โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพ

ดัชนี กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพ

นื้อหาของข้อตกลงลับ (เป็นภาษาเยอรมัน) กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพ (Molotov–Ribbentrop Pact) เป็นสนธิสัญญาที่ได้ชื่อตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของโซเวียต วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของนาซีเยอรมนี โยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ โดยมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า กติกาสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนีกับสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (German–Soviet Non-aggression Pact) และได้รับการลงนามในกรุงมอสโก เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 24 สิงหาคม 1939 (แต่ในกติกาสัญญาระบุเป็นวันที่ 23 สิงหาคม)Blank Pages by G.C.Malcher ISBN 1-897984-00-6 Page 7 ความตกลงดังล่าวเป็นการประกาศวางตัวเป็นกลางหากภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกโจมตีโดยประเทศที่สาม ภาคีผู้ลงนามทั้งสองสัญญาจะไม่เข้าร่วมกลุ่มกับอำนาจอื่นซึ่ง "พุ่งเป้าหมายไปยังคู่เจรจาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยตรงหรือโดยอ้อม" กติกาสัญญาดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในหลายชื่อด้วยกัน ซึ่งรวมไปถึง กติกาสัญญานาซี–โซเวียต (Nazi–Soviet Pact), กติกาสัญญาฮิตเลอร์–สตาลิน, กติกาสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนี–โซเวียต หรือบางครั้งก็เรียกว่า พันธมิตรนาซี–โซเวียตBenjamin B. Fischer, "", Studies in Intelligences, Winter 1999–2000, last accessed on 10 December 2005 กติกาสัญญามีผลจนถึงวันที่ 22 มิถุนายน 1941 เมื่อเยอรมนีเริ่มปฏิบัติการบาร์บารอสซา นอกเหนือจากการกำหนดเงื่อนไขในการไม่รุกรานระหว่างกันแล้ว กติกาสัญญาดังกล่าวยังรวมไปถึงข้อตกลงลับ ซึ่งแบ่งยุโรปตะวันออกให้อยู่ภายใต้เขตอิทธิพลของเยอรมนีและโซเวียต เพื่อให้มีการจัดระเบียบทางดินแดนและทางการเมืองในพื้นที่ดังกล่าวใหม่ หลังจากนั้น เยอรมนีและสหภาพโซเวียตได้ร่วมกันบุกครองโปแลนด์ ตามด้วยการผนวกเอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนียและดินแดนทางตอนเหนือของโรมาเนียเข้าไปอยู่ในเขตอิทธิพลของสหภาพโซเวียต รวมไปถึงการผนวกดินแดนทางตะวันออกของฟินแลนด์ หลังจากความพยายามรุกรานของสหภาพโซเวียตในสงครามฤดูหนาว ภาคผนวกลับดังกล่าวถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ และเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดสงครามแห่งการรุกราน.

12 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2548การบุกครองโปแลนด์มอสโกวยาเชสลาฟ โมโลตอฟสงครามฤดูหนาวปฏิบัติการบาร์บารอสซาประเทศฟินแลนด์ประเทศลัตเวียประเทศลิทัวเนียประเทศโรมาเนียประเทศเอสโตเนียโยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ

พ.ศ. 2548

ทธศักราช 2548 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2005 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรโกเรียน และเป็น.

ใหม่!!: กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพและพ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองโปแลนด์

การบุกครองโปแลนด์ หรือเรียกการทัพกันยายน (Kampania wrześniowa) หรือสงครามตั้งรับปี 1939 (Wojna obronna 1939 roku) ในโปแลนด์ และ การทัพโปแลนด์ (Polenfeldzug) หรือ ฟัลล์ไวสส์ (Fall Weiss) ในเยอรมนี เป็นการบุกครองโปแลนด์ร่วมโดยเยอรมนี สหภาพโซเวียตและสโลวาเกียซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป การบุกครองของเยอรมนีเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 หนึ่งสัปดาห์ให้หลังการลงนามสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ขณะที่การบุกครองของโซเวียตเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 1939 หลังความตกลงโมโลตอฟ-โตโก ซึ่งยุติความเป็นปรปักษ์ระหว่างสหภาพโซเวียตและญี่ปุ่นในภาคตะวันออกเมื่อวันที่ 16 กันยายน การทัพดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมด้วยเยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแยกและผนวกโปแลนด์ทั้งประเทศตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาเขตแดนเยอรมนี–โซเวียต กำลังเยอรมนีบุกครองโปแลนด์จากทิศเหนือ ใต้ และตะวันตกในเช้าหลังเกิดกรณีกลิวิซ ขณะที่เวร์มัคท์รุกคืบ กำลังโปแลนด์ถอนจากฐานปฏิบัติการส่วนหน้าติดกับพรมแดนโปแลนด์–เยอรมนีไปแนวป้องกันที่จัดตั้งดีกว่าทางตะวันออก หลังโปแลนด์แพ้ยุทธการที่บึซราเมื่อกลางเดือนกันยายน ทำให้เยอรมนีได้เปรียบแน่นอน จากนั้นกำลังโปแลนด์ถอนตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ที่ซึ่งพวกเขาเตรียมการป้องกันระยะยาวที่หัวสะพานโรมาเนียและคอยการสนับสนุนและการช่วยเหลือที่คาดจากฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ทั้งสองประเทศมีสนธิสัญญากับโปแลนด์และประกาศสงครามกับเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 กันยายน แต่สุดท้ายแล้วทั้งสองช่วยเหลือโปแลนด์แต่เพียงเล็กน้อย การบุกครองโปแลนด์ตะวันออกของกองทัพแดงโซเวียตเมื่อวันที่ 17 กันยายนตามพิธีสารลับในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ทำให้แผนการตั้งรับของโปแลนด์ต้องเลิกไป เมื่อเผชิญกับแนวรบที่สอง รัฐบาลโปแลนด์สรุปว่าการป้องกันหัวสะพานโรมาเนียเป็นไปไม่ได้อีกต่อไปและสั่งอพยพกำลังพลฉุกเฉินทั้งหมดไปยังประเทศโรมาเนียที่เป็นกลาง วันที่ 6 ตุลาคม หลังโปแลนด์ปราชัยที่ยุทธการที่ค็อก (Kock) กำลังเยอรมนีและโซเวียตก็ควบคุมโปแลนด์อย่างสมบูรณ์ ความสำเร็จของการบุกครองนี้เป็นจุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง แม้โปแลนด์จะไม่เคยยอมจำนนอย่างเป็นทางการก็ตาม วันที่ 8 ตุลาคม หลังสมัยการบริหารทหารทหารช่วงต้น เยอรมนีได้ผนวกโปแลนด์ตะวันตกและอดีตนครเสรีดันซิกโดยตรง และกำหนดให้ดินแดนส่วนที่เหลืออยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลทั่วไป (General Government) สหภาพโซเวียตรวมพื้นที่ที่เพิ่งได้มาเข้ากับสาธารณรัฐองค์ประกอบเบลารุสและยูเครนของตน และเริ่มการรณรงค์ปลูกฝังความเป็นโซเวียตทันที หลังการบุกครองดังกล่าว องค์การขัดขืนใต้ดินหลายกลุ่มได้ตั้งรัฐใต้ดินโปแลนด์ขึ้นในดินแดนของอดีตรัฐโปแลนด์ ในเวลาเดียวกับที่ทหารลี้ภัยจำนวนมากซึ่งสามารถหลบหนีออกนอกประเทศได้ก็เข้าร่วมกับกองทัพโปแลนด์ในทิศตะวันตก ซึ่งเป็นกองทัพที่ภักดีต่อรัฐบาลพลัดถิ่นโปแลน.

ใหม่!!: กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพและการบุกครองโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

มอสโก

มอสโก (Moscow; Москва́, มะสฺกฺวา) เป็นเมืองหลวงของประเทศรัสเซีย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน การศึกษา และ การเดินทางของประเทศ โดยตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำมัสกวา ซึ่งในตัวเมืองมีประชากรอยู่อาศัยกว่า 1 ใน 10 ของประเทศ ทำให้เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในยุโรป และเมื่อสมัยครั้งที่สหภาพโซเวียตยังไม่ล่มสลาย กรุงมอสโกก็ยังเป็นเมืองหลวงของสหภาพโซเวียตอีกด้วย ในปี..

ใหม่!!: กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพและมอสโก · ดูเพิ่มเติม »

วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ

วยาเชสลาฟ มีฮาอิลโลวิช โมโลตอฟ (Вячесла́в Миха́йлович Мо́лотов; 9 มีนาคม 1890 – 8 พฤษจิกายน 1986) เป็นนักการเมืองและนักการทูตโซเวียตในสมัยของโจเซฟ สตาลิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในช่วงสงครามโลกครั่งที่สองและในช่วงปี 1957 ก็ถูกไล่ออกจากประธานคณะกรรมาธิการกลางด้วยนีกีตา ครุชชอฟ และไม่เล่นการเมืองอีกเลยจนเขาเสียชีวิตลง.

ใหม่!!: กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพและวยาเชสลาฟ โมโลตอฟ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามฤดูหนาว

ทหารสกีของฟินแลนด์ในสงครามฤดูหนาว ทิศทางการโจมตีของกองทัพแดงและการวางกำลังหลักของสองฝ่าย สงครามฤดูหนาว (อังกฤษ: Winter War, ฟินแลนด์: talvisota, สวีเดน: vinterkriget, รัสเซีย: Советско-финская война, และอาจรู้จักกันในชื่อ สงครามโซเวียต-ฟินแลนด์ หรือ สงครามรัสเซีย-ฟินแลนด์) เป็นสงครามระหว่างสหภาพโซเวียตกับประเทศฟินแลนด์ เกิดในช่วงต้น ๆ ของสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อฟินแลนด์ปฏิเสธไม่ยอมยกดินแดนบางส่วนและไม่ยอมให้โซเวียตสร้างฐานทัพเรือในดินแดนของตน การโจมตีเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) เมื่อทหารในกองทัพแดงราวหนึ่งล้านคนบุกเข้าจู่โจมตามแนวรบหลายจุดบริเวณพรมแดนระหว่างสหภาพโซเวียตกับฟินแลนด์ กองทัพฟินแลนด์บัญชาการโดยจอมพลมานเนอร์ไฮม์ สามารถต่อต้านการโจมตีได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ว่าจะมีกำลังพลน้อยกว่าฝ่ายโซเวียตมาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ทหารรัสเซียเข้าไปในฟินแลนด์ได้สำเร็จ หลังใช้ปืนใหญ่ระดมโจมตีแนวป้องกันตามคอคอดคาเรเลียซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของฟินแลนด์รวมทั้งการโจมตีทางอากาศตามเมืองสำคัญต่างๆ สงครามสิ้นสุดลงในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) เมื่อมีการลงนามในสัญญาสันติภาพมอสโก โดยฟินแลนด์ยอมยกดินแดนบางส่วนให้โซเวียตและยอมให้โซเวียตก่อสร้างฐานทัพเรือบนคาบสมุทรฮังโก การรุกรานฟินแลนด์ในครั้งนี้ทำให้สหภาพโซเวียตถูกขับออกจากสันนิบาตชาติ เพราะละเมิดสนธิสัญญาที่จะไม่รุกรานฟินแลน.

ใหม่!!: กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพและสงครามฤดูหนาว · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา (Unternehmen Barbarossa, Operation Barbarossa, รัสเซีย: Оперенация Барбарросса) เป็นชื่อรหัสสำหรับแผนการบุกสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ชื่อปฏิบัติการบาร์บารอสซาถูกตั้งชื่อตามพระนามของจักรพรรดิฟรีดริช บาร์บารอสซา แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้นำสงครามครูเสดครั้งที่สาม ในช่วงคริสต์ศตวรรรษที่ 12 วัตถุประสงค์ของปฏิบัติการนี้ คือ การพิชิตสหภาพโซเวียตทางภาคพื้นยุโรปทั้งหมด ซึ่งถือเอาแนวที่ลากเส้นระหว่าง อัคอังเกลส์ก (Arkangelsk) ที่อยู่ทางตอนเหนือของรัสเซีย ลงไปจนถึงเมืองอัสตราคาน (Astrakhan) ที่อยู่ริมสามเหลี่ยมปากแม่น้ำวอลกา โดยแนวนี้ถูกเรียกว่าแนว AA ปฏิบัติการบาร์บารอสซาไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ฮิตเลอร์คาดหวังไว้ ในทางยุทธวิธีแล้ว กองทัพเยอรมันก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อสหภาพโซเวียต โดยการยึดครองพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของประเทศเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ไม่นานหลังจากปฏิบัติการบาร์บารอสซา กองทัพเยอรมันไม่อาจเป็นฝ่ายบุกในแนวรบด้านตะวันออกอีกต่อไป และหลังจากนั้น ก็ประสบความพ่ายแพ้มาตลอดMilitary-Topographic Directorate, maps No.

ใหม่!!: กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพและปฏิบัติการบาร์บารอสซา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟินแลนด์

ประเทศฟินแลนด์ (ซูโอมี) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐฟินแลนด์ เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป เขตแดนด้านตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลบอลติก ทางด้านใต้จรดอ่าวฟินแลนด์ ทางตะวันตกจรดอ่าวบอทเนีย ประเทศฟินแลนด์มีชายแดนติดกับประเทศสวีเดน นอร์เวย์ และรัสเซีย สำหรับหมู่เกาะโอลันด์ที่อยู่ห่างจากชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้นั้น อยู่ภายใต้การปกครองของฟินแลนด์ แต่เป็นเขตปกครองตนเอง เคยถูกรัสเซียยึดครองและเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซีย ฟินแลนด์มีประชากรเพียง 5 ล้านคน ในพื้นที่ 338,145 ตารางกิโลเมตร นับว่ามีประชากรที่เบาบาง แต่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ตามสถิติของสหประชาชาติ พ.ศ. 2549 อยู่ในลำดับที่ 11 ฟินแลนด์เคยเป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนหลายศตวรรษ หลังจากนั้นก็อยู่ภายใต้จักรวรรดิรัสเซียจนถึงปี พ.ศ. 2460 ปัจจุบันฟินแลนด์เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย ภาษาฟินแลนด์เป็นหนึ่งในภาษาทางการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฮังการี และภาษามอลตา ตั้งแต่ประมาณ 2,700 ปีก่อนพุทธกาล ดินแดนฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากทางใต้ของอ่าวฟินแลนด์ โดยเข้ามาทางตะวันตกเฉียงใต้ของฟินแลนด์ มีหลักฐานของเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะเฉพาะ ต่อมาในยุคสำริด พื้นที่ทางชายฝั่งของฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลจากสแกนดิเนเวียและยุโรปกลาง ในขณะที่พื้นที่ที่อยู่ห่างจากทะเลเข้าไป ได้รับอิทธิพลการใช้สำริดมาจากทางตะวันออกมากกว่า ในพุทธศตวรรษที่ 5 พบว่ามีการค้าขายแลกเปลี่ยนกับสแกนดิเนเวียมากขึ้น และการค้นพบวัตถุแบบโรมันจากยุคนี้ด้วย ปรากฏการกล่าวถึงชาวฟินแลนด์ในเอกสารของชาวโรมันในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 7.

ใหม่!!: กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพและประเทศฟินแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลัตเวีย

ลัตเวีย (Latvia; Latvija) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐลัตเวีย (Republic of Latvia; Latvijas Republika) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับอีก 2 รัฐบอลติก คือ เอสโตเนียทางทิศเหนือ และลิทัวเนียและเบลารุสทางทิศใต้ จดรัสเซียทางทิศตะวันออก ส่วนทางทิศตะวันตกนั้น ลัตเวียมีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับสวีเดน กรุงรีกา เมืองหลวงของลัตเวียเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาเมืองที่อยู่ในกลุ่มรัฐบอลติก.

ใหม่!!: กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพและประเทศลัตเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลิทัวเนีย

ลิทัวเนีย (Lithuania; Lietuva เลฺยียทุวะ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐลิทัวเนีย (Republic of Lithuania; Lietuvos Respublika) ตั้งอยู่กลางทวีปยุโรป ทางฝั่งตะวันออกของทะเลบอลติก ทิศเหนือจรดลัตเวีย ทิศตะวันออกและทิศใตัจรดเบลารุส และทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดโปแลนด์และรัสเซีย (แคว้นคาลินินกราด) เคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซี.

ใหม่!!: กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพและประเทศลิทัวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโรมาเนีย

รมาเนีย (Romania; România) แต่ก่อนเรียกว่า รูมาเนีย (Rumania หรือ Roumania) เป็นประเทศในทวีปยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีอาณาเขตทิศตะวันออกเฉียงเหนือจดประเทศยูเครนและประเทศมอลโดวา ทิศตะวันตกจดประเทศฮังการีและประเทศเซอร์เบีย ทิศใต้จดประเทศบัลแกเรีย โรมาเนียมีชายฝั่งบนทะเลดำด้ว.

ใหม่!!: กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพและประเทศโรมาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเอสโตเนีย

อสโตเนีย (Estonia; Eesti) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเอสโตเนีย (Republic of Estonia; Eesti Vabariik) เป็นรัฐอธิปไตยในภูมิภาคบอลติก ในยุโรปเหนือ มีอาณาเขตทางทิศเหนือติดกับอ่าวฟินแลนด์ ทิศตะวันตกติดกับทะเลบอลติก มีพรมแดนทางทิศใต้ติดกับประเทศลัตเวีย (ระยะทาง 343 กิโลเมตร) และทางทิศตะวันออกติดกับประเทศรัสเซีย (ระยะทาง 338.6 กิโลเมตร) เอสโตเนียมีพื้นที่ 45,227 ตารางกิโลเมตร (17,462 ตารางไมล์) (อันดับที่ 131 ของโลก) ประเทศเอสโตเนียปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นเทศมณฑลจำนวน 15 เทศมณฑล โดยมีเมืองหลวงชื่อว่า ทาลลินน์ โดยเอสโตเนียมีจำนวนประชากรของประเทศที่น้อยที่สุดในประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป เอสโตเนียประกาศเอกราชครั้งแรกในปีพ.ศ. 2461 ก่อนจะถูกยึดครองโดยสหภาพโซเวียต นาซีเยอรมนี และสหภาพโซเวียตอีกครั้งหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง เอสโตเนียกลับมาเป็นรัฐเอกราชอีกครั้งหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ต่อมาเอสโตเนียก็เข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือและสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพและประเทศเอสโตเนีย · ดูเพิ่มเติม »

โยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ

อุบิตส์ ฟรีดรีช วิลเฮล์ม โยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ (Ulrich Friedrich Wilhelm Joachim von Ribbentrop) (30 เมษายน 2436 - 16 ตุลาคม 2489) เป็นนักการเมืองชาวเยอรมัน เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของนาซีเยอรมนี ซึ่งเขาได้เป็นตัวแทนในการลงนามสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพกับสหภาพโซเวียต เมื่อสิ้นสงครามเขาถูกตั้งข้อหาให้เป็นอาชญากรสงครามและได้รับโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในช่วงการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์กในวันที่ 16 ตุลาคม..

ใหม่!!: กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพและโยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Molotov–Ribbentrop Pactกติกาสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอปสนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »