โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กรดคลอริก

ดัชนี กรดคลอริก

กรดคลอริก (Chloric acid) มีสูตรเคมีว่า HClO3 เป็นกรดออกโซ (กรดที่ประกอบด้วยธาตุออกซิเจน) ของคลอรีน และถือว่าเป็นสารประกอบเกลือคลอเรตตัวแรกในลำดับที่กำหนดไว้อย่างเป็นทางการ กรดคลอริกเป็นกรดแก่ มีค่าคงที่สมดุลของกรด (pKa) ประมาณ −1 และยังเป็นตัวรับอิเล็กตรอน (oxidant) อีกด้ว.

15 ความสัมพันธ์: กรัมกรดกรดซัลฟิวริกกรดไฮโดรคลอริกมิลลิลิตรสารประกอบสูตรเคมีออกซิเจนองศาเซลเซียสคลอรีนตัวออกซิไดซ์แบเรียมซัลเฟตโมลไฮโดรเจนไฮโดรเจนคลอไรด์

กรัม

กรัม (gram หรือ gramme) เป็นหน่วยพื้นฐานของมวลในระบบเมตริก (metric system) ซึ่งมีจุดกำเนิดจากประเทศฝรั่งเศส และต่อมาคือ ระบบหน่วยเซนติเมตร-กรัมที่สอง (centimetre-gram-second หรือ CGS) สัญลักษณ์คือ ก เป็นหน่วยของมวลมีค่าเท่ากับหนึ่งในพันกิโลกรัม (1×10−3 กก) คำนี้มีรากจากภาษากรีก/ลาติน grámma.

ใหม่!!: กรดคลอริกและกรัม · ดูเพิ่มเติม »

กรด

กรด (อังกฤษ: acid, มาจากภาษาละติน acidus/acēre หมายถึง "เปรี้ยว") เป็นสสารซึ่งทำปฏิกิริยากับเบส โดยทั่วไป กรดสามารถระบุได้ด้วยรสเปรี้ยว,สมบัติทำปฏิกิริยากับโลหะอย่างแคลเซียม และเบสอย่างโซเดียมคาร์บอเนต กรดที่ละลายน้ำมี pH น้อยกว่า 7 โดยที่กรดจะแรงขึ้นตามค่า pH ที่ลดลง และเปลี่ยนกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินเป็นแดง ตัวอย่างทั่วไปของกรด รวมไปถึง กรดน้ำส้ม (น้ำส้มสายชู), กรดซัลฟิวริก (ในแบตเตอรีรถยนต์), และกรดทาร์ทาริก (ในการทำขนม) ดังสามตัวอย่างข้างต้น กรดสามารถเป็นได้ทั้งสารละลาย ของเหลวหรือของแข็ง สำหรับแก๊ส อย่างเช่น ไฮโดรเจนคลอไรด์ ก็เป็นกรดได้เช่นกัน กรดแรงและกรดอ่อนเข้มข้นบางตัวมีฤทธิ์กัดกร่อน แต่มีข้อยกเว้น เช่น คาร์บอรีนและกรดบอริก นิยามกรดโดยทั่วไปมีสามนิยาม ได้แก่ นิยามอาร์เรเนียส นิยามเบรินสเตด-ลาวรี และนิยามลิวอิส นิยามอาร์เรเนียสกล่าววว่า กรดคือ สสารที่เพิ่มความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) ในสารละลาย นิยามเบรินสเตด-ลาวรีเป็นการขยายขึ้น คือ กรดเป็นสสารซึ่งสามารถทำหน้าที่ให้โปรตอน กรดส่วนมากที่พบในชีวิตประจำวันเป็นสารละลายในน้ำ หรือสามารถละลายได้ในน้ำ และสองนิยามนี้เกี่ยวเนื่องที่สุด สาเหตุที่ pH ของกรดน้อยกว่า 7 นั้น เป็นเพราะความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออนมากกว่า 10-7 โมลต่อลิตร เนื่องจาก pH นิยามเป็นลอการิทึมลบของความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไออน ดังนั้น กรดจึงมี pH น้อยกว่า 7 ตามนิยามเบรินสเตด-ลาวรี สารประกอบใดซึ่งสามารถให้โปรตอนง่ายสามารถพิจารณาได้ว่าเป็นกรด ตัวอย่างมีแอลกอฮอล์และเอมีน ซึ่งมีหมู่ O-H หรือ N-H ในทางเคมี นิยามกรดลิวอิสเป็นนิยามที่พบมากที่สุด กรดลิวอิสเป็นตัวรับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว ตัวอย่างกรดลิวอิส รวมไปถึงไอออนลบโลหะทั้งหมด และโมเลกุลอิเล็กตรอนน้อย เช่น โบรอนฟลูออไรด์ และอะลูมิเนียมไตรคลอไรด์ ไฮโดรเนียมไอออนเป็นกรดตามทั้งสามนิยามข้างต้น ที่น่าสนใจคือ แม้แอลกอฮอล์และเอมีนสามารถเป็นกรดเบรินเสตด-ลาวรีได้ตามที่อธิบายข้างต้น ทั้งสองยังทำหน้าที่เป็นเบสลิวอิสได้ เนื่องจากอะตอมออกซิเจนและไนโตรเจนมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว.

ใหม่!!: กรดคลอริกและกรด · ดูเพิ่มเติม »

กรดซัลฟิวริก

กรดกำมะถัน หรือ กรดซัลฟิวริก (sulfuric acid หรือ sulphuric acid) มีสูตรเคมีว่า H2SO 4 เป็นกรดแร่ (mineral acid) แก่ ละลายได้ในน้ำในทุกความเข้มข้น ค้นพบโดย จาเบียร์ เฮย์ยัน (Jabir Ibn Hayyan) นักเคมีชาวอาหรับ พบว่ากรดซัลฟิวริกมีประโยชน์มากมายและเป็นสารเคมีที่มีการผลิตมากที่สุด รองจากน้ำ ในปี..

ใหม่!!: กรดคลอริกและกรดซัลฟิวริก · ดูเพิ่มเติม »

กรดไฮโดรคลอริก

รเจนคลอไรด์โอเวน กรดไฮโดรคลอริก หรือ กรดเกลือ (hydrochloric acid) เป็นสารประกอบเคมีประเภทกรดละลายในน้ำ โดยเป็นสารละลายของไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) เป็นกรดแก่, เป็นส่วนประกอบหลักของกรดกระเพาะ (gastric acid) และใช้กันอย่างกว้างในอุตสาหกรรมเป็นของเหลวที่มีพลังการกัดกร่อนสูง กรดไฮโดรคลอริก หรือ มูเรียติกแอซิด ถูกค้นพบโดย "จาเบียร์ เฮย์ยัน" (Jabir ibn Hayyan) ราวปี ค.ศ. 1800 ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการผลิตสารประกอบอินทรีย์ เช่น วีนิลคลอไรด์ สำหรับผลิต PVC พลาสติก และ MDI/TDI (Toluene Diisocyanate) สำหรับผลิต พอลิยูลิเทน, (polyurethane) และใช้ในการผลิตขนาดเล็กเช่น การผลิต เจนลาติน (gelatin) ใช้ปรุงอาหาร, และ ใช้ฟอกหนัง กำลังผลิตในปัจจุบันประมาณ 20 ล้านเมตริกตัน ต่อปี (20 Mt/a) ของก๊าซ HCl.

ใหม่!!: กรดคลอริกและกรดไฮโดรคลอริก · ดูเพิ่มเติม »

มิลลิลิตร

มิลลิลิตร เป็นหน่วยวัดปริมาตร มีขนาดเท่ากับ 0.001 ลิตร 1 มิลลิลิตร มีค่าเท่ากั.

ใหม่!!: กรดคลอริกและมิลลิลิตร · ดูเพิ่มเติม »

สารประกอบ

น้ำ ถือเป็นสารประกอบทางเคมีอย่างหนึ่ง สารประกอบ เป็นสารเคมีที่เกิดจากธาตุเคมีตั้งแต่สองตัวขึ้นไปมารวมตัวกันโดย พันธะเคมีด้วยอัตราส่วนของส่วนประกอบที่แน่นอน ตัวอย่าง เช่น ไดไฮโรเจนโมน็อกไซด์ หรือ น้ำ มีสูตรเคมีคือ H2Oซึ่งเป็นสารที่ประกอบด้วย ไฮโดรเจน 2 อะตอม และ ออกซิเจน 1 อะตอม ในสารประกอบอัตราส่วนของส่วนประกอบจะต้องคงที่และตัวชี้วัดความเป็นสารประกอบที่สำคัญคือ คุณสมบัติทางกายภาพ ซึ่งจะแตกต่างจาก ของผสม (mixture) หรือ อัลลอย (alloy) เช่น ทองเหลือง (brass) ซูเปอร์คอนดักเตอร์ YBCO, สารกึ่งตัวนำ อะลูมิเนียม แกลเลียม อาร์เซไนด์ (aluminium gallium arsenide) หรือ ช็อคโกแลต (chocolate) เพราะเราสามารถกำหนดอัตราส่วนของ ของผสมได้ ตัวกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของสารประกอบที่สำคัญคือ สูตรเคมี (chemical formula) ซึ่งจะแสดงอัตราส่วนของอะตอมในสารประกอบนั้น ๆ และจำนวนอะตอมในโมเลกุลเดียว เช่น สูตรเคมีของ อีทีน (ethene) จะเป็นC2H4 ไม่ใช่ CH2) สูตรไม่ได้ระบุว่าสารประกอบประกอบด้วยโมเลกุล เช่น โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง, NaCl) เป็น สารประกอบไอออนิก (ionic compound).

ใหม่!!: กรดคลอริกและสารประกอบ · ดูเพิ่มเติม »

สูตรเคมี

ูตรเคมี (chemical formula) เป็นวิธีรวบรัดที่ใช้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับอะตอมที่อยู่ในสารประกอบเคมีนั้นๆ สูตรเคมีจะแสดงเอกลักษณ์ของธาตุเคมีต่างๆ โดยใช้สัญลักษณ์ธาตุ และจำนวนอะตอมของธาตุนั้นๆที่มีอยู่ในหนึ่งโมเลกุลของสารประกอบ จำนวนอะตอมถ้ามีมากกว่าหนึ่งจะแสดงเป็นตัวห้อย (subscript) คือส่วนล่างของบรรทัด ที่อยู่ด้านหลังสัญลักษณ์ธาตุ สำหรับสารประกอบที่ไม่เป็นโมเลกุล ตัวห้อยจะแสดงเป็นอัตราส่วนของธาตุในสูตรเอมพิริคัล (empirical formula) สูตรเคมีที่ใช้สำหรับสารประกอบที่เป็นกลุ่มซีรีส์ซึ่งมีความแตกต่างกันที่ค่าคงที่ค่าหนึ่ง เราเรียกว่า สูตรทั่วไป และกลุ่มซีรี่เราเรียกว่า โฮโมโลกัส ซีรีส์ (homologous series) และสมาชิกในกลุ่มเราเรียกว่า โฮโมลอกส์ (homologs).

ใหม่!!: กรดคลอริกและสูตรเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิเจน

ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพื.

ใหม่!!: กรดคลอริกและออกซิเจน · ดูเพิ่มเติม »

องศาเซลเซียส

องศาเซลเซียส (สัญลักษณ์ °C) หรือที่เคยเรียกว่า องศาเซนติเกรด (degree centigrade) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหน่วยหนึ่งในระบบเอสไอ กำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำคือ 0 °C และจุดเดือดคือ 100 °C โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่แอนเดอร์ เซลเซียส ผู้ซึ่งสร้างระบบใกล้เคียงกับปัจจุบัน ในปัจจุบันองศาเซลเซียสใช้กับแพร่หลายทั่วโลกในชีวิตประจำวัน จะยกเว้นก็มีสหรัฐอเมริกาและประเทศจาไมกาเท่านั้นที่นิยมใช้หน่วยองศาฟาเรนไฮต์ แต่ในประเทศดังกล่าว องศาเซลเซียสและเคลวินก็ใช้มากในด้านวิทยาศาสตร.

ใหม่!!: กรดคลอริกและองศาเซลเซียส · ดูเพิ่มเติม »

คลอรีน

ลอรีน (Chlorine) (จากภาษากรีกว่า Chloros แปลว่าสี "เขียวอ่อน") เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 17 และสัญลักษณ์ Cl เป็นแฮโลเจน พบในตารางธาตุ ในกลุ่ม 17 เป็นส่วนของเกลือทะเลและสารประกอบอื่น ๆ ปรากฏมากในธรรมชาติ และจำเป็นต่อสิ่งมีชวิตส่วนใหญ่ รวมถึงมนุษย์ด้วย ในรูปของก๊าซ คลอรีนมีสีเขียวอมเหลือง มีน้ำหนักมากกว่าอากาศ 2.5 เท่า มีกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง และเป็นพิษอย่างร้ายแรง เป็นตัวออกซิไดซ์ ฟอกขาว และฆ่าเชื้อได้เป็นอย่างดี.

ใหม่!!: กรดคลอริกและคลอรีน · ดูเพิ่มเติม »

ตัวออกซิไดซ์

ตัวออกซิไดซ์ (oxidizing agent) ในสาขาเคมี มีความหมายสองอย่าง ความหมายแรกเป็นสายพันธ์เคมีชนิดหนึ่งที่แยกอิเล็กตรอนออกจากสายพันธ์เคมีอีกชนิดหนึ่ง มันเป็นส่วนประกอบหนึ่งในปฏิกิริยาลดการออกซิไดซ์ (ปฏิกิริยารีดอกซ์) (oxidation-reduction (redox) reaction) อีกความหมายหนึ่ง ตัวออกซิไดซ์เป็นสายพันธุ์เคมีชนิดหนึ่งที่ถ่ายโอนอะตอมที่มีกระแสไฟฟ้าลบ ปกติก็คือออกซิเจนไปให้กับสารตั้งต้นชนิดหนึ่ง การสันดาป การระเบิดจำนวนมาก และปฏิกิริยาแบบรีดอกซ์อินทรีย์ (organic redox reaction) เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาถ่ายโอนอะตอม พลังงานในสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นจากการถ่ายเทอิเล็กตรอนจากตัวรับอิเล็กตรอนที่เลวไปสู่ตัวรับอิเล็กตรอนที่ดีที่สุด และปล่อยพลังงานออกมา ที่นำไปใช้ในปฏิกิริยาต่าง ๆ ได้.

ใหม่!!: กรดคลอริกและตัวออกซิไดซ์ · ดูเพิ่มเติม »

แบเรียมซัลเฟต

'''แบเรียมซัลเฟต'''ชนิดแกลนูล การถ่ายภาพทางการแพทย์โดยแสงเอกซ์ '''แบไรต์'''ในรูปผลึก แบเรียมซัลเฟต (Barium sulfate หรือ barium sulphate) เป็นสารประกอบไอออนิกใช้ในทางการแพทย์ เป็นสารทึบแสงหรือเรดิโอคอนทราสต์ (radiocontrast) สำหรับแสงเอกซ์ (X-ray) เพื่อการถ่ายภาพทางการแพทย์ สำหรับการวินิจฉัยโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคในช่องท้องและทางเดินอาหาร (Gastrointestinal tract) ซึ่งจะรู้จักกันในชื่อที่คุ้นเคยว่าอาหารแบเรียม (Barium meal) และนำเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยโดยการรับประทานหรือสวนทางทวารหนัก (enema) แบเรียมซัลเฟตจะอยู่ในรูปซัสเพนชัน (suspension) ของผงละเอียดที่กระจายตัวในสารละลายน้ำ ถึงแม้ว่าแบเรียมจะเป็นโลหะหนักที่สารประกอบของมันเมื่อละลายน้ำถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเป็นพิษสูง แต่เนื่องจากแบเรียมซัลเฟตละลายน้ำได้น้อยมากคนไข้จึงไม่ได้รับอันตรายจากพิษของมัน.

ใหม่!!: กรดคลอริกและแบเรียมซัลเฟต · ดูเพิ่มเติม »

โมล

มล (สัญลักษณ์: mol) เป็นหน่วยฐานสำหรับวัดปริมาณสารในหน่วยเอสไอ เป็นปริมาณที่ไม่มีมิติ หนึ่งโมลคือปริมาณของสารที่มีหน่วยย่อยเท่ากับจำนวนอะตอมของคาร์บอน-12 ที่มีมวล 12 กรัม เมื่ออะตอมของคาร์บอน-12 ไม่ถูกยึดและอยู่นิ่งในสถานะฐาน จำนวนอะตอมดังกล่าวเรียกว่าเลขอาโวกาโดรซึ่งมีค่าประมาณ 6.0221415 x 1023 เนื่องด้วยความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยมวลอะตอมกับเลขอาโวกาโดร วิธีในทางปฏิบัติที่จะระบุปริมาณสารหนึ่งโมลคือใช้มวลของสารเท่ากับน้ำหนักอะตอมของสารนั้น เป็นหน่วยกรัม ยกตัวอย่างเช่น เหล็กมีน้ำหนักอะตอมเป็น 55.845 ดังนั้นหนึ่งโมลของเหล็กจะมีมวล 55.845 กรัม หมวดหมู่:หน่วยเอสไอ หมวดหมู่:หน่วยฐานเอสไอ.

ใหม่!!: กรดคลอริกและโมล · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรเจน

รเจน (Hydrogen; hydrogenium ไฮโดรเจเนียม) เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 1 สัญลักษณ์ธาตุคือ H มีน้ำหนักอะตอมเฉลี่ย 1.00794 u (1.007825 u สำหรับไฮโดรเจน-1) ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่เบาที่สุดและพบมากที่สุดในเอกภพ ซึ่งคิดเป็นมวลธาตุเคมีประมาณร้อยละ 75 ของเอกภพ ดาวฤกษ์ในลำดับหลักส่วนใหญ่ประกอบด้วยไฮโดรเจนในสถานะพลาสมา ธาตุไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหาได้ค่อนข้างยากบนโลก ไอโซโทปที่พบมากที่สุดของไฮโดรเจน คือ โปรเทียม (ชื่อพบใช้น้อย สัญลักษณ์ 1H) ซึ่งมีโปรตอนหนึ่งตัวแต่ไม่มีนิวตรอน ในสารประกอบไอออนิก โปรเทียมสามารถรับประจุลบ (แอนไอออนซึ่งมีชื่อว่า ไฮไดรด์ และเขียนสัญลักษณ์ได้เป็น H-) หรือกลายเป็นสปีซีประจุบวก H+ ก็ได้ แคตไอออนหลังนี้เสมือนว่ามีเพียงโปรตอนหนึ่งตัวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง แคตไอออนไฮโดรเจนในสารประกอบไอออนิกเกิดขึ้นเป็นสปีซีที่ซับซ้อนกว่าเสมอ ไฮโดรเจนเกิดเป็นสารประกอบกับธาตุส่วนใหญ่และพบในน้ำและสารประกอบอินทรีย์ส่วนมาก ไฮโดรเจนเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาเคมีกรด-เบส โดยมีหลายปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนโปรตอนระหว่างโมเลกุลละลายได้ เพราะเป็นอะตอมที่เรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทราบ อะตอมไฮโดรเจนจึงได้ใช้ในทางทฤษฎี ตัวอย่างเช่น เนื่องจากเป็นอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าเพียงชนิดเดียวที่มีผลเฉลยเชิงวิเคราะห์ของสมการชเรอดิงเงอร์ การศึกษาการพลังงานและพันธะของอะตอมไฮโดรเจนได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม มีการสังเคราะห์แก๊สไฮโดรเจนขึ้นเป็นครั้งแรกในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการผสมโลหะกับกรดแก่ ระหว่าง..

ใหม่!!: กรดคลอริกและไฮโดรเจน · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรเจนคลอไรด์

Submit to get this template or go to:Template:Chembox.

ใหม่!!: กรดคลอริกและไฮโดรเจนคลอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Chloric acidHClO3

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »