โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขต

ดัชนี กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขต

right กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขต (territorial dispute) เป็นการที่องค์กรซึ่งเป็นรัฐชาติตั้งแต่สององค์กรหรือกว่านั้นขัดแย้งกันเรื่องการครอบครองอาณาเขต หรือเป็นความขัดแย้งจากการที่รัฐเกิดใหม่หรือผู้เข้ายึดครองอ้างว่า ดินแดนใด ๆ เป็นอาณาเขตของตน เพราะตนได้ดินแดนนั้นมาจากรัฐอื่น และตนไม่รับรองการมีอยู่ของรัฐอื่นนั้นอีก (รัฐอื่นนั้นกลายเป็นของตนแล้ว) กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตมักเกี่ยวข้องกับการครอบครองทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ไร่สวนเรือกนาอันอุดมสมบูรณ์ หรือขุมน้ำมัน และอาจถูกขับเคลื่อนด้วยอุดมคติทางการเมือง วัฒนธรม ศาสนา หรือชาตินิยม ทั้งมักเป็นผลมาจากข้อความเคลือบคลุมในสนธิสัญญากำหนดอาณาเขตเดิม กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตยังเป็นสาเหตุหลักของสงครามและการก่อการร้าย เพราะรัฐทั้งหลายมักพยายามจะอ้างอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนใด ๆ โดยเข้ารุกรานดินแดนนั้น ขณะที่องค์กรซึ่งยังไม่เป็นรัฐชาติก็มักพยายามก่อการร้ายเพื่อสร้างอิทธิพลเหนือกิจกรรมทางการเมือง อย่างไรก็ดี กฎหมายระหว่างประเทศไม่สนับสนุนให้รัฐใช้กำลังผนึกดินแดนรัฐอื่นเข้าสู่รัฐตน เช่น กฎบัตรสหประชาชาติระบุว่า "ในการสัมพันธ์ระหว่างประเทศของตนนั้น ให้สมาชิกทั้งหลายงดเว้นจากการคุกคามหรือใช้กำลังต่อบูรณภาพแห่งอาณาจักรหรือต่อความเป็นเอกราชทางการเมืองของรัฐใด ๆ หรือด้วยอาการใดที่ไม่ชอบด้วยวัตถุประสงค์ของสหประชาชาติ" "All Members shall refrain in their international relations from the threat or use of force against the territorial integrity or political independence of any state, or in any other manner inconsistent with the Purposes of the United Nations." บางครั้งเมื่ออาณาเขตไม่แน่ชัด คู่พิพาทอาจกำหนดเส้นควบคุม (line of control) ไว้เป็นเขตแดนระหว่างประเทศในทางนิตินัย เช่น กรณีอักไสชิน ช่องแคบไต้หวัน และกัศมีร์ แต่การกำหนดเส้นควบคุมนี้ แม้กระทำกันชัดเจนมั่นคง ก็ไม่มีผลเป็นการตกลงเขตแดนระหว่างประเทศโดยชอบธรรม ในกรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตนั้น ยังมีศัพท์บางศัพท์ คือ.

5 ความสัมพันธ์: ช่องแคบไต้หวันรัฐชาติอักไสชินดินแดนแทรกและดินแดนส่วนแยกเอกราชไต้หวัน

ช่องแคบไต้หวัน

องแคบไต้หวัน (Taiwan Strait) หรือช่องแคบฟอร์โมซา (Formosa Strait) เป็นช่องแคบระหว่างมณฑลฝูเจี้ยนของประเทศจีนกับเกาะไต้หวัน เชื่อมทะเลจีนตะวันออกกับทะเลจีนใต้ มีความกว้างราว 180 กม.

ใหม่!!: กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตและช่องแคบไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐชาติ

การทำสัตยาบันในสนธิสัญญามึนสเตอร์ นำไปสู่สนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของมโนทัศน์ "รัฐชาติ" รัฐชาติ (nation state) หรือเดิมเรียก รัฐประชาชาติ (national state) เป็นรูปแบบหนึ่งอันแน่นอนของหน่วยการปกครองระดับประเทศในปัจจุบัน เป็นมโนทัศน์ทางรัฐศาสตร์ที่กำหนดว่าประเทศนั้นมีองค์ประกอบสามประการ คือ มีประชากรแน่นอน มีดินแดนแน่นอน และมีรัฐบาลหรือมีอำนาจอธิปัตย์แน่นอนเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นมโนทัศน์ที่จำแนกประเทศในอดีตออกจากประเทศในปัจจุบัน เนื่องจากในอดีตนั้นมโนทัศน์เช่นนี้หามีความแน่นอนไม่ อาทิ สยามเดิมมิได้มีอาณาเขตแน่นอน ขยายออกหรือหดเข้าได้ตามอำนาจของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล กับทั้งประชากรก็ไม่แน่นอน ในยามชนะสงครามมักมีการอพยพเทครัวชนชาติอื่นเข้ามาในแว่นแคว้นของตัว เป็นต้น เนื่องจากความหลากความหมายของคำ "รัฐ" เช่น รัฐในสหรัฐอเมริกาที่มีระดับเป็นหน่วยการปกครองย่อย ๆ จึงมีการประดิษฐ์คำ "รัฐชาติ" ขึ้นให้หมายถึงประเทศที่เป็นหน่วยการปกครองใหญ่ดังมีองค์ประกอบข้างต้นเท่านั้น หมวดหมู่:รัฐศาสตร์ หมวดหมู่:รัฐ.

ใหม่!!: กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตและรัฐชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อักไสชิน

แผนที่แสดงอาณาเขตของอักไสชิน (สีแดง) อักไสชิน (Aksaichin;; अक्साई चिन, อักสาอี จิน; ภาษาอูรดู: اکسائی چن; اقصای چین) เป็นที่ราบสูงกว้างใหญ่ในลาดัก รัฐชัมมูและกัษมีระ ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาคุนหลุนของจีนกับเทือกเขาคาราโครัมทางเหนือของอินเดีย พื้นที่เป็นหินสีขาวขนาดใหญ่ ลาดชัน ขรุขระ แห้งแล้ง มีประชากรอยู่น้อยมาก เมื่อจีนยึดครองทิเบตมาอยู่ในการดูแลได้ใน..

ใหม่!!: กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตและอักไสชิน · ดูเพิ่มเติม »

ดินแดนแทรกและดินแดนส่วนแยก

ดินแดนแทรก (enclave) หมายถึง ส่วนใด ๆ ของรัฐที่ถูกดินแดนของรัฐอื่นล้อมไว้ทั้งหมด ดินแดนส่วนแยก (exclave) คือ ส่วนของรัฐที่ถูกแยกทางภูมิศาสตร์จากส่วนหลักโดยดินแดนโดยรอบ ดินแดนส่วนแยกหลายแห่งยังเป็นดินแดนแทรกด้วย บางทีคำว่า ดินแดนแทรก ใช้อย่างไม่เหมาะสมหมายความถึงดินแดนที่ถูกรัฐอื่นล้อมไว้บางส่วน ตัวอย่างประเทศที่เป็นดินแดนแทรก คือ ซานมารีโนและเลโซโท ตัวอย่างดินแดนส่วนแยกมีสาธารณรัฐปกครองตนเองนาคีชีวันและกัมปีโอเนดีตาเลีย (Campione d'Italia) ซึ่งกัมปีโอเนดีตาเลียยังเป็นดินแดนแทรกด้วย เกือบดินแดนแทรก (pene‑enclave) คือ ส่วนใด ๆ ของรัฐซึ่งมีเขตแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่นแต่ไม่ถูกรัฐอื่นหรือน่านน้ำอาณาเขตของรัฐอื่นล้อมไว้ทั้งหมด เกือบดินแดนส่วนแยก (pene‑exclave) เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐที่ถูกแยกทางภูมิศาสตร์จากส่วนหลักโดยพรมแดนทางบกกับอาณาเขตต่างด้าวแต่ไม่ถูกอาณาเขตหรือน่านน้ำอาณาเขตต่างด้าวล้อมไว้ทั้งหมด ตัวอย่างประเทศเกือบดินแดนแทรก เช่น โปรตุเกส, แคนาดา ตัวอย่างเกือบดินแดนส่วนแยก เช่น เฟรนช์เกียนา, มณฑลคาลินินกราด, รัฐอะแลสกา ซึ่งรัฐอะแลสกายังเป็นเกือบดินแดนแทรกด้วย คำว่า เขตเข้าไม่ถึง (inaccessible district) ในที่นี้ เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ถูกแยกจากส่วนหลักอย่างสมบูรณ์โดยดินแดนต่างด้าว แต่สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายเฉพาะโดยผ่านดินแดนต่างด้าว หมวดหมู่:ดินแดนแทรกและดินแดนส่วนแยก.

ใหม่!!: กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตและดินแดนแทรกและดินแดนส่วนแยก · ดูเพิ่มเติม »

เอกราชไต้หวัน

thumb เอกราชไต้หวัน (Taiwanese independence) เป็นความเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อเรียกร้องเอกราชให้แก่สาธารณรัฐจีน (Republic of China) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า ไต้หวัน มีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเป็นการสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นเป็นสาธารณรัฐไต้หวัน (Republic of Taiwan) อย่างเป็นทางการ กับทั้งเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่เอกลักษณ์ของชาติไต้หวัน บอกปัดการผนึกไต้หวันเข้ากับสาธารณรัฐประชาชนจีนหรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า ประเทศจีน ทั้งยังปฏิเสธแนวคิดหนึ่งประเทศ สองระบบ (one country, two systems) และความเป็นจีน รวมถึงเรียกให้นานาประเทศรับรองไต้หวันเป็นรัฐเอกราช ปัจจุบัน มีองค์การระหว่างประเทศเพียงแห่งเดียวที่รับรองเอกราชของไต้หวันอย่างเป็นทางการ คือ องค์การชาติและประชาชนซึ่งไร้ผู้แทน (Unrepresented Nations and Peoples Organization) และสิ่งที่น่าจะเป็นความสำเร็จเพียงหนึ่งเดียวอันเนื่องมาจากความเคลื่อนไหวนี้ คือ การได้มาซึ่งข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 2758 อันว่าด้วยสถานะทางการเมืองของไต้หวัน ในไต้หวันเอง ความเคลื่อนไหวข้างต้นได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรฟั่นลวี่ (Pan-Green Coalition) แต่ถูกพันธมิตรฟั่นหลัน (Pan-Blue Coalition) ต่อต้าน เพราะกลุ่มหลังนี้ประสงค์จะคงไว้ซึ่งสถานะเดิมของสาธารณรัฐจีนตามที่ได้รับฉันทามติเมื่อ ค.ศ. 1992 แม้เป็นสถานะที่ค่อนข้างเคลือบคลุมก็ตาม หรือกลุ่มหลังนี้อาจต้องการให้ไต้หวันหลุดพ้นจากประเทศจีนอย่างช้า ๆ เพราะที่ผ่านมา ประเทศจีนอ้างว่ามีเอกราชเหนือไต้หวันทั้งยังอาศัยการคุกคามทางทหารเสมอ กลุ่มนี้จึงเห็นว่า การประกาศเอกราชเสียทีเดียวอาจนำไปสู่การประเชิญหน้าทางการยุทธระหว่างกองทัพสาธารณรัฐจีนกับกองทัพสาธารณรัฐประชาชนจีน และอาจเอื้ออำนวยให้ประเทศภายนอก เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น สอดเข้าเกี่ยวข้องมากขึ้น การใช้คำ "เอกราช" สำหรับไต้หวันนั้นอาจเป็นที่คลุมเครือ เป็นต้นว่า เมื่อผู้สนับสนุนความเคลื่อนไหวนี้กล่าวว่า เห็นชอบกับเอกราชไต้หวัน อาจหมายความว่า บุคคลเหล่านี้เห็นชอบกับความคิดให้สถาปนาสาธารณรัฐไต้หวันอย่างเป็นทางการ หรืออาจหมายความว่า บุคคลเหล่านี้เห็นว่า ปัจจุบัน ไต้หวันเป็นเอกราชอยู่แล้ว แต่สามารถเป็นไวพจน์ของสาธารณรัฐจีนได้ ซึ่งนับเป็นการบอกปัดการอ้างสิทธิของประเทศจีนโดยปริยาย ก็ได้ ตามประวัติศาสตร์แล้ว ในระหว่าง..

ใหม่!!: กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตและเอกราชไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Territorial disputeกรณีพิพาทเรื่องดินแดน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »