน) ปัจจุบันเป็นช่วงเวลาระหว่างอดีตและอนาคต และอาจแปรเปลี่ยนไปจากชั่วขณะ ไปจนถึงหนึ่งวัน หรือนานกว่านั้น ในการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี "ปัจจุบัน" ระบุด้วยปีก่อน ค.ศ. 1950 ปัจจุบัน บางครั้งแทนด้วยระนาบเกินระนาบหนึ่งในปริภูมิ-เวลา เรียกง่าย ๆ ว่า "ขณะนี้" (now) แม้ว่าฟิสิกส์สมัยใหม่สาธิตว่าผู้สังเกตการณ์ไม่สามารถกำหนดระนาบเกินราบหนึ่งให้เด่นชัดในการเคลื่อนที่แบบสัมพัทธ์ได้ ปัจจุบันอาจถือว่าเป็นระยะเวลาชนิดหนึ่งJames, W. (1893).

ใหม่!!: กรรมและปัจจุบัน · ดูเพิ่มเติม »

นรก

แสดงนรก วาดโดย Herrad von Landsberg นรก (สันสกฤต: นรก; บาลี: นิรย; อาหรับ: นารฺ, ญะฮีม, ญะฮันนัม, สะก็อร; อังกฤษ hell) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น อิสลาม, คริสต์, พุทธและยูดาห์ อันเป็นสถานที่ตอบแทนความชั่วของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลก.

ใหม่!!: กรรมและนรก · ดูเพิ่มเติม »

โพชฌงค์ 7

งค์ หรือ โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ.

ใหม่!!: กรรมและโพชฌงค์ 7 · ดูเพิ่มเติม »

โมหะ

มหะ (Moha) แปลว่า ความหลง ความเขลา ความโง่ หมายถึงความไม่รู้ตามที่เป็นจริง เป็นกิเลสอย่างหนึ่งในบรรดากิเลสใหญ่ 3 อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งได้แก่อวิชชา นั่นเอง โมหะ เกิดจากความคิดเห็นที่ผิด จากการไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้ประจักษ์ในเรื่องนั้นๆ ให้ถ่องแท้ถี่ถ้วนก่อน เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เป็นเหตุให้ไม่รู้บุญไม่รู้บาป ไม่เชื่อบุญไม่เชื่อบาป ชักนำให้ไปทำความชั่วความไม่ดีต่างๆ เช่น ประมาท ทะเลาะวิวาท แก่งแย่งชิงดี อวดดี เกียจคร้าน บ้ากาม อกตัญญู เชื่อง่าย หูเบา โมหะ กำจัดได้ด้วยปัญญา คือใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นประจักษ์ในสิ่งนั้นๆ โมหะ ในคำไทยนำมาใช้ว่า โมโห ซึ่งมีความหมายเพี้ยนไปว่าโกรธ โมหะ เป็นอาการที่รู้ไม่เท่าทันถึงสภาวธรรมที่แท้จริงของอารมณ์ที่เข้ากระทบกับจิต ทำให้เกิดความวิปริต เห็นผิดไปจากสภาวธรรมที่แท้จริง ได้แก่ ความไม่รู้ในทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ทั้งสี.

ใหม่!!: กรรมและโมหะ · ดูเพิ่มเติม »

โลภะ

ลภะ แปลว่า ความโลภ ความอยากได้ เป็นเป็นกิเลสอย่างหนึ่งในบรรดากิเลสใหญ่ 3 อย่างคือ โลภะ โทสะ โมหะ โลภะ เกิดจากตัณหาคือความทะยานอยากได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้จิตหิวโหยอยากได้ เกิดความดิ้นรน อยู่ไม่เป็นสุข หากหยุดยั้งไม่ได้ก็จะเป็นต้นเหตุให้ดิ้นรนแสวงหาสิ่งที่อยากได้มาสนองความต้องการ หรือเมื่อไม่ได้โดยวิธีชอบธรรมก็นำให้ไปทำความชั่วความไม่ดีงามต่าง ๆ เช่น ลักขโมย ทุจริต คอรัปชั่น โกง ปล้น จนถึงฆ่าคนตาย โลภะ เป็นอันตรายแก่ธรรมทั้งปวง คือเป็นตัวทำลายศีลธรรม มโนธรรม สันติธรรม วัฒนธรรม สามัคคีธรรม ยุติธรรมและธรรมชาติ โลภะ ละได้ด้วยการให้ทาน การเสียสละ เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันในทางที่ชอบ ---- กลุ่มโลภะ ธรรมฝ่ายชั่วนี้มี 3 อย่าง คือ.

ใหม่!!: กรรมและโลภะ · ดูเพิ่มเติม »

โทสะ

ทสะ (dosa; Dvesha) แปลว่า ความโกรธ ความขัดเคือง ความไม่พอใจ เป็นกิเลสอย่างหนึ่งในบรรดากิเลสใหญ่ทั้ง 3 อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ โทสะ เกิดจากมานะคือความถือตัวถือตน ความรู้สึกว่าตัวเด่นกว่าเขา ตัวด้อยกว่าเขา หรือตัวเสมอกับเขา เมื่อถูกกระทบเข้าก็เกิดความไม่พอใจ เกิดโทสะขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วหากระงับไม่ได้ก็จะนำให้ทำความชั่วความไม่ดีต่างๆ เช่น ทะเลาะวิวาทกัน กลั่นแกล้งกัน ทำร้ายกัน ฆ่ากัน เป็นเหตุให้ตัวเองเดือดร้อน โลกก็เร่าร้อน ขาดสันติภาพ อยู่กันอย่างเดือดร้อน หวาดระแวงกันและกัน โทสะ กำจัดได้โดย เมตตา คือการมีความรักปรารถนาดีต่อกัน.

ใหม่!!: กรรมและโทสะ · ดูเพิ่มเติม »

เวทนา

วทนา เป็นนามธรรมอย่างหนึ่งมีการกล่าวถึงในพระพุทธศาสนา หมายถึง การเสวยอารมณ์, ความรู้สึก เวทนาขันธ์ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของขันธ์๕ (หรือ เบญจขันธ์ อันได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์) เวทนา สามารถจัดออกเป็นประเภทต่างๆ ได้หลายแบบ เช่น.

ใหม่!!: กรรมและเวทนา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กฏแห่งกรรมกรรม (ศาสนาพุทธ)กรรม (พุทธศาสนา)กรรมในพระพุทธศาสนากายกรรม (ศาสนาพุทธ)กายกรรม (พุทธศาสนา)กุศลกรรมกฎแห่งกรรมกตัตตากรรมมโนกรรมอกุศลกรรมครุกรรม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »